MBA

We constantly research and disseminate knowledge to prepare graduate students to be leaders at the community, national and international levels.

Facebook is a social utility that connects people with friends and others who work, study and live around them. People use Facebook to keep up with friends

Custom Search

วันอังคารที่ 18 พฤศจิกายน พ.ศ. 2557

วงจรผลิตผล (Productivity Cycle)

  การเพิ่มผลผลิตจะเกิดขึ้นอย่างเป็นกระบวนการที่ต่อเนื่อง มีลักษณะเป็นวงจร (Cycle) ซึ่งประกอบด้วยกระบวนการของวงจรผลิตภาพหรือวงจรการเพิ่มผลผลิต เป็นขั้นตอนดังนี้

          1.      การวัดผลงาน (Measurement)
          2.      การประเมินผลงาน (Evaluation)
          3.      การวางแผน (Planning)
          4.      การปรับปรุงเพื่อเพิ่มผลผลิต (Productivity Improvement)

 ต้นทุนและความสูญเสีย
     องค์การที่จะประสบความสำเร็จในการดำเนินงานผู้บริหารมักคำนึงถึงกำไร (Profits) เป็นเป้าหมายสูงสุดซึ้งการจะได้กำไรมากน้อยขึ้นอยู่กับราคาขายหรือมูลค่า สินค้าต้องสูงกว่าต้นทุนการผลิต จากสมการ
                      กำไร  =   ราคาขาย - ต้นทุน

1 ต้นทุน  (Cost)  หมายถึง ค่าใช้จ่ายที่จ่ายไปสำหรับทรัพยากรทางการผลิตเพื่อให้เกิดผลิตผล

ต้นทุนการผลิตที่เป็นค่าใช้จ่ายแบ่งออกเป็น 3 ส่วน คือ
1.      ค่าวัสดุ (Material Cost)
2.      ค่าแรงงาน  (Labor  Cost)
3.      ค่าโสหุ้ย  (Overhead  Cost)

ค่าโสหุ้ย จะประกอบด้วยค่าใช้จ่ายต่างๆ
-  ค่าวัสดุทางอ้อม เช่น ค่าวัสดุเครื่องใช้สำนักงาน ค่าทำความสะอาด ค่าบรรจุภัณฑ์ เป็นต้น
-  ค่าแรงงานทางอ้อม เช่น ค่ายามรักษาความปลอดภัย ค่าพนักงานทำความสะอาด พนักงานรับโทรศัพท์ เป็นต้น
-  ค่าสาธารณูปโภค เช่น ค่าน้ำ ค่าไฟ ค่าโทรศัพท์ ฯลฯ
-  ค่าใช้สอยอื่นๆ
-  ค่าเสื่อมราคาเครื่องจักรและทรัพย์สินอื่น ๆ
-  ค่าใช้จ่ายสวัสดิการ เช่น โบนัส ค่ารักษาพยาบาล ฯลฯ
-  ค่าขนส่ง เป็นต้น

2  ความสูญเสีย (Lost) หมายถึง ค่าใช้จ่ายที่จ่ายไปแล้วไม่เกิดผลผลิต บางองค์การอาจใช้คำว่า ความสูญเปล่า (Waste)ในความเป็นจริง  ความสูญเสียหรือความสูญเปล่าก็คือต้นทุนแต่เป็นต้นทุนที่ไม่ก่อผลประโยชน์

ปัญหาของการเพิ่มผลผลิต  ซึ้งทำให้ผลผลิตตกต่ำลงและอาจมีสาเหตุหลายประการซึ้งทำให้เกิดความสูญเสีย   ได้แก่

2.1.      ความสูญเสียในส่วนวัสดุ    เช่น
          -  มากเกินไป สั่งซื้อมามาก ทำให้หมดเงินลงทุน และต้องเสียค่าใช้จ่ายในการจัดเก็บ
          -  สูญหาย การวางผิดที่ หยิบใช้โดยไม่ต้องบอก ฯลฯ
          -  ไว้ผิดประเภท จัดซื้อไม่ถูกขนาดหรือ Spec เสียค่าใช้จ่ายมาก ฯลฯ

2.2.      ความสูญเสียในส่วนเครื่องจักร
          -  เก่าชำรุด
          -  สกปรก ขาดการดูแลรักษา
          -  ประสิทธิภาพการผลิตต่ำ ฯลฯ

2.3.      ความสูญเสียในส่วนแรงงาน
          -  ขาดระเบียบวินัย
          -  ขาดการฝึกอบรม
          -  มีทัศนคติที่ไม่ดีในการทำงาน ฯลฯ

2.4.      ความสูญเสียในส่วนกระบวนการผลิตหรือวิชาการทำงาน
          -  ขาดเทคโนโลยี
          -  ไม่มีการพัฒนาควบคุมคุณภาพ ฯลฯ

ดุลการชำระเงิน (Balance of Payment)

ดุลการชำระเงินอาจจะเกินดุล (Surplus) สมดุล (Balance) หรือขาดดุล (Deficit) ก็ได้ ขึ้นอยู่กับการเปลี่ยนแปลงขององค์ประกอบแต่ละประเภทที่เกี่ยวข้องในบัญชี ดุลการชำระเงิน โดย
-       เกินดุล เมื่อมีการไหลเข้าของเงินตราต่างประเทศมากกว่าการไหลออกของเงินตรา ต่างประเทศ
-       สมดุล เมื่อมีการไหลเข้าของเงินตรา ต่างประเทศเท่ากับการไหลออกของเงินตราต่างประเทศ
-       ขาดดุล เมื่อมีการไหลเข้าของเงินตราต่างประเทศน้อยกว่าการไหล ออกของเงินตราต่างประเทศดุลการชำระเงิน (Balance of Payment) = ดุลบัญชีเดินสะพัด (Current Account) + ดุลบัญชีการเคลื่อนย้ายของทุน ( Capital & Financial Account )

