MBA

We constantly research and disseminate knowledge to prepare graduate students to be leaders at the community, national and international levels.

Facebook is a social utility that connects people with friends and others who work, study and live around them. People use Facebook to keep up with friends

Custom Search

วันอังคารที่ 18 พฤศจิกายน พ.ศ. 2557

วงจรผลิตผล (Productivity Cycle)

  การเพิ่มผลผลิตจะเกิดขึ้นอย่างเป็นกระบวนการที่ต่อเนื่อง มีลักษณะเป็นวงจร (Cycle) ซึ่งประกอบด้วยกระบวนการของวงจรผลิตภาพหรือวงจรการเพิ่มผลผลิต เป็นขั้นตอนดังนี้

          1.      การวัดผลงาน (Measurement)
          2.      การประเมินผลงาน (Evaluation)
          3.      การวางแผน (Planning)
          4.      การปรับปรุงเพื่อเพิ่มผลผลิต (Productivity Improvement)

 ต้นทุนและความสูญเสีย
     องค์การที่จะประสบความสำเร็จในการดำเนินงานผู้บริหารมักคำนึงถึงกำไร (Profits) เป็นเป้าหมายสูงสุดซึ้งการจะได้กำไรมากน้อยขึ้นอยู่กับราคาขายหรือมูลค่า สินค้าต้องสูงกว่าต้นทุนการผลิต จากสมการ
                      กำไร  =   ราคาขาย - ต้นทุน

1 ต้นทุน  (Cost)  หมายถึง ค่าใช้จ่ายที่จ่ายไปสำหรับทรัพยากรทางการผลิตเพื่อให้เกิดผลิตผล

ต้นทุนการผลิตที่เป็นค่าใช้จ่ายแบ่งออกเป็น 3 ส่วน คือ
1.      ค่าวัสดุ (Material Cost)
2.      ค่าแรงงาน  (Labor  Cost)
3.      ค่าโสหุ้ย  (Overhead  Cost)

ค่าโสหุ้ย จะประกอบด้วยค่าใช้จ่ายต่างๆ
-  ค่าวัสดุทางอ้อม เช่น ค่าวัสดุเครื่องใช้สำนักงาน ค่าทำความสะอาด ค่าบรรจุภัณฑ์ เป็นต้น
-  ค่าแรงงานทางอ้อม เช่น ค่ายามรักษาความปลอดภัย ค่าพนักงานทำความสะอาด พนักงานรับโทรศัพท์ เป็นต้น
-  ค่าสาธารณูปโภค เช่น ค่าน้ำ ค่าไฟ ค่าโทรศัพท์ ฯลฯ
-  ค่าใช้สอยอื่นๆ
-  ค่าเสื่อมราคาเครื่องจักรและทรัพย์สินอื่น ๆ
-  ค่าใช้จ่ายสวัสดิการ เช่น โบนัส ค่ารักษาพยาบาล ฯลฯ
-  ค่าขนส่ง เป็นต้น

2  ความสูญเสีย (Lost) หมายถึง ค่าใช้จ่ายที่จ่ายไปแล้วไม่เกิดผลผลิต บางองค์การอาจใช้คำว่า ความสูญเปล่า (Waste)ในความเป็นจริง  ความสูญเสียหรือความสูญเปล่าก็คือต้นทุนแต่เป็นต้นทุนที่ไม่ก่อผลประโยชน์

ปัญหาของการเพิ่มผลผลิต  ซึ้งทำให้ผลผลิตตกต่ำลงและอาจมีสาเหตุหลายประการซึ้งทำให้เกิดความสูญเสีย   ได้แก่

2.1.      ความสูญเสียในส่วนวัสดุ    เช่น
          -  มากเกินไป สั่งซื้อมามาก ทำให้หมดเงินลงทุน และต้องเสียค่าใช้จ่ายในการจัดเก็บ
          -  สูญหาย การวางผิดที่ หยิบใช้โดยไม่ต้องบอก ฯลฯ
          -  ไว้ผิดประเภท จัดซื้อไม่ถูกขนาดหรือ Spec เสียค่าใช้จ่ายมาก ฯลฯ

2.2.      ความสูญเสียในส่วนเครื่องจักร
          -  เก่าชำรุด
          -  สกปรก ขาดการดูแลรักษา
          -  ประสิทธิภาพการผลิตต่ำ ฯลฯ

