MBA

We constantly research and disseminate knowledge to prepare graduate students to be leaders at the community, national and international levels.

Facebook is a social utility that connects people with friends and others who work, study and live around them. People use Facebook to keep up with friends

Custom Search

วันอาทิตย์ที่ 5 มิถุนายน พ.ศ. 2554

ระบบสารสนเทศด้านการเงิน (financial information system)


ระบบสารสนเทศด้านการเงิน (financial information system)
ระบบการเงิน (financial system) เปรียบเสมือนระบบหมุนเวียนโลหิตของร่างกายที่สูบฉีดโลหิตไปยังอวัยวะต่าง ๆ เพื่อให้การทำงานของอวัยวะแต่ละส่วนเป็นปกติ ถ้าระบบหมุนเวียนโลหิตไม่ดี การทำงานของอวัยวะก็บกพร่อง ซึ่งจะส่งผลกระทบโดยตรงต่อระบบร่างกาย ระบบการเงินจะเกี่ยวกับสภาพคล่อง (liquidity) ในการดำเนินงาน เกี่ยวข้องกับการจัดการเงินสดหมุนเวียน ถ้าธุรกิจขาดเงินทุน อาจก่อให้เกิดปัญหาขึ้นทั้งโดยตรงและทางอ้อม โดยที่การจัดการทางการเงินจะมีหน้าที่สำคัญ 3 ประการ ดังต่อไปนี้

1. การพยากรณ์ (forecast) การศึกษา วิเคราะห์ การคาดกราณ์ การกำหนดทางเลือก และการวางแผนทางด้านการเงินของธุรกิจ เพื่อใช้ทรัพยากรทางการเงินให้เกิดประโยชน์สูงสุด โดยนักการเงินสามารถใช้หลักการทางสถิติและแบบจำลองทางคณิตศาสตร์มาประยุกต์ การพยากรณ์ทางการเงิน จะอาศัยข้อมูลจากทั้งภายในและภายนอกองค์การ ตลอดจนประสบกราณ์ของผู้บริหารในการตัดสินใจ

2. การจัดการด้านการเงิน (financial management) เกี่ยวข้องกับเรื่องการบริหารเงินให้เกิดประโยชน์สูงสุด เช่น รายรับและรายจ่าย การหาแหล่งเงินทุนจากภายนอก เพื่อที่จะเพิ่มทุนขององค์การ โดยวิธีการทางการเงิน เช่น การกู้ยืม การออกหุ้นหรือตราสารทางการเงินอื่น เป็นต้น

3. การควบคุมทางการเงิน (financial control) เพื่อติดตามผล ตรวจสอบ และประเมินตวามเหมาะสมในการดำเนินงานว่าเป็นไปตามแผนที่กำหนดหรือไม่ ตลอดจนวางแนวทางแก้ไขหรือปรับปรุงให้การดำเนินงานทางการเงินของธุรกิจมีประสิทธิภาพ โดยที่การตรวจสอบและการควบคุมการทางการเงินของธุรกิจสามารถจำแนกออกเป็น 2 ประเภทดังต่อไปนี้

การควบคุมภายใน (internal control)
การควบคุมภายนอก (external control)
ระบบสารสนเทศด้านการเงิน (finalncial information system) เป็นระบบสารสนเทศที่พัฒนาขึ้นสำหรับสนับสนุนกิจกรรมทางด้านการเงินขององค์การ ตั้งแต่การวางแผน การดำเนินงาน และการควบคุมทางด้านการเงิน เพื่อให้การจัดการทางการเงินเกิดประสิทธิภาพสูงสุด โดยที่แหล่งข้อมูลสำคัญในการบริหารเงินขององค์การมีดังต่อไปนี้

1. ข้อมูลจากการดำเนินงาน (operatins data) เป็นข้อมูลที่ได้จากการปฏิบัติงานของธุรกิจ ซึ่งเป็นประโยชน์ในการควบคุม ตรวจสอบ และปรับปรุงแผนการเงินขององค์การ

