MBA

We constantly research and disseminate knowledge to prepare graduate students to be leaders at the community, national and international levels.

Facebook is a social utility that connects people with friends and others who work, study and live around them. People use Facebook to keep up with friends

Custom Search

วันอาทิตย์ที่ 4 เมษายน พ.ศ. 2553

อัตราส่วนประเมินธุรกิจโดยรวม Market Value

อัตราส่วนประเมินธุรกิจโดยรวม Market Value
5.1 ราคาตลาดกับกำไรสุทธิต่อหุ้น = ราคาตลาดต่อหุ้น = ……..เท่า สูงดี
P/E กำไรสุทธิต่อหุ้น (EPS)
อัตราส่วนที่เปรียบเทียบระหว่างราคาตลาดหุ้นกับกำไรต่อหุ้น ชี้ให้เห็นว่าหุ้นแต่ละตัวนั้นมีความเหมาะสมหรือไม่ เนื่องจากการนำแต่เพียงราคาตลาดของหุ้นมาพิจารณาเปรียบเทียบว่าหุ้นตัวใดราคาสูงกว่ากันนั้นไม่เป็นการยุติธรรม ดังนั้นราคาของหุ้นควรจะสัมพันธ์กับ



Ratio นี้ จะมีค่าสูง เมื่อบริษัทมีแนวโน้มว่าจะเจริญเติบโตในอนาคต และจะมีค่าต่ำเมื่อบริษัทมีความเสี่ยงสูง

5.2 ราคาตลาดกับกระแสเงินสดต่อหุ้น = ราคาตลาดหุ้นตลาด
กระแสเงินสดต่อหุ้น
บริษัทมีกระแสเงินสด 1 บาท ผู้ลงทุนยินดีซื้อหุ้นในราคา... บาท
5.3 ราคาตลาดกับมูลค่าตามบัญชีต่อหุ้น = ส่วนของผู้ถือหุ้น
จำนวนหุ้นสามัญที่อยู่ในมือบุคคลภายนอก
บริษัทมีมูลค่าตามบัญชี 1 บาท ผู้ลงทุนยินดีซื้อหุ้นราคา....บาท
ข้อจำกัดของการวิเคราะห์อัตราส่วน
1. บริษัทมีหลายแผนก ซึ่งประกอบธุรกิจต่างกัน การเปรียบเทียบอัตราส่วนทางการเงินกับอุตฯ จะทำได้ยาก

2. บริษัทที่มีอัตราส่วนทางการเงินดีกว่าค่าเฉลี่ย อาจไม่จำเป็นต้องเป็นบริษัทที่มีประสิทธิภาพดีเสมอ

3. ภาวะเงินเฟ้อ อาจทำให้การเปรียบเทียบแนวโน้มไม่ถูกต้อง
4. สินค้าตามฤดูกาล จะทำให้อัตราส่วนเบี่ยงเบนได้
5. การตกแต่งบัญชี
6. วิธีการบัญชีที่แตกต่างกัน
7. การสรุป วิเคราะห์ทางการเงิน อาจมองในด้านดี ไม่ดีก็ได้
8. กิจการที่มีอัตราส่วนหนึ่งดี แต่อีกอัตราไม่ดี สรุปไม่ได้ว่ามีจุดเด่น จุดด้อยอะไรบ้าง

