MBA

We constantly research and disseminate knowledge to prepare graduate students to be leaders at the community, national and international levels.

Facebook is a social utility that connects people with friends and others who work, study and live around them. People use Facebook to keep up with friends

Custom Search

วันจันทร์ที่ 29 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553

ความเสี่ยงทางการเงิน (Financial Risks)

ตลาดการเงินในปัจจุบันการลงทุนสำหรับนักลงทุนในบ้านเราคงไม่อาจที่จะปฏิเสธการเข้าไปจัดการบริหารความเสี่ยงในการลงทุนที่มีมากมายและถาโถมเข้ามาเช่นเดียวกับการขยายตัวของโลกกาภิวัฒน์ของระบบทุนนิยม นักลงทุนสามารถติดต่อกับนักลงทุนอื่น ๆ ทั่วโลกได้ง่ายขึ้น ด้วยเหตุนี้การกระทำของคน ๆ เดียว หรือ กลุ่ม ๆ เดียวจึงไม่อาจสามารถทำให้เป็นเรื่องเฉพาะของเขาเหล่านั้นได้อีกต่อไป อาทิ การไหลเข้าออกของเงินทุนของกลุ่มทุน การลงทุนซึ้อหุ้นหรือพันธบัตร การดำเนินนโยบายทางการเงินการคลังของรัฐบาลทั้งในและเทศ การกระทำของนักลงทุนกลุ่มหนึ่ง ๆ ที่ส่งผลกระทบต่อนักลงทุนคนอื่น ๆ หรือการกระทำธุรกรรมของเราเองที่ไม่อาจทราบผลที่แน่นอน สิ่งที่ไหลเข้ามานอกจากโอกาสทางการเงินที่เปิดกว้างแล้วยังรวมไปถึงการขยายตัวของโอกาสในการรับรู้ความเสี่ยงและความไม่แน่นอนอีกด้วย (Risk and Uncertainty) ซึ่งสิ่งเหล่านี้อาจจะส่งผลให้เกิดการเปลี่ยนแปลงเล็กน้อยจนถึงมหาศาลของผลตอบแทนที่ได้รับจริงต่อผลตอบแทนที่เราคาดหวังก่อนการลงทุน เช่น ท่านรู้ได้อย่างไรว่าในปีหน้าหุ้นที่ท่านซื้อไว้ราคาจะเป็นเท่าที่นักวิเคราะห์หลายท่านบอกเอาไว้ ในขณะที่ราคาน้ำมันยังคงผันผวน การก่อหนี้ที่เพิ่มขึ้นของรัฐบาลที่อาจส่งผลต่ออัตราดอกเบี้ยระยะยาว รวมไปถึงเสถียรภาพทางการเมืองยังคงต้องใช้เวลาในการปรับตัว ยังคงเป็นตัวแปรที่เราไม่สามารถควบคุมได้ นักลงทุนหลายท่านจึงมีเป้าหมายในการพยายามปรับตัวเพื่อให้สามารถจัดการบริหารกับความเสี่ยงให้ดีขึ้น ดังนั้นก้าวแรกที่สำคัญคือ การทำความเข้าใจความแตกต่างระหว่างความเสี่ยงและความไม่แน่นอน และประเภทของความเสี่ยงทางการเงินก่อน

ความเสี่ยงและความไม่แน่นอนแตกต่างกันอย่างไร ?

ในปี 1921 นักเศรษฐศาสตร์ Frank H Knight ได้อธิบายความแตกต่างระหว่างความเสี่ยงและความไม่แน่นอนไว้

“Uncertainty must be taken in a sense radically distinct from the familiar notion of Risk, from which it has never been properlyseparated … The essential fact is that “risk” means in some cases a quantity susceptible of measurement, while at other times it is something distinctly not of this character; and there are far-reaching and crucial differences in the bearings of the phenomenon depending on which of the two is really present and operating. … It will appear that a measurable uncertainty, or “risk” proper, as we shall use the term, is so far different from an unmeasurable one that it is not in effect an uncertainty at all. We … accordingly restrict the term “uncertainty” to cases of the non-quantitive type.”

สามารถอธิบายให้เข้าใจง่าย ๆ ด้วยการยกตัวอย่าง การชกมวย ซึ่งนักมวยทั้งสองฝ่ายจะได้รับทราบถึงกฎกติกาอย่างละเอียดก่อนการชก ดังนั้นสิ่งที่จะทำคือ กำหนดกลยุทธ์ในการชกเพื่อเอาชนะอีกฝั่งให้ได้ เช่น ถ้าเราเดินแบบนี้แล้วเขาจะเดินแบบไหน เป็นต้น หากอีกฝั่งสามารถกำหนดกลวิธีที่เหนือกว่าเพราะเป็นนักมวยที่เก่งกว่าแล้วสามารถชกเอาชนะไปได้เราเรียกกรณีเช่นนี้ว่า ความเสี่ยง เช่นเดียวกับสิ่งที่เกิดขึ้นในการลงทุนในปัจจุบัน

หากเราเปลี่ยนใหม่ โดยที่ไม่บอกว่ากฎกติกาการชกจะเป็นแบบอย่างไรให้ทั่งสองฝ่ายทราบ และจะลงโทษผู้ที่ทำผิดกติกาแบบสุ่มด้วย ท่านลองคิดดูว่าผลจะเป็นอย่างไร สิ่งนี้เราเรียกว่า ความไม่แน่นอน

ดังนั้น ความแตกต่างของความเสี่ยงและความไม่แน่นอนคือ การวัดได้ (Measurable) ความเสี่ยงนั้นวัดได้แต่ความไม่แน่นอนนั้นวัดไม่ได้

ความเสี่ยงทางการเงิน (Financial Risk)

ความเสี่ยงทางการเงินแบ่งได้เป็น 3 ประเภท คือ

1. ความเสี่ยงตลาด (Market Risk) เป็นความเสี่ยงของการที่จะเสีย โดยราคาหรือการเปลี่ยนแปลงของราคา ซึ่งเป็นผลมาจากการเปลี่ยนแปลงของอัตราดอกเบี้ยในตลาดโลกหรืออื่น ๆ การผันผวนของอัตราแลกเปลี่ยน การดำเนินนโยบายใช้จ่ายของรัฐบาล การผันผวนของราคาสินค้าอุปโภคบริโภคภายในและนอกประเทศ ซึ่งเหล่านี้ส่งผลให้เกิดการเปลี่ยนแปลงของอุปสงค์และอุปทานการลงทุนในตลาดการเงิน ส่งผลต่อการเปลี่ยนแปลงของมูลค่าการลงทุน อาทิ การใช้จ่ายเพิ่มขึ้นและการก่อหนี้ของภาครัฐ ส่งผลให้ความเสี่ยงการลงทุนภายในประเทศเพิ่มขึ้น อัตราผลตอบแทนคาดการณ์ในระยะยาวจึงมีแนวโน้มสูงขึ้น อาจส่งผลให้ราคาของหุ้นหรือค่าเงินในปัจจุบันกับอนาคตมีความแตกต่างกันมาก
2. ความเสี่ยงด้านเครดิต (Credit Risk) เป็นความเสี่ยงที่จะสูญเสีย อันเนื่องมาจากการไม่กระทำตามสัญญาของคู่สัญญาอีกฝั่ง ซึ่งอาจเป็นได้ทั้งการเต็มใจและไม่เต็มใจที่จะไม่ทำ เช่น การผิดนัดชำระหนี้ การผิดนัดการแลกเปลี่ยนสินค้า การได้ผลตอบแทนไม่ครบตามที่สัญญาไว้ในหุ้นกู้ เป็นต้น ซึ่งเราสามารถลดความเสี่ยงในด้านนี้ได้โดยการลงทุนผ่านตลาดที่มีตัวกลาง เช่น ตลาดหุ้น หรือ ฟิวเจอร์ เป็นต้น ซึ่งในเมืองไทยยังต้องการการพัฒนาตลาดที่เป็นทางเลือกอื่น ๆ ในการลงทุนอีกมาก
3. ความเสี่ยงด้านการปฏิบัติการ (Operational Risk) เป็นความเสี่ยงที่เกิดขึ้นได้อยู่ตลอดเวลา อันเนื่องมาจากการปฏิบัติการที่ผิดพลาดหรือไม่เหมาะสมที่มาจากคทั้งคนหรือองกรค์ หรือจากเหตุการณ์ภายนอก เช่น การทำสัญญาทางการเงินที่ผิดพลาด การทำผิดกฎหมายโดยไม่ตั้งใจหรือตั้งใจของบริษัทที่เราซื้อหุ้น การไม่ทำตามนโยบายการลงทุนของกองทุนรวมที่เรามีหน่วยลงทุนอยู่ เป็นต้น การติดตามและเฝ้าระวังนโยบายของบริษัทอย่างสม่ำเสมอ จะช่วยให้สามารถกำหนดกลยุทธ์การลงทุนให้เหมาะสมได้ยิ่งขึ้น

นโยบายเงินปันผล (Dividend Policy)

หุ้นสามัญเป็นหลักทรัพย์แสดงความเป็นเจ้าของกิจการ ผู้ถือหุ้นสามัญจะมีฐานะเป็นเจ้าของกิจการ จึงมีสิทธิได้รับผลตอบแทนในรูปของเงินปันผล (Dividend) เมื่อมีการประกาศจ่าย และได้รับส่วนเกินจากราคาซื้อขาย (Capital Gain) เมื่อขายหุ้นออกไป

ผู้ลงทุนในหุ้นสามัญส่วนใหญ่ลงทุนเพราะมุ่งหวังจะได้รับผลกำไรของกิจการ ซึ่งจะได้รับจากการจ่ายเงินปันผล เมื่อมีการประกาศจ่ายเงินปันผลไปแล้ว กิจการจะต้องจ่ายเงินปันผล ตามที่ประกาศไว้ในรูปของเงินสดปันผล หรือหุ้นปันผลก็ได้

นโยบายการจ่ายเงินปันผล แบ่งได้ 3 ประเภท

1. จำนวนเงินปันผลต่อหุ้นคงที่ (Stable Amount Pershare) : กิจการจะจ่ายเงินปันผลต่อหุ้นเป็นจำนวนเงินแน่นอน เช่น จ่ายปันผลหุ้นละ 2 บาท หรือ 3 บาท เป็นต้น กิจการที่จ่ายปันผลเช่นนี้ได้จะต้องมีผลกำไรที่คอ่นข้างแน่นอน และมีฐานะการเงินมั่นคง
2. อัตราการจ่ายเงินปันผลคงที่ (Constant Layout Ratio) : กิจการจะกำหนดจำนวนเงินปันผลเป็นอัตราส่วนกับกำไรที่กิจการได้รับในปีนั้น ๆ เช่น กำหนดจ่ายปันผล 50% ของกำไรสุทธิ ถ้าบริษัทมีหุ้นสามัญที่ออกจำหน่ายทั้งหมด 200,000 หุ้นปี 2544 บริษัทมีกำไรสุทธิ 200,000 บาท กำไรสุทธิต่อหุ้น เท่ากับ 1 บาท ต้องจ่ายเงินปันผลหุ้นละ 0.50 บาทปี 2545 บริษัทมีกำไรสุทธิ 400,000 บาท กำไรสุทธิต่อหุ้น เท่ากับ 2 บาท ต้องจ่ายเงินปันผลหุ้นละ 1.00 บาทดังนั้น วิธีนี้จำนวนเงินปันผลจึงไม่แน่นอนเปลี่ยนแปลงไปตามกำไรสุทธิของกิจการ ถ้ากิจการมีกำไรมากก็จ่ายปันผลมาก ถ้ากิจการมีกำไรน้อยก็จ่ายปันผลน้อย
3. จำนวนเงินปันผลปกติขั้นต่ำบวกเงินปันผลพิเศษ (Low Regular and Extra Dividend) :กิจการจะจ่ายเงินปันผลจำนวนหนึ่งที่แน่นอน และหากปีใดกิจการมีกำไรเกินกว่าปกติ กิจการก็จะจ่ายเงินปันผลเพิ่มพิเศษให้อีกจำนวนหนึ่ง เช่น กำหนดว่าทุกปีจ่ายเงินปันผลอย่างน้อยหุ้นละ 10 บาท แต่หากปีใดมีกำไรมากก็จะจ่ายเพิ่มพิเศษให้ปี 2540 บริษัทมีกำไรสุทธิ 300,000 บาท จ่ายปันผลหุ้นละ 10 บาทปี2541 บริษัทมีกำไรสุทธิ 400,000 บาท จ่ายปันผลหุ้นละ 15 บาท (10 + 5) ปี 2542 บริษัทมีกำไรสุทธิ 500,000 บาท จ่ายปันผลหุ้นละ 18 บาท (10 + 8 )

ปัจจัยที่มีผลกระทบต่อการกำหนดนโยบายเงินปันผล

1. ข้อกำหนดตามกฎหมาย ซึ่งกำหนดไว้ว่า บริษัทจะจ่ายเงินปันผลจากกำไรในปีปัจจุบันหรือในอดีตก็ได้ (กำไรสะสม) โดยการจ่ายปันผลทุกครั้งจะต้องมีการจัดสรรกำไรส่วนหนึ่ง ตามที่กฎหมายกำหนดไว้ เช่น ร้อยละ 5 ของกำไร ไว้เป็นทุนสำรองตามกฎหมายด้วย
2.สภาพคล่อง เป็นปัจจัยที่สำคัญในการตัดสินใจเกี่ยวกับการจ่ายปันผล ถ้าหากฐานะเงินสดของธุรกิจและสภาพคล่องของธุรกิจดีก็สามารถจ่ายเงินปันผลได้ หากธุรกิจกำลังขยายกิจการ อาจจะไม่มีสภาพคล่อง เนื่องจากต้องนำเงินสดไปลงทุนในสินทรัพย์ถาวรต่าง ๆ จึงต้องพิจารณาให้รอบคอบก่อนตัดสินใจจ่ายปันผล
3. ความสามารถในการกู้ยืม ถ้าธุรกิจมีความสามารถในการกู้ยืมสูง ทำให้ธุรกิจไม่จำเป็นจะต้องเก็บรักษาเงินสดไว้มาก ดังนั้นธุรกิจมีสามารถในการจ่ายปันผลได้สูง
4. เสถียรภาพของกำไร ถ้าหากกำไรที่ธุรกิจทำได้สม่ำเสมอ ก็สามารถที่จะพยากรณ์ได้ล่วงหน้าถึงกำไรที่จะได้ พร้อมทั้งสามารถที่จะจ่ายปันผลในอัตราส่วนที่มากและสูงกว่าธุรกิจที่มีกำไรไม่แน่นอน
5. ความจำเป็นในการชำระหนี้ ถ้าธุรกิจเลือกนำเงินไปชำระหนี้ก็ต้องมีการกันเงินจากกำไรไว้ เพื่อนำไปชำระหนี้ ดังนั้นจึงทำให้ไม่สามารถจ่ายเงินปันผลได้ หรือจ่ายได้ก็เป็นจำนวนน้อย
6. ข้อจำกัดในสัญญาเงินกู้ ซึ่งมักจะมีข้อความดังนี้
- การจ่ายปันผลจะทำได้เฉพาะจากกำไรที่เกิดขึ้นหลังวันลงนามในสัญญาจะไปเอากำไรสะสมปีก่อนมาจ่ายปันผลไม่ได้
- บริษัทจะไม่จ่ายปันผล ถ้าหากเงินทุนหมุนเวียนสุทธิต่ำกว่าระดับที่กำหนดไว้
- การออกหุ้นกู้หรือการกู้เงินมา อาจมีข้อตกลงในการจำกัดจำนวนการจ่ายเงินปันผลการจำกัดจำนวนเงินปันผลจ่ายนี้ก็เพื่อจะเพิ่มความสามารถในการชำระหนี้คืน
7. การควบคุม ในบางครั้งธุรกิจจะกำหนดนโยบายเพื่อที่จะขยายกิจการเท่ากับจำนวนเงิน กำไรที่กันไว้ในรูปกำไรสะสมเท่านั้น เพราะการเพิ่มทุนโดยการออกหุ้นสามัญจะทำให้อำนาจการควบคุมและส่วนได้เสียในบริษัทของผู้ถือหุ้นเดิมเปลี่ยนแปลงไป หรือการก่อหนี้อาจทำให้มีความเสี่ยงทางการเงินสูงขึ้น
8. ฐานะทางภาษีของผู้ถือหุ้น เงินปันผลที่ได้รับถือเป็นรายได้ที่ต้องเสียภาษี ถ้าผู้ถือหุ้นส่วนใหญ่ของบริษัทจะต้องเสียภาษีเงินได้ในอัตราที่สูงก็ย่อมพอใจที่จะให้คงกำไรไว้ในรูปกำไรสะสม ซึ่งมีผลทำให้ราคาตลาดของหุ้นสามัญนั้นสูงขึ้น ผู้ถือหุ้นจะได้รับกำไรจากการขายหุ้น (Capital Gain) ซึ่งทำให้พอใจมากกว่ารับรายได้ในรูปของเงินปันผล เพราะอัตราภาษีที่เก็บจากเงินปันผลจะสูงกว่าอัตราภาษีที่เก็บจากกำไรจากการขายหุ้น
9. ภาวะเงินเฟ้อ โดยทั่วไปผู้ถือหุ้นต้องการรับเงินปันผลในปัจจุบันมากกว่าที่จะรอรับในอนาคตเพราะเมื่อเกิดภาวะเงินเฟ้อขึ้น จะทำให้ค่าของเงินลดลงตามกาลเวลา
10. อัตราการขยายตัวของสินทรัพย์ หากกิจการมีการขยายตัวสูง ต้องใช้เงินทุนมากกิจการจะต้องกันเงินกำไรไว้ในรูปของกำไรสะสมจำนวนมาก ทำให้จ่ายเงินปันผลได้น้อยลง

ประเภทของการจ่ายปันผล

1. เงินสดปันผล (Cash Dividend) : เงินสดปันผลจะจ่ายจากกำไรสะสม การที่จะจ่ายได้หรือไม่ขึ้นอยู่กับปริมาณเงินสดที่กิจการถืออยู่ว่ามีเพียงพอหรือไม่ การจ่ายเงินสดปันผลจะทำให้ในงบดุลมีการเปลี่ยนแปลงทั้งด้านสินทรัพย์ (เงินสดลดลงตามจำนวนปันผลที่จ่าย) และด้านหนี้สินและทุนก็ลดลงเช่นกัน (กำไรสะสมลดลงตามจำนวนปันผลที่จ่าย)
2. หุ้นปันผล (Stock Dividend) : เป็นการจ่ายปันผลในรูปของหุ้นสามัญออกใหม่ ซึ่งเรียกว่า หุ้นปันผล ซึ่งจะกำหนดจำนวนหุ้นที่จ่ายให้ผู้ถือหุ้นตามสัดส่วนของหุ้นที่ถืออยู่ เช่น การจ่ายหุ้นปันผลร้อยละ 10 หมายความว่า ผู้ถือหุ้นอยู่ 100 หุ้น จะได้รับหุ้นปันผล 10 หุ้น นั่นคือ กิจการจะต้องจดทะเบียนเพิ่มทุน โดยมีจำนวนหุ้นเพิ่มขึ้นอีกร้อยละ 10 การจ่ายหุ้นปันผลไม่ส่งผลกระทบต่อมูลค่าส่วนเจ้าของในงบดุล แต่จำนวนกำไรสะสมจะลดลง ในขณะที่มูลค่าหุ้นสามัญจะเพิ่มขึ้นในจำนวนที่เท่ากัน

