Custom Search

วันจันทร์ที่ 29 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553

ความเสี่ยงทางการเงิน (Financial Risks)

ตลาดการเงินในปัจจุบันการลงทุนสำหรับนักลงทุนในบ้านเราคงไม่อาจที่จะปฏิเสธการเข้าไปจัดการบริหารความเสี่ยงในการลงทุนที่มีมากมายและถาโถมเข้ามาเช่นเดียวกับการขยายตัวของโลกกาภิวัฒน์ของระบบทุนนิยม นักลงทุนสามารถติดต่อกับนักลงทุนอื่น ๆ ทั่วโลกได้ง่ายขึ้น ด้วยเหตุนี้การกระทำของคน ๆ เดียว หรือ กลุ่ม ๆ เดียวจึงไม่อาจสามารถทำให้เป็นเรื่องเฉพาะของเขาเหล่านั้นได้อีกต่อไป อาทิ การไหลเข้าออกของเงินทุนของกลุ่มทุน การลงทุนซึ้อหุ้นหรือพันธบัตร การดำเนินนโยบายทางการเงินการคลังของรัฐบาลทั้งในและเทศ การกระทำของนักลงทุนกลุ่มหนึ่ง ๆ ที่ส่งผลกระทบต่อนักลงทุนคนอื่น ๆ หรือการกระทำธุรกรรมของเราเองที่ไม่อาจทราบผลที่แน่นอน สิ่งที่ไหลเข้ามานอกจากโอกาสทางการเงินที่เปิดกว้างแล้วยังรวมไปถึงการขยายตัวของโอกาสในการรับรู้ความเสี่ยงและความไม่แน่นอนอีกด้วย (Risk and Uncertainty) ซึ่งสิ่งเหล่านี้อาจจะส่งผลให้เกิดการเปลี่ยนแปลงเล็กน้อยจนถึงมหาศาลของผลตอบแทนที่ได้รับจริงต่อผลตอบแทนที่เราคาดหวังก่อนการลงทุน เช่น ท่านรู้ได้อย่างไรว่าในปีหน้าหุ้นที่ท่านซื้อไว้ราคาจะเป็นเท่าที่นักวิเคราะห์หลายท่านบอกเอาไว้ ในขณะที่ราคาน้ำมันยังคงผันผวน การก่อหนี้ที่เพิ่มขึ้นของรัฐบาลที่อาจส่งผลต่ออัตราดอกเบี้ยระยะยาว รวมไปถึงเสถียรภาพทางการเมืองยังคงต้องใช้เวลาในการปรับตัว ยังคงเป็นตัวแปรที่เราไม่สามารถควบคุมได้ นักลงทุนหลายท่านจึงมีเป้าหมายในการพยายามปรับตัวเพื่อให้สามารถจัดการบริหารกับความเสี่ยงให้ดีขึ้น ดังนั้นก้าวแรกที่สำคัญคือ การทำความเข้าใจความแตกต่างระหว่างความเสี่ยงและความไม่แน่นอน และประเภทของความเสี่ยงทางการเงินก่อน

ความเสี่ยงและความไม่แน่นอนแตกต่างกันอย่างไร ?

ในปี 1921 นักเศรษฐศาสตร์ Frank H Knight ได้อธิบายความแตกต่างระหว่างความเสี่ยงและความไม่แน่นอนไว้

“Uncertainty must be taken in a sense radically distinct from the familiar notion of Risk, from which it has never been properlyseparated … The essential fact is that “risk” means in some cases a quantity susceptible of measurement, while at other times it is something distinctly not of this character; and there are far-reaching and crucial differences in the bearings of the phenomenon depending on which of the two is really present and operating. … It will appear that a measurable uncertainty, or “risk” proper, as we shall use the term, is so far different from an unmeasurable one that it is not in effect an uncertainty at all. We … accordingly restrict the term “uncertainty” to cases of the non-quantitive type.”