ดุลบัญชีเดินสะพัด = ดุลการค้า + ดุลบริการ + ดุลรายได้และเงินโอน
ดุลการค้า = นำเข้า ส่งออก สินค้า
      • ดุลบริการ นำเข้า ส่งออก บริการ (เช่นเรื่องของการท่องเที่ยว และค่าขนส่ง)
      • ดุลรายได้ และเงินโอน ให้นึกถึงการส่งกลับรายได้จากการไปทำงานในต่างแดน และการโอนเงินบริจาค
      • ดุลบัญชีการเคลื่อนย้ายของทุน เรื่องที่เกี่ยวกับการเดินทางของเงินทุน เช่น ลงทุนในตลาดหุ้น การเอาเงินมาลงทุนเปิดกิจการโรงงาน เป็นต้น
  • ดุลการชำระเงิน = มีมูลค่าเท่ากับการเปลี่ยนแปลงของสินทรัพย์เงินสำรองระหว่างประเทศ (ถ้าไม่เท่าจะต้องปรับด้วย ค่าความผิดพลาดคลาดเคลื่อนทางสถิติ)
    นั่นคือ ถ้าดุลการชำระเงินเป็นบวก เงินสำรองระหว่างประเทศจะเพิ่มขึ้นด้วยในจำนวนเท่ากัน (แต่ใส่เครื่องหมายลบ เพราะเงินออกจากบัญชีนี้ไปสู่เงินสำรองระหว่างประเทศ)
อัตราแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศ
อัตราแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศ หมายถึง ราคาของเงินตราประเทศ 1 หน่วย คิดเทียบกับเงินตราอีกสกุลหนึ่ง เช่น เงิน 1 ดอลลาร์สหรัฐฯ มีค่าเทียบกับเงินบาทเท่ากับ 39 บาท เป็นต้น
อัตราแลกเปลี่ยน อาจมีได้หลายอัตรา เช่น
1. อัตราทางการ ( Official Rate ) คือ อัตราแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศที่กำหนดโดยเจ้าหน้าที่ทางการเงินของ ประเทศ เช่น ประเทศไทยเคยกำหนดอัตราแลกเปลี่ยนทางการเอาไว้ในอัตราดอลลาร์ละ 20 บาท เป็นต้น
2. อัตราตลาด ( Market Rate ) คือ อัตราแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศที่กำหนดขึ้นจากอุปสงค์และอุปทานของเงิน ตราต่างประเทศที่อยู่ในภาวะดุลยภาพ
3. อัตราตลาดมืด ( Black Market Rate ) คือ อัตราแลกเปลี่ยนที่เกิดจากการกำหนดทางการไว้สูงกว่าอัตราตลาด
**ในกรณีที่เราสามารถแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศกันได้อย่างเสรี อัตราแลกเปลี่ยนจะขึ้นอยู่กับอุปสงค์และอุปทานของเงินตราต่างประเทศ ซึ่งสามารถอธิบายได้เป็น 2 กรณี คือ
1. ถ้าความต้องการใช้ดอลลาร์มีมากขึ้น แต่จำนวนดอลลาร์มีน้อย ค่าของเงินดอลลาร์เมื่อเทียบกับเงินบาทจะสูงขึ้น ส่วนค่าของเงินบาทจะลดลง
2. ถ้าความต้องการใช้ดอลลาร์มีน้อยลง แต่จำนวนดอลลาร์มีมาก ค่าของเงินดอลลาร์เมื่อเทียบกับเงินบาทจะต่ำลง ส่วนค่าของเงินบาทจะสูงขึ้น


อุปสงค์ของเงินตราต่างประเทศ คือ ความต้องการการเงินตราต่างประเทศเพื่อใช้ชำระค่าสินค้าที่เราสั่งเข้ามาก ซึ่งการที่อุปสงคาของเงินตราต่างประเทศจะมีมากหรือน้อยเพียงใด ย่อมขึ้นอยู่กับความต้องการใช้จ่ายเงินในด้านต่าง ๆ ดังต่อไปนี้
1. เพื่อนำไปชำระค่าสินค้าและบริการที่สั่งซื้อจากต่างประเทศ
2. เพื่อนำไปให้ต่างประเทศกู้ยืมหรือซื้อหลักทรัพย์จากต่างประเทศ
3. เพื่อนำมากักตุนเก็งกำไร
4. เพื่อส่งออกไปเก็บไว้ในที่ปลอดภัย

สาเหตุของเงินเฟ้อ (The Causes of Inflation)

1.) ดีมานด์เกิน (Demand Pull Inflation) เป็นปัญหาด้านดีมานด์ของสินค้า
               2.) ต้นทุนเพิ่ม (Cost - Push Inflation) เป็นปัญหาด้านซัพพลายของสินค้า
               3.) สาเหตุอื่นๆ
               1.) ดีมานด์เกิน (Demand Pull Inflation) เงินเฟ้อเพราะดีมานด์เกิน ทฤษฎีเงินเฟ้อดั้งเดิมอธิบายสาเหตุของเงินเฟ้อว่า เกิดจากการที่ดีมานด์มวลรวมมีมากกว่าซัพพลายมวลรวม ณ ระดับราคาสินค้าที่เป็นอยู่ขณะนั้น ผลทำให้ราคาสินค้าสูงขึ้น ถ้าเราเพิ่มผลผลิตให้มากขึ้น แต่ไม่ให้ระดับการจ้างงานเพิ่มขึ้นตาม นั่นคือ ผลผลิตจะสามารถเพิ่มขึ้นโดยต้นทุนเฉลี่ยต่อหน่วยยังคงเดิม ดังนั้น การที่ดีมานด์มวลรวมเพิ่มขึ้นในขณะที่การผลิตขณะนั้นอยู่ไกลการมีงานทำเต็ม ที่ เงินเฟ้อจะไม่เกิดขึ้น แต่ถ้าดีมานด์มวลรวมเพิ่มในขณะที่การผลิตอยู่ ณ ระดับการมีงานทำเต็มที่ ทำให้ราคาเพิ่มโดยที่ผลผลิตไม่เพิ่มตาม เคนส์เรียกเงินเฟ้อที่เกิดขึ้นเมื่อเศรษฐกิจมีการจ้างงานเต็มที่แล้วว่า "เงินเฟ้อแท้จริง" (True Inflation)
               2.) ต้นทุนเพิ่ม (Cost - Push Inflation) มีสาเหตุมาจากด้านซัพพลาย เมื่อต้นทุนเพิ่ม จะทำให้ซัพพลายลดลง ซึ่งส่งผลให้ราคาสินค้าสูงขึ้น ถ้าดีมานด์มีค่าคงที่ ผลผลิตจะลดลง แบ่งแยกออกเป็น 2 ประเภท คือ
               - เงินเฟ้อเพราะค่าจ้างเพิ่ม (Wage - Pash Inflation) เกิดจากการขึ้นสูงของค่าจ้าง โดยดีมานด์ของแรงงานมิได้มีมากกว่าซัพพลายของแรงงานขณะนั้น ซึ่งเป็นไปได้ แต่ในทางเศรษฐกิจที่ทั้งตลาดแรงงานและตลาดผลผลิตมีการแข่งขันไม่สมบูรณ์เท่า นั้น เพราะโดยปกติแล้วตลาดที่มีการแข่งขันสมบูรณ์ การขึ้นค่าจ้างและราคาสินค้าจะเป็นไปโดยกลไกของตลาดอย่างเดียวเท่านั้น การแก้ปัญหาเงินเฟ้อในลักษณะนี้ค่อนข้างยาก มาตรการที่ได้ผล ควรจะเป็นมาตรการเกี่ยวกับการควบคุมค่าจ้างโดยตรง ในยามที่เกิดภาวะการณ์เช่นนี้รัฐบาลจำเป็นต้องตัดสินใจเลือกเอาระหว่างการ ที่จะให้ระดับราคาสินค้ามีเสถียรภาพ แต่ทำให้มีอัตราการว่างงานเพิ่มขึ้น หรือการว่างงานน้อยลงแต่ระดับราคาสินค้าสูงขึ้น
               - เงินเฟ้อเพราะกำไรเพิ่ม (Prafit - Push Inflation) เป็นปัญหาที่เกิดขึ้นทางด้านซัพพลายหรือต้นทุนการผลิต เนื่องจากที่กล่าวมาแล้วข้างต้นว่าตลาดที่มีการแข่งขันที่สมบูรณ์ (Perfect Market) การเพิ่มขึ้นหรือลดลงของราคาสินค้าหรือค่าจ้างจะเป็นไปโดยกลไกตลาด เพราะฉะนั้นปัญหาภาวะการณ์เช่นนี้เกิดเฉพาะตลาดที่มีการแข่งขันไม่สมบูรณ์ เท่านั้น คือ ผู้ผลิตมีอำนาจที่จะกำหนดราคาสินค้าได้เอง
              3.) เงินเฟ้อเพราะสาเหตุอื่น ๆ
                    - โครงสร้างดีมานด์เปลี่ยนแปลง (ฺBottleneck or Structural Inflation) เมื่อระบบเศรษฐกิจมีการพัฒนาขึ้น การบริโภคและโครงสร้างจะมีการปรับตัวอย่างรวดเร็ว แต่โครงสร้างการผลิตยังไม่สามารถปรับตัวได้ทัน จึงทำให้เกิดดีมานด์ส่วนเกิน (ฺExcess Demand) ราคาสินค้าสูงขึ้น และทำให้สินค้าโดยทั่วไปสูงขึ้นด้วย แต่เงินเฟ้อประเภทนี้ไม่สามารถใช้การแก้ไขได้แบบเดียวกับ Demand Pull Inflation เพราะนอกจากจะไม่ทำให้ปัญหาเงินเฟ้อลดลงแล้วจะยังคงก่อให้เกิดปัญหาการว่าง งานด้วย
                    - เงินเฟ้อที่เกิดจากการติดต่อระหว่างประเทศ (ฺInternational Transmission of Inflation)
                      1) ผ่านทางสินค้าออก คือ เมื่อตลาดต่างประเทศมีความต้องการที่จะซื้อผลิตภัณฑ์สินค้าจากประเทศไทย เพิ่มขึ้น ราคาสินค้าที่จะส่งออกของไทยจึงสูงขึ้น ทำให้ความต้องการที่จะขายสินค้าภายในประเทศลดต่ำลง นั่นคือ ดีมานด์ที่ต้องการส่งออกมีมากทำให้ซัพพลายที่เหลืออยู่ในประเทศลดลง เช่น ราคาน้ำตาลทราย
                      2) ผ่านทางสินค้าเข้า เช่น ไทยสั่งซื้อเป็นสินค้านำเข้า เมื่อน้ำมันของตลาดโลกสูงขึ้น ราคาผลิตภัณฑ์สินค้าหรือบริการต่าง ๆ ที่ใช้น้ำมันเหล่านี้เป็นส่วนประกอบก็จะพลอยสูงขึ้นตาม

