MBA

We constantly research and disseminate knowledge to prepare graduate students to be leaders at the community, national and international levels.

Facebook is a social utility that connects people with friends and others who work, study and live around them. People use Facebook to keep up with friends

Custom Search

วันจันทร์ที่ 9 ธันวาคม พ.ศ. 2556

Employee Testing and Selecting

การทดสอบ เป็นวิธีการเชิงระบบที่ใช้วัดเพื่อเปรียบเทียบพฤติกรรมของบุคคลคน

เดียวหรือหลายคน ณ เวลาหนึ่ง หรือต่างเวลากัน การคัดเลือก เป็นกระบวนการพิจารณา
คัดเลือกบุคคลที่มาสมัครงานโดยคาดว่าจะเป็นบุคคลที่ทำงานได้ประสบความสำคัญได้ดีที่สุด
โดยพิจารณาจากทักษะ ความสามารถและคุณสมบัติอื่นๆที่จำเป็นเพื่อการทำงานอย่างใด
อย่างหนึ่ง กระบวนการคัดเลือก เป็นกระบวนการกลั่นกรองผู้สมัครงานเพื่อให้เกิดความ
เชื่อมั่นว่าจะได้ผู้สมัครที่เหมาะสมที่สุดมาทำงานความสำคัญของกระบวนการคัดเลือก มี
ความสำคัญด้วยเหตุผล 3 ประการ
(1) ผลการปฏิบัติงาน(Performance) เป็นกลุ่มของพฤติกรรมที่เกี่ยวข้องกับ
งานของพนักงาน พนักงานที่ไม่มีความสามารถจะไม่สามารถปฏิบัติงานได้อย่างมีประสิทธิผล
การกลั่นกรองจึงเป็นวิธิการคัดคนที่ไม่มีคุณสมบัติตามต้องการออกก่อนที่จะรับบุคคลที่มีความ
เหมาะสมเข้ามาทำงาน
(2) ต้นทุน การกลั่นกรองที่มีประสิทธิผลเป็นสิ่งสำคัญ เนื่องจากในการสรรหา
และจ้างพนักงานมีต้นทุนสูง
(3) ความเกี่ยวกันกับกฎหมายและความไม่รอบคอบในการจ้างงาน (Legal
implications and negligent hiring)

การวางแผนทรัพยากรมนุษย์ต้องการการพยากรณ์ 3 อย่าง

1. การพยากรณ์ความต้องการบุคลากรของบริษัท โดยการคาดการณ์ความ
ต้องการในผลิตภัณฑ์หรือบริการ การคาดการณ์ปริมาณสินค้าหรือบริการที่สนองความ
ต้องการที่ได้คาดการณ์ไว้ แล้วจึงประมาณจำนวนบุคลกรที่เหมาะสมในการผลิตสินค้าหรือ
บริการ อย่างไรก็ตามต้องคำนึงถึง Projected turnover, Quality and skill of your
employees, decisions to upgrade the quality of products, Technology and other


changes resulting in increased productivity and your financial resources. อาจใช้วิธี
Trend Analysis โดยการศึกษาความต้องการบุคลากรในอดีตเพื่อใช้ในการคาดการณ์ใน
อนาคต หรือใช้วิธี Ratio Analysis เป็นการคาดการณ์จากสัดส่วนของงานกับจำนวนคน หรือ
ยอดขายกับจำนวนพนักงานขาย ใช้วิธี Scatter Plot โดยช่วยวิเคราะห์ว่าปัจจัยสองอย่างมี
ความสัมพันธ์กันอย่างไร เช่นจำนวนคนไข้กับจำนวนพยาบาล รวมถึงการคาดการณ์โดยใช้
คอมพิวเตอร์ และการคาดการณ์ของทีมผู้บริหาร
2. การพยากรณ์แหล่งแรงงานจากภายในองค์กร Supply of inside
candidates อาจใช้ Manual Systems และ Replacement Charts รวมไปถึง
Computerized information Systems การใช้คอมพิวเตอร์โดยมีการวิเคราะห์ข้อมูลของ
พนักงานจากธนาคารข้อมูล (Data Bank) ด้วยคอมพิวเตอร์เหมาะในการใช้เมื่อมีจำนวน
พนักงานจำนวนมาก ทั้งนี้ต้องมีมาตรการรักษาความลับ โดย Programmer สามารถบันทึก
ข้อมูลเท่านั้น ส่วนการอ่านจะทำได้โดยพนักงานบัญชีในส่วนที่เกี่ยวข้องหรือมีรหัสผ่าน
เท่านั้น จึงมีสิทธิอ่านข้อมูล การบรรจุตำแหน่งที่เปิดรับจากผู้สมัครภายใน มีข้อดีดังนี้:-
(1) พนักงานจะรู้สึกว่าความสามารถของเขาเป็นที่ยอมรับของบริษัท และตั้งใจ
ทำงานมากขึ้น
(2) พนักงานจะรู้สึกผูกพันกับบริษัท ทำให้ลดอัตราการลาออกลง
(3)ทำให้ผู้บริหารสามารถวางแผนธุรกิจในระยะยาว
(4) เป็นการปลอดภัยกับบริษัท เพราะสามารถวิเคราะห์ประเมินทักษะของ
พนักงานได้ถูกต้องกว่า
(5) ต้องการการปฐมนิเทศและการฝึกอบรมน้อยกว่าการรับพนักงานใหม่
3.การพยากรณ์แหล่งแรงงานจากภายนอก Supply of outside candidates
โดยมีการคาดคะเน
(1) สภาวะเศรษฐกิจโดยทั่วไป
(2) สภาวะตลาดท้องถิ่น
(3) สภาวะด้านตลาดมืออาชีพ (ต้องคาดคะเนจำนวนผู้สมัครงานในอาชีพ
เฉพาะว่ามีจำนวนเพียงพอหรือไม่)

วันเสาร์ที่ 30 พฤศจิกายน พ.ศ. 2556

การตลาดกับการตำเนินงานขององค์กรประเภทต่างๆ

สามารถที่จะประมวลประเภทขององค์กร และความจำเป็นต่อการใช้การตลาดเป็นเครื่องมือในการบริหารองค์กรเหล่านั้น ได้ดังนี้
           1.การตลาดกับการดำเนินงานขององค์กรธุรกิจ 
สามารถสรุปได้ว่าการตลาดมีความสำคัญต่อการบริหารองค์กรธุรกิจ ในด้านต่างๆ ดังนี้
                -เป็นสิ่งที่ผู้ถือหุ้น ผู้ประกอบการ และผู้บริหารขององค์กร จะต้องพิจารณาเป็นเบื้องต้น ก่อนการลงทุนในธุรกิจหรืออุตสาหกรรมใดๆ เพราะหากไม่มีตลาดที่ดีมารองรับได้อย่างเหมาะสมเพียงพอธุรกิจหรืออุตสาหกรรมนั้นๆ ย่อมไม่สามารถดำเนินการได้อย่างยั่งยืน
                -เป็นเครื่องมือในการพิจารณาความเป็นไปได้ของแผนงานทางธุรกิจในแต่ละโครงการ
                -เป็นเครื่องมือในการดำเนินธุรกิจ เพื่อให้เกิดผลกำไร หรือผลตอบแทนที่คุ้มค่าการลงทุนขององค์กร และผู้ถือหุ้น
                 -เป็นเครื่องมือในการสร้างภาพลักษณ์อันดีแก่สินค้าหรือบริการขององค์กร ให้เป็นที่ย่อมรับของสังคม เป็นต้น  
           2.การตลาดกับการบริหารในหน่วยงานภาครัฐ
                                การกำหนดนโยบายหรือมาตรการใดๆ เพื่อการบริหารและปกครองประเทศซึ่งมีเป้าหมายที่ต้องการยกระดับคุณภาพ ชีวิตของประชาชนไทยให้สูงขึ้น โดยการสร้างเสถียรภาพและความมั่นคงแก่ระบบเศรษฐกิจภายในประเทศ ซึ่งหมายถึงการพยายามก่อให้เกิดการจ้างงานและสร้างรายได้ให้เกิดขึ้นจากการลงทุนดำเนินธุรกิจภายในประเทศ และส่งออกสินค้าหรือบริการที่ผลิตได้ออกจำหน่ายยังตลาดโลก เพื่อสร้างเม็ดเงินหมุนเวียนกลับมาสู่ระบบเศรษฐกิจภายในประเทศ และส่งผลไปสู่การยกระดับคุณภาพชีวิตของประชาชนในประเทศให้สูงขึ้นเป็นลำดับการบริหารงานที่จะก่อให้เกิด ความสำเร็จตามเป้าหมายดังกล่าวได้ จำเป็นต้องอาศัยความรู้ ความเข้าใจกลไกการทำงานของการตลาดเป็นพื้นฐาน  

วันอังคารที่ 24 กันยายน พ.ศ. 2556

ผลตอบแทนจากการลงทุน

ผู้ลงทุนคาดว่าจะได้รับผลตอบแทนในรูปของกระแสเงินสด และมีความเสี่ยงในความไม่แน่นอนของกระแสเงินสดนั้น
ผลตอบแทน = เงินที่ได้รับจากการลงทุน - เงินลงทุน
อัตราผลตอบแทนจากการลงทุน = ผลตอบแทน / เงินลงทุน

ความเสี่ยง

ความเสี่ยงคือความน่าจะเป็นที่จะได้รับผลตอบแทนต่ำหรือขาดทุน

ความเสี่ยงจากการลงทุนมี 2 ประเภท

  • Stand-alone risk (ความเสี่ยงเฉพาะ) ความเสี่ยงของหลักทรัพย์ตัวเดียว
  • Portfolio risk ความเสี่ยงของกลุ่มหลักทรัพย์

ความเสี่ยงเฉพาะ

ความเสี่ยงเฉพาะ เกิดจากการลงทุนในสินทรัพย์เพียงตัวเดียว

การคำนวณอัตราผลตอบแทนที่คาดว่าจะได้รับ (k^)

k^ = ΣPiki
k^ = P1k1 + P2k2 + P3k3... + Pnkn
ตัวอย่าง
ความต้องการสินค้า ความน่าจะเป็น อัตราผลตอบแทนจากการลงทุน
บริษัท M บริษัท U
สูง 0.3 100% 20%
ปานกลาง 0.4 15% 15%
ต่ำ 0.3 (70%) 10%
K^M = 0.3(100%) + 0.4(15%) + 0.3(-70%) = 15%
K^U = 0.3(20%) + 0.4(15%) + 0.3(10%) = 15%

สรุป อัตราผลตอบแทนเท่ากัน ที่ 15% แต่การกระจายความน่าจะเป็นต่างกัน ความเสี่ยงจึงต่างกัน

พันธบัตรจ่ายดอกเบี้ยปีละ 2 ครั้ง

การใช้เครื่องคิดเลขคำนวณ ต้องปรับเปลี่ยนดังนี้
เวลากด Input

N (จำนวนปี) เปลี่ยนเป็นจำนวนงวด (Nx2)
I/Y (อัตราดอกเบี้ยต่อปี) เปลี่ยนเป็น ดอกเบี้ยต่องวด (N/2)
PMT (เงินรายปี) เปลี่ยนเป็น เงินรายงวด (PMT/2)
PV เท่าเดิม
FV เท่าเดิม
เมื่อได้คำตอบ

อย่าลืมว่า เป็นคำตอบเป็นรายงวด ถ้าตำตอบเป็น N หรือ I/Y หรือ PMT ต้องแปลงเป็นรายปีก่อน
I/Y เวลาจะตอบ คูณ 2
PMT เวลาจะตอบ คูณ 2
N เวลาจะตอบ หาร 2

การประเมินความเสี่ยงของพันธบัตร

  • ความเสี่ยงจากอัตราดอกเบี้ย (Interest Rate Risk)
  1. มีความสัมพันธ์กับมูลค่าพันธบัตร
  2. ผู้ถือพันธบัตรระยะยาวจะประสบความเสี่ยงนี้
  • ความเสี่ยงจากอัตราผลตอบแทนที่นำไปลงทุนต่อ (Reinestment Rate Risk)
  1. มีความสัมพันธ์กับรายได้ของผู้ถือพันธบัตร
  2. ผู้ถือพันธบัตรระยะสั้นจะได้รบความเสี่ยงนี้ เช่น พันธบัตรถูกไถ่ถอนแล้วต้องนำเงินไปลงทุนโดยได้รับดอกเบี้ยน้อยกว่าเดิม
  • ความเสี่ยงจากหนี้สูญ

  1. เป็นความเสี่ยงที่ผู้ถือพันธบัตรอาจไม่ได้รับดอกเบี้ยและเงินต้นคืน
  2. ความมั่นคงของบริษัทดูได้จากอันดับเครดิตของบริษัทจัดอันดับ 

การประเมินมูลค่าพันธบัตร

เราสามารถหามูลค่าในปัจจุบันของพันธบัตรได้จากการรวมมูลค่าในปัจจุบันของเงินปันผลทั้งหมดที่จะจ่ายในอนาคต และมูลค่าปัจจุบันเงินที่จะได้รับเมื่อขายคืนพันธบัตร
VB = Σ(INT/(1+kd)t) + M/(1+kd)N
มูลค่าปัจจุบัน (PV) ปีที่ 1 ปีที่ 2 ปีที่ 3 ปีที่ 4 ปีที่ 5 ... ขายคืนพันธบัตร
VB = INT/(1+kd)1 + INT/(1+kd)2 + INT/(1+kd)3 + INT/(1+kd)4 + INT/(1+kd)5 ... + M/(1+kd)N

วิธีกดเครื่องคิดเลข

FV = มูลค่าที่ตราไว้ในพันธบัตร หรือเงินที่จะได้เมื่อขายคืน
PMT = ดอกเบี้ยที่พันธบัตรกำหนด (ต้องแปลงอัตราดอกเบี้ยพันธบัตรที่เป็น % เป็นจำนวนเงิน)
PV = มูลค่าพันธบัตร หรือราคาตลาดของพันธบัตร (ติดลบเสมอ)
N = จำนวนปีที่ถือครองพันธบัตร
I/Y = อัตราผลตอบแทน ที่ได้จากการซื้อพันธบัตร หรือ อัตราดอกเบี้ยของตลาด (kd)

การเปลี่ยนแปลงมูลค่าพันธบัตรตามเวลา

ถ้า อัตราดอกเบี้ยพันธบัตร < kd ราคาตลาดจะต่ำกว่าราคาที่ระบุในพันธบัตร แต่จะค่อยๆเพิ่มขึ้นจนเท่ากับ M เมื่อถึงกำหนดไถ่ถอน
ถ้า อัตราดอกเบี้ยพันธบัตร > kd ราคาตลาดจะสูงกว่าราคาที่ระบุในพันธบัตร แต่จะค่อยๆลดลงจนเท่ากับ M เมื่อถึงกำหนดไถ่ถอน
ถ้า อัตราดอกเบี้ยพันธบัตร = kd ราคาพันธบัตรจะเท่ากับ M ไม่เปลี่ยนแปลง

อัตราผลตอบแทนจากพันธบัตร

Yield to Maturity (YTM)

YTM หมายถึงอัตราผลตอบแทนที่ได้รับ เมื่อถือพันธบัตรจนครบกำหนด วิธีคำนวณใช้วิธีคิดแบบธรรมดา หาค่า I/Y เป็น YTM

Yield to Call (YTC)

YTC หมายถึงอัตราผลตอบแทนที่ได้รับ เมื่อขายพันธบัตรก่อนครบกำหนดไถ่ถอน วิธีคำนวณใช้ให้เปลี่ยนแปลงค่าดังนี้
FV ใช้ราคาขายพันธบัตร กรณีไถ่ถอนก่อนกำหนด (ไม่ใช่มูลค่าที่ตราไว้ของพันธบัตร)
N ใช้จำนวนปีที่ถือครองพันธบัตร จนถึงวันที่ขาย (ไม่ใช่อายุเต็มของพันธบัตร)

