Custom Search

วันอังคารที่ 24 กันยายน พ.ศ. 2556

การประเมินมูลค่าพันธบัตร

เราสามารถหามูลค่าในปัจจุบันของพันธบัตรได้จากการรวมมูลค่าในปัจจุบันของเงินปันผลทั้งหมดที่จะจ่ายในอนาคต และมูลค่าปัจจุบันเงินที่จะได้รับเมื่อขายคืนพันธบัตร

VB = Σ(INT/(1+kd)t) + M/(1+kd)N
มูลค่าปัจจุบัน (PV) ปีที่ 1 ปีที่ 2 ปีที่ 3 ปีที่ 4 ปีที่ 5 ... ขายคืนพันธบัตร
VB = INT/(1+kd)1 + INT/(1+kd)2 + INT/(1+kd)3 + INT/(1+kd)4 + INT/(1+kd)5 ... + M/(1+kd)N

วิธีกดเครื่องคิดเลข

FV = มูลค่าที่ตราไว้ในพันธบัตร หรือเงินที่จะได้เมื่อขายคืน
PMT = ดอกเบี้ยที่พันธบัตรกำหนด (ต้องแปลงอัตราดอกเบี้ยพันธบัตรที่เป็น % เป็นจำนวนเงิน)
PV = มูลค่าพันธบัตร หรือราคาตลาดของพันธบัตร (ติดลบเสมอ)
N = จำนวนปีที่ถือครองพันธบัตร
I/Y = อัตราผลตอบแทน ที่ได้จากการซื้อพันธบัตร หรือ อัตราดอกเบี้ยของตลาด (kd)

การเปลี่ยนแปลงมูลค่าพันธบัตรตามเวลา

ถ้า อัตราดอกเบี้ยพันธบัตร < kd ราคาตลาดจะต่ำกว่าราคาที่ระบุในพันธบัตร แต่จะค่อยๆเพิ่มขึ้นจนเท่ากับ M เมื่อถึงกำหนดไถ่ถอน
ถ้า อัตราดอกเบี้ยพันธบัตร > kd ราคาตลาดจะสูงกว่าราคาที่ระบุในพันธบัตร แต่จะค่อยๆลดลงจนเท่ากับ M เมื่อถึงกำหนดไถ่ถอน
ถ้า อัตราดอกเบี้ยพันธบัตร = kd ราคาพันธบัตรจะเท่ากับ M ไม่เปลี่ยนแปลง

อัตราผลตอบแทนจากพันธบัตร

Yield to Maturity (YTM)

YTM หมายถึงอัตราผลตอบแทนที่ได้รับ เมื่อถือพันธบัตรจนครบกำหนด วิธีคำนวณใช้วิธีคิดแบบธรรมดา หาค่า I/Y เป็น YTM

Yield to Call (YTC)

YTC หมายถึงอัตราผลตอบแทนที่ได้รับ เมื่อขายพันธบัตรก่อนครบกำหนดไถ่ถอน วิธีคำนวณใช้ให้เปลี่ยนแปลงค่าดังนี้
FV ใช้ราคาขายพันธบัตร กรณีไถ่ถอนก่อนกำหนด (ไม่ใช่มูลค่าที่ตราไว้ของพันธบัตร)
N ใช้จำนวนปีที่ถือครองพันธบัตร จนถึงวันที่ขาย (ไม่ใช่อายุเต็มของพันธบัตร)

Current Yield


อัตราผลตอบแทนของพันธบัตร = ดอกเบี้ยที่ได้รับ/ราคาตลาดปัจจุบัน

0 ความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

Popular Posts