MBA

We constantly research and disseminate knowledge to prepare graduate students to be leaders at the community, national and international levels.

Facebook is a social utility that connects people with friends and others who work, study and live around them. People use Facebook to keep up with friends

Custom Search

วันอังคารที่ 1 ธันวาคม พ.ศ. 2552

Liquidation Stock Price และ Going Concern Stock Price


ตัวอย่าง
บริษัทมีหนี้สิน 400 ล้าน มีส่วนของผู้ถือหุ้น 100 ล้าน
ขอให้เพื่อนๆทราบว่า ต้นทุนของเงินประเภทก่อหนี้ เรียกว่า Cost of Debt ใช้ชื่อย่อว่า Kd ในกรณีนี้สมมติว่าเท่ากับ 10 % และต้นทุนของเงินที่ได้จากผู้ถือหุ้น เรียกว่า Cost of Equity ใช้ชื่อย่อว่า Ke ในกรณีนี้สมมุติว่าเท่ากับ 20 %
ตัวเลข 20 % นี้ เป็นความต้องการขั้นต่ำสุดของผู้ถือหุ้น ถ้าผู้บริหารบริษัททำได้ต่ำกว่านี้ นักลงทุนจะขายหุ้นแล้วไปลงทุนที่บริษัทอื่นที่ให้ผลตอบแทนสูงกว่า

วิธีการคำนวณต้นทุนถัวเฉลี่ยของเงินทุนของบริษัท (WACC-Weighted Average Cost of Capital)

สูตร WACC = [Debt / (Debt + Equity) * Kd ] + [Equity / (Debt + Equity) * Ke ]
ในกรณีตัวอย่างนี้ WACC = 400/500 * 0.10 + 100/500 * 0.20 ซึ่งเท่ากับ 12 % เป็นต้นทุนถัวเฉลี่ยของเงินทุนของบริษัท

ตอนนี้เราจะมาดูกันว่า ถ้าผู้บริหารบริษัทบริหารงาน(หรือ Generate Cash Flow) ได้ในกรณีต่างๆต่อไปนี้จะเกิดอะไรขึ้นกับ Stock Price
1. กรณี Generate Cash Flow ได้ เท่ากับ ความต้องการของเจ้าหนี้และผู้ถือหุ้นพอดี
2. กรณี Generate Cash Flow ได้น้อยกว่าความต้องการของเจ้าหนี้และผู้ถือหุ้น
3. กรณี Generate Cash Flow ได้มากกว่าความต้องการของผู้ถือหุ้น (สำหรับเจ้าหนี้ เราจะไม่ให้ดอกเบี้ยมากกว่าที่เจ้าหนี้กำหนด)

คำว่า Stock Price ที่กล่าวถึงนี้ หมายถึง Going Concern Stock Price หมายความว่า เป็นราคาหุ้นที่ซื้อขายกันในตลาดหลักทรัพย์ ซึ่งได้มาจากการคำนวณดังนี้
เอา Value of the Firm ใน Going Concern (ย่อว่า Vf- ซึ่งวิธีการคำนวณจะอธิบายด้านล่าง) หักด้วย Value of Debt (ย่อว่า Vd) ซึ่งจะได้เท่ากับ Value of Equity (ย่อว่า Ve) จากนั้นเอาจำนวนหุ้นไปหารจะได้ราคาหุ้น Stock Price ใน Concept Going Concern

ส่วนคำว่า Liquidation Stock Price หมายความว่าราคาหุ้นในกรณีที่บริษัทเลิกกิจการวันนี้ ผู้ถือหุ้นจะได้รับเงินคืนหุ้นละเท่าไร โดยคำนวณจาก การเอาสินทรัพย์ทั้งหมดไปขายทอดตลาด ได้เงินมาเท่าไรต้องเอาไปชำระหนี้ให้เจ้าหนี้ก่อน แล้วจึงนำมาแบ่งให้ผู้ถือหุ้น
วิธีการคำนวณหา Value of the Firm ใน Going Concern

ก่อนอื่นเพื่อนๆต้องเข้าใจก่อนว่า Value of Firm ใน Concept Going Concern ก็คือ "มูลค่าปัจจุบัน (Present Value) ของ Cash Flow ที่ Firm ควรจะ Generate ได้ในอนาคต"

จากคำพูดข้างบนนี้เราต้องทราบสูตรง่ายๆที่จะหามูลค่าปัจจุบันกรณีเงินแต่ละงวดเท่าๆกัน(ที่พวกเราเรียนจากอาจารย์รวิวัลย์เมื่อเทอมที่แล้ว) สูตรดังกล่าวคือ = จำนวนเงินงวดที่เข้ามาเท่าๆกันทุกงวด หารด้วย อัตราผลตอบแทน

จำนวนเงินงวดที่เข้ามาเท่าๆกันทุกงวดในที่นี้ก็คือ Cash Flow ที่ Generate ได้ในแต่ละปีนั่นเอง
ส่วนอัตราผลตอบแทน ก็คือ WACC นั่นเอง

ดังนั้น กรณีนี้ ถ้า Cash Flow ที่ Generate ได้เท่ากับปีละ 60 ล้าน และ WACC = 12% จะคำนวณ Value of the Firm (ใน Going Concern) ได้เท่ากับ 60/0.12 = 500 ล้าน

ทั้งหมดที่กล่าวมานี้เป็นความรู้พื้นฐานสำหรับการเรียน Finance ในครั้งต่อๆไปครับ

จากตอนที่แล้วพูดถึงผลกระทบต่อ Stock Price ใน 3 กรณี ซึ่งจะอธิบายได้ดังนี้

กรณีที่ 1 ถ้า Generate Cash Flow ได้ เท่ากับ ความต้องการของเจ้าหนี้และผู้ถือหุ้นพอดี

ปีที่1 ปีที่2 ปีที่ n
Interest (Kd=10%) 40 40 40
Dividend(Ke=20%) 20 20 20
จำนวน Cash Flow ที่ควรจะ Generate ได้แต่ละปี 60 60 60
ถ้า Firm ทำได้เท่ากับ 60 ล้านต่อปีพอดี
ก็จะคำนวณ Value of the Firm = 60/0.12 = 500 ล้าน
สามารถนำมาคำนวณ Going Concern Stock Price ได้ดังนี้ (500-400)/10 = หุ้นละ 10
400 คือ Value of Debt ; 10 ที่นำไปหารคือจำนวนหุ้นทั้งหมด

จากนั้นเรามาดู Liquidation Stock Price (ใครยังไม่ทราบว่าคืออะไรให้ย้อนกลับไปอ่านตอนต้นๆข้างบนนี้)
พบว่า Liquidation Stock Price ก็เท่ากับ 10 บาทเหมือนกัน (คำนวนได้จากเอา Total Asset ตั้ง หักด้วย Debt เหลือเท่าไรเอาไปให้ผู้ถือหุ้นแบ่งกัน ปรากฎว่าแบ่งได้หุ้นละ 10 บาทเท่ากับราคาหุ้นที่ซื้อขายกันในตลาด (Going Concern Stock Price พอดี)
นั่นหมายความว่าผู้บริหารยังไม่ได้ Maximized Shareholders' Wealth เพียงแต่ทรงๆเอาไว้ไม่โดยไม่ทำลาย Wealth ของผู้ถือหุ้น เพราะว่าบริหารงานโดยทำให้ราคาหุ้นในตลาด(Going Concern Stock Price)เท่ากับส่วนแบ่งของผู้ถือหุ้นเมื่อเลิกกิจการ( Liquidation Stock Price)พอดี

กรณีที่ 2 ถ้าผู้บริหาร Generate Cash Flow ได้น้อยกว่าความต้องการของเจ้าหนี้และผู้ถือหุ้น

เช่น ผู้ถือหุ้นต้องการ 20% แต่ Firm ทำได้แค่ 15%

ดังนั้นจากข้อมูลเดิม (ดูในกรณีที่ 1) Firm นี้สามารถ Generate Cash ได้เพียงปีละ 55 ล้านเท่านั้น เมื่อนำมาคำนวณหา Vf ใน Going Concern
จะได้เท่ากับ 55/0.12 เท่ากับ 458.33 ล้าน เมื่อนำมาคำนวณหา Going Concern Stock Price จะได้เท่ากับ (458.33-400)/จำนวนหุ้นคือ 10 ล้านหุ้น จะได้ราคาหุ้นเท่ากับ 5.83 บาท แต่ในขณะเดียวกัน Stock Price ใน Liquidation เท่ากับ 10 บาทเหมือนเดิม จะเห็นว่า ในกรณีที่ 2 นี้ Stock Price ใน Going Concern จะต่ำกว่า Stock Price ใน Liquidation นี่คือคำตอบว่า "หุ้นในตลาดหลักทรัพย์ ถ้าบริษัทไหน ราคาที่ trade อยู่ใน
ตลาดหลักทรัพย์ต่ำกว่าราคา Liquidation นั่นแสดงว่า Time Interest of Return ต่ำกว่าที่ผู้ถือหุ้นต้องการ"

*** วิธีที่จะ Maximized Shareholders' Wealth คือ ทำให้ Time Interest of Return สูงกว่าที่ผู้ถือหุ้นต้องการนั่นเอง ****

หรือมองในอีกมุมหนึ่ง

บริษัทนี้ เอาเงินเจ้าหนี้มา 400 ล้าน เอาเงินจากผู้ถือหุ้นมา 100 ล้าน มาลงทุนในสินทรัพย์จำนวน 500 ล้าน ต้นทุนถัวเฉลี่ยของเงินทุน (WACC) เท่ากับ 12%
สมมุติว่าบริษัทนี้ Generate Cash Flow ปีละ 60 ล้าน บริษัทนี้ใช้เงินลงทุน 500 ล้าน เพราะฉะนั้นคิดเป็นผลตอบแทนปีละ 60/500*100 = 12% เท่ากับต้นทุนของเงินทุนพอดี จึงทำให้ Stock Price ใน Going Concern เท่ากับ Stock Price ใน Liquidation

แต่ถ้าเปลี่ยนตัวเลขว่า บริษัทนี้ Generate Cash Flow ได้ปีละ 55 ล้าน คือผลตอบแทนจากการลงทุนเท่ากับ 55/500*100 = 11% คือได้ไม่ถึงต้นทุนของเงินทุนคือ 12 % จึงทำให้ราคา Stock ที่ซื้อขายกัน ต่ำกว่าราคา Stock เมื่อเลิกกิจการ

แต่ถ้าเปลี่ยนตัวเลขเป็น Generate Cash Flow ได้ 70 ล้าน คือผลตอบแทนจากการลงทุนจะมากกว่าต้นทุนของเงินลงทุน ดังนั้นราคา Stock จึงสูงกว่าราคา Liquidation **นี่คือวิธีการ Maximized Stock Price **

สรุปได้ว่า ** เวลาเราทำการลงทุนใดๆ Return ของ Project จะต้องสูงกว่า Cost of Capital เสมอ **

วันพฤหัสบดีที่ 17 กันยายน พ.ศ. 2552

การบริหารความเสี่ยงกับการพัฒนาองค์กร


ความเสี่ยง คือ อะไร ?
ความเสี่ยง คือ โอกาสที่จะเกิดความผิดพลาด ความเสียหาย การรั่วไหล ความสูญเปล่า หรือเหตุการณ์ที่ไม่พึงประสงค์ที่ทำให้งานไม่ประสบความสำเร็จตามวัตถุประสงค์และเป้าหมายที่กำหนด หรือ ความเสี่ยง คือ ความไม่แน่นอนที่เกิดขึ้นและมีผลต่อการบรรลุเป้าหมายหรือวัตถุประสงค์ที่ตั้งใจไว้ ความเสี่ยงนี้จะถูกวัดด้วยผลกระทบที่ได้รับและความน่าจะเป็นของเหตุการณ์
ภาษาง่ายๆ ความเสี่ยง คือ สิ่งต่างๆ ที่อาจกีดกันองค์กรจากการบรรลุวัตถุประสงค์เป้าหมาย ความเสี่ยงทำให้เราไม่บรรลุวัตถุประสงค์ วัตถุประสงค์ที่เรากำลังทำเป็นประจำเรียกว่า Operational Risk ทางด้านยุทธศาสตร์ (Strategy) ทางด้านการแข่งขัน (Competitive) ทั้งหมดอยู่ที่ว่า อะไรเป็นวัตถุประสงค์ วัตถุประสงค์อยู่ที่เรากำหนดว่าเราจะสนใจเรื่องอะไร เวลาปกติของการทำแผนเราจะดูที่เรื่องของความประสบผลสำเร็จ หากดูเรื่องของความเสี่ยงจะดูที่เรื่องปัญหาอุปสรรคหรืออะไรคือ ตัวขวาง
ปัจจัยที่ก่อให้เกิดความเสี่ยง
- ระบบงานขององค์กร
- บุคลากร
- การเงินการคลัง
- การเมืองเศรษฐกิจ
- การเปลี่ยนแปลงทางเทคโนโลยี
- ลูกค้า หรือผู้รับบริการ
- สภาพการแข่งขัน
แหล่งที่มาของความเสี่ยง
ความเสี่ยง ภายในองค์กร เช่น
- สถานที่ทำงานที่ไม่ปลอดภัย
- ระบบบัญชีที่ไม่น่าเชื่อถือ
- วัฒนธรรมองค์กรที่ไม่เอื้อต่อการสร้างประสิทธิภาพการทำงาน
- การฝึกอบรมพนักงานที่ไม่เพียงพอ
- ความขัดแย้งทางผลประโยชน์ (Conflict of Interest)

ความเสี่ยงภายนอกองค์กร เช่น
- การเปลี่ยนแปลงในกฎหมาย
- การเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจ
- กระแสโลกาภิวัฒน์
- เสถียรภาพทางการเมือง
- การเปลี่ยนแปลงในพฤติกรรมผู้บริโภค
- กระแสสังคม สิ่งแวดล้อม
- การเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยี
ขั้นตอนการบริหารความเสี่ยงอย่างง่าย 5 ข้อ ได้แก่
1. การกำหนดวัตถุประสงค์ (Objective Establishment)
2. การระบุความเสี่ยง (Risk Identification)
3. การประเมินความเสี่ยง(Risk Assessment)
4. การสร้างแผนจัดการ(Risk Management Planning)
5. การติดตามสอบทาน (Monitoring & Review)
การที่จะทำแผนรับมือความเสี่ยงมีหลายรูปแบบขึ้นอยู่กับว่า เรามีความสามารถในการยอมรับความเสี่ยงแค่ไหน หากเรามีความเสี่ยงสูง อาทิเช่น ในเรื่องของงบประมาณ เป็นความเสี่ยงทางด้านการปฏิบัติ ความเสี่ยงของการที่จะของบประมาณเป็นความเสี่ยงทางด้านการปฏิบัติงาน
ดังนั้น ปัจจัยการบริหารความเสี่ยง คือการกำหนดเหตุไม่พึงประสงค์ และวางแผนกำจัดเหตุที่ไม่พึงประสงค์หรือผ่อนหนักให้เป็นเบาเพื่อรับความเสี่ยงน้อยที่สุด
ประเด็นที่จะกำหนดและควบคุมความเสี่ยง จุดแรกคือ ถามตัวเองก่อนว่า เรายอมรับความจริงได้หรือไม่ว่ามีความเสี่ยง ความเสี่ยงอะไรที่ควบคุมได้แล้วจึงเอาสิ่งนั้นมาวิเคราะห์ต่อ
ในการวิเคราะห์ความเสี่ยง จึงควรตอบคำถาม 7 คำถามให้ได้ คือ
Q1 ท่านมีความฝัน ความหวังอะไรที่ต้องบรรลุให้ได้อยู่บ้างหรือไม่
Q2 ท่านมีความกังวลใจอะไรบ้าง ซึ่งเป็นเหตุการณ์ ปัญหา อุปสรรคที่จะทำให้ท่านไม่บรรลุความสำเร็จที่ตั้งไว้
Q3 ท่านได้เตรียมการณ์ใดเพื่อป้องกัน สาเหตุของเหตุการณ์เหล่านั้นบ้างแล้วหรือไม่
Q4 ท่านคิดว่าการเตรียมการเหล่านั้นถ้ามีสิ่งที่เล็ดลอดได้จะน่ากังวลใจเพียงใด
Q5 ท่านจะทราบได้อย่างไรว่า เหตุการณ์ ปัญหา อุปสรรค จำนวนมากนั้น ควรจะนำสิ่งใดมาพิจารณา
Q6 ท่านคิดว่าจำเป็นต้องมีแนวทาง วิธีการ เพิ่มเติมในการรับมือ เหตุการณ์หรือผลที่ เล็ดลอดมา อีกหรือไม่ อย่างไร
Q7 ท่านจะทราบได้อย่างไรว่า เหตุการณ์นั้นได้เกิด หรือมีแนวโน้มที่จะเกิดมากน้อยหรือไม่เพียงไร
หากผู้บริหารองค์กรมองเห็นปัญหาอุปสรรค ซึ่งปัญหาอุปสรรคก็อาจเป็นความเสี่ยงได้ การจัดการความเสี่ยงให้หมดไปหรือให้มีเหลือน้อยที่สุด จึงควรนำปัญหาอุปสรรคมาจัดลำดับจากมากไปหาน้อยและวิเคราะห์สาเหตุ แนวทางแก้ไข
การร่วมกันระหว่างผู้บริหาร (คณะกรรมการบริหารความเสี่ยง) กับบุคลากรในการวิเคราะห์ความเสี่ยงและแนวทางแก้ไข จะทำให้มีความเข้าใจตรงกัน เพราะการวิเคราะห์ความเสี่ยง ผู้บริหารและบุคลากรอาจมองต่างมุมกัน บนพื้นฐานความคิดที่ต่างกัน
ความสำคัญของการบริหารความเสี่ยง
การนำกระบวนการบริหารความเสี่ยงมาใช้ในองค์กร จะช่วยเป็นหลักประกันในระดับหนึ่งว่าการดำเนินการต่าง ๆ ขององค์กร จะมีการดำเนินการให้บรรลุเป้าหมายที่วางไว้ เนื่องจากการบริหารความเสี่ยงเป็นการทำนายอนาคตอย่างมีเหตุมีผล มีหลักการและหาทางลดหรือป้องกันความเสียหายในการทำงานแต่ละขั้นตอนไว้ล่วงหน้า หรือในกรณีที่พบกับเหตุการณ์ที่ไม่คาดคิด โอกาสที่จะประสบกับปัญหาน้อยกว่าองค์กรอื่นหรือหากเกิดความเสียหายขึ้น ก็จะเป็นความเสียหายที่น้อยกว่าองค์กรที่ไม่มีการนำกระบวนการบริหารความเสี่ยงมาใช้ เพราะได้มีการเตรียมการไว้ล่วงหน้า ในขณะที่องค์กรอื่นที่ไม่เคยมีการเตรียมการหรือไม่มีการนำแนวคิดของกระบวนการบริหารความเสี่ยงมาใช้ เมื่อเกิดสถานการณ์วิกฤตขึ้น องค์กรเหล่านั้นจะประสบกับปัญหาและความเสียหายที่ตามมาโดยยากที่จะแก้ไข ดังนั้นการนำกระบวนการบริหารความเสี่ยงมาช่วยเสริมร่วมกับการทำงาน จะช่วยให้ภาระงานที่ปฏิบัติการอยู่เป็นไปตามเป้าหมายที่กำหนดไว้ และป้องกันโอกาสที่จะเกิดความเสี่ยงและปัญหาที่จะเป็นอุปสรรคต่อการดำเนินงาน
การบริหารความเสี่ยงเป็นส่วนหนึ่งของการบริหารจัดการองค์กร เป็นเรื่องส่วนรวมที่ทุกคนในองค์กร ตั้งแต่คณะกรรมการ ผู้บริหารระดับสูง จนถึงพนักงานทุกคนควรได้มีส่วนร่วมในการ วิเคราะห์ในเชิงลึก เชิงบูรณาการ และเชื่อมโยงสัมพันธ์กับการกำหนดกลยุทธ์ นโยบาย แผนงาน แผนปฏิบัติการ กิจกรรมขององค์กร ซึ่งการบริหารความเสี่ยงที่ดีจะเป็นการวัดความสามารถและการดำเนินงานของบุคลากรภายในองค์กร
องค์กรที่มีการบริหารจัดการที่ดี จะต้องดำเนินงานบนพื้นฐานของ 3 องค์ประกอบที่สำคัญ คือ การตรวจสอบภายใน (Internal Audit) การควบคุมภายใน (Internal Control) และการบริหารความเสี่ยง (Risk Management) ซึ่งสอดคล้องกับหลักการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี
ประโยชน์จากการบริหารความเสี่ยง
1. เป็นการสร้างฐานข้อมูลความรู้ที่มีประโยชน์ต่อการบริหารและการปฏิบัติงานในองค์กร การบริหารความเสี่ยงจะเป็นแหล่งข้อมูลสำหรับผู้บริหารในการตัดสินใจด้านต่าง ๆ เนื่องจากการบริหารความเสี่ยง เป็นการดำเนินการซึ่งตั้งอยู่บนสมมุติฐานในการตอบสนองต่อเป้าหมายและภารกิจหลักขององค์กร
2. ช่วยสะท้อนให้เห็นภาพรวมของความเสี่ยงต่าง ๆ ที่สำคัญได้ทั้งหมด การบริหารความเสี่ยงจะทำให้พนักงานภายในองค์กรมีความเข้าใจถึงเป้าหมายและภารกิจหลักขององค์กร และตระหนักถึงความเสี่ยงสำคัญที่ส่งผลกระทบในเชิงลบต่อองค์กรได้อย่างครบถ้วน ซึ่งครอบคลุมความเสี่ยงที่มีเหตุทั้งจากปัจจัยภายในองค์กร และจากปัจจัยภายนอกองค์กร
3. เป็นเครื่องมือสำคัญในการบริหารงาน การบริหารความเสี่ยงเป็นเครื่องมือที่ช่วยให้ผู้บริหารสามารถมั่นใจได้ว่าความเสี่ยงได้รับการจัดการอย่างเหมาะสมและทันเวลา รวมทั้งเป็นเครื่องมือที่สำคัญของผู้บริหารในการบริหารงาน และการตัดสินใจในด้านต่างๆ เช่น การวางแผน การกำหนดกลยุทธ์ การติดตามควบคุมและวัดผลการปฏิบัติงาน ซึ่งจะส่งผลให้การดำเนินงานเป็นไปตามเป้าหมายและสามารถสร้างมูลค่าเพิ่มให้แก่องค์กร
4. ช่วยให้การพัฒนาองค์กรเป็นไปในทิศทางเดียวกัน การบริหารความเสี่ยงทำให้รูปแบบการตัดสินใจในการปฏิบัติงานขององค์กรมีการพัฒนาไปในทิศทางเดียวกัน เช่น การตัดสินใจโดยที่ผู้บริหารมีความเข้าใจในกลยุทธ์ วัตถุประสงค์ขององค์กร และระดับความเสี่ยงอย่างชัดเจน
5. ช่วยให้การพัฒนาการบริหารและจัดสรรทรัพยากรเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล การจัดสรรทรัพยากรเป็นไปอย่างเหมาะสม โดยพิจารณาถึงระดับความเสี่ยงในแต่ละกิจกรรมและการเลือกใช้มาตรการในการบริหารความเสี่ยง