Current Yield


อัตราผลตอบแทนของพันธบัตร = ดอกเบี้ยที่ได้รับ/ราคาตลาดปัจจุบัน

การปรับต้นทุนของเงินทุนให้เหมาะสมกับความเสี่ยง

การปรับต้นทุนของเงินทุนให้เหมาะสมกับความเสี่ยง

  • โครงการที่มีความเสี่ยงสูง ย่อมต้องการผลตอบแทนจากการลงทุนสูง จึงจะยอมรับ
  • จึงต้องปรับต้นทุนของเงินทุนให้สูงขึ้นเพื่อชดเชยความเสี่ยง
ตัวอย่าง บริษัท A มี 2 แผนกคือ L กับ H ถ้าแยกแต่ละแผนกเป็น 1 บริษัท
  • แผนก L ความเสี่ยงต่ำ โครงการมีผลตอบแทนที่คาดว่าจะได้รับ 9%
  • แผนก H ความเสี่ยงสูง โครงการมีผลตอบแทนที่คาดว่าจะได้รับ 11%

สองแผนกมีขนาดเท่ากัน ต้นทุนแต่ละแผนก ประเมินโดยใช้ WACC=10% ประเมินโดยใช้ต้นทุนแต่ละแผนก
L ความเสี่ยงต่ำ 7% ปฏิเสธโครงการแผนก L รับโครงการแผนก L
H คววามเสี่ยงสูง 13% รับโครงการแผนก H ปฏิเสธโครงการแผนก H
ต้นทุนถัวเฉลี่ย 10% ตัดสินใจผิดพลาด ตัดสินใจถูกต้อง 

แนวตวามคิดเรื่อง Real Options

การตัดสินใจหยุด/ยกเลิกโครงการ

เป็นการวางแผนเผื่อไว้ในกรณีที่ผลประกบการไม่ดี ก็จะตัดสินใจหยุดโครงการ
การคำนวณ NPV ของโครงการ ให้ใช้วิธีค่าเฉลี่ยถ่วงน้ำหนักตามความน่าจะเป็น
แล้วหา CV จาก NPV ที่ได้ และค่า σ (Standard Deviation) ที่โจทย์ให้มา
CV = σ/NPV
ผลที่ได้ CV ของโครงการที่มีการเตรียมหยุดการลงทุน จะต่ำกว่า หมายความว่า มีความเสี่ยงต่อ 1 หน่วยผลตอบแทนต่ำกว่านั่นเอง

การชะลอการลงทุน

เป็นการเลื่อนการลงทุน เพื่อให้ได้รับข้อมูลข่าวสารมากขึ้น และหลีกเลี่ยงภาวะเศรฐกิจไม่ดี

Growth Options

เป็นการคำนวณเพื่อหา NPV , IRR ของโครงการเดิม วิธีคิด

  1. หาจำนวนเงินลงทุนในปีสุดท้าย
  2. คำนวณ Cash Flow หา NPV จากเงินลงทุน และผลกำไรสุทธิ ของแต่ละปี 

วันจันทร์ที่ 22 กรกฎาคม พ.ศ. 2556

ประเภทของที่อยู่อาศัย

1. บ้านเดี่ยว (Single – family home) เป็นแบบบ้านที่อยู่อาศัยที่มีคนนิยมมากที่สุด ลักษณะเป็นบ้านตั้งอยู่เดี่ยว ๆ มีเนื้อที่กว้างขวาง รั้วรอบขอบชิด ทำให้ผู้อาศัยมีความเป็นส่วนตัวได้มากและห่างไกลจากการรบกวนของเพื่อนบ้าน นอกจากนั้นมีบ้านเดี่ยวยังเป็นการสร้างความภาคภูมิใจให้ผู้เป็นเจ้าของด้วย เพราะบ้านแต่ละหลังมีขนาดใหญ่เล็กต่างกัน สามารถตกแต่งได้ในรูปแบบต่าง ๆ ตามฐานะและรสนิยมของผู้เป็นเจ้าของ
2. อาคารพาณิชย์ หรือตึกแถว (Shop house) เป็นแบบบ้านที่นิยมกันมาก เพราะนอกจากจะใช้เป็นที่อยู่อาศัยแล้ว ยังสามารถดัดแปลง ให้เป็น สถานที่ทำการค้า หรือธุรกิจได้ด้วย อาคารแบบนี้มักมีเนื้อที่แคบ จึงนิยมก่อสร้างกันหลาย ๆ ชั้น
3. ทาวน์เฮาส์ (Townhouse) เป็นบ้านที่มีลักษณะเหมือนตึกแถว บ้านประเภทนี้มักตั้งอยู่ในเมือง ต่างกับตึกแถวตรง ที่มีบริเวณหน้าบ้าน จัดเป็นสวนขนาดย่อมและจอดรถได้ทาวน์เฮาส์ส่วนใหญ่มักเป็นแบบ 2 – 3 ชั้น ใช้เนื้อที่ค่อนข้างน้อย เนื่องจากเป็นที่ในเมืองราคาแพง
4. แฟลต หรืออพาร์ทเม้นท์ (Flat or apartment) เป็นที่อยู่อาศัยที่มีลักษณะคล้ายอาคารพาณิชย์ คือมีหลาย ๆ ชั้นแบ่งเป็นหลัง ๆ มีไว้เพื่อให้เช่าที่อยู่อาศัยแบบนี้ ส่วนมากค่าเช่ามักจะสูงเพราะตั้งอยู่ในทำเลที่ดีและมีสิ่งอำนวยความสะดวกปลอดภัยไว้ครบ 
5. คอนโดมิเนียม (Condominium) หรืออาคารชุด เป็นอาคารที่มีหลายชั้นแต่ละชั้นแบ่งเป็นห้องชุดจำนวนมาก ซึ่งภายในห้องชุดประกอบด้วย ห้องนอน ห้องรับแขก ห้องน้ำ อาคารชุดแต่ละแห่งมักมีสิ่งอำนวยความสะดวกครบถ้วน โดยทั่วไปแล้วอาคารชุดจะตั้งอยู่กลางในเมือง หรือในที่ชุมชนที่มีการคมนาคมสะดวก อาคารชุดมีหลายประเภททั้งประเภทที่อยู่อาศัย (Apartment condominium) และประเภทสำนักงาน (Office condominium) ผู้ซื้ออาคารชุดจะมีกรรมสิทธิ์เป็นเจ้าของอาคารชุดของตนและมีกรรมสิทธิ์ร่วมในทรัพย์สินส่วนกลาง อันได้แก่ ห้องโถง ที่จอดรถ ลิฟต์ สนามและทางเดิน เป็นต้น ดังนั้นค่าใช้จ่ายในการดูแลรักษาทรัพย์สิน
6. สหกรณ์เคหสถาน (Cooperative housing) เป็นที่อยู่อาศัยแบบสหกรณ์ลักษณะเป็น อพาร์ตเม้นต์คอมเพล็กซ์ คล้ายคอนโดมิเนียม ที่อยู่อาศัยประเภทนี้ เกิดขึ้นโดยผู้ต้องการที่อยู่อาศัยจะลงทุนซื้อหุ้นของสหกรณ์ และสหกรณ์จะนำเงินนั้นไปซื้อที่ดินและสร้างอาคารให้สมาชิกได้เช่าอยู่ สมาชิกต้องช่วยกันออกค่าบำรุงรักษา ซ่อมแซม ค่าภาษี สมาชิกแต่ละหน่วยมีสิทธิ์ออกเสียงได้หนึ่งเสียงในการเลือกคณะกรรมการบริหาร
7. บ้านเคลื่อนที่ (Mobile home) เป็นบ้านที่สร้างสำเร็จรูปจากโรงงาน และย้ายมาติดตั้งในทำเลที่กำหนดให้เป็นพื้นที่ของบ้านเคลื่อนที่ ผู้เริ่มครอบครัวใหม่นิยมอยู่บ้านเคลื่อนที่เพราะราคาไม่แพงนัก บางคนก็ใช้บ้านเคลื่อนที่เป็นสำนักงานเคลื่อนที่เช่น ผู้รับเหมาเวลาไปรับเหมาก่อสร้างตามแหล่งทีรับเหมาต่าง ๆ บ้านแบบนี้สามารถขับเคลื่อน หรือพ่วงกับรถคันอื่นได้ ลักษณะภายในมีเครื่องอำนวยความสะดวกเหมือนบ้านทั่วไป บ้านแบบนี้ในเมืองไทยยังไม่ค่อยนิยม เท่าที่มีในขณะนี้เป็นของดาราภาพยนตร์ หรือนักแสดงที่ต้องเดินทางเสมอก็จะซื้อรถยนต์ขนาดใหญ่ ปรับปรุงภายในให้เป็นเหมือนบ้านคือ มีห้องนอน ห้องเตรียมอาหาร ห้องน้ำ เพียงแต่ละห้องมีขนาดเล็กเท่านั้น
8. บ้านที่แบ่งเวลาการพักอาศัย (Time – hare home) บ้านแบบนี้ตามชื่อก็บอกลักษณะให้ทราบว่า มีการแบ่งเวลา หรือหมุนเวียนกันเพื่อใช้ประโยชน์ ในบ้านพักอาศัยดังกล่าว ซึ่งส่วนใหญ่จะเป็นการใช้เพื่อวัตถุประสงค์ในการพักผ่อน เช่น บ้านพัก หรือเรือนรับรอง ที่อยู่ตามชายหาด หรือแหล่งท่องเที่ยวต่าง ๆ โดยมีบุคคล บริษัท หรือโครงการจัดสรร เป็นเจ้าของใครต้องการไปพักผ่อนในช่วงไหนก็เช่าใช้บ้านพักในช่วงนั้น ซึ่งจะมีการแบ่งเวลากันในระหว่างผู้ต้องการใช้มีตั้งแต่ 1 สัปดาห์จนถึง 6 เดือนราคาเช่าก็ขึ้นอยู่กับปัจจัยหลายอย่าง

การลงทุนของบุคคล

โดยปกติรายได้ที่บุคคลได้รับจะถูกจัดสรรออกไปเป็น 2 ด้านใหญ่ ๆ คือ ส่วนหนึ่งเพื่อใช้จ่ายในชีวิตประจำวัน และอีกส่วนหนึ่ง เก็บออม ไว้สำหรับ ใช้จ่ายในวันข้างหน้า การใช้จ่ายเป็นสิ่งจำเป็นใน ชีวิตประจำวันของบุคคล เป็นสิ่งที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ แต่ถ้าสามารถ จัดสรรค่าใช้จ่ายอย่างเหมาะสมให้มีเงินเหลือใช้ ก็จะเป็นประโยชน์ที่จะมี เงินออมเก็บไว้สำหรับความจำเป็นในวันข้างหน้าได้มากขึ้น การที่คนเรา เก็บออมก็เพราะ ได้เปรียบเทียบแล้วว่า เงินที่เก็บออมไว้ เพื่อใช้จ่ายในวันข้างหน้า จะให้ประโยชน์คุณค่า หรือ ความพอใจสูงสุด แก่เขามากกว่าจะเอามาใช้เสียในวันนี้ ทำอย่างไรจึงจะให้เงินออม ที่อุตส่าห์สะสมไว้ เพิ่มพูนค่าและ ก่อให้เกิด ประโยชน์ สูงสุดแก่เจ้าของสิ่งสำคัญก็คือ คนเราต้องรู้จัก "การลงทุน " (Investments) การลงทุนเป็น การนำเอาทรัพย์สิน ที่บุคคลมีอยู่ ไปดำเนินการในทางที่ก่อให้เกิดประโยชน์ ซึ่งจะให้ผลตอบแทนกลับคืนมาในช่วงเวลานั้น
การลงทุนแบ่งได้เป็น 2 ลักษณะ คือ
การลงทุนในสินทรัพย์ทีมีตัวตนเห็นประโยชน์จากการใช้ได้อย่างชัดเจน กับการลงทุนในสินทรัพย์ ที่ไม่เห็นประโยชน์ การใช้ได้โดยชัดเจน (Tangible and intangible investment)
การลงทุนซื้อบ้าน ซื้อรถยนต์ ซื้อเพชรพลอยของมีค่า ซึ่งเราสามารถใช้ประโยชน์จาก ทรัพย์สินที่เราลงทุน เป็นเจ้าของ ไว้โดยตรงได้ อย่างเต็มที่ที่เรียกว่า Tangible investment

ปัจจัยสำคัญในการออม

1.ผลตอบแทนที่ผู้ออมได้รับจากการออม หมายความว่าถ้ายิ่งผลตอบแทนในการออมเพิ่มมากขึ้นเท่าใด ก็จะเป็นสิ่งดึงดูดใจให้บุคคลมีการออมเพิ่มมากขึ้นเท่านั้น เช่น ในภาวะที่รัฐบาล กำหนดให้ ธนาคารพาณิชย์ ทุกแห่งลดอัตราดอกเบี้ย เงินฝากประจำ ทุกประเภทลง ทั้งยังเก็บดอกเบี้ยภาษีเงินฝากอีก จึงทำให้ระดับเงินออมของธนาคารพาณิชย์ มีแนวโน้มลดลงเป็นอย่างมาก
2. มูลค่าของอำนาจซื้อของเงินในปัจจุบัน ผู้ออมจะตัดสินใจทำ การออมมากขึ้นภายหลังจาก การพิจารณาถึง อำนาจซื้อของเงิน ที่มีอยู่ในปัจจุบันว่า จะมีความแตกต่างจากมูลค่าของเงินใน อนาคตมักหมายความว่าจำนวนเงิน 1 บาท ซื้อสินค้าและบริการ ได้ในจำนวนใกล้เคียง หรือเท่ากับการใช้เงิน 1 บาทซื้อสินค้าหรือบริการในอีก 2-3 ปีข้างหน้าหรือมากกว่านั้น ในทางตรงกันข้าม ถ้าท่านว่าการเก็บเงินออมไว้โดยไม่ยอมซื้อสินค้าขณะนี้ ท่านอาจจะสูญเสียความพอใจ ที่ควรได้รับจาก การซื้อสินค้า ในปัจจุบัน มากกว่าผลตอบแทนที่ได้รับจาก การออม ทั้งยังเสียเวลาคอยที่จะซื้อสินค้าในอนาคต ที่อาจมีราคาสูงมากกว่า อัตราผลตอบแทน ที่ได้รับอีกด้วย ดังนั้นถ้าท่านพอใจทีจะซื้อสินค้าในวันนี้มากกว่าการหวังผลตอบแทนที่จะได้รับเพิ่มขึ้นในอนาคต ท่านก็จะมี การออมลดลง
3.รายได้ส่วนบุคคลสุทธิ ผู้ที่มีรายได้คงที่แน่นอนเป็นประจำทุกเดือนในจำนวนที่ไม่สูงมากนักเช่น ข้าราชการ พนักงานรัฐวิสาหกิจ พนักงานบริษัทเอกชนระดับต่ำ จำนวนเงินออมที่กันไว้อาจเป็นเพียงจำนวนน้อยตามอัตราส่วนของรายได้ที่มีอยู่ ซึ่งต่างจากจำนวนเงินออมของผู้บริหารระดับสูง หรือนักการเมืองที่จะมีเงินเหลือออมได้มากกว่า นอกจากนั้น การเปลี่ยนแปลงรายได้เนื่องจาก การเลื่อนตำแหน่ง การโยกย้ายงานการถูกปลดออกจากตำแหน่งหน้าที่การงาน ที่มีผลต่อระดับการออมเช่นกัน คือ อาจทำให้มีการออมเพิ่มมากขึ้น หรือลดลงไปจากระดับเดิมได้ ดังนั้นในระหว่างที่ท่านมีรายได้มากกว่าปกติ หรือในขณะที่ท่านมีความสามารถ หารายได้ได้ อยู่จึงควรจะมี การออมไว้เพื่อป้องกัน ปัญหาทางการเงิน อันอาจเกิดขึ้นได้ดังกล่าวแล้ว
4. ความแน่นอนของจำนวนรายได้ในอนาคตหลังการเกษียรอายุ ถ้าผู้มีรายได้ทุกคนทราบได้แน่นอนว่าเมื่อใดก็ตามที่ท่านไม่มีความสามารถหารายได้ได้อีกต่อไป ท่านก็จะไม่มีปัญหาทางการเงิน เกิดขึ้น หรือถ้ามีก็ไม่ใช่ปัญหาที่รุนแรงมากนัก เนื่องจากหน่วยงานที่ท่านเคยทำงานอยู่ มีนโยบายช่วยเหลือ ท่านในวัยชราหลัง เกษียรอายุ หรือภายหลังออกจากงานก่อนกำหนด เช่น นโยบายการให้บำนาญ บำเหน็จ เงินชดเชย เป็นต้น ดังนั้นผู้ออมอาจมีการออมลดลง เพื่อกันเงินไว้ใช้จ่ายมากขึ้นโดยไม่ทำให้จำนวนเงินรวมในอนาคตกระทบกระเทือนแต่ประการใด
เงินออมควรเก็บรักษาอย่างไรจึงจะปลอดภัย การเก็บเงินไว้กับตนเองย่อมไม่ปลอดภัยและเป็นการสูญเสียรายได้ที่ควรจะได้รับ ดังนั้นเงินออมควรเก็บรักษาไว้ในที่ปลอดภัยและมีรายได้ด้วย โดยการฝากสถาบันการเงินบางแห่งไว้ เช่น ธนาคารพาณิชย์ ธนาคารออมสิน สหกรณ์ออมทรัพย์ หรืออาจเก็บออมในรูปของการซื้อหลักทรัพย์หรือตราสารฯ ที่มีความมั่นคง ก่อให้เกิดรายได้และสามารถเปลี่ยนมาเป็นเงินสดได้ง่ายมาถือไว้ เช่น การซื้อพันธบัตรรัฐบาล สลากออมสิน พันธบัตรออมทรัพย์ต่าง ๆ ตั๋วสัญญาของบริษัทเงินทุนที่มั่นคง การซื้อหน่วยลงทุนของกองทุนรวม หรือซื้อหุ้นบริษัทที่มั่นคงถือไว้ ฯลฯ