บทที่ 3 สูตร

1.1 เงินทุนหมุนเวียน (Working Capital)
= ส/ทหมุนเวียน – ห/นหมุนเวียน
1.2 อัตราส่วนหมุนเวียน (Current Ratio) (เกิน 1 ดี ) = ส/ทหมุนเวียน
ห/นหมุนเวียน
1.3 อัตราส่วนหมุนเร็ว (Quick Ratio) = ส/ท หมุนเวียน – สินค้าคงเหลือ
ห/น หมุนเวียน
2.1 อัตราการหมุนของสินค้า = ยอดขาย
สินค้าคงเหลือ
2.2 อัตราระยะเวลาในการเก็บหนี้ถัวเฉลี่ย (DOS = Days sales outstanding ) = ลูกหนี้การค้า = ลูกหนี้การค้า
ยอดขายเฉลี่ยต่อวัน ยอดขายต่อปี / 365
2.3 อัตราการหมุนของสินทรัพย์ถาวร = ยอดขาย
(Fixed assets turnover ratio) สินทรัพย์ถาวรสุทธิ
2.4 อัตราการหมุนของสินทรัพย์ทั้งสิ้น (Total assests turnover ratio )
= ยอดขาย
สินทรัพย์ทั้งสิ้น
3.1 อัตราหนี้สิน (Debt Ratio) (อัตราส่วนหนี้สินน้อยถือว่าดี)
= หนี้สินทั้งสิ้น x 100 % = %
สินทรัพย์ทั้งสิ้น
3.2 ความสามารถในการจ่ายชำระดอกเบี้ย (Time-interest-earned) (TIE)
= EBIT
ดอกเบี้ยจ่าย
3.3. EBITDA Coverage ratio = EBITDA + lease payments
Interest + loan repayment + lease payments
4.1 อัตรากำไรสุทธิ ( Profit margin on sales )
= กำไรสุทธิส่วนที่เป็นของผู้ถือหุ้นสามัญ
ยอดขาย
4.2 ความสามารถในการใช้สินทรัพย์ (BASIC EARNING POWER) ( BEP) = EBIT
ยอดขาย
4.3 อัตราผลตอบแทนต่อสินทรัพย์ทั้งสิ้น (Return On Asstes )
ROA = กำไรสุทธิส่วนที่เป็นของผู้ถือหุ้นสามัญ x 100 % = %
สินทรัพย์ทั้งสิ้น
4.4 อัตราผลตอบแทนส่วนของผู้เป็นเจ้าของ (ROE)
ROE = กำไรสุทธิส่วนที่เป็นของผู้ถือหุ้นสามัญ x 100 % = %
ส่วนของผู้ถือหุ้นสามัญ
5.1 อัตราราคา / กำไรต่อหุ้น ( Price – Earning Ratio)
P/E Ratio = ราคาตลาดของหุ้น = เท่า
กำไรสุทธิต่อหุ้น
5.2 ราคาตลาดกับกระแสเงินสดต่อหุ้น ( Price / Cash Flow Ratio )
= ราคาตลาดต่อหุ้น
กระแสเงินสดต่อหุ้น
5.3 ราคาตลาดกับมูลค่าตามบัญชีต่อหุ้น ( Book value per share )
= ส่วนขอผู้ถือหุ้น
จำนวนหุ้นสามัญที่อยู่ในมือบุคคลภายนอก
5.4 Market / book ration ( M/B) = ราคาตลาดต่อหุ้น
มูลค่าตามบัญชีต่อหุ้น
5.5 กำไรสุทธิ (Net Income) = กำไรสุทธิ X 100 % = %
ขายสุทธิ

การควบกิจการ

1.เหตุผลในการควบกิจการ
1. Synergy ..การเพิ่มมูลค่า โดยก่อให้เกิด a. ประโยชน์จากการดำเนินงาน b. ประโยชน์ทางการเงิน
c. ประสิทธิภาพเพิ่มขึ้น d. เพิ่มอำนาจทางการตลาด
2. การพิจารณาทางด้านภาษี
3. การซื้อสินทรัพย์ได้ในราคาต่ำ
4. การกระจายความเสี่ยง
5. ความต้องการโดยส่วนตัวของผู้บริหาร
6. Breakup Value …คือ การซื้อกิจการมา แล้วมาแยกส่วนขายเพื่อหวังกำไร
2.ประเภทของการควบกิจการ
1.Horizontal Merger …ควบรวมกิจการตั้งแต่ 2 กิจการขึ้นไป ซึ่งผลิตสินค้าหรือขายบริการ 2.Vertical Merger …ควบรวมกิจการที่เกี่ยวข้องในลักษณะที่เป็น Supplier ให้กัน หรือลูกค้ากัน
3.Congeneric Merger …ควบรวมกิจการที่อยู่ในอุตสาหกรรมเดียวกัน แต่ไม่มีความสัมพันธ์ในลักษณะที่เป็น Supplier ให้กัน หรือลูกค้ากัน 4.Conglomerate Merger …ควบรวมกิจการที่อยู่ต่างอุตสาหกรรมกัน
3.การควบกิจการที่เป็นปฏิปักษ์และเป็นมิตรกัน(Hostile merger)
4.การวิเคราะห์การควบกิจการ
5.ภาษีและโครงสร้างการเสนอราคา
6.รายงานทางการเงินสำหรับการควบกิจการ มี 2 วิธี คือ 1.Pooling of interest 2.Purchase
7.การวิเคราะห์เพื่อการควบกิจการอย่างแท้จริง คือ การควบกิจการที่เท่าเทียมกัน
8.บทบาทของวาณิชธนากร
9.ใครเป็นผู้ชนะจากประสบการณ์ในอดีต
10.การพันธมิตรกันระหว่างบริษัท คือ การเป็นพันธมิตรร่วมมือกันระหว่างบริษัท โดยเน้นด้านใดด้านหนึ่งเพื่อทำให้ผลประโยชน์เพิ่มขึ้นโดยไม่ต้องควบรวมกิจการ
11.การกู้เงินมาซื้อหุ้นสามัญของบริษัทตนเอง คือ LBO (Leveraged Buyout) การที่กลุ่มผู้ลงทุนซึ่งปกติ คือผู้บริหารของบริษัทกู้เงินมาซื้อหุ้นสามัญของบริษัทนั้นเอง
12.การขายกิจการบางแผนก คือ การขายสินทรัพย์ที่ใช้ในการดำเนินงานบางส่วน