วันจันทร์ที่ 13 เมษายน พ.ศ. 2552

Introduction

การลงทุน ต้องใช้ระยะเวลาค่อนข้างยาว มีระดับของความเสี่ยงต่ำ ผลตอบแทนต่ำกว่าการเก็งกำไร เป็นการเสียสละเงินใน
ปัจจุบันเพื่อที่จะให้ได้เงินในอนาคตที่มากกว่า แต่ต้องเสียเวลาให้ผลของการลงทุนสัมฤทธิ์ผล เกี่ยวข้องกับ เวลาและความเสี่ยง
(Involve time & risk)
การเก็งกำไรใช้ระยะเวลาสั้น ประมาณ 1 – 2 อาทิตย์ เป็นการใช้ประโยชน์จากการคาดคะเน การเปลี่ยนแปลงใน
สินทรัพย์ อาจเป็นการเก็งกำไรในหุ้น ในวัสดุต่าง ๆ การเก็งกำไรมีความเสี่ยงสูงกว่าการลงทุน ผลตอบแทนสูงกว่า
Defining on Investment คนที่ลงทุนได้จ่ายเงินออกไปแล้วรอเวลาให้สัมฤทธิ์ผลในอนาคต เกี่ยวข้องกับ 3 เรื่องคือ
1. ระยะเวลาที่จะต้องรอ
2. เงินเฟ้อ ถ้าเกิดเงินเฟ้อจะต้องมีการบวกอัตราเงินเฟ้อเข้าไป
3. ความไม่แน่นอนของการที่จะได้รับการคืนทุนในอนาคต
Capital Gain กำไรส่วนทุน เช่น ขาย 80 ซื้อ 50 กำไร 30 เราเรียกกำไรนี้ว่า Capital Gain มักใช้กับ
Financial Asset คือเป็นการได้กำไรจากตราสาร ถ้าเป็นการประกอบธุรกิจธรรมดาจะเรียกว่า Profit
ในการลงทุนผู้ลงทุนจะต้องคาดหวังผลตอบแทนที่ได้ว่าจะได้เท่าไร จะต้องกำหนด Required Rate of Return
เงินลงทุนในหุ้นของบริษัท A คาดหวังว่าจะได้ Return 12% โดย Return ของตลาดอาจอยู่ที่ 10% แต่เนื่องจากบริษัท
A มีระดับความเสี่ยงสูงกว่าการลงทุนทั่วไป เพราะฉะนั้นเราอาจจะวัดได้ด้วยค่า beta (ดัชนีที่จะวัดค่าความเสี่ยงของตลาด)
การลงทุนแยกออกเป็น 2 ประเภท คือ
1. Real Investment เป็นการลงทุนในสินทรัพย์โดยทั่ว ๆ ไป เช่น ลงทุนในที่ดิน อาคาร อุปกรณ์ เครื่องประดับ
แสตมป์
2. Financial Investment เป็นการลงทุนในตราสารหนี้ ตราสารทุน ลงทุนในหลักทรัพย์ (ตราสารทางการเงิน)
การลงทุนในหลักทรัพย์หลาย ๆ อย่าง เรียกว่า เป็น Portfolio หมายถึงหลักทรัพย์ที่อยู่ในครอบครองของเรา อาจมี
ตั้งแต่ 2 หลักทรัพย์ขึ้นไป อาจมีการเพิ่มหรือลด ในช่วงที่เราถือครองอยู่ก็ได้ ในการลงทุนในหลักทรัพย์ต้องพิจารณาว่ามีระดับของ
ความเสี่ยงสอดคล้องกับ ผลตอบแทนหรือไม่สอดคล้อง จะต้อง Adjust ให้เหมาะสม
- Primary Market เป็นตลาดสำหรับหลักทรัพย์ที่ออกจำหน่ายเป็นครั้งแรก เป็นแหล่งระดมเงินทุน ทำให้เกิด
รายได้ ทำให้เศรษฐกิจเติบโต ประเทศต่าง ๆ จึงได้เน้นให้มีตลาดหลักทรัพย์เพื่อที่จะทำให้มีการพัฒนาตลาดทุน
ประเทศก็จะมั่งคั่ง
- Secondary Market เป็นตลาดที่มาสนับสนุนตลาดแรกให้มีการหมุนเวียนให้หลักทรัพย์ที่มีอยู่ในตลาดให้มี
สภาพคล่อง คือเปลี่ยนเป็นเงินสดได้สะดวกรวดเร็ว เพื่อให้ผู้ซื้อหลักทรัพย์ในตลาดแรกมีความเชื่อมั่นว่าสามารถ
เปลี่ยนรูปเป็นเงินได้เร็ว ตัดสินใจซื้อในตลาดได้ง่ายขึ้น
1. The Investment Environment (สภาพแวดล้อมในการลงทุน)
• Securities (หลักทรัพย์) คนที่ถือหลักทรัพย์จะมีสิทธิเรียกร้องที่จะได้รับผลตอบแทนในอนาคต โดยอาจมี
เงื่อนไขหรือความเสี่ยงแต่ก็ยอมที่จะเสี่ยง ขึ้นอยู่กับว่าเป็นหลักทรัพย์ประเภทอะไร มีฐานะเป็นเจ้าหนี้ของบริษัท
ผู้ออก พวกหุ้นกู้พันธบัตร หรือมีฐานะเป็นเจ้าของกิจการ พวกหุ้นปุริมสิทธิ์ หุ้นสามัญ
• Holding Period Return (ผลตอบแทนจากการลงทุน) วัดได้จากสมการ
= มูลค่าของหลักทรัพย์เมื่อสิ้นสุดการลงทุน - มูลค่าของหลักทรัพย์เมื่อเริ่มต้นลงทุน
มูลค่าของหลักทรัพย์เมื่อเริ่มต้นลงทุน
การวัด Return เพื่อให้ทราบคุณค่าหรือไม่กับการลงทุน และไปเปรียบเทียบกับการลงทุนในลักษณะอื่นว่าจะได้
ผลตอบแทนอย่างไร
1.1. Treasury Bills เป็นการลงทุนในตั๋วเงินคลัง เป็นหลักทรัพย์ของรัฐบาล เป็นหลักทรัพย์ของรัฐบาล ให้
คนที่สนใจประมูล ปกติจะเป็นสถาบันการเงิน ไม่มีดอกเบี้ย คนที่ประมูลได้ราคาสูงสุดจะได้ไป วัดผลตอบแทนเป็น
ผลต่าง ไถ่ถอนประมูลได้
1.2. Long Term Bonds มักมีเวลาค่อนข้างนานเป็นหลักทรัพย์ที่มีรายได้คงที่ มีการกำหนดอัตราดอกเบี้ยที่
แน่นอน
หุ้นกู้ (Debenture Bonds) มีลักษณะแตกต่างจาก Bond ทั่วไปคือ
- Bond ทั่วไป หลักทรัพย์ที่ค้ำประกันไม่มีเฉพาะเจาะจงเหมือน Bond ซึ่งมีที่ดิน อาคาร จำนอง เป็นประกันของการ
ออก Bond เมื่อเวลาบริษัทที่ออก Bond ไม่สามารถชำระเงินต้นหรือออกเบี้ย คนถือก็จะสามารถฟ้องบังคับคดีได้ ซึ่งเมื่อชนะ
คดีแล้วก็จะมีปุริมสิทธิ์เหนือเจ้าหนี้คนอื่น ๆ เมื่อล้มละลาย เจ้าหนี้ที่มีปุริมสิทธิ์ก็จะได้รับการคืนทุนก่อนเจ้าหนี้ทั่วไป
- Debenture Bonds (หุ้นกู้) จะไม่มีหลักทรัพย์ค้ำประกันในการออกหุ้นกู้ จะใช้ทรัพย์สินทั่วๆ ไป มาค้ำประกัน
เพราะฉะนั้น ปุริมสิทธิ์เหนือเจ้าหนี้อื่น ๆ จึงไม่มี บริษัทที่ออก Debenture ได้จะต้องมีฐานะการเงินดีกว่าบริษัทที่ออก Bond
ประเด็นสำคัญของ Bond มีดังนี้ คือ
1. จะต้องมีราคา Par คือราคาตามมูลค่า
2. จะต้องมีการกำหนดอัตราดอกเบี้ยเอาไว้ว่าจะชำระกันอย่างไร เช่น 6% ต่อปี, 10% ต่อปี จ่ายทุก ๆ 6 เดือน ฯลฯ
3. กำหนดอายุวันครบกำหนดไถ่ถอน (Maturity Date)
สิ่งที่ชี้ชัดว่าเป็นหุ้นกู้หรือพันธบัตรก็คือ ดอกเบี้ย
1.3. Common Stocks หุ้นสามัญ มีฐานะเป็นเจ้าของกิจการอย่างแท้จริง จะต้องเสี่ยงต่อการได้กำไรหรือขาดทุน
ในการดำเนินธุรกิจ หุ้นสามัญจะได้รับผลตอบแทนที่ไม่แน่นอน เวลาคำนวณผลตอบแทนจะต้องคำนวณจากราคา Par เสมอ
ผู้ถือหุ้นสามัญจะได้รับผลตอบแทนในรูปเงินปันผล ในรูปของ Capital Gain และอาจจะได้รับผลตอบแทนที่ไม่ได้
เป็นตัวเงิน แต่เป็นเรื่องของความสัมพันธ์หรือสิทธิพิเศษอื่น ๆ เช่น อาจได้เป็นกรรมการ
2. ความเสี่ยง คือความไม่แน่นอนของเหตุการณ์ที่เราไม่พึงปรารถนา
Unfavorable Outcome คือความไม่แน่นอนของเหตุการณ์ที่เราไม่พึงประสงค์ ในการลดความเสี่ยง (Diversify
Risk) ความเสี่ยงที่เราสามารถจะลดได้ โดยการกระจายการลงทุนนั้นจะเป็นความเสี่ยงประเภท
- Unsystematic Risks เป็นความเสี่ยงที่ไม่เป็นระบบ เกิดขึ้นเฉพาะตัวของหลักทรัพย์นั้น เช่น ไฟไหม้ ระเบิด
น้ำท่วม เช่น บริษัทขุดเจาะน้ำมันกลางทะเลจะมีความเสี่ยงเรื่องดินฟ้าอากาศ
- Systematic Risks เป็นความเสี่ยงที่เป็นระบบ เช่น ภาวะเงินเฟ้อ ภาวะสงคราม การเปลี่ยนแปลงอัตราดอกเบี้ย
อย่างรวดเร็ว การจราจล
3. Security Market ตลาดหลักทรัพย์เป็นตลาดของการลงทุนในระยะยาวแบ่งได้ 2 อย่าง คือ
1. แบ่งตามการขาย
- Primary Market คือการขายหลักทรัพย์ในครั้งแรก
- Secondary Market คือการขายในครั้งต่อ ๆ ไป
2. แบ่งตามระยะเวลา สามารถแบ่งได้เป็น 2 อย่าง คือ
- Money Market (ตลาดเงิน) ใช้เวลาไม่ถึงปี เช่น การกู้ยืมระยะสั้น ฯลฯ
- Capital Market (ตลาดทุน) ใช้เวลามากกว่า 1 ปี เช่น การลงทุนในพันธบัตร หุ้นกู้ หุ้นปุริมสิทธิ์ ฯลฯ

วันอังคารที่ 7 เมษายน พ.ศ. 2552

การวิเคราะห์การลงทุน

ขั้นตอนการวิเคราะห์การลงทุน
การกำหนดโครงการการลงทุนต่าง ๆ ลำดับแรกจะต้องกำหนดโครงการลงทุนต่าง ๆขึ้นก่อน ซึ่งโครงการที่กำหนดจะต้องมีความเป็นไปได้ทางการเงินและอยู่ในวงเงินทุนที่กิจการมีอยู่
ประเมินค่าโครงการการลงทุน เป็นการนำโครงการลงทุนต่าง ๆ ที่กิจการจะทำการลงทุนมาประเมินค่าการลงทุนแต่ละโครงการหลังจากนั้นทำการเปรียบเทียบผลตอบแทนที่จะได้รับจากโครงการ
จัดทำงบประมาณการลงทุน งบประมาณการลงทุนจะแสดงเกี่ยวกับสินทรัพย์ที่ต้องการ จำนวนเงินลงทุน จำนวนเงินที่จะจ่ายชำระ และกำหนดเวลาชำระ ซึ่งจะเป็นสิ่งที่ทำให้กิจการสามารถเตรียมเงินสดเพียงพอสำหรับโครงการ
ดำเนินงานตามโครงการที่เลือก เมื่อเลือกแล้วจะนำโครงการไปปฏิบัติเพื่อให้ประสบผลสำเร็จตามที่คาดหมายเอาไว้
การติดตามผลของโครงการ เมื่อนำโครงการลงทุนไปปฏิบัติแล้วฝ่ายบริหารต้องตรวจสอบการดำเนินงานตามโครงการที่นำไปปฏิบัติ เพราะการติดตามผลของโครงการลงทุนอยู่ตลอดเวลาจะช่วยให้สามารถแก้ไขปรับปรุงโครงการได้ทันเวลา
ปัจจัยสำคัญในการตัดสินใจเกี่ยวกับการลงทุน
1 จำนวนเงินลงทุนสุทธิหรือกระแสเงินออก (Cash Outflow)
2. ผลตอบแทนของโครงการลงทุนหรือกระแสเงินเข้า (Cash Inflow)
3. เงินมีค่าตามเวลา
4. ค่าเสื่อมราคา
5. ภาษีเงินได้
6. มูลค่าซากของโครงการ
อัตราผลตอบแทนที่ต้องการ
จำนวนเงินลงทุนสุทธิ หรือกระแสเงินออก (Cash Outflow)
1. ค่าใช้จ่ายที่หลีกเลี่ยง2. ได้
3. การลง4. ทุนเพิ่มในสินทรัพย์ถาวร
5. เง6. ินสดรับจากการขายสินทรัพย์เก่า
ค่าใช้จ่ายที่หลีกเลี่ยงได้
ตัวอย่าง
บริษัท วันวิสาข์ จำกัด ลงทุนซื้อรถบรรทุกคันใหม่ราคา 2,000,000 บาท มาใช้แทนรถบรรทุกคันเก่า แต่ถ้าหากใช้รถบรรทุกคันเก่าต่อไปจะต้องเสียค่ายกเครื่องเป็นเงิน 30,000 บาท ภาษีเงินได้ 30%
จากโจทย์ค่ายกเครื่องจำนวน 30,000 บาทเป็นค่าใช้จ่ายที่ประหยัดได้เพราะกิจการซื้อรถบรรทุกคันใหม่มาใช้แทนรถบรรทุกคันเก่าการที่ประหยัดรายจ่ายค่ายกเครื่องทำให้บริษัทมีกำไรมากขึ้น และจะต้องเสียภาษีมากขึ้นการคำนวรเงินลงทุนจะเป็นดังนี้
ราคารถบรรทุกคันใหม่ 2,000,000 บาท
ประหยัดค่ายกเครื่องรถบรรทุกคันเก่า 30,000
หัก ภาษีที่จ่ายเพิ่ม 30 % 9,000 21,000 บาท
เพราะฉะนั้นจำนวนเงินทุนรถบรรทุกคันใหม่ 1,979,000 บาท
การลงทุนเพิ่มในสินทรัพย์หมุนเวียน
ในการลงทุนในโครงการใหม่ กิจการอาจต้องเพิ่มเงินทุนในสินทรัพย์หมุนเวียนเพื่อความคล่องตัวและเพื่อให้การดำเนินไปด้วยความราบรื่น
ตัวอย่าง
บริษัท ตะวัน จำกัด ลงทุนในโครงการใหม่อย่างหนึ่งใช้เงิน 2,00,000 บาท สำหรับซื้อเครื่องจักร กิจการต้องเพิ่มเพิ่มจำนนเงินสดในมือ 100,000 บาท ลูกหนี้ 50,000 บาท และสินค้าคงเหลือ 80,000 บาท เงินลงทุนในโครงการใหม่คำนวณได้ดังนี้
เงินลงทุนในโครงการใหม่ 2,000,000 บาท
บวก สินทรัพย์หมุนเวียนที่เพิ่มขึ้น :
เงินสด 100,000
ลูกหนี้ 50,000
สินค้าคงเหลือ 80,000 230,000 บาท
เพราะฉะนั้นเงินลงทุนสุทธิ 2,230,000 บาท
เงินสดรับจากการขายสินทรัพย์เก่า
การตัดสินใจลงทุนอย่างหนึ่งอาจมีผลทำให้ต้องจำหน่ายสินทรัพย์บางประเภทออกไป
ตัวอย่าง บริษัท อรสุนัย จำกัด ซื้อเครื่องจักรใหม่ราคา 1,5000,000 บาท เพื่อนำมาแทนเครื่องจักรเก่าซึ่งมีราคาตามบัญชีเหลืออยู่ขณะนี้เท่ากับ 40,000 บาท เครื่องจักรเก่าขายได้เงินเท่ากับ 50,000 บาท ภาษี 30%
เครื่องจักรเก่ามีราคาตามบัญชีเหลืออยู่ 40,000 บาท แต่สามารถาขายได้ 50,000บาทแสดงว่ามีกำไรจากการขาย 10,000 บาท ซึ่งจะส่งผลให้กิจการเสียภาษีขึ้นสำหรับรายได้เพิ่มขึ้นสามารถคำนวรการลงทุนได้ดังนี้
ราคาเครื่องจักรใหม่ 1,500,000 บาท
เงินสดจากการขายเครื่องจักรเก่า 50,000
หัก ภาษีจ่ายเพิ่ม (10000 x 30%) 3,000 47,000 บาท
เงินลงทุนสุทธิในเครื่องจักรใหม่ 1,453,000 บาท

การคำนวณหาเงินลงทุนสุทธิหรือกระแสเงินออก
ตัวอย่าง
บริษัท ฐิติ จำกัด ลงทุนซื้อเครื่องจักรใหม่ราคา 1,000,000 บาท เสียค่าติดตั้ง 15,000 บาท ค่าขนส่ง 1,000 บาท และมีทุนทำการเพิ่ม 200,000 บาท โดยบริษัทขายเครื่องจักรเก่าออกไปในราคา 50,000 บาท