การปฏิบัติเกี่ยวกับการออมที่ดี

เงินสดส่วนบุคคลขึ้น ซึ่งจะทำให้ทราบว่าแต่ละเดือนจะมีเงินคงเหลือเป็นเงินออมเท่าไหร่ ในทางปฏิบัติ เพื่อให้การออมได้ผลจริงๆ ควรจัดทำดังนี้
- ทางที่จะสามารถทราบล่วงหน้าได้ว่าจะมีการออมได้หรือไม่นั้นก็โดย การจัดทำงบประมาณการเงิน ทำงบประมาณรายได้ รายจ่าย เพื่อจะรู้ว่ามีเงินเหลือที่จะเก็บออมเท่าไร
- เมื่อทำงบประมาณและทราบได้ว่า จะสามารถเก็บออมได้เดือนละเท่าไหร่แล้วให้กันเงิน ออมส่วนนั้น (ก่อนที่จะจ่ายเป็นรายจ่ายออกไป ) แล้วนำไปฝากธนาคารทันที
รายได้ที่เกิดขึ้นจากเงินออม เช่น ดอกเบี้ยที่ได้รับ ควรนำไปลงทุนต่อทันที เพื่อให้เงินออมงอกเงยขึ้น ไปอีก การเก็บรักษาเงินออม ให้ปลอดภัย นั้นเงินออมการเก็บเงินไว้กับตนเองย่อมไม่ปลอดภัยและเป็นการสูญเสียรายได้ที่ควรจะได้รับ ดังควร เก็บรักษาไว้ ในที่ปลอดภัยและมีรายได้ด้วย โดยการฝากสถาบันการเงินบางแห่งไว้ เช่น ธนาคารพาณิชย์ ธนาคารออมสิน สหกรณ์ออมทรัพย์ หรืออาจจะเก็บออม ในรูปของการซื้อหลักทรัพย์หรือตราสารฯ ที่มีความมั่นคง ก่อให้เกิดรายได้ และสามารถเปลี่ยนมาเป็น เงินสดได้ง่ายมาถือไว้ เช่น การซื้อพันธบัตรรัฐบาล สลากออมสิน พันธบัตรออมทรัพย์ต่างๆ ตั๋วสัญญาใช้เงินของบริษัทเงินทุนที่มั่นคง การซื้อหน่วยลงทุน กองทุนรวม หรือซื้อหุ้นของบริษัทที่มั่นคงถือไว้ ฯลฯ

วันเสาร์ที่ 15 มิถุนายน พ.ศ. 2556

อัตราส่วนหนี้สินแบ่งเป็น 2 ตัว

3.1 หนี้สินต่อทรัพย์สิน (debt ratio)
ถ้าอัตราส่วนหนี้สินต่อทรัพย์สินสูงแสดงว่า องค์กรมีภาระผูกพันธ์ทางการเงินมากองค์กรจะระดมทุนจากการก่อหนี้ได้ยาก หรือเจ้าหนี้อาจไม่พิจารณาให้เงินกู้กับองค์กร ดังนั้นองค์กรจะต้องระดมทุนด้วยวิธีการอย่างอื่นแทนการกู้ เช่น การระดมทุนจากผู้ถือหุ้นหรือการให้เช่า
ถ้าอัตราส่วนหนี้สินต่ำ แสดงว่าองค์กรมีภาระผูกพันธ์ทางการเงินต่ำ จึงมีความเสี่ยงต่ำ แต่ต้องพิจารณาว่าโครงสร้างเงินทุนขององค์กรมีความเหมาะสมหรือไม่ ซึ่งถ้าใช้หนี้สินน้อยอาจจะไม่มีความเหมาะสมก็ได้ ถ้าหนี้สินน้อยอยู่ต้นทุนทางการเงิน (WACC) จะสูงขึ้น ดังนั้นต้องพิจารณาความเหมาะสมของต้นทุนทางการเงินด้วย
อัตราส่วนหนี้สินต่อทรัพย์สินควรมีค่าอยู่ในระดับต่ำ เพราะจะทำให้องค์กรระดมเงินทุนด้วยการกู้ได้
3.2 ความสามารถในการชำระดอกเบี้ย Time Interest Earned--TIE
เป็นอัตราส่วนที่ใช้พิจารณาว่า องค์กรมีกำไรเป็นกี่เท่าของดอกเบี้ยจ่าย TIE ควรมีค่าสูง จะแสดงให้เห็นถึงประสิทธิภาพขององค์กรในการหากำไขเพื่อชำระดอกเบี้ย
อัตราส่วนหนี้สินต่อสินทรัพย์ต้องใช้คู่กับ TIE หากอัตราส่วนหนี้สินสูงและ TIE สูงด้วย แสดงว่าองค์กรมีโอกาสในการระดมเงินทุนด้วนวิธีการกู้เงินเพิ่มขึ้น แต่ถ้าอัตราส่วนหนี้สินสูงแต่ TIE ต่ำ แสดงว่าองค์กรจะระดมทุนด้วยการก่อหนี้ด้ยากเจ้าหนี้จะไม่พิจารณาปล่อยเงินกู้ให้กับองค์กร
ถ้าอัตราหนี้สินต่ำและ TIE ต่ำ การระดมทุนด้วยการก่อหนี้ได้หรือไม่แล้วแต่เจ้าหนี้และต้องดูตัวอื่นประกอบด้วย เช่นนำเงินไปทำอะไร หรือดูวิธีการใช้เงิน
ถ้าหนี้ระยะยาวต้องเอาไปใช้กับสินทรัพย์ถาวร ส่วนหนื้ระยะสั้นต้องใช้กับสินทรัพย์หมุนเวียน
4. อัตราส่วนกำไร (profitability ratios) แสดงให้เห็นประสิทธิภาพของผู้บริหารในการควบคุมต้นทุนในด้านต่างๆ เพื่อก่อให้เกิดกำไร
4.1 อัตราส่วนกำไรขั้นต้น (gross profit) แสดงให้เห็นประสิทธิภาพของผู้บริหารในการควบคุมต้นทุนการผลิต
ถ้าอัตราส่วน gross profit เพิ่มมากขึ้น แสดงว่าผู้บริหารมีประสิทธิภาพในการควบคุมต้นทุนการผลิตให้ต่ำลงได้ ต้นทุนการผลิตคือ ต้นตุนที่เกิดจากของเสียระหว่างการผลิต เวลาการผลิต การซ่อมแซมเครื่องจักรและการบำรุงรักษา ซึ่งถ้าควบคุมต้นทุนการผลิตทั้ง 3 ตัวนี้ได้ จะทำให้กำไรขั้นต้นสูงขึ้น
4.2 Net Profit เป็นประสิทธิภาพของผู้บริหารในการควบคุมต้นทุนค่าใช้จ่ายในการขายและในการบริหาร เพื่อทำให้กำไรสุทธิเพิ่มมากขึ้น
ถ้า Net Profit Margin สูง แสดงว่าผู้บริหารสามารถควบคุมต้นทุนค่าใช้จ่ายในการขายและค่าใช้จ่ายในการบริหารให้ต่ำลงได้ ต้นทุนค่าใช้จ่ายในการขาย ต้นทุนส่วนใหญ่อยู่ที่สินค้าคงคลัง
ต้นทุนในการบริหารอยู่ที่ management เรื่องของการติดต่อสื่อสารที่ไม่มีประสิทธิภาพเรื่องของการใช้แรงจูงใจ เรื่องของการมีผู้บริหารระดับกลางมากเกินไป ดังนั้นจะต้องทำให้องค์กรแบนราบลง ซึ่งถ้าองกรแบนราบลงแล้วใช้ Empowerment แล้วจะทำให้สายบังคับบัญชาสั้นลง แต่ span of control (ขนาดของการควบคุม) ก็จะกว้างขึ้น จะทำให้ประหยัดต้นทุนในการบริหารได้
4.3 ROA หรือ ROE (Return on Assets ; Return on Equity) คือการใช้สินทรัพย์ทั้งหมดให้เกิดกำไรสุทธิ จะแสดงให้เห็นถึงประสิทธิภาพของผู้บริหารในการใช้สินทรัพย์เพื่อก่อให้เกิดกำไรสุทธิ
ถ้าอัตราส่วน ROA หรือ ROI สูงแสดงว่าผู้บริหารสามารถใช้สินทรัพย์ทั้งหมดให้เกิดกำไรสุทธิได้ดี จะทำให้ ROI กับROA สูงขึ้นได้ จะต้องให้มีกำไรมากๆซึ่งจะมีกำไรได้จะต้องมาก และใช้สินทรัพย์ให้น้อยลง
4.4 ROE--Return on Equity ประสิทธิภาพของผู้บริหารในการใช้ส่วนของผู้ถือหุ้นให้เกิดกำไรมากที่สุด หรือประสิทธิภาพของผู้บริหารในการตอบแทนผู้ถือหุ้นให้ได้มากที่สุด
การจะทำให้ ROE สูงขึ้นได้โดยการทำให้กำไรสุทธิสูงแต่ส่วนผู้ถือหุ้น (equity) ต่ำโดยการกู้มาลงทุน แต่จะกู้มากก็ไม่ได้เพราะจะกระทบกับ debt ratio และ TIE
วิธีการแก้ไข ที่จะทำให้ ROI และ ROE สูงขึ้นได้โดย
1. ทำให้ยอดขายเพิ่มขึ้น
2. ทำให้กำไรสุทธิเพิ่มขึ้น
3. ลดสินทรัพย์ลง
4. ใช้การกู้ยืมให้มากขึ้น

องค์กรที่มีภาระผูกพันจากการดำเนินงาน operating leverage

องค์กรที่มีภาระผูกพันธ์จากการดำเนินงาน เช่นองค์กรที่ใช้สินทรัพย์ถาวรมาก ๆ องค์กรที่ใช้เทคโนโลยีสมัยใหม่สูง ๆ จะเป็นองค์กรที่มีความเสี่ยงทางธุรกิจ
หน้าที่ของผู้จัดการการเงิน
1. หาเงินทุนหรือระดมเงินทุน
- เงินทุนระยะสั้น เช่น เจ้าหนี้ ค่าใช้จ่ายค้างจ่าย เงินกู้ระยะสั้นจากธนาคาร
- เงินทุนระยะยาว เช่น หุ้นกู้ พันธบัตร
2. ใช้เงินทุน สินทรัพย์หมุนเวียน สินทรัพย์ถาวร คือ ด้านซ้ายของงบดุล
3. นโยบายเงินปันผล
อัตราส่วนทางการเงิน (financial ratio)
เครื่องมือทางการเงินอย่างหนึ่งที่ใช้วัดการดำเนินงานขององค์กร เพื่อให้ผู้บริหารเห็นปัญหาและสามารถแก้ไขปัญหาได้ การวิเคราะห์อัตราส่วนทางการเงินควรวิเคราะห์ในลักษณะ
- เปรียบเทียบผลงานของตนเองในอดีต
- เปรียบเทียบกับอุตสาหกรรมเดียวกัน
- เปรียบเทียบกับคู่แข่ง (เบอร์ 1)