การจัดหาเงินทุนจากหลักทรัพย์ลูกผสม: หุ้นบุริมสิทธิ

หุ้นบุริมสิทธิ์
Basic EPS : กำไรสุทธิส่วนที่เป็นของผู้ถือหุ้น หารด้วย จำนวนหุ้นสามัญที่ออกจำหน่ายและอยู่ในมือผู้ถือหุ้น(โดยวิธีถัวเฉลี่ย)
Primary EPS : กำไรสุทธิส่วนที่เป็นของผู้ถือหุ้นสามัญ หารด้วย จำนวนหุ้นสามัญที่ออกจำหน่ายและอยู่ในมือผู้ถือหุ้น(โดยคิดเฉพาะจำนวนที่คาดว่าจะมีการใช้สิทธิซื้อหุ้นสามัญที่ออกใหม่ หรือใช้สิทธิในการแปรสภาพ
หลักทรัพย์มาเป็นหุ้นสามัญ)
Fully Diluted EPS : กำไรสุทธิส่วนที่เป็นของผู้ถือหุ้นสามัญ หารด้วย จำนวนหุ้นสามัญที่ออกจำหน่ายและอยู่ในมือผู้ถือหุ้น (โดยคาดว่าได้มีการใช้สิทธิซื้อหุ้นสามัญที่ออกใหม่ หรือใช้สิทธิในการแปรสภาพหลักทรัพย์มา
เป็นหุ้นสามัญทั้งหมด)
การเช่า (Leases) คือ ผู้ให้เช่าสินทรัพย์ (Lessor) ยินยอมให้ผู้เช่าสินทรัพย์ (Lessee) มีสิทธิใช้ประโยชน์จากสินทรัพย์ตามที่ทำสัญญาไว้ ภายในระยะเวลาที่กำหนด โดยได้รับค่าเช่าเป็นการตอบแ

NPV----MIRR

บริษัท L จำกัด กำลังพิจารณาโครงการผลิตสินค้าชนิดหนึ่งออกสู่ตลาด โดยที่บริษัทต้องลงทุนซื้อเครื่องจักรในราคา 680,000 บาท ค่าขนส่งเครื่องจักร 10,000 บาท ค่าติดตั้งเครื่องจักร10,000 บาท เครื่องจักรมีอายุการใช้งาน 5 ปี มีมูลค่าซาก 100,000 บาท ในการผลิตสินค้าจะมีค่าใช้จ่ายในการดำเนินงาน (ไม่รวมค่าเสื่อมราคา) ปีละ 300,000 บาท บริษัทต้องลงทุนในสินทรัพย์หมุนเวียนสุทธิเพิ่มขึ้นอีกในตอนเริ่มต้นโครงการเป็นเงิน 90,000 บาท และจะได้รับเงินจำนวนนี้กลับคืนมาเมื่อสิ้นสุดโครงการในปลายปีที่ 5 บริษัทคาดว่าสามารถผลิตสินค้าออกขายได้ปีละ 640,000 บาท ค่าเสื่อมราคาเครื่องจักรคิดตามวิธีเส้นตรง และบริษัทต้องเสียภาษีเงินได้ในอัตรา 30 %
บริษัทควรจะดำเนินการตามโครงการนี้หรือไม่ ให้พิจารณาโดยใช้ วิธี
(1) Payback Period : (ระยะเวลาคืนทุนไม่เกิน 3 ปี)
(2) Discounted Payback Period (ระยะเวลาคืนทุนไม่เกิน 3 ปี อัตราผลตอบแทนที่ต้องการ 12 %)
(3) Net Present Value (NPV) : (อัตราผลตอบแทนที่ต้องการ 12 %)
(4) Internal Rate of Return (IRR) : (อัตราผลตอบแทนที่ต้องการ 12 %)
(5) Modified Internal Rate of Return (MIRR) : (อัตราผลตอบแทนที่ต้องการ 12 %)