ข้อดีของการจ่ายหุ้นปันผล
- ช่วยประหยัดเงินสดให้ธุรกิจ เพื่อใช้ในโครงการลงทุนอื่นในอนาคต โดยไม่ต้องจัดหาเงินทุนเพิ่มเติมจากแหล่งภายนอก
- ทำให้ผู้ถือหุ้นที่มีรายได้สูงเกิดความพอใจ เพราะถ้าผู้ถือหุ้นมีรายได้สูงจะเสียภาษีสูงด้วย
- ช่วยบริษัทที่ประสบปัญหาทางการเงิน
- ทำให้ราคาตลาดของหุ้นสามัญไม่สูงเกินไป

ข้อเสียของการจ่ายหุ้นปันผล
- ค่าใช้จ่ายในการจ่ายหุ้นปันผลค่อนข้างสูง
- ทำให้กำไรต่อหุ้นลดลง
- ราคาตลาดของหุ้นลดลง

3. การแยกหุ้น (Stock Splits) : การจ่ายปันผลวิธีนี้ จะทำให้จำนวนหุ้นสามัญที่ผู้ลงทุนถือหุ้นอยู่มีจำนวนมากขึ้น เช่น แยกหุ้นจาก 1 เป็น 10 หมายความว่า ผู้ถือหุ้นเดิมจะได้รับหุ้นเพิ่มขึ้น 9 หุ้น ต่อหุ้นที่ถืออยู่ 1 หุ้น โดยมูลค่าที่ตราไว้จะลดลงเหลือ 1/10 ด้วย คือหากมูลค่าเดิมที่ตราไว้ 100 บาทต่อหุ้น เมื่อแยกหุ้นแล้วจะเท่ากับ 10 บาทต่อหุ้น การแยกหุ้นไม่ส่งผลกระทบต่อมูลค่าส่วนของเจ้าของในงบดุล จำนวนกำไรสะสมและมูลค่าหุ้นสามัญรวมยังคงเดิม เพียงแต่จำนวนหุ้นจะมากขึ้นและมีราคามูลค่าที่ตราไว้ต่อหุ้นลดลงวิธีการแยกหุ้นนี้ จะสร้างความพอใจแก่ผู้ถือหุ้น เพราะเมื่อบริษัทมีกำไรมาก การจ่ายปันผลสูง และมีความเจริญเติบโตในอัตราที่ดีแล้ว ทำให้ราคาตลาดของหุ้นอยู่ในระดับที่สูงมาก
4. การซื้อหุ้นกลับคืน (Stock Pepurchase) : การที่ธุรกิจนำเงินกำไรส่วนที่เก็บไว้ในรูปกำไรสะสมหรือเงินที่ได้จากการก่อหนี้ไปซื้อหุ้นสามัญที่ออกจำหน่ายแล้ว ทำให้หุ้นสามัญมีจำนวนน้อยลง ถ้าปัจจัยอื่นคงที่และสมมติว่าการซื้อหุ้นคืนไม่กระทบต่อความสามารถทำกำไรของธุรกิจ จะทำให้กำไรต่อหุ้นเพิ่มขึ้น เมื่อกำไรต่อหุ้นเพิ่มขึ้น จะส่งผลให้ราคาตลาดของหุ้นสามัญสูงขึ้น ถ้าธุรกิจนำเงินที่เก็บไว้ในรูปกำไรสะสมไปซื้อหุ้นกลับคืน ทำให้การจ่ายเงินปันผลลดน้อยลง แต่ถ้านักลงทุนขายหุ้นจะได้รับกำไรจากการขายหุ้นเนื่องจากราคาตลาดสูงขึ้น กำไรจาการขายหุ้นชดเชยได้พอดีกับเงินปันผลจ่ายที่น้อยลงการซื้อหุ้นกลับคืนจะกระทำเมื่อกิจการมีเงินทุนเหลือใช้เป็นการถาวร หรือต้องการลดจำนวนหุ้นสามัญที่หมุนเวียนในตลาดลง เพื่อทำให้ราคาตลาดหุ้นสามัญสูงอีก หรือเพิ่มอำนาจการควบคุมกิจการ เพื่อป้องกันมิให้ผู้ถือหุ้นขายหุ้นให้กับบริษัทอื่น กิจการสามารถซื้อหุ้นกลับคืนมาได้ หุ้นที่ซื้อคืนนี้ เรียกว่า Treasury Stock
5. การรวมหุ้น (Reverse Split) : บริษัทสามารถทำการลดจำนวนหุ้นสามัญลงและเพิ่มมูลค่าที่ตราไว้ต่อหุ้นได้ การลดจำนวนหุ้นลงนี้ทำได้โดยการรวมหุ้น ซึ่งจะเกิดขึ้นในกรณีที่ราคาตลาดของหุ้นต่ำมาก ธุรกิจก็จะทำการรวมหุ้นเพื่อให้จำนวนหุ้นในมือของผู้ถือหุ้นลดจำนวนลง ราคาตามมูลค่าของหุ้นจะเพิ่มขึ้น อันมีผลทำให้ราคาตลาดของหุ้นสูงขึ้น

นโยบายเงินปันผล

1. การจ่ายเงินปันผลจะเป็นตัวกำหนดแหล่งเงินทุนระยะยาวจากภายในกิจการ เพราะเงินปันผลจะจ่ายจากกำไรสะสม
2. ประเด็นที่ต้องพิจารณาในการจ่ายเงินปันผล
- กิจการควรจ่ายปันผลเป็นอะไร เช่น เงินสด หรือ หุ้นปันผล
- กำหนดนโยบายการจ่ายเงินปันผลในลักษณะใดจึงจะเหมาะสม
- ควรมีอัตราการจ่ายเงินปันผลเป็นร้อยละเท่าใดของกำไรสุทธิหรือเป็นจำนวนเงินเท่าใด
3. วัตถุประสงค์ของการกำหนดนโยบายเงินปันผล
- เพื่อผลตอบแทนที่ดีที่สุดแก่ผู้ถือหุ้นในระยะยาว
- เพื่อโครงสร้างเงินทุนที่เหมาะสมของกิจการ

แบบของการจ่ายเงินปันผล
- การจ่ายเงินปันผลเป็นเงินสด
- การจ่ายเป็นหุ้นปันผล
- การแตกหุ้นและซื้อหุ้นคืน
- การจ่ายสินทรัพย์ปันผล
- การจ่ายปันผลในรูปของภาระหนี้สิน เช่น หุ้นกู้ปันผล

เงินสดปันผล (Cash Dividends)

1. ผู้ถือหุ้น
- สะดวก
- เป็นที่นิยมสามารถนำเงินสดไปใช้ได้ทันที

2. บริษัท
- กระทบกระแสเงินสดของบริษัท
- บางกรณีอาจจะต้องกู้เงินมาและเกิดภาระดอกเบี้ยจ่ายเกิดขึ้น

3. นโยบายเงินปันผล
- จ่ายต่อหุ้นคงที่
- จ่ายปันผลในอัตราคงที่ (กำหนดเป็นอัตราร้อลยะของกำไรสุทธิที่คงที่)
- จ่ายเป็นขั้นต่ำบวกปันผลพิเศษ
- กำหนดอัตราการจ่ายเงินปันผลเป้าหมาย

การจ่ายหุ้นปันผล (Stock Dividends)

- ส่วนมากจะกำหนดเป็นอัตราร้อยละของมูลค่าหุ้นสามัญ เช่น จ่ายหุ้นปันผล 10% หมายความว่า มีหุ้นสามัญอยู่ 100 ล้านหุ้น ก็จะจ่ายปันผลเป็นหุ้นจำนวน 10 ล้านหุ้น ก็จะทำให้มีหุ้นในตลาดเท่ากับ 110 ล้านหุ้น
- มุ่งที่จะเก็บเงินสดไว้เพื่อการลงทุน
- ข้อดี : เงินที่ไม่ได้นำไปจ่ายปันผลจะถูกนำไปลงทุนต่อ ซึ่งก่อให้เกิดรายได้ทำให้บริษัทสามารถขยายตัวได้ตามแผน ผลคือกำไรต่อหุ้นสูงขึ้น ราคาของหุ้นก็จะสูงขึ้นตา

ผลกระทบการจ่ายหุ้นปันผลที่มีต่อผู้ถือหุ้น

1. ผลกระทบต่อกำไรต่อหุ้น : กำไรต่อหุ้นละลดลง (Dilution effect)
2. ผลกระทบต่อราคาหุ้น : ราคาตลาดหุ้นสามัญต่อหุ้นอาจจะลดลง
3. ผลกระทบต่อเงินปันผลในอนาคต :
- ได้รับเงินปันผลเพิ่มขึ้น กรณีที่ยังคงรักษาจำนวนเงินปันผลต่อหุ้นในอัตราเท่าเดิม
- ได้รับเงินปันผลต่อหุ้นน้อยลง กรณีที่รักษาจำนวนเงินรวมที่ต้องจ่ายเท่าเดิมก่อนที่จะมีการจ่ายปันผล

ผลกระทบการจ่ายหุ้นปันผลที่มีต่อบริษัท

ข้อดี :
- บริษัทสามารถใช้ผลกำไรเป็นทุนหมุนเวียนโดยไม่ต้องกู้ยืมเงินเพิ่ม
- บริษัทมีทุนเพิ่มขึ้น
- ราคาหุ้นในอนาคตมีแนวโน้มสูงขึ้นเนื่องจากบริษัทที่จ่ายหุ้นปันผล จะเป็นบริษัทที่กำลังขยายตัวและจำเป็นต้องใช้เงินทุนเพิ่มเติม

ข้อเสีย :
- อาจทำให้ผู้ถือหุ้นได้หุ้นปันผลไม่ครบถ้วนเพราะมีเศษหุ้น
- อาจทำให้มูลค่าหุ้นตามบัญชีลดลง ในกรณีที่คำนวณมูลค่าหุ้นจากมูลค่าตามบัญชี
- อัตราการเพิ่มกำไรต่อหุ้นมีแนวโน้มลดลง
- ค่าใช้จ่ายในการออกหุ้นปันผลจะสูงกว่าการจ่ายเงินสดปันผล

การแตกหุ้น (Stock splits)

- จะเกิดขึ้นในกรณีที่ราคาหุ้นของบริษัทที่ซื้อขายกันในตลาดมีราคาสูง รวมถึงบริษัทต้องการเงินทุนเพิ่มเพื่อการขยายกิจการ บริษัทจะทำการแตกหุ้น ซึ่งจะทำให้ราคาตลาดของหุ้นลดลง แต่จะทำให้การซื้อขายคล่องตัวขึ้น และเมื่อบริษัทออกหุ้นใหม่ เพื่อการเพิ่มทุนก็จะทำได้สะดวกขึ้น
- บริษัทที่จะทำการแตกหุ้น ส่วนมากมีราคาที่ตราไว้สูง จึงพยายามแตกหุ้นให้มีมูลค่าน้อยลงเพื่อให้สามารถซื้อขายได้สะดวกขึ้น

การซื้อหุ้นคืน (Stock repurchase)

1. การที่บริษัทนำหุ้นสามัญที่ออกจำหน่ายแล้วของบริษัทกลับคืนมา เมื่อผู้ถือหุ้นขายคืนกลับบริษัท ก็จะทำให้สัดส่วนการเป็นเจ้าของบริษัทของผู้ถือหุ้นที่ขายคืนก็จะลดลง และทำให้จำนวนหุ้นที่หมุนเวียนในตลาดลดลง
2. เหตุผลที่บริษัทตัดสินใจซื้อหุ้นกลับคืน
- บริษัทมีเงินสดเกินความต้องการ
- เพื่อปรับปรุงกำไรต่อหุ้นที่จำหน่ายออกไปให้สูงขึ้น
- ราคาตลาดของหุ้นของบริษัทต่ำกว่าราคาที่แท้จริง
- ป้องกันการซื้อกิจการจากผู้อื่น (Hostile takeover)

ผลกระทบของการซื้อหุ้นคืนในแง่ผู้บริหาร

ข้อดี
- ซื้อหุ้นคืนเพื่อชลอการจ่ายเงินปันผลและรักษาระดับการจ่ายเงินปันผลในอนาคต
- สะดวกแก่การชำระตามข้อผูกพัน เช่น เตรียมไว้เพื่อการแปลงสภาพ
- สามารถนำไปขายในตลาดเมื่อต้องการเงินทุน
- รักษาอำนาจการควบคุม
- เปลี่ยนแปลงโครงสร้างเงินทุน

ข้อเสีย
- เกิดภาพลักษณ์ที่ไม่ดีต่อผู้ลงทุน เพราะอาจถูกมองว่าไม่มีโครงการลงทุนอื่นที่ดี จึงต้องซื้อหุ้นคืน
- หลีกเลี่ยงภาษี เพราะทำให้การจ่ายปันผลน้อยลง

ผลกระทบของการซื้อหุ้นคืนในแง่ผู้ถือหุ้น

ข้อดี
- ราคาหุ้นจะสูงขึ้น ทำให้ได้กำไรจากการขายหุ้น ซึ่งเสียภาษีน้อยกว่าได้เงินปันผล
- ชลอการจ่ายภาษี เพราะเลือกได้ว่าจะขายหรือไม่
- ลดจำนวนหุ้นส่วนเกิน สามารถระบายหุ้นส่วนเกินความต้องการออกจากตลาด เพื่อรักษาสภาพราคาให้คงไว้

ข้อเสีย
- ผลประโยชน์ด้ายภาษีในกรณีผู้ถือหุ้นมีรายได้น้อย การเสียภาษีในรูปเงินปันผลอาจให้ประโยชน์มากกว่าการขายหุ้นที่มีราคาสูงขึ้นเพราะการซื้อหุ้นคืน
- ถ้าหุ้นที่หมุนเวียนมีน้อย เมื่อซื้อแล้วอาจมีผลให้ราคาหุ้นตกได้
- ความเสี่ยงสูง เพราะสัดส่วนของหนี้สินและทุนจะสูงขึ้น

สินทรัพย์ปันผล (Property Dividends)
- ไม่เป็นที่นิยม
- ที่เคยเกิดขึ้นส่วนมากเป็นการจ่ายหุ้นของบริษัทอื่น ๆ แทนที่จะจ่ายเป็นหุ้นของบริษัทตนเอง

การจ่ายปันผลในรูปของภาระหนี้สิน (Script dividends and Bond dividends)

1. จะเป็นการจ่ายในรูปของตั๋วสัญญาใช้เงินที่เปลี่ยนมือได้หรือพันธบัตรหรือตั๋วเงินระยะยาว
2. เหตุผลในหารจ่ายแบบนี้ เพราะบริษัทอาจจะขาดสภาพคล่อง มีเงินสดไม่พอจ่ายปันผล
3. ผู้ถือหุ้นที่ได้รับปันผลแบบนี้จะมีสถานะเกิดขึ้น 2 ส่วน
- เป็นเจ้าหนี้จากการได้รับตั๋วเงิน
- เป็นเจ้าของจากหุ้นสามัญเดิมที่ถืออยู่

ปัจจัยที่ควรพิจารณาสำหรับการกำหนดนโยบายเงินปันผล

- ข้อจำกัดในสัญญาเงินกู้
- ความสามารถในการทำกำไร
- สภาพคล่องของบริษัท
- ภาระหนี้สินเมื่อเทียบกับสัดส่วนของเจ้าของ
- ความสามารถในการหาเงินทุนจากภายนอก
- เสถียรภาพทางด้านรายได้ของบริษัท
- อัตราการเจริญเติบโตของบริษัท
- ความพอใจของผู้ถือหุ้น
- อำนาจการควบคุม
- ความั่นใจของผู้ถือหุ้น
- ภาษีอากร
- ข้อกำหนดตามกฏหมาย

ปัจจัยความเสี่ยงของตราสารทุน

หุ้นหรือตราสารทุน เป็นหนึ่งในทางเลือกการลงทุนที่ได้รับความนิยมจากนักลงทุนชาวไทยมากขึ้นเป็นลำดับ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วงสามถึงสี่ปีที่ผ่านมาที่ผลตอบแทนจากดอกเบี้ยเงินฝากของธนาคารพาณิชย์อยู่ในอัตราที่ต่ำนั้น มีนักลงทุนรายย่อยจำนวนมากเลือกที่จะเข้ามาแสวงหาผลตอบแทนการลงทุนที่สูงกว่าในตลาดหลักทรัพย์

แต่อย่างไรก็ดี การลงทุนในตราสารทุนหรือหุ้นนั้นมีโอกาสในการให้ผลตอบแทนที่สูงแต่ก็มีระดับความความเสี่ยงที่สูงสอดคล้องกันไปตามกฎ High Risk High Return

ดังนั้นการลงทุนในหุ้นนักลงทุนทั่วไปจึงมักจะใช้เกณฑ์ในการพิจารณาในเรื่องของความเสี่ยงเป็นองค์ประกอบ ซึ่งความเสี่ยงของตราสารทุน สามารถแยกออกเป็น 3 ประเภทที่สำคัญได้ ดังนี้ คือ

ความเสี่ยงจากหลักทรัพย์หรือองค์กร

คือความเสี่ยงที่เกี่ยวกับบริษัทในตลาดหลักทรัพย์ที่นักลงทุนเลือกลงทุน ซึ่งเกิดจากสาเหตุทั้งภายในและภายนอกที่ผู้ลงทุนยากที่จะคาดการณ์ล่วงหน้า หรือรับทราบข้อมูลก่อนได้ เช่น

• การเปลี่ยนแปลงคณะกรรมการหรือผู้บริหารสำคัญของบริษัท ที่มีผลให้เกิดการเปลี่ยนแปลงของนโยบายการดำเนินงานของกิจการ หรือความเชื่อมั่นของตลาดและนักลงทุนทั่วไป

• ความผิดพลาดในการบริหารรวมถึงความเสียหายอันเนื่องมาจากกระบวนการผลิตและคุณภาพของสินค้า ที่ส่งผลให้เกิดความเสียหายและความสูญเสียต่อกิจการซึ่งแน่นอนย่อมที่จะมีผลกระทบกับราคาหุ้นที่ผู้ถือหุ้นถือครอง

• การแข่งขันในธุรกิจ ซัพพลายเออร์ และการดำเนินกิจกรรมทางการตลาดของคู่แข่งขัน ที่มีผลกระทบต่อผลประกอบการ ทั้งในส่วนของยอดขาย ต้นทุน หรือกำไรของกิจการ

