MBA

We constantly research and disseminate knowledge to prepare graduate students to be leaders at the community, national and international levels.

Facebook is a social utility that connects people with friends and others who work, study and live around them. People use Facebook to keep up with friends

Custom Search

วันพฤหัสบดีที่ 10 พฤษภาคม พ.ศ. 2555

การใช้นโยบายการเงิน(Monetary Policy)

เมื่อธนาคารกลางต้องการกระตุ้นเศรษฐกิจจะใช้นโยบายการเงินแบบขยายตัว(Expansion
Monetary Policy) เป็นการเพิ่มปริมาณเงินทำให้เส้นอุปทานของเงินจะเลื่อนไปทางขวา ดุลยภาพ
เปลี่ยนแปลงจากจุด A ไปยังจุด Bพบว่า ความต้องการถือเงินในระบบเศรษฐกิจเพิ่มขึ้นจาก M1 เป็น M2
และอัตราดอกเบี้ยลดลงจาก 3 r เหลือ 4 r การเงินขยายตัวมักใช้กับภาวะที่
เศรษฐกิจตกต่ำมีการว่างงาน เพราะเมื่อเพิ่มปริมาณเงินแล้วทำให้อัตราดอกเบี้ยลดลง เมื่ออัตราดอกเบี้ย
ลดลงทำให้การบริโภคและการลงทุนในระบบเศรษฐกิจเพิ่มขึ้นส่งผลให้ความต้องการใช้จ่ายรวม
(DAE)ในระบบเศรษฐกิจเพิ่มขึ้น เศรษฐกิจจะขยายตัว อย่างไรก็ตาม การใช้นโยบายขยายตัวมากเกินไป
จะทำให้เกิดเงินเฟ้อในทางตรงข้าม หากเศรษฐกิจที่เป็นอยู่มีการเก็งกำไรมาก มีความต้องการมากกว่าผลผลิต
ศักยภาพ เกิดปัญหาเงินเฟ้อมาก ธนาคารจะเลือกใช้นโยบายการเงินแบบหดตัว(Contraction Monetary
Policy) เป็นการลดปริมาณเงินในระบบเศรษฐกิจเพื่อแก้ปัญหาเงินเฟ้อ เพราะเมื่อปริมาณเงินลดลง
ดอกเบี้ยจะเพิ่มขึ้น ประชาชนจะออมมากขึ้นทำให้การบริโภคลดลง ในขณะที่ภาคธุรกิจจะลงทุนลดลงทำ
ให้ความต้องการใช้จ่ายรวมในระบบเศรษฐกิจ (DAE) ลดลง เพื่อใฟ้ความต้องการใช้จ่ายรวมพอดีกับ
ผลผลิตรวมที่กำลังการผลิตของประเทศสามารถตอบสนองได้

การสร้างเงินฝากในระบบธนาคารพาณิชย์ (Money Creation)

แนวคิด คือ เงินฝากในระบบธนาคารพาณิชย์และการให้สินเชื่อ(การปล่อยกู้) จะทำให้ปริมาณ
เงิน (Money supply) ในระบบเศรษฐกิจเปลี่ยนแปลงไป
- กระบวนการสร้างเงินฝากของธนาคารพาณิชย์สามารถอธิบายได้โดยใช้งบดุล (Balance
sheet) หรือ “T-Account” แสดงรายการ 1. สินทรัพย์ (Assets)และ 2. หนี้สินและทุน(Liabilities and
capital)
- เงินฝากขั้นแรก (Primary deposits) คือ เงินสดที่มีผู้นำมาฝากเข้าบัญชีเงินฝากกระแสรายวันที่
ธนาคารพาณิชย์ ในจำนวนนี้ธนาคารจะเก็บสำรองไว้ส่วนหนึ่ง เรียกว่าอัตราเงินสำรอง (Reserve ratio)
อัตราเงินสำรองแบ่งได้ 2 ประเภท คือ 1.)อัตราเงินสำรองตามกฎหมาย(Legal reserve ratio: r) 2.)อัตรา
เงินสำรองส่วนเกิน(Excess reserve ratio:re )
ข้อสมมติสำหรับการวิเคราะห์การสร้างเงินฝากสูงสุด
1.อัตราเงินสดสำรองส่วนเกินเท่ากับ 0
2. ธนาคารที่ได้รับเงินฝากขั้นแรกจะนำเงินสดหลังหักสำรองตามกฎหมายไปปล่อยกู้ทั้งหมด