เฉลย Chapter 11: ข้อ 2

I กระแสเงินสดจ่ายลงทุนสุทธิ:
เครื่องจักร (680,000) บาท
ค่าขนส่ง (10,000)
ค่าติดตั้ง (10,000)
NWC ที่เพิ่มขึ้น (90,000)
รวม (790,000)
II กระแสเงินสดจากการดำเนินงานตลอดอายุโครงการ
ปีที่ 1-4 ปีละ . ปีที่ 5 .
รายได้ 640,000 640,000
ค่าใช้จ่าย 300,000 300,000
ค่าเสื่อมราคา 120,000 120,000
กำไรจากการดำเนินงาน 220,000 220,000
หัก ภาษีเงินได้ 30% 66,000 66,000
กำไรสุทธิ 154,000 154,000
บวก ค่าเสื่อมราคา 120,000 120,000
กระแสเงินสดจากการดำเนินงาน 274,000 274,000

III กระแสเงินสดของปีสุดท้าย(ปีที่ 5) :
มูลค่าซาก 100,000
NWC ที่ได้รับกลับคืนมา 90,000
รวมกระแสเงินสดของปีที่ 5 464,000

IV กระแสเงินสดสุทธิของโครงการ :
. 0 1 2 3 4 5 .
-790,000 274,000 274,000 274,000 274,000 464,000

V ผลการวิเคราะห์โครงการ :
1. PAYBACK PERIOD = 2 + 242,000/274,000 = 2.88 ปี
(ยอมรับโครงการเพราะไม่เกิน 3 ปี)
2. DISCOUNTED PAYBACK PERIOD
= 3 + 131,898 / 174,132
= 3.76 ปี
(ไม่ยอมรับโครงการเพราะเกิน 3 ปี)

. 0 1 2 3 4 5 .
-790,000 274,000 274,000 274,000 274,000 464,000

PRESENT VALUE AT 12 %

-790,000 244,643 218,431 195,028 174,132 263,286

V ผลการวิเคราะห์โครงการ (ต่อ) :
3. NPV12% = 305,519.78 บาท
(ยอมรับโครงการเพราะNPVมีค่าเป็นบวก)
4. IRR = 25.52%
( ยอมรับโครงการเพราะIRRมีค่ามากกว่า 12%)
5. MIRR = 19.57%
(ยอมรับโครงการเพราะMIRRมีค่ามากกว่า 12%)

การคำนวณค่าเสื่อมราคาตามวิธีเส้นตรง
ค่าเสื่อมราคา = (ราคาทุน – มูลค่าซาก) / อายุการใช้งาน
= (700,000 – 100,000) / 5
= 120,000 บาท ต่อปี
NPV
NPV = 274,000(PVIFA 12%,4) + 464,000(PVIF12%,5) – 790,000
= 274,000(3.0373) + 464,000(0.5674) – 790,000
= 832,220 + 263,274 – 790,000
= 1,095,494 – 790,000
= 305,494 บาท
ยอมรับโครงการเพราะ NPVมีค่าเป็นบวก
(หมายเหตุ : ค่าNPV คลาดเคลื่อนจากการใช้เครื่องคิดเลขทางการเงิน
เพราะใช้ตัวเลขจากตารางPresent Value ซึ่งมีการปัดเศษ)
MIRR
0 k=12% 1 2 3 4 5 .
-790,000 274,000 274,000 274,000 274,000 464,000
306,880
343,706
384,950
431,144
790,000 1,930,680