2.3.      ความสูญเสียในส่วนแรงงาน
          -  ขาดระเบียบวินัย
          -  ขาดการฝึกอบรม
          -  มีทัศนคติที่ไม่ดีในการทำงาน ฯลฯ

2.4.      ความสูญเสียในส่วนกระบวนการผลิตหรือวิชาการทำงาน
          -  ขาดเทคโนโลยี
          -  ไม่มีการพัฒนาควบคุมคุณภาพ ฯลฯ

ดุลการชำระเงิน (Balance of Payment)

ดุลการชำระเงินอาจจะเกินดุล (Surplus) สมดุล (Balance) หรือขาดดุล (Deficit) ก็ได้ ขึ้นอยู่กับการเปลี่ยนแปลงขององค์ประกอบแต่ละประเภทที่เกี่ยวข้องในบัญชี ดุลการชำระเงิน โดย
-       เกินดุล เมื่อมีการไหลเข้าของเงินตราต่างประเทศมากกว่าการไหลออกของเงินตรา ต่างประเทศ
-       สมดุล เมื่อมีการไหลเข้าของเงินตรา ต่างประเทศเท่ากับการไหลออกของเงินตราต่างประเทศ
-       ขาดดุล เมื่อมีการไหลเข้าของเงินตราต่างประเทศน้อยกว่าการไหล ออกของเงินตราต่างประเทศดุลการชำระเงิน (Balance of Payment) = ดุลบัญชีเดินสะพัด (Current Account) + ดุลบัญชีการเคลื่อนย้ายของทุน ( Capital & Financial Account )

ดุลบัญชีเดินสะพัด = ดุลการค้า + ดุลบริการ + ดุลรายได้และเงินโอน
ดุลการค้า = นำเข้า ส่งออก สินค้า
      • ดุลบริการ นำเข้า ส่งออก บริการ (เช่นเรื่องของการท่องเที่ยว และค่าขนส่ง)
      • ดุลรายได้ และเงินโอน ให้นึกถึงการส่งกลับรายได้จากการไปทำงานในต่างแดน และการโอนเงินบริจาค
      • ดุลบัญชีการเคลื่อนย้ายของทุน เรื่องที่เกี่ยวกับการเดินทางของเงินทุน เช่น ลงทุนในตลาดหุ้น การเอาเงินมาลงทุนเปิดกิจการโรงงาน เป็นต้น
  • ดุลการชำระเงิน = มีมูลค่าเท่ากับการเปลี่ยนแปลงของสินทรัพย์เงินสำรองระหว่างประเทศ (ถ้าไม่เท่าจะต้องปรับด้วย ค่าความผิดพลาดคลาดเคลื่อนทางสถิติ)
    นั่นคือ ถ้าดุลการชำระเงินเป็นบวก เงินสำรองระหว่างประเทศจะเพิ่มขึ้นด้วยในจำนวนเท่ากัน (แต่ใส่เครื่องหมายลบ เพราะเงินออกจากบัญชีนี้ไปสู่เงินสำรองระหว่างประเทศ)
อัตราแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศ
อัตราแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศ หมายถึง ราคาของเงินตราประเทศ 1 หน่วย คิดเทียบกับเงินตราอีกสกุลหนึ่ง เช่น เงิน 1 ดอลลาร์สหรัฐฯ มีค่าเทียบกับเงินบาทเท่ากับ 39 บาท เป็นต้น
อัตราแลกเปลี่ยน อาจมีได้หลายอัตรา เช่น
1. อัตราทางการ ( Official Rate ) คือ อัตราแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศที่กำหนดโดยเจ้าหน้าที่ทางการเงินของ ประเทศ เช่น ประเทศไทยเคยกำหนดอัตราแลกเปลี่ยนทางการเอาไว้ในอัตราดอลลาร์ละ 20 บาท เป็นต้น
2. อัตราตลาด ( Market Rate ) คือ อัตราแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศที่กำหนดขึ้นจากอุปสงค์และอุปทานของเงิน ตราต่างประเทศที่อยู่ในภาวะดุลยภาพ
3. อัตราตลาดมืด ( Black Market Rate ) คือ อัตราแลกเปลี่ยนที่เกิดจากการกำหนดทางการไว้สูงกว่าอัตราตลาด
**ในกรณีที่เราสามารถแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศกันได้อย่างเสรี อัตราแลกเปลี่ยนจะขึ้นอยู่กับอุปสงค์และอุปทานของเงินตราต่างประเทศ ซึ่งสามารถอธิบายได้เป็น 2 กรณี คือ
1. ถ้าความต้องการใช้ดอลลาร์มีมากขึ้น แต่จำนวนดอลลาร์มีน้อย ค่าของเงินดอลลาร์เมื่อเทียบกับเงินบาทจะสูงขึ้น ส่วนค่าของเงินบาทจะลดลง
2. ถ้าความต้องการใช้ดอลลาร์มีน้อยลง แต่จำนวนดอลลาร์มีมาก ค่าของเงินดอลลาร์เมื่อเทียบกับเงินบาทจะต่ำลง ส่วนค่าของเงินบาทจะสูงขึ้น