3. ผู้กู้เงินจากธนาคารจะไม่เบิกเป็นเงินสดแต่จะเปิดบัญชีกับธนาคารพาณิชย์นั้นหรือธนาคาร
อื่นๆก็ได้
4. อัตราเงินสดสำรองตามกฎหมายจะต้องต่ำกว่าร้อยละ 100
สมมติว่าเงินฝากขั้นแรก 100 บาทมาจากนาย A ฝากกับธนาคารพาณิชย์ ก. กำหนดให้อัตราเงิน
สำรองตามกฎหมายเท่ากับร้อยละ 10 ดังนั้น ส่วนที่ธนาคาร ก. ปล่อยกู้ได้คือ 90 บาท สมมติว่าปล่อยกู้
ให้กับนาย B และนาย Bได้นำเงิน 90 บาทนี้ฝากกับธนาคาร ข. และธนาคาร ข.ต้องเก็บสำรองเท่ากับ 9
บาท (0.1x90) ส่วนที่เหลือ 81 บาทจะปล่อยกู้ให้นาย C ทั้งหมด ไปอย่างนี้เรื่อยๆ

คำนิยามของเงินในระบบเศรษฐกิจ

เงินสด(Currency) คือ เงินที่เป็นธนบัตรและเหรียญที่อยู่กับสาธารณชน ไม่รวมที่อยู่ในระบบ
ธนาคาร
เงินฝากกระแสรายวัน (demand deposits) คือ เงินฝากของสาธารณชนในระบบ
ธนาคาร โดยเจ้าของบัญชีสามารถเขียนเช็คชำระหนี้ได้ มีสภาพคล่องสูงรองจากเงินสด
ปริมาณเงินตามความหมายอย่างแคบ(Narrow money: M1) คือ เงินสด+เงินฝากกระแส
รายวัน
ปริมาณเงินตามความหมายอย่างกว้าง(Board money: M2) คือ M1 +เงินฝากประจำ (Time
deposits)+เงินฝากออมทรัพย์ (Saving deposits)
ปริมาณเงินตามความหมายอย่างกว้างมาก(M3) คือ M2 +ตั๋วสัญญาใช้เงินของบริษัทเงินทุนที่
ถือโดยภาคเอกชน (Promissory notes)

อแตกต่างระหว่างธนาคารกลางกับธนาคารพาณิชย์
1.) ธนาคารกลางไม่ใช่สถาบันที่แสวงหากำไร
2.) ธนาคารกลางไม่ดำเนินธุรกิจแข่งขันกับธนาคารพาณิชย์
3.) ลูกค้าของธนาคารกลาง คือ ธนาคารพาณิชย์ สถาบันการเงินอื่นๆ และหน่วยงานของรัฐ แต่
ลูกค้าของธนาคารพาณิชย์ คือ ประชาชนทั่วไป
4.) ธนาคารกลางทำหน้าที่กำกับดูแลธนาคารพาณิชย์และสถาบันการเงินอื่นๆเพื่อประโยชน์ต่อ
เศรษฐกิจของประเทศ
หมายเหตุ ธนาคารกลางในบางประเทศเอกชนอาจเป็นเจ้าของซึ่งธนาคารกลางจะต้องทำงานร่วมกับ
รัฐบาลแต่ก็มีอิสระในการปฏิบัติหน้าที่ เป้าหมายของธนาคารกลาง คือ รักษาเสถียรภาพของค่าเงินและ
เศรษฐกิจโดยรวมของประเทศ

เครื่องมือของนโยบายการเงิน (Policy instruments)
1. การกำหนดอัตราเงินสำรองตามกฎหมาย (legal reserve ratio)
-การลดอัตราเงินสำรองตามกฎหมายจะทำให้ปริมาณเงิน ในระบบเพิ่มขึ้น
- การเพิ่มอัตราเงินสำรองตามกฎหมายจะทำให้ปริมาณเงิน ในระบบลดลง
2. การซื้อขายหลักทรัพย์ (Open market operations: OMO)
- การซื้อหลักทรัพย์ของธนาคารกลาง จะทำให้ปริมาณเงินเพิ่มขึ้น
- การขายหลักทรัพย์ของธนาคารกลาง จะทำให้ปริมาณเงินลดลง
หมายเหตุ ตัวอย่างของหลักทรัพย์ เช่น พันธบัตรรัฐบาล
3. การเปลี่ยนแปลงอัตรารับช่วงซื้อลด(Rediscount rate)
- การเพิ่มอัตรารับช่วงซื้อลดจะทำให้ปริมาณเงินลดลง
- การลดอัตรารับช่วงซื้อลดจะทำให้ปริมาณเงินเพิ่มขึ้น