วันอาทิตย์ที่ 25 พฤษภาคม พ.ศ. 2557

กลยุทธ์การใช้พนักงานขาย (Personal Strategy)

การขายโดยใช้พนักงานขายจัดเป็นรูปแบบการปฏิบัติตัวต่อตัวระหว่างกิจการกับลูกค้า ทั้งนี้เพื่อมุ่งหวังคำสั่งซื้อด้วยรูปแบบการขายที่แตกต่างกัน    การขายโดยพนักงานขายนั้นเกี่ยวข้องกับการจ้างพนักงานขาย การจัดการทั่วๆ ไปเกี่ยวกับพนักงานขาย ตลอดจนการบริหารสินค้าคงคลัง     การเตรียมการเสนอขายและการบริการหลังการขาย ในการพัฒนาแผนกการขายนั้น กิจการจะเริ่มตั้งแต่การตั้งวัตถุประสงค์และปฏิบัติการ ซึ่งต้องมีความชัดเจนและสอดคล้องกับประเภทของธุรกิจ โดยอาจเป็นธุรกิจค้าปลีก ธุรกิจการบริการ หรือธุรกิจการผลิต จากนั้นจึงกำหนดกลยุทธ์การขายและการดำเนินงาน การขายโดยใช้พนักงานขายนั้นหวังผลลัพธ์เพื่อเพิ่มยอดขายและขณะเดียวกันก็เพื่อสร้างสัมพันธ์ภาพระยะยาวกับลูกค้าอีกด้วย   

          นอกจากนี้การขายโดยใช้ พนักงานขายนั้น ยังมีการใช้โบว์ชัวร์ เอกสาร ใบปลิว วัสดุอุปกรณ์ต่างๆ เพื่อช่วยในการนำเสนอขายของพนักงาน  ตลอดจนเป็นหลักฐานอ้างอิงและสามารถมอบไว้ให้ลูกค้าเพื่อศึกษาข้อมูลเพิ่มเติม

การวางแผนการตลาดโดยใช้ 4P กลยุทธ์ทางการตลาดนั้นมีอยู่มากมาย แต่ที่เป็นที่รู้จัก และเป็นพื้นฐานที่สุดก็คือการ ใช้ 4P (Product Price Place Promotion) ซึ่งหลักการใช้คือการวางแผนในแต่ละส่วนให้เข้ากัน และเป็นที่ต้องการของกลุ่ม เป้าหมายที่เราเลือกเอาไว้ให้มากที่สุด ในบางธุรกิจอาจจะไม่สามารถปรับเปลี่ยน ทั้ง 4P ได้ทั้งหมดในระยะสั้นก็ไม่เป็นไรเพราะ เรา สามารถ ค่อยๆปรับกลยุทธ์จนได้ ส่วนผสมทางการตลาดได้เหมาะสมที่สุด ( 4P อาจจะเรียกว่า marketing mix) เราลองมา ดูกันทีละส่วน
- Product
ก็คือสินค้าหรือบริการที่เราจะเสนอให้กับลูกค้า แนวทางการกำหนดตัว product ให้เหมาะสมก็ต้องดูว่ากลุ่มเป้า หมายต้องการอะไร เช่นต้องการน้ำผลไม้ที่ สะอาด สด ในบรรจุภัณฑ์ถือสะดวก โดยไม่สนรสชาติ เราก็ต้องทำตามที่ลูกค้าต้องการ ไม่ใช่ว่าเราชอบหวานก็จะพยายามใส่น้ำตาลเข้าไป แต่โดยทั่วไปแนวทางที่จะทำสินค้าให้ขายได้มีอยู่สองอย่างคือ

1.1 สินค้าที่มีความแตกต่าง โดยการสร้างความแตกต่างนั้น จะต้องเป็นสิ่งที่ลูกค้าสามารถสัมผัสได้จริงว่าต่างกันและ ลูกค้าตระหนักและชอบในแนวทางนี้ เช่นคุณสมบัติพิเศษ รูปลักษณ์ การใช้งาน ความปลอดภัย ความคงทนโดยกลุ่มลูก ค้าที่เราจะจับก็จะเป็นลูกค้าที่ไม่มีการแข่งขันมาก (niche market) 

