MBA

We constantly research and disseminate knowledge to prepare graduate students to be leaders at the community, national and international levels.

Facebook is a social utility that connects people with friends and others who work, study and live around them. People use Facebook to keep up with friends

Custom Search

วันจันทร์ที่ 9 ธันวาคม พ.ศ. 2556

Employee Testing and Selecting

การทดสอบ เป็นวิธีการเชิงระบบที่ใช้วัดเพื่อเปรียบเทียบพฤติกรรมของบุคคลคน เดียวหรือหลายคน ณ เวลาหนึ่ง หรือต่างเวลากัน การคัดเลือก เป็นกระบวนการพิจารณา คัดเลือกบุคคลที่มาสมัครงานโดยคาดว่าจะเป็นบุคคลที่ทำงานได้ประสบความสำคัญได้ดีที่สุด โดยพิจารณาจากทักษะ ความสามารถและคุณสมบัติอื่นๆที่จำเป็นเพื่อการทำงานอย่างใด อย่างหนึ่ง กระบวนการคัดเลือก เป็นกระบวนการกลั่นกรองผู้สมัครงานเพื่อให้เกิดความ เชื่อมั่นว่าจะได้ผู้สมัครที่เหมาะสมที่สุดมาทำงานความสำคัญของกระบวนการคัดเลือก มี ความสำคัญด้วยเหตุผล 3 ประการ (1) ผลการปฏิบัติงาน(Performance) เป็นกลุ่มของพฤติกรรมที่เกี่ยวข้องกับ งานของพนักงาน พนักงานที่ไม่มีความสามารถจะไม่สามารถปฏิบัติงานได้อย่างมีประสิทธิผล การกลั่นกรองจึงเป็นวิธิการคัดคนที่ไม่มีคุณสมบัติตามต้องการออกก่อนที่จะรับบุคคลที่มีความ เหมาะสมเข้ามาทำงาน (2)...

การวางแผนทรัพยากรมนุษย์ต้องการการพยากรณ์ 3 อย่าง

1. การพยากรณ์ความต้องการบุคลากรของบริษัท โดยการคาดการณ์ความ ต้องการในผลิตภัณฑ์หรือบริการ การคาดการณ์ปริมาณสินค้าหรือบริการที่สนองความ ต้องการที่ได้คาดการณ์ไว้ แล้วจึงประมาณจำนวนบุคลกรที่เหมาะสมในการผลิตสินค้าหรือ บริการ อย่างไรก็ตามต้องคำนึงถึง Projected turnover, Quality and skill of your employees, decisions to upgrade the quality of products, Technology and other changes resulting in increased productivity and your financial resources. อาจใช้วิธี Trend Analysis โดยการศึกษาความต้องการบุคลากรในอดีตเพื่อใช้ในการคาดการณ์ใน อนาคต หรือใช้วิธี Ratio Analysis เป็นการคาดการณ์จากสัดส่วนของงานกับจำนวนคน หรือ ยอดขายกับจำนวนพนักงานขาย ใช้วิธี Scatter...

วันเสาร์ที่ 30 พฤศจิกายน พ.ศ. 2556

การตลาดกับการตำเนินงานขององค์กรประเภทต่างๆ

สามารถที่จะประมวลประเภทขององค์กร และความจำเป็นต่อการใช้การตลาดเป็นเครื่องมือในการบริหารองค์กรเหล่านั้น ได้ดังนี้            1.การตลาดกับการดำเนินงานขององค์กรธุรกิจ  สามารถสรุปได้ว่าการตลาดมีความสำคัญต่อการบริหารองค์กรธุรกิจ ในด้านต่างๆ ดังนี้                 -เป็นสิ่งที่ผู้ถือหุ้น ผู้ประกอบการ และผู้บริหารขององค์กร จะต้องพิจารณาเป็นเบื้องต้น ก่อนการลงทุนในธุรกิจหรืออุตสาหกรรมใดๆ เพราะหากไม่มีตลาดที่ดีมารองรับได้อย่างเหมาะสมเพียงพอธุรกิจหรืออุตสาหกรรมนั้นๆ ย่อมไม่สามารถดำเนินการได้อย่างยั่งยืน                 -เป็นเครื่องมือในการพิจารณาความเป็นไปได้ของแผนงานทางธุรกิจในแต่ละโครงการ                 -เป็นเครื่องมือในการดำเนินธุรกิจ...

วันอังคารที่ 24 กันยายน พ.ศ. 2556

ผลตอบแทนจากการลงทุน

ผู้ลงทุนคาดว่าจะได้รับผลตอบแทนในรูปของกระแสเงินสด และมีความเสี่ยงในความไม่แน่นอนของกระแสเงินสดนั้น ผลตอบแทน = เงินที่ได้รับจากการลงทุน - เงินลงทุน อัตราผลตอบแทนจากการลงทุน = ผลตอบแทน / เงินลงทุน ความเสี่ยง ความเสี่ยงคือความน่าจะเป็นที่จะได้รับผลตอบแทนต่ำหรือขาดทุน ความเสี่ยงจากการลงทุนมี 2 ประเภท Stand-alone risk (ความเสี่ยงเฉพาะ) ความเสี่ยงของหลักทรัพย์ตัวเดียว Portfolio risk ความเสี่ยงของกลุ่มหลักทรัพย์ ความเสี่ยงเฉพาะ ความเสี่ยงเฉพาะ เกิดจากการลงทุนในสินทรัพย์เพียงตัวเดียว การคำนวณอัตราผลตอบแทนที่คาดว่าจะได้รับ (k^) k^ = ΣPiki k^ = P1k1 + P2k2 + P3k3... + Pnkn ตัวอย่าง ความต้องการสินค้า ความน่าจะเป็น อัตราผลตอบแทนจากการลงทุน บริษัท M บริษัท U สูง 0.3 100% 20% ปานกลาง 0.4 15% 15% ต่ำ 0.3 (70%) 10% K^M = 0.3(100%) + 0.4(15%) + 0.3(-70%) = 15%K^U...

พันธบัตรจ่ายดอกเบี้ยปีละ 2 ครั้ง

การใช้เครื่องคิดเลขคำนวณ ต้องปรับเปลี่ยนดังนี้ เวลากด Input N (จำนวนปี) เปลี่ยนเป็นจำนวนงวด (Nx2) I/Y (อัตราดอกเบี้ยต่อปี) เปลี่ยนเป็น ดอกเบี้ยต่องวด (N/2) PMT (เงินรายปี) เปลี่ยนเป็น เงินรายงวด (PMT/2) PV เท่าเดิม FV เท่าเดิม เมื่อได้คำตอบ อย่าลืมว่า เป็นคำตอบเป็นรายงวด ถ้าตำตอบเป็น N หรือ I/Y หรือ PMT ต้องแปลงเป็นรายปีก่อน I/Y เวลาจะตอบ คูณ 2 PMT เวลาจะตอบ คูณ 2 N เวลาจะตอบ หาร 2 การประเมินความเสี่ยงของพันธบัตร ความเสี่ยงจากอัตราดอกเบี้ย (Interest Rate Risk) มีความสัมพันธ์กับมูลค่าพันธบัตร ผู้ถือพันธบัตรระยะยาวจะประสบความเสี่ยงนี้ ความเสี่ยงจากอัตราผลตอบแทนที่นำไปลงทุนต่อ (Reinestment Rate Risk) มีความสัมพันธ์กับรายได้ของผู้ถือพันธบัตร ผู้ถือพันธบัตรระยะสั้นจะได้รบความเสี่ยงนี้ เช่น พันธบัตรถูกไถ่ถอนแล้วต้องนำเงินไปลงทุนโดยได้รับดอกเบี้ยน้อยกว่าเดิม ความเสี่ยงจากหนี้สูญ...