อัตราส่วนทางการเงิน แบ่งออกเป็น 4 กลุ่ม
1. อัตราส่วนสภาพคล่อง (liquidity ratios) เป็นอัตราส่วนที่ใช้วัดความสามารถในการชำระหนี้ระยะสั้นขององค์กร โดยการเปลี่ยนสินทรัพย์หมุนเวียน เช่น หลักทรัพย์ในความต้องการของตลาด ลูกหนี้และสินค้า ให้เป็นเงินสดเพื่อชำระหนี้ระยะสั้น (ถ้าอัตราส่วนสภาพคล่องสูงแสดงว่าองค์กรมีความสามารถในการชำระหนี้ระยะสั้นได้ดี องค์กรจะมีความเสี่ยงต่ำ ผลตอบแทนก็จะน้อยไปด้วย แต่ถ้าอัตราส่วนสภาพคล่องต่ำแสดงว่าองค์กรจะมีปัญหาในการดำเนินงาน อาจจะขาดสภาพคล่องในการดำเนินงาน องค์กรจะมีความเสี่ยงสูง)
2. อัตราส่วนกิจกรรม (asset management ratios) เป็นอัตราส่วนที่ใช้วัดการดำเนินงานขององค์กร โดยพิจารณาประสิทธิภาพภายในการใช้สินทรัพย์ต่าง ๆ เช่น ลูกหนี้ สินค้าคงคลัง สินทรัพย์ถาวร สินทรัพย์ทั้งหมด เพื่อก่อให้เกิดยอดขาย
อัตราส่วนกิจกรรม ประกอบด้วย
2.1 Inventory Turnover อัตราการหมุนเวียนของสินค้าคงคลัง
เป็นการวิเคราะห์ว่าใน 1 รอบระยะเวลาบัญชี สินค้ามีการหมุนเวียนกี่ครั้ง ถ้ามีค่าสูง (กว่ามาตรฐาน) แสดงว่าสินค้ามีการหมุนเวียนมาก แสดงว่ายอดขายสูงขึ้น และการที่ยอดขายสูงขึ้นทำให้สินค้าคงคลังลดน้อยลง หาก inventory turnover สูง องค์กรควรจะวางแผนรองรับการเจริญเติบโต โดยการผลิตสินค้าให้เพียงพอต่อผู้บริโภค หากองค์กรไม่มีการวางแผนสินค้าจะไม่เพียงพอต่อการจำหน่าย จะทำให้เสียโอกาสในการเจริญเติบโตขององค์กร
ถ้า inventory turnover ต่ำ แสดงว่ายอดขายขององค์กรลดลง สินค้าคงเหลือจะมากขึ้น จะทำให้เกิดต้นทุนในการจัดเก็บสินค้า ต้นทุนสินค้าเสียหาย ต้นทุนสินค้าล้าสมัย ต้นทุนสินค้าสูญหาย ซึ่งต้นทุนที่เพิ่มสูงขึ้นทำให้กำไรขององค์กรลดลง จะต้องหาสาเหตุว่าอะไรที่ทำให้ยอดขายลดลง
2.2 Days Sales Outstanding ระยะเวลาการเก็บหนี้
แสดงให้เห็นประสิทธิภาพขององค์กรในการจัดเก็บหนี้ หรือรับชำระหนี้จากลูกหนี้ ซึ่งจะมีผลต่อเงินสดขององค์กร
หาก days sales outstanding มีค่าสูงขึ้นแสดงว่าระยะเวลาจัดเก็บหนี้จะนานมากขึ้น ทำให้องค์กรมีเงินสดน้อยลง ไม่สามารถเปลี่ยนลูกหนี้ให้เป็นเงินสดได้ จะทำให้เกิดหนี้สูญได้ง่าย
2.3 Fixed Assets Turnover ประสิทธิภาพการใช้สินทรัพย์ถาวร
การใช้สินทรัพย์ถาวรเพื่อก่อให้เกิดยอดขาย ถ้าอัตราส่วน fixed assets turnover ต่ำ แสดงว่าองค์กรยังไม่มีประสิทธิภาพในการใช้สินทรัพย์ถาวร อาจมีสินทรัพย์ถาวรเกินความต้องการ อาจมีที่ดิน อาคารหรืออุปกรณ์มากเกินไป หรือเครื่องจักรอาจล้าสมัย จึงทำให้สินทรัพย์ถาวรมากเกินไป ซึ่งทำให้เกิดยอดขายที่ต่ำลงและไม่สามารถสร้างยอดขายได้
ถ้า fixed assets turnover สูง แสดงว่าองค์กรมีประสิทธิภาพในการใช้สินทรัพย์ถาวรที่ดี มีการจัดสินทรัพย์ถาวรที่เหมาะสม มีสิน มีสินทรัพย์ถาวรในจำนวนที่เหมาะสมกับกิจการ สามารถทำให้ยอดขายเพิ่มขึ้นได้
2.4 Total Assets Turnover ประสิทธิภาพการใช้สินทรัพย์ทั้งหมดเพื่อให้เกิดยอดขาย
ถ้า total assets turnover มีค่าสูงแสดงว่ามีการจัดการสินทรัพย์ทั้งหมด ทั้งสินทรัพย์หมุนเวียนและสินทรัพย์ถาวรอย่างมีประสิทธิภาพ ทำให้ยอดขายเพิ่มขึ้นได้ และถ้า total assets turnover มีค่าต่ำแสดงว่ามีการจัดการสินทรัพย์ทั้งหมด ทั้งสินทรัพย์หมุนเวียนและสินทรัพย์ถาวรอย่างไม่มีประสิทธิภาพ จะต้องแก้ไขในเรื่องการลงทุนในสินทรัพย์หมุนเวียนและสินทัพย์ถาวรด้วย
Fixed Assets Turnover ใช้วิเคราะห์ร่วมกับ Total Assets Turnover ถ้า Fixed Assets Turnover ดีคือสูงขึ้นเลื่อย ๆ แต่ Total Assets Turnover ต่ำ แสดงว่าประสิทธิภาพในการใช้สินทรัพย์ถาวรได้ดี แต่ต้องไปแก้ไขที่สินทรัพย์หมุนเวียน
3. อัตราส่วนหนี้สิน (debt management ratios) เป็นอัตราส่วนที่ใช้ในการวัดความสามารถในการก่อหนี้ ถ้าองค์กรที่มีหนี้มาก จะเป็นองค์กรที่มีความผูกพันธ์ทางการเงินจึงมีความเสี่ยงสูง

ปัจจัยที่ทำให้มูลค่าของหุ้นสามัญในท้องตลาดสูงที่สุดมี 2 ปัจจัย

1. เงินปันผล เมื่อจ่ายเงินปันผลมากเท่าไรราคาของหุ้นสามัญก็จะสูงขึ้นเท่านั้น
2. ความเสี่ยง คือโอกาสที่จะสูญเสียบางอย่าง ในทางการเงินจะพิจารณาความเสี่ยงได้จาก ความปลอดภัยของเงินลงทุนกับอัตราผลตอบแทน ถ้าความปลอดภัยของเงินลงทุนน้อย แสดงว่ามีความเสี่ยงสูงเมื่อมีความเสี่ยงสูง อัตราผลตอบแทนต้องสูง ตามหลักการของ Trade off (high risk high return) ในทางตรงกันข้าม ถ้าความปลอดภัยมาก ความเสี่ยงก็จะน้อย ผลตอบแทนก็จะน้อย
Trade off มี 5 ปัจจัย
1. ประเภทของธุรกิจ ธุรกิจที่ต่างกันก็จะมีความเสี่ยงที่ต่างกันผลตอบแทนก็ต่างกัน
2. ขนาดของธุรกิจ ธุรกิจประเภทเดียวกันแต่มีขนาดต่างกัน ธุรกิจขนาดใหญ่ก็จะมีความเสี่ยงมากกว่าธุรกิจขนาดเล็ก
3. เทคโนโลยีและอุปกรณ์ที่ใช้ในองค์กร ธุรกิจที่ลงทุนในทรัพย์สินถาวรมากเท่ไร ก็มีความเสี่ยงมากเท่านั้น เช่น ธุรกิจสายการบิน
4. การใช้ประโยชน์จากหนิ้สิน ถ้าใช้หนี้มาก ๆ จะมีความเสี่ยงสูง แต่จะทำให้มีเงินไปลงทุนในในสินทรัพมาก โอกาสที่จะทำก็มากตามไปด้วย
5. สภาพคล่อง องค์กรที่มีสภาพคล่องมาก ๆ ความเสี่ยงก็น้อย การมีสภาพคล่องมาก คือการมีสินทรัพย์หมุนเวียนมาก แต่ตัวที่ก่อให้เกิดกำไรคือสินทรัพย์ถาวร ดังนั้น การที่มีสภาพคล่องมากหมายความว่าเอาเงินไปลงทุนในสินทรัพย์สินทรัพย์หมุนเวียนมาก เหลือเงินลงทุนในสินทรัพย์ถาวรน้อย ทำให้โอกาสที่จะทำกำไรน้อยตามไปด้วย
ความเสี่ยง (risk) แบ่งออกเป็น 2 ประเภท
1. ความเสี่ยงที่มีระบบ (systematic) เป็นความเสี่ยงที่เกิดขึ้นกับทุกองค์กรเหมือนกัน แต่ละองค์กรจะได้รับผลกระทบจากความเสี่ยงไม่เท่ากัน เช่น ภาวะเศรษฐกิจและการเมือง ภาวะเศรษฐกิจตกต่ำกระทบกับทุกบริษัท
2. ความเสี่ยงไม่มีระบบ (unsystematic risk) เป็นความเสี่ยงที่เกิดขึ้นกับองค์กรแต่ละองค์กร เช่น ประสิทธิภาพของผู้บริหาร การประทวงของพนักงาน การฟ้องร้องคดี ดังนั้นความเสี่ยงที่ไม่มีระบบเป็นความเสี่ยงที่หลีกเลี่ยงได้โดยการกระจายการลงทุน
2.1 ความเสี่ยงทางการเงิน (อยู่ด้านขวาของงบดุล) เกิดจากการที่เรามีหนี้สิน องค์กรมีหนี้สินมากจะเป็นองค์กรที่มีภาระผูกพันทางการเงิน และเป็นองค์กรที่มีความเสี่ยงทางการเงิน เช่น มีหนี้สินมาก การกู้มาก สินค้าล้าสมัยทำให้ต้องกู้เงินมาลงทุนใหม่ คู่แข่งมากทำให้ต้องเร่งการผลิตมากต้องกู้เงินมาลงทุนมากขึ้น การขาดประสิทธิภาพของผู้บริหาร
2.2 ความเสี่ยงทางด้านธุรกิจ (business risk) (อยู่ด้านซ้ายของงบดุล)

การตัดสินใจลงทุน

1. นโยบายการจัดหาเงินทุนหมุนเวียน ทั้ง 3 แนวคิด
- แนวคิดขาดดุล
- แนวคิดเกินดุล
- แนวคิดสมดุล
2. การจัดการสินค้าคงเหลือ : ตามแบบจำลองปริมาณการสั่งซื้อที่ประหยัด EOQ
- การกำหนดปริมาณการสั่งซื้อต่อครั้งที่ทำให้เกิดประหยัด
- การกำหนดจุดสั่งซื้อ
- การกำหนดระดับสินค้าคงเหลือเผื่อขาด
3. ความเสี่ยงและผลตอบแทน :
- ความเสี่ยงและผลตอบแทนจะมีความสัมพันธ์ไปในทิศทางเดียวกัน โดยการลงทุนใดที่มีความเสี่ยงสูง ผลตอบแทนที่ต้องการก็จะสูงตาม
- ความเสี่ยงของการลงทุนในหุ้นมี 2 ส่วนคือ ส่วนที่สามารถขจัดได้ และความเสี่ยงจากภาวะตลาด
- ความเสี่ยงที่เกิดจากการลงทุนในหลักทรัพย์สามารถทำให้ลดลงได้โดยการลงทุนในหลักทรัพย์มากชนิดหรือเพิ่มขนาดของ portfolio
- ความเสี่ยงจากภาวะตลาด เป็นความเสี่ยงที่เกิดขึ้นและกระทบกับกับทุกกิจการโดยรวมอย่างเป็นระบบเช่นเกิดสงคราม ภาวะเศรษฐกิจตกต่ำ ซึ่งไม่สามารถขจัดได้ด้วยการกระจายการลงทุน
4. การลงทุนในสินทรัพยไม่หมุนเวียน (สินทรัพย์ถาวร)
- การประเมินความคุ้มค่าของโครงการ หลังจากได้ประมาณกระแสเงินสดที่เกี่ยวข้องแล้ว
- วิธี NPV : มูลค่าปัจจุบันสุทธิ วิธี IRR : อัตราผลตอบแทนจากการลงทุน
- ความเสี่ยงของโครงการ
1. ความเสี่ยงเอกเทศ : คำนึงเฉพาะตัวโครงการ
2. ความเสี่ยงของกิจการ : พิจารณาผลที่จะส่งถึงบริษัท แต่ถูกขจัดได้
3. ความเสี่ยงตลาด
การตัดสินใจหาเงินทุน
1. แหล่งเงินทุนจากเจ้าหนี้
- ข้อดีข้อเสียของการระดมเงินทุนระยะยาวจากเจ้าหนี้ (หุ้นกู้)
2. แหล่งเงินทุนจากส่วนของเจ้าของ : หุ้นสามัญ หุ้นบุริมสิทธิ
- ข้อดีข้อเสียของการออกหุ้นสามัญ
- ข้อดีข้อเสียของการออกหุ้นบุริมสิทธิ
- ลักษณะและข้อดีข้อเสียของหลักทรัพย์แปลงสภาพ
3. ข้อพิจารณาในการจัดหาเงินทุน
- ปัจจัยที่ต้องพิจารณาในการตัดสินใจระดมเงินทุนระยะยาวจากส่วนของเจ้าของ
4. แนวคิดของต้นทุนเงินทุน
- ต้นทุนเงินทุนถัวเฉลี่ยถ่วงน้ำหนัก WACC
5. โครงสร้างเงินทุนที่เหมาะสม : การกำหนดสัดส่วนของหนี้สินระยะยาวและส่วนของเจ้าของ ที่ทำให้ราคาตลาดของหุ้นสามัญสูงสุด
- ปัจจัยที่ต้องพิจารณาในการตัดสินใจเกี่ยวกับโครงสร้างเงินทุน
6. ความเสี่ยงของกิจการ
- ความเสี่ยงทางธุรกิจ : เกิดจากการดำเนินงานของธุรกิจนั้น ๆ
- ความเสี่ยงทางการเงิน : เกิดเพิ่มจากการตัดสินจัดหาเงินทุนโดยการกู้ยืม
7. การควบรวมกิจการ
- รูปแบบและลักษณะ
- มูลเหตุของการควบรวมกิจการ

การจัดการการเงิน

 การตัดสินใจลงทุน : การจัดสรรเงินทุนเพื่อการลงทุนในสินทรัพย์อย่างมีประสิทธิภาพ เพื่อให้เกิดประโยชน์ต่อกิจการมากที่สุด
1.1 การลงทุนในสินทรัพย์หมุนเวียน : เงินสด หลักทรัพย์ในความต้องการของตลาด ลูกหนี้ สินค้าคงคลัง : ต้องตัดสินใจในสินทรพัย์หมุนเวียนแต่ละประเภท ในระดับที่ก่อให้เกิดความสามารถในการทำกำไรให้แก่ธุรกิจสูงสุด โดยมีสภาพคล่องที่เหมาะสม
1.2 การลงทุนในสินทรัพย์ไม่หมุนเวียน : มักจะเป็นการลงทุนในสินทรัพย์ถาวร โดยใช้เทคนิคการวิเคราะห์งบลงทุน จะต้องพิจารณา
- ต้นทุนเงินทุน
- ความเสี่ยงในการลงทุน
- องค์ประกอบและคุณภาพของสินทรัพย์
2. การตัดสินใจจัดหาเงินทุน : แบ่งแหล่งเงินทุนเป็น
2.1 แหล่งเงินทุนจากเจ้าหนี้
- หนี้สินระยะสั้นหรือหนี้สินหมุนเวียน : ตั๋วเงินจ่าย เจ้าหนี้การค้า
- หนี้สินระยะยาว : การกู้เงินระยะยาว หุ้นกู้
2.2 แหล่งเงินทุนจากส่วนของเจ้าของ : หุ้นสามัญ หุ้นบุริมสิทธิ
ข้อพิจารณาในการจัดหาเงินทุน คือ
- ต้นทุนเงินทุน
- ความเสี่ยงทางการเงิน
- ระยะเวลาครบกำหนด
- ภาวะผูกพัน
หลักการ ควรหาเงินทุนจากแหล่งใด ระหว่างเจ้าหนี้และส่วนของเจ้าของ ควรจัดหาเป็นเงินระยะสั้นหรือระยะยาว และเป็นสัดส่วนเท่าใด จึงทำให้ต้นทุนของเงินทุนต่ำสุด โดยไม่เกิดความเสี่ยงทางการเงินมากเกินไป

วันพฤหัสบดีที่ 9 พฤษภาคม พ.ศ. 2556

ความเสี่ยงจากการลงทุนในตราสารหนี้

โดยทั่วไปแล้ว การลงทุนในตราสารหนี้ จะมีความเสี่ยงน้อยกว่าการลงทุนในตราสารทุน แต่ในสถานการณ์ที่นโยบายการเงินของภาครัฐไม่ชัดเจน อัตราดอกเบี้ยขยับตัวขึ้นลงมาก ตลาดตราสารหนี้อาจมีความผันผวนและมีความเสี่ยงสูง การลงทุนในตราสารหนี้ในสถานการณ์ดังกล่าว ก็อาจมีความเสี่ยงสูงกว่าการลงทุนในตราสารทุนก็เป็นได้