1.2 สินค้าที่มีราคาต่ำนั่นคือการยอมลดคุณภาพในบางด้านที่ไม่สำคัญลงไป เช่นสินค้าที่ผลิตจากจีน จะมีคุณภาพไม่ดี นักพอใช้งานได้ แต่ถูกมากๆหรือ สินค้าที่เลียนแบบแบรนด์ดังๆ ในซุปเปอร์สโตรต่างๆ จริงๆแล้วสำหรับนักธุรกิจมือ ใหม่ควรเลือกในแนวทาง สร้างความแตกต่างมากกว่า การเป็นสินค้าราคาถูกเพราะ หากเป็นด้านการผลิตแล้วรายใหญ่ จะมีต้นทุนการผลิตที่ถูกกว่ารายย่อย แต่หากเป็นด้านบริการ เราอาจจะเริ่มต้นที่ราคาถูกก่อน แล้วค่อยๆ หาตลาดที่ราย ใหญ่ไม่สนใจ
- Price
ราคาเป็นสิ่งที่ค่อนข้างสำคัญในการตลาด แต่ไม่ใช่ว่า คิดอะไรไม่ออกก็ลดราคาอย่างเดียวเพราะการลดราคาสินค้า อาจจะไม่ได้ช่วยให้การขายดีขึ้นได้ หากปัญหาอื่นๆยังไม่ได้รับการแก้ไข การตั้งราคาในที่นี้จะเป็นการตั้งราคาให้เหมาะสมกับ ผลิตภัณฑ์ และกลุ่มเป้าหมายของเรา เช่นหากเราขายน้ำผลไม้ที่จตุจักร ราคาอาจจะต้องถูกหน่อย แต่หากขายที่สยาม หากตั้ง ราคาถูกไปเช่น 10 บาท กลุ่มที่เป็นเป้าหมายอยากให้ซื้ออาจจะไม่ซื้อ แต่คนที่ซื้ออาจจะเป็นคนอีกกลุ่มซึ่งมีน้อยกว่า และไม่คุ้ม ที่จะขายแบบนี้ในสยาม ยิ่งไปกว่านั้นหากราคา และรูปลักษณ์สินค้าไม่เข้ากัน ลูกค้าก็จะเกิดความข้องใจและอาจจะกังวลที่จะซื้อ เพราะราคาคือตัวบ่งบอกภาพลักษณ์ของสินค้าที่สำคัญที่สุด อย่างไรก็ตาม ในด้านการทำธุรกิจขนาดย่อมแล้ว ราคาที่เราต้องการ อาจไม่ได้คิดอะไรลึกซึ้งขนาดนั้น แต่จะมองกันในเรื่องของตัวเลข ซึ่งจะมีวิธีกำหนดราคาง่ายต่างๆดังนี้

2.1 กำหนดราคาตามลูกค้า คือการกำหนดราคาตามที่เราคิดว่า ลูกค้าจะเต็มใจจ่าย ซึ่งอาจจะได้มาจากการทำสำรวจ หรือแบบสอบถาม
2.2 กำหนดราคาตามตลาด คือการกำหนดราคาตามคู่แข่งในตลาด ซึ่งอาจจะต่ำมากจนเราจะมีกำไรน้อยดังนั้นหาก เรา คิด ที่จะกำหนดราคาตามตลาด เราอาจจะต้องมานั่งคิดคำนวณย้อนกลับว่า ต้นทุนสินค้าควร เป็นเท่าไรเพื่อจะได้กำ ไร ตามที่ตั้งเป้า แล้วมาหาทางลดต้นทุนลง
2.3 กำหนดราคาตามต้นทุน+กำไร วิธีนี้เป็นการคำนวณว่าต้นทุนของเราอยู่ที่เท่าใด แล้วบวกค่าขนส่ง ค่าแรงของเรา บวกกำไร จึงได้มาซึ่งราคา แต่หากราคาที่ได้มาสูงมาก เราอาจจำเป็นต้องมีการทำประชาสัมพันธ์ หรือปรับภาพลักษณ์ ให้เข้ากับราคานั้น
- Place
คือวิธีการนำสินค้าไปสู่มือของลูกค้า หากเป็นสินค้าที่จะขายไปหลายๆแห่ง วิธีการขายหรือการกระจายสินค้าจะมีความ สำคัญมาก หลักของการเลือกวิธีกระจายสินค้านั้นไม่ใช่ขายให้มากสถานที่ที่สุดจะดีเสมอ เพราะมันขึ้นอยู่กับว่า สินค้าของท่านคือ อะไร และกลุ่มเป้าหมายท่านคือใคร เช่นของใช้ในระดับบน ควรจะจำกัดการขายไม่ให้มีมากเกินไป เพราะอาจจะทำให้เสียภาพ ลักษณ์ได้สิ่งที่เราควรจะคำนึงอีกอย่างของวิธีการกระจายสินค้าคือต้นทุนการ กระจายสินค้า เช่นการขายสินค้าใน 7-eleven อาจจะ กระจายได้ทั่วถึง แต่อาจจะมีต้นทุนที่สูงกว่า หากจะกล่าวถึงธุรกิจที่เป็นการขายหน้าร้าน Place ในที่นี้ก็คือ ทำเล ซึ่งก็ควรเลือกที่ ให้เหมาะสมกับสินค้าของเราเช่นกัน อย่าง มาบุญครองกับ สยามเซ็นเตอร์ จะมีกลุ่มคนเดินที่ต่างออกไปและลักษณะสินค้าและ ราคาก็ไม่เหมือนกันด้วยทั้งๆที่ตั้งอยู่ใกล้กัน ท่านควรขายที่ใดก็ต้องพิจารณาตามลักษณะสินค้า
-Promotion
คือการทำกิจกรรมต่างๆ เพื่อบอกลูกค้าถึงลักษณะสินค้าของเรา เช่นโฆษณาในสื่อต่างๆ หรือการทำกิจกรรม ที่ทำให้คนมาซื้อสินค้าของเรา เช่นการทำการลดราคาประจำปี หากจะพูดในแง่ของธุรกิจขนาดย่อม การโฆษณาอาจจะเป็นสิ่งที่เกินความจำเป็นเพราะจะต้องใช้เงิน จะมากหรือน้อยก็ ขึ้นกับ ช่องทางที่เราจะใช้ ที่จะดีและอาจจะฟรีคือ สื่ออินเตอร์เนต ซึ่งมีผู้ใช้เพิ่มจำนวนขึ้นมากในแต่ละปี สื่ออื่นๆที่ถูกๆ ก็จะเป็นพวก ใบปลิว โปสเตอร์ หากเป็นสื่อท้องถิ่นก็จะมี รถแห่ วิทยุท้องถิ่น หนังสือพิมพ์ท้องถิ่น วิธีในการเลือกสื่อนอกจากจะดูเรื่องค่าใช้จ่าย แล้วควรดูเรื่องการเข้าถึงกลุ่มเป้าหมายด้วย เช่นหากจะโฆษณาให้กลุ่มผู้ใหญ่ โดยเลือกสื่ออินเตอร์เนต(เพราะฟรี) ก็อาจจะเลือก เวบไซต์ที่ผู้ใหญ่เล่น ไม่ใช้เวบที่วัยรุ่นเข้ามาคุยกัน