0 = NPV

พันธบัตร และมูลค่าพันธบัตร

พันธบัตร (Bonds) .เป็นสัญญาระยะยาวซึ่งผู้กู้ ตกลงที่จะชำระดอกเบี้ยและเงินต้น ตามเวลาที่กำหนดให้แก่ผู้ถือพันธบัตรนั้น ซึ่งสามารถแบ่งออกได้เป็น 4 ประเภท คือ
1.พันธบัตรรัฐบาล (Treasury bonds or Government bonds) ออกโดยรัฐบาลกลาง เป็นพันธบัตรชั้นดี มีรัฐบาลเป็นประกัน 2.พันธบัตรของรัฐ (Municipal bonds) ออกโดยรัฐบาลท้องถิ่น พันธบัตรประเภทนี้จะไม่ต้องเสียภาษีให้รัฐบาลกลางและรัฐบาลท้องถิ่น
2.พันธบัตรของบริษัทเอกชน(Corporate bonds) มีความเสี่ยงที่จะไม่สามารถจ่ายดอกเบี้ยและคืนเงินต้นได้ ที่เรียกว่า Default risk (บางครั้งเรียกว่า Credit risk) 4.พันธบัตรต่างประเทศ (Foreign bonds) นอกจากจะมี Default risk และยังมีความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยนด้วย
Par Value คือ มูลค่าที่ตราไว้ (Face Value) .เป็นราคาที่กำหนดไว้ต่อพันธบัตรหนึ่งฉบับ
Coupon Interest Rate คือ อัตราดอกเบี้ยที่กำหนดไว้
Floating rate bonds คือ อัตราดอกเบี้ยชนิดลอยตัว...อัตราดอกเบี้ยจะมีการเปลี่ยนแปลงและปรับตามระยะเวลา เช่น ทุก 6 เดือน
Zero coupon bonds คือ พันธบัตรที่ไม่ได้ระบุดอกเบี้ยเอาไว้ แต่จะออกจำหน่ายในราคาที่ต่ำ หรือเรียกว่า Discount
Original Issue Discount bonds (OID) คือ พันธบัตรที่จำหน่ายครั้งแรกในราคาที่ต่ำกว่ามูลค่าที่ตราไว้
Maturity Date คือ วันครบกำหนดไถ่ถอน
Call Provision คือ เงื่อนไขในการเรียกคืนพันธบัตร โดยที่พันธบัตรที่ออกโดยบริษัทเอกชนส่วนใหญ่ จะกำหนดเงื่อนไขให้สามารถไถ่ถอนพันธบัตรคืนได้ก่อนวันครบกำหนด
Call Premium คือ ราคาที่สูงกว่ามูลค่าที่ตราไว้ เมื่อมีการไถ่ถอนพันธบัตรก่อนครบกำหนด ซึ่ง premium นี้จะลดลงในอัตราส่วนที่คงที่ คือ ลดลงเท่ากับ INT / N
Sinking Funds คือ เงินทุนที่ตั้งขึ้นเพื่อไถ่ถอนพันธบัตร หรือเพื่อวัตถุประสงค์ใดอย่างหนึ่ง เช่น ตัดหนี้ โดยตัดส่วนของกำไรไปไถ่ถอน Bonds ไปเรื่อยๆ
Convertible bonds คือ พันธบัตรที่สามารถแปลงสภาพเป็นหุ้นสามัญได้ในราคาที่กำหนด และเป็นสิทธิของผู้ถือพันธบัตรว่าจะแปลงสภาพหรือไม่ ซึ่งจะมีอัตราดอกเบี้ยต่ำกว่าพันธบัตรที่ไม่สามารถแปลงสภาพได้
Income bonds คือ พันธบัตรที่จ่ายดอกเบี้ย เมื่อบริษัทมีกำไร
พันธบัตรควบเอกสารสิทธิ (Warrants) คือ สิทธิที่ให้ผู้ถือสามารถซื้อหุ้นสามัญได้ ในราคาที่กำหนด โดยปกติจะมีอัตราดอกเบี้ยต่ำกว่าพันธบัตรธรรมดา (Straight bonds)
Indexed or Purchasing power bonds คือ พันธบัตรที่มักจะใช้ในประเทศที่มีอัตราเงินเฟ้อสูงๆ เช่น บราซิล อิสราเอล
การประเมินมูลค่าพันธบัตร...
0 1 2 3 4 N (ปี)
kd
Value (VB) INT INT INT INT INT + M
VB = มูลค่าของพันธบัตร (ตามทฤษฎี)
INT = จำนวนดอกเบี้ยต่องวด
M = มูลค่าที่ตราไว้ (Par Value)
Kd = อัตราผลตอบแทนที่ต้องการจากพันธบัตร
วิธีคิด ...จากสูตร...VB = INT(PVIFAi%,N) + M(PVIFi%,N) หรือคิดหามูลค่าปัจจุบันตามบทที่ 6 หรือใช้วิธีกดเครื่องโดยใส่ PMT=INT
Premium bond คือ พันธบัตร ซึ่งมีราคาสูงกว่ามูลค่าที่ตราไว้ จะเกิดขึ้นเมื่อ kd < i (coupon rate) ทำให้ราคาของพันธบัตรสูงกว่ามูลค่าที่ตราไว้ และราคาจะลดลงตามลำดับ เมื่อเวลาผ่านไป จนเท่ากับมูลค่าที่ตราไว้ (Par value)
Discount bond คือ พันธบัตร ซึ่งมีราคาสูงกว่ามูลค่าที่ตราไว้ จะเกิดขึ้นเมื่อ kd > i (coupon rate) ทำให้ราคาของพันธบัตรต่ำกว่ามูลค่าที่ตราไว้ และราคาจะเพิ่มขึ้นตามลำดับ เมื่อเวลาผ่านไป จนเท่ากับมูลค่าที่ตราไว้ (Par value)
ถ้า kd = i (coupon rate) พันธบัตรจะมีราคาเท่ากับมูลค่าที่ตราไว้ สรุปได้ว่า ...เมื่ออัตราดอกเบี้ยในท้องตลาดสูงขึ้น ราคาพันธบัตรจะลดลง และ Vice versa
Bond Yields คือ ผลตอบแทนจากพันธบัตร ซึ่งสามารถคำนวณหาได้ด้วยวิธีการที่แตกต่างกัน 3 วิธี ดังต่อไปนี้
Yield to Maturity (YTM) …อัตราผลตอบแทนเมื่อถือพันธบัตรจนครบกำหนดไถ่ถอน (YTM จะเป็นอัตราผลตอบแทนเฉลี่ยต่อปี) วิธีการคิด ก็คือการกดเครื่องหาค่า i หรือคือค่า kd นั่นเอง เช่น
14 N -1,494.96 PV 100 PMT 1,000 FV CPT i EXE
Yield to Call (YTC) คือ อัตราผลตอบแทนเมื่อถือพันธบัตรจนถูกเรียกคืน (คิดเหมือน YTM แต่ดูที่เงื่อนไขที่โจทย์ให้มา แล้วเปลี่ยนแปลงตัวเลขตามสถานการณ์)
Current Yield คือ อัตราผลตอบแทนในปัจจุบันของพันธบัตร .ดอกเบี้ยจ่ายต่อปีของพันธบัตร หารด้วยราคาตลาด ณ ปัจจุบันของพันธบัตร เช่น พันธบัตรชนิดอัตราดอกเบี้ย 10% ราคาจำหน่ายในขณะนี้คือ ฉบับละ 985 บาท เพราะฉะนั้น Current yield = 100985 = 10.15%