หน้าที่ของเงิน(The functions of money) ในระบบเศรษฐกิจ

1.)เป็นสื่อกลางในการแลกเปลี่ยน(Medium of Exchange)
ทำหน้าที่อำนายความสะดวกและทำให้เกิดการแบ่งงานกันทำเพราะแต่ละคนจะทำอาชีพที่ตนมี
ความถนัดมากที่สุดเมื่อได้เงินก็นำไปซื้อสินค้าและบริการอื่นๆ
2.) เป็นมาตรฐานการวัดค่า(Standard of Value)
ทำให้สินค้าและบริการทุกชนิดถูกประเมินเป็นเงินตราเดียวกัน สะดวกในการเปรียบเทียบมูลค่า
และเป็นประโยชน์ในการทำบัญชี ที่สามารถบวกลบกันได้โดยตรงเพราะมีหน่วยเดียวกัน ตัวอย่างของการ
เปรียบเทียบเช่น ปากการาคา 5 บาท แต่ดินสอราคา 10 บาท แสดงว่า ปากกา 2 ด้ามมีค่าเท่ากับดินสอ
1 แท่ง เป็นต้น
คำถาม: ท่านคิดว่าถ้าโลกนี้มีสินค้าและบริการ N ชนิด หากกำหนดให้ของแลกของกันโดยตรงจะต้องมี
การกำหนดอัตราแลกเปลี่ยนกี่อัตรา
3.) เป็นมาตรฐานการชำระหนี้ภายหน้า (Standard of deferred payments)
ทำหน้าที่อำนวยความสะดวกระหว่างลูกหนี้กับเจ้าหนี้ทำให้ธุรกรรมการซื้อเชื่อขายเชื่อดำเนินไป
ได้อย่างสะดวก เพราะทุกคนเชื่อว่าเงินสามารถชำระหนี้ได้
4.) เป็นเครื่องสะสมมูลค่า (Store of value)
เงินจัดเป็นสินทรัพย์อย่างหนึ่งที่สะสมไว้ได้ บุคคลอาจเลือกเก็บเป็นเงินเพื่อนำไปใช้จ่ายใน
อนาคตต่อไป โดยเงินเป็นสินทรัพย์ที่มีสภาพคล่องมากที่สุด(Liquidity) แต่การเก็บเงินไว้เฉยๆจะไม่ให้
ผลตอบแทนเหมือนการออมในทรัพย์สินอื่นๆ เช่พันธบัตร หรือหุ้นซึ่งให้ผลตอบแทนแต่มีสภาพคล่อง
น้อยกว่าเงิน
หมายเหตุ
- สภาพคล่อง(Liquidity) หมายถึง ความง่ายที่จะใช้สินค้านั้นเป็นสื่อกลางในการแลกเปลี่ยน
ในระบบเศรษฐกิจ
- เงินจะทำหน้าที่ได้ดีนั้นค่าของเงิน(อำนาจซื้อ) ต้องมีเสถียรภาพ การที่ค่าเงินมีการ

อุปสงค์ของเงิน

อุปสงค์ของเงิน(Demand for Money Theory) หรือความต้องการถือเงิน ขึ้นอยู่กับปัจจัยสำคัญ สี่ประการคือ ระดับราคา(The Level of Price) ระดับอัตราดอกเบี้ย(The Level of Interest Rate) ระดับผลิตภัณฑ์ในประเทศแท้จริง(Real GDP) และระดับนวัตกรรมทางการเงิน(The Pace of Financial Innovation) ซึ่งอุปสงค์ของเงินสามารถอธิบายระดับอัตราเงินเฟ้อได้เป็นอย่างดี ทฤษฎีความต้องการถือเงินแบ่งออกเป็นสองสำนักใหญ่คือ สำนักคลาสสิค และเคนส์ ซึ่งแต่ละสำนักประกอบด้วยทฤษฎีความต้องการถือเงินสำคัญดังนี้