วันจันทร์ที่ 31 มีนาคม พ.ศ. 2557

อัตราส่วนทางการเงิน แบ่งออกเป็น 4 กลุ่ม

1. อัตราส่วนสภาพคล่อง (liquidity ratios) เป็นอัตราส่วนที่ใช้วัดความสามารถในการชำระหนี้ระยะสั้นขององค์กร โดยการเปลี่ยนสินทรัพย์หมุนเวียน เช่น หลักทรัพย์ในความต้องการของตลาด ลูกหนี้และสินค้า ให้เป็นเงินสดเพื่อชำระหนี้ระยะสั้น (ถ้าอัตราส่วนสภาพคล่องสูงแสดงว่าองค์กรมีความสามารถในการชำระหนี้ระยะสั้นได้ดี องค์กรจะมีความเสี่ยงต่ำ ผลตอบแทนก็จะน้อยไปด้วย แต่ถ้าอัตราส่วนสภาพคล่องต่ำแสดงว่าองค์กรจะมีปัญหาในการดำเนินงาน อาจจะขาดสภาพคล่องในการดำเนินงาน องค์กรจะมีความเสี่ยงสูง)
2. อัตราส่วนกิจกรรม (asset management ratios) เป็นอัตราส่วนที่ใช้วัดการดำเนินงานขององค์กร โดยพิจารณาประสิทธิภาพภายในการใช้สินทรัพย์ต่าง ๆ เช่น ลูกหนี้ สินค้าคงคลัง สินทรัพย์ถาวร สินทรัพย์ทั้งหมด เพื่อก่อให้เกิดยอดขาย
อัตราส่วนกิจกรรม ประกอบด้วย
2.1 Inventory Turnover อัตราการหมุนเวียนของสินค้าคงคลัง
เป็นการวิเคราะห์ว่าใน 1 รอบระยะเวลาบัญชี สินค้ามีการหมุนเวียนกี่ครั้ง ถ้ามีค่าสูง (กว่ามาตรฐาน) แสดงว่าสินค้ามีการหมุนเวียนมาก แสดงว่ายอดขายสูงขึ้น และการที่ยอดขายสูงขึ้นทำให้สินค้าคงคลังลดน้อยลง หาก inventory turnover สูง องค์กรควรจะวางแผนรองรับการเจริญเติบโต โดยการผลิตสินค้าให้เพียงพอต่อผู้บริโภค หากองค์กรไม่มีการวางแผนสินค้าจะไม่เพียงพอต่อการจำหน่าย จะทำให้เสียโอกาสในการเจริญเติบโตขององค์กร
ถ้า inventory turnover ต่ำ แสดงว่ายอดขายขององค์กรลดลง สินค้าคงเหลือจะมากขึ้น จะทำให้เกิดต้นทุนในการจัดเก็บสินค้า ต้นทุนสินค้าเสียหาย ต้นทุนสินค้าล้าสมัย ต้นทุนสินค้าสูญหาย ซึ่งต้นทุนที่เพิ่มสูงขึ้นทำให้กำไรขององค์กรลดลง จะต้องหาสาเหตุว่าอะไรที่ทำให้ยอดขายลดลง
2.2 Days Sales Outstanding ระยะเวลาการเก็บหนี้
แสดงให้เห็นประสิทธิภาพขององค์กรในการจัดเก็บหนี้ หรือรับชำระหนี้จากลูกหนี้ ซึ่งจะมีผลต่อเงินสดขององค์กร
หาก days sales outstanding มีค่าสูงขึ้นแสดงว่าระยะเวลาจัดเก็บหนี้จะนานมากขึ้น ทำให้องค์กรมีเงินสดน้อยลง ไม่สามารถเปลี่ยนลูกหนี้ให้เป็นเงินสดได้ จะทำให้เกิดหนี้สูญได้ง่าย
2.3 Fixed Assets Turnover ประสิทธิภาพการใช้สินทรัพย์ถาวร
การใช้สินทรัพย์ถาวรเพื่อก่อให้เกิดยอดขาย ถ้าอัตราส่วน fixed assets turnover ต่ำ แสดงว่าองค์กรยังไม่มีประสิทธิภาพในการใช้สินทรัพย์ถาวร อาจมีสินทรัพย์ถาวรเกินความต้องการ อาจมีที่ดิน อาคารหรืออุปกรณ์มากเกินไป หรือเครื่องจักรอาจล้าสมัย จึงทำให้สินทรัพย์ถาวรมากเกินไป ซึ่งทำให้เกิดยอดขายที่ต่ำลงและไม่สามารถสร้างยอดขายได้
ถ้า fixed assets turnover สูง แสดงว่าองค์กรมีประสิทธิภาพในการใช้สินทรัพย์ถาวรที่ดี มีการจัดสินทรัพย์ถาวรที่เหมาะสม มีสิน มีสินทรัพย์ถาวรในจำนวนที่เหมาะสมกับกิจการ สามารถทำให้ยอดขายเพิ่มขึ้นได้
2.4 Total Assets Turnover ประสิทธิภาพการใช้สินทรัพย์ทั้งหมดเพื่อให้เกิดยอดขาย
ถ้า total assets turnover มีค่าสูงแสดงว่ามีการจัดการสินทรัพย์ทั้งหมด ทั้งสินทรัพย์หมุนเวียนและสินทรัพย์ถาวรอย่างมีประสิทธิภาพ ทำให้ยอดขายเพิ่มขึ้นได้ และถ้า total assets turnover มีค่าต่ำแสดงว่ามีการจัดการสินทรัพย์ทั้งหมด ทั้งสินทรัพย์หมุนเวียนและสินทรัพย์ถาวรอย่างไม่มีประสิทธิภาพ จะต้องแก้ไขในเรื่องการลงทุนในสินทรัพย์หมุนเวียนและสินทัพย์ถาวรด้วย
Fixed Assets Turnover ใช้วิเคราะห์ร่วมกับ Total Assets Turnover ถ้า Fixed Assets Turnover ดีคือสูงขึ้นเลื่อย ๆ แต่ Total Assets Turnover ต่ำ แสดงว่าประสิทธิภาพในการใช้สินทรัพย์ถาวรได้ดี แต่ต้องไปแก้ไขที่สินทรัพย์หมุนเวียน
3. อัตราส่วนหนี้สิน (debt management ratios) เป็นอัตราส่วนที่ใช้ในการวัดความสามารถในการก่อหนี้ ถ้าองค์กรที่มีหนี้มาก จะเป็นองค์กรที่มีความผูกพันธ์ทางการเงินจึงมีความเสี่ยงสูง
อัตราส่วนหนี้สินแบ่งเป็น 2 ตัว คือ
3.1 หนี้สินต่อทรัพย์สิน (debt ratio)