การประเมินมูลค่าพันธบัตร

เราสามารถหามูลค่าในปัจจุบันของพันธบัตรได้จากการรวมมูลค่าในปัจจุบันของเงินปันผลทั้งหมดที่จะจ่ายในอนาคต และมูลค่าปัจจุบันเงินที่จะได้รับเมื่อขายคืนพันธบัตร VB = Σ(INT/(1+kd)t) + M/(1+kd)N มูลค่าปัจจุบัน (PV) ปีที่ 1 ปีที่ 2 ปีที่ 3 ปีที่ 4 ปีที่ 5 ... ขายคืนพันธบัตร VB = INT/(1+kd)1 + INT/(1+kd)2 + INT/(1+kd)3 + INT/(1+kd)4 + INT/(1+kd)5 ... + M/(1+kd)N วิธีกดเครื่องคิดเลข FV = มูลค่าที่ตราไว้ในพันธบัตร หรือเงินที่จะได้เมื่อขายคืนPMT = ดอกเบี้ยที่พันธบัตรกำหนด (ต้องแปลงอัตราดอกเบี้ยพันธบัตรที่เป็น % เป็นจำนวนเงิน)PV = มูลค่าพันธบัตร หรือราคาตลาดของพันธบัตร (ติดลบเสมอ)N = จำนวนปีที่ถือครองพันธบัตรI/Y = อัตราผลตอบแทน ที่ได้จากการซื้อพันธบัตร หรือ อัตราดอกเบี้ยของตลาด (kd) การเปลี่ยนแปลงมูลค่าพันธบัตรตามเวลา ถ้า อัตราดอกเบี้ยพันธบัตร < kd ราคาตลาดจะต่ำกว่าราคาที่ระบุในพันธบัตร...

การปรับต้นทุนของเงินทุนให้เหมาะสมกับความเสี่ยง

การปรับต้นทุนของเงินทุนให้เหมาะสมกับความเสี่ยง โครงการที่มีความเสี่ยงสูง ย่อมต้องการผลตอบแทนจากการลงทุนสูง จึงจะยอมรับ จึงต้องปรับต้นทุนของเงินทุนให้สูงขึ้นเพื่อชดเชยความเสี่ยง ตัวอย่าง บริษัท A มี 2 แผนกคือ L กับ H ถ้าแยกแต่ละแผนกเป็น 1 บริษัท แผนก L ความเสี่ยงต่ำ โครงการมีผลตอบแทนที่คาดว่าจะได้รับ 9% แผนก H ความเสี่ยงสูง โครงการมีผลตอบแทนที่คาดว่าจะได้รับ 11% สองแผนกมีขนาดเท่ากัน ต้นทุนแต่ละแผนก ประเมินโดยใช้ WACC=10% ประเมินโดยใช้ต้นทุนแต่ละแผนก L ความเสี่ยงต่ำ 7% ปฏิเสธโครงการแผนก L รับโครงการแผนก L H คววามเสี่ยงสูง 13% รับโครงการแผนก H ปฏิเสธโครงการแผนก H ต้นทุนถัวเฉลี่ย 10% ตัดสินใจผิดพลาด ตัดสินใจถูกต้อง ...

แนวตวามคิดเรื่อง Real Options

การตัดสินใจหยุด/ยกเลิกโครงการ เป็นการวางแผนเผื่อไว้ในกรณีที่ผลประกบการไม่ดี ก็จะตัดสินใจหยุดโครงการ การคำนวณ NPV ของโครงการ ให้ใช้วิธีค่าเฉลี่ยถ่วงน้ำหนักตามความน่าจะเป็น แล้วหา CV จาก NPV ที่ได้ และค่า σ (Standard Deviation) ที่โจทย์ให้มา CV = σ/NPV ผลที่ได้ CV ของโครงการที่มีการเตรียมหยุดการลงทุน จะต่ำกว่า หมายความว่า มีความเสี่ยงต่อ 1 หน่วยผลตอบแทนต่ำกว่านั่นเอง การชะลอการลงทุน เป็นการเลื่อนการลงทุน เพื่อให้ได้รับข้อมูลข่าวสารมากขึ้น และหลีกเลี่ยงภาวะเศรฐกิจไม่ดี Growth Options เป็นการคำนวณเพื่อหา NPV , IRR ของโครงการเดิม วิธีคิด หาจำนวนเงินลงทุนในปีสุดท้าย คำนวณ Cash Flow หา NPV จากเงินลงทุน และผลกำไรสุทธิ ของแต่ละปี ...

วันจันทร์ที่ 22 กรกฎาคม พ.ศ. 2556

ประเภทของที่อยู่อาศัย

1. บ้านเดี่ยว (Single – family home) เป็นแบบบ้านที่อยู่อาศัยที่มีคนนิยมมากที่สุด ลักษณะเป็นบ้านตั้งอยู่เดี่ยว ๆ มีเนื้อที่กว้างขวาง รั้วรอบขอบชิด ทำให้ผู้อาศัยมีความเป็นส่วนตัวได้มากและห่างไกลจากการรบกวนของเพื่อนบ้าน นอกจากนั้นมีบ้านเดี่ยวยังเป็นการสร้างความภาคภูมิใจให้ผู้เป็นเจ้าของด้วย เพราะบ้านแต่ละหลังมีขนาดใหญ่เล็กต่างกัน สามารถตกแต่งได้ในรูปแบบต่าง ๆ ตามฐานะและรสนิยมของผู้เป็นเจ้าของ2. อาคารพาณิชย์ หรือตึกแถว (Shop house) เป็นแบบบ้านที่นิยมกันมาก เพราะนอกจากจะใช้เป็นที่อยู่อาศัยแล้ว ยังสามารถดัดแปลง ให้เป็น สถานที่ทำการค้า หรือธุรกิจได้ด้วย อาคารแบบนี้มักมีเนื้อที่แคบ จึงนิยมก่อสร้างกันหลาย ๆ ชั้น3. ทาวน์เฮาส์ (Townhouse) เป็นบ้านที่มีลักษณะเหมือนตึกแถว...