อุปสงค์ของเงิน(Demand for Money Theory) หรือความต้องการถือเงิน ขึ้นอยู่กับปัจจัยสำคัญ สี่ประการคือ ระดับราคา(The Level of Price) ระดับอัตราดอกเบี้ย(The Level of Interest Rate) ระดับผลิตภัณฑ์ในประเทศแท้จริง(Real GDP) และระดับนวัตกรรมทางการเงิน(The Pace of Financial Innovation) ซึ่งอุปสงค์ของเงินสามารถอธิบายระดับอัตราเงินเฟ้อได้เป็นอย่างดี ทฤษฎีความต้องการถือเงินแบ่งออกเป็นสองสำนักใหญ่คือ สำนักคลาสสิค และเคนส์ ซึ่งแต่ละสำนักประกอบด้วยทฤษฎีความต้องการถือเงินสำคัญดังนี้

1. ทฤษฎีอุปสงค์เงินของสำนักคลาสสิค
แนวคิดของสำนักคลาสสิค ให้ความสำคัญกับระยะเวลาความต้องการถือเงิน และอุปนิสัยของผู้ถือเงินเป็นปัจจัยกำหนดที่สำคัญของความต้องการถือเงิน คือความต้องการถือเงินเกิดขึ้นเนื่องจากช่วงเวลารับและจ่ายเงินไม่ตรงกัน แบ่งออกได้เป็น ทฤษฎีของ เออวิง ฟิชเชอร์ (Irving Fisher) และมหาวิทยาลัยแคมบริดจ์
1.1 แนวความคิดเออวิง ฟิชเชอร์
ปี ค.ศ. 1911 เออวิง ฟิชเชอร์ นักเศรษฐศาสตร์สำนักคลาสสิคใหม่(Neoclassic) ได้พิมพ์หนังสือเรื่อง “The Purchasing Power of Money” เป็นเรื่องเกี่ยวกับการพัฒนาทฤษฎีปริมาณเงิน ของ ไซมอน นิวโคมบ(Simon Newcomb) ที่ปี ค.ศ. 1885 ได้พัฒนาทฤษฎีปริมาณเงิน(The Quantity Theory of Money) ของ จอนห์ สจวตมิล(John Stuart Mill) และ เดวิด ฮูม(David Hume) พวกเขาจัดว่าเป็นนักเศรษฐศาสตร์สำนักคลาสสิค หนังสือของ ฟิชเชอร์ พยามอธิบายทฤษฎีดังกล่าว ให้อยู่ในรูปสมการแลกเปลี่ยนให้เข้าใจได้ง่าย
M.V = P.Q 6.1
และเมื่อจัดสมการ(6.1)
ให้อยู่ในรูปธุรกรรม(Transaction Form) ได้ดังนี้
M.VT = P.T (6.2)
โดย
M = ปริมาณเงินหมุนเวียนในระยะเวลาใดเวลาหนึ่ง
V = อัตราความเร็วในการหมุนเวียนเงิน
P = ระดับราคาสินค้าและการบริการทั่วไป
Q = ดัชนีชี้วัดมูลค่าแท้จริงของการใช้จ่าย หรือ P.Q คือมูลค่าเงินที่ใช้จ่าย
T = ปริมาณของสินค้าและบริการที่ซื้อขายกันในระยะหนึ่ง
ซึ่ง P.T หมายถึงผลรวมของการเปลี่ยนแปลงเงินในขณะใดขณะหนึ่ง ดังนั้นความเร็วของการทำธุรกรรมนี้เท่ากับ VT = P.T/M นักเศรษฐศาสตร์ในกลุ่มนี้ คนสำคัญที่ควรกล่าวถึงคือ มิลตัน ฟรีดแมน(Milton Friedman) ซึ่งมีชีวิตอยู่ในช่วง ค.ศ. 1991-2006 เป็นนักเศรษฐศาสตร์สำคัญในกลุ่มนี้ เป็นผู้พัฒนาทฤษฎีนี้ต่อจาก ฟิชเชอร์ จนทำให้แนวคิดเรื่องเศรษฐสาสตร์จุลภาคมหภาคแยกกันได้ชัดเจน และได้รับรางวัลโนเบล(Nobel Price) เรื่องเกี่ยวกับการบริโภคและการเงิน

Popular Posts