• ความเปลี่ยนแปลงทางการตลาดของสินค้าหรือบริการ เช่นสินค้าบางชนิดที่ได้รับผลกระทบจากความนิยมของผู้บริโภคที่เปลี่ยนไปอย่างรวดเร็ว ทั้งนี้อาจสืบเนื่องจากการออกผลิตภัณฑ์หรือบริการใหม่ของคู่แข่งขัน หรือเกิดความเปลี่ยนแปลงในเรื่องนวัตกรรมใหม่ของผลิตภัณฑ์ ที่ส่งผลกระทบต่อปริมาณการขายและรายได้ของกิจการ

• ความเสียหายจากภัยธรรมชาติต่างๆ ที่มีผลให้กระบวนผลิตและการดำเนินงานของกิจการได้รับผลกระทบ เช่นการเกิดกรณีน้ำท่วมทำให้โรงงานไม่สามารถดำเนินการได้ เป็นต้น

• ผลกระทบจากปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย เช่นการถูกฟ้องร้องดำเนินคดี ซึ่งส่งผลต่อความน่าเชื่อถือของกิจการ เช่นการผลิตสินค้าที่มีปัญหาจนต้องถูกเรียกเก็บคืนจากผู้จัดจำหน่าย

ความเสี่ยงจากปัจจัยประเภทธุรกิจหรือกลุ่มอุตสาหกรรม

คือความเสี่ยงที่เกิดจากปัจจัยลบเฉพาะที่เกี่ยวข้องกับภาคธุรกิจหรือกลุ่มอุตสาหกรรมนั้นๆโดยตรง เช่น กฎหมายบางฉบับที่มีผลโดยตรงต่อสินค้าบางประเภทดังกรณีการห้ามโฆษณาประชาสัมพันธ์เครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ธุรกิจสัมปทานบางกรณีที่มีปัญหาในเรื่องของการตีความกฎหมายหรือมีความเสี่ยงต่อการถูกถอดถอนสัมปทาน หรือธุรกิจส่งออกสินค้าบางประเภทที่ได้รับผลกระทบโดยตรงจากข้อจำกัดพิเศษจากประเทศที่นำเข้าสินค้านั้นเป็นหลัก ซึ่งปัจจัยลบที่มีผลกระทบโดยตรงกับประเภทธุรกิจหรือกลุ่มอุตสาหกรรมโดยตรงในลักษณะนี้ แม้ในภาพกว้างจะไม่ส่งผลกระทบทางเศรษฐกิจหรือตลาดหุ้นโดยรวมเท่าใดนัก แต่ในระดับธุรกิจหรือเฉพาะอุตสากรรมจะได้รับความเสียหายที่ชัดเจน กระทั่งในบางกรณีอาจกระทบต่อราคาหุ้นได้อย่างรุนแรงดังที่ปรากฎเป็นข่าวใหญ่โตขึ้นเป็นครั้งคราวทั้งในและต่างประเทศตลอดหลายปีที่ผ่านมา

ตลาดทุน (Capital Market)

- แหล่งเงินทุน ที่กิจการสามารถเข้าไประดมเงินทุนจากผู้ลงทุนทั่วไป เพื่อนำไปใช้ในกิจการนอกเหนือไปจาก การกู้ยืมเงินจากธนาคารพาณิชย์
- วิธีการระดมทุน ได้แก่ การออกตราสารเพื่อการลงทุนประเภทต่าง ๆ และเสนอขายตราสารนั้นให้แก่ผู้ถือหุ้นและผู้ลงทุนทั่วไป ทั้งในตลาดแรกและตลาดรอง
- การเสนอขายประชาชนทั่วไป ต้องเป็นไปตามขบวนการที่กฎหมายกำหนด

ตลาดแรก และ ตลาดรอง

ตลาดแรก (Primary Market) คือ แหล่งเงินทุนอันดับแรก ที่กิจการสามารถระดมทุนได้ จากบรรดาผู้ถือหุ้นของกิจการ ไม่ว่าจะเป็นผู้ถือหุ้นเดิมหรือผู้ถือหุ้นใหม่หลังการทำ Public Offering ก่อนที่จะนำหุ้นนั้น เข้าจดทะเบียนซื้อขายในตลาดรอง
ตลาดรอง (Secondary Market) คือ แหล่งเงินทุนอันดับรอง ที่กิจการสามารถระดมทุนได้จากผู้ลงทุนทั่วไป หลังจากกิจการนั้น นำตราสารของตนเข้าทะเบียนซื้อขาย เพื่อให้ผู้ลงทุนสามารถเปลี่ยนมือ เมื่อมีความจำเป็นต้องใช้เงิน

ประเภทของตลาดรองที่สำคัญ

ตลาดตราสารทุน (Stock Market หรือ Equity Market) คือ ตลาดตราสารทุนทำหน้าที่เป็น ศูนย์กลางซื้อขายตราสารทุน เช่น หุ้น หุ้นบุริมสิทธ์ หน่วยลงทุนตราสารทุน
ตลาดตราสารหนี้ (Bond Market หรือ Debt Market) ทำหน้าที่เป็น ศูนย์กลางซื้อขายตราสารหนี้ เช่น พันธบัตรรัฐบาล/รัฐวิสาหกิจ หุ้นกู้ และตราสารทางการเงินประเภทต่าง ๆ

ลักษณะของตลาดทุน

ตลาดมีประสิทธิภาพ (Efficient Market) คือ ตลาดที่หลักทรัพย์มีราคายุติธรรม เพราะข้อมูลข่าวสารการลงทุนชัดเจน และแพร่กระจายไปยังผู้ลงทุนอย่างรวดเร็วและทั่วถึงกัน จนไม่เกิดมี overpriced หรือ underpriced
ตลาดที่ไม่มีประสิทธิภาพ (Inefficient Market) คือ ตลาดที่ข้อมูลข่าวสารการลงทุน แพร่กระจายไม่ทั่วถึงกัน ราคาหลักทรัพย์จึงเป็นได้ทั้ง overpriced หรือ underpriced

การลงทุน และ ความสัมพันธ์ของ ผลตอบแทน (Return) และความเสี่ยง (Risk)

- การลงทุน ที่ความเสี่ยงสูงย่อมให้ อัตราผลตอบแทนสูงในระยะยาว
- การลงทุน ที่มีความเสี่ยงต่ำย่อมให้ อัตราผลตอบแทนต่ำในระยะยาว
- ผลตอบแทนในการลงทุน
Total Return = Interest Received + Dividend Received + Capital Gain
Net Return หรือ Nominal Return = Total Return - all fees
Real Return = Net Return - Inflation Rate

- ความเสี่ยงในการลงทุน
Risk = Actual Return ที่แตกต่างไปจาก Expected Return

ความเสี่ยงประเภทต่าง ๆ ที่นักลงทุนต้องวิเคราะห์

1. Macro Factor

Pervasive Risk
1. Purchasing Power Risk
2. Political (Country) Risk
3. Currency (Exchange) Risk

Systematic Risk
1. Interest Rate Risk
2. Market (Price) Risk

2. Micro Factors

Unsystematic Risk
1. Credit (Company) Risk
2. Sector (Industry) Risk

Pervasive Risk : ความเสี่ยงที่กระจายทั่วถึงกันไม่มีผู้ใดหลบพ้นได้

Purchasing Power Risk คือ ความเสี่ยงต่อการมีอำนาจซื้อลดลงในอนาคต หากภาวะเงินเฟ้อสูงขึ้น ส่วนใหญ่จะเกิดกับการลงทุนระยะยาว ที่มีอัตราผลตอบแทนคงที่ (fixed rate of return) เช่น การลงทุนในพันธบัตรรัฐบาลระยะยาว 30 ปี

Political (Country) Risk คือ ความเสี่ยงที่เกิดจากสถานการณ์การเมืองของประเทศ เช่น การสงครามแย่งชิงอำนาจ การปรับเปลี่ยนคณะรัฐบาล ซึ่งอาจนำมาซึ่งการเปลี่ยนแปลงนโยบายเศรษฐกิจ การเงิน การคลังของประเทศ ซึ่งจะมีผลกระทบต่อการลงทุน ไม่ว่าจะเป็นบวกหรือลบ

Pervasive Risk : ความเสี่ยงที่กระจายทั่วถึงกันไม่มีผู้ใดหลบพ้นได้

Currency (Exchange) Risk คือ ความเสี่ยงที่เกิดขึ้นจากการเปลี่ยนแปลงของอัตราแลกเปลี่ยนเงินตรา มักจะเกิดขึ้นกับกรณีของการลงทุนข้ามชาติ และมีการนำเงินสกุลอื่น เข้าไปหรือออกจากการลงทุนในประเทศหนึ่ง ๆ หากอัตราแลกเปลี่ยนมีความผันผวน การลงทุนจากต่างประเทศก็มักจะหยุดชะงักลง

ก่อนวิกฤติทางการเงิน (2539) US$ 1 = 27 บาท

ปัจจุบัน (สิงหาคม 2548) US$ 1 = 41 บาท

Systematic Risk : ความเสี่ยงที่ผู้ลงทุนไม่สามารถลดได้ โดยการกระจายการลงทุน

Interest Rate Risk คือ ความเสี่ยงที่เกิดจากการเปลี่ยนแปลงของอัตราดอกเบี้ย เพราะมีผลกระทบถึงอัตราผลตอบแทน (Yield) ของตราสารหนี้ที่ซื้อขายในตลาดรอง ในกรณีที่อัตราดอกเบี้ยสูงขึ้น ยังทำให้ต้นทุนในการผลิตของผู้ประกอบการสูงขึ้น และกำไรลดลงในระยะสั้น ส่งผลกระทบถึงกำไร

Market (Price) Risk คือ ความเสี่ยงที่เกิดจากการเปลี่ยนแปลงของสภาวการณ์ลงทุน ทั้ง ๆ ที่ปัจจัยพื้นฐานไม่เปลี่ยนแปลงส่วนใหญ่จะเห็นได้ชัดในกรณีของตลาดหุ้น เช่น การรับอิทธิพล(Sentiment) จากการเคลื่อนไหวของราคาหุ้นในตลาดหลักของโลก

Unsystematic Risk : ความเสี่ยงที่ผู้ลงทุนสามารถลดได้ โดยการกระจายการลงทุน

Credit (Company) Risk คือ ความเสี่ยงที่เกี่ยวข้องกับตัวบริษัทเอง ที่ส่งผลกระทบถึงความสามารถในการจัดการ การแข่งขันในเชิงตลาด ความสามารถในการทำกำไร หรือความสามารถในการชำระหนี้ รวมถึงความเสียหายโดยภัยพิบัติ การถูกฟ้องร้องดำเนินคดี

เงินฝืด (Deflation)

เงินฝืด หมายถึง สถานการณ์ตรงข้ามกับเงินเฟ้อ นั่นคือ ภาวะที่ระดับราคาสินค้าและบริการทั่วไปลดลงเรื่อย ๆ นี่ไม่ได้หมายความว่า สินค้าทุกชนิดจะต้องลงราคา และในสัดส่วนเดียวกัน อาจเป็นไปได้ว่าสินค้าบางชนิดมีราคาสูงขึ้น แต่เมื่อรวมราคาสินค้าทุกชนิดแล้ว คือราคาถัวเฉลี่ยจะลดลงจากเดิม

ประเภทเงินฝืด แบ่งเป็น

1. เงินฝืดอย่างอ่อน เป็นผลดีต่อระบบเศรษฐกิจ ราคาสินค้าในตลาดทั่วไปจะลดลงเล็กน้อย
2. เงินฝืดอย่างปานกลาง มีผลเสียต่อระบบเศรษฐกิจแต่ไม่รุนแรง ระดับราคาสินค้าทั่วไปในตลาดจะลดลงมากกว่าเงินฝืดอย่างอ่อน
3. เงินฝืดอย่างรุนแรง

สาเหตุของภาวะเงินฝืด

1. ธนาคารกลางพิมพ์ธนบัตรออกมาหมุนเวียนในตลาดน้อยเกินไป แต่อุปสงค์มีมาก
2. ประชาชนนิยมเก็บเงินไว้กับตัวมากเกินไป
3. การส่งเงินตราออกนอกประเทศมากเกินไป
4. นโยบายธนาคารกลางออกกฎหมายเรียกเก็บเงินสำรองตามกฎหมายจากธนาคารพาณิชย์มากเกินไป จนไม่มีเงินที่จะสร้างเงินฝากหรือขยายเครดิต
5. นโยบายของธนาคารพาณิชย์ไม่ขยายเครดิต ให้กู้ยืมสำหรับการลงทุนทั้งระยะสั้น ระยะยาว
6. รัฐบาลควบคุมการซื้อสินค้าเงินผ่อน
7. รัฐบาลเปลี่ยนแปลงเก็บภาษีในอัตราสูงขึ้น ทำให้รายได้ประชาชนลดลง เงินใช้สอยลดลง
8. อัตราดอกเบี้ยในต่างประเทศค่อนข้างสูง ทำให้ธนาคารพาณิชย์ประสบปัญหาในการกู้ยืมมาขยายเครดิต จำเป็นต้องกู้ยืมจากธนาคารกลาง
9. เงินฝืดมักจะเป็นผลพวงมาจากภาวะฟองสบู่แตก ทำให้เกิดปัญหาเกิดหนี้เสีย และความเชื่อมั่นต่อการลงทุนลดน้อยลง ทำให้ภาคการเงินระมัดระวังในการปล่อยสินค้าเชื่อมากขึ้น

ผลกระทบของภาวะเงินฝืด กลุ่มผู้ได้ประโยชน์จากภาวะเงินฝืดได้แก่

1. ผู้มีรายได้ประจำ เช่น พนักงานเงินเดือน ข้าราชการเกษียณได้รับบำนาญ
2. ผู้ที่มีรายได้จากดอกเบี้ย หุ้นกู้ ผู้ถือหุ้น ซึ่งมีฐานะเป็นเจ้าหนี้
3. ผู้ที่เก็บเงินไว้กับตัวเอง
4. ผู้มีรายได้จากค่าเช่า ผู้เช่าก็ต้องจ่ายในราคาเท่าเดิม เพราะได้ทำสัญญาผูกมัดแล้ว

กลุ่มผู้เสียประโยชน์จากภาวะเงินฝืด ได้แก่

1. เจ้าของกิจการ นายจ้าง ผู้ผลิตสินค้า นักอุตสาหกรรม เมื่อระดับราคาสินค้าที่ผลิตออกมามีราคาลดต่ำลงเรื่อย ๆ แต่ต้นทุนวัตถุดิบ ต้นทุนในการผลิตสูง ผู้ผลิตจะไม่ทำการผลิตอีกต่อไป หรืออาจจะลดการผลิตออกมาให้น้อยลง
2. พ่อค้า นักธุรกิจ เมื่อการผลิตชะลอตัวลง และหยุดชะงักการผลิต พ่อค้า นักธุรกิจ ก็ต้องขาดรายได้ คือ กำไร ตามไปด้วย
3. ลูกหนี้ ขณะที่ทำสัญญาขอกู้ยืมเงินมูลค่าของเงินคงที่ แต่เมื่อเกิดภาวะเงินฝืด มูลค่าของเงินมีค่ามากขึ้น และการทำมาหากินฝืดเคือง รายได้ไม่พอกับรายจ่าย เงินหายากขึ้น แต่ต้องชำระหนี้ในมูลค่าเท่าเดิม
4. ผู้เช่า เมื่อการผลิตชะลอตัวลง และลดต่ำลงเรื่อย ๆ ราคาสินค้าก็ลดลง ต้นทุนการผลิตสูงขึ้น รายได้ที่รับเข้ามาก็ไม่คุ้มกับค่าใช้จ่าย ผู้เช่าก็ต้องจ่ายเงินให้กับผู้ให้เช่าในราคาเท่าเดิม ไม่ได้ลดไปตามราคาสินค้า
5. ผู้รับค่าจ้างรายวัน
6. ผู้ที่มีรายได้ไม่แน่นอน ไม่สามารถกำหนดได้ว่าแต่ละวันจะมีรายได้เท่าไร บางวันมีรายได้น้อยบางวันมีรายได้มาก และบางวันไม่มีรายได้เลย เช่น ผู้ที่รับจ้างทั่ว ๆ ไปไม่มีหลักแหล่ง

การแก้ไขภาวะเงินฝืด

1.ใช้นโยบายทางการเงิน ได้แก่

1.1 ธนาคารกลางจะต้องพิมพ์ธนบัตรออก มาหมุนเวียนในตลาดให้สอดคล้องกับปริมาณของอุปสงค์และอุปทาน
1.2 ธนาคารจะต้องลดอัตราเงินสดสำรองตามกฏหมายแก่ธนาคารพาณิชย์ เพื่อที่จะทำให้มีการขยายเครดิตเพิ่มขึ้น
1.3 ประกาศควบคุมกำหนดราคาสินค้าอุปโภคบริโภค และสินค้าประเภทจำเป็น เช่น ข้าว เนื้อสัตว์น้ำมัน การขนส่ง ฯลฯ

2.ใช้นโยบายทางการคลัง ได้แก่

2.1 รัฐบาลจะต้องกระจายรายได้ไปสู่ชนบท ทำให้ประชาชนมีงานทำ มีรายได้เพิ่มขึ้น และเป็นการลงทุนให้ชนบท เช่น จัดให้มีโครงการสร้างงานในชนบท (กสช.) โดยเริ่มดำเนินงานมาตั้งแต่ปี พ.ศ.2523 ใช้งบประมาณปีละ 3,500 ล้านบาท ส่งผลให้ประชาชนในชนบทมีงานทำมากเพิ่มขึ้นมีแหล่งน้ำ มีถนน ทำให้เพิ่มผลผลิตตามไปด้วย
2.2 งบประมาณรายจ่ายรายจ่ายของรัฐบาลจะต้องจ่ายให้มีสภาพคล่องตัวยิ่งขึ้น จะทำให้เงินหมุนเวียนในตลาดรวดเร็วขึ้น เช่น รัฐบาลจ้างทำของ (ถนน เขื่อนกั้นน้ำ ชลประทาน ฯลฯ) สั่งซื้อสินค้า เมื่อธุรกิจได้รับเงินของทางรัฐบาล จะทำให้เกิดการสร้างงานต่อไป
2.3 ขอกู้เงินจากสถาบันการเงินในประเทศและต่างประเทศ ดอกเบี้ยถูกจ่ายคืนในระยะยาว มาลงทุนในโครงการที่ช่วยพัฒนาประเทศและสามารถให้ผลประโยชน์ตอบแทนได้
2.4 ประชาสัมพันธ์ให้นักลงทุนทั้งในประเทศ และต่างประเทศมาลงทุน โดยมีระยะปลอดภาษีและให้ความสะดวกทุกประการ
2.5 ลดอัตราภาษีของรายได้บุคคลของประชาชน ทำให้มีรายได้เพิ่มขึ้น เมื่อประชาชนมีรายได้เพิ่มมากขึ้น การใช้จ่ายก็มีมากขึ้นตามลำดับ
2.6 ใช้ทรัพยากรที่มีอยู่ นำขึ้นมาใช้ เช่น แก๊สธรรมชาติ เท่ากับเป็นการสร้างงาน ทำให้ระบบเศรษฐกิจขยายตัวทำให้ภาวะเงินฝืดเบาบางลง
2.7 ส่งเสริมผลผลิตทางด้านการเกษตร อุตสาหกรรมออกสู่ต่างประเทศ โดยใช้การตลาดเป็นแกนนำ ทำให้เงินตราไหลเข้าสู่ประเทศมากขึ้น