ราคาเครื่องจักรใหม่ 1,000,000 บาท
บวก ค่าติดตั้ง 15,000
ค่าขนส่ง 1,000 16,000 บาท
1,016,000 บาท
ทุนทำการ 20,000 บาท
รวมรายจ่าย 1,036,000 บาท
หัก ค่าขายเครื่องจักรเก่า 50,000 บาท
เพราะฉะนั้น เงินลงทุนสุทธิสุทธิ 986,000 บาท
ถ้าหากบริษัทซื้อเครื่องจักรใหม่ไม่ได้ขายเครื่องจักรเก่าออกไปแต่จะนำมาใช้เป็นเครื่องจักรอะไหล่ เงินลงทุนสุทธิคำนวณได้ดังนี้
ราคาเครื่องจักรใหม่ 1,000,000 บาท
บวก ค่าติดตั้ง 15,000
ค่าขนส่ง 1,000 16,000 บาท
1,016,000 บาท
ทุนทำการ 20,000 บาท
รวมรายจ่าย 1,036,000 บาท
บวก เครื่องจักรเก่าจำมาใช้กับโครงการ 50,000 บาท
เพราะฉะนั้น เงินลงทุนสุทธิ 986,000 บาท
ผลตอบแทนของโครงการลงทุน หรือกระแสเงินเข้า
ตัวอย่างที่ 1 บริษัท อยุธยา จำกัด ลงทุนซื้อเครื่องจักรใหม่จากการซื้อเครื่องจักรใหม่ใช้จะทำรายได้เงินสดให้กับโครงการปีละ 1,000,000 บาท และมีค่าใช้จ่ายเป็นเงินสดปีละ 800,000 บาท ค่าเสื่อมราคาปีละ 50,000 บาท ภาษี 30%
รายได้เงินสด 1,000,000 บาท
หัก ค่าใช้จ่ายเงินสด 800,000 บาท
กำไรก่อนค่าเสื่อมราคาและภาษี 200,000 บาท
หัก ค่าเสื่อมราคา 50,000 บาท
กำไรก่อนภาษีเงินได้ 150,000 บาท
ภาษี 30 % 45,000 บาท
กำไรสุทธิ 105,000 บาท
บวก ค่าเสื่อมราคา 50,000 บาท
เพราะฉะนั้น กำไรเงินสดปีละ 155,000 บาท




เงินมีค่าตามเวลา
ตาราง A-1 .ใช้ใในการปรับค่าของเงินที่ได้รับหรือจ่ายในอนาคตที่มีจำนวนแตกต่งกันในแต่ละปีโดยเงินจำนวนดังกล่าวจะรับหรือจ่าย ณ วันสิ้นปี
ตาราง A-2 ใช้ใในการปรับค่าของเงินที่ได้รับหรือจ่ายในอนาคตที่มีจำนวนแตกต่งกันในแต่ละปีโดยเงินจำนวนดังกล่าวจะรับหรือจ่าย ระหว่างปี
ตาราง B-1 ใช้ใในการปรับค่าของเงินที่ได้รับหรือจ่ายในอนาคตที่มีจำนวนแตกต่งกันในแต่ละปีโดยเงินจำนวนดังกล่าวจะรับหรือจ่าย ณ วันสิ้นปี
ตาราง B-2 ใช้ใในการปรับค่าของเงินที่ได้รับหรือจ่ายในอนาคตที่มีจำนวนแตกต่งกันในแต่ละปีโดยเงินจำนวนดังกล่าวจะรับหรือจ่าย ระหว่างปี
ตัวอย่างการปรับค่าของเงินในอนาคตให้เป็นมูลค่าปัจจุบัน ณ วันที่ลงทุนหรือจุดศูนย์
บริษัท ทับทิม จำกัด มีโครงการลงทุนทั้งหมด 4 โครงการคือโครงการ Aโครงการ B โครงการ C และโครงการ D ซึ่งโครงการดังกล่าว จะมีผลตอบแทนจากการลงทุนที่ต่างกันดังนี้ (อัตราการตอบแทนที่ต้องการ 12 %)

ปีที่ โครงการ A โครงการ B โครงการ C โครงการ D
(ณ วันสิ้นปี) (ระหว่างปี ) (ณ วันสิ้นปี) (ระหว่างปี )
1 5,000 5,000 10,000 10,000
2 5,000 5,000 3,000 3,000
3 5,000 5,000 4,000 4,000
4 5,000 5,000 5,000 5,000
5 5,000 5,000 3,000 3,000
คำนวณมูลค่าปัจจุบันของผลตอบแทนจากการลงทุนของแต่ละโครงการ
โครงการ A ใช้ตาราง B-1 ช่อง 12 %
เงินรับแต่ละปีติดต่อกัน 5 ปี ณ วันสิ้นปี = 5,000 บาท
แฟคเตอร์จากตาราง B-1 ช่อง 12 % = 3,605 บาท
เพราะฉะนั้น มูลค่าปัจจุบัน = 18,025 บาท

โครงการ B ใช้ตาราง B–2 ช่อง 12 %
เงินรับแต่ละปีติดต่อกัน 5 ปี โดยรับระหว่างปี = 5,000 บาท
แฟคเตอร์จากตาราง B-2 ช่อง 12 % = 3,817 บาท
เพราะฉะนั้น มูลค่าปัจจุบัน = 19,085 บาท





โครงการ C ใช้ตาราง A-1 ช่อง 12 %


ปีที่ เงินรับ ณ วันสิ้นปี แฟคเตอร์ มูลค่าปัจจุบัน
1 10,000 (บาท)) .893 8,930 ( บาท)
2 3,000 .979 2,391
3 4,000 .712 2,848
4 5,000 .636 3,180
5 3,000 .567 1,701
เพราะฉะนั้น มูลค้าปัจจุบัน = 19,050 บาท
โครงการ D ใช้ตาราง A-2 ช่อง 12 %


ปีที่ เงินระหว่างปี แฟคเตอร์ มูลค่าปัจจุบัน
1 10,000 (บาท) .945 9,450 (บาท)
2 3,000 .845 2,535
3 4,000 .753 3,012
4 5,000 .673 3,365
5 3,000 .601 1,803
เพราะฉะนั้น มูลค่าปัจจุบัน = 20165 บาท
ค่าเสื่อมราคา
ค่าเสื่อมราคาจะเป็นราคาใช้จ่ายที่ไม่ได้จ่ายเงินสดออกไป ผลของค้าเสื่อมราคาในการหักรายได้ก่อนภาษีทำให้กิจการประหยักภาษีหรือเสียภาษีน้อยลง ซึ่งเท่ากับจ่ายเงินสดค่าภาษีน้อยลงเพราะภาษีเป็นค่าใช้จ่ายที่ต้องจ่ายเป็นตวเลข
ภาษีเงินได้
การดำเนินงานโดยทั่วไปแล้วค่าเสื่อมราคาจะเป็นค่าใช้จ่ายที่นำมาหักเป็นค่าใช้จ่ายเพื่อคำนวรภาษี ภาษีที่จ่ายจะลดลงด้วยรายการค่าเสื่อมราคา
มูลค่าซากของโครงการ
โครงการลงทุนต่าง ๆ ในตอนปลายอายุของโครงการมูลค่าซากของโครงการประกอบด้วยเงินที่ได้รับจากการขายเครื่องจักร และอุปกรณ์ (ราคาซาก)และการเปลี่ยนทุนทำการเป็นเงินสด
อัตราผลตอบแทนที่ต้องการ
อัตราผลตอบแทนที่กิจการต้องการจากการลงทุนจะต้องไม่น้อยกว่าค่าใช้จ่ายหรือต้นทุนของเงินทุน (cost of Capital ) ต้นทุนหรือค่าใช้จ่ายของเงินลงทุนจากแหล่งต่าง ๆ เหล่านี้คำนวรได้จากการถั่วเฉลี่ยน้ำหนัก (WACC) ต้นทุนจากแหล่งเงินทุนต่าง ๆ

การวัดค่าของการลงทุน
การวัดค่าของการลงทุนมีวิธีวัดอยู่ 3 วิธีคือ
6.1 วิธีระยะเวลาคืนทุน (Payback Period)
6.2 วิธีมูลค่าปัจจุบันสุทธิ (Net Present Value Method)
6.3 วิธีอัตราผลตอบแทนภายใน (Internal Rate of Return Method)
วิธีระยะเวลาคืนทุน
การวัดค่าการงทุนโดยวิธีระยะเวลาคืนทุนสามารถแบ่งได้ 2 กรณีดังนี้
กรณีผลตอบแทนเงินลงทุนหรือกระแสเงินเข้าสุทธิมีจำนวนเท่ากันทุกปี
กรณีผลตอบทนเงินลงทุนหรือกระแสเงินเข้าสุทธิมีจำนวนไม่เท่ากันทุกปี
กรณีผลตอบแทนเงินลงทุนหรือกระแสเงินเข้าสุทธิมีจำนวนเท่ากันทุกปี

ระยะเวลาคืนทุน เงินสดที่จ่ายสุทธิเมื่อเริ่มโครงการ
กระแสเงินเข้าสุทธิต่อปี
ตัวอย่าง กิจการแห่งหนึ่งมีข้อมูลการลงทุนดังนี้
เงินลงทุนครั้งแรก 500,000 บาท
กระแสเงินเข้าสุทธิต่อปี 50,000 บาท

ระยะเวลาคืนทุน 500,000 ปี
50,000
กรณีผลตอบแทนเงินลงทุนหรือกระแสเงินเข้าสุทธิมีจำนวนไม่เท่ากันทุกปี

ระยะเวลาคืนทุน จำนวนปีก่อนคืนทุน จำนวนเงินที่เหลือ
จำนวนกระแสเงินสดเข้าของปีถัดไป

ตัวอย่าง กิจการแห่งหนึ่งมีข้อมูลการลงทุนดังนี้

ปีที่ โครงการ ก (บาท) โครงการ ข (บาท)
เงินลงทุน (บาท ) 0 500,000 500,000
1 100,000 50,000
2 50,000 100,000
3 40,000 150,000
4 100,000 200,000
5 200,000 100,000
6 20,000 -
7 70,000 -
งวดเวลาได้คืนทุน 5.5 ปี 4 ปี
ลำดับความสำคัญ (2) (1)
วิธีมูลค่าปัจจุบันสุทธิ
มีขั้นตอนการคำนวณดังต่อไปนี้
คำนวณหาจำนวนเงินที่ต้องลงทุนสุทธิที่ถือว่าเป็นกระแสเงินออก
ใช้อัตราผลตอบแทนที่ต้องการเป็นหลักในการเปลี่ยนกระแสเงินออกให้เป็นมูลค่าปัจจุบัน
คำนวณหาจำนวนกำไรเงินสดของแต่ละปีตลอดอายุของโครงการรวมทั้งราคาซากทุนทำการ ณ วันสิ้นสุดโครงการและถือว่าเป็นกระแสเงินเข้า
ใช้อัตราผลตอบแทนที่ต้องการเป็นหลักในการเปลี่ยนกระแสเงินเข้าให้เป็นมูลค่าปัจจุบัน
นำมูลค่าปัจจุบันของกระแสเงินออกไปหักมูลค่าปัจจุบันของกระแสเงินเข้าผลลัพธ์ที่ได้คือมูลค่าสุทธิ
ในกรณีที่มูลค่าปัจจุบันสุทธิเท่ากับ 0 แสดงว่าการจ่ายลงทุนให้ผลตอบแทนตามอัตราที่ต้องการพอดี
ในกรณีที่มูลค่าปัจจุบันสุทธิมากกว่า 0 แสดงว่าการจ่ายลงทุนให้ผลตอบแทนตามอัตราที่ต้องการพอดี
ในกรณีที่มูลค่าปัจจุบันสุทธิต่ำกว่า 0 แสดงว่าการจ่ายลงทุนให้ผลตอบแทนตามอัตราที่ต้องการพอดี
ตัวอย่าง บริษัท กานดา จำกัด กำลังตัดสินใจที่จะลงทุนในโครงการใหม่ โดยมีข้อข้อมูลเสนอมาทั้ง
หมด 4 โครงต่อไปนี้ อัตราผลการตอบแทนต้องการ 18 %

จ่ายลงทุนบาท โครงการ A โครงการ B โครงการ C โครงการ D
30000 30000 30000 30000
กำไรเงินสด (บาท) เงินเข้าสิ้นปี เงินเข้าระหว่างปี เงินเข้าสิ้นปี เงินเข้าระหว่างปี
ปีที่
1 10,000 7,000 20,000
2 17,000 7,000 10,000
3 18,000 7,000 40,000
4 15,000 7,000 10,000
5 10000 7,000 10,000
6 7000 10000
7 7000 10000
8 7,000 1,0000
9 7,000 1,0000
10 7,000 1,0000
การคำนวณมูลค่าปัจจุบันของโครงการ
ตัวอย่าง
โครงการ A เนื่องจากเงินของโครงการนี้มีจำนวนเงินของกระแสเงินเข้าต่ากันในแต่ละปีเงินเข้า ณ วันสิ้นปี การหามูลค่าปัจจุบันต้องใช้ตาราง A-1
คำนวณเงินลงทุนสุทธิ หรือกระแสเงินออก
กระแสเงินออก = 30,000 บาท
คำนวณผลตอบแทนจากการลงทุนหรือกระแสเงินเข้า

ปีที่ กระแสเงินเข้า (บาท) แฟคเตอร์ มูลค่าปัจจุบัน (บาท)
1 10,000 .847 8,470
2 17,000 .718 12,206
3 18000 .609 10,962
4 15,000 .516 7,740
5 10,000 .437 4,370
เพราะฉะนั้น กระแสเงินเข้า = 43,748
เปรียบเทียบกระแสเงินเข้าและกระแสเงินออก ณ จุดศูนย์
กระแสเงินเข้า = 43,748 บาท
กระแสเงินออก = 30,000 บาท
มูลค่าปัจจุบันสุทธิ = 13,748 บาท

โครงการ B เนื่องจากกระแสเงินเข้าของโครงการนี้มีจำนวนเท่ากันและเข้า ณ วันสิ้นปี การหามูลค่าปัจจุบันต้องใช้ ตาราง B-1
คำนวณเงินลงทุนสุทธิ หรือกระแสเงินออก
กระแสเงินออก = 30000 บาท
คำนวรผลตอบแทนจากการลงทุน หรือกระแสเงินเข้า
ปีที่ 1-10 เงินเข้ารายปี 70,000 บาท
แฟคเตอร์ B-1 18 % 4.494
มูลค่าปัจจุบันกระแสเงินเข้า 31,458 บาท
เปรียบเทียบกระแสเงินเข้าและกระแสเงินออก ณ จุดศูนย์
กระแสเงินเข้า = 31,458 บาท
กระแสเงินออก = 30,000 บาท
มูลค่าปัจจุบันสุทธิ = 1,458 บาท





โครงการ C เนื่องจากกระแสเงินเข้าของโครงการนี้มีจำนวนแตกต่างกันในแต่ละปี และเงินเข้าระหว่างปี การหามูลค่าปัจจุบันต้องใช้ตาราง A-2
คำนวณเงินลงทุนสุทธิ หรือกระแสเงินออก
กระแสเงินออก = 30,000 บาท
คำนวณผลตอบแทนจากการลงทุน หรือกระแสเงินเข้า
ปีที่ กระแสเงินเข้า แฟคเตอร์ 18% มูลค่าปัจจุบัน
1 20,000 .922 18,440
2 10,000 .781 7,810
3 40,000 .662 26,480
กระแสเงินเข้า = 52,730
เปรียบเทียบกระแสเงินเข้าและกระแสเงินออก ณ จุดศูนย์
กระแสเงินเข้า = 52,730 บาท
กระแสเงินออก = 30,000 บาท
มูลค่าปัจจุบันสุทธิ = 22,730 บาท
โครงการ D เนื่องจากกระแสเงินเข้าของโครงการนี้มีจำนวนเท่ากัน ตั้งแต่ปีที 4-10 และกระแสเงินเข้าระหว่างปี การหามูลค่าปัจจุบันสุทธิต้องใช้ตาราง B-2
1. คำนวณเงินลงทุนสุทธิ หรือกระแสเงินออก
กระแสเงินออก = 30,000 บาท
2. คำนวณผลตอบแทนจากการลงทุน หรือกระแสเงินเข้า
ปีที่ 4-10 เงินเข้ารายปี 10,000 บาท
แฟคเตอร์ B-2 18% 4.887 - 2.365 2.522
มูลค่าปัจจุบันของกระแสเงินเข้า 25,220
3. เปรียบเทียบกระแสเงินเข้าและกระแสเงินออก ณ จุดศูนย์
กระแสเงินเข้า = 25,220 บาท
กระแสเงินออก = 30,000 บาท
มูลค่าปัจจุบันสุทธิ = (4,780) บาท
สรุป จากการคำนวณมูลค่าปัจจุบันสุทธิทั้ง 4 โครงการ จะเห็นได้ว่าถ้ากิจการมีเงินทุนอย่างไม่จำกัด จะสามารถลงทุนในโครงการ A B และ C ได้ ส่วนโครงการ D นั้น ไม่สมควรลงทุน เพราะได้ผลตอบแทนไม่คุ้มกับเงินทุนที่จ่ายไป แต่หากกิจการมีเงินทุนสำหรับลงทุนในโครงการเดียวเท่านั้น โครงการ B เหมาะสมที่จะลงทุนมากที่สุด เพราะให้ผลตอบแทนสูงกว่าที่ต้องการมากกว่าโครงการอื่น ๆ

วิธีอัตราผลตอบแทนซื้อลดลง (Discounted Rate of Return Method)
การวัดค่าของการลงทุนโดยวิธีอัตราผลตอบแทนซื้อลดเป็นวิธีการคำนวนอัตราส่วนลด หรืออัตราดอกเบี้ยที่นำไปใช้รับเงินสดที่ได้รับจากโครงการลงทุน (ผลตอบแทนจากการลงทุน หรือกระแสเงินเข้า) ให้มีค่าเป็นปัจจุบันเท่ากับกระแสเงินออก หรือเงินลงทุนสุทธิเพื่อจะได้นำเงินทั้ง 2 ประเภทเปรียบเทียบกันได้
วิธีอัตราผลตอบแทนซื้อลดเป็นวิธีที่ค่อนข้างยุ่งยาก เพราะจะต้องทดลองผิดทดลองถูกไปเรี่อย ๆ จนพบอัตราส่วนลดที่ต้องการ อัตราส่วนลดที่คำนวณได้ถือเป็นอัตราผลตอบแทนจากการลงทุนหรือบางครั้งใช้กับความหมายที่ว่า อัตราส่วนลดที่คำนวณได้ หมายถึง อัตราดอกเบี้ยสูงสุดที่ผู้ลงทุนจะยอมจ่ายโดยไม่ขาดทุนหากเงินที่นำมาลงทุนนั้นเป็นเงินที่กู้ยืมมา และการจ่ายคืนเงินต้นและดอกเบี้ยจ่ายคืนจากเงินสดที่ได้รับจากการลงทุน
การคำนวณหาอัตราผลตอบแทนซื้อลดลงแบ่งได้ 2 กรณีคือ
1. กรณีที่กระแสเงินเข้าเท่ากันทุกปี
2. กรณีที่กระแสเงินเข้าไม่เท่ากันในแต่ละปี
ตัวอย่าง
บริษัท ซื่อตรง จำกัด กำลังพิจารณาการจ่ายลงทุนในโครงการ ซึ่งมีโครงการมาให้พิจารณา 2 โครงการดังนี้คือ
ปีที่ โครงการ A โครงการB
กระแสเงินออก (บาท) 0 100,000 200,000
กระแสเงินเข้า (บาท) 1 25,000 70,000
2 25,000 100,000
3 25,000 150,000
4 25,000
5 25,000
6 25,000
7 25,000
8 25,000
กรณีกระแสเงินเข้าเท่ากันทุกปี
โครงการ A กระแสเงินเข้าเท่ากันทุกปีตลอดอายุโครงการ 8 ปี โดยสมมติว่าเงินเข้า ณ วันปลายปี

ตัวคูณส่วนลด เงินลงทุนสุทธิ
ผลตอบแทนเงินสดต่อปี
100,000
25,000

นำตัวคูณส่วนลด 4 ไปเปิดตารางค่าปัจจุบันสะสม (ตาราง B- 1) ณ ปีที่ 8 ตรวจดูอัตราส่วนที่มีตัวคุณส่วนลดเท่ากับ 4 หรือใกล้เคียง 4 มากที่สุด จากตาราง B ตัวคุณส่วนลด 4 จะอยู่ระหว่างอัตราส่วนลดที่ 18% กับ 20% = 4.078 กับ 3.837

