การวางแผนการทำกำไร เป็นการวิเคราะห์การใช้สินทรัพย์และเงินทุนในการดำเนินงาน เป็นการตัดสินใจลงทุนในสินทรัพย์และเงินทุนที่ก่อให้เกิดต้นทุนคงที่ว่า ผลตอบแทนที่คาดว่าจะได้รับคุ้มกับความเสี่ยงหรือไม่ การดำเนินธุรกิจใด ๆ ก็ตามย่อมมีความเสี่ยงจากการตัดสินใจในการลงทุนเกิดขึ้นอย่างแน่นอน การตัดสินใจว่าการลงทุนนั้นคุ้มกับความเสี่ยงหรือไม่ เพื่อจะได้มีกำไรที่ต้องการสามารถพิจารณาได้จากอัตราผลตอบแทนที่คาดว่าจะได้รับจากการลงทุน
ปัจจัยพื้นฐานที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจโครงสร้างเงินทุน มีดังนี้
1. ความเสี่ยงของธุรกิจ ( Business risk ) หรือความเสี่ยงในการดำเนินงานของบริษัท ถ้าความเสี่ยงของธุรกิจมีมากขึ้น ก็จะทำให้สัดส่วนของหนี้ที่ดีน้อยลง
2. ระดับภาษีของธุรกิจ ( The firm' s tax position ) การก่อหนี้ต้องมีภาระคือ ดอกเบี้ยจ่ายซึ่งจะทำให้กำไรลดต่ำลง และระดับการเสียภาษีของธุรกิจก็จะต่ำลงด้วย ค่าเสื่อมราคาเป็นค่าใช้จ่ายของสินทรัพย์ถาวร จะทำให้กำไรของธุรกิจต่ำ ระดับการเสียภาษีก็ต่ำเช่นกัน
3. ความคล่องตัวด้านการเงิน ( Financial flexibility ) เจ้าของบริษัทจะต้องรู้ว่าการจัดหาเงินทุนเป็นสิ่งจำเป็นสำหรับการดำเนินงานที่คงที่เพื่อความสำเร็จในระยะยาว เพื่อให้เกิดความคล่องตัวในด้านการเงินและการเตรียมพร้อมด้านการเงินให้เพียงพอสำหรับการดำเนินงาน เพราะความต้องการเงินในอนาคตและการขาดแคลนจะมีอิทธิพลต่อเป้าหมายโครงสร้างเงินทุนของธุรกิจ
4. การบริหารแบบระมัดระวังหรือแบบเชิงรุก ( Mamagerial conservatism of aggresiveness ) ผู้จัดการบางคนมักมีการบริหารเชิงรุกมาก ดังนั้นบางบริษัทจึงมีการสร้างหนี้เพื่อให้เกิดกำไรสูง ซึ่งจะมีอิทธิพลต่อโครงสร้างเงินทุนของธุรกิจ
ความเสี่ยงทางธุรกิจและความเสี่ยงทางการเงิน
1. ความเสี่ยงทางธุรกิจ เป็นความเสี่ยงของธุรกิจที่เกิดขึ้นภายใต้ความไม่แน่นอนที่คาดว่าจะได้รับผลตอบแทนจากการลงทุนในโครงการนั้นๆ หรือเป็นความเสี่ยงซึ่งมีผลสัมพันธ์กับอัตราผลตอบแทนจากการลงทุนในโครงการนั้นๆ ในสินทรัพย์ การพิจารณาความเสี่ยงทางธุรกิจจะไม่พิจารณาถึงการลงทุนในโครงสร้างจากหนี้สิน ดังนั้นจึงไม่มีภาณะเกี่ยวกับดอกเบี้ยจ่าย ผลตอบแทนที่คาดว่าจะได้รับจากอัตราผลตอบแทนต่อส่วนของผู้ถือหุ้น ดังนี้
อัตราผลตอบแทนต่อส่วนของผู้ถือหุ้น ( Return on Equity : ROE )= กำไรส่วนของผู้ถือหุ้นสามัญ / ส่วนของผู้ถือหุ้นสามัญ