วันจันทร์ที่ 25 ตุลาคม พ.ศ. 2553

การจัดแบ่งประเภทต้นทุนตามความสัมพันธ์ของต้นทุนกับเหตุแห่งต้นทุน

ต้นทุนอาจเกิดจากเหตุเดียว กิจกรรมเดียว แผนกเดียว หรืออาจมีหลายกิจกรรมหลายแผนกมาร่วมทำให้เกิดต้นทุนเดียวกัน ตัวอย่าง เงินเดือนพนักงานบัญชีเป็นต้นทุนที่เกิดในแผนกบัญชีเท่านั้น เป็นกิจกรรมเดียวคืองานบัญชี ค่าน้ำ ค่าไฟ หรือค่าแม่บ้านทำความสะอาดอาคารที่เกิดขึ้นในกิจการ เป็นค่าใช้จ่ายที่เกิดจากหลายแผนกรวมกันซึ่งเป็นการเกิดหลายกิจกรรม นักบัญชีบริหารจะต้องให้ข้อมูลที่เป็นประโยชน์ต่อผู้บริหารจึงพยายามวิเคราะห์หาความสัมพันธ์ระหว่างต้นทุนกับเหตุแห่งต้นทุน เพื่อใช้ในการการบริหารต้นทุน
1. ต้นทุนทางตรง (Direct Cost) หมายถึง ต้นทุนที่สามารถติดตาม หรือคิดเข้ากับผลิตภัณฑ์ได้ง่ายชัดเจน เช่น วัตถุดิบทางตรง ค่าแรงงานทางตรง ค่าใช้จ่ายต่าง ๆ ในแผนกโดยตรง
2. ต้นทุนทางอ้อม (Indirect Cost) หมายถึง ต้นทุนผลิตภัณฑ์ที่ไม่สามรถเข้าโดยตรงกับผลิตภัณฑ์ หรือกับแผนกผลิตได้อย่างชัดเจน เช่น ค่าน้ำ ค่าไฟฟ้า เงินเดือนผู้ควบคุมงาน ค่าเสื่อมราคาเครื่องจักร ค่าประกันภัยโรงงาน จึงจำเป็นต้องมีเกณฑ์ในการปันส่วน

4. การจัดแบ่งประเภทต้นทุนตามงวดเวลาที่ก่อประโยชน์
เป็นการแบ่งต้นทุนโดยยึดหลักเวลาที่ต้นทุนจะก่อประโยชน์ แบ่งเป็น 2 กรณีคือ กรณีก่อประโยชน์ในอนาคต เรียกว่า ต้นทุนผลิตภัณฑ์ ส่วนกรณีเกิดประโยชน์ในปัจจุบัน เรียกว่า ต้นทุนงวดเวลา
1. ต้นทุนผลิตภัณฑ์ (Product Cost) หมายถึง ต้นทุนที่เกี่ยวข้องกับการผลิตผลิตภัณฑ์โดยตรงบางครั้งเรียกว่า ต้นทุนที่เป็นตัวสินค้า ไม่ว่าผลิตภัณฑ์นั้นจะสำเร็จรูปหรือไม่ก็ตาม ต้นทุนที่ถือเป็นต้นทุนผลิตภัณฑ์ ได้แก่ วัตถุดิบทางตรง ค่าแรงทางตรง และค่าใช้จ่ายการผลิต สำหรับผลิตภัณฑ์ที่ถูกขายไปจะกลายเป็นต้นทุนขายส่วนผลิตภัณฑ์ที่ผลิตเสร็จแต่ยังไม่ขายเรียกว่าสินค้าสำเร็จรูปคงเหลือ และผลิตภัณฑ์ที่ผลิตไม่เสร็จเรียกว่า สินค้าระหว่างผลิตหรืองานระหว่างทำ
2. ต้นทุนงวดเวลา (Period Cost) หมายถึง ต้นทุนผลิตภัณฑ์ในส่วนที่ถูกขาย ออกไประหว่างงวดเรียกว่า ต้นทุนขายกับค่าใช้จ่ายในการดำเนินงาน ได้แก่ ค่าใช้จ่ายในการขาย และค่าใช้จ่ายในการบริการ

ความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับบัญชีต้นทุน

การจัดแบ่งประเภทต้นทุน
3.1.1 การจัดแบ่งประเภทต้นทุนตามหน้าที่การผลิต โดยการแบ่งต้นทุนตามหน้าที่ดังนี้ คือ
1. วัตถุทางตรง (Direct Materials)
2. ค่าแรงงานทางตรง (Direct Labour)
3. ค่าใช้จ่ายการผลิต (Manufacturing Overhead)
1. วัตถุทางตรง (Direct Materials) หมายถึง วัตถุดิบที่เป็นส่วนประกอบที่สำคัญของสินค้าสำเร็จรูปสามารถวัดจำนวนได้ง่าย และสังเกตเห็นได้ชัดว่าเป็นส่วนประกอบของสินค้า
2. ค่าแรงงานทางตรง (Direct Labour) หมายถึง แรงงานที่เกิดขึ้นโดยตรงในการนำวัตถุดิบมาแปรสภาพให้เป็นสินค้าสำเร็จรูป สามารถระบุได้ว่าค่าแรงนั้นเกิดขึ้นจากสินค้าชนิดใด เป็นจำนวนเท่าใด และคำนวณเป็นต้นทุนต่อหน่วยของสินค้าที่ผลิต
3. ค่าใช้จ่ายการผลิต (Manufacturing Overhead) หมายถึง ต้นทุนในการผลิตทั้งหมดยกเว้นวัตถุทางตรงและค่าแรงงานทางตรง เช่น วัตถุทางอ้อม ค่าแรงทางอ้อม ค่าน้ำประปา ค่าไฟฟ้าและแสงสว่าง ค่าประกันภัยโรงงาน ฯลฯ
3.1.2 การจัดแบ่งประเภทต้นทุนพฤติกรรมต้นทุน
เพื่อจะนำต้นทุนไปใช้ในการควบคุมและวางแผนพฤติกรรมต้นทุน เพราะจะเป็นแนวทางชี้ให้เห็นว่าต้นทุนนั้นมีความสัมพันธ์กับระดับกิจกรรมอย่างไร พฤติกรรมของต้นทุนสามารถแยกได้ดังนี้
1. ต้นทุนผันแปร
2. ต้นทุนคงที่
3. ต้นทุนกึ่งผันแปร
1. ต้นทุนผันแปร (Variable Cost) หมายถึง ต้นทันที่เปลี่ยนแปลไปเป็นอัตราส่วนโดยตรงกับการเปลี่ยนแปลระดับกิจกรรมหรือหน่วยผลิต เช่น ถ้าทำการผลิตมาก ต้นทุนประเภทนี้จะมาก หรือถ้าทำการผลิตน้อยทุนประเภทนี้จะเกิดขึ้นน้อย
สรุป ต้นทุนผันแปราจะมีลักษณะยอดรวมเปลี่ยนแปลงไปตามระดับกิจกรรม หรือหน่วยผลิตแต่ต้นทุนผันแปรต่อหน่วยจะคงที่
2. ต้นทุนคงที่ (Fixed Cost) หมายถึง ต้นทุนที่มีลักษณะคงที่ไม่เปลี่ยนแปลงไปตามระดับการผลิต ซึงจะมีจำนวนรวมคงที่ตลอดช่วงการผลิต เช่น โรงงานผลิตน้ำผลไม้กระป๋อง ต้องจ่ายค่าเช่าโรงงานต่อเดือน เดือนละ 20,000 บาท ไม่ว่าโรงงานจะผลิตน้ำผลไม้กระป๋องเป็นจำนวนเท่าใด หรือโรงงานเย็บเสื้อผ้าสำเร็จรูปต้องจ้างผู้จัดการโรงงานมาเพื่อคุมงาน โดยจ้างผู้จัดการโรงงานเดือนละ 50,000 บาทถึงแม้ว่าโรงงานจะผลิตเสื้อเป็นจำนวนเท่าใดทางโรงงานก็ต้องจ่ายเงินเดือนผู้จัดการโรงงาน 50,000 บาททุกเดือน
ต้นทุนคงที่ในการผลิต ได้แก่ เงินเดือนผู้จัดการโรงงาน เงินเดือนคนทำความสะอาดโรงงาน เงินเดือนยามเฝ้าโรงงาน ค่าเสื่อมราคาเครื่องจักร ฯลฯ
ต้นทุนในการขายและบริหาร ได้แก่ เงินเดือนผู้จัดการสำนักงาน เงินเดือนคนทำความสะอาดสำนักงาน เงินเดือนพนักงานขาย ค่าเสื่อมราคาเครื่องใช้สำนักงาน ฯลฯ
สรุป ต้นทุนคงที่จะมีลักษณะยอดรวมไม่เปลี่ยนแปลงไปตามระดับกิจกรรม หรือจำนวนหน่วยผลิต แต่ต้นทุนคงที่ต่อหน่วยจะเปลี่ยนแปลงไปตามระดับกิจกรรม หรือจำนวนหน่วยผลิต ตัวอย่างในโรงงานเย็บเสื้อผ้าสำเร็จรูปต้องจ้างผู้จัดการโรงงานมาเพื่อคุมงานโดยจ่ายเงินเดือนละ 50,000 บาท หากโรงงานผลิตสินค้างวดนี้จำนวน 2,000 หน่วย ต้นทุนคงที่จะคิดเข้าเป็นต้นทุนสินค้าต่อหน่วยเท่ากับ 50,000 = 25 บาท
2,000
3. ต้นทุนกึ่งผันแปร (Semi Variable Cost) เป็นการเพิ่มขึ้นของต้นทุนผันแปรในอัตราของการเพิ่มที่ไม่คงที่ซึ่งอาจเพิ่มขึ้นในอัตราการเพิ่มที่เพิ่มขึ้นหรือเพิ่มในอัตราที่ลดลง
ต้นทุนกึ่งผันแปรสามารถแบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ ต้นทุนผสม (Mixed Cost) และต้นทุนชั้น (Step Cost)

การควบคุมและลดต้นทุน

ฝ่ายบริหารต้องการควบคุมต้นทุน คือต้องการพิจารณาให้แน่ว่าต้นทุนที่เเกิดขึ้นมีไม่มากเกินไปเมื่อเปรียบเทียบกับวัตถุประสงค์และแผนงาน แต่อย่างไรก็ตามเราจะต้องไม่ถือว่าการบัญชีต้นทุนเกี่ยวข้องกับการควบคุมต้นทุนเพราะเป็นผลสืบเนื่องมาจากผลของวัตถุประสงค์ในการคำนวณกำไร และแสดงฐานะการเงิน แต่ตรงกันข้ามการควบคุมต้นทุนเป็นวัตถุประสงค์หนึ่งต่างหากของการบัญชีต้นทุน และการควบคุมอาจกระทำได้โดยใช้เทคนิคและวิธีการต่าง ๆ ที่ไม่เกี่ยวกับการวัดกำไรเลย
การควบคุมหรือการลดต้นทุนต้องใช้ระบบการบัญชีต้นทุนที่ค่อนข้างละเอียด โดยต้องรู้ว่าต้นทุนเกิดขึ้นเมื่อใด ที่ไหน ต้องรู้จำนวนต้นทุนที่เกิดขึ้นจริง และจำนวนต้นทุนที่เหมาะสมที่ควรเกิดขึ้น ถ้าไม่มีข้อมูลทั้งหมดดังกล่าวก็ไม่อาจกล่าวได้ว่าระบบการบัญชีต้นทุนให้ผลดีในการควบคุมต้นทุน
3. การตัดสินใจและวางแผน
วัตถุประสงค์ในการช่วยฝ่ายบริหารในการทำงานการตัดสินใจและวางแผนเป็นความรับผิดชอบสำคัญของระบบบัญชีต้นทุน มักมีคำวิพากษ์วิจารณ์อย่างไม่เป็นธรรมเกี่ยวกับการบัญชีต้นทุนว่า ตัวเลขต้นทุนไม่อาจนำไปใช้สำหรับทำการตัดสินใจและวางแผนโดยสม่ำเสมอเป็นปกติ แต่ทำหน้าที่เป็นแหล่งสะสมข้อมูลต่าง ๆ ไว้จนกว่าจะต้องการใช้ข้อมูลนั้น นักบัญชีต้องรู้ว่าฝ่ายบริหารต้องตัดสินใจเรื่องอะไรก่อน จากนั้นก็จะแยกต้นทุนออกจากบันทึกต่าง ๆ และจัดให้อยู่ในลักษณะที่มีประโยชน์สำหรับใช้ตัดสินใจนั้น รายงานทางบัญชีตามปกติที่ได้มาจากบัญชีต้นทุนควรบอกให้ทราบถึงมาตรการการทำกำไรของการทำงาน เพื่อให้ประโยชน์ในการวัดผลงานและการควบคุมต้นทุน ต้นทุนหรือรายงานต้นทุนตามปกติ จึงไม่อาจมีประโยชน์สำหรับวัตถุประสงค์ในการตัดสินใจ เพราะว่า การตัดสินใจแต่ละอย่างต้องใช้ข้อมูลที่แตกต่างกัน
การตัดสินใจเกี่ยวกับการกำหนดราคาขายสายผลิตภัณฑ์จะนำเอาต้นทุนและรายได้ส่วนเพิ่มมาใช้ประกอบการตัดสินใจ การขยายสายผลิตภัณฑ์หนึ่ง ๆ นั้น ต้องรู้จำนวนเงินที่ต้องจ่ายสำหรับซื้ออุปกรณ์การผลิตใหม่ และต้นทุนรวมที่เกี่ยวข้องกับการขยายงานดังกล่าวมาใช้ประกอบในการตัดสินใจ การตัดสินใจว่าจะยกเลิกสายผลิตภัณฑ์หรือไม่ ควรรู้ถึงรายได้ส่วนเพิ่มหรือรายได้ส่วนที่แตกต่างออกไป (differential revenues) ที่ต้องขาดไปและต้นทุนส่วนเพิ่มหรือต้นทุนส่วนที่แตกต่างออกไป (differential costs) ซึ่งจะประหยัดได้อันเนื่องยกเลิกสายผลิตภัณฑ์นั้น
ระบบบัญชีต้นทุนที่ดีไม่จำเป็นต้องรายงานต้นทุนในแบบซึ่งจะใช้ได้สำหรับการตัดสินใจ แต่อย่างไรก็ดีระบบบัญชีที่ดีจะเก็บสะสมข้อมูลที่ต้องการสำหรับการตัดสินใจเหล่านี้ไว้ และสามรถนำมาใช้ได้เมื่อต้องการ มีข้อสังเกตคือ การตัดสินใจทั้งหลายต้องถือหลักต้นทุนและรายได้ในอนาคต อดีตเป็นแต่เพียงสิ่งช่วยอย่างหนึ่งในการใช้ดุยพินิจเกี่ยวกับอนาคต

Cost concepts,And Classification

ความหมายของคำว่า ต้นทุน
ตามศัพท์บัญชีที่บัญญติโดยสมาคมนักบัญชีและผู้สอบบัญชีรับอนุญาตแห่งประเทศไทยให้นิยามคำว่า “ต้นทุน” (Cost) ไว้ดังนี้
“รายจ่ายที่เกิดขึ้นเพื่อให้ได้มาซึ่งสินค้าหรือบริการซึ่งอาจจ่ายเป็นเงินสด สินทรัพย์อื่น หุ้นทุนหรือการให้บริการหรือการก่อหนี้ รวมถึงผลขาดทุนที่วัดค่าเป็นตัวเงินได้ที่เกี่ยวข้องโดยตรงกับการได้มาซึ่งสินค้าหรือบริการ”
นักบัญชีต้นทุนบางท่านให้นิยามคำว่า ต้นทุน ไว้ดังนี้ “ต้นทุน หมายถึงเงินสดหรือสิ่งที่เทียมเท่าเงินสดซึ่งต้องเสียไปเพื่อแลกกับสินค้าหรือบริการโดยคาดหวังว่าจะก่อให้เกิดประโยชน์ต่อกิจการในปัจจุบันหรืออนาคต” ถ้าประโยชน์นั้นยังคงเป็นสิ่งที่คาดหวังว่าจะเกิดในอนาคตก็จะเรียกว่าต้นทุน แต่เมื่อใดที่ประโยชน์ได้เกิดขึ้นสมบูรณ์แล้ว ต้นทุนจะถูกจัดประเภทเป็นค่าใช้จ่าย (Expenses) ในงวดบัญชีที่ก่อให้เกิดประโยชน์หรือรายได้ขึ้นถ้าหากว่าประโยชน์สูญสิ้นไปโดยไม่เกิดประโยชน์ใดเลยทั้งปัจจุบันหรืออนาคตก็จะเรียกว่าผลขาดทุน (Loss)
หรือต้นทุน หมายถึง ข้อมูลทางบัญชี เพื่อใช้ในการวางแผนและควบคุมการดำเนินงาน ในด้านการวางแผนข้อมูลต้นทุนที่จะช่วยในการทำงบประมาณและประมาณต้นทุนการผลิตกำหนดราคาขาย ประมาณการผลกำไรได้ และใช้ในการตัดสินใจการลงทุนและการขยายงาน
หรือต้นทุน หมายถึง มูลค่าของทรัพยากรที่ใช้ในการผลิต หรือการบริการเป็นส่วนก็เรียกว่า มูลค่าของปัจจัยเข้า (Input Value) ของระบบ ต้นทุนจึงเป็นเงินสด หรือค่าใช้จ่ายรูปแบบอื่นที่จ่ายไปเพื่อจะให้ได้มาซึ่งบริการหรือผลผลิตในทางธุรกิจ ต้นทุน คือ ค่าใช้จ่ายส่วนที่จ่ายไปเพื่อจะให้ได้ผลตอบแทนหรือรายได้
กิจการประเภทบริการ ต้นทุนจะหมายถึง จำนวนค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นในการให้บริการแก่ลูกค้า
กิจการประเภทจำหน่ายสินค้า ต้นทุนจะหมายถึง มูลค่าของสินค้าสำเร็จรูป
กิจการประเภทอุตสาหกรรม ต้นทุนจะหมายถึง จำนวนเงินที่จ่ายไปเพื่อใช้ในการผลิตสินค้าทุกขั้นตอน