ถ้าอัตราส่วนหนี้สินต่อทรัพย์สินสูงแสดงว่า องค์กรมีภาระผูกพันธ์ทางการเงินมากองค์กรจะระดมทุนจากการก่อหนี้ได้ยาก หรือเจ้าหนี้อาจไม่พิจารณาให้เงินกู้กับองค์กร ดังนั้นองค์กรจะต้องระดมทุนด้วยวิธีการอย่างอื่นแทนการกู้ เช่น การระดมทุนจากผู้ถือหุ้นหรือการให้เช่า
ถ้าอัตราส่วนหนี้สินต่ำ แสดงว่าองค์กรมีภาระผูกพันธ์ทางการเงินต่ำ จึงมีความเสี่ยงต่ำ แต่ต้องพิจารณาว่าโครงสร้างเงินทุนขององค์กรมีความเหมาะสมหรือไม่ ซึ่งถ้าใช้หนี้สินน้อยอาจจะไม่มีความเหมาะสมก็ได้ ถ้าหนี้สินน้อยอยู่ต้นทุนทางการเงิน (WACC) จะสูงขึ้น ดังนั้นต้องพิจารณาความเหมาะสมของต้นทุนทางการเงินด้วย
อัตราส่วนหนี้สินต่อทรัพย์สินควรมีค่าอยู่ในระดับต่ำ เพราะจะทำให้องค์กรระดมเงินทุนด้วยการกู้ได้
3.2 ความสามารถในการชำระดอกเบี้ย Time Interest Earned--TIE
เป็นอัตราส่วนที่ใช้พิจารณาว่า องค์กรมีกำไรเป็นกี่เท่าของดอกเบี้ยจ่าย TIE ควรมีค่าสูง จะแสดงให้เห็นถึงประสิทธิภาพขององค์กรในการหากำไขเพื่อชำระดอกเบี้ย
อัตราส่วนหนี้สินต่อสินทรัพย์ต้องใช้คู่กับ TIE หากอัตราส่วนหนี้สินสูงและ TIE สูงด้วย แสดงว่าองค์กรมีโอกาสในการระดมเงินทุนด้วนวิธีการกู้เงินเพิ่มขึ้น แต่ถ้าอัตราส่วนหนี้สินสูงแต่ TIE ต่ำ แสดงว่าองค์กรจะระดมทุนด้วยการก่อหนี้ด้ยากเจ้าหนี้จะไม่พิจารณาปล่อยเงินกู้ให้กับองค์กร
ถ้าอัตราหนี้สินต่ำและ TIE ต่ำ การระดมทุนด้วยการก่อหนี้ได้หรือไม่แล้วแต่เจ้าหนี้และต้องดูตัวอื่นประกอบด้วย เช่นนำเงินไปทำอะไร หรือดูวิธีการใช้เงิน
ถ้าหนี้ระยะยาวต้องเอาไปใช้กับสินทรัพย์ถาวร ส่วนหนื้ระยะสั้นต้องใช้กับสินทรัพย์หมุนเวียน
4. อัตราส่วนกำไร (profitability ratios) แสดงให้เห็นประสิทธิภาพของผู้บริหารในการควบคุมต้นทุนในด้านต่างๆ เพื่อก่อให้เกิดกำไร
4.1 อัตราส่วนกำไรขั้นต้น (gross profit) แสดงให้เห็นประสิทธิภาพของผู้บริหารในการควบคุมต้นทุนการผลิต
ถ้าอัตราส่วน gross profit เพิ่มมากขึ้น แสดงว่าผู้บริหารมีประสิทธิภาพในการควบคุมต้นทุนการผลิตให้ต่ำลงได้ ต้นทุนการผลิตคือ ต้นตุนที่เกิดจากของเสียระหว่างการผลิต เวลาการผลิต การซ่อมแซมเครื่องจักรและการบำรุงรักษา ซึ่งถ้าควบคุมต้นทุนการผลิตทั้ง 3 ตัวนี้ได้ จะทำให้กำไรขั้นต้นสูงขึ้น
4.2 Net Profit เป็นประสิทธิภาพของผู้บริหารในการควบคุมต้นทุนค่าใช้จ่ายในการขายและในการบริหาร เพื่อทำให้กำไรสุทธิเพิ่มมากขึ้น
ถ้า Net Profit Margin สูง แสดงว่าผู้บริหารสามารถควบคุมต้นทุนค่าใช้จ่ายในการขายและค่าใช้จ่ายในการบริหารให้ต่ำลงได้ ต้นทุนค่าใช้จ่ายในการขาย ต้นทุนส่วนใหญ่อยู่ที่สินค้าคงคลัง
ต้นทุนในการบริหารอยู่ที่ management เรื่องของการติดต่อสื่อสารที่ไม่มีประสิทธิภาพเรื่องของการใช้แรงจูงใจ เรื่องของการมีผู้บริหารระดับกลางมากเกินไป ดังนั้นจะต้องทำให้องค์กรแบนราบลง ซึ่งถ้าองกรแบนราบลงแล้วใช้ Empowerment แล้วจะทำให้สายบังคับบัญชาสั้นลง แต่ span of control (ขนาดของการควบคุม) ก็จะกว้างขึ้น จะทำให้ประหยัดต้นทุนในการบริหารได้
4.3 ROA หรือ ROE (Return on Assets ; Return on Equity) คือการใช้สินทรัพย์ทั้งหมดให้เกิดกำไรสุทธิ จะแสดงให้เห็นถึงประสิทธิภาพของผู้บริหารในการใช้สินทรัพย์เพื่อก่อให้เกิดกำไรสุทธิ
ถ้าอัตราส่วน ROA หรือ ROI สูงแสดงว่าผู้บริหารสามารถใช้สินทรัพย์ทั้งหมดให้เกิดกำไรสุทธิได้ดี จะทำให้ ROI กับROA สูงขึ้นได้ จะต้องให้มีกำไรมากๆซึ่งจะมีกำไรได้จะต้องมาก และใช้สินทรัพย์ให้น้อยลง
4.4 ROE--Return on Equity ประสิทธิภาพของผู้บริหารในการใช้ส่วนของผู้ถือหุ้นให้เกิดกำไรมากที่สุด หรือประสิทธิภาพของผู้บริหารในการตอบแทนผู้ถือหุ้นให้ได้มากที่สุด
การจะทำให้ ROE สูงขึ้นได้โดยการทำให้กำไรสุทธิสูงแต่ส่วนผู้ถือหุ้น (equity) ต่ำโดยการกู้มาลงทุน แต่จะกู้มากก็ไม่ได้เพราะจะกระทบกับ debt ratio และ TIE

วันอาทิตย์ที่ 23 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2557

งบประมาณแบบฐานศูนย์ (ZERO BASE) และงบประมาณแบบสะสม (Incremental Budget)