อุปสงค์ของเงินตราต่างประเทศ คือ ความต้องการการเงินตราต่างประเทศเพื่อใช้ชำระค่าสินค้าที่เราสั่งเข้ามาก ซึ่งการที่อุปสงคาของเงินตราต่างประเทศจะมีมากหรือน้อยเพียงใด ย่อมขึ้นอยู่กับความต้องการใช้จ่ายเงินในด้านต่าง ๆ ดังต่อไปนี้
1. เพื่อนำไปชำระค่าสินค้าและบริการที่สั่งซื้อจากต่างประเทศ
2. เพื่อนำไปให้ต่างประเทศกู้ยืมหรือซื้อหลักทรัพย์จากต่างประเทศ
3. เพื่อนำมากักตุนเก็งกำไร
4. เพื่อส่งออกไปเก็บไว้ในที่ปลอดภัย

สาเหตุของเงินเฟ้อ (The Causes of Inflation)

1.) ดีมานด์เกิน (Demand Pull Inflation) เป็นปัญหาด้านดีมานด์ของสินค้า
               2.) ต้นทุนเพิ่ม (Cost - Push Inflation) เป็นปัญหาด้านซัพพลายของสินค้า
               3.) สาเหตุอื่นๆ
               1.) ดีมานด์เกิน (Demand Pull Inflation) เงินเฟ้อเพราะดีมานด์เกิน ทฤษฎีเงินเฟ้อดั้งเดิมอธิบายสาเหตุของเงินเฟ้อว่า เกิดจากการที่ดีมานด์มวลรวมมีมากกว่าซัพพลายมวลรวม ณ ระดับราคาสินค้าที่เป็นอยู่ขณะนั้น ผลทำให้ราคาสินค้าสูงขึ้น ถ้าเราเพิ่มผลผลิตให้มากขึ้น แต่ไม่ให้ระดับการจ้างงานเพิ่มขึ้นตาม นั่นคือ ผลผลิตจะสามารถเพิ่มขึ้นโดยต้นทุนเฉลี่ยต่อหน่วยยังคงเดิม ดังนั้น การที่ดีมานด์มวลรวมเพิ่มขึ้นในขณะที่การผลิตขณะนั้นอยู่ไกลการมีงานทำเต็ม ที่ เงินเฟ้อจะไม่เกิดขึ้น แต่ถ้าดีมานด์มวลรวมเพิ่มในขณะที่การผลิตอยู่ ณ ระดับการมีงานทำเต็มที่ ทำให้ราคาเพิ่มโดยที่ผลผลิตไม่เพิ่มตาม เคนส์เรียกเงินเฟ้อที่เกิดขึ้นเมื่อเศรษฐกิจมีการจ้างงานเต็มที่แล้วว่า "เงินเฟ้อแท้จริง" (True Inflation)
               2.) ต้นทุนเพิ่ม (Cost - Push Inflation) มีสาเหตุมาจากด้านซัพพลาย เมื่อต้นทุนเพิ่ม จะทำให้ซัพพลายลดลง ซึ่งส่งผลให้ราคาสินค้าสูงขึ้น ถ้าดีมานด์มีค่าคงที่ ผลผลิตจะลดลง แบ่งแยกออกเป็น 2 ประเภท คือ
               - เงินเฟ้อเพราะค่าจ้างเพิ่ม (Wage - Pash Inflation) เกิดจากการขึ้นสูงของค่าจ้าง โดยดีมานด์ของแรงงานมิได้มีมากกว่าซัพพลายของแรงงานขณะนั้น ซึ่งเป็นไปได้ แต่ในทางเศรษฐกิจที่ทั้งตลาดแรงงานและตลาดผลผลิตมีการแข่งขันไม่สมบูรณ์เท่า นั้น เพราะโดยปกติแล้วตลาดที่มีการแข่งขันสมบูรณ์ การขึ้นค่าจ้างและราคาสินค้าจะเป็นไปโดยกลไกของตลาดอย่างเดียวเท่านั้น การแก้ปัญหาเงินเฟ้อในลักษณะนี้ค่อนข้างยาก มาตรการที่ได้ผล ควรจะเป็นมาตรการเกี่ยวกับการควบคุมค่าจ้างโดยตรง ในยามที่เกิดภาวะการณ์เช่นนี้รัฐบาลจำเป็นต้องตัดสินใจเลือกเอาระหว่างการ ที่จะให้ระดับราคาสินค้ามีเสถียรภาพ แต่ทำให้มีอัตราการว่างงานเพิ่มขึ้น หรือการว่างงานน้อยลงแต่ระดับราคาสินค้าสูงขึ้น
               - เงินเฟ้อเพราะกำไรเพิ่ม (Prafit - Push Inflation) เป็นปัญหาที่เกิดขึ้นทางด้านซัพพลายหรือต้นทุนการผลิต เนื่องจากที่กล่าวมาแล้วข้างต้นว่าตลาดที่มีการแข่งขันที่สมบูรณ์ (Perfect Market) การเพิ่มขึ้นหรือลดลงของราคาสินค้าหรือค่าจ้างจะเป็นไปโดยกลไกตลาด เพราะฉะนั้นปัญหาภาวะการณ์เช่นนี้เกิดเฉพาะตลาดที่มีการแข่งขันไม่สมบูรณ์ เท่านั้น คือ ผู้ผลิตมีอำนาจที่จะกำหนดราคาสินค้าได้เอง
              3.) เงินเฟ้อเพราะสาเหตุอื่น ๆ
                    - โครงสร้างดีมานด์เปลี่ยนแปลง (ฺBottleneck or Structural Inflation) เมื่อระบบเศรษฐกิจมีการพัฒนาขึ้น การบริโภคและโครงสร้างจะมีการปรับตัวอย่างรวดเร็ว แต่โครงสร้างการผลิตยังไม่สามารถปรับตัวได้ทัน จึงทำให้เกิดดีมานด์ส่วนเกิน (ฺExcess Demand) ราคาสินค้าสูงขึ้น และทำให้สินค้าโดยทั่วไปสูงขึ้นด้วย แต่เงินเฟ้อประเภทนี้ไม่สามารถใช้การแก้ไขได้แบบเดียวกับ Demand Pull Inflation เพราะนอกจากจะไม่ทำให้ปัญหาเงินเฟ้อลดลงแล้วจะยังคงก่อให้เกิดปัญหาการว่าง งานด้วย
                    - เงินเฟ้อที่เกิดจากการติดต่อระหว่างประเทศ (ฺInternational Transmission of Inflation)
                      1) ผ่านทางสินค้าออก คือ เมื่อตลาดต่างประเทศมีความต้องการที่จะซื้อผลิตภัณฑ์สินค้าจากประเทศไทย เพิ่มขึ้น ราคาสินค้าที่จะส่งออกของไทยจึงสูงขึ้น ทำให้ความต้องการที่จะขายสินค้าภายในประเทศลดต่ำลง นั่นคือ ดีมานด์ที่ต้องการส่งออกมีมากทำให้ซัพพลายที่เหลืออยู่ในประเทศลดลง เช่น ราคาน้ำตาลทราย
                      2) ผ่านทางสินค้าเข้า เช่น ไทยสั่งซื้อเป็นสินค้านำเข้า เมื่อน้ำมันของตลาดโลกสูงขึ้น ราคาผลิตภัณฑ์สินค้าหรือบริการต่าง ๆ ที่ใช้น้ำมันเหล่านี้เป็นส่วนประกอบก็จะพลอยสูงขึ้นตาม

Popular Posts