2. วัตถุประสงค์ของการบัญชีต้นทุน
วัตถุประสงค์ของการบัญชีการเงิน คือ การรายงานฐานะทางการเงินของกิจการ และรายวางผลการเปลี่ยนแปลงเงินทุนของกิจการในแต่ละงวดบัญชีเนื่องมาจากการดำเนินงาน งบดุลเป็นงบที่แสดงถึงผลการดำเนินงาน แสดงให้เห็นว่าสินทรัพย์ที่กิจการมีอยู่นั้นได้ใช้ให้เกิดผลอย่างไรบ้างในงวดที่ผ่านมา
กำไรของธุรกิจวัดได้โดยนำเอาต้นทุนของผลิตภัณฑ์และค่าใช้จ่ายไปหักยอดรายได้จากการขายผลิตภัณฑ์นั้น
การบัญชีต้นทุนเป็นส่วนหนึ่งของระบบบัญชีของกิจการ การบัญชีต้นทุนเป็นการบันทึกการวัดผลและการายงานข้อมูลเกี่ยวกับต้นทุน ต้นทุนมีความหมายกว้างมาก หมายถึงเงินที่ได้จ่ายออกไปเงินที่สัญญาจะจ่ายในอนาคต ค่าของสินทรัพย์ที่ลดลงเนื่องจากการใช้งาน ซึ่งเหล่านี้จะรวมอยู่ในต้นทุนสินค้าคงเหลือ ต้นทุนของการเพิ่มปริมาณการขาย ต้นทุนที่ประหยัดได้เนื่องจากการปิดสายงานและอื่น ๆ
ในการตัดสินใจและประเมินผลงานของบุคคลที่เกี่ยวข้องกิจการไม่ว่าบุคคลนั้นจะเป็นบุคคลภายนอก เช่น เจ้าของ เจ้าหนี้ ผู้ลงทุน หรือเป็นบุคคลภายใน เช่น ฝ่ายบริหารของกิจการเป็นต้น ย่อมจะใช้ข้อมูลต้นทุนของกิจการเป็นเครื่องช่วยในการตัดสินใจ และประเมินผลงานเสนอซึ่งระบบบัญชีต้นทุนจะให้ข้อมูลดังกล่าว ฝ่ายบริหารของกิจการย่อมต้องการใช้ข้อมูลต้นทุนในการตัดสินใจวางแผนควบคุม และประเมินผลงานของฝ่ายต่างๆ ดังนั้นการบัญชีต้นทุนมีวัตถุประสงค์ดังนี้
1. การสะสมข้อมูลเพื่อจัดทำงบการเงิน
วัตถุประสงค์นี้เกี่ยวกับการรวบรวมต้นทุนที่เกี่ยวข้องกับสินค้าและบริการสำหรับงวดหนึ่ง ๆ
ถึงว่าวัตถุประสงค์ข้อนี้จะถูกยกมาอ้างว่ากิจการต่าง ๆ ควรมีระบบบัญชีต้นทุรที่ดีตามวัตถุประสงค์ข้อนี้มีความสำคัญน้อยกว่าเมื่อเปรียบเทียบกับวัตถุปรระสงค์อีก2 ข้อของการบัญชีต้นทุนแต่วิธีการคำนวณจะใช้วิธีใดนั้นไม่แน่นอนเพราะขึ้นกับข้อสมมุติที่ใช้ระบบบัญชีที่ดีควรง่ายและไม่ยุ่งยาก
มีข้อสังเกตว่า ไม่ว่ากิจการจะมีระบบบัญชีต้นทุนที่ดีเพียงใดก็ตามยังมีปัญหาในเรื่องการคำนวณกำไรและการแสดงฐานะการเงินอยู่ ปัญหาประการหนึ่งคือ ต้นทุนผลิตคงที่ควรถือเป็นต้นทุนของผลิตภัณฑ์ หรือต้นทุนผลิตคงที่บางส่วน
ในบางกิจการมีปัญหาในด้านต้นทุนร่วม (ต้นทุนที่เกิดขึ้นรวมกันในการผลิตผลิตภัณฑ์มากกว่า 1 ชนิด) ความสำคัญของปัญหาต้นทุนร่วมจะมีน้อย เพราะว่ากิจการสนใจที่จะแบ่งต้นทุนร่วมนี้เพื่อหาราคาทุนของผลิตภัณฑ์เพื่อบรรลุวัตถุประสงค์ด้านการบัญชีการเงินเท่านั้น ไม่ได้สนใจสำหรับการควบคุมต้นทุนและการตัดสินใจ
ต้นทุนผลิตภัณฑ์และต้นทุนสำหรับงวด (product costs and period costs) เป็นคำที่มีความหมายกว้างมาก โดยปกติมักมีคุณศัพท์ประกอบคำว่าต้นทุนเสมอทั้งนี้เพื่อหลีกเลี่ยงความคลุมเครือ ตัวอย่างเช่น ต้นทุนที่ยังใช้ไม่หมด (unexpired costs) หรือต้นทุนที่ใช้หมดแล้ว (expired costs) คือต้นทุนที่ควรคิดเข้างวดปัจจุบัน (ต้นทุนสำหรับงวด) เป็นค่าใช้จ่ายหรือขาดทุน (expenses or losses) ต้นทุนเหล่านี้เป็นต้นทุนเกี่ยวข้องกับงวดเวลา และไม่เกี่ยวกับผลิตภัณฑ์หรือบริการ ต้นทุนเหล่านี้เป็นต้นทุนจะโอนไปงวดอนาคต
ต้นทุนที่เกี่ยวข้องกับหน่วยที่ผลิตเรียนว่าต้นทุนผลิตภัณฑ์ (product costs) ต้นทุนเหล่านี้อาจถือเป็นสินทรัพย์ (สินค้าคงเหลือ) จนกว่าสินค้าที่ต้นทุนนั้นเกี่ยวข้องถูกขายไป ต้นทุนของสินค้าที่ขายจะถือเป็นค่าใช้จ่ายและนำไปหักกับยอดขาย ต้นทุนทั้งหลายที่เป็นต้นทุนของสินค้าที่ผลิต (ที่อยู่ในงบต้นทุนผลิต) เรียกว่าต้นทุนผลิตภัณฑ์ ซึ่งได้แก่ วัตถุทางตรง แรงงานทางตรง และโสหุ้ยการผลิตถือเป็นราคาทุนของสินค้าคงเหลือ เพราะต้นทุนเหล่านี้เป็นต้นทุนของบริการที่ใช้ไปในการผลิต

Statement of Changes in Financial Position

การดำเนินงานของธุรกิจมีผลทำให้รายได้ ค่าใช้จ่าย สินทรัพย์ หนี้สิน และทุนของกิจการเปลี่ยนแปลงไป ดังนั้นเมื่อถึงระยะเวลาหนึ่งจะมีการทำงบการเงินขึ้นเพื่อแสดงให้เห็นถึงผลการดำเนินงานและฐานะของกิจการงบต่าง ๆ ที่ธุรกิจจัดทำขึ้นมีดังต่อไปนี้ คือ
1. งบกำไรขาดทุน (Income Statement) เป็นงบที่แสดงการเปรียบเทียบรายได้และค่าใช้จ่ายซึ่งเกิดจากการดำเนินงานในงวดบัญชีหนึ่ง ถ้ารายได้มากกว่าค่าใช้จ่ายเรียกว่ากำไรสุทธิ ถ้ารายได้น้อยกว่าค่าใช้จ่ายเรียกว่า ขาดทุนสุทธิ
2. งบดุล (Balance Sheet) เป็นงบที่แสดงให้เห็นถึงฐานะทางการเงินของกิจการ ณ วันใดวันหนึ่ง โดยจะแสดงถึง สินทรัพย์ หนี้สิน และทุนของกิจการ
3. งบกำไรสะสม (Retained Earning Statement) เป็นงบที่แสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงของกำไรสะสมในงวดบัญชีนั้น
งบการเงินที่กล่าวมาแล้วข้างต้นไม่ได้แสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงในสินทรัพย์ และส่วนของเจ้าของ รวมถึงสาเหตุของการเปลี่ยนแปลงเหล่านั้น ดังนั้นนักบัญชีจึงได้มีความเห็นให้จัดทำงบแสดงการเปลี่ยนแปลงฐานะการเงินเป็นงบการเงินอีกงบหนึ่งเพื่อเสนอผู้ที่เกี่ยวข้องพร้อมกับงบการเงินดังกล่าวข้างต้น
การจัดทำงบแสดงการเปลี่ยนแปลงฐานะการเงินสามารถจัดทำได้ 2 เกณฑ์ เกณฑ์เงินทุนหมุนเวียน และเกณฑ์เงินสด เพราะคำว่าเงินทุน (Funds) มีความหมาย หมายถึง เงินสด (Cash) และทุนหมุนเวียน (Working Capital)
1. วัตถุประสงค์ของการจัดทำงบแสดงการเปลี่ยนแปลงฐานะทางการเงิน
1. เพื่อแสดงให้เห็นถึงแหล่งเงินทุนที่ได้มาของกิจการจากการดำเนินงานและแหล่งเงินทุนอื่น ๆ ที่ได้มาในระหว่างงวดดำเนินงาน
2. เพื่อแสดงรายละเอียดการใช้ไปของเงินทุนระหว่างงวดดำเนินงาน
3. เพื่อเปิดเผยถึงสาเหตุและจำนวนเงินของการเปลี่ยนแปลงใด ๆ ในงบแสดงฐานะทางการเงินระหว่างงวดดำเนินงาน
2. งบแสดงการเปลี่ยนแปลงฐานะการเงินตามเกณฑ์ทุนหมุนเวียน (Working Capital Basis)
โดยปกติกำไรจากการดำเนินงานจะมีความสำคัญต่อธุรกิจมากแต่มีปัจจัยอื่น ๆ ที่มีผลกระทบที่ให้ผลของการดำเนินงานไม่เป็นไปตามเป้าหมายที่ตั้งไว้ เช่น กิจการได้รับผลตอบแทนจากการลงทุนในอัตราที่สูง แต่ในขณะเดียวกันฐานะของเงินทุนหมุนเวียนกลับต่ำลง เนื่องจากสินทรัพย์ส่วนใหญ่ของกิจการอยู่ในรูปสินทรัพย์ถาวร หรือเงินทุนระยะยาว ทำให้กิจการขาดความคล่องตัวในการดำเนินงานกิจกาจอาจจำเป็นต้องไปก่อหนี้เพิ่มเพื่อ คืนความคล่องตัวให้กับกิจการ หรือบางครั้งกิจการมีผลกำไรสูงไม่ได้หมายความว่า เงินทุนที่กิจการใช้หมุนเวียนดำเนินงานในปีต่อไปจะมีจำนวนสูงด้วยเสมอไป สาเหตุอาจเนื่องจากกิจการอาจใช้เงินทุนหมุนเวียนจำนวนมาก เป็นผลทำให้เงินทุนหมุนเวียนเหลือน้อยลง เช่น การซื้อสินทรัพย์ถาวรเป็นเงินสด เป็นต้น
เงินทุนหมุนเวียน (Working Capital) หรือ เงินทุนหมุนเวียนสุทธิ (Net Working Capital) หมายถึง ผลต่างของสินทรัพย์หมุนเวียนและหนี้สินหมุนเวียนของกิจการ ในการดำเนินกิจการเงินทุนหมุนเวียนจะเป็นที่สนใจของฝ่ายบริหาร เนื่องจากเงินทุนหมุนเวียนเป็นสิ่งที่แสดงให้เห็นถึงความสามารถในการจ่ายชำระหนี้ของกิจการ ดังนั้นในการดำเนินงานปัจจุบันเงินทุนหมุนเวียนจึงมีผลต่อฐานะการเงินของกิจการอย่างมาก
ในการจัดทำงบแสดงการเปลี่ยนแปลงฐานะการเงินตามเกณฑ์เงินทุนหมุนเวียนจะต้องจัดทำงบแสดงการเปลี่ยนแปลงเงินทุนหมุนเวียนขึ้นก่อนที่จะจัดทำงบแสดงที่มา และใช้ไปของเงินทุนหมุนเวียน

วันอาทิตย์ที่ 3 ตุลาคม พ.ศ. 2553

การประเมินวัฏจักรชีวิต (Life Cycle Assessment: LCA)


การประเมินวัฏจักรชีวิต (Life Cycle Assessment: LCA) คือ กระบวนการวิเคราะห์และประเมินค่าผลกระทบของผลิตภัณฑ์ที่มีต่อสิ่งแวดล้อม

ตลอดช่วงชีวิตของผลิตภัณฑ์ ตั้งแต่การสกัดหรือการได้มาซึ่งวัตถุดิบ กระบวนการผลิต การขนส่งและการแจกจ่าย การใช้งานผลิตภัณฑ์ การใช้ใหม่ / แปรรูป และการจัดการเศษซากของผลิตภัณฑ์หลังการใช้งาน

ซึ่งอาจกล่าวได้ว่า พิจารณาผลิตภัณฑ์ตั้งแต่เกิดจนตาย (Cradle to Grave) โดยมีการระบุถึงปริมาณพลังงานและวัตถุดิบที่ใช้ รวมถึงของเสียที่ปล่อยออกสู่สิ่งแวดล้อมและการประเมินโอกาสที่จะส่งผลกระทบ ต่อระบบนิเวศและสุขอนามัยของชุมชน เพื่อที่จะหาวิธีการในการปรับปรุงผลิตภัณฑ์ให้เกิดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมน้อยที่สุด

ปัจจุบัน LCA ถูกนำมาประยุกต์ใช้กับผลิตภัณฑ์ต่างๆ ไม่ว่าจะเป็น ผลิตภัณฑ์ปิโตรเคมี ปูนซีเมนต์ ยานยนต์ หรือแม้แต่บรรจุภัณฑ์เอง ยกตัวอย่างเช่น คาร์ฟูร์ (Carrefour) ในฝรั่งเศส มีการศึกษาเปรียบเทียบผลกระทบของการใช้ถุงพลาสติกแบบต่างๆ และถุงกระดาษ เพื่อจะนำผลที่ได้ไปตัดสินใจในเรื่องการวางนโยบาย จากการศึกษาพบว่าถุงกระดาษมีผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมมากกว่าถุงพลาสติกทุกชนิด โดยที่ผลกระทบสิ่งแวดล้อมหลักของถุงทุกประเภทมาจากขั้นตอนการได้มาซึ่งวัตถุ ดิบ เช่น การผลิตโพลีเอทิลีน และกระดาษ เป็นต้น

เทคนิค ของการประเมินวัฏจักรชีวิตนั้นจะแตกต่างจากเครื่องมือทางสิ่งแวดล้อมอื่น ๆ ที่มีอยู่ คือ LCA เป็นกระบวนการประเมินค่าผลกระทบที่มีต่อสิ่งแวดล้อมของผลิตภัณฑ์ (Product) หรือหน้าที่ของผลิตภัณฑ์ (function) ตลอดวัฏจักรชีวิตของผลิตภัณฑ์นั้น โดยเน้นผลเชิงปริมาณชัดเจน ทำให้การศึกษา LCA มีความซับซ้อนมากกว่าเครื่องมือทางสิ่งแวดล้อมอื่น ๆ เพราะต้องทำการวิเคราะห์ตั้งแต่แหล่งกำเนิดของทรัพยากรที่นำมาใช้ไปจนถึง ขั้นตอนการทำลายซากผลิตภัณฑ์ โดยพิจารณาถึงผลกระทบทางสิ่งแวดล้อมในทุกประเด็นที่เกิดขึ้น และให้ความสำคัญทั้งในเรื่องของทรัพยากรที่สิ้นเปลืองไปและสารอันตรายที่ถูก ปล่อยออกมา แต่ LCA จะเป็นการมองผลกระทบในภาพรวมที่จะก่อให้เกิดปัญหาต่อโลก เช่น การทำให้โลกร้อนขึ้น มากกว่าที่จะมองเฉพาะสารพิษที่ปล่อยออกมา การประเมินวัฏจักรชีวิตของผลิตภัณฑ์ ประกอบด้วย 3 ขั้นตอนหลัก ดังนี้

การ บ่งชี้และระบุปริมาณของภาระทางสิ่งแวดล้อม (Environmental loads) ในทุกกิจกรรมที่เกี่ยวข้อง/ที่เกิดขึ้นตลอดวัฏจักรชีวิตของผลิตภัณฑ์นั้น ๆ เช่น พลังงานและวัตถุดิบที่ถูกใช้ การปล่อยของเสียและการแพร่กระจายของมลภาวะทางสิ่งแวดล้อม
การ ประเมินและการหาค่าของผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม (Environmental Impacts) ที่มีโอกาสเกิดขึ้น โดยพิจารณาจากปริมาณภาระทางสิ่งแวดล้อมต่าง ๆ ที่ถูกบ่งชี้มาในขั้นตอนแรก
การ ประเมินหาโอกาสในการปรับปรุงทางสิ่งแวดล้อม และใช้ข้อมูลที่มีการแสดงถึงผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมของกิจกรรมเหล่านี้เป็น องค์ประกอบในการตัดสินใจ
การประยุกต์ใช้ LCA

LCA สามารถนำไปประยุกต์ใช้กับกิจกรรมหรืองานวิจัยได้อย่างหลากหลาย โดยกลุ่มของผู้นำไปใช้งานอาจจำแนกได้เป็น 4 กลุ่มหลัก ได้แก่ ภาคอุตสาหกรรม/บริษัทเอกชน ภาครัฐ องค์กรเอกชน (NGOs) และผู้บริโภค โดยมีรูปแบบของการนำไปใช้งานอยู่ในตารางที่ 1

ตารางที่ 1รูปแบบของการประยุกต์ใช้งาน LCA

ภาคอุตสาหกรรม / บริษัทเอกชน
ใช้สื่อสารให้ทราบถึงข้อมูลด้านสิ่งแวดล้อมของผลิตภัณฑ์

ออกแบบและปรับปรุงกระบวนการผลิตและผลิตภัณฑ์

ใช้ต่อรองกับผู้จัดหาวัตถุดิบ (Supplier) ให้ผลิตผลิตภัณฑ์ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมมากขึ้น

พัฒนากลยุทธ์ด้านการตลาด กลยุทธ์ด้านธุรกิจ และแผนการลงทุน

พัฒนากลยุทธ์ด้านนโยบาย

พัฒนานโยบายของผลิตภัณฑ์

การจัดทำฉลากสิ่งแวดล้อมประเภทที่ 3

ภาครัฐ
เป็นเกณฑ์ในการจัดทำข้อกำหนดของฉลากสิ่งแวดล้อม

การพัฒนาและจัดทำฉลากสิ่งแวดล้อมประเภทที่ 3

พัฒนาระบบการฝาก-การขอคืน (Deposit-refund systems)

ใช้ประกอบการพิจารณาเพื่อสนับสนุนเงินทุน หรือการจัดทำโครงสร้างภาษีอากร

พัฒนานโยบายทั่วไปของภาครัฐ

องค์กรเอกชน
เป็นข้อมูลเพื่อเผยแพร่ต่อผู้บริโภค

เป็นข้อมูลสนับสนุนสำหรับการประชุม/สัมมนาในเวทีสาธารณะ

ใช้ข้อมูลเพื่อกดดันภาคเอกชนและรัฐบาลในการพัฒนาสิ่งแวดล้อม

ผู้บริโภค
ใช้ข้อมูลเพื่อประกอบการการตัดสินใจเลือกซื้อผลิตภัณฑ์

วันพฤหัสบดีที่ 2 กันยายน พ.ศ. 2553

วิธีอัตราผลตอบแทนซื้อลดลง (Discounted Rate of Return Method)