สมมติว่า มีการจ่ายดอกเบี้ยพันธบัตรปีละ 2 ครั้งจะทำอย่างไร?
คำตอบก็คือ คิดเหมือนกันในการคิดดอกเบี้ยทบต้นจ่ายปีละหลายครั้งนั่นแหละ เช่น พันธบัตรชนิดอัตราดอกเบี้ย 10% ฉบับละ 1,000 บาท จ่ายดอกเบี้ยทุก 6 เดือน กำหนดไถ่ถอน 15 ปี อัตราผลตอบแทนที่ต้องการ (kd) =5% พันธบัตรนี้จะมีมูลค่า เท่ากับ 1,523.26 บาท คิดโดยการกดเครื่อง โดยที่ N=15 แต่จ่ายดอกปีละ 2 ครั้งก็คูณสอง ได้ N=30 kd ที่ต้องการเท่ากับ 5% แต่จ่ายปีละ 2 ครั้ง ก็หาร 2 ก่อน ได้ kd=2.5%
30 N 2.5 i 50 PMT 1,000 FV CPT PV EXE
ความเสี่ยงของพันธบัตร ก็คือ อัตราดอกเบี้ยที่มีการเคลื่อนไหวขึ้นลงตลอดเวลา โดยแยกเป็น
1. Price Risk or Interest Rate Risk (ความเสี่ยงในด้านราคาหรืออัตราดอกเบี้ย) …คือ เมื่อดอกเบี้ยในตลาดสูงขึ้น ทำให้ kd สูงขึ้นด้วย ทำให้ราคาพันธบัตรลดลง ซึ่งผู้ถือจะพบกับความเสี่ยงอันเนื่องมาจากราคาพันธบัตรลดลง (Capital loss) วิธีลดความเสี่ยง คือ การถือพันธบัตรระยะสั้น
2. Reinvestment Rate Risk (ความเสี่ยงของอัตราผลตอบแทนจากการลงทุนใหม่) ...คือ เมื่ออัตราดอกเบี้ยในตลาดลดลง ผู้ออกก็จะไถ่ถอนพันธบัตรก่อนครบกำหนด ผู้ถือก็จะได้เงินต้นคืน แต่เมื่อนำเงินไปลงทุนในพันธบัตรชุดใหม่ก็จะได้รับอัตราผลตอบแทนต่ำกว่าเดิม ทั้งนี้ก็เนื่องจากดอกเบี้ยในตลาดที่ต่ำนั่นเอง วิธีลดความเสี่ยง คือ การถือพันธบัตรระยะยาว (ขอให้สังเกตว่า ..ถ้าเราลดความเสี่ยงชนิดหนึ่ง ก็จะไปเพิ่มความเสี่ยงอีกชนิดหนึ่ง)
Default Risk คือ ความเสี่ยงที่จะไม่สามารถชำระดอกเบี้ยและเงินต้นคืน ...Default risk สูง ราคาพันธบัตรต่ำ และอัตราดอกเบี้ยที่ตราไว้สูงด้วย, vice versa
ประเภทของพันธบัตร
พันธบัตรจำนอง (Mortgage Bonds) คือ ผู้ออกจะใช้หลักทรัพย์ ส่วนใหญ่เป็นสินทรัพย์ถาวร ค้ำประกันพันธบัตรนั้น
พันธะสัญญา (Indenture) คือ ข้อตกลงอย่างเป็นทางการหรือเป็นสัญญาตามกฎหมาย ซึ่งสัญญานี้จะมีลักษณะเป็นแบบ Open ended ซึ่งบริษัทสามารถออกพันธบัตรชุดใหม่ได้ตลอดเวลา ภายใต้ข้อตกลงในปัจจุบัน จะถูกจำกัดโดยเปอร์เซ็นของหลักทรัพย์ค้ำประกันนั่นเอง
หุ้นกู้ (Debenture) คือ พันธบัตรระยะยาว ซึ่งไม่มีหลักทรัพย์ค้ำประกัน มีความเสี่ยงสูง และจ่ายดอกเบี้ยสูงด้วยเช่นกัน
หุ้นกู้ด้อยสิทธิ (Subordinated Debenture) .จะมีสิทธิในสินทรัพย์หรือสิทธิเรียกร้อง ต่อเมื่อผู้ออกได้ชดใช้หนี้ให้แก่เจ้าหนี้ประเภทอื่นหมดสิ้นแล้ว
Convertible bonds คือ พันธบัตรที่สามารถแปลงสภาพเป็นหุ้นสามัญได้ในราคาที่กำหนด และเป็นสิทธิของผู้ถือพันธบัตรว่าจะแปลงสภาพหรือไม่ ซึ่งจะมีอัตราดอกเบี้ยต่ำกว่าพันธบัตรที่ไม่สามารถแปลงสภาพได้
Income bonds คือ พันธบัตรที่จ่ายดอกเบี้ย เมื่อบริษัทมีกำไร
พันธบัตรควบเอกสารสิทธิ (Warrants) คือ สิทธิที่ให้ผู้ถือสามารถซื้อหุ้นสามัญได้ ในราคาที่กำหนด โดยปกติจะมีอัตราดอกเบี้ยต่ำกว่าพันธบัตรธรรมดา (Straight bonds)
Indexed or Purchasing power bonds คือ พันธบัตรที่มักจะใช้ในประเทศที่มีอัตราเงินเฟ้อสูงๆ เช่น บราซิล อิสราเอล
พันธบัตรไร้คุณภาพ (Junk bonds) คือ พันธบัตรที่มีความเสี่ยงสูง และให้ผลตอบแทนสูง โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเป็นแหล่งเงินทุนในการเข้าชื้อกิจการด้วยหนี้สิน (Leverage buyout) การควบกิจการ (Merger) หรือจำหน่ายโดยบริษัทที่กำลังประสบปัญหาการจัดอันดับของพันธบัตร ...โดยบริษัท Moody’s และ S&P
แบบฝึกหัดบทที่ 7 พันธบัตร และมูลค่าพันธบัตร
โจทย์ 7-1 Callaghan Motors’ bonds have 10 years remaining to maturity. Interest is paid annually, the bonds have a $1,000 par value, and the coupon interest rate is 8 percent.
The bonds have a yield to maturity of 9 percent. What is the current market price of these bonds ?
ตอบ
0 1 2 N (ปี) N (ปี) 10
9%
VB = ? 80 80 80 80 80
VB = 80 (PVIFA9% , 10) + $1,000 (PVIF9% , 10)
= 80 (6.4177) + $1,000 (0.4224)
= 513.42 + 422.4 = 935.82
วิธีการกดเครื่องคิดเลข Texas
10 N 9 i 80 PMT 1,000 FV CPT PV ผลลัพพ์ที่ได้ 935.82
โจทย์ 7-2 Thatcher Corporation’s bonds will mature in 10 years. The bonds have a face value of $1,000 and an 8 percent coupon rate, paid semiannually. The price of the bonds
is $1,100. The bonds are callable in 5 years at a call price of $1,050. What is the yield to maturity ? What is the yield to call ?
ตอบ
0 1 2 N (ปี) N (ปี) 20