เมื่อได้ตัวคูณส่วนลดแล้วจะนำไปหาค่าปัจจุบันของเงินสดที่ได้รับจากโครงการแล้วนำไปเปรียบเทียบกับเงินทุนสุทธิ หากมีผลต่างค่าปัจจุบันสุทธิจะต้องใช้วิธีถัวเฉลี่ยเพื่อให้ได้อัตราส่วนลดตามที่ต้องการดังนี้
โครงการ A
ตัวคูณส่วนลด ณ อัตรา ค่าปัจจุบัน ณ อัตรา
ปีที่ เงินสดรับ 18% 20% 18% 20%
1-8 25,000 4.078 3.837 101,950 95,925
หัก เงินลงทุน 100,000 100,000
ค่าปัจจุบัน 1,950 (4,075)
ค่าปัจจุบันต่างกัน (101,950 - 95,925) = 6,025 บาท อัตราเปอร์เซ็นต์ต่างกัน = 2%
ค่าปัจจุบันต่างกัน (101,950 - 100,000) = 1,950 บาท อัตราเปอร์เซ็นต์ต่างกัน = 2 x 1,950
6,025
= .65%
เพราะฉะนั้นอัตราผลตอบแทนซื้อลดโครงการ A = 18 + .65% = 18.65%
กรณีกระแสเงินเข้าไม่เท่ากันในแต่ละปี
โครงการ B กระแสเงินเข้าไม่เท่ากันในแต่ละปี ในขั้นแรกจะต้องคาดคะแนอัตราผลแทนจำนวนหนึ่งไปคูณกับรายได้เมื่อรวมแล้วให้ได้เท่ากับเงินลงทุน สมมติอัตราผลตอบแทน = 20% (ตาราง A-1 ) แล้วคำนวณค่าปัจจุบันของเงินเข้าดังนี้
ปีที่ กระแสเงินสด แฟคเตอร์ 20% มูลค่าปัจจุบัน
1 70,000 (บาท) .833 58,310 (บาท)
2 100,000 .694 69,400
3 150,000 .579 86,850 รวม 214,560 บาท
จะพบว่าได้มูลค่าปัจจุบันของเงินเข้าที่ทดลองในอัตรา 20% = 214,560 บาท สูงกว่ามูลค่าปัจจุบันของกระแสเงินออกซึ่งเท่ากับ 200,000 บาท จึงต้องลองเพิ่มอัตราเป็น 22% 24% และ 25%แล้วคำนวณหามูลค่าปัจจุบันของกระแสเงินเข้าดูใหม่ จะพบว่ายอดรวมค่าปัจจุบันของผลตอบแทนที่ใกล้เคียง 200,000 บาท อยู่ที่อัตราผลตอบแทน 24% และ 25%
โครงการ B
ตัวคูณส่วนลด ณ อัตรา ค่าปัจจุบัน ณ อัตรา
ปีที่ เงินสดรับ (บาท) 24% 25% 24% 25%
1 70,000 .806 .800 56,420 56,000
2 100,000 .650 .640 65,000 64,000
3 150,000 .524 .512 78,600 76,800
รวมค่าปัจจุบัน 200,020 196,800
เงินลงทุนสุทธิ 200,000 200,000
ค่าปัจจุบัน 20 (3,200)

ถัวเฉลี่ยอัตราส่วนลดจะคำนวณได้ดังนี้
ค่าปัจจุบันต่างกัน (200,020 - 196,800) = 3,220 บาท อัตราเปอร์เซ็นต์ต่างกัน = 1%
ค่าปัจจุบันต่างกัน (200,020 - 200,000) = 20 บาท อัตราเปอร์เซ็นต์ต่างกัน = 1x20 = .0062%
3,220
เพราะฉะนั้น อัตราผลตอบแทนซื้อลดโครงการ B = 24.0062%
สรุป
จากการคำนวณพบว่าโครงการ B มีอัตราผลตอบแทนซื้อลด = 24.0062% สูงกว่าโครงการ A ซึ่งมีอัตราผลตอบแทนซื้อลด = 18.65% หากบริษัทต้องเลือกลงทุนในโครงการใดโครงการหนึ่งนั้น การใช้อัตราผลตอบแทนซื้อลดยังไม่เป็นการวัดที่เพียงพอ เพราะโครงการทั้ง 2 จ่ายลงทุนด้วยจำนวนเงินไม่เท่ากัน และอายุของโครงการก็ไม่เท่ากัน ดังนั้นควรจะใช้วิธีการวัดผลตอบแทนจากการลงทุนควรใช้ร่วมกับวิธีอื่น ๆ ด้วย เช่น วิธีมูลค่าปัจจุบันสุทธิ (NPV) เป็นต้น

การตีราคาสินค้าคงเหลือตามราคาทุน

การบันทึกบัญชีสินค้ามีอยู่ 2 วิธีที่นิยมใช้ คือ การบันทึกบัญชีสินค้าต่อเนื่อง (Perpetual Inventory Method) วิธีนี้มักจะมีการบันทึกบัญชีสินค้าทุกครั้งที่มีการซื้อหรือขายสินค้ามูลค่าสินค้าคงเหลือปลายงวดจะทราบได้จากบัญชีสินค้า และการบันทึกบัญชีสินค้าคงเหลือปลายงวด (Periodic Inventory Method) วิธีนี้จะไม่มีการบันทึกบัญชีสินค้า เมื่อมีการซื้อหรือขายสินค้าแต่จะมีการตรวจนับสินค้าคงเหลือ ณ วันปลายงวด
4.1 วิธีเข้าก่อน- ออกก่อน (First-In, First-Out Method) วิธีจะตีราคาสินค้าที่ซื้อเข้าก่อนขายออกไปก่อน สินค้าคง4.2 เหลือปลายง4.3 วดจะเป็นสินค้าที่ซื้อเข้ามาครั้ง4.4 หลัง4.5 ๆ
การตีราคาสินค้าคงเหลือตามวิธีนี้ถ้าอยู่ในช่วงที่สินค้าที่ซื้อมาในแต่ละครั้งมีราคาแตกต่างกันมาก ต้นทุนสินค้าที่ขายก็จะต่ำกว่าความเป็นจริง

ตัวอย่าง
บริษัท พงษ์เพชร จำกัด มีสินค้าคงเหลือ ณ วันต้นงวด 1,000 หน่วย ราคาหน่วยละ 10 บาท ระหว่างงวดบัญชีมีการซื้อขายสินค้าดังต่อไปนี้
มกราคม ซื้อสินค้าจำนวน 2,000 หน่วย @ 10 บาท
กุมภาพันธ์ ซื้อสินค้าจำนวน 1,000 หน่วย @ 12 บาท มีนาคม ซื้อสินค้าจำนวน 1,500 หน่วย @ 13 บาท
เมษายน ขายสินค้าจำนวน 2,000 หน่วย @ 30 บาท
พฤษภาคม ขายสินค้าจำนวน 1,500 หน่วย @ 35 บาท
มิถุนายน ซื้อสินค้าจำนวน 3,500 หน่วย @ 15 บาท
กันยายน ซื้อสินค้าจำนวน 2,000 หน่วย @ 17 บาท
ตุลาคม ขายสินค้าจำนวน 4,000 หน่วย @ 40 บาท
พฤศจิกายน ขายสินค้าจำนวน 1,000 หน่วย @ 45 บาท
ธันวาคม ซื้อสินค้าจำนวน 1,000 หน่วย @ 18 บาท
เมื่อวันสิ้นงวดตรวจนับสินค้าคงเหลือมีอยู่จำนวน 3,500 หน่วย


4.1.1 สำหรับกิจการที่ใช้วิธีการบันทึกบัญชีสินค้าต่อเนื่อง การคำนวณต้นทุนสินค้าที่ขาย และต้นทุนสินค้าคงเหลือปลายงวด จะเป็นดังนี้


ว.ด.ป. รับ จ่าย ยอดคงเหลือ
จำนวน
(หน่วย) ราคา
ต่อหน่วย จำนวนเงิน
(หน่วย) จำนวน
(หน่วย) ราคา
ต่อหน่วย จำนวนเงิน
(หน่วย) จำนวน
(หน่วย) ราคา
ต่อหน่วย จำนวนเงิน
(บาท)
ยอดยกมา 1,000 10 10,000 1,000 10 10,000
ม.ค.
2,000 10 20,000 1,000
2,000 10
10
30,000
ก.พ. 1,000 12 12,000 1,000
2,000
1,000 10
10
12

42,000
มี.ค. 1,500 13 19,500 1,000
2,000
1,000
1,500 10
10
12
13



61,500
เม.ย 1,000
1,000 10
10
20,000 1,000
1,000
1,000 10
12
13

41,500
พ.ค. 1,000
500 10
12 16,000 500
1,500 12
13
25,500
มิ.ย. 3,500 15 52,500 500
1,500
3,500 12
13
15

78,000
ก.ย 2,000 17 34,000 500
1,500
3,500
2,000 12
13
15
17


112,000
ต.ค. 500
1,500
2,000 12
13
15

55,500 1,500
2,000 15
17

56,500
พ.ย. 1,000 15 15,000 500
2,000 15
17
41,500
ธ.ค. 1,000 18 18,000 500
2,000
1,000 15
17
18

59,500

\ต้นทุนสินค้าที่ขายจำนวน 8,500 หน่วย = 20,000+16,000+55,500+15,000 = 106,500 บาท
\ มูลค่าสินค้าคงเหลือปลายงวดจำนวน 3,500 หน่วย = 59,500 บาท
4.1.2 สำหรับกิจการที่ใช้วิธีการบันทึกบัญชีสินค้าคงเหลือสิ้นงวด การคำนวณต้นทุนสินค้าที่ขาย และต้นทุนสินค้าคงเหลือปลายงวดจะเป็นดังนี้
การคำนวณต้นทุนสินค้าที่ขายจะคำนวณได้ดังนี้
จำนวนหน่วย ราคาต่อหน่วย ต้นทุนของสินค้า (บาท)
สินค้าคงเหลือต้นงวด 1,000 10 10,000
ซื้อเมื่อ มกราคม 2,000 10 20,000
กุมภาพันธ์ 1,000 12 12,000
มีนาคม 1,500 13 19,500
มิถุนายน 3,000 15 45,000
จำนวนหน่วยที่ขาย 8,500 หน่วย ต้นทุนขาย 106,500 บาท
สินค้าคงเหลือปลายงวด 3,500 หน่วย ประกอบด้วย
มิถุนายน 500 15 7,500
กันยายน 2,000 17 34,000
ธันวาคม 1,000 18 18,000
3,500 หน่วย 59,500 บาท
\ มูลค่าของสินค้าคงเหลือปลายงวด = 59,500 บาท

4.2 วิธีเข้าหลัง –ออกก่อน (Last – In. First-Out Method) วิธีนี้จะตีราคาสินค้าที่ซื้อเข้ามาทีหลังขายออกไปก่อน สินค้าคงเหลือปลายงวดจะเป็นสินค้าที่ซื้อเข้ามาครั้งก่อน ๆ การตีราคาสินค้าคงเหลือ ตามวิธีนี้ถ้าอยู่ในช่วงที่สินค้าที่ซื้อมาในแต่ละครั้งมีราคาแตกต่างกันมาก ต้นทุนสินค้าที่ขายจะมีราคาใกล้เคียงกับราคาที่เป็นจริง

ตัวอย่าง (โจทย์เดิมบริษัทพงษ์เพชร จำกัด)
4.2.1 สำหรับกิจการที่ใช้วิธีการบันทึกบัญชีสินค้าต่อเนื่อง การคำนวณต้นทุนสินค้าที่ขาย และต้นทุนสินค้าคงเหลือปลายงวด จะเป็นดังนี้




ว.ด.ป. รับ จ่าย ยอดคงเหลือ
จำนวน
(หน่วย) ราคา
ต่อหน่วย จำนวนเงิน
(หน่วย) จำนวน
(หน่วย) ราคา
ต่อหน่วย จำนวนเงิน
(หน่วย) จำนวน
(หน่วย) ราคา
ต่อหน่วย จำนวนเงิน
(หน่วย)
ยอดยกมา 1,000 10 10,000 1,000 10 10,000
ม.ค.
2,000 10 20,000 1,000
2,000 10
10
30,000
ก.พ. 1,000 12 12,000 1,000
2,000
1,000 10
10
12

42,000
มี.ค. 1,500 13 19,500 1,000
2,000
1,000
1,500 10
10
12
13



61,500
เม.ย 1,500
500 13
12
25,500 1,000
2,000
500 10
10
12

36,000
พ.ค. 500
1,000 12
10
16,000 1,000
1,000 10
10
20,000
มิ.ย. 3,500 15 52,500 1,000
1,000
3,500 10
10
15

72,500
ก.ย 2,000 17 34,000 1,000
1,000
3,500
2,000 10
10
15
17


106,500
ต.ค. 2,000
2,000
17
15

64,000 1,000
1,000
1,500 10
10
15


42,500
พ.ย. 1,000 15 15,000 1,000
1,000
500 10
10
15
41,500
27,500
ธ.ค. 1,000 18 18,000 1,000
1,000
500
1,000 10
10
15
18


45,500
\ต้นทุนสินค้าที่ขายจำนวน 8,500 หน่วย = 25,500 + 16,000 +64,000 +15,000 = 120,500 บาท
\มูลค่าสินค้าคงเหลือปลายงวดจำนวน 3,500 หน่วย = 45,500 หน่วย

4.2.2 สำหรับกิจการที่ใช้วิธีการบันทึกบัญชีสินค้าคงเหลือสินงวด การคำนวณต้นทุนสินค้าที่ขาย และต้นทุนสินค้าคงเหลือปลายงวดจะเป็นดังนี้
การคำนวณต้นทุนสินค้าที่ขาย จะคำนวณได้ดังนี้
จำนวนหน่วย ราคาต่อหน่วย ต้นทุนของสินค้า (บาท)
ซื้อเมื่อ ธันวาคม 1,000 18 18,000
กันยายน 2,000 17 34,000
มิถุนายน 3,500 15 52,500
มีนาคม 1,500 13 19,500
กุมภาพันธ์ 500 12 6,000
จำนวนหน่วยที่ขาย 8,500 หน่วย ต้นทุนขาย 130,000 บาท
สินค้าคงเหลือปลายงวด 3,500 หน่วย ประกอบด้วย
สินค้าคงเหลือต้นงวด 1,000 10 10,000
มกราคม 2,000 10 20,000
กุมภาพันธ์ 500 12 6,000
3,500 หน่วย 36,000 บาท
\มูลค่าของสินค้าคงเหลือปลายงวด = 36,000 บาท
4.3 วิธีถัวเฉลี่ย (Average Method) การตีราคาสินค้าคงเหลือวิธีถัวเฉลี่ย มีดังต่อไปนี้
4.3.1 วิธีถัวเฉลี่ยถ่วงน้ำหนัก ใช้กับการบันทึกบัญชีสินค้าคงเหลือสิ้นงวด วิธีนี้จะคิดต้นทุนสินค้าโดยนำราคาที่ซื้อมาแต่ละครั้งรวมกัน แล้วเฉลี่ยด้วยจำนวนหน่วยสินค้าที่ซื้อ
ตัวอย่าง (โจทย์เดิมบริษัทพงษ์เพชร จำกัด)
จำนวนหน่วย หน่วยละ จำนวนเงิน (บาท)
สินค้าคงเหลือต้นงวด 1,000 10 10,000
มกราคม 2,000 10 20,000
กุมภาพันธ์ 1,000 12 12,000
มีนาคม 1,500 13 19,500
มิถุนายน 3,500 15 52,500
กันยายน 2,000 17 34,000
ธันวาคม 1,000 17 18,000
12,000 166,000
\ ต้นทุนสินค้าที่ขาย = 166,000 X 8,500 = 117,583.33 บาท
12,000
\มูลค่าสินค้าคงเหลือปลายงวด = 166,000 X 3,500 = 48,416.66 บาท
12,000
4.3.2 วิธีถัวเฉลี่ยแบบเคลื่อนที่ ใช้กับการบันทึกบัญชีสินค้าต่อเนื่อง วธีนี้จะทำการถัวเฉลี่ยต้นทุนทุกครั้งที่มีการซื้อสินค้าเข้ามาขาย
ตัวอย่าง (โจทย์เดิมบริษัทพงษ์เพชร จำกัด)


ว.ด.ป. รับ จ่าย ยอดคงเหลือ
จำนวน
(หน่วย) ราคา
ต่อหน่วย จำนวนเงิน
(หน่วย) จำนวน
(หน่วย) ราคา
ต่อหน่วย จำนวนเงิน
(หน่วย) จำนวน
(หน่วย) ราคา
ต่อหน่วย จำนวนเงิน
(หน่วย)
ยอดยกมา
ม.ค.
ก.พ.
มี.ค.
เม.ย
พ.ค.
มิ.ย.
ก.ย
ต.ค.
พ.ย.
ธ.ค. 1,000
2,000
1,000
1,500


3,500
2,000


1,000 10
10
12
13


15
17


18 10,000
20,000
12,000
19,500


52,500
34,000


18,000



2,000
1,500


4,000
1,000



11.18
11.18


14.51
14.51



22,360
16,770


58,040
14,510 1,000
3,000
4,000
5,500
3,500
2,000
5,500
7,500
3,500
2,500
3,500 10.00
10.00
10.50
11.18
11.18
11.18
13.61
14.51
14.51
14.51
15.50 10,000
30,000
42,000
61,500
39,140
22,370
74,870
106,500
50,830
36,275
54,275

\ ต้นทุนสินค้าที่ขาย = 22,360 + 16,770+58,040 + 14,510 = 111,680 บาท
\ มูลค่าสินค้าคงเหลือปลายงวด = 54,275 บาท
ต้นทุนต่อหน่วยครั้งที่ 1 = 10,000 + 20,000 = 10.00 บาท
3,000
ต้นทุนต่อหน่วยครั้งที่ 2 = 30,000 +12,000 = 10.50 บาท
4,000
ต้นทุนต่อหน่วยครั้งที่ 3 = 42,000 + 19,500 = 11.18 บาท
5,500
\ การคำนวณต้นทุนต่อหน่วยเมื่อคำนวณออกมาแล้วให้ใช้จุดทศนิยม 2 ตำแหน่งเท่านั้น

5. การคิดค่าเสื่ออมราคาสินทรัพย์ถาวร
สินค้าถาวรต่าง ๆ ที่กิจการมีไว้ใช้ในการดำเนินงานจะมีอายุการใช้งานจำกัด ดังนั้นจึงต้อง
มีการกระจายต้นทุนของสินทรัพย์ออกเป็นค่าใช้จ่ายในงวดบัญชีต่าง ๆ ต้นทุนสินค้าที่ตัดเป็นค่าใช้จ่ายประจำงวด เรียกว่า ค่าเสื่อมราคา ค่าเสื่อมนี้จะมีผลกระทบต่อกำไรสุทธิของกิจการ ดังนั้นการเลือกวิธีคิดค่าเสื่อมจึงมีความสำคัญที่ต้องพิจารณา
ค่าเสื่อมราคาเป็นรายจ่ายที่เกิดขึ้นโดยไม่มีส่วนสัมพันธ์กับรายได้ กล่าวคือ ไม่ว่ารายได้จะเกิดขึ้นหรือไม่ค่าเสื่อมราคาย่อมเกิดขึ้นเสมอ
วิธีคิดค่าเสื่อมราคาที่ใช้โดยทั่วไป มีดังนี้
7.1 การคิดค่าเสื่อมราคาในอัตราเปลี่ยนแปลง7.2 ตามชั่วโมง7.3 การทำง7.4 าน หรือตามจำนวนผลผลิต
7.5 การคิดค่าเสื่อมราคาในอัตราคง7.6 ที่ ตามวิธีเส้นตรง7.7
7.8 การคิดค่าเสื่อมราคาในอัตราเร่ง7.9
5.1 การคิดค่าเสื่อมราคาในอัตราเปลี่ยนแปลงตามชั่วโมงการทำงาน หรือตามจำนวนผลผลิต การคิดค่าเสื่อมราคาวิธีนี้จะต้องใช้กับสินทรัพย์ที่มีราคาเปลี่ยนแปลงในทางที่ลดลงเนื่องจากการใช้งาน ไม่ใช่เพราะระยะเวลาที่ผ่านไป คือปีใดใช้สินทรัพย์มากก็ควรตัดค่าเสื่อมราคามาก ปีใดใช้สินทรัพย์น้อยก็ควรคิดราคาน้อยตามไปด้วย เช่น รถยนต์ หรือเครื่องจักร
ตัวอย่าง เครื่องจักรเครื่องหนึ่ง ซื้อมาเพื่อใช้ในการผลิต ราคา 2,100,000 บาท ราคาซาก 100,000 บาท ประมาณว่าจะผลิตสินค้าได้ 200,000 หน่วย อายุการใช้งาน 5 ปี
ปีที่ 1 เครื่องจักรสามารถผลิตสินค้าได้ 50,000 หน่วย
ปีที่ 2 เครื่องจักรสามารถผลิตสินค้าได้ 30,000 หน่วย
ปีที่ 3 เครื่องจักรสามารถผลิตสินค้าได้ 30,000 หน่วย
ปีที่ 4 เครื่องจักรสามารถผลิตสินค้าได้ 50,000 หน่วย
ปีที่ 5เครื่องจักรสามารถผลิตสินค้าได้ 40,000 หน่วย

ค่าเสื่อมราคาต่อหน่วยผลผลิต = ราคาทุน - ราคาซาก
จำนวนหน่วยที่ผลิตสินค้าได้
= 2,100,000 - 100,000
200,000
= 10 บาท


ค่าเสื่อมราคาเครื่องจักร = จำนวนหน่วยที่ผลิตได้ในปีนั้น ๆ x ค่าเสื่อมราคาต่อหน่วยผลิต
ค่าเสื่อมราคาเครื่องจักรปีที่ 1 = 50,000 x 10 = 500,000 บาท
ค่าเสื่อมราคาเครื่องจักรปีที่ 2 = 30,000 x 10 = 300,000 บาท
ค่าเสื่อมราคาเครื่องจักรปีที่ 3 = 30,000 x 10 = 300,000 บาท
ค่าเสื่อมราคาเครื่องจักรปีที่ 4 = 50,000 x 10 = 500,000 บาท
ค่าเสื่อมราคาเครื่องจักรปีที่ 5 = 40,000 x 10 = 400,000 บาท