การวัดค่าของการลงทุนโดยวิธีอัตราผลตอบแทนซื้อลดเป็นวิธีการคำนวนอัตราส่วนลด หรืออัตราดอกเบี้ยที่นำไปใช้รับเงินสดที่ได้รับจากโครงการลงทุน (ผลตอบแทนจากการลงทุน หรือกระแสเงินเข้า) ให้มีค่าเป็นปัจจุบันเท่ากับกระแสเงินออก หรือเงินลงทุนสุทธิเพื่อจะได้นำเงินทั้ง 2 ประเภทเปรียบเทียบกันได้
วิธีอัตราผลตอบแทนซื้อลดเป็นวิธีที่ค่อนข้างยุ่งยาก เพราะจะต้องทดลองผิดทดลองถูกไปเรี่อย ๆ จนพบอัตราส่วนลดที่ต้องการ อัตราส่วนลดที่คำนวณได้ถือเป็นอัตราผลตอบแทนจากการลงทุนหรือบางครั้งใช้กับความหมายที่ว่า อัตราส่วนลดที่คำนวณได้ หมายถึง อัตราดอกเบี้ยสูงสุดที่ผู้ลงทุนจะยอมจ่ายโดยไม่ขาดทุนหากเงินที่นำมาลงทุนนั้นเป็นเงินที่กู้ยืมมา และการจ่ายคืนเงินต้นและดอกเบี้ยจ่ายคืนจากเงินสดที่ได้รับจากการลงทุน
การคำนวณหาอัตราผลตอบแทนซื้อลดลงแบ่งได้ 2 กรณีคือ
1. กรณีที่กระแสเงินเข้าเท่ากันทุกปี
2. กรณีที่กระแสเงินเข้าไม่เท่ากันในแต่ละปี
ตัวอย่าง
บริษัท ซื่อตรง จำกัด กำลังพิจารณาการจ่ายลงทุนในโครงการ ซึ่งมีโครงการมาให้พิจารณา 2 โครงการดังนี้คือ
ปีที่ โครงการ A โครงการB
กระแสเงินออก (บาท) 0 100,000 200,000
กระแสเงินเข้า (บาท) 1 25,000 70,000
2 25,000 100,000
3 25,000 150,000
4 25,000
5 25,000
6 25,000
7 25,000
8 25,000
กรณีกระแสเงินเข้าเท่ากันทุกปี
โครงการ A กระแสเงินเข้าเท่ากันทุกปีตลอดอายุโครงการ 8 ปี โดยสมมติว่าเงินเข้า ณ วันปลายปี
ตัวคูณส่วนลด = เงินลงทุนสุทธิ
ผลตอบแทนเงินสดต่อปี
= 100,000 = 4
25,000

นำตัวคูณส่วนลด 4 ไปเปิดตารางค่าปัจจุบันสะสม (ตาราง B- 1) ณ ปีที่ 8 ตรวจดูอัตราส่วนที่มีตัวคุณส่วนลดเท่ากับ 4 หรือใกล้เคียง 4 มากที่สุด จากตาราง B ตัวคุณส่วนลด 4 จะอยู่ระหว่างอัตราส่วนลดที่ 18% กับ 20% = 4.078 กับ 3.837

เมื่อได้ตัวคูณส่วนลดแล้วจะนำไปหาค่าปัจจุบันของเงินสดที่ได้รับจากโครงการแล้วนำไปเปรียบเทียบกับเงินทุนสุทธิ หากมีผลต่างค่าปัจจุบันสุทธิจะต้องใช้วิธีถัวเฉลี่ยเพื่อให้ได้อัตราส่วนลดตามที่ต้องการดังนี้
โครงการ A
ตัวคูณส่วนลด ณ อัตรา ค่าปัจจุบัน ณ อัตรา
ปีที่ เงินสดรับ 18% 20% 18% 20%
1-8 25,000 4.078 3.837 101,950 95,925
หัก เงินลงทุน 100,000 100,000
ค่าปัจจุบัน 1,950 (4,075)
ค่าปัจจุบันต่างกัน (101,950 - 95,925) = 6,025 บาท อัตราเปอร์เซ็นต์ต่างกัน = 2%
ค่าปัจจุบันต่างกัน (101,950 - 100,000) = 1,950 บาท อัตราเปอร์เซ็นต์ต่างกัน = 2 x 1,950
6,025
= .65%
เพราะฉะนั้นอัตราผลตอบแทนซื้อลดโครงการ A = 18 + .65% = 18.65%
กรณีกระแสเงินเข้าไม่เท่ากันในแต่ละปี
โครงการ B กระแสเงินเข้าไม่เท่ากันในแต่ละปี ในขั้นแรกจะต้องคาดคะแนอัตราผลแทนจำนวนหนึ่งไปคูณกับรายได้เมื่อรวมแล้วให้ได้เท่ากับเงินลงทุน สมมติอัตราผลตอบแทน = 20% (ตาราง A-1 ) แล้วคำนวณค่าปัจจุบันของเงินเข้าดังนี้
ปีที่ กระแสเงินสด แฟคเตอร์ 20% มูลค่าปัจจุบัน
1 70,000 (บาท) .833 58,310 (บาท)
2 100,000 .694 69,400
3 150,000 .579 86,850 รวม 214,560 บาท
จะพบว่าได้มูลค่าปัจจุบันของเงินเข้าที่ทดลองในอัตรา 20% = 214,560 บาท สูงกว่ามูลค่าปัจจุบันของกระแสเงินออกซึ่งเท่ากับ 200,000 บาท จึงต้องลองเพิ่มอัตราเป็น 22% 24% และ 25%แล้วคำนวณหามูลค่าปัจจุบันของกระแสเงินเข้าดูใหม่ จะพบว่ายอดรวมค่าปัจจุบันของผลตอบแทนที่ใกล้เคียง 200,000 บาท อยู่ที่อัตราผลตอบแทน 24% และ 25%
โครงการ B
ตัวคูณส่วนลด ณ อัตรา ค่าปัจจุบัน ณ อัตรา
ปีที่ เงินสดรับ (บาท) 24% 25% 24% 25%
1 70,000 .806 .800 56,420 56,000
2 100,000 .650 .640 65,000 64,000
3 150,000 .524 .512 78,600 76,800
รวมค่าปัจจุบัน 200,020 196,800
เงินลงทุนสุทธิ 200,000 200,000
ค่าปัจจุบัน 20 (3,200)

ถัวเฉลี่ยอัตราส่วนลดจะคำนวณได้ดังนี้
ค่าปัจจุบันต่างกัน (200,020 - 196,800) = 3,220 บาท อัตราเปอร์เซ็นต์ต่างกัน = 1%
ค่าปัจจุบันต่างกัน (200,020 - 200,000) = 20 บาท อัตราเปอร์เซ็นต์ต่างกัน = 1x20 = .0062%
3,220
เพราะฉะนั้น อัตราผลตอบแทนซื้อลดโครงการ B = 24.0062%
สรุป
จากการคำนวณพบว่าโครงการ B มีอัตราผลตอบแทนซื้อลด = 24.0062% สูงกว่าโครงการ A ซึ่งมีอัตราผลตอบแทนซื้อลด = 18.65% หากบริษัทต้องเลือกลงทุนในโครงการใดโครงการหนึ่งนั้น การใช้อัตราผลตอบแทนซื้อลดยังไม่เป็นการวัดที่เพียงพอ เพราะโครงการทั้ง 2 จ่ายลงทุนด้วยจำนวนเงินไม่เท่ากัน และอายุของโครงการก็ไม่เท่ากัน ดังนั้นควรจะใช้วิธีการวัดผลตอบแทนจากการลงทุนควรใช้ร่วมกับวิธีอื่น ๆ ด้วย เช่น วิธีมูลค่าปัจจุบันสุทธิ (NPV) เป็นต้น

ตัวอย่างที่ 2 ต่อไปนี้เป็นงบดุลเปรียบเทียบของบริษัท ปานเทพ จำกัด สำหรับปี 2539 และ 2540

บริษัท ปานเทพ จำกัด
งบดุล
ณ 31 ธันวาคม 2539 และ 2540
2539 2540
สินทรัพย์
เงินสด 30,400 36,400
เงินลงทุนชั่วคราว 23,600 30,000
ลูกหนี้ 44,800 52,800
สินค้า 40,200 38,400
ค่าใช้จ่ายล่วงหน้า 1,800 2,400
ที่ดิน อาคาร และอุปกรณ์ (สุทธิ) 42,400 65,600
183,200 225,600
หนี้สินและส่วนของผู้ถือหุ้น
เจ้าหนี้ 17,600 16,400
ตั๋วเงินจ่าย (ธนาคาร) 3,000 6,000
ค่าใช้จ่ายค้างจ่าย 6,600 5,400
เงินปันผลค้างจ่าย 3,000 6,000
ตั๋วเงินจ่าย (ครบกำหนด 1 มิ.ย . 2545) - 18,000
ทุนหุ้นสามัญ 100,000 100,000
กำไรสะสม 53,000 73,800
183,200 225,600
ข้อมูลเพิ่มเติมระหว่างปี 2540 มีดังนี้
1. เงินลงทุนชั่วคราวไม่มีการไถ่ถอนในระหว่างปี
2. สินทรัพย์ถาวรไม่มีการขายในระหว่างปี แต่มีการซื้อสินทรัพย์ถาวรเพิ่มขึ้นในปี 2540 จำนวน 26,800 บาท
3. บริษัทจ่ายเงินปันผลเป็นเงินสด 24,000 บาท
บริษัท ปานเทพ จำกัด
งบแสดงการเปลี่ยนแปลงเงินทุนหมุนเวียน
สำหรับงวด 1 ปี สิ้นสุด 31 ธันวาคม 2540
เงินทุนหมุนเวียน
ปี 2539 ปี 2540 เพิ่มขึ้น ลดลง
สินทรัพย์หมุนเวียน :
เงินสด 30,400 36,400 6,000
เงินลงทุนชั่วคราว 23,600 30,000 6,400
ลูกหนี้ 44,800 52,800 8,000
สินค้า 40,200 38,400 1,800
ค่าใช้จ่ายล่วงหน้า 1,800 2,400 600
รวมสินทรัพย์หมุนเวียน 140,800 160,000
หนี้สินหมุนเวียน :
เจ้าหนี้ 17,600 16,400 1,200
ตั๋วเงินจ่าย (ธนาคาร) 3,000 6,000 3,000
ค่าใช้จ่ายค้างจ่าย 6,600 5,400 1,200
เงินปันผลค้างจ่าย 3,000 6,000 3,000
รวมหนี้สินหมุนเวียน 30,200 33,800
เงินทุนหมุนเวียน 110,600 126,200
เงินทุนหมุนเวียนเพิ่มขึ้น 15,600
23,400 23,400
บริษัท ปานเทพ จำกัด
งบแสดงแหล่งที่มาและใช้ไปของเงินทุนหมุนเวียน
สำหรับงวด 1 ปี สิ้นสุด 31 ธันวาคม 2540
แหล่งที่มาเงินทุนหมุนเวียน
จากการดำเนินงาน :
กำไรสุทธิ 44,800
บวก ค่าเสื่อมราคาสินทรัพย์ถาวร 3,600 48,400
ออกตั๋วเงินจ่ายเพิ่ม 18,000 66,400
แหล่งใช้ไปเงินทุนหมุนเวียน
ซื้อสินทรัพย์ถาวร 26,800
จ่ายเงินปันผลเป็นเงินสด 24,000 50,800
เงินทุนหมุนเวียนเพิ่มขึ้น 15,600
การวิเคราะห์เงินทุนหมุนเวียนที่เพิ่มขึ้นหรือลดลงระหว่างปี 2540
ตัวอย่างนี้แตกต่างจากตัวอย่างที่ 1 ตรงที่ไม่ได้ให้กำไรสุทธิประจำปี และค่าเสื่อมราคาสินทรัพย์ถาวรมาให้ จะต้องคำนวรหาเอง ดังนี้
1. การคำนวณหากำไรสุทธิ
กำไรสะสมปลายงวด 73,800 บาท
บวก การจ่ายปันผลเป็นเงินสด 24,000 บาท
97,800 บาท
หัก กำไรสะสมต้นงวด 53,000 บาท
กำไรสุทธิ 44,800 บาท หรือ
กำไรสะสม
2540 2540
ม.ค.-ธ.ค.
ธ.ค. 31 จ่ายเงินปันผล
ยอดยกไป 24,000
73,800
97,800 ม.ค. 1
ธ.ค. 31 ยอดยกมา
กำไรสุทธิ 53,000
44,800
97,800
2. ที่ดิน อาคาร และอุปกรณ์ (สินค้าทรัพย์ถาวร) ในปี 2539 มีจำนวน 42,400 บาท และในปี 2540 มีจำนวน 65,600 บาท แสดงว่ามีการซื้อสินทรัพย์ถาวร จากข้อมูลเพิ่มเติมที่ให้สินทรัพย์ถาวรมีการซื้อเป็นจำนวนเงิน 26,800 บาท เป็นผลทำให้เงินทุนหมุนเวียนลดลง 26,800 บาท ส่วนการขายสินทรัพย์ถาวรโจทย์ระบุว่าไม่มีการขายสินทรัพย์ถาวรระหว่างปีรายการนี้ ซึ่งไม่มีผลต่อเงินทุนหมุนเวียน
4. ตั๋วเงินจ่ายระยะยาว (ครบกำหนด 1 มิถุนายน 2545) ในปี 2540 มีจำนวน 18000 บาท แสดงว่ากิจการกู้ยืมเงินโดยออกตั๋วเงินจ่าย รายการนี้มีผลทำให้เงินทุนหมุนเวียนเพิ่มขึ้น 18,000 บาท
5. ทุนหุ้นสามัญ ในปี 2539 และปี 2540 มีจำนวนเท่ากันคือ 100,000 บาท แสดงว่าไม่มีการเปลี่ยนแปลงเกี่ยวกับทุนหุ้นสามัญราการนี้ไม่มีผลหระทบต่อต้นทุนหมุนเวียน

รูปแบบงบแสดงแหล่งที่มาและใช้ไปของเงินทุนหมุนเวียน

บริษัท………
งบแสดงแหล่งที่มาและใช้ไปของเงินทุนหมุนเวียน
สำหรับงวด…….สิ้นสุด………
แหล่งที่มาเงินทุนหมุนเวียน
จากการดำเนินงาน :
กำไรสุทธิ xx
บวก ค่าใช้จ่ายประเภทไม่หมุนเวียนที่ไม่ใช่เงินสด :
-ค่าเสื่อมราคา xx
-ค่าใช้จ่ายตัดบัญชีกำไรขาดทุน (สินทรัพย์อื่น) xx
-ผลขาดทุนจากการขาย แลกเปลี่ยน เลิกใช้สินทรัพย์
ถาวรหรือเงินลงทุนระยะยาว xx xx
xx
หัก รายได้ประเภทไม่หมุนเวียนที่ไม่ใช่เงินสด :
- ผลกำไรจากการขาย /แลกเปลี่ยนสินทรัพย์
ถาวรหรือเงินลงทุนระยะยาว xx
จากแหล่งอื่น ๆ :
ขายเงินลงทุนระยะยาวเป็นเงินสด xx
ขายสินทรัพย์ถาวรเป็นเงินสด xx
กู้ยืมระยะยาว xx
ขายหุ้นสามัญเป็นเงินสด xx
ลงทุนเพิ่ม xx xx xxx
แหล่งใช้ไปเงินทุนหมุนเวียน
ซื้อเงินลงทุนระยะยาวเป็นเงินสด xx
ซื้อสินทรัพย์ถาวรเป็นเงินสด xx
แลกเปลี่ยนสิทรัพย์ถาวร (เงินสดที่จ่ายเพิ่ม) xx
จ่ายชำระเงินกู้ระยะยาว xx
จ่ายเงินปันผลเป็นเงินสด xx
ถอนใช้ส่วนตัว xx xxx
เงินทุนหมุนเวียนเพิ่มขึ้น (ลดลง) xxx

ตัวอย่างงบแสดงแหล่งที่มาและใช้ไปของเงินทุนหมุนเวียน จากโจทย์ตัวอย่างที่ 1 บริษัท ปิ่นมณี จำกัด
บริษัท ปิ่นมณี จำกัด
งบแสดงแหล่งที่มาและใช้ไปของเงินทุนหมุนเวียน
สำหรับงวด 1 ปี สิ้นสุด 31 ธันวาคม 2540
แหล่งที่มาเงินทุนหมุนเวียน
จากการดำเนินงาน :
กำไรสุทธิ 20,150
บวก ค่าเสื่อมราคาสินทรัพย์ถาวร 4,250
ขาดทุนจากการขายสินทรัพย์ถาวร 2,550 6,800 26,950
ขายสินทรัพย์ถาวร 250
กู้เงินระยะยาว (ออกตั๋วเงินจ่าย) 20,000 47,200 แหล่งใช้ไปเงินทุนหมุนวียน
ซื้อสินสินทรัพย์ 24,500
จ่ายเงินปันผลเป็นเงินสด 7,500 32,000
เงินทุนหมุนเวียนเพิ่มขึ้น 15,200

