Custom Search

วันจันทร์ที่ 8 เมษายน พ.ศ. 2556

การวิเคราะห์เชิงปริมาณ

การวิเคราะห์เชิงปริมาณ
แบ่งเป็น 2 วิธีหลักๆ คือ


  • 1. วิธีอนุกรมเวลา (Time Series) อาศัยข้อมูลในอดีตที่มาเป็นช่วงเวลาหนึ่ง ที่ทำให้สามารถเห็นแนวโน้มและรูปแบบของข้อมูล โดยสมมติว่า รูปแบบและแนวโน้มนี้จะมีต่อเนื่องในอนาคต
  • 2. วิธีการใช้ตัวแปรต้นและตัวแปรตาม (Explanatory method)
การวิเคราะห์แบบ Value Analysis
เป็นระบบที่ขยายขอบเขตจากในคุณค่าของตัวธุรกิจเอง สู่ผู้ผลิตวัตถุดิบและลูกค้า แสดงให้เห็นว่า การเปลี่ยนแปลงของปัจจัยนั้นๆ จะส่งผลกระทบอย่างไรต่ออุตสาหกรรมที่เราต้องการวิเคราะห์ เช่น การเปลี่ยนแปลงทางการใช้เทคโนโลยี Global positioning System ทำให้ระบบโลจิสติกส์มีประสิทธิภาพมากขึ้น ทำให้อุตสาหกรรมการผลิตสามารถวางแผนการผลิตและการส่งสินค้าได้ถูกต้องตรง เวลามากขึ้น ถ้าเราไม่แน่ใจว่าปัจจัยที่เกิดขึ้นจะทำให้อุตสาหกรรมนั้นทำกำไรให้กับ อุตสาหกรรมได้หรือไม่ เราก็สามารถใช้ห่วงโซ่คุณค่าของลูกค้ามาพิจารณาว่า สิ่งนั้นทำให้ลูกค้าสามารถดำเนินกิจกรรมในชีวิตได้ดีขึ้นมีประสิทธิภาพขึ้น หรือไม่

วัฏจักรอุตสาหกรรม
ใช้ในการประเมินยอดขายและอัตราการขยายตัวของอุตสาหกรรม โครงสร้างอุตสาหกรรมและการแข่งขันในอุตสาหกรรม สร้างสภาพแวดล้อมให้บริษัทแข่งขัน บริษัทเองก็จะต้องดำเนินกลยุทธ์ต่างๆ เพื่อแข่งขันในตลาด เพื่อทำให้เกิดกำไร การเข้าใจอุตสาหกรรมจึงช่วยในการวิเคราะห์ ตัดสินใจเลือกอุตสาหกรรมที่น่าจะมีแนวโน้มในการทำกำไรด้วย วัฏจักรอุตสาหกรรมประกอบด้วย 4 ช่วงด้วยกันคือ
  • 1. ช่วงบุกเบิก (Introduction)
  • 2. ช่วงที่การขยายตัวค่อนข้างสูง (Growth)
  • 3. ช่วงที่ตลาดเริ่มอิ่มตัว (Maturity)
  • 4. ช่วงถดถอย (Declining)
แบบจำลองที่ใช้ในการวิเคราะห์อุตสาหกรรม คือ Five Forces ของ Michael Porter ประกอบด้วยการวิเคราะห์
  • 1. ภาวการณ์แข่งขัน อุตสาหกรรมที่มีการแข่งขันสูง จะส่งผลให้มีกำไรต่ำ
  • 2. อุปสรรคในการเข้าสู่ตลาด
  • 3. สินค้าทดแทน
  • 4. อำนาจต่อรองของลูกค้า
  • 5. อำนาจต่อรองของผู้ผลิต

0 ความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

Popular Posts