2. ข้อมูลจากการพยากรณ์ (forecasting data) เป็นข้อมูลที่ได้จากการรวบรวมและประมวลผล เช่น การประมาณค่าใช้จ่ายและยอดขายที่ได้รับจากแผนการตลาด โดยใช้เทคนิคและแบบจำลองการพยากรณ์ โดยที่ข้อมูลจากการพยากรณ์ถูกใช้ประกอบการวางแผน การศึกษาความเป็นไปได้ และการตัดสินใจลงทุน

3. กลยุทธ์องค์การ (corporate strategy) เป็นเครื่องกำหนดและแสดงวิสัยทัศน์ ภารกิจ วัตถุประสงค์ แนวทางการประกอบธุรกิจในอนาคต เพื่อให้องค์การบรรลุเป้าหมายที่ต้องการ โดยที่กลยุทธ์จะเป็นแผนหลักที่แผนปฏิบัติการอื่นต้องถูกจัดให้สอดคล้องและส่งเสิรมความสำเร็จของกลยุทธ์

4. ข้อมูลจากภายนอก (external data) ข้อมูลทางเศรษฐกิจและการเงิน สังคม การเมือง และปัจจัยแวดล้อมที่มีผลต่อธุรกิจ เช่น อัตราดอกเบี้ย อัตราแลกเปลี่ยน อัตราการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ เป็นต้น โดยข้อมูลจากภายนอกจะแสดงแนวโน้มในอนาคตที่ธุรกิจต้องปรับตัวให้สอดคล้องกับสถานกราณ์

ระบบสารสนเทศด้านการบัญชีและระบบสารสนเทศด้านการเงินจะมีความสัมพันธ์กัน เนื่องจากข้อมูลทางการบัญชีจะเป็นข้อมูลสำหรับการประมวลผลและการตัดสินใจทางการเงิน โดยนักการเงินจะนำตัวเลจทางการบัญชีมาประมวลผลตามที่ตนต้องการ เพื่อให้ได้ข้อมูลสำหรับสนับสนุนการตัดสินใจทางการเงิน

เทคโนโลยีสารสนเทศกับการดำเนินธุรกิจ


ผู้บริหารต้องคำนึงถึงความสอดคล้องระหว่างการดำเนินธุรกิจ เทคโนโลยี และการตัดสินใจที่ต้องกระทำอย่างสอดคล้องกัน ปัจจุบันผู้บริหารต้องประยุกต์เทคโนโลยีสารสนเทศและการตัดสินใจทางธุรกิจขององค์การอย่างมีประสิทธิภาพ เพื่อให้เกิดวิสัยทัศน์และสร้างโอกาสในการประยุกต์ให้เกิดประโยชน์สูงสุดแก่องค์การ ผู้บริหารต้องสามารถจัดการกับเทคโนโลยีอย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งสามารถแบ่งเป็นขั้นตอนดังต่อไปนี้

1. กำหนดกลยุทธ์องค์การที่ให้ความสำคัญกับเทคโนโลยีสารสนเทศ
2. กำหนดแผนงานสารสนเทศระดับองค์การและการดำเนินงาน กำหนดโครงสร้างหน่วยงานสารสนเทศ

3. พัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านสารสนเทศขององค์การ (information system infrastructure) เช่น อุปกรณ์ ชุดคำสั่ง ระบบสื่อสารและจัดการข้อมูล ระบบสำนักงานอัตโนมัติ ซึ่งมีบทบาทสำคัญในการกำหนดศักยภาพและความยืดหยุ่นในการปรับตัวของงานสารสนเทศในองค์การ

4. กำหนดรายละเอียดการดำเนินงานภายในองค์การ พร้อมทั้งพัฒนาทรัพยากรบุคคลให้มีความพร้อมต่อการประยุกต์เทคโนโลยีสารสนเทศให้เกิดประสิทธิภาพและประสิทธิผลสูงสุดแก่องค์การ