การวิเคราะห์เงินทุนหมุนเวียนที่เพิ่มขึ้น หรือลดลงระหว่างปี 2540 จะเลือกพิจารณาเฉพาะรายการสินทรัพย์ถาวร สินทรัพย์หมุนเวียน หนี้สินระยะยาวและส่วนของเจ้าของ ดังนี้
1. เงินทุนหมุนเวียนจากการดำเนิน ได้จากการกำไรสุทธิหลังภาษีเงินได้จำนวน 20,150 บาท ต้องปรับปรุงโดยการ บวกค่าเสื่อมราคาสินทรัพย์ถาวร จำนวน 2,550 บาท เมื่อคำนวณแล้วจะได้แหล่งที่มาของเงินทุนหมุนเวียน จำนวน 26,950 บาท
2. ที่ดิน อาคาร และอุปกรณ์ (สินทรัพย์ถาวร)ในปี 2539 จำนวน24,250 บาท แต่ในปี 2540 มีจำนวน 41,700 บาท เปลี่ยนเพิ่มขึ้น แสดงว่าต้องมีการซื้อสินทรัพย์ถาวรในระหว่างปี จากข้อมูลเพิ่มเติมที่ให้สินทรัพย์ถาวรได้มีการขายไปบางส่วนระหว่างปี ดังนั้นจะต้องคำนวณหาราคาขาย และราคาซื้อสินทรัพย์ถาวรระหว่างปี ดังนี้
3. ตั๋วเงินจ่ายระยะยาว (ครบกำหนด 1 มกราคม 2543 ) ในปี 2540 มีจำนวน 20,000 บาท แสดงว่ากิจการกู้ยืมเงินโดยออกตั๋วเงินจ่าย รายการนี้มีผลทำให้เงินทุนหมุนเวียนเพิ่มขึ้น 20,000 บาท
4. หุ้นสามัญ ในปี 2539 และในปี 2540 มีจำนวนเท่ากันคือ 30,000 บาท แสดงว่าไม่มีการเปลี่ยนแปลงเกี่ยวกับหุ้นสามัญ รายการนี้ไม่มีผลกระทบต่อเงินทุนหมุนเวียน
5. กำไรสะสม ในปี 2539 จำนวน 28,325 บาท และในปี 2540 จำนวน 40,975 บาท

sources of funds เงินทุนหมุนเวียน


แหล่งที่มาของเงินทุนหมุนเวียน ( sources of funds )
แหล่งที่มาของเงินทุนหมุนเวียน สามารถแบ่งได้ดังนี้
1. เงินทุนหมุนเวียนได้มาจากการดำเนินงาน หมายถึง กำไรสุทธิของกิจการ
2. เงินทุนหมุนเวียนได้มาจากการขายสินทรัพย์ถาวร และทรัพย์อื่น เช่น การขายสินทรัพย์ถาวรเป็นเงินสด การขายเงินลงทุนระยะยาวเป็นเงินสด เป็นต้น
3. เงินทุนหมุนเวียนได้มาจากหนี้สินระยะยาวและหนี้สินอื่นเพิ่มขึ้น เช่น การกู้ยืมระยะยาว เป็นต้น
4. เงินทุนหมุนเวียนได้มาจากส่วนชองเจ้าของเพิ่มขึ้น เช่น การขายหุ้นสามัษเป็นเงินสดและการลงทุนเพิ่ม เป็นต้น
แหล่งใช้ไปของเงินทุนหมุนเวียน ( uses of funds )
แหล่งใช้ไปของเงินทุนหมุนเวียน สามารถบางได้ดังนี้
1. เงินทุนหมุนเวียนใช้ไปจากการดำเนินงาน หมายถึง ขาดทุนสุทธิของกิจการ
2. เงินทุนหมุนเวียนใช้ไปจากการซื้อสินทรัพย์ถาวร และสินทรัพย์อื่น เช่น ซื้อที่ดินอาคาร รถยนต์ เป็นเงินสด การแลกเปลี่ยนสินทรัพย์ถาวร (เงินสดที่จ่ายเพิ่ม)เป็นต้น
3. เงินทุนหมุนเวียนใช้ไปจากการชำระหนี้สินระยะยาว หรือหนี้สินอื่นลดลง เช่นหารชำระหนี้เงินกู้ระยะยาว การชำระหนี้ตั๋วเงินจ่ายระยะยาว การไถ่ถอนหุ้นกู้ เป็นต้น
4. เงินทุนหมุนเวียนใช้ไปจากส่วนของเจ้าของลดลง เช่น การซื้อหุ้นกลับคืน การประกาศจ่ายเงินปันผลเป็นเงินสด การถอนส่วนตัว
รายการที่ไม่มีผลกระทบเงินทุนหมุนเวียน
1. การคำนวณหากำไรสุทธิที่มีผลต่อเงินทุนหมุนเวียน
กำไรสุทธิจากการดำเนินงานจะมีค่าใช้จ่ายและรายได้บางรายการที่ไม่ได้ทำให้เงินทุนหมุนเวียนเปลี่ยนแปลง แต่ถูกนำมาหักหรือนำมาบวกเพื่อหากำไรสุทธิประจำงวด ซึ่งจะต้องปรับปรุงโดยการนำรายการที่ไม่มีผลกระทบเงินทุนหมุนเวียนดังกล่าวบวกคืนกำไรสุทธิหรือหักยอดกำไรสุทธอ ซึ่งมีรายการดังต่อไปนี้
1.1 ค่าเสื่อมราคาสินทรัพย์ถาวร ค่าเสื่อมราคาสินทรัพย์ถาวรจะเป็นค่าใช้จ่ายแสดงในงบกำไรขาดทุน แต่เป็นค่าใช้จ่ายประเภทที่ไม่ได้จ่ายเงิน ดังนั้นจะต้องนำค่าเสื่อราคาบวกคืนกำไรสุทธิ
1.2 การตัดจำหน่ายสินทรัพย์ออกจากบัญชี รายการนี้จะเป็นค่าใช้จ่ายแสดงในงบกำไรขาดทุน เช่น การตัดจำหน่ายค่าความนิยม การตัดจำหน่ายสิทธิบัตรฯลฯ ค่าใช้จ่ายประเภทนี้ไม่ได้จ่ายเป็นสด ดังนั้นจะต้องนำรายการเหล่านี้บวกคืนกำไรสุทธิ
1.3 กำไรจากการจ่ายสินทรัพย์ถาวร หรือสินทรัพย์อื่นที่ไม่ใช่สินทรีพย์หมุนเวียนรายการนี้จะแสดงเป็นรายได้ในงบกำไรขาดทุนทำให้กำไรสุทธิของกิจการเพิ่มขึ้นเท่ากับผลกำไรดังกล่าว ดังนั้นจะต้องนำรายการเหล่านี้บวกคืนกำไรสุทธิเพราะผลกำไรได้รวมอยู่ในแหล่งที่มาของเงินทุนหมุนเวียนซึ่งแสดงเป็นรายการหนึ่งอยู่แล้ว
1.4 ขาดทุนจากการจำหน่ายสินทรัพย์ถาวร หรือสินทรัพย์อื่นที่ไม่ใช่สินทรัพย์หมุนเวียน รายการนี้จะแสดงเป็นค่าใช้จ่ายในงบกำไรขาดทุนแต่เป็นค่าใช้จ่ายประเภทไม่ได้จ่ายเงินสด ดังนั้นจะต้องนำรายการนี้บวกกลับคืนกับกำไรสุทธิ
+ ค่าเสื่อมราคา
กำไรสุทธิ + การตัดจำหน่ายสินทรัพย์ไม่มีตัวตน
+ ขาดทุนจาการจำหน่ายสินทรัพย์ถาวรหรือสินทรัพย์อื่น
- กำไรจากการจำหน่ายสินทรัพย์ถาวร
2. การตีราคาสินทรัพย์ให้สูงขึ้น หรือลดลง
กิจโดยทั่วไปบางครั้งในระหว่างปีอาจมีการตีราคาสินทรัพย์ให้สูงขึ้นหรือลดลงเพื่อปรับให้เหมาะสมกับราคาตลาด เช่น การตีราคาที่ดินให้สูงขึ้น การตัดจำหน่ายค่าความนิยมออกจากบัญชี โดยนำไปปรับปรุงกับบัญชีกำไรสะสม เช่น
-กิจตีราคาที่ดินเพิ่มขึ้น 1,000,000 บาท จะบันทึกบัญชีดังนี้
Dr. ที่ดิน 1,000,000
Cr.กำไรสะสม 1,000,000
- ตัดจำหน่ายค่าความนิยมออกจากบัญชี 50,000 บาท
เดบิต กำไรสะสม 50,000
เครดิต ค่าความนิยมตัดจำหน่าย 50,000
จะเห็นว่าการนำรายการมาปรับปรุงกับบัญชีกำไรสะสมจะไม่กระทบต่อเงินทุนหมุนเวียนดังนั้นรายการเหล่านี้จะไม่นำมาแสดงในงบแสดงแหล่งที่มาและใช้ไปของเงินทุนหมุนเวียน
3. การเปลี่ยนแปลงของบัญชีประเภทไม่หมุนเวียนที่ไม่มีผลทำให้บัญชีประเภทไม่หมุนเวียนเปลี่ยนแปลง
บัญชีประเภทไม่หมุนเวียน ได้แก่ สินทรัพย์ถาวร สินทรัพย์อื่นที่ไม่ใช่สินทรัพย์หมุนเวียน หนี้สินระยะยาว ส่วนของเจ้าของ เช่น การจ่ายหุ้นปันผล การออกหุ้นเพื่อแลกสินทรัพย์ถาวร ฯลฯ เป็นต้น

งบแสดงแหล่งที่มาปละใช้ไปของเงินทุนหมุนเวียน (statement of sources and application of funds )


งบแสดงที่มาและใช้ไปของเงินทุนหมุนเวียน เป็นงบที่แสดงให้เห็นถึงแหล่งที่มาเงินทุนหมุนเวียนที่กิจการมีอยู่ และแสดงการใช้เงินทุนหมุนเวียนของกิจการ มีวิธีทำดังต่อไปนี้
1. เลือกพิจารณาเฉพาะที่ดิน อาคาร และอุปกรณ์ (สินทรัพย์ถาวร) หรือสินทรัพอื่นที่ไม่ใช่สินทรัพย์หมุนหมุนเวียน หนี้สินระยะยาว แลส่วนของเจ้าของ
2. วิเคราะห์รายการที่มีผลกระทบต่อเงินทุนหมุนเวียน โดยพิจารณาจากงบกำไรขาดทุนสำหรับงวด งบดุลเปรียบเทียบ และข้อมูลเพิ่มเติมที่เกี่ยวข้องกับการการดำเนินงานโดยดูว่ามีรายการใดบ้างที่ทำให้เงินทุนหมุนเวียนเพิ่มขึ้นหรือลดลง
3. จัดทำงบแสดงแหล่งที่มาและใช้ไปของเงินทุนหมุนเวียน โดยนำรายการที่วิเคราะห์ได้ว่ามีผลกระทบต่อเงินทุนหมุนเวียนซึ่งแบ่งเป็น
3.1 รายการที่มีผลทำให้เงินทุนหมุนเวียนเพิ่มขึ้น (แหล่งที่มาของเงินทุนหมุนเวียน)
3.2 รายการที่มีผลทำให้เงินทุนหมุนเวียนลดลง (แหล่งใช้ไปของเงินทุนหมุนเวียน)
4. ผลที่ได้จากงบนี้คือ เงินทุนหมกหุนเวียนจะเพิ่มขึ้นหรือลดลงซึ่งจะเข้ากับงบแสดงการเปลียนแปลงเงินทุนหมุนเวียน

สาเหตุการเพิ่มขึ้นหรือลดลงของเงินทุนหมุนเวียนของงบนี้จะเกิดจาก
1. เงินทุนหมุนเวียนเพิ่มขึ้นเนื่องจาก
-ที่ดิน อาคาร และอุปกรณ์ (สินทรัพย์ถาวร) หรือสินทรัพย์อื่นที่ไม่ใช่สินทรัพย์หมุนเวียนลดลง
-หนี้สินระยะยาวและส่วนชองเจ้าของเพิ่มขึ้น
2. เงินทุนหมุนเวียนลดลงเนื่องจาก
-ที่ดิน อาคาร และอุปกรณ์ (สินทรัพย์ถาวร)หรือสินทรัพย์อื่นที่ไม่ใช่สินทรัพย์หมุนเวียนเพิ่มขึ้น
-หนี้สินระยะยาวและส่วนของเจ้าของลดลง

DCF หรือ Discounted cash flow เป็นการหามูลค่าของสินทรัพย์ 1 ใน 3 วิธีอันได้แก่


DCF หรือ Discounted cash flow เป็นการหามูลค่าของสินทรัพย์ 1 ใน 3 วิธีอันได้แก่

1. Cost approach
2. Market approach
3. Income approach

โดย DCF เป็นเครื่องมือนึงของวิธีที่ 3 โดยทำการคาดการณ์รายได้ของบริษัทที่จะทำได้ใน 5-10 ปีข้างหน้า แล้วทำการหามูลค่าปัจจุบันด้วย discounted rate ที่เหมาะสม

โดยมีตัวแปรที่ใช้คำนวณหลักๆ คือ
1. มูลค่าของผลตอบแทนในแต่ละปี (CF) ซึ่งมีหลาย model เช่น Net income, Dividend, Free cashflow, etc...
2. discounted rate (i) อันนี้แล้วแต่ model ที่จะใช้ ถ้าเป็น dividend approach model ก็อาจใช้ required return ของ investor เลย แต่ถ้าเป็น net income หรือ free cash flow ต้องใช้ WACC ของกิจการ หรือใช้ Return from risk free investment ก็จะได้อีกความหมายหนึ่ง แต่ถ้าจะเอาลึกๆจริงๆ จะใช้อันไหนก็ได้ แต่ความหมายของ NPV ที่คำนวณได้ก็จะเปลี่ยนไปตาม discounted rate ที่ใช้เอง
3. ระยะเวลาที่จะทำ projection (N ปี) ให้ project ไปเท่าที่เราจะคาดการณ์ได้ก็พอ เพราะไม่งั้นจะยิ่งเดายิ่งมั่วเข้าป่าไป ซึ่ง cash flow หลังจากช่วงที่เรา project ได้ เราก็จะคิดเป็น terminal value อยู่แล้วไม่ต้องห่วงว่าจะไม่เอามารวมในมูลค่ากิจการ

ซึ่งไอ้การเดาเอานี่แหละที่มันจะทำให้เกิดความผิดพลาด ดังนั้นเราจึงต้องเลือกกิจการที่มี DCA - Durable competitive advantage หรือความสามารถในการแข่งขันอย่างยั่งยืน เพื่อที่จะได้คาดการณ์กระแสเงินสดล่วงหน้าได้แม่นยำ

เสร็จแล้วก็หา NPV ซะ จากสูตรไปเปิดในหนังสือที่ไหนก็มี

NPV = Sum of [CFi/(1+i)^n] ; n=1-->N

โดย NPV ที่คำนวณได้ คือมูลค่าของสินทรัพย์ หรือกิจการนั้น
หากเราสามารถซื้อ Asset นี้ได้ด้วยราคาที่ต่ำกว่ามูลค่าของมัน
ก็เรียกว่ามี Margin of safety
ซึ่งเหมือนกับแนวคิดเรื่อง Safety factor ในการออกแบบ
และการกำหนด Safety factor ก็ขึ้นกับความมั่นใจในการคำนวณของเรานั่นเอง
สำหรับคุณบัฟเฟต เค้าใช้ Safety factor ประมาณ 2 เท่านะ คือหา NPV ได้เท่าไรก็จะซื้อที่ครึ่งราคา
และเข้าใจว่าเค้าใช้ FCF แต่ละปีแทนค่าใน CFi ในสูตรข้างบน
วิธีการประเมินราคาหุ้นนั้นมีอยู่มากมายหลายวิธี โดยแบ่งได้ออกเป็น 2 รูปแบบใหญ่ๆ คือ Discounting Model กับRelative Model

1. Discounting Model วิธีการประเมินราคาหุ้นแบบนี้มีวิธีคิดโดยอยู่บนพื้นฐานที่ว่า มูลค่าของหุ้นจะเกิดจากการคิดกระแสเงินสดที่คาดว่าจะได้รับในอนาคตแล้วปรับลดมาอยู่ในมูลค่าปัจจุบัน วิธีที่คิดจะได้เห็นกันบ่อยๆก็คือ Dividend discounted model โดยประเมินจากปันผลที่คาดที่ว่าจะได้รับในอนาคต หรือวิธี Discount cash flow โดยหลักมีคิดคล้ายๆกัน คือเอากระแสเงินสดสุทธิที่เป็นอิสระ คือไม่ต้องใช้ลงทุนเพิ่มในสินทรัพย์เพื่อรักษาสภาพของธุรกิจเอาไว้ แล้วคำนวณมาเป็นมูลค่าปัจจุบัน

2. Relative Model วิธีนี้จะใช้การประเมินมูลโดยการเปรียบเทียบ พื้นฐานมาจากความคิดที่ว่า ของ 2 สิ่งที่มีคุณสมบัติคล้ายกัน ควรมีมูลค่าใกล้เคียงกัน ของที่มีคุณภาพที่สูงกว่าก็ควรมีมูลค่าสูงกว่า โดยสิ่งที่เอามาวัดเป็นคุณภาพของหุ้นนั้นก็มีใช้กันอยู่หลายอย่าง เช่น p/e, p/bv, p/fcf, p/sales ฯลฯ

จากพื้นฐานของการประเมินมูลค่าหุ้นทั้ง 2 รูปแบบ ก็มีข้อดีข้อด้อยแตกต่างกันพอสมควร

พวกกลุ่ม Discount มีข้อดีคือสามารถพิสูจน์ออกมาเป็นสูตรทางคณิตศาสตร์ได้ชัดเจนทำให้ดูว่ามีความน่าเชื่อถือสูง แต่กลับมีข้อจำกัดสำคัญอย่างหนึ่ง จำเป็นที่จะต้องประมาณอนาคตของบริษัทออกมาเป็นตัวเลขเป็นไปเป็นระยะเวลาหลายปี ซึ่งการประมาณตัวเลขเหล่านี้ให้ได้ใกล้เคียงความจริงเพียงแค่ปีสองปีก็นับว่ายากมากแล้ว ยิ่งเราต้องประมาณออกไปนานเท่าไหร่ โอกาสที่จะคาดการณ์ผิดก็ยิ่งสูงมากขึ้นเรื่อยๆ และวิธีนี้ยังมีเลขอีกตัวที่ต้องใช้คืออัตราส่วนคิดลด หรือ โดยการคิดก็มีหลายแบบอีก บางคนอาจจะใช้ต้นทุนเงินทุนถัวเฉลี่ย หรือ อัตราผลตอบแทนที่ต้องการในการลงทุน ซึ่งแต่ละคนก็คิดได้ต่างกันไป จากการที่ต้องมีการประมาณตัวเลขผลประกอบการในอนาคต และอัตราส่วนคิดลด ทำให้ราคาที่คำนวณได้จากวิธี Discount นั้นแตกต่างกันมาก คน 2 คนที่มีข้อมูลหุ้นตัวหนึ่งเท่าๆกันอาจจะประเมินราคาออกมาห่างกันเป็นเท่าตัวก็ไม่ใช่เรื่องแปลก เพราะฉะนั้นการใช้งานจริงก็อาจจะยากเอามากๆ และเสียเวลาคิดนานมากเช่นกันกว่าจะได้คำตอบที่น่าเชื่อถือออกมา บางครั้งวิธีผมมองว่าเป็นวิธีแบบสั่งได้ อยากได้ราคาเป้าหมายเท่าไหร่บอกมา แก้ตัวเลขนิดๆหน่อยราคาเป้าหมายก็เปลี่ยนไปคนละเรื่องแล้ว แต่ผลลัพธ์คือ ปวดหัวเวลาคิด แถมยังเอามาใช้งานจริงไม่ค่อยได้