การลงทุนของบุคคล

โดยปกติรายได้ที่บุคคลได้รับจะถูกจัดสรรออกไปเป็น 2 ด้านใหญ่ ๆ คือ ส่วนหนึ่งเพื่อใช้จ่ายในชีวิตประจำวัน และอีกส่วนหนึ่ง เก็บออม ไว้สำหรับ ใช้จ่ายในวันข้างหน้า การใช้จ่ายเป็นสิ่งจำเป็นใน ชีวิตประจำวันของบุคคล เป็นสิ่งที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ แต่ถ้าสามารถ จัดสรรค่าใช้จ่ายอย่างเหมาะสมให้มีเงินเหลือใช้ ก็จะเป็นประโยชน์ที่จะมี เงินออมเก็บไว้สำหรับความจำเป็นในวันข้างหน้าได้มากขึ้น การที่คนเรา เก็บออมก็เพราะ ได้เปรียบเทียบแล้วว่า เงินที่เก็บออมไว้ เพื่อใช้จ่ายในวันข้างหน้า จะให้ประโยชน์คุณค่า หรือ ความพอใจสูงสุด แก่เขามากกว่าจะเอามาใช้เสียในวันนี้ ทำอย่างไรจึงจะให้เงินออม ที่อุตส่าห์สะสมไว้ เพิ่มพูนค่าและ ก่อให้เกิด ประโยชน์ สูงสุดแก่เจ้าของสิ่งสำคัญก็คือ คนเราต้องรู้จัก "การลงทุน " (Investments) การลงทุนเป็น การนำเอาทรัพย์สิน ที่บุคคลมีอยู่ ไปดำเนินการในทางที่ก่อให้เกิดประโยชน์ ซึ่งจะให้ผลตอบแทนกลับคืนมาในช่วงเวลานั้น การลงทุนแบ่งได้เป็น...

ปัจจัยสำคัญในการออม

1.ผลตอบแทนที่ผู้ออมได้รับจากการออม หมายความว่าถ้ายิ่งผลตอบแทนในการออมเพิ่มมากขึ้นเท่าใด ก็จะเป็นสิ่งดึงดูดใจให้บุคคลมีการออมเพิ่มมากขึ้นเท่านั้น เช่น ในภาวะที่รัฐบาล กำหนดให้ ธนาคารพาณิชย์ ทุกแห่งลดอัตราดอกเบี้ย เงินฝากประจำ ทุกประเภทลง ทั้งยังเก็บดอกเบี้ยภาษีเงินฝากอีก จึงทำให้ระดับเงินออมของธนาคารพาณิชย์ มีแนวโน้มลดลงเป็นอย่างมาก2. มูลค่าของอำนาจซื้อของเงินในปัจจุบัน ผู้ออมจะตัดสินใจทำ การออมมากขึ้นภายหลังจาก การพิจารณาถึง อำนาจซื้อของเงิน ที่มีอยู่ในปัจจุบันว่า จะมีความแตกต่างจากมูลค่าของเงินใน อนาคตมักหมายความว่าจำนวนเงิน 1 บาท ซื้อสินค้าและบริการ ได้ในจำนวนใกล้เคียง หรือเท่ากับการใช้เงิน 1 บาทซื้อสินค้าหรือบริการในอีก 2-3 ปีข้างหน้าหรือมากกว่านั้น ในทางตรงกันข้าม ถ้าท่านว่าการเก็บเงินออมไว้โดยไม่ยอมซื้อสินค้าขณะนี้ ท่านอาจจะสูญเสียความพอใจ ที่ควรได้รับจาก การซื้อสินค้า ในปัจจุบัน มากกว่าผลตอบแทนที่ได้รับจาก...

การปฏิบัติเกี่ยวกับการออมที่ดี

เงินสดส่วนบุคคลขึ้น ซึ่งจะทำให้ทราบว่าแต่ละเดือนจะมีเงินคงเหลือเป็นเงินออมเท่าไหร่ ในทางปฏิบัติ เพื่อให้การออมได้ผลจริงๆ ควรจัดทำดังนี้- ทางที่จะสามารถทราบล่วงหน้าได้ว่าจะมีการออมได้หรือไม่นั้นก็โดย การจัดทำงบประมาณการเงิน ทำงบประมาณรายได้ รายจ่าย เพื่อจะรู้ว่ามีเงินเหลือที่จะเก็บออมเท่าไร- เมื่อทำงบประมาณและทราบได้ว่า จะสามารถเก็บออมได้เดือนละเท่าไหร่แล้วให้กันเงิน ออมส่วนนั้น (ก่อนที่จะจ่ายเป็นรายจ่ายออกไป ) แล้วนำไปฝากธนาคารทันทีรายได้ที่เกิดขึ้นจากเงินออม เช่น ดอกเบี้ยที่ได้รับ ควรนำไปลงทุนต่อทันที เพื่อให้เงินออมงอกเงยขึ้น ไปอีก การเก็บรักษาเงินออม ให้ปลอดภัย นั้นเงินออมการเก็บเงินไว้กับตนเองย่อมไม่ปลอดภัยและเป็นการสูญเสียรายได้ที่ควรจะได้รับ ดังควร เก็บรักษาไว้ ในที่ปลอดภัยและมีรายได้ด้วย โดยการฝากสถาบันการเงินบางแห่งไว้ เช่น ธนาคารพาณิชย์ ธนาคารออมสิน สหกรณ์ออมทรัพย์ หรืออาจจะเก็บออม...

วันเสาร์ที่ 15 มิถุนายน พ.ศ. 2556

อัตราส่วนหนี้สินแบ่งเป็น 2 ตัว

3.1 หนี้สินต่อทรัพย์สิน (debt ratio)ถ้าอัตราส่วนหนี้สินต่อทรัพย์สินสูงแสดงว่า องค์กรมีภาระผูกพันธ์ทางการเงินมากองค์กรจะระดมทุนจากการก่อหนี้ได้ยาก หรือเจ้าหนี้อาจไม่พิจารณาให้เงินกู้กับองค์กร ดังนั้นองค์กรจะต้องระดมทุนด้วยวิธีการอย่างอื่นแทนการกู้ เช่น การระดมทุนจากผู้ถือหุ้นหรือการให้เช่าถ้าอัตราส่วนหนี้สินต่ำ แสดงว่าองค์กรมีภาระผูกพันธ์ทางการเงินต่ำ จึงมีความเสี่ยงต่ำ แต่ต้องพิจารณาว่าโครงสร้างเงินทุนขององค์กรมีความเหมาะสมหรือไม่ ซึ่งถ้าใช้หนี้สินน้อยอาจจะไม่มีความเหมาะสมก็ได้ ถ้าหนี้สินน้อยอยู่ต้นทุนทางการเงิน (WACC) จะสูงขึ้น ดังนั้นต้องพิจารณาความเหมาะสมของต้นทุนทางการเงินด้วยอัตราส่วนหนี้สินต่อทรัพย์สินควรมีค่าอยู่ในระดับต่ำ เพราะจะทำให้องค์กรระดมเงินทุนด้วยการกู้ได้3.2 ความสามารถในการชำระดอกเบี้ย Time Interest Earned--TIEเป็นอัตราส่วนที่ใช้พิจารณาว่า องค์กรมีกำไรเป็นกี่เท่าของดอกเบี้ยจ่าย...