ความเสี่ยงของตราสารหนี้ มีอยู่ 10 ประเภทด้วยกัน

  1. Interest Rate Risk หรือ Market Risk
    ความเสี่ยงที่เกิดจากอัตราดอกเบี้ยในตลาดเงินผันผวน ตัวอย่างเช่น เมื่ออัตราดอกเบี้ยในตลาดเงินขยับตัวสูงขึ้น หรือมีท่าทีว่าจะขยับตัวสูงขึ้น อัตราดอกเบี้ยที่ตราไว้ (coupon rate) ของตราสารหนี้ที่ออกใหม่ก็จะสูงขึ้นด้วย ตราสารหนี้ที่ออกมาก่อนหน้าและมีการซื้อขายในตลาดรองก็จะมีการซื้อขายในระดับราคาที่ลดลง เพื่อดึงให้อัตราผลตอบแทน(Yield) ขยับสูงขึ้นไปอยู่ในระดับที่เทียบเคียงกันกับอัตราดอกเบี้ยปัจจุบัน ฉะนั้น ยิ่งตราสารหนี้ที่มีอายุยาวเพียงใด หรือ มีอัตราดอกเบี้ยที่ตราไว้ (coupon rate) ต่ำเพียงใด ตราสารหนี้นั้น ก็จะมีความเสี่ยงต่ออัตราดอกเบี้ยที่อาจจะปรับตัวสูงขึ้นในอนาคตมากขึ้นเท่านั้น
  2. Credit Risk หรือ Default Risk
    ความเสี่ยงที่เกิดจากการที่ผู้ออกตราสารหนี้ ไม่สามารถจ่ายชำระดอกเบี้ย หรือ ชำระคืนเงินต้นได้เต็มตามจำนวนเงิน หรือ ตามเวลาที่กำหนดไว้ ในบรรดาตราสารหนี้ทั้งหมดของภาครัฐและภาคเอกชน ตั๋วเงินคลังของรัฐบาล จะไม่มี credit risk เลย ในขณะที่ ตั๋วเงิน หรือ หุ้นกู้ หรือ ตราสารหนี้ประเภทอื่น ๆ ที่ออกโดยภาคเอกชน จะมี credit risk มากบ้าง น้อยบ้างในระดับที่แตกต่างกันไป ทั้งนี้ ขึ้นอยู่กับความสามารถในการจ่ายชำระหนี้เงินต้นและดอกเบี้ยของผู้ออกตราสารหนี้นั้น ๆ
    การพิจารณาความสามารถในการชำระหนี้ของผู้ออกตราสารหนี้ อาจดูจาก ผลการจัดอันดับความน่าเชื่อถือ (credit rating) ตราสารหนี้นั้น ๆ ที่จัดทำโดย บริษัทจัดอันดับความน่าเชื่อถือ (credit rating agency) ซึ่งเป็นองค์กรอิสระ ไม่มีความสัมพันธ์กับผู้ออกตราสารหนี้ ในการจัดอันดับความน่าเชื่อถือนั้น อาจมีการจัดอันดับทั้งด้านคุณภาพของผู้ออกตราสารหนี้ (ความสามารถในการจ่ายชำระหนี้) และด้านคุณภาพของตัวตราสารหนี้เอง (ความเหมาะสมของเงื่อนไขในการชำระหนี้)
  3. Purchasing Power Risk หรือ Inflation Risk
    ความเสี่ยงต่อการมีอำนาจซื้อที่ลดลงในอนาคต ภาวะเงินเฟ้อมีอิทธิพลต่ออำนาจซื้อของผู้ลงทุน ในขณะที่ภาวะเงินเฟ้อเป็นสิ่งที่คู่กันไปกับการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ ผู้ลงทุนในตราสารหนี้ที่มีอายุยาวเกินกว่า 10 ปี จึงมีความเสี่ยงต่อภาวะเงินเฟ้อและอำนาจซื้อที่ลดลงในอนาคต เพราะดอกเบี้ยที่ได้รับจากการลงทุนในตราสารหนี้ที่มีอายุยาว จะมีจำนวนเงินที่ได้รับในแต่ละงวดเท่าเดิมตลอดอายุของตราสารหนี้นั้น ในขณะที่ภาวะเงินเฟ้อทำให้ราคาสิ่งของแพงขึ้น

    ผลตอบแทนที่แท้จริง = อัตราดอกเบี้ยรับ – อัตราเงินเฟ้อ

    ถ้าภาวะเงินเฟ้อสูงขึ้น ผลตอบแทนที่แท้จริง (real return) ของการลงทุนในตราสารหนี้จะลดลง และทำให้อำนาจซื้อของผู้ลงทุนลดลงด้วย 
    หากภาวะเงินเฟ้อในปีใดสูงเกินกว่าดอกเบี้ยรับของตราสารหนี้นั้น ผลตอบแทนที่แท้จริงที่ผู้ลงทุนจะได้รับอาจถึงขั้นติดลบก็ได้ กล่าวได้ว่า รายรับจากดอกเบี้ยของตราสารหนี้ที่ลงทุนไว้ ไม่เพียงพอกับรายจ่าย ฉะนั้น ผู้ลงทุนที่นำเงินออมจำนวนมาก ๆ ไปลงทุนในตราสารหนี้อายุยาวที่มีดอกเบี้ยในอัตราคงที่ (fixed coupon rate) อาจประสบกับความเสี่ยงประเภท purchasing power risk เมื่อเงินเฟ้อพุ่งสูงขึ้น รายจ่ายเพิ่มขึ้นตามภาวะเงินเฟ้อ แต่มีรายได้จากดอกเบี้ยรับคงที่ โดยส่วนใหญ่แล้ว ผู้ลงทุนมิได้คำนึงถึงความเสี่ยงประเภทนี้มากนัก 
    ผู้ลงทุนจึงควรกระจายเงินที่จะลงทุนไปในตราสารหนี้ที่มีอายุ (maturity) หลากหลาย เพื่อเป็นการกระจายความเสี่ยงประเภท purchasing power risk ไปในตัว

วันอาทิตย์ที่ 5 พฤษภาคม พ.ศ. 2556

การบริหารผลตอบแทน

ในความหมายของผลตอบแทนในแง่ธุรกิจ ย่อมหมายถึงต้นทุนและค่าใช้จ่ายในการดำเนินการซึ่งกำหนดจ่ายแก่พนักงานเพื่อให้ปฏิบัติหน้าที่ตาม ค่าของงาน และ ผลการทำงาน
ส่วนในด้านพนักงาน ผลตอบแทนก็คือ ค่าจ้างหรือเงินเดือน สวัสดิการและผลประโยชน์อื่นซึ่งบริษัทกำหนดให้ เพื่อเป็นการตอบแทนการทำงาน โดยที่พนักงานต้องปฏิบัติหน้าที่ตามที่ได้รับมอบหมาย โดยใช้วิชาความรู้ ทักษะ ความชำนาญตามตำแหน่งของงาน ซึ่งตนได้รับไว้ตามสัญญาจ้างแรงงาน
การบริหารผลตอบแทน จึงมีความหมายมิใช่เฉพาะเรื่องการบริหารค่าจ้างหรือเงินเดือน แต่หมายถึงตั้งแต่การกำหนดลักษณะงาน ค่าของงาน (Job Value) การวัดผลการทำงาน ตลอดจนถึงการบริหารสวัสดิการ และผลประโยชน์ต่าง ๆ ซึ่งบริษัทกำหนดให้เป็นผลตอบแทนการทำงาน และการกำหนดระเบียบวิธีปฏิบัติเกี่ยวกับการจ่ายหรือการจัดให้พนักงานได้รับผลตอบแทนการทำงานดังกล่าวอย่างถูกต้อง
การบริหารผลตอบแทนจึงจำเป็นต้องมีการวางแผน การจัดระบบงาน การควบคุมกิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับการจ่ายผลตอบแทนตามผลการปฏิบัติงานที่พนักงานได้ทุ่มเท (Contribute) ให้แก่บริษัท


เป้าหมายหลักในการจัดระบบการบริหารผลตอบแทนการทำงาน นอกเหนือจากเพื่อธำรงรักษาทรัพยากรบุคคลของบริษัทแล้ว ยังมีเป้าหมายหลักดังนี้
1. เพื่อให้เกิดความเป็นธรรม ผู้ที่มีผลการปฏิบัติงานที่ดีที่สุด ควรได้รับผลตอบแทนสูงสุด
2. เพื่อจูงใจให้พนักงานทำงานอย่างมีประสิทธิผลสูงสุด
3. เพื่อสามารถแข่งขันกับตลาดได้ คือ สามารถธำรงรักษาบุคลากรที่มีคุณภาพและสามารถคัดเลือก สรรหาผู้มีความสามารถเข้ามาเป็นพนักงานบริษัท
4. สามารถควบคุมต้นทุนและค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับผลตอบแทนการทำงานให้สอดคล้องกับผลผลิต และผลการดำเนินธุรกิจ
5. เพื่อให้การจ่ายผลตอบแทนเป็นการจ่ายตามผลการปฏิบัติงาน (Pay per Performance) 
6. เพื่อสะดวกแก่การบริหารและการจัดการให้เป็นไปตามนโยบายและหลักการบริหารบุคคลในเรื่อง ต่าง ๆ ซึ่งได้แก่
6.1 การจ้างแรงงาน
6.2 การสับเปลี่ยน โยกย้าย แต่งตั้ง เลื่อนตำแหน่งพนักงาน
6.3 มาตรฐานงานและการประเมินผลการปฏิบัติงาน
6.4 การบริหารค่าจ้างและเงินเดือน
6.5 การบริหารสวัสดิการ
6.6 การจัดการเกี่ยวกับผลประโยชน์ต่าง ๆ ที่บริษัทจัดให้แก่พนักงาน ฯลฯ
7. เพื่อส่งเสริมความสัมพันธ์อันดีระหว่างผู้บังคับบัญชาและผู้ใต้บังคับบัญชา รวมทั้งเป็นการส่งเสริมความร่วมมือจากพนักงาน โดยอาศัยหลักแห่งความยุติธรรมในการจ่ายผลตอบแทนการทำงาน

นโยบายราคาเกี่ยวกับวงจรชีวิตผลิตภัณฑ์ (Pricing over Product Life Cycle)

3.1 การตั้งราคาแบบตักครีมหน้านม (Skimming Pricing) หมายถึงการตั้งราคาสินค้าให้สูงกว่าราคาปกติ ส่วนใหญ่แล้วจะใช้ในกรณีดังนี้คือ
3.1.1 เป็นระระเริ่มแรกของการนำผลิตภัณฑ์ใหม่ที่มีลักษณะดีเด่น 
เป็นพิเศษออกตลาด

3.1.2 ต้องการให้ราคาเป็นเครื่องกำหนดคุณภาพ 

3.1.3 ไม่แน่ใจว่าต้นทุนจะเป็นเท่าไร 

3.1.4 ผลิตภัณฑ์นั้นเข้าสู่ตลาดยากเพราะเป็นสินค้าที่ต้องใช้เงินลงทุน
จำนวนสูงมาก 

3.1.5 เจาะตลาดเฉพาะลูกค้ากลุ่มที่มีรายได้สูงเท่านั้น

3.1.6 ราคาสินค้าไม่เป็นปัญหาในการตัดสินใจซื้อ 

3.1.7 รักษาอุปสงค์ให้อยู่ในขอบข่ายของความสามารถ ในการผลิต เพื่อป้องกันสินค้าขาดตลาด

3.1.8 ต้องการตักตวงกำไรให้มากก่อนที่คนอื่นจะเข้ามาแข่งขัน


3.2 การตั้งราคาแบบเจาะตลาด (Penetration Pricing) หมายถึง การตั้งราคา สินค้าให้ต่ำกว่าราคาปกติ ใช้ได้ในกรณีดังนี้

3.2.1 ดึงดูดความสนใจและเชื้อเชิญให้สามารถซื้อมาทดลองใช้ได้
3.2.2 การขายราคาต่ำช่วยเพิ่มปริมาณการขาย ทำให้สามารถผลิตได้ ณ ระดับการผลิตที่ทำให้ต้นทุนการผลิตต่อหน่วยลดต่ำลง 
3.2.3 เมื่อมีการแข่งขันกันอย่างรุนแรง
3.2.4 ใช้กับสินค้าอุปโภคบริโภคซึ่งราคาเป็นปัจจัยสำคัญในการตัดสินใจซื้อ 
3.2.5 เป็นตลาดของผู้บริโภคที่มีรายได้น้อย

นโยบายและกลยุทธในการกำหนดราคา (Price Policy and Strategy)

1. นโยบายเกี่ยวกับระดับราคาทั่ว ๆ ไป (The General Price Level)
1.1 นโยบายตั้งราคาเท่ากับราคาตลาดหรือคู่แข่ง
1.2 นโยบายตั้งราคาสูงกว่าราคาตลาดหรือคู่แข่งขัน
1.3 นโยบายตั้งราคาต่ำกว่าราคาตลาดหรือราคาคู่แข่ง
2. แบบลักษณะของการตั้งราคา (Uniform Price)
2.1 ราคาคงที่หรือตายตัว (Fixed Price) คือการกำหนดราคาขายสินค้าหรือ
บริการ ให้ลูกค้าทุกคนในราคาเดียวกันหมดภายใต้สภาวะทางการค้าเดียวกัน
หรือคล้ายกันหรืออาจเรียกว่านโยบายราคาเดียว (One Price Policy) 

2.2 ราคาต่อรอง (Negotiated Price) คือการกำหนดราคาขายสินค้าหรือบริการ
ให้ลูกค้า แต่ละรายในราคาที่แตกต่างกันแม้ว่าจะซื้อสินค้าหรือบริการในปริมาณ
ที่เท่ากัน และภายในสถานการณ์คล้าย ๆ กัน เราอาจเรียกว่า นโยบายหลายราคา 
(Flexible Price Policy) 

2.3 ราคาควบคุม (Resale Price Maintenance) คือการกำหนดราคาขายปลีก
ที่แน่นอนของ บริษัทผู้ผลิตซึ่งกระทำได้โดยการติดราคาขายไว้ที่ตัวผลิตภัณฑ์เลย

วัตถุประสงค์ในการกำหนดราคา

แบ่งได้เป็น 3 ประเภทใหญ่ ๆ คือ
1. พิจารณาด้านกำไร (Profit Oriented Objectives)
2. พิจารณาด้านการขาย (Sales Oriented Objectives)
3. เพื่อรักษาเสถียรภาพของราคา (Stabilize Price Objectives)
1. วัตถุประสงค์ในการกำหนดราคาโดยพิจารณาด้านกำไร
วัตถุประสงค์ในการกำหนดราคาโดยพิจารณาด้านกำไรนั้นหมายความว่า ใช้กำไรเป็นตัวกำหนด หรือหลักในการพิจารณาว่าราคาควรอยู่ระดับใดแบ่ง 
ได้ 2 อย่างคือ
1.1 เพื่อได้ตอบแทนตามเป้าหมาย (Target Return) คือเป็น การตั้งเป้าหมายไว้ก่อนว่าต้องการกำไรเป็นจำนวนเงินคงที่เท่าใด อาจคิดเป็นจำนวนเงินหรือคิดเป็นกำไรเป็นร้อยละเท่าใดจากเงินลงทุน หรือร้อยละราคาขาย แล้วจึงคำนวณว่าจะตั้งราคา ณ ระดับใดจึงจะ ได้กำไรตามเป้าหมาย

