ในทางวิชาการคำว่า Productivity หมายถึง ผลภาพ (บัญญัติศัพท์โดยหนังสือราชบัญฑิตยสถาน) แต่ไม่เป็นที่นิยมใช้กันเนื่องจากคนส่วนใหญ่มักจะใช้คำว่า “ การเพิ่มผลผลิต ” ซึ่งสื่อความหมายได้ดีกว่า
ในความเข้าใจของผู้คนทั่วไปมองว่า “ การเพิ่มผลผลิต ” กับ “ การผลิต ” นั้น มีความหมายเหมือนกันแต่ในความเป็นจริงแล้วทั้งสองอย่างนี้แตกต่างกันอย่างชัดเจน ก็คือ “ การผลิต ” จะเกี่ยวข้องกับผลผลิต ซึ่งมักจะเรียกกันโดยทั่วไปว่าปริมาณการผลิตและมีการนับเป็นหน่วยได้ ในขณะที่ “ การเพิ่มผลผลิต ” จะหมายถึง “ ผลิตภาพ ” (Productivity) ก็คือ “ อัตราส่วน ” ระหว่างผลผลิตที่ได้และสิ่งที่ป้อนเข้าไป (วัตถุดิบที่ใช้ไปเพื่อการผลิตได้ผลผลิตจำนวนนั้น)
ในทางปฏิบัติแล้ว เมื่อพูดถึง “ การเพิ่มผลผลิต ” เราควรจะต้องพิจารณาอีก 2 ปัจจัยสำคัญพร้อมกันไปด้วย คือ ประสิทธิภาพ (Efficiency) และประสิทธิผล (Effectiveness)
“ ประสิทธิภาพ ” จะมุ่งถึงความประหยัดและต้นทุนค่าใช้จ่ายที่ต่ำเป็นหลัก นั่นหมายถึง การรักษาระดับการผลิตที่มีคุณภาพโดยใช้เวลาน้อยลงหรือมีการสูญเสียเกิดขึ้นน้อย ส่วน “ ประสิทธิผล ” จะหมายถึงการบรรลุผล หรือหมายถึงผลิตได้ผลหรือทำได้ตามเป้าหมายที่ตั้งไว้
แนวทางการเพิ่มผลผลิต
การเพิ่มผลผลิตมีได้หลายรูปแบบ เช่น การลดเวลาในการผลิต (Cycle Time), การลดต้นทุนของวัตถุดิบ (Material cost) ที่ใช้ในการผลิต , การลดจำนวนของเสีย (Defect Reduction) และอื่น ๆ ซึ่งตามที่ Sumanth (1985) ได้กล่าวถึงประเภทของเทคนิคในการเพิ่มผลผลิตไว้ด้วยกัน 5 ประเภท ดังนี้ คือ
• เทคนิคการเพิ่มผลผลิตโดยพิจารณาจากการทำงาน
• เทคนิคการเพิ่มผลผลิตโดยนำเทคโนโลยีเข้ามาช่วยในการทำงาน
• เทคนิคการเพิ่มผลผลิตโดยพิจารณารูปแบบการทำงานของพนักงาน
• เทคนิคการเพิ่มผลผลิตโดยพิจารณาคุณค่าและรูปแบบของผลิตภัณฑ์
• เทคนิคการเพิ่มผลผลิตโดยพิจารณาระบบการจัดการของวัสดุ
ด้วยเทคนิคต่างๆ ที่ได้กล่าวมานั้นล้วนเป็นการเพิ่มผลผลิตทั้งสิ้น ซึ่งในคอลัมนี้เราขอเสนอเทคนิคการเพิ่มผลผลิตโดยนำเทคโนโลยีเข้ามาช่วยในการทำงาน เช่น สำหรับงานเจาะรูและโครงสร้างในงานอุตสาหกรรมเหล็กเป็นปัจจัยและงานหลักๆที่พบเห็นกันมาก จึงขอยกตัวอย่างสำหรับงานที่จำเป็นต้องเจาะรูประมาณ 1,000 รู ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 50 มิลลิเมตรและมีความหนา 35 มิลลิเมตร โดยปกติการเจาะทั่วไปนั้นไม่สามารถเจาะรูโดยดอกสว่าน ( Twist Drillls) ขนาดใหญ่ 50 มิลลิเมตรให้เสร็จในครั้งเดียวได้ แต่ต้องเริ่มโดยการเจาะดอกสว่านขนาดเล็กนำร่องมาก่อน ขนาด 10 มิลลิเมตรและอาจต่อด้วยดอกขนาด 35 มิลลิเมตรและจบด้วยขนาด 50 มิลลิเมตรอีกครั้งหนึ่ง ซึ่งระยะเวลาในการทำงานของแต่ละดอกอาจใช้เวลาประมาณ 3 – 5 นาที หากเรานำมาคำนวณเวลาที่ต้องใช้ในการเจาะไม่รวมเวลาในการเปลี่ยนดอกเจาะ
ตัวอย่างที่ 1 การเจาะ 1 รูต้องใช้เวลา = จำนวนการเจาะ 3 ครั้ง * 5 นาที = 15 นาที
ถ้าต้องเจาะ 1,000 รู = 15 นาที * 1,000 = 15 ,000 นาที
15,000 นาที = 2 50 ชั่วโมง หรือเท่ากับ 10.41 วัน
หากลองใช้ดอกเจาะ Jet broach ในงานเดียวกันนั้นจะเห็นว่าดอกเจาะแบบนี้จะทำให้ลด (เวลา) ขั้นตอนในการทำงาน ประหยัดพลังงาน และทำให้เกิดเศษขี้เหล็กที่น้อยกว่า ซึ่งข้อดีเหล่านี้เกิดจากความสามารถของดอกเจาะที่สามารถเจาะรูเหล็กที่มีเส้นผ่าศูนย์กลางขนาดใหญ่และหนาได้ในการเจาะครั้งเดียว และหากนำมาคำนวณระยะเวลาในการทำงาน กับการเจาะรู 1,000 รู ในงานเดียวกันจะใช้เวลาเพียง 2 นาที
ตัวอย่างที่ 2 จำนวนการเจาะ 1 ครั้ง = 2 นาที * 1000 = 2 000 นาที
2 000 นาที = 33.33 ชั่วโมง หรือเท่ากับ 1.39 วันเท่านั้น
และนี้ก็เป็นเพียง 1 แนวทางการเพิ่มผลผลิตที่จะช่วยลดเวลาในการทำงานและส่งมอบงานได้เร็วขึ้น อีกทั้งยังเป็นการประหยัดค่าแรงคนงานลงอีกด้วย
โดยสรุปแล้ว “ การเพิ่มผลผลิต ” หรือ “ ผลิตภาพ ” (Productivity) ก็คือความสามารถในการใช้ทรัพยากรต่างๆ หรือวัตถุดิบต่างๆเพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์หรือผลลัพธ์เป้าหมายที่ตั้งไว้อย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล ซึ่งจากที่กล่าวมาข้างต้นนั้นจะเห็นว่า Productivity มีความสำคัญต่อองค์กร เพื่อให้เกิดประสิทธิภาพและประสิทธิผลในการทำงานและตอบสนองความต้องการของลูกค้านั้นเอง ท่านสามารถนำเทคนิคเหล่านี้มาใช้กับงานของท่านได้ตามความเหมาะสม ไม่เพียงเท่านั้นท่านยังร่วมเป็นส่วนหนึ่งที่จะช่วยลดภาวะโลกร้อนได้อีกทางหนึ่งด้วย
การวิเคราะห์สภาพแวดล้อมภายใน (Internal Environmental Analysis)
-
สภาพแวดล้อมภายนอกมีอิทธิพลต่อองค์การอย่างมากก็จริง
แต่ผู้บริหารต้องมีความเข้าใจและสามารถจัดการปัจจัยภายในองค์การด้วยการดาเนินงานจึงจะบรรลุเป้าหมาย
การวิเคร...
5 ปีที่ผ่านมา
0 ความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น