ระบบสารสนเทศทางธุรกิจ (business information systems) เป็นระบบสารสนเทศที่ถูกพัฒนาขึ้นเพื่อสนับสนุนให้การดำเนินงานของธุรกิจให้ดำเนินการอย่างเป็นระบบ โดยถูกออกแบบและพัฒนาให้ปฏิบัติงานตามหน้าที่ทางธุรกิจ ตลอดจนช่วยส่งเสริมให้ทั้งองค์การสามารถประสานงานและใช้ข้อมูลร่วมกันอย่างมีประสิทธิภาพทั้งในระดับปฏิบัติงานและระดับบริหาร โดยเราสามารถจำแนกระบบสารสนเทศตามหน้าที่ทางธุรกิจตามหน้าที่ดังต่อไปนี้

1. ระบบสารสนเทศด้านการบัญชี (accounting information system)

2. ระบบสารสนเทศด้านการเงิน (financial information system)

3. ระบบสารสนเทศด้านการตลาด (marketing information system)

4. ระบบสารสนเทศด้านการผลิตและการดำเนินงาน (production and operations information system)

5. ระบบสารสนเทศด้านทรัพยากรบุคคล (human resource information system)

ปัจจุบันงานของนักบัญชีมีการเปลี่ยนแปลงจากเดิมอย่างมาก เนื่องจากเทคโนโลยีสารสนเทศที่ทันสมัยทำให้มีการพัฒนาชุดคำสั่งสำเร็จรูปหรือชุดคำสั่งเฉพาะสำหรับช่วยในการเก็บรวบรวมและประมวลผลข้อมูล ซึ่งจะช่วยลดระยะเวลาและเพิ่มความถูกต้องในการทำงานแก่ผู้ใช้ ทำให้นักบัญชีมีเวลาในการปฏิบัติงานเชิงบริหารมากขึ้น เช่น การออกแบบและพัฒนาระบบงาน พัฒนาระบบงบประมาณและระบบข้อมูลสำหรับผู้บริหาร เป็นต้น โดยที่ระบบสารสนเทศด้านการบัญชี (accounting information systems) หรือที่เรียกว่า AIS จะเป็นระบบที่รวบรวม จัดระบบ และนำเสนอสารสนเทศทางการบัญชีที่ช่วยในการตัดสินใจแก่ผู้ใช้สารสนเทศทั้งภายในและภายนอกองค์การ โดยระบบสารสนเทศทางการบัญชีจะให้ความสำคัญกับสารสนเทศที่สามารถวัดได้ หรือการประมวลผลเชิงปริมาณมากกว่าการแก้ปัญหาเชิงคุณภาพ โดยระบบสารสนเทศด้านการบัญชีจะมีส่วนประกอบหลัก 2 ส่วนคือ

1. ระบบบัญชีการเงิน (financial accounting system) บัญชีการเงินเป็นการบันทึกรายการคำที่เกิดขึ้นในรูปตัวเงิน จัดหมวดหมู่รายการต่าง ๆ สรุปผลและตีความหมายในงบการเงิน ได้แก่ งบกำไรขาดทุน งบดุล และงบกระแสเงินสด โดยมีวัตถุประสงค์หลักคือ นำเสนอสารสนเทศแก่ผู้ใช้และผู้ที่สนใจข้อมูลทางการเงินขององค์การ เช่น นักลงทุนและเจ้าหนี้ นอกจากนี้ยังจัดเตรียมสารสนเทศในการตัดสินใจของผู้บริหาร ซึ่งนักบัญชีสามารถนำเทคโนโลยีสารสนเทศใช้ในการประมวลข้อมูล โดยจดบันทึกลงในสื่อต่าง ๆ เช่น เทปหรือจานแม่เหล็ก เพื่อรอเวลาสำหรับทำการประมวลและแสดงผลข้อมูลตามต้องการ

2. ระบบบัญชีบริหาร (managerial accounting system) บัญชีบริหารเป็นการนำเสนอข้อมูลทางการเงินแก่ผู้บริหารเพื่อใช้ในการตัดสินใจทางธุรกิจ ระบบบัญชีจะประกอบด้วย บัญชีต้นทุน การงบประมาณ และการศึกษาระบบ โดยมีลักษณะสำคัญคือ