1.2 เพื่อได้ผลตอบแทนสูงสุด (Maximize Profit) คือการกำหนดราคาเพื่อ ให้ได้กำไรสูงสุดนั้น ในทางเศรษฐศาสตร์จะพิจารณาตั้งราคาตรงจุดที่
ต้นทุนเพิ่มต่อหน่วย = รายได้เพิ่มต่อหน่วยคือ 
Marginal Cost (MC) = Marginal Revenue (MR)
2. วัตถุประสงค์ในการกำหนดราคาโดยพิจารณาด้านการขายแบ่งได้เป็น 3 อย่าง 
คือ
2.1 เพื่อเพิ่มปริมาณการขาย (Increased Sales) คือการตั้งราคาให้ต่ำ แต่ต้องคำนึงด้วยว่าจะต้องไม่ต่ำกว่าต้นทุน และควรเป็นราคาที่ทำให้ขาย
ได้มาก ที่สุด 

2.2 เพื่อรักษาสัดส่วนของการถือครองตลาด (Maintain Market Share) คือการตั้งราคาเพื่อให้กิจการดำเนินต่อไปเรื่อย ๆ เพื่อให้ได้กำไรพอ สมควรแต่มียอดการจำหน่ายในสัดส่วนคงที่ 

2.3 เพื่อเพิ่มปริมาณการถือครองตลาด (Inereased Market Share) คือการตั้งราคาที่ทำให้ขยายส่วนถือครองตลาดให้สูงขึ้น คิดดึงเอา เปอร์เซ็นต์การถือครองตลาดของคู่แข่งขันมา วิธีการนี้อาจทำได้โดย การลดราคาสินค้าลง หรือที่เรียกว่าการตัดราคา
3. วัตถุประสงค์ในการกำหนดราคาโดยพิจารณาการรักษาเสถียรภาพของราคา
แบ่งเป็น 2 ลักษณะคือ
3.1 เพื่อรักษาระดับราคาให้คงที่และไม่มีการพัฒนาด้านใดให้ดีขึ้น คงปล่อย ให้กิจการดำเนินไปเรื่อย ๆ ไม่เปลี่ยนแปลง และคงขายสินค้าราคาคงที่ตลอดไป อาจมีการเปลี่ยนแปลงบ้างแต่นาน ๆ ครั้ง

3.2 เพื่อรักษาระดับราคาให้คงที่ แต่พยายามพัฒนาปรับปรุงคุณภาพผลิตภัณฑ์ ให้ดีขึ้นและผู้บริหารจะต้องพยายามแข่งขันในด้านส่งเสริมการตลาดให้ดีขึ้นด้วย โดยคงราคาไว้ ณ ระดับเดิมเป็นการแข่งขันโดยใช้วิธีอื่นซึ่งไม่ตัดราคา

ปัจจัยที่ควรคำนึงในการกำหนดราคา

1. ปัจจัยภายใน
2. ปัจจัยภายนอก
1. ปัจจัยภายใน
1. วัตถุประสงค์ขององค์การ (Company Objective) องค์การหรือบริษัทจะเป็นผู้กำหนดเป้าหมายและนโยบายในการดำเนินกิจการ แล้วจึงกำหนดราคาเพื่อให้ สอดคล้องกัน

2. ลักษณะและประเภทของสินค้า (Character of Product) เช่น สินค้าเกษตรกรรมนอกฤดูจะขายราคาแพงกว่าปกติมาก

3. ต้นทุนจะเป็นตัวกำหนดราคาขั้นต่ำสุด
2. ปัจจัยภายนอก
1. คำนึงถึงอุปสงค์ (Demand) ของตลาดว่ามีความต้องการเสนอซื้อสินค้ามาก
เท่าใดและอุปสงค์ ของสินค้านั้นมีความยืดหยุ่นต่อราคาเป็นอย่างไร
2. สภาพเศรษฐกิจในปัจจุบัน 
3. กฎหมายและรัฐบาล
4. จรรยาบรรณในการประกอบธุรกิจ 
5. สภาพการแข่งขัน 
6. คำนึงถึงพ่อค้าคนกลาง ผู้ผลิตตั้งราคาให้เขาสามารถขายได้
7. ผู้บริโภค

วันจันทร์ที่ 8 เมษายน พ.ศ. 2556

การวิเคราะห์เชิงปริมาณ

การวิเคราะห์เชิงปริมาณ
แบ่งเป็น 2 วิธีหลักๆ คือ


  • 1. วิธีอนุกรมเวลา (Time Series) อาศัยข้อมูลในอดีตที่มาเป็นช่วงเวลาหนึ่ง ที่ทำให้สามารถเห็นแนวโน้มและรูปแบบของข้อมูล โดยสมมติว่า รูปแบบและแนวโน้มนี้จะมีต่อเนื่องในอนาคต
  • 2. วิธีการใช้ตัวแปรต้นและตัวแปรตาม (Explanatory method)
การวิเคราะห์แบบ Value Analysis
เป็นระบบที่ขยายขอบเขตจากในคุณค่าของตัวธุรกิจเอง สู่ผู้ผลิตวัตถุดิบและลูกค้า แสดงให้เห็นว่า การเปลี่ยนแปลงของปัจจัยนั้นๆ จะส่งผลกระทบอย่างไรต่ออุตสาหกรรมที่เราต้องการวิเคราะห์ เช่น การเปลี่ยนแปลงทางการใช้เทคโนโลยี Global positioning System ทำให้ระบบโลจิสติกส์มีประสิทธิภาพมากขึ้น ทำให้อุตสาหกรรมการผลิตสามารถวางแผนการผลิตและการส่งสินค้าได้ถูกต้องตรง เวลามากขึ้น ถ้าเราไม่แน่ใจว่าปัจจัยที่เกิดขึ้นจะทำให้อุตสาหกรรมนั้นทำกำไรให้กับ อุตสาหกรรมได้หรือไม่ เราก็สามารถใช้ห่วงโซ่คุณค่าของลูกค้ามาพิจารณาว่า สิ่งนั้นทำให้ลูกค้าสามารถดำเนินกิจกรรมในชีวิตได้ดีขึ้นมีประสิทธิภาพขึ้น หรือไม่

วัฏจักรอุตสาหกรรม
ใช้ในการประเมินยอดขายและอัตราการขยายตัวของอุตสาหกรรม โครงสร้างอุตสาหกรรมและการแข่งขันในอุตสาหกรรม สร้างสภาพแวดล้อมให้บริษัทแข่งขัน บริษัทเองก็จะต้องดำเนินกลยุทธ์ต่างๆ เพื่อแข่งขันในตลาด เพื่อทำให้เกิดกำไร การเข้าใจอุตสาหกรรมจึงช่วยในการวิเคราะห์ ตัดสินใจเลือกอุตสาหกรรมที่น่าจะมีแนวโน้มในการทำกำไรด้วย วัฏจักรอุตสาหกรรมประกอบด้วย 4 ช่วงด้วยกันคือ
  • 1. ช่วงบุกเบิก (Introduction)
  • 2. ช่วงที่การขยายตัวค่อนข้างสูง (Growth)
  • 3. ช่วงที่ตลาดเริ่มอิ่มตัว (Maturity)
  • 4. ช่วงถดถอย (Declining)
แบบจำลองที่ใช้ในการวิเคราะห์อุตสาหกรรม คือ Five Forces ของ Michael Porter ประกอบด้วยการวิเคราะห์
  • 1. ภาวการณ์แข่งขัน อุตสาหกรรมที่มีการแข่งขันสูง จะส่งผลให้มีกำไรต่ำ
  • 2. อุปสรรคในการเข้าสู่ตลาด
  • 3. สินค้าทดแทน
  • 4. อำนาจต่อรองของลูกค้า
  • 5. อำนาจต่อรองของผู้ผลิต

เทคนิคในการวิเคราะห์สภาพแวดล้อม ที่แนะนำ

เทคนิคในการวิเคราะห์สภาพแวดล้อม ที่แนะนำ ได้แก่

  • 1. การวิเคราะห์แบบ PEST
  • 2. การวิเคราะห์แบบ Value Analysis
การวิเคราะห์แบบ PEST
PEST คือการวิเคราะห์
1. Political (การเมือง) - Free trade Area, Mega project and Poverty
2. Economics (เศรษฐกิจ) - China Growth, Inflation and Regional Development
3. Social (สังคม) - Demographic and Health Conscious
4. Technological factors (เทคโนโลยี) - Nano Tech, Fuel Efficient and GPS(Global Positioning System)
ซึ่งการวิเคราะห์จะต้องตั้งอยู่บนพื้นฐานของความเป็นไปได้และความเป็นจริง เป็นหลัก ผู้วิเคราะห์ต้องเข้าใจดีถึงผลกระทบของปัจจัยแวดล้อมต่ออุตสาหกรรม

การวิเคราะห์เชิงคุณภาพ
ในกรณีที่ไม่มีข้อมูลเพียงพอในการวิเคราะห์เชิงปริมาณ หรือต้นทุนในการวิเคราะห์เชิงปริมาณสูงเกินไป เหมาะสมกับการวิเคราะห์ระยะสั้นและอุตสาหกรรมที่มีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวด เร็วที่ไม่มีข้อมูลเชิงปริมาณในอดีตเพียงพอในการวิเคราะห์
วิธีการวิเคราะห์เชิงคุณภาพที่ง่ายที่สุด คือ “Expert Opinion” ทำได้โดยการนำผู้เชี่ยวชาญในสาขาต่างๆ มาระดมความคิดเห็นกัน ยังมีเทคนิค Delphi เป็นเทคนิคที่ใช้รวบรวมความคิดเห็น คิดค้นโดย Rand Corporation โดยให้ผู้เชี่ยวชาญแต่ละคนตอบข้อซักถามของทีมดำเนินงานทีละคน ทีมดำเนินงานจะคัดเลือกคำตอบที่ไม่เข้าพวกอย่างสุดขั้วออกไป เหลือแต่ความเห็นที่คล้ายคลึงกัน แล้วส่งคำตอบที่ได้กลับไปยังผู้เชี่ยวชาญประเมิน ซึ่งต้องทำหลายๆรอบ จนกว่าจะได้มติจากผู้เชี่ยวชาญ

การวิเคราะห์ภาวะอุตสาหกรรม (Industry Analysis)

การวิเคราะห์ภาวะอุตสาหกรรม (Industry Analysis)
การวิเคราะห์หลักทรัพย์จะเกี่ยวข้องกับแหล่งข้อมูล 3 ระดับคือ


  • 1. ข้อมูลระดับมหภาค ได้แก่ ภาวะเศรษฐกิจ การเมือง วัฒนธรรม กฎระเบียบและนโยบายต่างๆ เทคโนโลยี ประชากรศาสตร์ รูปแบบการดำเนินชีวิต
  • 2. ข้อมูลระดับอุตสาหกรรม ได้แก่ วัฏจักรเศรษฐกิจ โครงสร้างตลาด การเปลี่ยนแปลง
  • ของโครงสร้างมหภาค วัฏจักรชีวิตอุตสาหกรรม
  • 3. ข้อมูลระดับบริษัท
ซึ่งข้อมูลทั้ง 3 ระดับนี้ต่างมีผลต่อผลประกอบการของบริษัท ซึ่งจะมีผลต่อผลตอบ
แทนของการลงทุนในหลักทรัพย์ของบริษัทนั้นๆ
ในการวิเคราะห์ข้อมูลระดับมหภาคและระดับอุตสาหกรรม จะต้องทำการวิเคราะห์ 2 ด้านด้วยกัน คือ

  • 1. Qualitative Analysis เป็นการวิเคราะห์เชิงคุณภาพ เป็นการใช้ความคิดเห็นของนักวิเคราะห์มาพิจารณาอาจเกิดการ bias ได้ ไม่สามารถบอกออกมาเป็นตัวเลขได้ แต่สามารถใช้ได้ดีเมื่อมีข้อมูลใหม่ๆเข้ามาโดยเฉพาะข้อมูลภายใน (inside information)
  • 2. Quantitative Analysis การวิเคราะห์เชิงปริมาณ จัดทำง่าย สามารถบอกแนวโน้มได้โดยเฉพาะช่วงสั้นๆ แต่มีโอกาสผิดพลาดได้ หากมีข้อมูลภายในอาจทำให้ยากในการวิเคราะห์
วัฎจักรธุรกิจ
ขึ้นกับแนวโน้มของภาวะเศรษฐกิจเช่นกัน ในช่วงภาวะเศรษฐกิจตกต่ำจนใกล้จุดต่ำสุด Financial stock จะดีขึ้นเนื่องจากมองว่าอนาคตจะ recover เริ่มมีการลงทุนในหุ้นเพิ่มขึ้น เมื่อถึงจุดต่ำสุดของภาวะเศรษฐกิจ Consumer Durable เมื่อถึงช่วงเศรษฐกิจเริ่มโงหัวขึ้น ธุรกิจสินค้าทุนจะเริ่มดี เนื่องจากมีการบริโภคมากขึ้น สินค้าเริ่มมีน้อยลง ต้องมีการผลิตเพิ่ม สินค้าทุนต้องถูกจัดซื้อเพิ่มขึ้น ช่วงเศรษฐกิจเติบโตเต็มที่ Basic industries จะดี

การวิเคราะห์ภาวะเศรษฐกิจ (Economic Analysis)

ต้อง วิเคราะห์ทั้งภาวะเศรษฐกิจโลกและในประเทศ เนื่องจากการเปลี่ยนแปลงของภาวะเศรษฐกิจโลกจะมีผลต่อประเทศไทยของเราเช่นกัน ปัจจัยที่ต้องพิจารณา ได้แก่ การพยากรณ์เกี่ยวกับอัตราการเติบโตของรายได้ประชาชาติของแต่ละประเทศ การพยากรณ์เกี่ยวกับอัตราดอกเบี้ย ฯ
นอกจากนี้ยังต้องติดตามภาวะเศรษฐกิจของประเทศใหญ่ๆ โดยเฉพาะสหรัฐอเมริกาที่มีสัดส่วนการบริโภคในโลกนี้มากที่สุด
ในการวิเคราะห์ภาวะเศรษฐกิจในประเทศ จะต้องศึกษาถึงภาวะเศรษฐกิจในปัจจุบันเป็นอย่างไร ซึ่งวิทยากรเห็นว่าปัจจุบัน