งบประมาณแบบฐานศูนย์ 
ในลักษณะกว้าง ๆ เป็นระบบงบประมาณที่จะพิจารณา
งบประมาณทุกปีอย่างละเอียดทุกรายการ โดยไม่คำ นึงถึงว่ารายการหรือแผนงานนั้นจะเป็นรายการ
หรือแผนงานเดิมหรือไม่ ถึงแม้รายการหรือแผนงานเดิมที่เคยถูกพิจารณาและได้รับงบประมาณ
ในงบประมาณปีที่แล้วก็จะถูกพิจารณาอีกครั้ง และอาจเป็นไปได้ว่า ในปีนี้อาจจะถูกตัดงบประมาณลง
ก็ได้ เช่น แผนงาน แผนงานหนึ่ง ปีที่แล้วได้รับงบประมาณรวม 1,000 ล้านบาท เพราะถูกจัดไว้ว่ามี
ความจำ เป็นและสำ คัญลำ ดับ 1 พอมาปีงบประมาณใหม่อาจจะได้รับงบประมาณ 500 ล้านบาท
ไม่ถึง 1,000 ล้านบาทเดิมก็ได้ ทั้งนี้เพราะเป็นแผนงานที่จำ เป็นและสำ คัญสำ หรับปีที่แล้ว แต่พอมาปีนี้
แผนงานนั้น ๆ อาจจะไม่จำ เป็นหรือสำ คัญเป็นอันดับที่ 1 ต่อไปก็ได้ ไม่จำ เป็นต้องได้รับงบประมาณ
เท่าเดิมต่อไปก็ได้ และในทางตรงกันข้ามแผนงานอีกแผนงานหนึ่งปีที่แล้วถูกจัดอันดับความสำ คัญไว้
ที่ 3 แต่พอมาปีนี้อาจจะจัดอันดับความสำ คัญเป็นที่ 1 และได้รับงบประมาณมากกว่าเดิมปีที่แล้ว
เพิ่มขึ้นอีกร้อยเปอร์เซ็นต์ก็ได้

งบประมาณแบบสะสม (Incremental Budget)
การจัดทำ งบประมาณในแต่ละปีเป็นภาระหนัก เนื่องจากต้องใช้ข้อมูลมากในการพิจารณา
และต้องเกี่ยวข้องกับหน่วยงานหลายหน่วยงานด้วยกัน ดังนั้นต้องใช้เวลามากในการจัดทำ งบประมาณ
หากจะต้องจัดทำ งบประมาณใหม่ทั้งหมดทุกปีคงจะทำ ได้ยาก และคงมีข้อบกพร่องมากด้วย ดังนั้นเพื่อ
ให้ทันกับเวลาที่มีอยู่ และเพื่อให้งบประมาณได้พิจาณณาให้เสร็จทันและสามารถนำ งบประมาณมาใช้
จ่ายได้ จึงได้มีการพิจาณางบประมาณเฉพาะส่วนเงินงบประมาณที่เพิ่มใหม่ที่ยังไม่ได้รับการพิจารภณา
จากปีที่แล้วนั้น แต่เงินงบประมาณในปีที่แล้วที่ได้เคยพิจารณาไปครั้งหนึ่งแล้ว จะไม่มีการพิจารณาอีก
ครั้ง เพียงแต่ยกยอดเงินมาตั้งเป็นงบประมาณใหม่ได้เลย เพราะถือว่าได้มีการพิจารณาไปแล้วครั้งหนึ่ง
คงไม่มีความจำ เป็นที่จะต้องไปพิจารณาใหม่อีกครั้ง