ความเสี่ยงทางธุรกิจจะขึ้นอยู่กับปัจจัยต่าง ๆ ดังนี้
1.1 ความต้องการซื้อที่เปลี่ยนแปลง ( Demand variability ) ถ้าความต้องการซื้อลดต่ำลงจะเกิดความเสี่ยงทางธุรกิจ ถ้าบริษัทมีจำนวนหน่วยของราคาขายที่คงที่จะทำให้ความเสี่ยงทางธุรกิจต่ำลง
1.2 ความเปลี่ยนแปลงของราคาขาย ( Sale price variability ) การลดราคาเพื่อกระตุ้นยอดขายหรือการเปลี่ยแปลงราคาขายจะมีผลกระทบต่อกำไร จึงทำให้เกิดความเสี่ยงทางธุรกิจ
1.3ความเปลี่ยนแปลงของต้นทุน ( Input cost variability ) ในกรณีที่ต้นทุนในการดำเนินงานหรือต้นทุนปัจจัยนำเข้ารวมทั้งต้นทุนการพัฒนาผลิตภัณฑ์มีความไม่แน่นอนสูง ระดับความเสี่ยงของธุรกิจย่อมสูงขึ้นด้วยเช่นกัน
1.4 ความสามารถในการปรับราคาผลิตภัณฑ์เมื่อต้นทุนเพิ่มสูงขึ้น ( Ability to adjust output prices for change in input costs ) เมื่อต้นทุนสินค้าที่ซื้อมาหรือต้นทุนผลิตเพิ่มสูงขึ้น ธุรกิจจำเป็นต้องปรับราคาขายเพื่อให้คุ้มทุน การปรับราคาสินค้าที่เพิ่มสูงขึ้นจึงเป็นความเสี่ยงของธุรกิจในการที่จะต่อสู้กับคู่แข่งขัน
1.5 ความสามารถในการพัฒนาผลิตภัณฑ์ใหม่ให้ทันกับเวลาที่ต้องการ ( Ability to develop new products in a timely ) ในการพัฒนาผลิตภัณฑ์ใหม่โดยการเพิ่มสายผลิตภัณฑ์หรือปรับปรุงคุณภาพของผลิตภัณฑ์เดิมจึงจำเป็นต้องใช้เทคโนโลยีที่ทันวมัย และผลิตภัณฑ์ที่ออกสู่ตลาดนั้นควรเป็นช่วงเวลาซึ่งจะทำให้ธุรกิจได้เปรียบทางการแข่งขัน เป็นความเสี่ยงทางธุรกิจต่อการนำสินค้าเข้าสู่ตลาด
1.6 จำนวนของต้นทุนคงที่ เป็นภาระผูกพันในการดำเนินงาน ถ้าเปอร์เซ็นต์ของต้นทุนคงที่สูง แต่ความต้องการซื้อผลิตภัณฑ์ลดลง ถ้าไม่ลดต้นทุนคงที่จะทำให้ความเสี่ยงของบริษัทเพิ่มขึ้น
2. ความเสี่ยงทางการเงิน เป็นความเสี่ยงที่เพิ่มขึ้นของผู้ถือหุ้นสามัญว่ามีการตัดสินใจเกี่ยวกับโครงสร้างทางการเงินเกี่ยวกับเงินทุนด้วยการเพิ่มหนี้สินหรือออกหุ้นบุริมสิทธิจึงมีภาระผูกพันที่ต้องจ่ายคือ ดอกเบี้ยและเงินปันผลหุ้นบุริมสิทธิ ผตอบแทนที่คาดว่าจะได้รับพิจารณาได้จากกำไรต่อหุ้นสามัญ ดังนี้
กำไรต่อหุ้นสามัญ ( EPS ) = กำไรส่วนของผู้ถือหุ้นสามัญ / จำนวนหุ้นสามัญ
ภาระผูกพัน ( Leverage )
ภาระผูกพันหมายถึง การลงทุนจากการใช้สินทรัพย์หรือเงินทุนที่ก่อให้เกิดต้นทุนคงที่ ซึ่งเป็นเครื่องมือหนึ่งที่ช่วยในการวางแผน และการควบคุมทางการเงิน ภาระผูกพัน แบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ
1. ภาระผูกพันในการดำเนินงาน ( Operating leverage )