องค์กรที่มีภาระผูกพันจากการดำเนินงาน operating leverage

องค์กรที่มีภาระผูกพันธ์จากการดำเนินงาน เช่นองค์กรที่ใช้สินทรัพย์ถาวรมาก ๆ องค์กรที่ใช้เทคโนโลยีสมัยใหม่สูง ๆ จะเป็นองค์กรที่มีความเสี่ยงทางธุรกิจ หน้าที่ของผู้จัดการการเงิน1. หาเงินทุนหรือระดมเงินทุน- เงินทุนระยะสั้น เช่น เจ้าหนี้ ค่าใช้จ่ายค้างจ่าย เงินกู้ระยะสั้นจากธนาคาร- เงินทุนระยะยาว เช่น หุ้นกู้ พันธบัตร2. ใช้เงินทุน สินทรัพย์หมุนเวียน สินทรัพย์ถาวร คือ ด้านซ้ายของงบดุล3. นโยบายเงินปันผล อัตราส่วนทางการเงิน (financial ratio)เครื่องมือทางการเงินอย่างหนึ่งที่ใช้วัดการดำเนินงานขององค์กร เพื่อให้ผู้บริหารเห็นปัญหาและสามารถแก้ไขปัญหาได้ การวิเคราะห์อัตราส่วนทางการเงินควรวิเคราะห์ในลักษณะ- เปรียบเทียบผลงานของตนเองในอดีต- เปรียบเทียบกับอุตสาหกรรมเดียวกัน- เปรียบเทียบกับคู่แข่ง (เบอร์ 1) อัตราส่วนทางการเงิน แบ่งออกเป็น 4 กลุ่ม1. อัตราส่วนสภาพคล่อง (liquidity ratios) เป็นอัตราส่วนที่ใช้วัดความสามารถในการชำระหนี้ระยะสั้นขององค์กร...

ปัจจัยที่ทำให้มูลค่าของหุ้นสามัญในท้องตลาดสูงที่สุดมี 2 ปัจจัย

1. เงินปันผล เมื่อจ่ายเงินปันผลมากเท่าไรราคาของหุ้นสามัญก็จะสูงขึ้นเท่านั้น2. ความเสี่ยง คือโอกาสที่จะสูญเสียบางอย่าง ในทางการเงินจะพิจารณาความเสี่ยงได้จาก ความปลอดภัยของเงินลงทุนกับอัตราผลตอบแทน ถ้าความปลอดภัยของเงินลงทุนน้อย แสดงว่ามีความเสี่ยงสูงเมื่อมีความเสี่ยงสูง อัตราผลตอบแทนต้องสูง ตามหลักการของ Trade off (high risk high return) ในทางตรงกันข้าม ถ้าความปลอดภัยมาก ความเสี่ยงก็จะน้อย ผลตอบแทนก็จะน้อย Trade off มี 5 ปัจจัย1. ประเภทของธุรกิจ ธุรกิจที่ต่างกันก็จะมีความเสี่ยงที่ต่างกันผลตอบแทนก็ต่างกัน2. ขนาดของธุรกิจ ธุรกิจประเภทเดียวกันแต่มีขนาดต่างกัน ธุรกิจขนาดใหญ่ก็จะมีความเสี่ยงมากกว่าธุรกิจขนาดเล็ก3. เทคโนโลยีและอุปกรณ์ที่ใช้ในองค์กร ธุรกิจที่ลงทุนในทรัพย์สินถาวรมากเท่ไร ก็มีความเสี่ยงมากเท่านั้น เช่น ธุรกิจสายการบิน4. การใช้ประโยชน์จากหนิ้สิน ถ้าใช้หนี้มาก ๆ จะมีความเสี่ยงสูง แต่จะทำให้มีเงินไปลงทุนในในสินทรัพมาก...

การตัดสินใจลงทุน

1. นโยบายการจัดหาเงินทุนหมุนเวียน ทั้ง 3 แนวคิด- แนวคิดขาดดุล- แนวคิดเกินดุล- แนวคิดสมดุล2. การจัดการสินค้าคงเหลือ : ตามแบบจำลองปริมาณการสั่งซื้อที่ประหยัด EOQ- การกำหนดปริมาณการสั่งซื้อต่อครั้งที่ทำให้เกิดประหยัด- การกำหนดจุดสั่งซื้อ- การกำหนดระดับสินค้าคงเหลือเผื่อขาด3. ความเสี่ยงและผลตอบแทน :- ความเสี่ยงและผลตอบแทนจะมีความสัมพันธ์ไปในทิศทางเดียวกัน โดยการลงทุนใดที่มีความเสี่ยงสูง ผลตอบแทนที่ต้องการก็จะสูงตาม- ความเสี่ยงของการลงทุนในหุ้นมี 2 ส่วนคือ ส่วนที่สามารถขจัดได้ และความเสี่ยงจากภาวะตลาด- ความเสี่ยงที่เกิดจากการลงทุนในหลักทรัพย์สามารถทำให้ลดลงได้โดยการลงทุนในหลักทรัพย์มากชนิดหรือเพิ่มขนาดของ portfolio- ความเสี่ยงจากภาวะตลาด เป็นความเสี่ยงที่เกิดขึ้นและกระทบกับกับทุกกิจการโดยรวมอย่างเป็นระบบเช่นเกิดสงคราม ภาวะเศรษฐกิจตกต่ำ ซึ่งไม่สามารถขจัดได้ด้วยการกระจายการลงทุน4. การลงทุนในสินทรัพยไม่หมุนเวียน...

การจัดการการเงิน

 การตัดสินใจลงทุน : การจัดสรรเงินทุนเพื่อการลงทุนในสินทรัพย์อย่างมีประสิทธิภาพ เพื่อให้เกิดประโยชน์ต่อกิจการมากที่สุด1.1 การลงทุนในสินทรัพย์หมุนเวียน : เงินสด หลักทรัพย์ในความต้องการของตลาด ลูกหนี้ สินค้าคงคลัง : ต้องตัดสินใจในสินทรพัย์หมุนเวียนแต่ละประเภท ในระดับที่ก่อให้เกิดความสามารถในการทำกำไรให้แก่ธุรกิจสูงสุด โดยมีสภาพคล่องที่เหมาะสม1.2 การลงทุนในสินทรัพย์ไม่หมุนเวียน : มักจะเป็นการลงทุนในสินทรัพย์ถาวร โดยใช้เทคนิคการวิเคราะห์งบลงทุน จะต้องพิจารณา- ต้นทุนเงินทุน- ความเสี่ยงในการลงทุน- องค์ประกอบและคุณภาพของสินทรัพย์2. การตัดสินใจจัดหาเงินทุน : แบ่งแหล่งเงินทุนเป็น2.1 แหล่งเงินทุนจากเจ้าหนี้- หนี้สินระยะสั้นหรือหนี้สินหมุนเวียน : ตั๋วเงินจ่าย เจ้าหนี้การค้า- หนี้สินระยะยาว : การกู้เงินระยะยาว หุ้นกู้2.2 แหล่งเงินทุนจากส่วนของเจ้าของ : หุ้นสามัญ หุ้นบุริมสิทธิ ข้อพิจารณาในการจัดหาเงินทุน...