  • -ไทยมีการขาดดุลบัญชีเดินสะพัด แต่ยังไม่น่าเป็นห่วง ควรเร่งการลงทุน ซึ่งภาค
  • เอกชนได้มีการลงทุนกันเป็นจำนวนมาก ยังเหลือแต่ภาครัฐที่ยังไม่ลงทุนมากนัก
  • - สำหรับการบริโภคของคนในประเทศ มีการชลอตัวเนื่องจากการปรับตัวเพิ่มขึ้นของราคาน้ำมัน ที่ทำให้ราคาสินค้าปรับตัวสูงขึ้น
  • - นโยบายการเงิน มีแนวโน้มที่จะมีการปรับอัตราดอกเบี้ยเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องอีกในอนาคต หากมีการปรับอัตราดอกเบี้ยสูงขึ้น ก็จะมีผลต่อภาวะการซื้อขายหลักทรัพย์
  • - ภาวะการซื้อขายหลักทรัพย์ในตลาดหลักทรัพย์ ของประเทศไทยมีผลการ
  • ดำเนินงานที่ต่ำกว่าประเทศต่างๆ ทั่วโลก และดัชนีตลาดหลักทรัพย์ก็ไม่ค่อยมีการเติบโตนัก การลงทุนของนักลงทุนต่างชาติเป็นการเคลื่อนย้ายทุนมาจากประเทศสหรัฐอเมริกา เป็นส่วนใหญ่ อัตราดอกเบี้ยที่ปรับตัวเพิ่มขึ้นส่งผลการเติบโตของตลาดหลักทรัพย์
หลัก ทรัพย์ในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย เมื่อเปรียบเทียบกับตลาดอื่นๆแล้ว มูลค่ายังต่ำมาก เมื่อพิจารณาจากค่า P/E Ratio ในขณะที่บริษัทจดทะเบียนต่างมีงบดุลที่ดีขึ้น นั่นคือมีสัดส่วนหนี้สินต่อส่วนของผู้ถือหุ้นลดลง (มีการใช้เงินทุนจากส่วนของผู้ถือหุ้นเพิ่มขึ้น) ทำให้มีอัตราผลตอบแทนต่อส่วนของผู้ถือหุ้นสูงขึ้น ปัญหาที่อาจเกิดขึ้น เนื่องจากบริษัทต่างๆมีการใช้เงินทุนจากผู้ถือหุ้นมากแล้ว ผลตอบแทนก็เริ่มโตมาก การจะเพิ่มผลตอบแทนเริ่มยากขึ้น อาจทำให้ ROE/ROA ปรับตัวลดลง บริษัทเหล่านี้จะทำอย่างไร มีทางแก้อยู่ 2 ทางคือ

  • 1. เร่งขยายกิจการโดยลงทุนเพิ่มขึ้น 
  • 2. เร่งจ่ายเงินปันผลให้มากๆ

การวิเคราะห์หลักทรัพย์นั้นแบ่งได้เป็น 3 แนวทาง


ถึง แม้จะมีหลายแนวทางให้วิเคราะห์แต่มีเพียง 2 แนวทางแรกเท่านั้น ที่นักวิชาการส่วนใหญ่นำมาวิเคราะห์ บางท่านคิดว่า ตลาดหุ้นนั้นเหมือนการเสี่ยงดวง วัดดวงหรือเหมือนการพนันแต่ความจริงแล้ว ตลาดหุ้นนั้น มีศาสตร์และศิลป์ที่สามารถหาคำตอบได้ทางวิยาศาสตร์และทุกอย่างที่เกิดขึ้นมี ทั้งเหตุและผลครับ มีมหาวิยาลัยชื่อดังหลายแห่งที่มี หลักสูตรการสอนเรื่องตลาดหุ้นโดยเฉพาะครับ อย่างเมืองไทยเราก็มี มหาวิทยาลัยจุฬาลงกรณ์ ส่วนของต่างประเทศดังๆก็มี Massachusetts Institute 0f Technology, Baruch College of The City of New York เป็นต้น

การวิเคราะห์ปัจจัยพื้นฐาน (Fundamantal Analysis)
การวิเคราะห์หลักทรัพย์โดยใช้ปัจจัยพื้นฐาน ประกอบไปด้วย



 

วันอาทิตย์ที่ 10 มีนาคม พ.ศ. 2556

การกำหนดราคาตามหลักภูมิศาสตร์ (geographic pricing)

การกำหนดราคาด้วยเกณฑ์ด้านภูมิศาสตร์ คือ การกำหนดราคาโดยการพิจารณาถึงต้นทุนด้านการขนส่ง ไปยังตลาดตามภูมิภาคต่าง ๆ ดังนั้นในการกำหนดราคาจัดจำหน่ายให้แก่ผลิตภัณฑ์ขององค์กรด้วยหลัก ภูมิศาสตร์ ผู้บริหารการตลาดจึงต้องพิจารณาถึงปัจจัยต่าง ๆ ประกอบด้วย เช่น ระยะทาง ที่ตั้งขององค์กร (หรือโรงงาน) สถานที่จัดจำหน่าย ค่าขนส่ง วิธีการขนส่ง แหล่งวัตถุดิบ และสภาวะการแข่งขันในตลาดโดยมีแนวทางในการกำหนดราคาจำหน่ายของผลิตภัณฑ์ตาม เกณฑ์ข้างต้น ดังนี้        
          3.1 ราคา FOB ณ จุดผลิต (FOB origin pricing) โดยทั่วไปวิธีการดังกล่าวนี้องค์กรผู้ผลิตจะเสนอราคาจำหน่ายผลิตภัณฑ์ ณ จุดผลิต และผู้ซื้อจะต้องออกค่าขนส่งทั้งหมด
          3.2 ราคาส่งมอบเดียวกัน (uniform delivered pricing) คือ การจำหน่ายผลิตภัณฑ์ให้แก่ผู้ซื้อด้วยราคาเดียวกัน โดยไม่คำนึงถึงระยะทางการขนส่ง แต่จะกำหนดราคา ณ ที่ตั้งของผู้ซื้อ
          3.3 ราคาผลิตภัณฑ์ตามเขต (zone-delivered pricing) โดยวิธีการดังกล่าวผู้บริหารการตลาดจะกำหนดเขตการตลาดขององค์กรออกไปตาม พื้นที่ต่าง ๆ และกำหนดราคาจำหน่ายผลิตภัณฑ์ขององค์กรในแต่ละเขตการตลาดตามต้นทุนค่าขนส่ง
          3.4 ราคาที่ผู้ขายรับภาระค่าขนส่ง (freight absorption pricing) วิธีการดังกล่าวนี้ ผู้บริหารการตลาดสามารถนำมาปรับใช้ เพื่อลดอุปสรรคด้านโอกาสในการขยายตลาดจากกรณีการกำหนดราคา FOB ณ จุดผลิต โดยองค์กรจะเป็นผู้รับภาระค่าขนส่งผลิตภัณฑ์ทั้งหมดเฉพาะในพื้นที่ตลาดเป้า หมายที่องค์กรต้องการขยายตลาดเข้าไปและเป็นตลาดที่มีคู่แข่งขันถือครองอยู่ โดยการกำหนดราคาจำหน่ายผลิตภัณฑ์ให้เท่ากับหรือใกล้เคียงระดับราคาของคู่ แข่งในตลาดนั้น ๆ ซึ่งโดยวิธีการกำหนดราคาจำหน่ายผลิตภัณฑ์เช่นนี้สามารถขยายขนาดของตลาดออกไป ตามเขตภูมิศาสตร์ต่าง ๆ ได้
          3.5 ราคาจากจุดฐาน (basing point pricing) เป็นวิธีการกำหนดราคาที่เหมาะสมสำหรับผลิตภัณฑ์ที่มีมาตรฐานแน่นอน ไม่มีความแตกต่างระหว่างผู้ผลิตแต่ละราย และโดยทั่วไปจะเป็นอุตสาหกรรมที่มีกำลังการผลิตส่วนเกิน เช่น เหล็ก ปูนซีเมนต์ น้ำตาลทราย ข้าวโพด เหล่านี้ เป็นต้น ซึ่งการใช้ราคาจากจุดฐานจะลดปัญหาการแข่งขันด้านราคา และไม่ก่อให้เกิดความสับสนขึ้นในตลาดนั้น ๆ เช่นผลิตภัณฑ์ชนิดหนึ่ง มีผู้ประกอบการ 3 ราย ซึ่งตั้งอยู่ในแต่ละภูมิภาค คือ กรุงเทพ ภูเก็ต และหาดใหญ่และผู้ประกอบการเหล่านี้ได้กำหนดให้มีจุดฐานที่ อำเภอหาดใหญ่ โดยกำหนดราคา ณ จุดฐาน หน่วยละ 200 บาทดังนั้น ในกรณีนี้ ผู้ประกอบการไม่ว่าจะอยู่ในภูมิภาคใด และมีต้นทุนค่าขนส่งผลิตภัณฑ์เท่าไร จะมีราคาจำหน่ายที่จุดฐาน 200 บาทต่อหน่วยเท่ากันหมด ดังนั้นหากผลิตภัณฑ์ดังกล่าวจะจัดจำหน่ายที่ภูเก็ตจะกำหนดราคาจำหน่าย จากราคา ณ จุดฐานรวมค่าขนส่งจากจุดฐานถึงภูเก็ต สมมติ ให้เท่ากับ 20 บาทต่อหน่วย ดังนั้นผู้ประกอบการทุกรายจึงต้องกำหนดราคาจำหน่ายของผลิตภัณฑ์ในภูเก็ตใน ราคา 220 บาท ต่อหน่วยเท่ากัน

กลยุทธ์การกำหนดราคา

การกำหนดราคาตามทัศนคติเกี่ยวกับคุณค่าของผลิตภัณฑ์ของผู้บริโภค โดยทั่วไปผู้บริโภคจะคำนึงถึงระดับราคาของผลิตภัณฑ์หนึ่ง ๆ ตามทัศนคติของแต่ละคน เช่น การเลือกที่จะรับประทานข้าวแกงข้างถนน โดยแลกกับเงินค่าอาหารที่ไม่ต้องจ่ายแพงกว่า หรือในพฤติกรรมการบริโภคของผู้บริโภคบางกลุ่มในตลาด ที่จะเห็นว่าผลิตภัณฑ์ที่มีราคาแพงย่อมจะมีคุณภาพที่ดีกว่าผลิตภัณฑ์ชนิด เดียวกัน แต่มีราคาต่ำกว่า ดังนั้นผู้ผลิตหรือจัดจำหน่ายผลิตภัณฑ์ในตลาดประเภทดังกล่าวนี้ จึงควรพิจารณาถึงทัศนคติเกี่ยวกับการให้คุณค่าผลิตภัณฑ์ของผู้บริโภคเป็น สำคัญ

          การกำหนดราคาของคู่แข่งขัน ปัจจัยดังกล่าว ผู้บริหารการตลาดจะต้องติดตามความเคลื่อนไหวของคู่แข่งขัน ทั้งในด้านการกำหนดราคาจำหน่ายของผลิตภัณฑ์ และปฏิกิริยาทีมีต่อการกำหนดกลยุทธ์ขององค์กร ซึ่งโดยทั่วไปแล้วองค์กรที่มีนโยบายกำหนดราคาด้วยปัจจัยดังกล่าว จะยึดหลักกำหนดราคาตามแนวเดียวกันกับคู่แข่งขันอื่น ๆ เช่น เมื่อคู่แข่งขันกำหนดราคาสูงขึ้น องค์กรจะกำหนดราคาสูงตาม แม้ว่าผลิตภัณฑ์ขององค์กรจะมีระดับราคาที่สูงกว่าอยู่แล้ว ซึ่งวิธีการดังกล่าว จะเป็นการรักษาตำแหน่งทางการตลาดของผลิตภัณฑ์ให้มีเสถียรภาพ และลดปฏิกิริยาเกี่ยวกับการตัดสินใจซื้อผลิตภัณฑ์นั้น ๆ ไม่ให้มีการเปลี่ยนแปลงมากนัก

          1.3 ปัจจัยภายนอกอื่น ๆ คือ การกำหนดราคาจำหน่ายผลิตภัณฑ์ ให้มีความสอดคล้องต่อสภาวะแวดล้อมต่าง ๆ กล่าวคือ ผู้บริหารการตลาดจะต้องสามารถพยากรณ์สภาวะแวดล้อมต่าง ๆ ที่จะมีผลกระทบต่อการกำหนดราคาขององค์กรในตลาดเพื่อกำหนดแนวทางหรือกลยุทธ์ ด้านราคาให้มีความสอดคล้องเหมาะสม หรือโดยการปรับปรุงสายผลิตภัณฑ์ขององค์กร ด้วยการเพิ่มผลิตภัณฑ์ที่มีระดับราคาที่เหมาะสมออกมาจำหน่าย เช่น สหพัฒน์ฯ ผลิตและจำหน่ายผงซักฟอกเปาบุ้นจิ้น ในยุคนิยมสินค้าไทยราคาถูกเพื่อช่วยลดปัญหาค่าครองชีพของประชาชนในอดีต หรือการรณรงค์โครงการ Thailand's Best เพื่อสนองนโยบายของรัฐบาลในช่วงวิกฤตการณ์ทางเศรษฐกิจ ที่ส่งเสริมการผลิตและบริโภคสินค้าไทยเหล่านี้ เป็นต้น

2. กลยุทธ์การกำหนดราคา
          กลยุทธ์ทางการตลาดที่เกี่ยวกับราคานับเป็นสิ่งที่ผู้บริหารการตลาดต้องเรียน รู้ และทำความเข้าใจเพื่อการปรับใช้ในสถานการณ์ต่าง ๆ ทางการตลาดซึ่งประกอบด้วยวิธีการต่าง ๆ ดังนี้
          2.1 ส่วนลดและส่วนยอมให้ (discount and allowances)
          ผู้บริหารการตลาดที่ต้องการให้ผลิตภัภัณฑ์เข้าสู่ตลาด จะต้องกำหนดราคาจำหน่ายผลิตภัณฑ์โดยมีส่วนลดรูปแบบต่าง ๆ เพื่อดึงดูดให้คนกลางทางการตลาด เต็มใจทำหน้าที่ทางการตลาดให้แก่ผลิตภัณฑ์ ซึ่งจะประกอบด้วย
          2.2 ส่วนลดปริมาณ (quantity discount) คือ ส่วนลดที่องค์กรจะลดให้กับผู้ซื้อ ที่ซื้อผลิตภัณฑ์ในปริมาณมาก
          2.3 ส่วนลดการค้า (trade discount) บางทีเรียกว่า ส่วนลดตามหน้าที่ (Functional Discount) คือ ส่วนลดที่กำหนดให้คนกลางทางการตลาดซึ่งทำหน้าที่ด้านการจัดกระจายผลิตภัณฑ์ ให้แก่องค์กรในระดับต่าง ๆ เช่น การกำหนดส่วนลดให้แก่ผู้ค้าปลีกในอัตราร้อยละ 30 และผู้ค้าส่งในอัตราร้อยละ 10 เป็นต้น

องค์กรเพื่อการกำหนดราคา (organization for pricing)

องค์กรเพื่อการกำหนดราคา (organization for pricing) คือ การกำหนดความรับผิดชอบของหน่วยงานหรือผู้ที่จะรับผิดชอบต่อการกำหนดราคา จำหน่ายของผลิตภัณฑ์ เช่น ฝ่ายการตลาด ฝ่ายขาย หรือให้อยู่ภายใต้การดูแลของผู้จัดการสายผลิตภัณฑ์นั้น ๆ และในบางผลิตภัณฑ์ ซึ่งจัดเป็นผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม องค์กรอาจจะกำหนดให้พนักงานขายสามารถกำหนดราคาจำหน่ายผลิตภัณฑ์ตามการต่อรอง กับผู้ซื้อหรือผู้บริโภคได้ แต่ต้องอยู่ภายในระดับราคาที่องค์กรกำหนด อย่างไรก็ตามบุคคลที่มีอิทธิพลต่อการกำหนดราคาจำหน่ายของผลิตภัณฑ์ภายใน องค์กร จะประกอบด้วยผู้จัดการฝ่ายขาย ผู้จัดการฝ่ายผลิต ผู้จักการฝ่ายการเงิน และฝ่ายบัญชี
        
          1.2 ปัจจัยภายนอกที่มีอิทธิพลต่อการกำหนดราคา
          ลักษณะของตลาดและอุปสงค์ ผู้บริหารการตลาดจะต้องมีความเข้าใจถึงความสัมพันธ์ระหว่างราคาและอุปสงค์ ของผลิตภัณฑ์แต่ละชนิดในตลาด ซึ่งปัจจัยด้านดังกล่าว ผู้บริหารการตลาดสามารถที่จะประยุกต์ทฤษฏีเศรษฐศาสตร์มาปรับใช้กับการกำหนด ราคาของผลิตภัณฑ์ได้ตามสภาพหรือลักษณะของตลาดประเภทต่าง ๆ