ตารงค่าเสื่อมราคาตามจำนวนผลผลิตของเครื่องจักร

ปีที่ ผลผลิต (หน่าย) ค่าเสื่อมราคา (บาท) ค่าเสื่อมราคาสะสม (บาท) ราคาสุทธิตามบัญชี (บาท)
ต้นปีที่1
สิ้นปีที่1
สิ้นปีที่2
สิ้นปีที่3
สิ้นปีที่4
สิ้นปีที่5
50,000
30,000
30,000
50,000
40,000
200,000
500,000
300,000
300,000
500,000
400,000
2,000,000
500,000
800,000
1,100,000
1,600,000
2,000,000 2,100,000
1,600,000
1,300,000
1,000,000
500,000
100,000



5.2 การคิดค่าเสื่อมราคาในอัตราคงที่ ตามวิธีเส้นตรง
การคิดค่าเสื่อมราคาวิธีนี้จะเหมาะสมกับสินทรัพย์ ที่มีการเสื่อมสภาพไปตามระยะเวลา โดยกิจการได้รับประโยชน์จากสินทรัพย์ที่ใช้งานเท่ากันทุกปี ดังนั้นการคิดค่าเสื่อมราคาจะคิดเท่ากันทุกปี ตลอดอายุการใช้งานของสินทรัพย์
ตัวอย่าง บริษัทซื้อเครื่องจักรมาใช้งาน 1 เครื่อง ราคาเครื่องละ 2,100,000 บาท ประมาณว่าจะ
ใช้งานได้ 5 ปี ราคาซากเมื่อปลายปีที่ 5 เท่ากับ 100,000 บาท
ค่าเสื่อมราคาแต่ละปี = ราคาทุน -ราคาซาก
อายุการใช้งาน (ปี)
= 2,100,000 - 100,000
5
= 400,000 บาท
หรือ 20 %ของมูลค่าของเครื่องจักรที่ใช้คิดค่าเสื่อมราคา 2,000,000 บาท



ตารางตัดค่าเสื่อมราคาตามวิธีเส้นตรง


ปีที่ การคำนวณ ค่าเสื่อมราคา (บาท) ค่าเสื่อมราคาสะสม (บาท) ราคาสุทธิตามบัญชี (บาท)
ต้นปีที่1
สิ้นปีที่1
สิ้นปีที่2
สิ้นปีที่3
สิ้นปีที่4
สิ้นปีที่5
20% ของ 2,000,000
20% ของ 2,000,000
20% ของ 2,000,000
20% ของ 2,000,000
20% ของ 2,000,000

400,000
400,000
400,000
400,000
400,000
2,000,000
400,000
800,000
1,200,000
1,600,000
2,000,000 2,100,000
1,700,000
1,300,000
900,000
500,000
100,000


5.3 การคิดค่าเสื่อมราคาในแบบอัตราเร่ง5.4
การคิดค่าเสื่อมราคาวิธีนี้จะคิดค่าเสื่อมราคาในปีแรก ๆ มากและจะลดลงเรื่อย ๆ จนกระทั่งสิน
ทรัพย์หมดสภาพ ซึ่งแยกเป็น 2 วิธี คือ
5.4.1 วิธียอดลดลง5.4.2 ทวีคูณ วิธีนี้ใช้อัตราค่าเสื่อมราคา 2 เท่าของ5.4.3 อัตราเส้นตรง5.4.4 และใช้อัตรา 2
เท่านั้นคูณตามราคาบัญชีของสินทรัพย์ ณ วันต้นรอบระยะเวลาบัญชี
ตัวอย่าง เครื่องจักรเครื่องหนึ่งมีราคาทุน 2,100,000 บาท ประมาณว่ามีอายุการใช้งาน 5ปี ราคาซากปลายปีที่ 5 เท่ากับ 100,000 บาท การคิดค่าเสื่อมราคาตามวิธีนี้จะเป็นดังนี้
อัตราค่าเสื่อมราคาตามวิธีเส้นตรง = 100
อายุการใช้งาน
= 100 = 20 %
5
สองเท่าของอัตราค่าเสื่อมราคาตามวิธีเส้นตรง = 40%

ตารางค่าเสื่อมราคาตามวิธียอดลดลงทวีคูณ

ปีที่ ผลผลิต (หน่วย) ค่าเสื่อมราคา (บาท) ค่าเสื่อมราคาสะสม (บาท) ราคาสุทธิตามบัญชี (บาท)
ต้นปีที่1
สิ้นปีที่1
สิ้นปีที่2
สิ้นปีที่3
สิ้นปีที่4
สิ้นปีที่5
40% ของ 2,100,000
40% ของ 1,260,000
40% ของ 756,000
40% ของ 453,600


840,000
504,000
302,400
181,440
172,160*
2,000,000
840,000
1,344,000
1,646,400
1,827,840
2,000,000 2,100,000
1,260,000
756,000
453,600
272,160
100,000

*ยอดค่าเสื่อมราคาปีที่ 5 ให้ยึดเอาจำนวนให้ยืดเอาจำนวนที่ทำให้ยอดคงเหลือตามบัญชีมีค่าเท่ากับราคาซาก ( 272,160 – 100,000 = 172,160 )
5.3.1 วิธีผลรวมจำนวนปี
การคิดค่าเสื่อมราคาตามวิธีนี้ถือว่าประโยชน์ที่ได้จากการใช้สินทรัพย์จะเป็นส่วนกลับกับลำดับปีที่ใช้ สมมติว่าสินทรัพย์มีอายุการใช้งาน 5 ปี ประโยชน์ที่จะได้รับในปีที่ 1 จะเป็น 5 เท่าของประโยชน์ที่ได้รับในปีที่ 5 ดังนั้นจึงคิดค่าเสื่อมราคาของปีที่หนึ่ง 5 ส่วน และปีต่อไปลดน้อยลงตามลำดับ
ตัวอย่าง เครื่องจักรเครื่องหนึ่งมีราคา 2,100,000 บาท มีอายุการใช้งาน 5 ปี และมีราคาซากเมื่อปลายอายุการใช้งาน 100,000 บาท
เครื่องจักรมีอายุการใช้งาน 5 ปี ส่วนที่ใช้เป็นฐานการคิดค่าเสื่อมราคาจะเท่ากับ 5+4+3+2+1 = 15 ส่วน
มูลค่าของสินทรัพย์ที่ใช้คิดค่าเสื่อมราคา = 2,100,000 - 100,000
= 2,000,000 บาท

ตารางค่าเสื่อมราคาตามวิธีผลรวมจำนวนปี

ปีที่ ผลผลิต (หน่วย) ค่าเสื่อมราคา (บาท) ค่าเสื่อมราคาสะสม (บาท) ราคาสุทธิตามบัญชี (บาท)
ต้นปีที่1
สิ้นปีที่1
สิ้นปีที่2
สิ้นปีที่3
สิ้นปีที่4
สิ้นปีที่5
5/15 ของ 2,000,000
4/15 ของ 2,000,000
3/15 ของ 2,000,000
2/15 ของ 2,000,000
1/15 ของ 2,000,000
666,666.67
533,333.33
400,000.00
266,666.67
133,333.33
2,000,000.00
666,666.67
1,200,000.00
1,600,000.00
1,866,666.67
2,000,000.00 2,100,000.00
1,433,333.33
900,000.00
500,000.00
233,333.33
100,000.00











แบบฝึกหัดบทที่ 1
ข้อ 1-1 (กำไรขาดทุน) นักบัญชีของบริษัทสหไทย จำกัด ได้รวบรวมข้อมูลต่อไปนี้จากสมุดบัญชีของบริษัทเพื่อใช้ในการจัดทำงบกำไรขาดทุนสำหรับปีสิ้นสุด 31 ธันวาคม 25+4 (ระหว่างปี ไม่มีการเปลี่ยนแปลงในหุ้นสามัญจำนวน 12,000 หุ้นที่ออกจำหน่ายแล้ว)
(บาท)
ขายสุทธิ 970,000
ค่าเสื่อมราคาโรงงาน (60% -ขาย , 40% -บริหาร) 70,000
ประกาศจ่ายเงินปันผล 14,400
รายได้ค่าเช่า 30,000
ดอกเบี้ยตั๋วเงินจ่าย 17,000
ราคาตลอดของที่ดินที่ถือไว้เพื่อการลงทุนมีค่าสูงขึ้น 44,000
ซื้อสินค้า 421,000
ค่าขนส่งเข้า-สินค้า 37,000
สินค้าคงเหลือ 1 มกราคม 25+4 82,000
สินค้าคงเหลือ 31 ธันวาคม 25+4 81,000
ส่งคืนคงเหลือจำนวนที่ได้ลด 11,000
ค่าแรงและเงินเดือน-ขาย 95,000
ค่าวัตถุดิบและวัสดุ-ขาย 11,400
ภาษีเงินได้ 45,000
ค่าแรงและเงินเดือน-บริหาร 135,900
ค่าใช้จ่ายในการบริหารอื่น ๆ 46,700
ค่าโฆษณา 20,000
ค่าไปรษณียากร 6,000
ให้ทำ 1) งบกำไรขาดทุนแบบหลายขั้น(Multipe step)
2) งบกำไรขาดทุนแบบขั้นเดียว(Single step)

ข้อ 1-2 (งบดุล) ต่อไปนี้เป็นงบดุลของบริษัทสยาม จำกัด
บริษัทสยาม จำกัด
งบดุล
ณ วันที่ 31 ธันวาคม 25+6
สินทรัพย์หมุนเวียน 520,000 หนี้สินระยะสั้น 365,000
เงินลงทุน 700,000 หนี้สินระยะยาว 920,000
ที่ดิน อาคารและอุปกรณ์ 2,185,000 ส่วนของผู้ถือหุ้น 2,690,000
สินทรัพย์ไม่มีตัวตน 570,000
3,975,000 3,975,000
ต่อไปนี้เป็นข้อมูลเพิ่มเติม
1) ส่วนของสินทรัพย์หมุนเวียนประกอบด้วย: เงินสด 120,000 บาท หักด้วยค่าเผื่อหนี้
สงสัยจะสูญ 10,000 บาท สินค้าคงเหลือ 230,000 บาท และรายได้รับล่วงหน้า 10,000 บาท
(ยอดคงเหลือด้านเครดิต) สินค้าคงเหลือแสดงด้วยราคาทุนทดแทน ต้นทุนเดิม (วิธี FIFO)
เท่ากับ 200,000 บาท
2) ส่วนของเงินลงทุนประกอบด้วยราคาเวรคืนกรมธรรม์ประกันชีวิต (Cash surrender value of
life insurance) 60,000 บาท เงินลงทุนในหุ้นสามัญ-ระยะสั้น 70,000 บาท และเงินลงทุน
ระยะยาว 160,000 บาท กองทุนจมเพื่อไถ่ถอนหุ้นกู้ 220,000 บาท ค่าใช้จ่ายในการก่อตั้ง
บริษัท 70,000 บาท และที่ดินที่ถือไว้เพื่อใช้ในการก่อตั้งโรงงานในอนาคต 120,000 บาท
เงินลงทุนทั้งหมดจำแนกเป็นเงินลงทุน-เผื่อขาย (Available for sale) และมีราคาตลาดเท่ากับ
ราคาทุน
3) ที่ดิน อาคารและอุปกรณ์ ประกอบด้วยอาคาร 1,600,000 บาท หักด้วยค่าเสื่อมราคาสะสม
375,000 บาท อุปกรณ์ 400,000 บาท หักด้วยค่าเสื่อมราคาสะสม 240,000 บาท และที่ดินที่ถือไว้
ใช้ในอนาคต 300,000 บาท อาคารแสดงในราคาประเมินใหม่ (Appraisal value) ราคาทุนเดิม
1,250,000 บาท
4) สินทรัพย์ไม่มีตัวตน ประกอบด้วย สัมปทาน 140,000 บาท ค่าความนิยม 80,000 บาท ส่วนลด
มูลค่าหู้นกู้ 30,000 บาท และงานระหว่างก่อสร้าง 320,000 บาท (โรงงานใหม่อยู่ระหว่างการก่อ
สร้างและจะเสร็จสามารถใช้งานได้ในอีก 9 เดือนข้างหน้า)
5) หนี้สินระยะสั้นประกอบด้วย เจ้าหนี้ 80,000 บาท ตั๋วเงินจ่าย-ระยะสั้น 110,000 บาท ตั๋วเงินจ่าย-
ระยะยาว 150,000 บาท และเงินเดือนค้างจ่าย 25,000 บาท หนี้สินระยะสั้นยังไม่รวมขาดทุนที่อาจเกิดขึ้น (Loss contingencies) ทนายความของบริษัทกล่าวว่ามีความเป็นไปได้ที่บริษัทอาจต้องจ่ายเงิน 60,000 บาทในปี 25+7เนื่องจากคดีฟ้องร้องที่อยู่ระหว่างดำเนินการ ณ วันที่ในงบดุล
6) หนี้สินระยะยาวประกอบด้วยหุ้นกู้ 10% (ครบกำหนดชำระในวันที่ 1 มิถุนายน ปี 25+9)
จำนวน 800,000 บาท และหนี้สินบำนาญ 120,000 บาท
7) ส่วนของผู้ถือหุ้นประกอบด้วยหุ้นบุริมสิทธิ ไม่มีราคามูลค่า จดทะเบียน 200,000 หุ้น ออก
จำหน่ายแล้ว 70,000 หุ้น เป็นเงิน 450,000 บาท และหุ้นสามัญ มูลค่าหุ้นละ 2 บาท จดทะเบียน
300,000 หุ้น ออกจำหน่ายแล้ว 100,000 หุ้น ในราคาเฉลี่ยหุ้นละ 10 บาท นอกจากนี้บริษัทยัง
กำไรสะสม 1,240,000บาท
ให้ทำ งบดุลโดยจัดหมวดหมู่ให้ถูกต้อง
ข้อ 1-3 (การตีราคาสินค้าด้วยวิธีต่าง ๆ ) บริษัทเรืองวาจำกัด เริ่มดำเนินกิจการเมื่อวันที่ 1 ธันวาคม 25+8 บริษัทซื้อสินค้าเพียงครั้งเดียวในปี 25+8 คือวันที่ 10 ธันวาคม 25+8 ในราคาทุนหน่วยละ 20 บาท ไม่มีการขายสินค้าในปี 25+8 ข้อมูลที่เกี่ยวข้องมีดังนี้
จำนวนหน่วยของสินค้าปลายปี
31 ธันวาคม 25+8 100

31 ธันวาคม 25+9 ประกอบด้วยสินค้าที่ซื้อเมื่อ :
2 ธันวาคม 25+9 100
20 กรกฎาคม 25+9 50 150
ระหว่างปีมีรายการขายและซื้อเกิดขึ้นดังนี้

ซื้อ ขาย
15 มีนาคม 300 หน่วย ๆ ละ 24 บาท 10 เมษายน 200
20 กรกฎาคม 300 หน่วย ๆ ละ 25 บาท 20 สิงหาคม 300
4 กันยายน 200 หน่วย ๆ ละ 28 บาท 18 พฤศจิกายน 150
2 ธันวาคม 100 หน่วย ๆ ละ 30 บาท 12 ธันวาคม 200
บริษัทใช้วิธีสินค้าคงเหลือแบบสิ้นงวด
ให้ทำ คำนวณหาสินค้าคงเหลือสิ้นงวด ณ วันที่ 31 ธันวาคม 25+9 ตามวิธี (1) FIFO (2) LIFO
และ (3) ถัวเฉลี่ย

งบการเงิน

บทบาทของการบัญชีบริหาร
การบัญชีบริหาร คือ การบัญชีเพื่อการวางแผน ควบคุมและการตัดสินใจในกิจกรรมต่าง ๆ ของกิจการ
การบัญชีการเงินและการบัญชีการบริหาร
การบัญชีการเงิน คือ การบัญชีที่เกี่ยวกับการจัดเก็บรวบรวม จำแนก และรายงานข้อมูลทางการเงินของกิจการที่เกิดขึ้นในอดีตให้กับบุคคลภายนอกที่ต้องการข้อมูลทางการเงิน
การบัญชีการบริหาร จะมีหลักการเกี่ยวกับหารให้ข้อมูลทางการเงินแก่ผู้บริหารภาายในกิจการใช้ในการวางแผน ควบคุม และการตัดสินใจในการดำเนินกิจการต่าง ๆ ของกิจการ
ความแตกต่างระหว่างการบัญชีการเงินและการบัญชีการบริหาร
บัญชีการเงิน
เสนอข้อมูลแก่บุคคลภายนอก
จัดทำภายใต้ข้อบังคับของกฎหมาย
จัดทำขึ้นตามหลักการบัญชีที่ยอมรับโดยทั่วไป
ข้อมูลจะถูกเสนอตามเวลาที่ผู้บริหารเกิดความต้องการ
เป็นข้อมูลที่เกิดขึ้นในอดีต
เสนอข้อมูลในภาพรวมของกิจการ
เสนอข้อมูลที่เกี่ยวกับรายการดำเนินงาน
ข้อมูลจะถูกเสนอตามรอบบัญชี
บัญชีบริหาร
เสนอข้อมูลแก่ผู้บริหาร
ไม่อยู่ภายใต้ข้อบังคับของกฎหมาย
ยืดหยุ่นตามประเด็นของปัญหาการตัดสินใจ
เน้นข้อมูลที่เกี่ยวข้อกับการตัดสินใจ
เน้นข้อมูลที่เกิดขึ้นในอดีต
เน้นเสนอข้อมูลของกิจการโดยเฉพาะส่วนใดส่วนหนึ่งของกิจการ
เสนอข้อมูลทั้งทางด้านเชิงคุณภาพและข้อมูลจากปัจจัยภายนอกก เช่น ภาวะเศรษฐกิจ
ข้อมูลจะถูกเสนอตามเวลาที่ผู้บริหารเกิดความต้องการ