วันพฤหัสบดีที่ 9 พฤษภาคม พ.ศ. 2556

ความเสี่ยงจากการลงทุนในตราสารหนี้

โดยทั่วไปแล้ว การลงทุนในตราสารหนี้ จะมีความเสี่ยงน้อยกว่าการลงทุนในตราสารทุน แต่ในสถานการณ์ที่นโยบายการเงินของภาครัฐไม่ชัดเจน อัตราดอกเบี้ยขยับตัวขึ้นลงมาก ตลาดตราสารหนี้อาจมีความผันผวนและมีความเสี่ยงสูง การลงทุนในตราสารหนี้ในสถานการณ์ดังกล่าว ก็อาจมีความเสี่ยงสูงกว่าการลงทุนในตราสารทุนก็เป็นได้ความเสี่ยงของตราสารหนี้ มีอยู่ 10 ประเภทด้วยกัน Interest Rate Risk หรือ Market Riskความเสี่ยงที่เกิดจากอัตราดอกเบี้ยในตลาดเงินผันผวน ตัวอย่างเช่น เมื่ออัตราดอกเบี้ยในตลาดเงินขยับตัวสูงขึ้น หรือมีท่าทีว่าจะขยับตัวสูงขึ้น อัตราดอกเบี้ยที่ตราไว้ (coupon rate) ของตราสารหนี้ที่ออกใหม่ก็จะสูงขึ้นด้วย ตราสารหนี้ที่ออกมาก่อนหน้าและมีการซื้อขายในตลาดรองก็จะมีการซื้อขายในระดับราคาที่ลดลง เพื่อดึงให้อัตราผลตอบแทน(Yield) ขยับสูงขึ้นไปอยู่ในระดับที่เทียบเคียงกันกับอัตราดอกเบี้ยปัจจุบัน ฉะนั้น ยิ่งตราสารหนี้ที่มีอายุยาวเพียงใด...

วันอาทิตย์ที่ 5 พฤษภาคม พ.ศ. 2556

การบริหารผลตอบแทน

ในความหมายของผลตอบแทนในแง่ธุรกิจ ย่อมหมายถึงต้นทุนและค่าใช้จ่ายในการดำเนินการซึ่งกำหนดจ่ายแก่พนักงานเพื่อให้ปฏิบัติหน้าที่ตาม ค่าของงาน และ ผลการทำงาน ส่วนในด้านพนักงาน ผลตอบแทนก็คือ ค่าจ้างหรือเงินเดือน สวัสดิการและผลประโยชน์อื่นซึ่งบริษัทกำหนดให้ เพื่อเป็นการตอบแทนการทำงาน โดยที่พนักงานต้องปฏิบัติหน้าที่ตามที่ได้รับมอบหมาย โดยใช้วิชาความรู้ ทักษะ ความชำนาญตามตำแหน่งของงาน ซึ่งตนได้รับไว้ตามสัญญาจ้างแรงงาน การบริหารผลตอบแทน จึงมีความหมายมิใช่เฉพาะเรื่องการบริหารค่าจ้างหรือเงินเดือน แต่หมายถึงตั้งแต่การกำหนดลักษณะงาน ค่าของงาน (Job Value) การวัดผลการทำงาน ตลอดจนถึงการบริหารสวัสดิการ และผลประโยชน์ต่าง ๆ ซึ่งบริษัทกำหนดให้เป็นผลตอบแทนการทำงาน และการกำหนดระเบียบวิธีปฏิบัติเกี่ยวกับการจ่ายหรือการจัดให้พนักงานได้รับผลตอบแทนการทำงานดังกล่าวอย่างถูกต้อง การบริหารผลตอบแทนจึงจำเป็นต้องมีการวางแผน...

นโยบายราคาเกี่ยวกับวงจรชีวิตผลิตภัณฑ์ (Pricing over Product Life Cycle)

3.1 การตั้งราคาแบบตักครีมหน้านม (Skimming Pricing) หมายถึงการตั้งราคาสินค้าให้สูงกว่าราคาปกติ ส่วนใหญ่แล้วจะใช้ในกรณีดังนี้คือ 3.1.1 เป็นระระเริ่มแรกของการนำผลิตภัณฑ์ใหม่ที่มีลักษณะดีเด่น เป็นพิเศษออกตลาด3.1.2 ต้องการให้ราคาเป็นเครื่องกำหนดคุณภาพ 3.1.3 ไม่แน่ใจว่าต้นทุนจะเป็นเท่าไร 3.1.4 ผลิตภัณฑ์นั้นเข้าสู่ตลาดยากเพราะเป็นสินค้าที่ต้องใช้เงินลงทุนจำนวนสูงมาก 3.1.5 เจาะตลาดเฉพาะลูกค้ากลุ่มที่มีรายได้สูงเท่านั้น3.1.6 ราคาสินค้าไม่เป็นปัญหาในการตัดสินใจซื้อ 3.1.7 รักษาอุปสงค์ให้อยู่ในขอบข่ายของความสามารถ ในการผลิต เพื่อป้องกันสินค้าขาดตลาด3.1.8 ต้องการตักตวงกำไรให้มากก่อนที่คนอื่นจะเข้ามาแข่งขัน 3.2 การตั้งราคาแบบเจาะตลาด (Penetration Pricing) หมายถึง การตั้งราคา สินค้าให้ต่ำกว่าราคาปกติ ใช้ได้ในกรณีดังนี้ 3.2.1 ดึงดูดความสนใจและเชื้อเชิญให้สามารถซื้อมาทดลองใช้ได้ 3.2.2...

นโยบายและกลยุทธในการกำหนดราคา (Price Policy and Strategy)

1. นโยบายเกี่ยวกับระดับราคาทั่ว ๆ ไป (The General Price Level) 1.1 นโยบายตั้งราคาเท่ากับราคาตลาดหรือคู่แข่ง1.2 นโยบายตั้งราคาสูงกว่าราคาตลาดหรือคู่แข่งขัน1.3 นโยบายตั้งราคาต่ำกว่าราคาตลาดหรือราคาคู่แข่ง 2. แบบลักษณะของการตั้งราคา (Uniform Price) 2.1 ราคาคงที่หรือตายตัว (Fixed Price) คือการกำหนดราคาขายสินค้าหรือบริการ ให้ลูกค้าทุกคนในราคาเดียวกันหมดภายใต้สภาวะทางการค้าเดียวกันหรือคล้ายกันหรืออาจเรียกว่านโยบายราคาเดียว (One Price Policy) 2.2 ราคาต่อรอง (Negotiated Price) คือการกำหนดราคาขายสินค้าหรือบริการให้ลูกค้า แต่ละรายในราคาที่แตกต่างกันแม้ว่าจะซื้อสินค้าหรือบริการในปริมาณที่เท่ากัน และภายในสถานการณ์คล้าย ๆ กัน เราอาจเรียกว่า นโยบายหลายราคา (Flexible Price Policy) 2.3 ราคาควบคุม (Resale Price Maintenance) คือการกำหนดราคาขายปลีกที่แน่นอนของ บริษัทผู้ผลิตซึ่งกระทำได้...