ให้ความสำคัญกับการจัดการสารสนเทศทางการบัญชีแก่ผู้ใช้ภายในองค์การ

ให้ความสำคัญกับการดำเนินงานในอนาคตของธุรกิจ

ไม่ต้องจัดทำสารสนเทศตามหลักการบัญชีที่รับรองทั่วไป

มีข้อมูลทั้งที่เป็นตัวเงินและไม่เป็นตัวเงิน

มีความยืดหยุ่นและสามารถปรับให้สอดคล้องกับความต้องการใช้งาน

เงินสำรองทางการของประเทศ


เงินสำรองทางการของประเทศกองทุนการเงินระหว่างประเทศได้ให้คำจำกัดความของเงินสำรองทางการ หรือเงินสำรองระหว่างประเทศไว้ใน Balance of Payment Manual (5th Edition) ดังนี้

“Those external assets that are readily available to and controlled by monetary authorities for direct financing of payments imbalances, for indirectly regulating the magnitudes of imbalances through intervention in exchange markets to affect the currency exchange rate, and/or for other purposes”

วัตถุประสงค์ในการถือเงินสำรองทางการ

เงินสำรองทางการของไทย มีไว้เพื่อวัตถุประสงค์ดังต่อไปนี้

1. เพื่อใช้ในการดำเนินนโยบายการเงินและนโยบายอัตราแลกเปลี่ยน

2. เพื่อความมั่นคั่งของประเทศ (store of wealth)

3. สร้างความเชื่อมั่นแก่นักลงทุนต่างชาติ

4. เพื่อใช้หนุนหลังธนบัตรออกใช้

เพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ในการถือเงินสำรองทางการดังกล่าว ในการบริหารเงินสำรองทางการของธปท. จึงยึดหลักการที่สำคัญ 3 ประการคือ

1. รักษามูลค่าของเงินสำรองทางการในรูปเงินตราต่างประเทศ (Security)

2. ให้มีสภาพคล่องเพียงพอต่อการดำเนินนโยบายการเงินและนโยบายอัตราแลกเปลี่ยน (Liquidity)

3. ได้รับผลตอบแทนสูงสุดภายในระดับความเสี่ยงที่ยอมรับได้ (Return)

ที่มาของเงินสำรองทางการ

เงินสำรองทางการของไทยมีแหล่งที่มาสำคัญดังนี้

1. การเกินดุลการชำระเงิน ซึ่งประกอบด้วยดุลบัญชีเดินสะพัด และดุลบัญชีเงินทุนเคลื่อนย้าย อย่างไรก็ดี ภายใต้ระบบอัตราแลกเปลี่ยนลอยตัว การเกินดุลดังกล่าวจะทำให้เงินสำรองทางการของธปท. เพิ่มขึ้นเฉพาะในกรณีที่ธปท. เข้าซื้อเงินตราต่างประเทศจากตลาดเงินตราต่างประเทศเท่านั้น

2. ผลตอบแทนที่ได้จากการบริหารจัดการ ซึ่งแยกเป็นผลตอบแทนที่เกิดจากรายได้ประเภทต่าง ๆ และผลตอบแทนที่เกิดจากการเปลี่ยนแปลงในมูลค่าตลาดของสินทรัพย์ที่ประกอบเป็นเงินสำรองทางการ