การบัญชีต้นทุนกับการบัญชีบริหาร
บัญชีต้นทุน คือ กระบวนการจดบันทึกและรายงานข้อมูลต้นทุนของผลิตภัณฑ์หรือบริการ ลักษณะภาพรวม โดยวิธี
การรับรู้ การจำแนก การจัดสรร การรวบรวม ตลอดจนการเปรียบเทียบและวิเคราะห์ข้อมูลต้นทุน มีลักษณะ คล้ายกับ การบัญชีบริหาร
การบัญชีต้นทุนเน้นที่การสะสมข้อมูลต้นทุน แต่ บัญชีบริหาร เน้นการใช้ข้อมูลทางด้านต้นทุนเพื่อการวางแผน การควบคุมและการตัดสินใจ
บทบาทหน้าที่ของฝ่ายบริหาร
การวางแผน
การประสานงาน
การควบคุม
การตัดสินใจ
หน้าที่ของผู้อำนวยการฝ่ายบัญชี
ผู้อำนวยการมีอำนาจหน้าที่ในการให้การสนับสนุนให้คำแนะนำและให้บริการข้อมูลทางการเงินตลอดจนบริการทางด้าานต่าง ๆ และอำนาจหลักในการบังคับบัญชาสมาชิกหรือบุคคลในหน่วยงาน
หน้าที่หลัก ๆ ของผู้อำนวยการฝ่ายบัญชี
การวางแผนและการควบคุม
รายงานและวิเคราะห์ข้อมูลทางการเงิน
การบริหารภาษีอากร
การตรวจสอบภายใน
การพัฒนาระบบข้อมูลทางการบัญชี
งบการเงิน
ในการดำเนินงานของกิจการโดยทั่วไปเมื่อสิ้นรอบระยะเวลาบัญชีต้องมีการเสนอข้อมูลทางการเงินเพื่อประเมินผลการดำเนินงานที่ผ่านมาในรูปของงบการเงิน ซึ่งงบการเงินจะเป็นรายงานทางการเงินที่จัดทำขึ้นเพื่อเสนอข้อมูลทางการเงินโดยอาศัยข้อมูลทางการบัญชีในการจัดทำ งบการเงินที่จัดทำขึ้นจะเป็นประโยชน์ต่อบุคคลหลายฝ่ายเช่น เจ้าของกิจการหรือผู้ถือหุ้นต้องการทราบผลการดำเนินงานและฐานะของกิจการเพื่อประโยชน์ในการประเมินประสิทธิภาพของผู้บริหาร เจ้าหนี้ของกิจการต้องการทราบข้อมูลทางการเงินเพื่อพิจารณาความสามารถในการชำระหนี้ของกิจการ รัฐบาลต้องการใช้ข้อมูลทางการเงินเพื่อประเมินภาษี พนักงานสนใจข้อมูลทางการเงินเพื่อประโยชน์ในการเรียกร้องค่าตอบแทนที่สูงขึ้น และผู้สนใจทั่วไปต้องการข้อมูลทางการเงินเพื่อนำไปใช้วิเคราะห์ วิจัยหรืออื่น ๆ ตามวัตถุประสงค์ที่ต้องการ
1. ความหมายของงบการเงิน (Definition of Financial Statement)
งบการเงิน หมายถึง รายงานทางการเงินที่จัดทำขึ้นเพื่อเสนอข้อมูลทางการเงินเกี่ยวกับผลของการดำเนินงานของกิจการสำหรับระยะเวลาใดเวลาหนึ่ง เพื่อแสดงฐานะของกิจการค้า ณ วันใดวันหนึ่ง งบการเงินโดยทั่วไปจะประกอบด้วย งบดุล (Balance Sheet) งบกำไรขาดทุน (Income Statement)
งบแสดงการเปลี่ยนแปลงฐานะการเงิน (Statement of Changes in Financial Position)
นอกจากนี้งบการเงินยังรวมถึงหมายเหตุประกอบงบ งบย่อย และคำอธิบายอื่นซึ่งระบุไว้เป็นส่วนหนึ่งของงบการเงิน
2. ประเภทของงบการเงิน (Types of Financial Statement)
งบการเงินเป็นรายงานทางการเงินที่จัดทำขึ้นเพื่อเสนอข้อมูลทางการเงินเกี่ยวกับผลการดำเนินงานของกิจการและแสดงฐานะการเงินของกิจการ ซึ่งสามารถแบ่งประเภทได้ดังนี้
2.1 ง2.2 บดุล (Balance Sheet)
2.3 ง2.4 บกำไรขาดทุน (Income Statement)
2.5 ง2.6 บแสดง2.7 การเปลี่ยนแปลง2.8 ฐานะการเง2.9 ิน (Statement of Changes in Financial Position)
2.1 งบดุล (Balance Sheet) เป็นงบการเงินที่ทำขึ้นในวันใดวันหนึ่งโดยปกติจะจัดทำ ณ วันสิ้นงวดบัญชีหรือสิ้นปี เพื่อแสดงฐานะของกิจการว่าประกอบด้วย สินทรัพย์ หนี้สิน และส่วนของเจ้าของเป็นจำนวนเท่าใด รวมถึงการหมายเหตุต่อท้ายงบการเงิน ซึ่งเปิดเผยถึงรายละเอียดข้อมูลเกี่ยวข้องกับภาระผูกพันที่อาจเกิดขึ้นได้
2.1.1 การจัดประเภทรายการในงบดุล
รายการในงบดุลจะจัดประเภทรายการได้ดังนี้
สินทรัพย์
1. สินทรัพย์หมุนเวียน
2. เง3. ินลง4. ทุน
5. ที่ดิน อาคาร และอุปกรณ์ (สินทรัพย์ถาวร)
6. สินทรัพย์ไม่มีตัวตน
7. สินทรัพย์อื่น ๆ
หนี้สินและส่วนของเจ้าของ
หนี้สินระยะสั้น หรือหนี้สินหมุนเวียน
หนี้สินระยะยาว
หนี้สินอื่น ๆ
ส่วนของเจ้าของ
สินทรัพย์ (Assets)
สินทรัพย์ หมายถึง สิ่งที่มีมูลค่าเป็นตัวเงิน อาจมีตัวตน หรือไม่มีตัวตนก็ได้ ซึ่งบุคคลหรือกิจการเป็นเจ้าของ โดยจะอยู่ในรูปของสังหาริมทรัพย์ รวมถึงสิทธิเรียกร้องให้ชำระหนี้ หรือค่าใช้จ่ายสำหรับบริการที่จะเกิดขึ้นในรอบระยะเวลาบัญชีถัดไป สินทรัพย์ในงบดุลจะแสดงรายการดังต่อไปนี้
1. สินทรัพย์หมุนเวียน (Current Assets) หมายถึงสินทรัพย์ต่าง ๆ ที่ธุรกิจสามารถเปลี่ยนเป็นเงินสดได้ภายในรอบระยะเวลาดำเนินงานของกิจการ โดยปกติรอบระยะเวลาดำเนินงานจะเป็นรอบ 1 ปี อาจจะน้อยกว่าหรือมากกว่าหนึ่งปีขึ้นอยู่กับลักษณ์ของกิจการสินทรัพย์ที่ถือว่าเป็นสินทรัพย์หมุนเวียนมีดังนี้
1.1 เง1.2 ินสด (Cash) หมายถึง1.3 เง1.4 ินสดในมือ และเง1.5 ินสดที่ฝากธนาคารในบัญ1.6 ชีกระแสรายวัน หรือ ง1.7 ินสดในธนาคารที่สามารถถอนได้ตามที่ต้อง1.8 การสำหรับใช้ดำเนินง1.9 านตามปกติส่วนเง1.10 ินสดที่ฝากในบัญ1.11 ชีเง1.12 ินฝากประจำที่มีอายุไถ่ถอนเกินกว่า 1 ปี และเง1.13 ินสดในรูปเง1.14 ินกอง1.15 ทุน (Fund) ที่มีไว้เพื่อวัตถุประสง1.16 ค์ของ1.17 แต่ละกอง1.18 ทุน ไม้ถือเป็นรายการทีรวมอยู่ในสินทรัพย์หมุนเวียน
1.2 หลักทรัพย์ในความต้องการของตลาด (Marketable Security) หรือเงินลงทุนชั่วคราว (Temporary Investment) เป็นเงินลงทุนที่บริษัทมีอยู่ในรูปของหลักทรัพย์ วัตถุประสงค์เพื่อหาประโยชน์จากเงินสดที่เหลืออยู่ โดยทั่วไปจะลงทุนในหลักทรัพย์ที่มีความคล่องตัวสูง และหลักทรัพย์คงที่ เช่น ตั๋วเงินระยะสั้น พันธบัตรรัฐบาล เพราะโดยปกติการลงทุนประเภทนี้จะเป็นหลักทรัพย์ที่สามารถเปลี่ยนเป็นเงินสดได้ง่าย
1.3 ตั๋วเงินรับ (Note Receivable) เป็นเอกสารที่เกิดจากการค้าสามารถเปลี่ยนเป็นเงินสดเมื่อครบเวลาที่กำหนด เช่น ตั๋วสัญญาใช้เงิน (Negotiable Promisory Note) ตั๋วแลกเงิน (Bill of Exchange) และการรับรองทางการค้า (Trade Aceeptance)
1.4 ลูกหนี้ (Accounts Receivable) หมายถึงลูกหนี้ที่เกิดจากกรขายสินค้าหรือบริการให้แก่ลูกค้าในการดำเนินงานตามปกติของธุรกิจ ซึ่งเรียกว่าลูกหนี้การค้า (Trade Accounts Receivable) แต่ถ้หากเกิดจากสาเหตุอื่นโดยมากจะเรียกว่าลูกหนี้อื่น ๆ (Other Accounts Receivable)
1.5 สินค้าคงเหลือ (Inventory) หมายถึงสินค้าสำเร็จรูปคงเหลือที่มีไว้เพื่อขายวัตถุดิบ งานระหว่างทำ ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับว่าเป็นกิจการที่ซื้อสินค้าสำเร็จรูปมาขาย หรือกิจการที่ผลิตสินค้าเพื่อขาย
1.6 ค่าใช้จ่ายล่วงหน้า (Prepaid Expenses) หมายถึง ค่าใช้จ่ายที่จ่ายล่วงหน้าสำหรับค่าบริการที่จะได้รับในอนาคตอันใกล้ เช่น ค่าโฆษณาจ่ายล่วงหน้า ค่าเช่าจ่ายล่วงหน้า ค่าเบี้ยประกันจ่ายล่วงหน้าฯลฯ
1.7 รายได้ค้างรับ (Accrued Revenue) หมายถึง รายได้ที่เกิดขึ้นในงวดบัญชีปัจจุบันแต่กิจการยังไม่ได้รับชำระเงินซึ่งจะได้รับในงวดบัญชีต่อไป เช่น รายได้ค่าโฆษณาค้างรับ รายได้ค่าเช่าค้างรับเป็นต้น
2. เงินลงทุน (Investment) หมายถึง เงินลงทุนระยะยาวเป็นเงินที่กิจการลงทุนในหลักทรัพย์อื่นๆ เช่น หุ้นกู้ หุ้นสามัญ และตั๋วเงินระยะยาว หรือเงินลงทุนในกองทุนเพื่อการอย่างใดอย่างหนึ่ง เช่น เงินกองทุนเพื่อขยายโรงงาน จุดประสงค์ของการลงทุนระยะยาวเพื่อประโยชน์ในการควบคุม หรือมีส่วนร่วมในการดำเนินงานในกิจการที่ธุรกิจลงทุน หรือเพื่อต้องการรายได้ในรูปของเงินปันผล หรือดอกเบี้ย
3. ที่ดิน อาคาร และอุปกรณ์ (สินทรัพย์ถาวร) (Property, Plant and Equipment ได้แก่
สินทรัพย์ถาวรที่มีอายุการใช้งานเกินกว่า 1 รอบระยะเวลาการดำเนินงานปกติ เช่น ที่ดิน อาคาร อุปกรณ์ เครื่องจักร เครื่องมือเครื่องใช้ ฯลฯ
4. สินทรัพย์ที่ไม่มีตัวตน (Intangible Assets) สินทรัพย์ที่ไม่มีตัวตนมีอายุการใช้งานนานเกินกว่า 1 รอบระยะเวลาบัญชี มีลักษณะเป็นสิทธิข้อเรียกร้อง หรือความได้เปรียบที่บริษัทที่มีอยู่ เช่น ค่าความนิยม นิมิตรสิทธิ เครื่องหมายการค้า สัมปทานบัตร ลิขสิทธิ์ เป็นต้น
5. สินทรัพย์อื่น ๆ (Other Assets) ได้แก่ สินทรัพย์อื่นที่นอกเหนือไปจาก 4 ประเภทข้างต้น

หนี้สิน (Liabilities)
หนี้สิน หมายถึง พันธะผูกพัน หรือสิทธิเรียกร้องเหนือสินทรัพย์ของกิจการจากบุคคลภายนอก หนี้สินของกิจการเกิดขึ้นเนื่องจากการซื้อสินค้า หรือบริการเป็นเงินเชื่อ และการกู้ยืมเงินหรือกรณีอื่น ๆ
หนี้สินในงบดุลจะแสดงรายการหนี้ที่ถึงกำหนดชำระก่อน และตามด้วยหนี้สินระยะยาวดังต่อไปนี้
1. หนี้สินระยะสั้น หรือหนี้สินหมุนเวียน (Short-Term Liabilities หรือ Current Liabilities)
หมายถึง ภาระผูกพันที่กิจการต้องชำระคืนด้วยสินทรัพย์หมุนเวียนที่กิจการมีอยู่ภายใน 1 ปี สินทรัพย์หมุนเวียนสามารถแยกออกได้ดังนี้
1.1 เจ้าหนี้ (Account Payable) เป็นหนี้ที่เกิดจากการซื้อสินค้าหรือบริการ โดยปกติจะต้องชำระหนี้ภายใน 1 ปี
1.2 ตั๋วเง1.3 ินจ่าย (Notes Payable) เป็นหนี้สิน หรือข้อผูกพันที่เกิดขึ้นโดยการรับรอง1.4 ตั๋วเง1.5 ิน
1.6 เง1.7 ินที่เป็นหนี้พนักง1.8 าน หรือลูกจ้าง1.9 บริษัท หรือผู้ถือหุ้นไม่ว่าจะเป็นรูปตั๋วเง1.10 ิน หรือเง1.11 ินคง1.12 ค้าง1.13
1.14 ค่าใช้จ่ายค้าง1.15 จ่าย (Accrued Expenses) หมายถึง1.16 ค่าใช้จ่ายที่กิจการได้รับประโยชน์
ในงวดบัญชีนั้นแล้วแต่ยังไม่ได้จ่ายเงินสำหรับค่าบริการนั้น เช่น ค่าจ้างค้างจ่าย ภาษีเงินได้ค้างจ่าย ดอกเบี้ยค้างจ่าย เป็นต้น
1.5 รายได้รับล่วงหน้า (Deferred Credit) หมายถึง เงินที่ลูกค้าได้จ่ายล่วงหน้าให้กับกิจการ เช่น ค่าเช่ารับล่วงหน้า เงินมัดจำสินค้าหรือบริการ
2. หนี้สินระยะยาว (Long-Term Liabilities) หมายถึง หนี้สินที่มีอายุครบกำหนดเกินกว่า 1 ปี ตามปกติแล้วการก่อหนี้สินระยะยาวจะเกิดจากการซื้อสินทรัพย์ถาวร ซึ่งหนี้สินระยะยาวปกติจะมีดอกเบี้ย สำหรับหลักทรัพย์ค้ำประกันหนี้สินประเภทนี้จะมีหรือไม่มีก็ได้ เช่น หนี้จำนอง พันธบัตร
ตั๋วเงินจ่ายระยะยาว เป็นต้น
3. หนี้สินอื่น ๆ (Other Liabilities) หมายถึง หนี้สินที่ไม่อาจระบุให้อยู่ในข้อ 1 และข้อ 2 ข้างต้น เป็นหนี้ที่ไม่อาจระบุอายุได้ว่าจะชำระภายในระยะสั้นหรือระยะยาว และเป็นหนี้ที่ไม่แน่นอนว่าจะเกิดขึ้นหรือไม่ เช่น หนี้ที่อาจเกิดขึ้นในอนาคต เป็นต้น

ส่วนของเจ้าของ (Owners’ Equity)
ส่วนของเจ้าของ หมายถึง สินทรัพย์สุทธิของกิจการ หรือสิทธิเรียกร้องของเจ้าของในสินทรัพย์หรือส่วนได้เสียในสินทรัพย์ของกิจการภายหลังจากหักสิทธิเรียกร้องของเจ้าหน้าที่หมดแล้ว ส่วนของเจ้าของในกิจการประกอบด้วย
1. เง2. ินลง3. ทุน
2. กำไรสะสม
ถ้าธุรกิจประกอบการในรูปบริษัทจำกัด เงินลงทุนจะเป็นหุ้นสามัญหรือหุ้นบุริมสิทธิ ซึ่งจะแยกเป็น 2 ส่วนคือ มูลค่าหุ้นขั้นต่ำที่กำหนดไว้ตามกฎหมาย และส่วนเกินจากมูลค่าหุ้นส่วนที่เป็นกำไรสะสมของบริษัทคือ ยอดรวมของกำไรสุทธิแต่ละปี ยอดนี้จะลดลงเมื่อมีผลขาดทุน หรือเมื่อจ่ายเงินปันผล
ถ้าธุรกิจประกอบการในรูปบุคคลคนเดียว เงินลงทุนจะมีบัญชีเดียวคือบัญชีทุน ซึ่งจะรวมบัญชีกำไรสะสมและบัญชีเงินถอนไว้ในบัญชีเดียวกัน
ถ้าธุรกิจประกอบการในรูปห้างหุ้นส่วน จะแยกบัญชีทุนของหุ้นส่วนแต่ละคนไว้คนละบัญชี และมีบัญชีกระแสทุนไว้ลงรายการเปลี่ยนแปลงของเงินทุนแต่ละคน
2.1.2 จากข้อมูลรายละเอียดจากการจัดประเภทรายการในง2.1.3 บดุลข้าง2.1.4 ต้น สามารถแสดง2.1.5 ตัวอย่าง2.1.6 ง2.1.7 บดุลได้ดัง2.1.8 นี้
ตัวอย่างงบดุล
บริษัท ขนิษฐา จำกัด
งบดุล
ณ 31 ธันวาคม 2540
สินทรัพย์
สินทรัพย์หมุนเวียน :- บาท
เงินสด 500,100
เงินฝากธนาคาร 84,000
หลักทรัพย์ในความต้องการของตลาดราคาทุน
(ราคาตลาด 751,500) 718,800
ตั๋วเงินรับ 30,000
ลูกหนี้การค้า 1,244,250
หัก ค่าเผื่อหนี้สงสัยจะสูญ 102,450 1,141,800
สินค้าคงเหลือ 1,719,900
ค่าเบี้ยประกันจ่ายล่วงหน้า 22,800 4,217,400


เงินลงทุน :-
เงินลงทุนในหลักทรัพย์ 567,750
ที่ดิน อาคาร และอุปกรณ์ :-
ที่ดิน 154,500
อาคาร 1,282,500
หัก ค่าเสื่อมราคาสะสม 493,500 789,000
อุปกรณ์ 2,824,500
หัก ค่าเสื่อมราคาสะสม 762,000 2,062,500 3,006,000
สินทรัพย์ที่ไม่มีตัวตน :-
ค่าใช้จ่ายในการจัดตั้งบริษัท 69,000
ค่าความนิยม 280,500 349,500
สินทรัพย์อื่น ๆ :-
มูลค่าราคาเวนคืนกรมธรรม์ 83,700
รวมสินทรัพย์ 8,224,350
หนี้สินและส่วนของผู้ถือหุ้น
หนี้สินหมุนเวียน :-
เจ้าหนี้การค้า 147,000
เงินกู้ธนาคาร 534,750
เงินเดือนและค่าใช้จ่ายค้างจ่าย 358,200
ค่าภาษีค้างจ่าย 618,000 1,657,950
หนี้สินะยะยาว :-
หุ้นกู้ครบกำหนด 31 ธ.ค. 2549 840,000
ตั๋วเงินจ่ายระยะยาว 42,000 2,539,950
ส่วนของผู้ถือหุ้น “-
ทุนจดทะเบียน 7,500 หุ้น หุ้นละ 100 และชำระแล้ว 750,000
ส่วนเกินมูลค่าหุ้น 423,000
กำไรสะสม 4,511,400 5,684,400 รวมหนี้สินและส่วนของผู้ถือหุ้น 8,224,350
2.2 งบกำไรขาดทุน (Income Statement) เป็นรายงานทางการเงินที่ทำขึ้นเพื่อแสดงว่าในระยะเวลาหนึ่ง ๆ กิจการมีรายได้รวมทั้งสิ้นเท่าใด และมีค่าใช้จ่ายทั้งสิ้นเท่าใด หากรายได้รวมทั้งสิ้นมากกว่ารายได้รวมทั้งสิ้น

2.2.1 การแบ่ง2.2.2 ประเภทรายการในง2.2.3 บกำไรขาดทุน
1. รายได้ (Income or Revenues) หมายถึง ผลตอบแทนจากการที่กิจการได้รับจากการประกอบการโดยปกติของกิจการอันเนื่องมาจากการจำหน่ายสินค้าหรือให้บริการ รวมถึงการลงทุนในสินทรัพย์ ซึ่งเป็นผลทำให้สินทรัพย์และส่วนของเจ้าของเพิ่มขึ้น หรือหนี้สินลดลง
รายได้แบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ
1.1 รายได้จากการขาย (Sale) หรือรายได้จากการดำเนินง1.2 าน
(Operating Revenues) หมายถึง รายได้จากการขายสินค้าหรือบริการ ซึ่งเป็นรายได้เกิดจากการดำเนินงานปกติ
1.2 รายได้อื่น ๆ (Other Revenues) หมายถึง รายได้ที่ไม่เกี่ยวข้องกับการดำเนินงานปกติ ตามข้อ 1.1 ได้แก่ ดอกเบี้ยรับ กำไรจากการขายสินทรัพย์ถาวร เงินปันผลรับ เป็นต้น
2. ค่าใช้จ่าย (Expenses) หมายถึง สินทรัพย์ของกิจการที่ลดลงหรือหนี้สินที่เพิ่มขึ้นอันเนื่องมาจากการผลิต การจัดหาสินค้าและค่าใช้จ่ายต่าง ๆ เพื่อการจำหน่ายสินค้าและบริการ ค่าใช้จ่ายสามารถแบ่งตามประเภทของธุรกิจได้ดังนี้
2.1 กิจการให้บริการ กิจการให้บริการจะมีค่าใช้จ่ายที่แสดง2.2 ในง2.3 บกำไรขาดทุน 2 ประเภท
2.1.1 ค่าใช้จ่ายในการดำเนินงาน (Operating Expenses) ได้แก่ ค่าพาหนะ ค่าน้ำ ค่าไฟฟ้า ค่าโทรศัพท์
2.1.2 ค่าใช้จ่ายอื่น ๆ (Other Expenses) เช่น ดอกเบี้ยจ่าย ขาดทุนจากการขายสินทรัพย์ถาวร เป็นต้น
2.2 กิจการขายสินค้า กิจการขายสินค้าจะมีค่าใช้จ่ายที่แสดง2.3 ในง2.4 บกำไรขาดทุน 2 ประเภท คือ
3.2.1 ต้นทุนขาย (Cost Of Goods Sold) หมายถึง3.2.2 ต้นทุนสินค้าที่ขายในระหว่าง3.2.3 ง3.2.4 วด
3.2.5 ค่าใช้จ่ายดำเนินง3.2.6 าน (Operating Expenses) แบ่ง3.2.7 ออกเป็น 2 ประเภท คือ
- ค่าใช้จ่ายในการขาย (Selling Expenses) เช่น เงินเดือนพนักงานขาย
ค่านายหน้า ค่าโฆษณา
ค่าใช้จ่ายในการบริหารและทั่วไป (Administrative and General Expenses) ได้แก่ เงินเดือนฝ่ายบริหาร ค่าน้ำ ค่าไฟฟ้า ค่าเสื่อมราคา เป็นต้น
3.2.8 ค่าใช้จ่ายอื่น ๆ (Other Expenses) ได้แก่ ดอกเบี้ยจ่าย ขาดทุนจากการขายสินทรัพย์ถาวร เป็นต้น