สามารถอธิบายให้เข้าใจง่าย ๆ ด้วยการยกตัวอย่าง การชกมวย ซึ่งนักมวยทั้งสองฝ่ายจะได้รับทราบถึงกฎกติกาอย่างละเอียดก่อนการชก ดังนั้นสิ่งที่จะทำคือ กำหนดกลยุทธ์ในการชกเพื่อเอาชนะอีกฝั่งให้ได้ เช่น ถ้าเราเดินแบบนี้แล้วเขาจะเดินแบบไหน เป็นต้น หากอีกฝั่งสามารถกำหนดกลวิธีที่เหนือกว่าเพราะเป็นนักมวยที่เก่งกว่าแล้วสามารถชกเอาชนะไปได้เราเรียกกรณีเช่นนี้ว่า ความเสี่ยง เช่นเดียวกับสิ่งที่เกิดขึ้นในการลงทุนในปัจจุบัน

หากเราเปลี่ยนใหม่ โดยที่ไม่บอกว่ากฎกติกาการชกจะเป็นแบบอย่างไรให้ทั่งสองฝ่ายทราบ และจะลงโทษผู้ที่ทำผิดกติกาแบบสุ่มด้วย ท่านลองคิดดูว่าผลจะเป็นอย่างไร สิ่งนี้เราเรียกว่า ความไม่แน่นอน

ดังนั้น ความแตกต่างของความเสี่ยงและความไม่แน่นอนคือ การวัดได้ (Measurable) ความเสี่ยงนั้นวัดได้แต่ความไม่แน่นอนนั้นวัดไม่ได้

ความเสี่ยงทางการเงิน (Financial Risk)

ความเสี่ยงทางการเงินแบ่งได้เป็น 3 ประเภท คือ

1. ความเสี่ยงตลาด (Market Risk) เป็นความเสี่ยงของการที่จะเสีย โดยราคาหรือการเปลี่ยนแปลงของราคา ซึ่งเป็นผลมาจากการเปลี่ยนแปลงของอัตราดอกเบี้ยในตลาดโลกหรืออื่น ๆ การผันผวนของอัตราแลกเปลี่ยน การดำเนินนโยบายใช้จ่ายของรัฐบาล การผันผวนของราคาสินค้าอุปโภคบริโภคภายในและนอกประเทศ ซึ่งเหล่านี้ส่งผลให้เกิดการเปลี่ยนแปลงของอุปสงค์และอุปทานการลงทุนในตลาดการเงิน ส่งผลต่อการเปลี่ยนแปลงของมูลค่าการลงทุน อาทิ การใช้จ่ายเพิ่มขึ้นและการก่อหนี้ของภาครัฐ ส่งผลให้ความเสี่ยงการลงทุนภายในประเทศเพิ่มขึ้น อัตราผลตอบแทนคาดการณ์ในระยะยาวจึงมีแนวโน้มสูงขึ้น อาจส่งผลให้ราคาของหุ้นหรือค่าเงินในปัจจุบันกับอนาคตมีความแตกต่างกันมาก
2. ความเสี่ยงด้านเครดิต (Credit Risk) เป็นความเสี่ยงที่จะสูญเสีย อันเนื่องมาจากการไม่กระทำตามสัญญาของคู่สัญญาอีกฝั่ง ซึ่งอาจเป็นได้ทั้งการเต็มใจและไม่เต็มใจที่จะไม่ทำ เช่น การผิดนัดชำระหนี้ การผิดนัดการแลกเปลี่ยนสินค้า การได้ผลตอบแทนไม่ครบตามที่สัญญาไว้ในหุ้นกู้ เป็นต้น ซึ่งเราสามารถลดความเสี่ยงในด้านนี้ได้โดยการลงทุนผ่านตลาดที่มีตัวกลาง เช่น ตลาดหุ้น หรือ ฟิวเจอร์ เป็นต้น ซึ่งในเมืองไทยยังต้องการการพัฒนาตลาดที่เป็นทางเลือกอื่น ๆ ในการลงทุนอีกมาก
3. ความเสี่ยงด้านการปฏิบัติการ (Operational Risk) เป็นความเสี่ยงที่เกิดขึ้นได้อยู่ตลอดเวลา อันเนื่องมาจากการปฏิบัติการที่ผิดพลาดหรือไม่เหมาะสมที่มาจากคทั้งคนหรือองกรค์ หรือจากเหตุการณ์ภายนอก เช่น การทำสัญญาทางการเงินที่ผิดพลาด การทำผิดกฎหมายโดยไม่ตั้งใจหรือตั้งใจของบริษัทที่เราซื้อหุ้น การไม่ทำตามนโยบายการลงทุนของกองทุนรวมที่เรามีหน่วยลงทุนอยู่ เป็นต้น การติดตามและเฝ้าระวังนโยบายของบริษัทอย่างสม่ำเสมอ จะช่วยให้สามารถกำหนดกลยุทธ์การลงทุนให้เหมาะสมได้ยิ่งขึ้น

1 ความคิดเห็น:

ไม่ระบุชื่อ กล่าวว่า...

เยื่ยม

แสดงความคิดเห็น

Popular Posts