ตลาดอนุพันธ์


ตลาดอนุพันธ์ เป็นตลาดตราสารการเงินที่มีความซับซ้อนมากขึ้นกว่าตลาดเงิน หรือตลาดเงินตราต่างประเทศ โดยตราสารอนุพันธ์จะมีสินทรัพย์อ้างอิง (Underlying asset) เป็นตราสารการเงิน ธุรกรรม ราคาสินค้า ฯลฯ แล้วแต่คู่กรณีจะตกลงทำสัญญาซื้อขายกัน ซึ่งตราสารอนุพันธ์ทางการเงินใช้เป็นเครื่องมือสัญญาป้องกัน/บริหารความเสี่ยงจากอัตราดอกเบี้ย อัตราแลกเปลี่ยน ราคาหลักทรัพย์/สินค้า โดยราคาของอนุพันธ์ขึ้นกับระดับราคาของสินทรัพย์อ้างอิงที่ใช้ เช่น
ตราสารหนี้ ตราสารทุน อัตราแลกเปลี่ยน และสินค้าโภคภัณฑ์ ปัจจุบันสามารถแบ่งประเภทตลาดออกเป็น ตลาดสัญญาซื้อขายล่วงหน้า (Futures market) และตลาดออปชัน (Option market) สำหรับตลาดตราสารหนี้ผู้ที่ลงทุนในตลาดตราสารหนี้ไทยอาจเลือกวิธีการป้องกันความเสี่ยงจากการปรับสูงขึ้นของอัตราดอกเบี้ยได้โดยการทำธุรกรรม Interest Rate Swap (IRS) เพื่อแลกอัตราดอกเบี้ยคงที่ที่รับจากพันธบัตรเป็นอัตราดอกเบี้ยแบบลอยตัวแทน สำหรับอนุพันธ์ที่มีสินทรัพย์อ้างอิงเป็นตราสารทุน ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยได้มีการจัดตั้งบริษัท ตลาดอนุพันธ์ (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน) (TFEX) เมื่อปี 2547 เพื่อทำหน้าที่เป็นศูนย์ซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้า ตามพระราชบัญญัติสัญญาซื้อขายล่วงหน้า พ.ศ. 2546 โดยในปี 2549 TFEX ได้มีการออกสัญญาซื้อขายล่วงหน้าของดัชนี SET50 (SET50 Index Futures) ต่อมาในปี 2550 ได้ออกออปชันของดัชนี SET50 (SET50 Index Options) ในส่วนของฟิวเจอร์สและออปชันของสินค้าอ้างอิงประเภทอื่นๆ นั้น TFEX ได้มีแผนที่จะดำเนินการต่อไป สำหรับในเรื่องของสินค้าเกษตรนั้น สำนักงานคณะกรรมการกำกับการ
ซื้อขายสินค้าเกษตรล่วงหน้าเป็นหน่วยงานที่มีหน้าที่ในการวางนโยบายการส่งเสริมและพัฒนา ตลอดจนกำกับดูแล โ

อย่างไรก็ตาม ในภาพรวมตลาดการเงินของไทยยังมีเครื่องมือในการบริหารความเสี่ยง
ไม่เพียงพอ ส่งผลให้ปริมาณธุรกรรมในตลาดการเงินอื่นๆ ไม่สามารถพัฒนาในเชิงลึกได้อย่าง
มีประสิทธิภาพ หน่วยงานที่เกี่ยวข้องจึงได้ร่วมมือกันในการปรับปรุงกฎเกณฑ์ต่างๆ เพื่อลดอุปสรรคในการพัฒนาตลาดของเครื่องมือบริหารความเสี่ยง รวมทั้งให้ความรู้ความเข้าใจแก่ผู้เล่นประเภทต่างๆ ทั้งในเรื่องของผลิตภัณฑ์ซึ่งมีความซับซ้อน การบริหารจัดการ และกฎเกณฑ์กำกับดูแลที่เกี่ยวข้อง เพื่อให้ผู้เล่นในตลาดการเงินสามารถโอนถ่ายความเสี่ยงได้อย่างมีประสิทธิภาพเพิ่มมากขึ้น

ตลาดตราสารหนี้


ตลาดตราสารหนี้ คือตลาดสำหรับการระดมทุนและการออมในระยะที่ยาวกว่า 1 ปี โดยการออกตราสารหนี้ (Debt Securities หรือ Bonds) ผู้ออกตราสารหนี้และผู้ลงทุนจะมีความสัมพันธ์กันในฐานะลูกหนี้และเจ้าหนี้ โดยผู้ลงทุนจะได้รับผลตอบแทนในรูปดอกเบี้ยตามกำหนดเวลาและอัตราที่ชัดเจน และได้รับเงินต้นคืนเมื่อตราสารหนี้นั้นครบกำหนด