2. ภาระผูกพันทางการเงิน ( Financial leverage )
ซึ่งในที่นี่ จะกล่าวถึงภาระผูกพันในการดำเนินงานเท่านั้น
ภาระผูกพันในการดำเนินงาน เป็นการดำเนินธุรกิจโดยใช้สินทรัพย์แล้วก่อให้เกิดต้นทุนคงที่ กล่าวคือ การดำเนินธุรกิจที่ก่อให้เกิดรายได้จะต้องอาศัยการลงทุนในสินทรัพย์และการลงทุนในสินทรัพย์จะก่อให้เกิดต้นทุนคงที่ เช่น ต้นทุนคงที่ของการลงทุนซื้อเครื่องจักร ก็คือค่าเสื่อมราคา ต้นทุนคงที่ของการวิจัยและพัฒนาก็คือ การตัดบัญชีของต้นทุนการวิจัยและพัฒนาคุณภาพสินค้า
ธุรกิจทุกประเภทต้องพิจารณาถึงการลงทุนในสินทรัพย์แล้วก่อให้เกิดต้นทุนคงที่ เพื่อให้เข้าใจเรื่องภาระผูกพันในการดำเนินงานง่ายขึ้น มีความจำเป็นที่จะต้องศึกษาเรื่องจุดคุ้มทุนก่อน
จุดคุ้มทุน ( Break - even - point )
จุดคุ้มทุน หมายถึง ณ ระดับการผลิตหรือการขายระดับใดระดับหนึ่งที่ก่อให้เกิดรายได้รวม ( Total revenue ) เท่ากับต้นทุนรวม ( Total cost ) ต้นทุนรวมประกอบด้วยต้นทุนคงที่และต้นทุนผันแปร ดังนี้
1. ต้นทุนคงที่ ( Fixed costs ) เป็นค่าใช้จ่ายที่ไม่ผันแปรไปตามจำนวนหน่วยผลิตหรือขาย ต้นทุนคงที่รวมจะคงที่ตลอดเวลา แต่ต้นทุนคงที่ต่อหน่วยจะลดลง ถ้าปริมาณการผลิตหรือขายสูงขึ้น เช่น ค่าเสื่อมราคา ค่าเช่า เงินเดือน ภาษีทรัพย์สิน เป็นต้น
2. ต้นทุนผันแปร ( Variable costs ) เป็นค่าใช้จ่ายที่ผันแปรไปตามจำนวนหน่วยผลิตหรือขาย ถ้าปริมาณการผลิตหรือขายมากต้นทุนผันแปรจะมาก แต่ถ้าปริมาณการผลิตหรือขายน้อยต้นทุนผันแปรจะน้อย นั่นคือ ต้นทุนผันแปรรวมจะเปลี่ยนแปลงไปตามปริมาณการผลิตหรือขาย แต่ต้นทุนผันแปรต่อหน่วยจะคงที่ เช่น ค่าวัตถุดิบ ค่าแรงงาน ค่านายหน้า
กำหนดให้
P = ราคาขายสินค้าต่อหน่วย
Q = จำนวนหน่วยที่ผลิตหรือขาย
TR = รายได้รวม
V = ต้นทุนผันแปรต่อหน่วย
F = ต้นทุนคงที่รวม
VC = ต้นทุนผันแปรรวม
TC = ต้นทุนรวม
EBIT = กำไรก่อนหักดอกเบี้ยและภาษี
จุดคุ้มทุนคือจุดที่ : รายได้รวม = ต้นทุนรวม
สูตร Q = F / ( P - V )
ถ้าธุรกิจต้องการกำไร : รายได้รวม = ต้นทุนรวม + กำไร
Q = ( F + EBIT ) / ( P - V )
EBIT = Q ( P - V ) - F
ข้อจำกัดของการวิเคราะห์จุดคุ้มทุน
1. การวิเคราะห์จุดคุ้มทุน มีข้อสมมติต่าง ๆ ดังนี้
1.1 ราคาขาย กำหนดให้มีราคาเดียว ไม่ว่าจะมีการขายมากหรือน้อย
1.2 ต้นทุนคงที่ จะไม่มีการเปลี่ยนแปลงไม่ว่าจะผลิตเพิ่มขึ้นจำนวนเท่าไร
1.3 ต้นทุนผันแปรต่อหน่วยคงที่