$1,100 40 40 40 40 1,000
Kd = YTM ?
VB = INT (PVIFAi , n) + M (PVIFi , n)
$1,100 = 40 (PVIFAKd , 20) + $1,000 (PVIFKd , 20)
Kd = 3% + 0.33%
YTM = 3.33% x 2 = 6.66%
วิธีการกดเครื่องคิดเลข Texas
20 N -1,100 PV 40 PMT 1,000 FV CPT I/Y ผลลัพพ์ที่ได้ 3.31 แล้วคูณ 2 = 6.66%
Kd = YTC ?
VB = INT (PVIFAi , n) + M (PVIFi , n)
$1,100 = 40 (PVIFAKd , 10) + $1,050 (PVIFKd , 10)
Kd = 3% + 0.25%
YTM = 3.25% x 2 = 6.50%
วิธีการกดเครื่องคิดเลข Texas
10 N -1,100 PV 40 PMT 1,000 FV CPT I/Y ผลลัพพ์ที่ได้ 3.24 แล้วคูณ 2 = 6.48%
โจทย์ 7-30 ซื้อพันธบัตรมูลค่าที่ตราไว้ (par value) 1,000 บาท อัตราดอกเบี้ย 10% อายุ 14 ปี ในราคา 1,494.93 บาท และถือไว้จนครบกำหนด อัตราผลตอบแทนจากการถือพันธบัตร (YTM) ปีละไหร่
ตอบ วิธีการกดเครื่องคิดเลข Texas
14 N -1,494.93 PV 100 PMT 1,000 FV CPT I/Y ผลลัพพ์ที่ได้ = 5%