ผู้ออกตราสารหนี้ขายเพื่อระดมทุน (Issuer) ถือว่าเป็นการขายตราสารหนี้ในตลาดแรก (Primary Market) ส่วนการซื้อตราสารหนี้ที่มีการออกขายเพื่อการลงทุนหรือการออม (Investment) ทำได้โดยการซื้อจากผู้ออกโดยตรงในตลาดแรก หรือซื้อต่อจากนักลงทุนอื่นๆ ที่เรียกว่าเป็นการซื้อตราสารหนี้ในตลาดรอง (Secondary Market)

ตราสารหนี้สามารถแบ่งตามลักษณะของผู้ออก ได้เป็น 2 ประเภทหลัก ได้แก่ ตราสารหนี้ภาครัฐ และตราสารหนี้ภาคเอกชน โดยสามารถออกเป็นตราสารหนี้สกุลเงินท้องถิ่น หรือสกุลเงินต่างประเทศก็ได้ นอกจากนั้น ผู้ออกยังสามารถเลือกวิธีการจ่ายดอกเบี้ยได้หลากหลาย เช่น ตราสารหนี้อัตราดอกเบี้ยคงที่ (Fixed Rate Bond) อัตราดอกเบี้ยลอยตัว (Floating Rate Bond) โดยอ้างอิงกับดัชนี (Index Linked Bond) หรืออิงกับอัตราเงินเฟ้อ (Inflation Linked Bond) เป็นต้น ทั้งนี้ มีปัจจัยที่ใช้ประกอบการพิจารณาลักษณะของตราสารหนี้ที่จะออกหลายประการ เช่น ภาวะอัตราดอกเบี้ย ภาวะเงินเฟ้อ ความต้องการของนักลงทุน วัตถุประสงค์ในการระดมทุน และ net cash flow ที่ผู้ออก
คาดว่าจะได้รับในอนาคต เป็นต้น

ฐานของผู้เล่นในตลาดตราสารหนี้จะค่อนข้างหลากหลายกว่าผู้เล่นในตลาดเงิน นอกจากสถาบันการเงิน สถาบัน และองค์กรขนาดใหญ่แล้ว ยังรวมถึงนิติบุคคล และบุคคลธรรมดาที่เป็น
ผู้ออมทั่วไป (นักลงทุนรายย่อย) ด้วย รัฐบาลและ ธปท. ได้มีการออกพันธบัตรออมทรัพย์ (Savings bond) แยกจากตราสารหนี้ที่ออกเพื่อขายแก่สถาบันการเงินและสถาบันขนาดใหญ่ เพื่อจำหน่ายให้กับนิติบุคคลและบุคคลธรรมดาที่มีวัตถุประสงค์เพื่อการออมหรือการลงทุนระยะกลางและระยะยาวโดยเฉพาะ โดยจัดจำหน่ายผ่านสาขาธนาคารพาณิชย์ เพื่อให้นักลงทุนรายย่อยสามารถซื้อได้โดยสะดวก และทั่วถึงมากขึ้นด้วย

องค์ประกอบของตลาดการเงิน

ตลาดการเงินสามารถแบ่งตามวัตถุประสงค์และรูปแบบการทำธุรกรรมได้หลายส่วน โดยแต่ละส่วนมีความสัมพันธ์และเชื่อมโยงกันอย่างใกล้ชิด ทั้งในด้านอัตราผลตอบแทน ผู้เล่น ปริมาณธุรกรรม และระดับการพัฒนา

1. ตลาดเงินตราต่างประเทศ คือตลาดสำหรับการซื้อขายแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศ โดยทั่วไปอยู่ในลักษณะ Over-the-Counter (OTC) ซึ่งผู้ดำเนินการจะเป็นธนาคารพาณิชย์ที่จดทะเบียนในไทยและได้รับอนุญาตจาก ธปท. ทำหน้าที่แลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศกับลูกค้าเพื่ออำนวยความสะดวกด้านการค้าและการลงทุนระหว่างประเทศ ธนาคารพาณิชย์ทั้งไทยและต่างประเทศ
เป็นผู้เล่นที่สำคัญในตลาดนี้

ธุรกรรมแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศในไทยอยู่ภายใต้พระราชบัญญัติควบคุมการแลกเปลี่ยนเงิน พ.ศ. 2485 กฎกระทรวง ฉบับที่ 13 (พ.ศ. 2497) รวมถึงประกาศกระทรวงการคลัง ประกาศเจ้าพนักงานควบคุมการแลกเปลี่ยนเงิน และหนังสือเวียนเจ้าพนักงานควบคุมการแลกเปลี่ยนเงินที่เกี่ยวข้อง

โดยทั่วไปประเภทของธุรกรรมเงินตราต่างประเทศประกอบด้วยธุรกรรมทันที (spot) ธุรกรรมล่วงหน้า (forward) ธุรกรรมสวอปเงินตราต่างประเทศ (foreign exchange swap) และธุรกรรมอนุพันธ์เงินตราต่างประเทศ เช่น FX Options และ Cross Currency Swaps เครื่องมือการเงินของตลาดเงินตราต่างประเทศ เช่น FX Swap มีความสัมพันธ์ใกล้ชิดกับเครื่องมือการเงิน
ในตลาดเงิน เช่น Interbank และ Repo เพราะต่างก็เป็นเครื่องมือที่ใช้ในการกู้ยืมระยะสั้น

ตั้งแต่วันที่ 2 กรกฎาคม 2540 เป็นต้นมา ประเทศไทยได้เปลี่ยนมาใช้ระบบอัตรา แลกเปลี่ยนแบบลอยตัว (Managed Float) ซึ่งค่าเงินบาทเมื่อเทียบกับเงินตราสกุลต่างๆ กำหนดโดยกลไกตลาดตามอุปสงค์และอุปทานในตลาดเงินตราต่างประเทศ ทั้งในและต่างประเทศ และสามารถเปลี่ยนแปลงขึ้นลงได้ตามปัจจัยพื้นฐานทางเศรษฐกิจ

2. ตลาดเงิน เป็นตลาดสำหรับการกู้ยืมและการลงทุนระยะสั้นไม่เกิน 1 ปี เพื่อบริหาร
สภาพคล่องในช่วงสั้นๆ ธุรกรรมในตลาดเงินส่วนใหญ่ ได้แก่ ธุรกรรมการกู้ยืมแบบไม่มีหลักประกัน (Clean Loan) ระหว่างธนาคาร การซื้อ-ขายตราสารหนี้ระยะสั้น เช่น ตั๋วเงินคลัง พันธบัตร ธปท.
ตั๋วสัญญาใช้เงิน และตั๋วแลกเงิน และการทำธุรกรรมซื้อคืน (Repurchase Agreement หรือ Repo)
ซึ่งแบ่งเป็นธุรกรรมที่ ธปท. ทำกับสถาบันการเงินที่เป็น Primary Dealers เรียกว่าธุรกรรม Bilateral Repo และธุรกรรมที่ภาคเอกชนทำระหว่างกันเอง เรียกว่าธุรกรรมซื้อคืนภาคเอกชน หรือ Private Repo เป็นต้น โดยในปี 2547 ธปท. ได้ผลักดันการสร้างเส้นอัตราดอกเบี้ยอ้างอิงการกู้ยืมระหว่างธนาคารระยะสั้น หรือ BIBOR (Bangkok Interbank Offered Rates) สำหรับใช้เป็นอัตราอ้างอิงในการทำธุรกรรมการกู้ยืมเงินในตลาดเงิน รวมทั้งเป็นอัตราอ้างอิงสำหรับตราสารที่มีอัตราดอกเบี้ยลอยตัว (floating rate note) ด้วย นอกเหนือจากธนาคารพาณิชย์ ผู้เล่นในตลาดเงินอื่นๆ ได้แก่ สถาบันการเงินอื่นๆ บริษัทธุรกิจขนาดใหญ่ รัฐวิสาหกิจขนาดใหญ่

Popular Posts