2. ในเรื่องการหาจุดคุ้มทุนนั้น จะใช้ได้ผลดีเมื่อกิจการผลิตและขายสินค้าเพียงอย่างเดียว ซึ่งหากมีหลายประเภทต้องหาจุดคุ้มทุนแต่ละประเภท ซึ่งค่อนข้างยุ่งยาก
3. ข้อจำกัดในเรื่องการแยกต้นทุนว่าอย่างไรคือต้นทุนคงที่ ต้นทุนผันแปร ต้นทุนกึ่งคงที่กึ่งผันแปร
4. จะใช้ได้ดีในเรื่องเกี่ยวกับการวางแผนในระยะสั้น เพราะข้อมูลที่ใช้ในการหาจุดคุ้มทุนนั้น เป็นข้อมูลในอดีต
ตัวอย่าง บริษัทแก้วเจ้าจอม จำกัด เปิดดำเนินกิจการโดยการจำหน่ายขนมชนิดหนึ่ง ซึ่งขายในราคา 100 บาทต่อหน่วย ในการดำเนินงานมีต้นทุนคงที่รวม 500,000 บาท ต้นทุนผันแปร 75 บาทต่อหน่วย จงหาจุดคุ้มทุน
วิธีทำ Q = F / ( P - V )
Q = 500,000 / ( 100 - 75 )
= 20,000 หน่วย
แสดงว่าบริษัทจะต้องทำการขายสินค้าให้ได้ 20,000 หน่วย จึงจะคุ้มทุน
จากโจทก์เดิม ถ้ากิจการต้องการกำไรก่อนดอกเบี้ยและภาษี 100,000 บาท ให้คำนวณหาจำนวนหน่วยที่ขาย
วิธีทำ Q = ( F + EBIT ) / ( P - V )
= ( 500,000 + 100,000 ) / ( 100 - 75 )
= 600,000 / 25 = 24,000 หน่วย
แสดงว่า กิจการจอต้องทำการขายให้ได้ 24,000 หน่วย จึงจะได้รับกำไร 100,000 บาท
ผลกระทบต่อจุดคุ้มทุนจากปัยจัยต่างๆ เปลี่ยนแปลงไป
1. ราคาขายเปลี่ยนแปลง
- ราคาขายลดลง ปัจจัยตัวอื่นคงเดิม จุดคุ้มทุนจะเพิ่มขึ้น
- ราคาขายเพิ่มขึ้น ปัจจัยตัวอื่นคงเดิม จุดคุ้มทุนจะลดลง
ตัวอย่าง จากตัวอย่างบริษัทแก้วเจ้าจอม ถ้าปัจจัยอื่นคงที่ แต่ราคาขายเปลี่ยนแปลงจาก 100 บาท ลดลงมาเหลือ 95 บาท จงหาจุดคุ้มทุน
วิธีทำ Q = 500,000 / ( 95 - 75 )
= 500,000 / 20
= 25,000 หน่วย
จากตัวอย่างบริษัทแก้วเจ้าจอม ถ้าปัจจัยอื่นคงที่ แต่ราคาขายเปลี่ยนแปลงจาก 100 บาท เพิ่มขึ้นเป็น 105 บาท จงหาจุดคุ้มทุน
วิธีทำ Q = 500,000 / ( 105 - 75 )
= 500,000 / 30
= 16,666.66 หน่วย
2.ต้นทุนคงที่เปลี่ยนแปลง
- ต้นทุนคงที่ลดลง ปัจจัยตัวอื่นคงเดิม จุดคุ้มทุนจะลดลง
- ต้นทุนคงที่เพิ่มขึ้น ปัจจัยตัวอื่นคงเดิม จุดคุ้มทุนจะเพิ่มขึ้น
ตัวอย่าง จากตัวอย่างบริษัทแก้วเจ้าจอม ถ้าปัจจัยอื่นคงที่ แต่ต้นทุนคงที่จาก 500,000 บาท ลดลงมาเหลือ 450,000 บาท
วิธีทำ Q = 450,000 / ( 100 - 75 )
= 450,000 / 25
= 18,000 หน่วย
จากตัวอย่างบริษัทแก้วเจ้าจอม ถ้าปัจจัยอื่นคงที่ แต่ต้นทุนคงที่จาก 500,000 บาท เพิ่มขึ้นเป็น 600,000 บาท
วิธีทำ Q = 600,000 / ( 100 - 75 )
= 600,000 / 25
= 24,000 หน่วย
3. ต้นทุนผันแปรเปลี่ยนแปลง
- ต้นทุนผัแปรลดลง ปัจจัยตัวอื่นคงเดิม จุดคุ้มทุนจะลดลง เพราะกำไรแปรได้ต่อหน่วยเพิ่มขึ้น