          การกำหนดราคาภายใต้ภาวะการณ์แข่งขันสมบูรณ์ คือ ลักษณะของตลาดที่มีผู้บริโภคและผู้ผลิตหรือจำหน่ายมากรายลักษณะของผลติภัณฑ์ ไม่มีความแตกต่างกัน และผู้ผลิตสามารถเข้าหรือออกจากตลาดได้ตามความต้องการ ผู้ผลิตหรือผู้จำหน่ายจึงไม่สามารถกำหนดราคาจำหน่ายผลิตภัณฑ์ให้สูงกว่าราคา ตลาดได้

          การกำหนดราคาภายใต้การแข่งขันกึ่งผูกขาด คือ ตลาดที่มีลักษณะผสมผสานระหว่างตลาดผูกขาดกับตลาดแข่งขันสมบูรณ์ โดยจะมีผู้ผลิตและผู้จัดจำหน่ายจำนวนมาก แต่ผลิตภัณฑ์จะมีความแตกต่างกัน ทั้งในด้านรูปแบบ คุณภาพ ลักษณะ หรือบริการเสริมก่อนและหลังการขาย ผู้ผลิตหรือผู้จัดจำหน่ายแต่ละรายจึงสามารถกำหนดราคาให้แก่ผลิตภัณฑ์ของตน ได้อย่างอิสระ

          การกำหนดราคาภายใต้ภาวะที่มีคู่แข้งขันน้อยราย คือ ตลาดที่มีผู้ผลิตหรือจัดจำหน่ายน้อยราย และผลิตภัณฑ์ในตลาดนั้น ๆ จะมีความคล้ายคลึงกันแต่ไม่เหมือนกันซึ่งสามารถใช้ทดแทนกันได้ เช่น ตลาดรถยนต์ คอมพิวเตอร์ และผลิตภัณฑ์เพื่ออุตสาหกรรมเป็นส่วนมาก การกำหนดราคาต้องคำนึงถึงความสามารถในการแข่งขันทางการกาตลาด โดยดัชนีราคาต้องอิงกับภาวะราคาในตลาดหรืออุตสาหกรรมนั้น ๆ

          การกำหนดราคาภายใต้ภาวะการณ์ผูกขาดสมบูรณ์ จะเป็นตลาดที่มีผู้ผลิตหรือจัดจำหน่ายเพียงผู้เดียว ซึ่งโดยทั่วไปจะเป็นการดำเนินงานของหน่อยงานภาครัฐ หรือภาคเอกชนที่มีอิทธิพลสูง หรือเป็นผู้คิดค้นและประดิษฐ์ผลิตภัณฑ์นั้น ๆ ตลาดประเภทนี้ ผู้ผลิตหรือผู้จัดจำหน่ายจึงมีบทบาทอย่างสูงต่อการกำหนดราคาจำหน่ายของ ผลิตภัณฑ์ แต่จะยังอยู่ภายใต้เงื่อนไขต่าง ๆ เช่น หากเป็นหน่วยงานภาครัฐ จะพิจารณาถึงผลกระทบต่อภาวะเศรษฐกิจ สังคม และการเมืองของประเทศ ในขณะที่หากเป็นหน่วยงานภาคเอกชน การกำหนดราคาผลิตภัณฑ์อาจจะต้องอยู่ภายใต้ระดับราคาที่ภาครัฐกำหนดหรือควบ คุม เพื่อป้องกันการเอาเปรียบผู้บริโภคในตลาด

กลยุทธ์การตลาดด้านอื่น ๆ (marketing strategy)

ลยุทธ์การตลาดด้านอื่น ๆ (marketing strategy) ดังได้ทราบโดยทั่วกันว่า ราคา คือ องค์ประกอบหนึ่งของกลยุทธ์การตลาด ซึ่งประกอบด้วยผลิตภัณฑ์ ราคา ช่องทางการตลาด และการส่งเสริมการตลาด ดังนั้น ในการกำหนดราคาจึงจำเป็นต้องกำหนดขึ้นโดยพิจารณาถึงความสอดคล้องกับองค์ ประกอบอื่น ๆ ดังกล่าวข้างต้นด้วยเช่นกัน เพื่อให้แผนงานการตลาดเกิดประสิทธิภาพและประสิทธิผลสูงสุด

          ต้นทุน (cost) โดยทั่วไปองค์กรธุรกิจจะกำหนดราคาจำหน่ายผลิตภัณฑ์โดยพิจารณาจากต้นทุนการ ผลิตและต้นทุนการดำเนินงานขององค์กร ซึ่งในที่นี้ หมายความรวมถึงต้นทุนในการกระจายผลิตภัณฑ์ และการส่งเสริมการตลาด และต้นทุนทางการตลาดด้านอื่น ๆ รวมถึงการกำหนดราคาจากอัตราผลตอบแทนจากการลงทุนและความเสี่ยงต่าง ๆ ทางธุรกิจอย่างรอบด้าน ซึ่งปัจจัยดังกล่าวหากผู้บริหารการตลาดใช้เป็นเกณฑ์ในการพิจารณาหรือกำหนด ราคาจำหน่ายของผลิตภัณฑ์ อาจจะเป็นสาเหตุให้ผลิตภัณฑ์ขององค์กรมีราคาจำหน่ายสูงกว่าคู่แข่งขันในตลาด หากต้นทุนการดำเนินงานต่าง ๆ ที่ใช้เป็นเกณฑ์ในการพิจารณาด้านราคาขององค์กรสูงกว่าคู่แข่งอย่างไรก็ตาม ต้นทุนต่าง ๆ ขององค์การจะจัดแบ่งออกเป็น 2 ชนิด คือ ต้นทุนคงที่ (fixed cost) หมายถึง ต้นทุนที่จะไม่ผันแปรตามจำนวนการผลิตภัณฑ์หรือยอดจำหน่าย เช่น ค่าเช่า ดอกเบี้ย ค่าโฆษณาและประชาสัมพันธ์ และเงินเดือน ฯลฯ ต้นทุนอีกชนิดหนึ่ง คือ ต้นทุนแปรผัน (available cost) ซึ่งเป็นต้นทุนที่จะแปรผันตามจำนวนการผลิตหรือยอดจำหน่ายขององค์กร เช่น วัตถุดิบในการผลิต ค่าแรง บรรจุภัณฑ์ และค่าใช้จ่ายอื่น ๆ ในการผลิตหรือจำหน่าย ทั้งต้นทุนคงที่และต้นทุนแปรผัน เมื่อนำมารวมกันจะเป็นต้นทุนรวม (total cost) ที่ผู้บริหารการตลาดจะกำหนดส่วนเพิ่ม (margin) ที่เป็นกำไรองค์กรต้องการ รวมเป็นราคาจำหน่ายผลิตภัณฑ์ แต่จะต้องเป็นระดับราคาที่ไม่สูงกว่าระดับราคาที่ผู้บริโภคยอมรับได้

การวางแผนกลยุทธ์การตลาดเกี่ยวกับการกำหนดราคา

ราคา (price) คือ อัตราในการแลกเปลี่ยนผลิตภัณฑ์ระหว่างกันในตลาด โดยใช้เงินเป็นสื่อกลางในปัจจุบันราคาเป็นปัจจัยที่มีความสำคัญต่อการบริหาร งานการตลาดอย่างมาก ซึ่งผู้บริหารการตลาดจะต้องกำหนดกลยุทธ์ด้านราคาให้มีความเหมาะสมและสอด คล้องกับสภาวการณ์ต่าง ๆ อาทิ สภาวการณ์ทางเศรษฐกิจ พฤติกรรมและกรอบการตัดสินใจซื้อของผู้บริโภค ระดับความรุนแรงของการแข่งขันในตลาดความสอดคล้องกับกลยุทธ์ทางการตลาดด้าน อื่น ๆ รวมถึงการประยุกต์ทฤษฏีเศรษฐศาสตร์เกี่ยวกับกฎเกณฑ์ของอุปสงค์ (demand) และอุปทาน (supply) มาเป็นองค์ประกอบการตัดสินใจกำหนดกลยุทธ์ด้านราคา เพื่อให้ผลิตภัณฑ์มีระดับราคาที่เป็นที่น่าพอใจขององค์กร คือ สามารถตอบสนองต่อวัตถุประสงค์ขององค์กร และเหมาะสมกับระดับความสามารถหรือกำลังซื้อของผู้บริโภคในตลาด

          อย่างไรก็ตาม โดยทั่วไปแล้วการกำหนดกลยุทธ์ด้านราคาขององค์กรธุรกิจในช่วงเวลาที่ผ่านมา มักจะคำนึงถึงต้นทุนการผลิตและการดำเนินงาน (cost) ตามวิธีการที่เรียกว่า markup pricing มากกว่าที่จะพิจารณาถึงปัจจัยด้านต่าง ๆ ข้างต้นอย่างรอบด้าน จึงเป็นที่มาของการสูญเสียโอกาสทางการตลาดและธุรกิจได้ เช่น การกำหนดราคาของผลิตภัณฑ์ โดยไม่มีความสอดคล้องหรือเหมาะสมกับตำแหน่งและภาพลักษณ์ของผลิตภัณฑ์ในตลาด ดังจะเห็นได้จากการปรับราคาจำหน่ายบุหรี่ไทยตรายี่ห้อต่าง ๆ ของโรงงานยาสูบให้มีระดับราคาที่สูงขึ้นกระทั่งใกล้เคียงกับราคาบุหรี่ต่าง ประเทศ เป็นผลให้ผู้บริโภค จำนวนหนึ่งหันไปบริโภคบุหรี่จากต่างประเทศ ซึ่งให้ภาพลักษณ์ที่ดีกว่า เป็นต้น

          การกำหนดกลยุทธ์ด้านราคา จึงนับเป็นสิ่งท้าทายความสามารถของผู้บริหารการตลาดต่อการกำหนดกลยุทธ์หรือ ระดับราคาจำหน่ายของผลิตภัณฑ์ในตลาดให้มีความเหมาะสมต่อปัจจัยแวดล้อมต่าง ๆ และประสานได้อย่างลงตัวกับกลยุทธ์ทางการตลาดด้านอื่น ๆ

1. ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการกำหนดราคา
          ปัจจัยที่ผู้บริหารการตลาดจะต้องคำนึงถึงในการกำหนดราคาได้จัดแบ่งเป็นปัจจัยภายในและปัจจัยภายนอกดังนี้
          1.1 ปัจจัยภายในที่มีอิทธิพลต่อการกำหนดราคา
          วัตถุประสงค์ทางการตลาดขององค์กร (marketing objective) ในการกำหนดราคาให้แก่ผลิตภัณฑ์ ผู้บริหารการตลาดจะต้องพิจารณาถึงวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายทางการตลาดของ องค์กร ก่อนจะกำหนดราคาจำหน่ายผลิตภัณฑ์ให้สอดคล้องและเหมาะสมกับวัตถุประสงค์ที่ กำหนดนั้น ๆ ซึ่งวัตถุประสงค์ขององค์กรอาจจะหมายถึง ความคุ้มค่าต่อการลงทุน การมีกำไรสูงสุด การรักษาหรือเพิ่มส่วนแบ่งทางการตลาด หรือวัตถุประสงค์อื่น ๆ ขององค์กร

วันศุกร์ที่ 1 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556

การวิเคราะห์งบการเงิน

ความหมายของการวิเคราะห์งบการเงินการวิเคราะห์งบการเงิน คือ กระบวนการค้นหาข้อเท็จจริงเกี่ยวกับฐานะทางการเงินและผลการดำเนินงานของกิจการใดกิจการหนึ่งจากงบการเงินของกิจการนั้น  พร้อมทั้งนำข้อเท็จจริงดังกล่าวมาประกอบการตัดสินใจ
 การวิเคราะห์งบการเงินมีจุดประสงค์ 2 ประการดังนี้1. การหาข้อเท็จจริงเกี่ยวกับฐานะการเงินและผลการดำเนินงานของกิจการ2. การนำข้อเท็จจริงที่ได้มาใช้ประกอบการตัดสินใจหรือเสนอแนะแนวทางการตัดสินใจ 
กลุ่มผู้ใช้ประโยชน์จากการวิเคราะห์งบการเงิน
1. เจ้าหนี้  หมายถึง บุคคลภายนอกที่ให้กิจการกู้เงินมาใช้ในการดำเนินธุรกิจ  เจ้าหนี้จะวิเคราะห์งบการเงินของลูกหนี้เพื่อพิจารณาความสามารถในการชำระหนี้  ความสามารถในการหากำไรและลักษณะการได้มาและการใช้ไปของเงินทุน           
2. ผู้ลงทุนทั่วไป  หมายถึง  ผู้ที่มีเงินออมและพร้อมที่จะลงทุนในธุรกิจ จะวิเคราะห์ความสามารถในการหากำไรทั้งปัจจุบันและแนวโน้มในอนาคต  อัตราผลตอบแทนและความเสี่ยงจากการลงทุน           
3. ผู้บริหาร  มีหน้าที่และต้องรับผิดชอบต่อผลการดำเนินงานและฐานะการเงินของกิจการจึงต้องการการวิเคราะห์อย่างละเอียด  เพื่อพิจารณาถึงปัญหาและโอกาสของกิจการสำหรับการกำหนดแผนดำเนินการต่อไป           
 4. หน่วยงานรัฐบาล  วิเคราะห์งบการเงินเพื่อได้ข้อมูลที่จะนำมาประกอบการพิจารณานโยบายต่าง ๆ ที่เป็นประโยชน์ต่อผู้ประกอบธุรกิจ  ผู้บริโภคและประเทศโดยส่วนรวม           
5. นักวิชาการ  วิเคราะห์งบการเงินของกิจการ  เพื่อนำมาศึกษาและให้ข้อเสนอแนะ  ตลอดจนจัดทำข้อมูลที่สำคัญ ๆ เพื่อการศึกษาและงานวิจัยซึ่งจะเป็นประโยชน์แก่วงการศึกษา  และวงการธุรกิจ 
การวิเคราะห์งบการเงินมีจุดมุ่งหมายพอสรุปดังนี้1. เพื่อเป็นเครื่องมือกลั่นกรองเบื้องต้นสำหรับการตัดสินใจ  โดยเฉพาะเรื่องการลงทุน           2. เป็นเครื่องมือช่วยพยากรณ์ฐานะการเงิน และผลการดำเนินงานในอนาคตและการเปลี่ยนแปลงที่อาจเกิดขึ้นจากผลกระทบต่าง ๆ           3. เพื่อเป็นข้อมูลประกอบการวินิจฉัยปัญหาในการบริหารงาน   ฐานะการเงินและปัญหาอื่น ๆ ที่อาจเกิดขึ้น            4. เป็นข้อมูลประกอบการประเมินผลการปฏิบัติงานของพนักงานแต่ละฝ่าย 
เครื่องมือที่ใช้ในการวิเคราะห์งบการเงิน  เครื่องมือที่ใช้ในการวิเคราะห์งบการเงินมี 5 ประเภท ดังนี้                     1. การวิเคราะห์งบการเงินโดยใช้อัตราส่วนทางการเงิน (Financial Ratio Analysis)                                                2. การวิเคราะห์งบการเงินโดยวิธีแนวนอน (Horizontal Analysis)                                                                       3. การวิเคราะห์งบการเงินโดยวิธีแนวตั้ง   (Vertical Analysis)                                                                          4. การวิเคราะห์งบการเงินโดยวิธีแนวโน้ม  (Trend Analysis)                                                                           5. การวิเคราะห์โดยจัดทำงบกระแสเงินสด (Cash Flow Analysis)    

Popular Posts