งบประมาณที่ดีและเป็นประโยชน์ต่อหน่วยงาน

1) เป็นศูนย์รวมของเงินงบประมาณทั้งหมด ปกติการใช้จ่ายเงินงบประมาณควรจะ
ใช้จ่ายและพิจารณาจากศูนย์ หรือแหล่งรวมเดียวกันทั้งหมด ทั้งนี้เพื่อจะได้มีการพิจารณาเปรียบเทียบ
การใช้จ่ายในแต่ละรายการ หรือทุกโครงการว่ารายการใดมีความสำ คัญจำ เป็นมากน้อยกว่ากัน หากราย
การใดมีความสำ คัญและจำ เป็นมาก ก็ควรได้รับการจัดสรรงบประมาณรายจ่ายมาก ทั้งนี้เพื่อความยุติ
ธรรมในการจัดสรรเงินงบประมาณทุกโครงการ ควรมีสิทธิเท่า ๆ กันในการเสนอเข้ารับการพิจารณาในการจัดสรรงบประมาณพร้อมกัน เพื่อจะได้มีการประสานงานและโครงการเข้าด้วยกัน ป้องกันมิให้
มีการทำ งานหรือโครงการซํ้าซ้อน อันจะเป็นการสิ้นเปลืองงบประมาณ ดังนั้นจึงไม่ควรแยกการ
พิจารณางบประมาณไว้ในหลาย ๆ จุด หรือหลายครั้ง ซึ่งจะก่อให้เกิดการพิจารณาที่ต่างกันและไม่
ยุติธรรม
แต่อย่างไรก็ตาม ในบางโอกาสก็ยังมีความจำ เป็นที่จะต้องแยกตั้งเงินไว้ต่างหากเป็น
งบพิเศษ นอกเหนือจากงบประมาณ เช่น งบกลาง งบราชการลับ ซึ่งถ้ามีจำ นวนไม่มากเกินไปก็มักจะ
ไม่เป็นภัยทั้งยังช่วยให้เกิดความสะดวกบางอย่างด้วย แต่ถ้าการตั้งงบพิเศษมีมากเกินไปจะเกิดผลเสีย
ต่อการบริหารงบประมาณ เพราะจะทำ ให้เกิดการ คือ โอกาสแยกเงินมาใช้จ่ายได้ง่ายขึ้นและยังทำ ให้
การบริหารงบประมาณเป็นไปแบบไม่มีแผนและเป้าหมายที่ชัดเจน
2) มีลักษณะของการพัฒนาเป็นหลัก งบประมาณที่ดีควรจะดำ เนินการจัดสรรโดยยึด
หลักการพัฒนาเพื่อให้เกิดความก้าวหน้าเป็นหลัก ทั้งนี้เนื่องจากมีงบประมาณจำ กัด จึงควรมีการ
พิจารณาจัดสรรงบประมาณตามหลักการพัฒนาที่ดีว่าด้านไหนควรมาก่อนหลัง ตามสถานการณ์และ
ความจำ เป็น3) การกำ หนดเงินต้องสอดคล้องกับปัจจัยในการทำ งาน การจัดงบประมาณในแผน
งานต้องมีความเหมาะสมให้งานนั้น ๆ สามารถจัดทำ กิจกรรมได้บรรลุตามเป้าหมายที่ตั้งไว้หรืออีกนัย
หนึ่ง คือ การกำ หนดเป้าหมายหรือผลที่จะได้รับต้องสอดคล้องกับงบประมาณและความเป็นไปได้
4) มีลักษณะที่สามารถตรวจสอบได้ หรือเป็นเครื่องมือที่จะใช้ตรวจสอบการบริหาร
งานของหน่วยงานได้ การจัดงบประมาณในแผนงานต่างควรมีรายละเอียดของกิจกรรมต่าง ๆ อย่างพอ
เพียงและเกิดผลเป็นรูปธรรม
5) มีระยะการดำ เนินงานที่เหมาะสม ตามปกติงบประมาณที่ดีควรมีระยะเวลาเหมาะ
สมตามสถานการณ์ ไม่สั้นไม่ยาวเกินไป โดยทั่วไปจะใช้ระยะเวลา ประมาณ 1 ปี การเริ่มต้นใช้งบ
ประมาณจะเริ่มในเดือนใด ขึ้นอยู่กับความเหมาะสมของแต่ละหน่วยงาน เช่น งบประมาณแผ่นดิน เริ่ม
เดือนตุลาคม ถึงเดือนกันยายน ของปีต่อไป งบประมาณเงินรายได้ของสถานศึกษาใช้ตามปีการศึกษา
เป็นต้น
6) มีลักษณะช่วยให้เกิดการประหยัด ในการทำ งบประมาณ ควรพยายามให้การใช้
จ่ายเงินตามโครงการต่าง ๆ ได้ผลเต็มเม็ดเต็มหน่วย โดยพยายามไม่ให้มีการใช้จ่ายเกินความจำ เป็น
ฟุม่ เฟือย หรือเป็นการใช้จ่ายที่สูญเปล่า ไม่เกิดประโยชน์คุ้มค่า7) มีลักษณะชัดเจน งบประมาณที่ดีควรมีความชัดเจน เข้าใจง่ายเน้นถึงความสำ คัญ
แต่ละโครงการได้ดี ไม่คลุมเครือ ง่ายต่อการพิจารณาวิเคราะห์ และเป็นประโยชน์ต่อผู้นำ ไปปฏิบัติด้วย8) มีความถูกต้องและเชื่อถือได้ งบประมาณที่ดีจะต้องเป็นงบประมาณที่มีความ
ถูกต้องทั้งในรายละเอียดทั้งในด้านตัวเลขและรายละเอียดของโครงการต่าง ๆ หากงบประมาณมีข้อ
บกพร่องในด้านความถูกต้อง ซึ่งอาจจะเกิดจากความผิดพลาดหรือความไม่รอบคอบก็ตามอาจเกิดผล
เสียหายขึ้นได้ และต่อไปงบประมาณอาจไม่รับความเชื่อถือ
9) จะต้องเปิดเผยได้ งบประมาณที่ดีจะต้องมีลักษณะที่สามารถจะเปิดเผยแก่
สาธารณะ หรือผู้เกี่ยวข้องทราบได้ ไม่ถือเป็นความลับ เพราะการเปิดเผยเป็นการแสดงถึงความบริสุทธิ์
และโปร่งใสในการบริหารหน่วยงาน
10) มีความยืดหยุน่ งบประมาณที่ดีควรจะยืดหยุ่นได้ตามความจำ เป็น หากจัดวางงบ
ประมาณไว้อย่างเคร่งครัดจนขยับไม่ได้ อาจจะก่อให้เกิดความไม่คล่องตัวในการทำ งาน เพราะลักษณะ
ของการทำ งบประมาณเป็นการวางแผนการทำ งานในอนาคต ซึ่งอาจมีปัจจุบันอื่นมากระทบทำ ให้การ
บริหารงบประมาณผิดพลาด และอย่างไรก็ตาม ถ้ามีความยืดหยุ่นมากก็อาจเกิดปัญหาการใช้งบ
ประมาณที่ไม่มีประสิทธิภาพ

ความสำ คัญและประโยชน์ของงบประมาณ

งบประมาณมีความสำ คัญและเป็นประโยชน์ต่อการบริหาร หน่วยงานสามารถนำ เอา
งบประมาณมาใช้เป็นเครื่องมือในการบริหารหน่วยงานให้เจริญก้าวหน้า ความสำ คัญและประโยชน์
ของงบประมาณมีดังนี้
1) ใช้เป็นเครื่องมือในการบริหารหน่วยงาน ตามแผนงานและกำ ลังเงินที่มีอยู่โดยให้
มีการปฏิบัติงานให้สอดคล้องกับแผนงานที่วางไว้ เพื่อป้องกันการรั่วไหลและการปฏิบัติงานที่ไม่จำ
เป็นของหน่วยงานลดลง
2) ให้เป็นเครื่องมือในการพัฒนาหน่วยงาน ถ้าหน่วยงานจัดงบประมาณการใช้จ่าย
อย่างถูกต้องและมีประสิทธิภาพ จะสามารถพัฒนาให้เกิดความเจริญก้าวหน้าแก่หน่วยงานและสังคม
โดยหน่วยงานต้องพยายามใช้จ่ายและจัดสรรงบประมาณให้เกิดประสิทธิผลไปสู่โครงการที่จำ เป็น
เป็นโครงการลงทุนเพื่อก่อให้เกิดความก้าวหน้าของหน่วยงาน
3) เป็นเครื่องมือในการจัดสรรทรัพยากรที่มีอยู่จำ กัดให้มีประสิทธิภาพ เนื่องจาก
ทรัพยากรหรืองบประมาณของหน่วยงานมีจำ กัด ดังนั้นจึงจำ เป็นที่จะต้องใช้งบประมาณเป็นเครื่องมือ
ในการจัดสรรทรัพยากรหรือใช้จ่ายเงินให้มีประสิทธิภาพ โดยมีการวางแผนในการใช้และจัดสรรเงิน
งบประมาณไปในแต่ละด้าน และมีการวางแผนการปฏิบัติงานในการใช้จ่ายทรัพยากรนั้น ๆ ด้วย เพื่อที่
จะก่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดในเวลาที่เร็วที่สุด และใช้ทรัพยากรน้อยที่สุด
4) เป็นเครื่องมือกระจายทรัพยากร และเงินงบประมาณที่เป็นธรรม งบประมาณ
สามารถใช้เป็นเครื่องมือในการจัดสรรงบประมาณที่เป็นธรรมไปสู่จุดที่มีความจำ เป็นและทั่วถึงที่จะทำ
ให้หน่วยงานนั้นสามารถดำ เนินไปได้อย่างมีประสิทธิภาพ
5) เป็นเครื่องมือประชาสัมพันธ์ งานและผลงานของหน่วยงาน เนื่องจากงบประมาณ
เป็นที่รวมทั้งหมดของแผนงานและงานที่จะดำ เนินการในแต่ละปีพร้อมทั้งผลที่จะเกิดขึ้น ดังนั้น
หน่วยงานสามารถใช้งบประมาณหรือเอกสารงบประมาณที่แสดงถึงงานต่าง ๆ ที่ทำ เพื่อเผยแพร่และ
ประชาสัมพันธ์ให้ประชาชนทราบ

Popular Posts