- ต้นทุนผัแปรเพิ่มขึ้น ปัจจัยตัวอื่นคงเดิม จุดคุ้มทุนจะเพิ่มขึ้น เพราะกำไรแปรได้ต่อหน่วยลดลง
ตัวอย่าง จากตัวอย่างบริษัทแก้วเจ้าจอม ถ้าต้นทุนผันแปรจาก 75 บาท ลดลงมาเหลือ 70 บาท ต่อหน่วย
วิธีทำ Q = 500,000 / ( 100 - 70 )
= 500,000 / 30
= 16,666.66 หน่วย
จากตัวอย่างบริษัทแก้วเจ้าจอม ถ้าต้นทุนผันแปรจาก 75 บาท เพิ่มเป็น 80 บาท ต่อหน่วย
วิธีทำ Q = 500,000 / ( 100 - 80 )
= 500,000 / 20
= 25,000 หน่วย
--------------------------------------------------------------------------------
ตัวอย่าง บริษัท วิมเบิลดัน จำกัด ขายลูกเทนนิสลูกละ 20 บาท ต้นทุนคงที่รวม 200,000 บาท ต้นทุนผัแปรลูกละ 15 บาท จัดหาเงินทุนด้วยวิธีการออกหุ้นสามัญจำนวน 1,000 หุ้น มูลค่า 1,750,000 บาท เพื่อลงทุนในการซื้อเครื่องจักรมาใช้ในการดำเนินธุรกิจ ให้พิจารณาการลงทุนซื้อเครื่องจักรดังกล่าวมาเพื่อใช้ในการดำเนินงาน ณ ระดับจำนวนหน่วยขายระดับใดถึงจะได้รับประโยชน์สูงสุด ถ้ากำหนดจำนวนหน่วยขายเท่ากับ 20,000 40,000 60,000 และ 80,000 หน่วย จะได้รับอัตราผลตอบแทนจากการลงทุนเท่าใด
วิธีทำ จำนวนหน่วยขาย ณ จุดคุ้มทุน Q = FC / ( P - VC ) = 200,000 ( 20 - 15 ) = 40,000 หน่วย
จำนวนหน่วยขาย ณ ระดับ (Q ) 20,000 40,000 60,000 80,000
ยอดขาย (TR) 400,000 800,000 1,200,000 1,600,000
ต้นทุนผัแปร ( VC ) 300,000 600,000 900,000 1,200,000
กำไรแปรได้ 100,000 200,000 300,000 400,000
ต้นทุนคงที่ ( FC ) 200,000 200,000 200,000 200,000
กำไรก่อนดอกเบี้ยและภาษี ( EBIT ) -100,000 0 100,000 200,000
ภาษี 30 % 0 0 30,000 60,000
กำไร( ขาดทุน )สุทธิ ( EAT ) -100,000 0 70,000 140,000
อัตราผลตอบแทนส่วนของผู้ถือหุ้น (ROE ) -5.7% 0% 4% 8%
จากผลการวิเคราะห์ของ วิมเบิลดัน จำกัด สรุปได้ดังนี้
Q = 20,000 EBIT = -100,000 ROE = - 5.7 ความเสี่ยงสูง
Q = 40,000 EBIT = 0 ROE = 0 คุ้มทุนพอดี
Q = 60,000 EBIT = 100,000 ROE = 4 พ้นสภาพความเสี่ยงเล็กน้อย
Q = 80,000 EBIT = 200,000 ROE = 8 พ้นสภาพความเสี่ยงมาก
การวิเคราะห์สภาพแวดล้อมภายใน (Internal Environmental Analysis)
-
สภาพแวดล้อมภายนอกมีอิทธิพลต่อองค์การอย่างมากก็จริง
แต่ผู้บริหารต้องมีความเข้าใจและสามารถจัดการปัจจัยภายในองค์การด้วยการดาเนินงานจึงจะบรรลุเป้าหมาย
การวิเคร...
5 ปีที่ผ่านมา
0 ความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น