วัตถุประสงค์ในการกำหนดราคา

แบ่งได้เป็น 3 ประเภทใหญ่ ๆ คือ 1. พิจารณาด้านกำไร (Profit Oriented Objectives)2. พิจารณาด้านการขาย (Sales Oriented Objectives)3. เพื่อรักษาเสถียรภาพของราคา (Stabilize Price Objectives) 1. วัตถุประสงค์ในการกำหนดราคาโดยพิจารณาด้านกำไรวัตถุประสงค์ในการกำหนดราคาโดยพิจารณาด้านกำไรนั้นหมายความว่า ใช้กำไรเป็นตัวกำหนด หรือหลักในการพิจารณาว่าราคาควรอยู่ระดับใดแบ่ง ได้ 2 อย่างคือ 1.1 เพื่อได้ตอบแทนตามเป้าหมาย (Target Return) คือเป็น การตั้งเป้าหมายไว้ก่อนว่าต้องการกำไรเป็นจำนวนเงินคงที่เท่าใด อาจคิดเป็นจำนวนเงินหรือคิดเป็นกำไรเป็นร้อยละเท่าใดจากเงินลงทุน หรือร้อยละราคาขาย แล้วจึงคำนวณว่าจะตั้งราคา ณ ระดับใดจึงจะ ได้กำไรตามเป้าหมาย1.2 เพื่อได้ผลตอบแทนสูงสุด (Maximize Profit) คือการกำหนดราคาเพื่อ ให้ได้กำไรสูงสุดนั้น ในทางเศรษฐศาสตร์จะพิจารณาตั้งราคาตรงจุดที่ต้นทุนเพิ่มต่อหน่วย = รายได้เพิ่มต่อหน่วยคือ Marginal...

ปัจจัยที่ควรคำนึงในการกำหนดราคา

1. ปัจจัยภายใน2. ปัจจัยภายนอก 1. ปัจจัยภายใน 1. วัตถุประสงค์ขององค์การ (Company Objective) องค์การหรือบริษัทจะเป็นผู้กำหนดเป้าหมายและนโยบายในการดำเนินกิจการ แล้วจึงกำหนดราคาเพื่อให้ สอดคล้องกัน2. ลักษณะและประเภทของสินค้า (Character of Product) เช่น สินค้าเกษตรกรรมนอกฤดูจะขายราคาแพงกว่าปกติมาก3. ต้นทุนจะเป็นตัวกำหนดราคาขั้นต่ำสุด 2. ปัจจัยภายนอก 1. คำนึงถึงอุปสงค์ (Demand) ของตลาดว่ามีความต้องการเสนอซื้อสินค้ามากเท่าใดและอุปสงค์ ของสินค้านั้นมีความยืดหยุ่นต่อราคาเป็นอย่างไร2. สภาพเศรษฐกิจในปัจจุบัน 3. กฎหมายและรัฐบาล4. จรรยาบรรณในการประกอบธุรกิจ 5. สภาพการแข่งขัน 6. คำนึงถึงพ่อค้าคนกลาง ผู้ผลิตตั้งราคาให้เขาสามารถขายได้7. ผู้บริโภค...

วันจันทร์ที่ 8 เมษายน พ.ศ. 2556

การวิเคราะห์เชิงปริมาณ

การวิเคราะห์เชิงปริมาณ แบ่งเป็น 2 วิธีหลักๆ คือ 1. วิธีอนุกรมเวลา (Time Series) อาศัยข้อมูลในอดีตที่มาเป็นช่วงเวลาหนึ่ง ที่ทำให้สามารถเห็นแนวโน้มและรูปแบบของข้อมูล โดยสมมติว่า รูปแบบและแนวโน้มนี้จะมีต่อเนื่องในอนาคต 2. วิธีการใช้ตัวแปรต้นและตัวแปรตาม (Explanatory method) การวิเคราะห์แบบ Value Analysis เป็นระบบที่ขยายขอบเขตจากในคุณค่าของตัวธุรกิจเอง สู่ผู้ผลิตวัตถุดิบและลูกค้า แสดงให้เห็นว่า การเปลี่ยนแปลงของปัจจัยนั้นๆ จะส่งผลกระทบอย่างไรต่ออุตสาหกรรมที่เราต้องการวิเคราะห์ เช่น การเปลี่ยนแปลงทางการใช้เทคโนโลยี Global positioning System ทำให้ระบบโลจิสติกส์มีประสิทธิภาพมากขึ้น ทำให้อุตสาหกรรมการผลิตสามารถวางแผนการผลิตและการส่งสินค้าได้ถูกต้องตรง เวลามากขึ้น ถ้าเราไม่แน่ใจว่าปัจจัยที่เกิดขึ้นจะทำให้อุตสาหกรรมนั้นทำกำไรให้กับ อุตสาหกรรมได้หรือไม่ เราก็สามารถใช้ห่วงโซ่คุณค่าของลูกค้ามาพิจารณาว่า...

เทคนิคในการวิเคราะห์สภาพแวดล้อม ที่แนะนำ

เทคนิคในการวิเคราะห์สภาพแวดล้อม ที่แนะนำ ได้แก่ 1. การวิเคราะห์แบบ PEST 2. การวิเคราะห์แบบ Value Analysis การวิเคราะห์แบบ PEST PEST คือการวิเคราะห์ 1. Political (การเมือง) - Free trade Area, Mega project and Poverty 2. Economics (เศรษฐกิจ) - China Growth, Inflation and Regional Development 3. Social (สังคม) - Demographic and Health Conscious 4. Technological factors (เทคโนโลยี) - Nano Tech, Fuel Efficient and GPS(Global Positioning System) ซึ่งการวิเคราะห์จะต้องตั้งอยู่บนพื้นฐานของความเป็นไปได้และความเป็นจริง เป็นหลัก ผู้วิเคราะห์ต้องเข้าใจดีถึงผลกระทบของปัจจัยแวดล้อมต่ออุตสาหกรรม การวิเคราะห์เชิงคุณภาพ ในกรณีที่ไม่มีข้อมูลเพียงพอในการวิเคราะห์เชิงปริมาณ หรือต้นทุนในการวิเคราะห์เชิงปริมาณสูงเกินไป เหมาะสมกับการวิเคราะห์ระยะสั้นและอุตสาหกรรมที่มีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวด เร็วที่ไม่มีข้อมูลเชิงปริมาณในอดีตเพียงพอในการวิเคราะห์ วิธีการวิเคราะห์เชิงคุณภาพที่ง่ายที่สุด...