โจทย์ 7-35 พันธบัตรมูลค่าที่ตราไว้ 1,000 บาท อัตราดอกเบี้ย 10% ภายหลังการออกจำหน่ายจะเรียกไถ่ถอนคืนได้ภายใน 10 ปี ราคาไถ่ถอน 1,100 บาท เมื่อออกจำหน่ายแล้ว 1 ปี อัตราดอกเบี้ยของ
ตลาดลดลงเหลือ 5% ทำให้ราคาซื้อ / ขายพันธบัตรสูงขึ้นเป็น 1,494.93 บาท ผู้ลงทุนที่ซื้อพันธบัตรในราคา 1,494.93 บาท ถือไว้ 9 ปีจนกว่าจะถูกไถ่ถอนคืนจะได้รับอัตราผลตอบแทนเท่าไหร่
ตอบ วิธีการกดเครื่องคิดเลข Texas
9 N -1,494.93 PV 100 PMT 1,000 FV CPT I/Y ผลลัพพ์ที่ได้ = 4.21%

โจทย์ 7-39 พันธบัตรอัตราดอกเบี้ย 10% จ่ายดอกเบี้ยปีละ 2 ครั้ง ราคาที่ตราไว้ 1,000 บาท กำหนดไถ่ถอน 15 ปี อัตราผลตอบแทนที่ต้องการ 5% จะซื้อพันธบัตรนี้ในราคาเท่าใด
ตอบ วิธีการกดเครื่องคิดเลข Texas
30 N 2.5 I/Y 50 PMT 1,000 FV CPT PV ผลลัพพ์ที่ได้ = 1,523.26

Popular Posts