4. กำไรสุทธิหรือขาดทุนสุทธิ (Net Income or Net loss) ในกรณีที่รายได้มากกว่าค่าใช้จ่ายจะเกิดผลกำไรสุทธิ แต่ถ้ารายได้น้อยกว่าค่าใช้จ่ายจะเกิดผลขาดทุนสุทธิ
5. รายการพิเศษ (Extraordinary Items) หมายถึง6. รายได้หรือค่าใช้จ่ายที่ไม่ได้เกิดจากการดำเนินง7. านตามปกติของ8. กิจการ จะเกิดภายใต้เง9. ื่อนไข 2 ประการ คือ
4.1 มีลักษณะผิดปกติ
9.2 ไม่เกิดเป็นประจำ
10. ภาษีเง11. ินได้ (Income Tax) รายจ่ายของ12. กิจการที่ต้อง13. จ่ายให้กับรัฐบาลตามกำไรที่หามาได้ตามง14. วดบัญ15. ชีหนึ่ง16.
17. กำไรต่อหุ้น (Earnings Per Share) หาได้โดยการนำกำไรสุทธิหารด้วยจำนวนหุ้นของ18. บริษัททั้ง19. หมด
จากข้อมูลรายละเอียดการจัดประเภทรายการในงบกำไรขาดทุนข้างต้นสามารถแสดงตัวอย่างงบกำไรขาดทุนได้ดังต่อไปนี้
ตัวอย่างงบกำไรขาดทุน
บริษัท ขนิษฐา จำกัด
งบกำไรขาดทุน
สำหรับปี สิ้นสุดวันที่ 31 ธันวาคม 2540
บาท
ขาย 1,800,000
หัก รับคืนและส่วนลด 55,800
ขายสุทธิ 1,744,200
ต้นทุนขาย
สินค้าคงเหลือต้นงวด 456,000
ซื้อสินค้า 1,129,500
ค่าขนส่งเข้า 3,600
1,133,100
หัก ส่งคืนและส่วนลด 36,600 1,096,500
สินค้ามีไว้เพื่อขาย 1,552,500
หัก สินค้าคงเหลือปลายงวด 478,500
ต้นทุนขาย 1,074,000
กำไรขั้นต้น 670,200
หัก ค่าใช้จ่ายดำเนินงาน :- 330,000
ค่าใช้จ่ายในการขาย 129,000
รวมค่าใช้จ่ายดำเนินงาน 459,000
กำไรจากการดำเนินงาน 211,200
บวก รายได้อื่น ๆ
ค่าเช่ารับ 3,600
ดอกเบี้ย และเงินปันผลรับ 14,000
กำไรจากการขายสินทรัพย์ถาวร 36,000 54,000
หัก ค่าใช้จ่ายอื่น ๆ :-
ดอกเบี้ยจ่าย 13,500
ขาดทุนจากการขายเงินลงทุน 10,500 24,000 30,000
กำไรก่อนหักภาษีและรายการพิเศษ 241,200
หัก ภาษีเงินได้ 30% 72,360
กำไรก่อนหักรายการพิเศษ 168,840
รายการพิเศษ :
ขาดทุนจากสินค้าถูกไฟไหม้ 30,000
หัก ภาษีที่ประหยัดได้ 9,000 21,000กำไรสุทธิ 147,840กำไรต่อหุ้น (หุ้นสามัญออกจำหน่าย 20,000 หุ้น) 8.44*
รายการพิเศษต่อหุ้น (1.05)**กำไรสุทธิต่อหุ้น 7.39* *
กำไรต่อหุ้น = 168,000 = 8.44
20,000
**รายการพิเศษต่อหุ้น = 21,000 = 1.05
20,000

3.สมมติขั้นมูลฐานของการบัญชี
หลักการใช้หน่วยเงินตราในการบัญชี
หลักความเป็นหน่วยงานของกิจการ
หลักการใช้หลักฐานอันเที่ยงธรรม
หลักรอบเวลา
หลักความดำรงอยู่ของกิจการ
หลักราคาทุน
หลักการเกิดขึ้นของรายได้
หลักการจับคู่ค่าใช้จ่ายกับรายได้
หลักเงินค้าง
หลักโดยประมาณ
หลักความสม่ำเสมอ
หลักการเปิดเผยข้อมูลอย่างเพียงพอ

วันศุกร์ที่ 13 มีนาคม พ.ศ. 2552

ทฤษฎีความเสี่ยงของการลงทุนในหลักทรัพย์

ความเสี่ยง(Risk) หรือ ความไม่แน่นอน (uncertainty) เกิดขึ้นได้เมื่อสภาพที่ไม่อาจรู้ได้แน่นอนว่าจะเกิดอะไรขึ้น โอกาสที่ผลตอบแทนที่ได้รับจริง (Actual Return) ต่ำ กว่าผลตอบแทนที่นักลงทุนคาดหวังไว้ (Expected Return) อันเนื่องมาจากสาเหตุต่างๆ

ผู้ลงทุนพยายามหลีกเลี่ยงความเสี่ยงหรือลดความเสี่ยงให้เหลือน้อยที่สุด ซึ่งแต่ละบุคคลยอมรับความเสี่ยงในระดับที่แตกต่างกันออกไป ขึ้นอยู่กับความชอบ ทัศนคติ แรงจูงใจของผู้ลงทุนนั้นว่ามากน้อยเพียงใดซึ่งในการเลือกลงทุนที่ให้ผลตอบแทนที่ดี หากผู้ลงทุนพิจารณาถึงความเสี่ยงจากการลงทุน โดยพิจารณาเฉพาะแล้ว จะทำให้เกิดความผิดพลาดจากการลงทุนได้ ปกติแล้วความเสี่ยงรวม (Total Risk) หาได้จากค่าความเบี่ยงเบนมาตราฐาน ซึ่งประเภทของความเสี่ยงจากการลงทุนในหลักทรัพย์จำแนกได้เป็น 2 ประเภทใหญ่คือ

ความเสี่ยงที่เป็นระบบ (Systematic Risk)

คือ การเปลี่ยนแปลงของผลตอบ แทนจากการลงทุนในหลักทรัพย์ที่เปลี่ยนแปลงไปที่เกิดจากการเปลี่ยนแปลงของสภาพ แวดล้อมภายนอกของธุรกิจ ซึ่งไม่สามารถควบคุมได้และมีผลกระทบต่อราคาหลักทรัพย์ในตลาดทั้งหมด ซึ่งเมื่อเกิดขึ้นแล้วจะทำให้ราคาหลักทรัพย์โดยทั่วๆไปเปลี่ยนแปลงไปในทิศทางเดียวกัน สามารถแบ่งเป็น

1.1 ความเสี่ยงเกี่ยวกับตลาดหลักทรัพย์ (Market risk) คือ ความเสียงอันเกิดจากการสูญเสียในเงินลงทุน ซึ่งเป็นผลเนื่องมาจากการเปลี่ยนแปลงราคาหุ้นและสินทรัพย์ต่างๆในตลาด เพราะราคาหลักทรัพย์เปลี่ยนแปลงขึ้นลงอยู่ตลอดเวลา โอกาสสุญเสียหรือ ขาดทุนเนื่องจากการเคลื่อนไหวของราคาหลักทรัพย์ในตลาดหลักทรัพย์มีมากความเสี่ยงทางการตลาด เป็นเรื่องเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงของราคาหลักทรัพย์ในตลาดหลักทรัพย์ ไม่เกี่ยวกับการประเมินมูลค่าที่แท้จริงของหลักทรัพย์ ถึงแม้ว่าความสามารถในการทำกำไร (earning power) ของกิจการไม่เปลี่ยนแปลง แต่ราคาหลักทรัพย์ที่เปลี่ยน แปลงนั้นขึ้นอยู่กับ demand และ supply ของหลักทรัพย์ประเภทนั้นๆ ในตลาดซึ่งอยู่เหนือการควบคุมของบริษัท สาเหตุเหล่านี้ ได้แก่ สงคราม การตายของผู้บริหารประเทศ ปีที่มีการเลือกตั้งผู้บริหารประเทศ นโยบายการเมือง การเก็งกำไร ที่เกิดขั้นในตลาดหุ้นและการเปลี่ยนแปลงในราคาหุ้นนี้จะเกิดจากการคาดคะเนของผู้ลงทุนที่มีต่อความก้าว หน้า (Prospect) ของบริษัทนั้น

1.2 ความเสี่ยงในอัตราดอกเบี้ย (Interest rate risk) คือความเสี่ยงที่เกิดจากการเปลี่ยนแปลงในผลตอบแทน อันเนื่องมาจากการเปลี่ยนแปลงในอัตราดอกเบี้ยทั่วไปในตลาด อัตราดอกเบี้ยในตลาดระยะยาวจะมีการเคลื่อนไหวอยู่ตลอดเวลา การเปลี่ยนแปลง ในอัตราดอกเบี้ยมีผลทำให้หลักทรัพย์ต่างๆ กระทบการะเทือนในลักษณะเดียวกัน เช่น ถ้าอัตราดอกเบี้ยในตลาดทั่วๆไปปรับตัวสูงขึ้น จะมีผลทำให้ราคาหลักทรัพย์ในตลาดหลักทรัพย์ลดลง เพราะนักลงทุนจะทำการเปรียบเทียบผลตอบแทนและความเสี่ยงระหว่างการฝากเงินไว้กับสถาบันการเงินกับการลงทุนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยถ้านักลงทุนเห็นว่าผลตอบแทนจากดอกเบี้ยสูงกว่าผลตอบแทนจากการลงทุนในหลักทรัพย์ก็จะขายหลักทรัพย์ที่ตนถือครองอยู่ออกมา มีผลทำให้ราคาหลักทรัพย์ลดต่ำลง

1.3 ความเสี่ยงในอำนาจซื้อหรือภาวะเงินเฟ้อ (Purchasing power risk or Inflation Risk) คือความเสี่ยงที่เกิดจากระดับราคาสินค้าโดยทั่วไปสูงขึ้น ซึ่งมีผลทำให้มูลค่าของเงินลดลง จึงทำให้อำนาจการซื้อลดต่ำลงไปด้วย เพราะจำนวนเงินที่ได้รับเท่าเดิมแต่ค่าของเงินลดลง หรือที่เรียกว่าภาวะเงินเฟ้อ ซึ่งนักลงทุนหรือสถาบันการเงินจะถูกกระทบกระเทือนเกี่ยวกับอำนาจซื้ออย่างมาก โดยเฉพาะอย่างยิ่งเงินฝากประเภทออมทรัพย์ (saving account) พันธบัตรรัฐบาล หุ้นกู้ การประกันชีวิต (Life insurance) และหลักทรัพย์ประเภทอื่นๆ ซึ่งได้รับดอกเบี้ยในอัตราคงที่ ดังนั้นความเสี่ยงประเภทนี้ไม่ได้ทำให้อัตราผลตอบแทนจากการลงทุนเปลี่ยนแปลง แต่มีผลทำให้ผลตอบแทนที่แท้จริงลดลง

ความเสี่ยงที่ไม่เป็นระบบ(Unsystematic Risk)

ความเสี่ยงที่เกิดขึ้นเฉพาะกิจการหนึ่ง หรือ อุตสาหกรรมใดอุตสาหกรรมหนึ่ง ซึ่งเมื่อเกิดเหตุการณ์นี้แล้วจะมีผลกระทบต่อราคาหลักทรัพย์ของธุรกิจนั้น ไม่มีผลกระทบต่อราคาหลักทรัพย์อื่นในตลาดความเสี่ยงที่ถูกจัดอยู่ในความเสี่ยงที่ไม่เป็นระบบ ได้แก่ ความเสี่ยงทางธุรกิจ (Business Risk) โดยประกอบด้วยความเสี่ยงต่างๆดังนี้

2.1 ความเสี่ยงทางการเงิน (Financial Risk) หมายถึง โอกาสที่ผู้ลงทุนจะเสียรายได้และเงินลงทุน หากบริษัทผู้ออกหลักทรัพย์ไม่มีเงินชำระหนี้อาจทำให้บริษัทถึงกับล้มละลาย

2.2 ความเสี่ยงทางการบริหาร (Management Risk) เป็นความเสี่ยงอันเกิดจากการบริหารงานของผู้บริหาร เช่น ความผิดพลาดของผู้บริหาร และการธุรกิจของผู้บริหาร

2.3 ความเสี่ยงทางอุตสาหกรรม (Industry Risk) เป็นความเสี่ยงที่เกิดจากแรงผลักดันบางอย่าง ที่ทำให้ผลตอบแทนของธุรกิจทุกแห่งในอุตสาหกรรมประเภทเดียวกันหรือบางอุตสาหกรรมถูกกระทบกระเทือน
ทฤษฎีปริมาณเงิน (The Modern Quantity theory of money)

ทฤษฎีนี้พัฒนาขึ้นโดย Milton Friedman และนักเศรษฐศาสตร์ในมหาวิทยาลัยชิคาโกโด้เผยแพร่ผลงานเพื่อสนับสนุนการมีเสถียรภาพของความต้องการถือเงินตลอดจนผลกระทบที่เกิดขึ้นจากการเปลี่ยนแปลงปริมาณเงินที่มีต่อตัวแปรทางเศรษฐกิจที่สำคัญทฤษฎีปริมาณเงินสมัยใหม่นี้ได้พิจารณาความต้องการถือเงินจากการที่มีความเห็นเกี่ยวกับเงินว่าเงินเป็นสินทรัพย์ประเภทหนึ่งในจำนวนสินทรัพย์อื่นๆ ที่มีมากมาย (portfolio of assets) ซึ่งจัดได้ว่าเป็นการประยุกต์ทฤษฎีทุน(capital theory) เข้ากับการอธิบายพฤติกรรมความต้องการถือเงิน โดยถือว่าเงินมีลักษณะการถือสินค้าทุนในรูปแบบอื่นๆ Friedman ได้วิเคราะห์ถึงปัจจัยที่สำคัญและเกี่ยวข้องกับความต้องการถือเงินของบุคคลมีอยู่ 4 ประการคือ ระดับรายได้ที่แท้จริง ระดับราคา ระดับอัตราดอกเบี้ยที่แท้จริงและการเพิ่มขึ้นของระดับราคาและอัตราเงินเฟ้อ

โดยปัจจัย 2 เป็นตัวแรกที่มีความสัมพัน์ในทิศทางตรงกับความต้องการถือเงินและปัจจัย 2 ตัวหลังมีความสัมพันธ์ในทิศทางตรงกันข้าม ซึ่ง Friedman ว่าการเปลี่ยนแปลงของความต้องการถือเงินจะเป็นสัดส่วนเดียวกันกับระดับราคาและเป็นสัดส่วนที่มากกว่าระดับรายได้ที่แท้จริงโดยระดับราคาที่มีผลต่อการเปลี่ยนแปลงความต้องการถือเงินดังนี้คือ ถ้าระดับราคาสินค้าสูงขึ้น มูลค่าของเงินที่แท้จริงจะลดลงและเพื่อที่จะรักษาระดับดุลยภาพของความต้องการถือเงินเอาไว้บุคคลต่างๆก็จะต้องเพิ่มจำนวนของปริมาณเงินที่ต้องการถือเอาไว้เพิ่มมากขึ้นเพื่อที่จะซื้อสินค้าได้ในปริมาณเท่าเดิม แต่ถ้าระดับราคาของสินค้าลดลง บุคลก็จะลดปริมาณเงินที่ถือเอาไว้ทั้งนี้เพราะมูลค่าที่แท้จริงของเงินได้เพิ่มขึ้น ส่วนอัตราดอกเบี้ยที่แท้จริง คือต้นทุนของการถือเงินที่เป็นมูลค่าแท้จริงเพิ่มสูงขึ้น

ความมั่งคั่งรวม (total wealth) เป็นปัจจัยหนึ่งที่จะจำกัดขอบเขตของความสามารถที่จะมีความต้องการถือเงินและมีความสัมพันธ์ในทิศทางเดียวกันกับความต้องการถือเงินนักลงทุนกฤษฎีปริมาณเงินสมัยใหม่ได้พิจารณาถึงความมั่งคั่งรวมประกอบด้ยแหล่งที่มาของรายได้หรือบริการที่สามารถนำมาเพื่อการบริโถคได้ทุกประเภทแหล่งที่มาของรายได้ที่สำคัญของบุคคลทั้งหลายก็คือความสามารถในการผลิต (productivity capacity) ของตนเองโดยที่บุคคลจะต้องใช้ความสามารถในตนเองทำการผลิตสิ่งต่างๆเพื่อให้ได้ผลตอบแทนออกมาในรูปของรายได้หรือเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า human wealth ซึ่ง Friedman ได้ให้ความสำคัญโดยถือว่าเป็นอีกรูปแบบหนึ่งของความมั่งคั่งที่สามารถดำรงได้ การพิจารณาความมั่งคั่งในลักษณะนี้รายได้จะเข้ามามีอิทธิพลต่อความต้องการถือเงิน โดยมีบทบาทเป็นส่วนหนึ่งหรือเป็นตัวแทนของความั่งคั่งเท่านั้น รายได้ที่แท้จริงตามความหมายของ Friedman จะแตกต่างจากความหมายที่ใช้กันโดยทั่วไป คือใช้ในความหมายของรายได้ระยะยาวหรือรายได้ถาวร (permanent income) และรายได้ชั่วครั้งชั่วคราว (transitory income)



Measure income = transitory income + permanent income



รายได้ถาวรนั้น หมายถึง รายได้ที่บุคคลคาดการณ์ว่าจะได้รับอย่างแน่นอนตลอดชั่วชีวิตของคนเรา (ซึ่งถือว่าเป็นผลตอบแทนของ human capital) หรือหมายความว่าเป็นรายได้ที่คาดว่าจะเกิดขึ้น(expected income) และ Friedman ไม่เห็นด้วยกับการนำเอาข้อมูลรายได้ประชาชาติจากบัญชีรายได้ประชาชาติที่เกิดขึ้นในแต่ละปี (actual income) มาเป็นข้อมูลที่ใช้วัดขนาดรายได้ที่คาดว่าจะเกิดขึ้นทั้งนี้เพราะขนาดของรายได้ที่คาดกับที่เกิดขึ้นจริง อาจมีความแตกต่างกันอันเนื่องมาจากมีรายได้ที่เกิดขึ้นมาจากเหตุการณ์ที่ไม่ด้คาดไว้ล่วงหน้า (Unexpected Or Transitory Event) ซึ่งรายได้ที่เกิดขึ้นมาจากเหตุการณ์ที่ไม่ได้คาดหวังนี้ไม่ควรเจ้ามามีผลกระทยต่อความต้องการถือเงิน ดังนั้นรายได้ที่มีผลกระทบต่อความต้องการถือเงินเป็นเพียงเฉพาะรายได้ถาวรหรือรายได้ที่คาดหวังเท่านั้น

Human Wealth / Non Human Wealth เนื่องจากความมั่งคั่งที่มีอยู่ในทุกรูปแบบยกเว้น Human Wealth สามารถที่จะมีตลาดสำหรับซื้อหรือขายได้ แต่ตลาดสำหรับการซื้อขาย Human Wealth นั้นไม่มีเพราะว่า Human Wealth ก็คือความสามารถของบุคคลที่จะเปลี่ยนแปลงไปให้อยู่ในรูปของรายได้ในอนาคตและเป็นการทำให้ Human Wealth ที่ดำรงอยู่มีมูลค่าปัจจุบันที่สูงขึ้น ในเรื่องนี้ความสามารถของบุคคลที่มีข้อจำกัดในการเปลี่ยนแปลง Human Wealth ให้ไปอยู่ในรูปความมั่งคั่งประเภทอื่นซึ่งมนทางปฎิบัตแล้ว มูลค่าปัจจุบันของ Human Wealth ประเมินได้ยากกว่าความมั่งคั่งในรูปแบบอื่น Friedman จึงได้นำเอาสัดส่วนของ Human Wealth/ Non Human wealth มาเป็นตัวแปรอีกตัวหนึ่งในฟังก์ชั่นความต้องการถือเงินโดยถ้าสัดส่วนดังกล่าวมีอยู่ในความมั่งคั่งรวมมากขึ้น จะทำให้ความต้องการถือเงินลดลง

อัตราผลตอบแทนที่เป็นตัวเงินที่คาดว่าจะได้รับจากการถือพันธบัตร (ib) ผู้ถือพันธบัตรจะได้รับผลตอบแทนในรูปของดอกเบี้ยที่เป็นตัวเงินแน่นอนในระยะเวลาที่กำหนด แต่ในขณะที่ถือพันธบัตรนั้นราคาซื้อขายของพันธบัตรในท้องตลาดจะมีการเปลี่ยนแปลงไปตามกลไกของตลาดอัตราผลตอบแทนที่เป็นตัวเงินจากการถือพันธบัตรจึงประกอบไปด้วยสองส่วน คือ รายได้จากดอกเบี้ย ซึ่งจะมีจำนวนคงที่และอีกส่วนมาจากกำไรหรือขาดทุนจากการขายพันธบัตร (Capital Gain Or Capital loss) ที่จะเกิดขึ้น ราคาของพันธบัตรจะแปรผันไปในทิศทางตรงกันข้ามกับการลี่ยนแปลงของอัตราดอกเบี้ยดังนั้นการเปลี่ยนแปลงของอัตราดอกเบี้ยก็สามารถที่จะถูกนำมาใช้วัดถึงของ Capital Gain หรือ Capital Lossที่จะเกิดขึ้นจากการถือพันธบัตรนั้นด้วยและการเปลี่ยนแปลงของอัตราดอกเบี้ยที่คาดคะเนจะถูกนำมาใช้ในการตัดสินใจลงทุนของบุคคลด้วย