การวิเคราะห์ภาวะอุตสาหกรรม (Industry Analysis)

การวิเคราะห์ภาวะอุตสาหกรรม (Industry Analysis) การวิเคราะห์หลักทรัพย์จะเกี่ยวข้องกับแหล่งข้อมูล 3 ระดับคือ 1. ข้อมูลระดับมหภาค ได้แก่ ภาวะเศรษฐกิจ การเมือง วัฒนธรรม กฎระเบียบและนโยบายต่างๆ เทคโนโลยี ประชากรศาสตร์ รูปแบบการดำเนินชีวิต 2. ข้อมูลระดับอุตสาหกรรม ได้แก่ วัฏจักรเศรษฐกิจ โครงสร้างตลาด การเปลี่ยนแปลง ของโครงสร้างมหภาค วัฏจักรชีวิตอุตสาหกรรม 3. ข้อมูลระดับบริษัท ซึ่งข้อมูลทั้ง 3 ระดับนี้ต่างมีผลต่อผลประกอบการของบริษัท ซึ่งจะมีผลต่อผลตอบ แทนของการลงทุนในหลักทรัพย์ของบริษัทนั้นๆ ในการวิเคราะห์ข้อมูลระดับมหภาคและระดับอุตสาหกรรม จะต้องทำการวิเคราะห์ 2 ด้านด้วยกัน คือ 1. Qualitative Analysis เป็นการวิเคราะห์เชิงคุณภาพ เป็นการใช้ความคิดเห็นของนักวิเคราะห์มาพิจารณาอาจเกิดการ bias ได้ ไม่สามารถบอกออกมาเป็นตัวเลขได้ แต่สามารถใช้ได้ดีเมื่อมีข้อมูลใหม่ๆเข้ามาโดยเฉพาะข้อมูลภายใน (inside...

การวิเคราะห์ภาวะเศรษฐกิจ (Economic Analysis)

ต้อง วิเคราะห์ทั้งภาวะเศรษฐกิจโลกและในประเทศ เนื่องจากการเปลี่ยนแปลงของภาวะเศรษฐกิจโลกจะมีผลต่อประเทศไทยของเราเช่นกัน ปัจจัยที่ต้องพิจารณา ได้แก่ การพยากรณ์เกี่ยวกับอัตราการเติบโตของรายได้ประชาชาติของแต่ละประเทศ การพยากรณ์เกี่ยวกับอัตราดอกเบี้ย ฯ นอกจากนี้ยังต้องติดตามภาวะเศรษฐกิจของประเทศใหญ่ๆ โดยเฉพาะสหรัฐอเมริกาที่มีสัดส่วนการบริโภคในโลกนี้มากที่สุด ในการวิเคราะห์ภาวะเศรษฐกิจในประเทศ จะต้องศึกษาถึงภาวะเศรษฐกิจในปัจจุบันเป็นอย่างไร ซึ่งวิทยากรเห็นว่าปัจจุบัน -ไทยมีการขาดดุลบัญชีเดินสะพัด แต่ยังไม่น่าเป็นห่วง ควรเร่งการลงทุน ซึ่งภาค เอกชนได้มีการลงทุนกันเป็นจำนวนมาก ยังเหลือแต่ภาครัฐที่ยังไม่ลงทุนมากนัก - สำหรับการบริโภคของคนในประเทศ มีการชลอตัวเนื่องจากการปรับตัวเพิ่มขึ้นของราคาน้ำมัน ที่ทำให้ราคาสินค้าปรับตัวสูงขึ้น - นโยบายการเงิน มีแนวโน้มที่จะมีการปรับอัตราดอกเบี้ยเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องอีกในอนาคต...

การวิเคราะห์หลักทรัพย์นั้นแบ่งได้เป็น 3 แนวทาง

1.การวิเคราะห์ปัจจัยพื้นฐาน (Fundamental Analysis) 2.การวิเคราะห์ปัจจัยทางเทคนิค (Technical Analysis) 3.อื่นๆ เช่น Random Walk, Mythology ฯลฯ ถึง แม้จะมีหลายแนวทางให้วิเคราะห์แต่มีเพียง 2 แนวทางแรกเท่านั้น ที่นักวิชาการส่วนใหญ่นำมาวิเคราะห์ บางท่านคิดว่า ตลาดหุ้นนั้นเหมือนการเสี่ยงดวง วัดดวงหรือเหมือนการพนันแต่ความจริงแล้ว ตลาดหุ้นนั้น มีศาสตร์และศิลป์ที่สามารถหาคำตอบได้ทางวิยาศาสตร์และทุกอย่างที่เกิดขึ้นมี ทั้งเหตุและผลครับ มีมหาวิยาลัยชื่อดังหลายแห่งที่มี หลักสูตรการสอนเรื่องตลาดหุ้นโดยเฉพาะครับ อย่างเมืองไทยเราก็มี มหาวิทยาลัยจุฬาลงกรณ์ ส่วนของต่างประเทศดังๆก็มี Massachusetts Institute 0f Technology, Baruch College of The City of New York เป็นต้น การวิเคราะห์ปัจจัยพื้นฐาน (Fundamantal Analysis) การวิเคราะห์หลักทรัพย์โดยใช้ปัจจัยพื้นฐาน ประกอบไปด้วย 1. การวิเคราะห์ภาวะเศรษฐกิจ 2....

วันอาทิตย์ที่ 10 มีนาคม พ.ศ. 2556

การกำหนดราคาตามหลักภูมิศาสตร์ (geographic pricing)

การกำหนดราคาด้วยเกณฑ์ด้านภูมิศาสตร์ คือ การกำหนดราคาโดยการพิจารณาถึงต้นทุนด้านการขนส่ง ไปยังตลาดตามภูมิภาคต่าง ๆ ดังนั้นในการกำหนดราคาจัดจำหน่ายให้แก่ผลิตภัณฑ์ขององค์กรด้วยหลัก ภูมิศาสตร์ ผู้บริหารการตลาดจึงต้องพิจารณาถึงปัจจัยต่าง ๆ ประกอบด้วย เช่น ระยะทาง ที่ตั้งขององค์กร (หรือโรงงาน) สถานที่จัดจำหน่าย ค่าขนส่ง วิธีการขนส่ง แหล่งวัตถุดิบ และสภาวะการแข่งขันในตลาดโดยมีแนวทางในการกำหนดราคาจำหน่ายของผลิตภัณฑ์ตาม เกณฑ์ข้างต้น ดังนี้                   3.1 ราคา FOB ณ จุดผลิต (FOB origin pricing) โดยทั่วไปวิธีการดังกล่าวนี้องค์กรผู้ผลิตจะเสนอราคาจำหน่ายผลิตภัณฑ์ ณ จุดผลิต และผู้ซื้อจะต้องออกค่าขนส่งทั้งหมด          3.2 ราคาส่งมอบเดียวกัน (uniform delivered pricing)...

กลยุทธ์การกำหนดราคา

การกำหนดราคาตามทัศนคติเกี่ยวกับคุณค่าของผลิตภัณฑ์ของผู้บริโภค โดยทั่วไปผู้บริโภคจะคำนึงถึงระดับราคาของผลิตภัณฑ์หนึ่ง ๆ ตามทัศนคติของแต่ละคน เช่น การเลือกที่จะรับประทานข้าวแกงข้างถนน โดยแลกกับเงินค่าอาหารที่ไม่ต้องจ่ายแพงกว่า หรือในพฤติกรรมการบริโภคของผู้บริโภคบางกลุ่มในตลาด ที่จะเห็นว่าผลิตภัณฑ์ที่มีราคาแพงย่อมจะมีคุณภาพที่ดีกว่าผลิตภัณฑ์ชนิด เดียวกัน แต่มีราคาต่ำกว่า ดังนั้นผู้ผลิตหรือจัดจำหน่ายผลิตภัณฑ์ในตลาดประเภทดังกล่าวนี้ จึงควรพิจารณาถึงทัศนคติเกี่ยวกับการให้คุณค่าผลิตภัณฑ์ของผู้บริโภคเป็น สำคัญ          การกำหนดราคาของคู่แข่งขัน ปัจจัยดังกล่าว ผู้บริหารการตลาดจะต้องติดตามความเคลื่อนไหวของคู่แข่งขัน ทั้งในด้านการกำหนดราคาจำหน่ายของผลิตภัณฑ์ และปฏิกิริยาทีมีต่อการกำหนดกลยุทธ์ขององค์กร ซึ่งโดยทั่วไปแล้วองค์กรที่มีนโยบายกำหนดราคาด้วยปัจจัยดังกล่าว...