อัตราผลตอบแทนที่เป็นตัวเงินที่คาดว่าจะได้รับจากการถือเงิน (im) การถือเงินจะให้ผลตอบแทนในรูปที่เป็นตัวเงินหรือไม่นั้น ขึ้นอยู่กับรูปแบบหรือชนิดของเงินที่ถือว่าอยู่ในรูปแบบใดถ้าถือในรูปเงินสดก็จะไม่มีผลตอบแทนในรูปที่เป็นตัวเงินแก่ผู้ถือ ในขณะที่เงินฝากประจำให้ผลตอบแทนที่เป็นตัวเงินแก่ผู้ถือและให้ทางตรงกันข้ามการถือเงินฝากระแสรายวันที่ผู้ถือต้องเสียค่าธรรมเนียมให้กับธนาคาร (Bank Charges) ตามที่กำหนด ซึ่งมีลักษณะของผลตอบแทนที่เป็นตัวเงินมีค่าเป็นลบ (Negative return)

อัตราผลตอบแทนที่ได้รับจากการถือหุ้น (ie) การถือหุ้น (Equity) ก็ให้อัตราผลตอบแทนในลักษณะเดียวกันกับความมั่นคั่งในรูปของพันธบัตร คือ ผลตอบแทนในรูปของตัวเงินแบ่งออกเป็น 2 ส่วน ส่วนแรกมาจากเงินปันผลซึ่งได้รับมากหรือน้อยเพียงใดขึ้นอยู่กับกำไรที่เกิดขึ้นของกิจการที่เป็นผู้ออกหุ้น ส่วนที่ 2 เกิดจาการเปลี่ยนแปลงของ capital Value ของหุ้นในระยะเวลาที่ถือหุ้นนั้นอยู่



อัตราการเปลี่ยนแปลงของระดับราคาโดยทั่วไปหรืออัตราเงินเฟ้อ อัตราการเปลี่ยนแปลงของระดับราคาโดยทั่วไป จะมีผลทำให้มูลค่าของปริมาณเงินที่บุคคลถืออยู่เปลี่ยนแปลงไป โดยมีทิศทางความสัมพันธ์กันในทางตรงกันข้ามถ้าอัตราการเปลี่ยนแปลงของระดับราคาโดยทั่วไปสูงขึ้น มูลค่าที่แท้จริงของปริมาณเงินจะลดลงแต่ถ้าอัตราการเปลี่ยนแปลงของระดับราคาโดยทั่วไปลดลงก็จะทำให้มูลค่าที่แท้จริงของปริมาณเงินเพิ่มขึ้นด้วย
รสนิยมและความพอใจ (u) เป็นตัวแปรที่แสดงอรรถประโยชน์ (utility) ที่บุคคลได้รับจากการบริการที่มาจากการถือเงินและบริการที่มาจากการถือสินทรัพย์ประเภทอื่นๆ

การนำเอาทฤษฎีมาเป็นพื้นฐานที่ใช้วิเคราะห์ในการศึกษานี้จะอธิบายถึงผลกระทบที่เกิดขึ้นจากการเปลี่ยนแปลงของปริมาณเงินที่มีต่อราคาหลักทรัพย์และมูลค่าการซื้อขายทั้งทางตรงและทางอ้อม ตามแนว ความคิดของทฤษฎีปริมาณเงินสมัยใหม่ดังนี้
1. ผลกระทบของการเปลี่ยนแปลงปริมาณเงินต่อราคาหลักทรัพย์และมูลค่าการซื้อขาย โดยที่ถ้าปริมาณเงินสูงขึ้นจะมีผลทำให้ปริมาณเงินที่แท้จริงที่บุคคลถืออยู่มีมากขึ้นเกินกว่าความต้องการถือเงินที่แท้จริงของบุคคลดังนั้นเพื่อรักษาดุลยภาพของปริมาณเงินที่แท้จริง บุคลต่างๆเหล่านี้ก็จะปรับตัวเพื่อให้ปริมาณเงินมีพอดีกับที่ต้องการถือ โดยนำปริมาณเงินส่วนเกินไปซื้อหลักทรัพย์ทำให้อุปสงค์ (Demand๗ในหลักทรัพย์เพิ่มขึ้น มูลค่าการซื้อขายจะเพิ่มขึ้นและในทางตรงกันข้ามถ้าปริมาณเงินลดลงปริมาณเงินที่แท้จริงที่บุคคลถืออยู่จะลดลง บุคคลจะรักษาดุลยภาพปริมาณเงินไว้โดยการเปลี่ยนความมั่งคั่งในรูปหลักทรัพย์ให้มาอยู่ในรูปของเงินสดทำให้มูลค่าของปริมาณการซื้อขายหลักทรัพย์ลดลง
2. ผลกระทบของการเปลี่ยนแปลงในอัตราดอกเบี้ยนักเศรษฐศาสตร์การเงินมีความเชื่อว่า การเปลี่ยนแปลงของปริมาณเงินจะมีผลต่อการเปลี่ยนแปลงของอัตราดอกเบี้ยในทิศทางตรงข้าม โดยที่เมื่อปริมาณเงินลดลงจะทำให้อัตราดอกเบี้ยเพิ่มสูงขึ้นซึ่งหมายความว่า หากบุคคลถือทรัพย์ในรูปเงินโดยการฝากกับธนาคารแล้วก็จะได้รับผลตอบแทนในรูปของอัตราดอกเบี้ย แต่หากบุคคลถือสินทรัพย์ในรูปอื่นแทนเงินสดก็จะเกิดต้นทุนค่าเสียโอกาสเท่ากับอัตราดอกเบี้ยในขณะนั้น บุคคลทั่วไปจึงถือเงินสดในขณะดอกเบี้ยสูงขึ้น ความต้องการถือหลักทรัพย์ลดลงทำให้ราคาหลักทรัพย์และมูลค่าการซื้อขายลดลงด้วย ถ้าหากปริมาณเงินเพิ่มขึ้น อัตราดอกเบี้ยจะลดลง ผลตอบแทนที่คาดว่าจะได้รับจากการถือเงินจะลดลง บุคคลจะเลือกถือสินทรัพย์ในรูปของหลักทรัพย์แทน ทำให้ความต้องการถือหลักทรัพย์สูงขึ้น มูลค่าการซื้อขายหลักทรัพย์สูงขึ้น

การวัดค่าความเสี่ยง

การวัดค่าความเสี่ยง สามารถทำได้ในทางสถิติได้หลายวิธีแต่ที่นิยมและใช้กันแพร่ หลายในทฤษฎีการลงทุนได้แก่

ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (standard deviation)

ลักษณะการกระจายตัวของอัตราผลตอบแทนที่อาจเป็นไปได้ โดยรวมระดับอัตราผลตอบแทนที่คาดค่าสถิตินี้จึงควรใช้เพื่อชี้ค่าของความเป็นไปได้ที่ผลตอบแทนที่เกิดจริงจากการลงทุนในหลักทรัพย์หรือสินทรัพย์ใดๆ จะเบี่ยงเบน หรือ แปรผันไปจากผลตอบแทนที่คาดหวัง
1. ค่า standard deviation สูงหมายความว่าหลักทรัพย์นั้นหรือ portfolio นั้นมีความเสี่ยงสูง เพราะอัตราผลตอบแทนมีการกระจายตัวไกลจากอัตราที่คาดไปมากโอกาสที่จะเบี่ยงเบนไปจึงมีมากด้วย
2. ค่า standard deviation ต่ำหมายความว่า หลักทรัพย์นั้น หรือ portfolio นั้นมีความเสี่ยงต่ำ

ค่าสัมประสิทธิเบต้า (beta coefficient)

เป็นเครื่องชี้หรือค่าวัดความเสี่ยงที่เป็นระบบ ทั้งนี้ความเสี่ยงของหลักทรัพย์ประกอบด้วยความเสี่ยงที่เป็นระบบไม่สามารถขจัดได้จากการกระจายการลงทุน กับความเสี่ยงที่เป็นเฉพาะตัวที่ขจัดได้ในตลาดความเสี่ยงที่เป็นระบบนี้เท่านั้นที่สำคัญ
1. ถ้าค่า beta coefficient มีค่าสูงกว่า 1 หมายความว่า ผลตอบแทนจากการลงทุนในหลักทรัพย์นั้นมีความเสี่ยงที่เป็นระบบสูงกว่าระดับความเสี่ยงของตลาดที่เป็นระดับอ้างอิง
2. ถ้าค่า beta coefficient ต่ำกว่า1 หมายความว่า ผลตอบแทนจากการลงทุนในหลักทรัพย์นั้นมีความเสี่ยงต่ำกว่า

การบริหารความเสี่ยงกับการพัฒนาองค์กร

ความเสี่ยง คือ โอกาสที่จะเกิดความผิดพลาด ความเสียหาย การรั่วไหล ความสูญเปล่า หรือเหตุการณ์ที่ไม่พึงประสงค์ที่ทำให้งานไม่ประสบความสำเร็จตามวัตถุประสงค์และเป้าหมายที่กำหนด หรือ ความเสี่ยง คือ ความไม่แน่นอนที่เกิดขึ้นและมีผลต่อการบรรลุเป้าหมายหรือวัตถุประสงค์ที่ตั้งใจไว้ ความเสี่ยงนี้จะถูกวัดด้วยผลกระทบที่ได้รับและความน่าจะเป็นของเหตุการณ์
ภาษาง่ายๆ ความเสี่ยง คือ สิ่งต่างๆ ที่อาจกีดกันองค์กรจากการบรรลุวัตถุประสงค์เป้าหมาย ความเสี่ยงทำให้เราไม่บรรลุวัตถุประสงค์ วัตถุประสงค์ที่เรากำลังทำเป็นประจำเรียกว่า Operational Risk ทางด้านยุทธศาสตร์ (Strategy) ทางด้านการแข่งขัน (Competitive) ทั้งหมดอยู่ที่ว่า อะไรเป็นวัตถุประสงค์ วัตถุประสงค์อยู่ที่เรากำหนดว่าเราจะสนใจเรื่องอะไร เวลาปกติของการทำแผนเราจะดูที่เรื่องของความประสบผลสำเร็จ หากดูเรื่องของความเสี่ยงจะดูที่เรื่องปัญหาอุปสรรคหรืออะไรคือ ตัวขวาง
ปัจจัยที่ก่อให้เกิดความเสี่ยง
- ระบบงานขององค์กร
- บุคลากร
- การเงินการคลัง
- การเมืองเศรษฐกิจ
- การเปลี่ยนแปลงทางเทคโนโลยี
- ลูกค้า หรือผู้รับบริการ
- สภาพการแข่งขัน
แหล่งที่มาของความเสี่ยง
ความเสี่ยง ภายในองค์กร เช่น
- สถานที่ทำงานที่ไม่ปลอดภัย
- ระบบบัญชีที่ไม่น่าเชื่อถือ
- วัฒนธรรมองค์กรที่ไม่เอื้อต่อการสร้างประสิทธิภาพการทำงาน
- การฝึกอบรมพนักงานที่ไม่เพียงพอ
- ความขัดแย้งทางผลประโยชน์ (Conflict of Interest)

ความเสี่ยงภายนอกองค์กร เช่น
- การเปลี่ยนแปลงในกฎหมาย
- การเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจ
- กระแสโลกาภิวัฒน์
- เสถียรภาพทางการเมือง
- การเปลี่ยนแปลงในพฤติกรรมผู้บริโภค
- กระแสสังคม สิ่งแวดล้อม
- การเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยี
ขั้นตอนการบริหารความเสี่ยงอย่างง่าย 5 ข้อ ได้แก่
1. การกำหนดวัตถุประสงค์ (Objective Establishment)
2. การระบุความเสี่ยง (Risk Identification)
3. การประเมินความเสี่ยง(Risk Assessment)
4. การสร้างแผนจัดการ(Risk Management Planning)
5. การติดตามสอบทาน (Monitoring & Review)
การที่จะทำแผนรับมือความเสี่ยงมีหลายรูปแบบขึ้นอยู่กับว่า เรามีความสามารถในการยอมรับความเสี่ยงแค่ไหน หากเรามีความเสี่ยงสูง อาทิเช่น ในเรื่องของงบประมาณ เป็นความเสี่ยงทางด้านการปฏิบัติ ความเสี่ยงของการที่จะของบประมาณเป็นความเสี่ยงทางด้านการปฏิบัติงาน
ดังนั้น ปัจจัยการบริหารความเสี่ยง คือการกำหนดเหตุไม่พึงประสงค์ และวางแผนกำจัดเหตุที่ไม่พึงประสงค์หรือผ่อนหนักให้เป็นเบาเพื่อรับความเสี่ยงน้อยที่สุด
ประเด็นที่จะกำหนดและควบคุมความเสี่ยง จุดแรกคือ ถามตัวเองก่อนว่า เรายอมรับความจริงได้หรือไม่ว่ามีความเสี่ยง ความเสี่ยงอะไรที่ควบคุมได้แล้วจึงเอาสิ่งนั้นมาวิเคราะห์ต่อ
ในการวิเคราะห์ความเสี่ยง จึงควรตอบคำถาม 7 คำถามให้ได้ คือ
Q1 ท่านมีความฝัน ความหวังอะไรที่ต้องบรรลุให้ได้อยู่บ้างหรือไม่
Q2 ท่านมีความกังวลใจอะไรบ้าง ซึ่งเป็นเหตุการณ์ ปัญหา อุปสรรคที่จะทำให้ท่านไม่บรรลุความสำเร็จที่ตั้งไว้
Q3 ท่านได้เตรียมการณ์ใดเพื่อป้องกัน สาเหตุของเหตุการณ์เหล่านั้นบ้างแล้วหรือไม่
Q4 ท่านคิดว่าการเตรียมการเหล่านั้นถ้ามีสิ่งที่เล็ดลอดได้จะน่ากังวลใจเพียงใด
Q5 ท่านจะทราบได้อย่างไรว่า เหตุการณ์ ปัญหา อุปสรรค จำนวนมากนั้น ควรจะนำสิ่งใดมาพิจารณา
Q6 ท่านคิดว่าจำเป็นต้องมีแนวทาง วิธีการ เพิ่มเติมในการรับมือ เหตุการณ์หรือผลที่ เล็ดลอดมา อีกหรือไม่ อย่างไร
Q7 ท่านจะทราบได้อย่างไรว่า เหตุการณ์นั้นได้เกิด หรือมีแนวโน้มที่จะเกิดมากน้อยหรือไม่เพียงไร
หากผู้บริหารองค์กรมองเห็นปัญหาอุปสรรค ซึ่งปัญหาอุปสรรคก็อาจเป็นความเสี่ยงได้ การจัดการความเสี่ยงให้หมดไปหรือให้มีเหลือน้อยที่สุด จึงควรนำปัญหาอุปสรรคมาจัดลำดับจากมากไปหาน้อยและวิเคราะห์สาเหตุ แนวทางแก้ไข
การร่วมกันระหว่างผู้บริหาร (คณะกรรมการบริหารความเสี่ยง) กับบุคลากรในการวิเคราะห์ความเสี่ยงและแนวทางแก้ไข จะทำให้มีความเข้าใจตรงกัน เพราะการวิเคราะห์ความเสี่ยง ผู้บริหารและบุคลากรอาจมองต่างมุมกัน บนพื้นฐานความคิดที่ต่างกัน
ความสำคัญของการบริหารความเสี่ยง
การนำกระบวนการบริหารความเสี่ยงมาใช้ในองค์กร จะช่วยเป็นหลักประกันในระดับหนึ่งว่าการดำเนินการต่าง ๆ ขององค์กร จะมีการดำเนินการให้บรรลุเป้าหมายที่วางไว้ เนื่องจากการบริหารความเสี่ยงเป็นการทำนายอนาคตอย่างมีเหตุมีผล มีหลักการและหาทางลดหรือป้องกันความเสียหายในการทำงานแต่ละขั้นตอนไว้ล่วงหน้า หรือในกรณีที่พบกับเหตุการณ์ที่ไม่คาดคิด โอกาสที่จะประสบกับปัญหาน้อยกว่าองค์กรอื่นหรือหากเกิดความเสียหายขึ้น ก็จะเป็นความเสียหายที่น้อยกว่าองค์กรที่ไม่มีการนำกระบวนการบริหารความเสี่ยงมาใช้ เพราะได้มีการเตรียมการไว้ล่วงหน้า ในขณะที่องค์กรอื่นที่ไม่เคยมีการเตรียมการหรือไม่มีการนำแนวคิดของกระบวนการบริหารความเสี่ยงมาใช้ เมื่อเกิดสถานการณ์วิกฤตขึ้น องค์กรเหล่านั้นจะประสบกับปัญหาและความเสียหายที่ตามมาโดยยากที่จะแก้ไข ดังนั้นการนำกระบวนการบริหารความเสี่ยงมาช่วยเสริมร่วมกับการทำงาน จะช่วยให้ภาระงานที่ปฏิบัติการอยู่เป็นไปตามเป้าหมายที่กำหนดไว้ และป้องกันโอกาสที่จะเกิดความเสี่ยงและปัญหาที่จะเป็นอุปสรรคต่อการดำเนินงาน
การบริหารความเสี่ยงเป็นส่วนหนึ่งของการบริหารจัดการองค์กร เป็นเรื่องส่วนรวมที่ทุกคนในองค์กร ตั้งแต่คณะกรรมการ ผู้บริหารระดับสูง จนถึงพนักงานทุกคนควรได้มีส่วนร่วมในการ วิเคราะห์ในเชิงลึก เชิงบูรณาการ และเชื่อมโยงสัมพันธ์กับการกำหนดกลยุทธ์ นโยบาย แผนงาน แผนปฏิบัติการ กิจกรรมขององค์กร ซึ่งการบริหารความเสี่ยงที่ดีจะเป็นการวัดความสามารถและการดำเนินงานของบุคลากรภายในองค์กร
องค์กรที่มีการบริหารจัดการที่ดี จะต้องดำเนินงานบนพื้นฐานของ 3 องค์ประกอบที่สำคัญ คือ การตรวจสอบภายใน (Internal Audit) การควบคุมภายใน (Internal Control) และการบริหารความเสี่ยง (Risk Management) ซึ่งสอดคล้องกับหลักการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี
ประโยชน์จากการบริหารความเสี่ยง
1. เป็นการสร้างฐานข้อมูลความรู้ที่มีประโยชน์ต่อการบริหารและการปฏิบัติงานในองค์กร การบริหารความเสี่ยงจะเป็นแหล่งข้อมูลสำหรับผู้บริหารในการตัดสินใจด้านต่าง ๆ เนื่องจากการบริหารความเสี่ยง เป็นการดำเนินการซึ่งตั้งอยู่บนสมมุติฐานในการตอบสนองต่อเป้าหมายและภารกิจหลักขององค์กร
2. ช่วยสะท้อนให้เห็นภาพรวมของความเสี่ยงต่าง ๆ ที่สำคัญได้ทั้งหมด การบริหารความเสี่ยงจะทำให้พนักงานภายในองค์กรมีความเข้าใจถึงเป้าหมายและภารกิจหลักขององค์กร และตระหนักถึงความเสี่ยงสำคัญที่ส่งผลกระทบในเชิงลบต่อองค์กรได้อย่างครบถ้วน ซึ่งครอบคลุมความเสี่ยงที่มีเหตุทั้งจากปัจจัยภายในองค์กร และจากปัจจัยภายนอกองค์กร
3. เป็นเครื่องมือสำคัญในการบริหารงาน การบริหารความเสี่ยงเป็นเครื่องมือที่ช่วยให้ผู้บริหารสามารถมั่นใจได้ว่าความเสี่ยงได้รับการจัดการอย่างเหมาะสมและทันเวลา รวมทั้งเป็นเครื่องมือที่สำคัญของผู้บริหารในการบริหารงาน และการตัดสินใจในด้านต่างๆ เช่น การวางแผน การกำหนดกลยุทธ์ การติดตามควบคุมและวัดผลการปฏิบัติงาน ซึ่งจะส่งผลให้การดำเนินงานเป็นไปตามเป้าหมายและสามารถสร้างมูลค่าเพิ่มให้แก่องค์กร
4. ช่วยให้การพัฒนาองค์กรเป็นไปในทิศทางเดียวกัน การบริหารความเสี่ยงทำให้รูปแบบการตัดสินใจในการปฏิบัติงานขององค์กรมีการพัฒนาไปในทิศทางเดียวกัน เช่น การตัดสินใจโดยที่ผู้บริหารมีความเข้าใจในกลยุทธ์ วัตถุประสงค์ขององค์กร และระดับความเสี่ยงอย่างชัดเจน
5. ช่วยให้การพัฒนาการบริหารและจัดสรรทรัพยากรเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล การจัดสรรทรัพยากรเป็นไปอย่างเหมาะสม โดยพิจารณาถึงระดับความเสี่ยงในแต่ละกิจกรรมและการเลือกใช้มาตรการในการบริหารความเสี่ยง

Popular Posts