องค์กรเพื่อการกำหนดราคา (organization for pricing)

องค์กรเพื่อการกำหนดราคา (organization for pricing) คือ การกำหนดความรับผิดชอบของหน่วยงานหรือผู้ที่จะรับผิดชอบต่อการกำหนดราคา จำหน่ายของผลิตภัณฑ์ เช่น ฝ่ายการตลาด ฝ่ายขาย หรือให้อยู่ภายใต้การดูแลของผู้จัดการสายผลิตภัณฑ์นั้น ๆ และในบางผลิตภัณฑ์ ซึ่งจัดเป็นผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม องค์กรอาจจะกำหนดให้พนักงานขายสามารถกำหนดราคาจำหน่ายผลิตภัณฑ์ตามการต่อรอง กับผู้ซื้อหรือผู้บริโภคได้ แต่ต้องอยู่ภายในระดับราคาที่องค์กรกำหนด อย่างไรก็ตามบุคคลที่มีอิทธิพลต่อการกำหนดราคาจำหน่ายของผลิตภัณฑ์ภายใน องค์กร จะประกอบด้วยผู้จัดการฝ่ายขาย ผู้จัดการฝ่ายผลิต ผู้จักการฝ่ายการเงิน และฝ่ายบัญชี                   1.2 ปัจจัยภายนอกที่มีอิทธิพลต่อการกำหนดราคา          ลักษณะของตลาดและอุปสงค์...

กลยุทธ์การตลาดด้านอื่น ๆ (marketing strategy)

ลยุทธ์การตลาดด้านอื่น ๆ (marketing strategy) ดังได้ทราบโดยทั่วกันว่า ราคา คือ องค์ประกอบหนึ่งของกลยุทธ์การตลาด ซึ่งประกอบด้วยผลิตภัณฑ์ ราคา ช่องทางการตลาด และการส่งเสริมการตลาด ดังนั้น ในการกำหนดราคาจึงจำเป็นต้องกำหนดขึ้นโดยพิจารณาถึงความสอดคล้องกับองค์ ประกอบอื่น ๆ ดังกล่าวข้างต้นด้วยเช่นกัน เพื่อให้แผนงานการตลาดเกิดประสิทธิภาพและประสิทธิผลสูงสุด          ต้นทุน (cost) โดยทั่วไปองค์กรธุรกิจจะกำหนดราคาจำหน่ายผลิตภัณฑ์โดยพิจารณาจากต้นทุนการ ผลิตและต้นทุนการดำเนินงานขององค์กร ซึ่งในที่นี้ หมายความรวมถึงต้นทุนในการกระจายผลิตภัณฑ์ และการส่งเสริมการตลาด และต้นทุนทางการตลาดด้านอื่น ๆ รวมถึงการกำหนดราคาจากอัตราผลตอบแทนจากการลงทุนและความเสี่ยงต่าง ๆ ทางธุรกิจอย่างรอบด้าน ซึ่งปัจจัยดังกล่าวหากผู้บริหารการตลาดใช้เป็นเกณฑ์ในการพิจารณาหรือกำหนด ราคาจำหน่ายของผลิตภัณฑ์...

การวางแผนกลยุทธ์การตลาดเกี่ยวกับการกำหนดราคา

ราคา (price) คือ อัตราในการแลกเปลี่ยนผลิตภัณฑ์ระหว่างกันในตลาด โดยใช้เงินเป็นสื่อกลางในปัจจุบันราคาเป็นปัจจัยที่มีความสำคัญต่อการบริหาร งานการตลาดอย่างมาก ซึ่งผู้บริหารการตลาดจะต้องกำหนดกลยุทธ์ด้านราคาให้มีความเหมาะสมและสอด คล้องกับสภาวการณ์ต่าง ๆ อาทิ สภาวการณ์ทางเศรษฐกิจ พฤติกรรมและกรอบการตัดสินใจซื้อของผู้บริโภค ระดับความรุนแรงของการแข่งขันในตลาดความสอดคล้องกับกลยุทธ์ทางการตลาดด้าน อื่น ๆ รวมถึงการประยุกต์ทฤษฏีเศรษฐศาสตร์เกี่ยวกับกฎเกณฑ์ของอุปสงค์ (demand) และอุปทาน (supply) มาเป็นองค์ประกอบการตัดสินใจกำหนดกลยุทธ์ด้านราคา เพื่อให้ผลิตภัณฑ์มีระดับราคาที่เป็นที่น่าพอใจขององค์กร คือ สามารถตอบสนองต่อวัตถุประสงค์ขององค์กร และเหมาะสมกับระดับความสามารถหรือกำลังซื้อของผู้บริโภคในตลาด          อย่างไรก็ตาม โดยทั่วไปแล้วการกำหนดกลยุทธ์ด้านราคาขององค์กรธุรกิจในช่วงเวลาที่ผ่านมา...

วันศุกร์ที่ 1 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556

การวิเคราะห์งบการเงิน

ความหมายของการวิเคราะห์งบการเงินการวิเคราะห์งบการเงิน คือ กระบวนการค้นหาข้อเท็จจริงเกี่ยวกับฐานะทางการเงินและผลการดำเนินงานของกิจการใดกิจการหนึ่งจากงบการเงินของกิจการนั้น  พร้อมทั้งนำข้อเท็จจริงดังกล่าวมาประกอบการตัดสินใจ  การวิเคราะห์งบการเงินมีจุดประสงค์ 2 ประการดังนี้1. การหาข้อเท็จจริงเกี่ยวกับฐานะการเงินและผลการดำเนินงานของกิจการ2. การนำข้อเท็จจริงที่ได้มาใช้ประกอบการตัดสินใจหรือเสนอแนะแนวทางการตัดสินใจ  กลุ่มผู้ใช้ประโยชน์จากการวิเคราะห์งบการเงิน 1. เจ้าหนี้  หมายถึง บุคคลภายนอกที่ให้กิจการกู้เงินมาใช้ในการดำเนินธุรกิจ  เจ้าหนี้จะวิเคราะห์งบการเงินของลูกหนี้เพื่อพิจารณาความสามารถในการชำระหนี้  ความสามารถในการหากำไรและลักษณะการได้มาและการใช้ไปของเงินทุน            2. ผู้ลงทุนทั่วไป  หมายถึง ...

Pages 371234 »

Popular Posts