วิธีการหาราคาหุ้นกลุ่ม Relative นี้มีข้อดีอย่างหนึ่งเลยคือง่าย ... ไม่ต้องใช้สูตรคณิตศาสตร์ซับซ้อนอะไรเลยครับ เพิ่งแค่ บวก ลบ คูณ หาร เป็นก็หาได้ไม่ยาก แต่ก็มีข้อจำกัดอยู่มากเช่นกัน คือดูไม่น่าเชื่อถือเท่าไหร่ พิสูจน์ไม่ค่อยได้ นอกจากนี้การประเมินก็ยังมีข้อจำกัดสำหรับหุ้นบางประเภทอยู่พอสมควร
dcf ใช้สำหรับบริษัทที่สามารถทราบ free cash flow ในระยะยาวๆ ได้
สามารถใช้เป็นราคาที่ควรจะเป็นในระยะยาว
เหมาะสำหรับคนที่ลงทุนในหุ้นหลายๆปี
การลงทุนเป็นลักษณะ stand alone
DCF ยุ่งยากในการคาดคะเนกระแสเงินสดในอนาคต
ประมาณว่า ต้องใช้สมมติฐานมาเกี่ยวข้องด้วย
แต่ถ้าได้ข้อมูลดี มูลค่าหุ้นที่คำนวณได้น่าจะแม่นยำกว่า
DCF จะใช้ได้ดีมากๆเมื่อเราสามารถคาดการณ์กระแสเงินสดของบริษัทในระยะยาวได้ค่อนข้างใกล้เคียง

ข้อเสีย
คำนวณ free cash flow & terminal value ให้ถูกต้องในระยะยาวได้ยาก
การคำนวณยุ่งยากกว่า
ไม่ได้เอาอารมณ์ของตลาดเข้ามาเกี่ยวข้อง
dcf หากจะใช้ค่าการเติบโตของfcfก็ต้องรู้ว่ากิจการกำลังจะทำอะไรในอนาคต หากใช้ค่าในอดีต ก็เสี่ยงน่าดู ปรกติไม่ค่อยใช้วิธีนี้เท่าไหร่ครับ เพราะมองไกลๆไม่ค่อยเห็น ไม่เหมาะกับ dcf คือ
1. แบงค์ ประกัน การเงิน ให้ใช้ cash flow to equity แทน
2. พวก conglomarate หรือ holding company เพราะถือหุ้นบริษัทเยอะไป ขี้เกียจคิดเลข



PE ใช้กำหนดราคาเป้าหมายในระยะสั้น การคำนวณเป็นลักษณะเปรียบเทียบ
คำนวณง่าย และ เข้าใจความหมายได้ง่าย
เอาอารมณ์ของตลาดเข้ามาคิดด้วย
ปัญหาคือ ระวังอย่าไปติดกับ E ปัจจุบัน หรือ E ที่ผ่านมา
กับอีกตัวคือ บางอุตสาหกรรมหรือ บริษัท ถึงแม้จะทำ E ได้ดี
แต่ Cash ที่ได้กับต้องไปลงทุนเพิ่มในทรัพย์สิน เช่น เครื่องจักร
ซึ่งมีโอกาสล้าสมัย เสื่อมค่ามาก ทำให้ทรัพย์สินที่มีอยู่ในงบดุลนั้น
อาจแฝงเอาความด้อยค่าไว้อยู่มากก็ได้
ต้องพิจารณาอุตสาหกรรมและหุ้นแต่ละตัวไป
p/e ก็ต้องดูคุณภาพของeที่กลายเป็นเงินสดจริง การใช้ค่าตัวคูณก็ต้องประเมินจากความสามารถในการทำกำไรในอนาคต แสดงว่าต้องเข้าใจในธุรกิจก่อนทั้งนั้น

ข้อเสีย
กำหนด pe ที่เหมาะสมได้ยาก (มีหลายแบบให้เลือก เช่นใช้อุตสาหกรรมเดียวกันมาเฉลี่ย หรือ กำหนดเอาตามคุณภาพบริษัท)
ไม่ได้ดูระยะยาว ดูแค่ปีต่อปี
สามารถ mid lead the price ได้ถ้าใช้ pe ของบริษัทในอุตสาหกรรมเดียวกัน

วันพุธที่ 11 สิงหาคม พ.ศ. 2553

การจัดการสินทรัพย์หมุนเวียน

ความหมายและแนวคิดเกี่ยวกับเงินทุนหมุนเวียน (Working Capital)
1. เงินทุนหมุนเวียน (Working capital หรือ Gross working capital) หมายถึง สินทรัพย์หมุนเวียนทั้งหลายที่ใช้ในการดำเนินงาน
2. เงินทุนหมุนเวียนสุทธิ (Net working capital) คือ สินทรัพย์หมุนเวียน ลบ หนี้สินระยะสั้น
3. นโยบายเงินทุนหมุนเวียน หมายถึง นโยบายเกี่ยวกับ 3.1 ระดับของสินทรัพย์หมุนเวียนแต่ละประเภท
3.2 จะหาเงินจากที่ใดมาลงทุนในเงินทุนหมุนเวียน
4. การจัดการเงินทุนหมุนเวียน เป็น การกำหนดนโยบายเงินทุนหมุนเวียนและการนำนโยบายนั้นมาปฏิบัติ
นโยบายเงินทุนหมุนเวียน
1. แบบผ่อนคลาย (Relaxed) …บริษัทจะดำรงหลักทรัพย์ในความต้องการของตลาด และสินค้าคงคลังไว้เป็นจำนวนค่อนข้างมาก
2. แบบจำกัด (Restricted) ...บริษัทจะดำรงเงินสด หลักทรัพย์ในความต้องการของตลาด สินค้าคงคลังและลูกหนี้การค้า ให้น้อยที่สุดเท่าที่จะทำได้
3. แบบปานกลาง (Moderate) …ไม่มาก และ ไม่น้อยจนเกินไป
เงินทุนหมุนเวียน ประกอบด้วย 4 รายการหลัก
1. เงินสด 2. หลักทรัพย์ในความต้องการของตลาด (Marketable securities)
3. สินค้าคงคลัง (วัตถุดิบ, งานระหว่างทำ และ สินค้าสำเร็จรูป) 4. ลูกหนี้การค้า
แนวคิดเรื่องเงินทุนหมุนเวียน เขียนสมการได้ คือ Working Capital = Inventories + Receivables – Payables
งบประมาณเงินสด ...ทำขึ้นเพื่อประเมินความต้องการเงินสด (ดูวิธีทำหน้า 623 ใน Text)
Liquidity(สภาพคล่อง) Profitability(ความสามารถในการทำกำไร)
รายการ ต.ค. พ.ย. ธ.ค.
เงินสดรับ 8,000 12,000 15,000
เงินสดจ่าย 7,000 14,000 8,000
เงินสดสุทธิ 1,000 (2,000) 7,000
ยอดยกมา 4,000 8,000 8,000
5,000 6,000 15,000
กู้ยืม(ใช้คืน) 3,000 2,000 (5,000) : ใช้หนี้ที่กู้ยืมมาในเดือน ต.ค.=3,000 และ พ.ย.=2,000
ยอดยกไป 8,000 8,000 10,000
ระบบควบคุมสินค้าคงคลัง
1. ระบบคอมพิวเตอร์ 2. JIT
3. Out-sourcing 4. ความสัมพันธ์ระหว่างตารางการผลิตและระดับของสินค้าคงคลัง
แบบฝึกหัดบทที่ 15 : การจัดการสินทรัพย์หมุนเวียน
โจทย์ 15-5 McDowell Industries sells on terms of 3/10, net 30. Total sales for the year are $912,500. Forty percent of the customers pay on the 10th day and take discounts; the other 60 percent pay on average, 40 days after their purchases.
ตอบ
a. What is the days sales outstanding ?
ระยะเวลาเก็บหนี้ถัวเฉลี่ย (DSO : Days Sales Outstanding)
= 0.4 (10) + 0.6 (40) = 28 days
b. What is the average amount of receivables ?
ยอดลูกหนี้ = $912,500 / 365 = $2,500 sales per day
c. What would happen to average receivables if McDowell toughened up on its collection policy with the result that all nondiscount customers paid on the 30TH days ?
DSO = 0.4 (10) + 0.6 (30) = 22 days
ยอดลูกหนี้ = $912,500 / 365 = $2,500 sales per day
= $2,500 (22) = $55,000 average receivables

โจทย์ 15-8 The Zooco Corporation has an inventory conversion period of 75 days, a receivables collection period of 38 days, and a payables deferral period of 30 days.
ตอบ
a. What is the length of the firm’s cash conversion cycle ?
วงจรของเงินสด (CCC : Cash Conversion Cycle)
สินค้าคงเหลือ + ลูกหนี้
ยอดขายต่อวัน ยอดขายต่อวัน
- เจ้าหนี้
ยอดซื้อต่อวัน

สูตร =

CCC = 75 + 38 – 30 = 83 days
b. If Zooco’s annual sales are $3,421,875 and all sales are on credit, what is the firm’s investment in account receivable?
ยอดขายเฉลี่ยต่อวัน(Average sales per day) = $3,421,875 / 365 = $9,375
c. How many times per year does Zooco turn over its inventory ?
Inventory Turn over = 365 / 75 4.87 ครั้งต่อปี

วันอาทิตย์ที่ 4 เมษายน พ.ศ. 2553

อัตราส่วนประเมินธุรกิจโดยรวม Market Value

อัตราส่วนประเมินธุรกิจโดยรวม Market Value
5.1 ราคาตลาดกับกำไรสุทธิต่อหุ้น = ราคาตลาดต่อหุ้น = ……..เท่า สูงดี
P/E กำไรสุทธิต่อหุ้น (EPS)
อัตราส่วนที่เปรียบเทียบระหว่างราคาตลาดหุ้นกับกำไรต่อหุ้น ชี้ให้เห็นว่าหุ้นแต่ละตัวนั้นมีความเหมาะสมหรือไม่ เนื่องจากการนำแต่เพียงราคาตลาดของหุ้นมาพิจารณาเปรียบเทียบว่าหุ้นตัวใดราคาสูงกว่ากันนั้นไม่เป็นการยุติธรรม ดังนั้นราคาของหุ้นควรจะสัมพันธ์กับ



Ratio นี้ จะมีค่าสูง เมื่อบริษัทมีแนวโน้มว่าจะเจริญเติบโตในอนาคต และจะมีค่าต่ำเมื่อบริษัทมีความเสี่ยงสูง

5.2 ราคาตลาดกับกระแสเงินสดต่อหุ้น = ราคาตลาดหุ้นตลาด
กระแสเงินสดต่อหุ้น
บริษัทมีกระแสเงินสด 1 บาท ผู้ลงทุนยินดีซื้อหุ้นในราคา... บาท
5.3 ราคาตลาดกับมูลค่าตามบัญชีต่อหุ้น = ส่วนของผู้ถือหุ้น
จำนวนหุ้นสามัญที่อยู่ในมือบุคคลภายนอก
บริษัทมีมูลค่าตามบัญชี 1 บาท ผู้ลงทุนยินดีซื้อหุ้นราคา....บาท
ข้อจำกัดของการวิเคราะห์อัตราส่วน
1. บริษัทมีหลายแผนก ซึ่งประกอบธุรกิจต่างกัน การเปรียบเทียบอัตราส่วนทางการเงินกับอุตฯ จะทำได้ยาก

2. บริษัทที่มีอัตราส่วนทางการเงินดีกว่าค่าเฉลี่ย อาจไม่จำเป็นต้องเป็นบริษัทที่มีประสิทธิภาพดีเสมอ

3. ภาวะเงินเฟ้อ อาจทำให้การเปรียบเทียบแนวโน้มไม่ถูกต้อง
4. สินค้าตามฤดูกาล จะทำให้อัตราส่วนเบี่ยงเบนได้
5. การตกแต่งบัญชี
6. วิธีการบัญชีที่แตกต่างกัน
7. การสรุป วิเคราะห์ทางการเงิน อาจมองในด้านดี ไม่ดีก็ได้
8. กิจการที่มีอัตราส่วนหนึ่งดี แต่อีกอัตราไม่ดี สรุปไม่ได้ว่ามีจุดเด่น จุดด้อยอะไรบ้าง

บทที่ 3 สูตร

1.1 เงินทุนหมุนเวียน (Working Capital)
= ส/ทหมุนเวียน – ห/นหมุนเวียน
1.2 อัตราส่วนหมุนเวียน (Current Ratio) (เกิน 1 ดี ) = ส/ทหมุนเวียน
ห/นหมุนเวียน
1.3 อัตราส่วนหมุนเร็ว (Quick Ratio) = ส/ท หมุนเวียน – สินค้าคงเหลือ
ห/น หมุนเวียน
2.1 อัตราการหมุนของสินค้า = ยอดขาย
สินค้าคงเหลือ
2.2 อัตราระยะเวลาในการเก็บหนี้ถัวเฉลี่ย (DOS = Days sales outstanding ) = ลูกหนี้การค้า = ลูกหนี้การค้า
ยอดขายเฉลี่ยต่อวัน ยอดขายต่อปี / 365
2.3 อัตราการหมุนของสินทรัพย์ถาวร = ยอดขาย
(Fixed assets turnover ratio) สินทรัพย์ถาวรสุทธิ
2.4 อัตราการหมุนของสินทรัพย์ทั้งสิ้น (Total assests turnover ratio )
= ยอดขาย
สินทรัพย์ทั้งสิ้น
3.1 อัตราหนี้สิน (Debt Ratio) (อัตราส่วนหนี้สินน้อยถือว่าดี)
= หนี้สินทั้งสิ้น x 100 % = %
สินทรัพย์ทั้งสิ้น
3.2 ความสามารถในการจ่ายชำระดอกเบี้ย (Time-interest-earned) (TIE)
= EBIT
ดอกเบี้ยจ่าย
3.3. EBITDA Coverage ratio = EBITDA + lease payments
Interest + loan repayment + lease payments
4.1 อัตรากำไรสุทธิ ( Profit margin on sales )
= กำไรสุทธิส่วนที่เป็นของผู้ถือหุ้นสามัญ
ยอดขาย
4.2 ความสามารถในการใช้สินทรัพย์ (BASIC EARNING POWER) ( BEP) = EBIT
ยอดขาย
4.3 อัตราผลตอบแทนต่อสินทรัพย์ทั้งสิ้น (Return On Asstes )
ROA = กำไรสุทธิส่วนที่เป็นของผู้ถือหุ้นสามัญ x 100 % = %
สินทรัพย์ทั้งสิ้น
4.4 อัตราผลตอบแทนส่วนของผู้เป็นเจ้าของ (ROE)
ROE = กำไรสุทธิส่วนที่เป็นของผู้ถือหุ้นสามัญ x 100 % = %
ส่วนของผู้ถือหุ้นสามัญ
5.1 อัตราราคา / กำไรต่อหุ้น ( Price – Earning Ratio)
P/E Ratio = ราคาตลาดของหุ้น = เท่า
กำไรสุทธิต่อหุ้น
5.2 ราคาตลาดกับกระแสเงินสดต่อหุ้น ( Price / Cash Flow Ratio )
= ราคาตลาดต่อหุ้น
กระแสเงินสดต่อหุ้น
5.3 ราคาตลาดกับมูลค่าตามบัญชีต่อหุ้น ( Book value per share )
= ส่วนขอผู้ถือหุ้น
จำนวนหุ้นสามัญที่อยู่ในมือบุคคลภายนอก
5.4 Market / book ration ( M/B) = ราคาตลาดต่อหุ้น
มูลค่าตามบัญชีต่อหุ้น
5.5 กำไรสุทธิ (Net Income) = กำไรสุทธิ X 100 % = %
ขายสุทธิ

การควบกิจการ

1.เหตุผลในการควบกิจการ
1. Synergy ..การเพิ่มมูลค่า โดยก่อให้เกิด a. ประโยชน์จากการดำเนินงาน b. ประโยชน์ทางการเงิน
c. ประสิทธิภาพเพิ่มขึ้น d. เพิ่มอำนาจทางการตลาด
2. การพิจารณาทางด้านภาษี
3. การซื้อสินทรัพย์ได้ในราคาต่ำ
4. การกระจายความเสี่ยง
5. ความต้องการโดยส่วนตัวของผู้บริหาร
6. Breakup Value …คือ การซื้อกิจการมา แล้วมาแยกส่วนขายเพื่อหวังกำไร
2.ประเภทของการควบกิจการ
1.Horizontal Merger …ควบรวมกิจการตั้งแต่ 2 กิจการขึ้นไป ซึ่งผลิตสินค้าหรือขายบริการ 2.Vertical Merger …ควบรวมกิจการที่เกี่ยวข้องในลักษณะที่เป็น Supplier ให้กัน หรือลูกค้ากัน
3.Congeneric Merger …ควบรวมกิจการที่อยู่ในอุตสาหกรรมเดียวกัน แต่ไม่มีความสัมพันธ์ในลักษณะที่เป็น Supplier ให้กัน หรือลูกค้ากัน 4.Conglomerate Merger …ควบรวมกิจการที่อยู่ต่างอุตสาหกรรมกัน
3.การควบกิจการที่เป็นปฏิปักษ์และเป็นมิตรกัน(Hostile merger)
4.การวิเคราะห์การควบกิจการ
5.ภาษีและโครงสร้างการเสนอราคา
6.รายงานทางการเงินสำหรับการควบกิจการ มี 2 วิธี คือ 1.Pooling of interest 2.Purchase
7.การวิเคราะห์เพื่อการควบกิจการอย่างแท้จริง คือ การควบกิจการที่เท่าเทียมกัน
8.บทบาทของวาณิชธนากร
9.ใครเป็นผู้ชนะจากประสบการณ์ในอดีต
10.การพันธมิตรกันระหว่างบริษัท คือ การเป็นพันธมิตรร่วมมือกันระหว่างบริษัท โดยเน้นด้านใดด้านหนึ่งเพื่อทำให้ผลประโยชน์เพิ่มขึ้นโดยไม่ต้องควบรวมกิจการ
11.การกู้เงินมาซื้อหุ้นสามัญของบริษัทตนเอง คือ LBO (Leveraged Buyout) การที่กลุ่มผู้ลงทุนซึ่งปกติ คือผู้บริหารของบริษัทกู้เงินมาซื้อหุ้นสามัญของบริษัทนั้นเอง
12.การขายกิจการบางแผนก คือ การขายสินทรัพย์ที่ใช้ในการดำเนินงานบางส่วน

การจัดหาเงินทุนจากหลักทรัพย์ลูกผสม: หุ้นบุริมสิทธิ

หุ้นบุริมสิทธิ์
Basic EPS : กำไรสุทธิส่วนที่เป็นของผู้ถือหุ้น หารด้วย จำนวนหุ้นสามัญที่ออกจำหน่ายและอยู่ในมือผู้ถือหุ้น(โดยวิธีถัวเฉลี่ย)
Primary EPS : กำไรสุทธิส่วนที่เป็นของผู้ถือหุ้นสามัญ หารด้วย จำนวนหุ้นสามัญที่ออกจำหน่ายและอยู่ในมือผู้ถือหุ้น(โดยคิดเฉพาะจำนวนที่คาดว่าจะมีการใช้สิทธิซื้อหุ้นสามัญที่ออกใหม่ หรือใช้สิทธิในการแปรสภาพ
หลักทรัพย์มาเป็นหุ้นสามัญ)
Fully Diluted EPS : กำไรสุทธิส่วนที่เป็นของผู้ถือหุ้นสามัญ หารด้วย จำนวนหุ้นสามัญที่ออกจำหน่ายและอยู่ในมือผู้ถือหุ้น (โดยคาดว่าได้มีการใช้สิทธิซื้อหุ้นสามัญที่ออกใหม่ หรือใช้สิทธิในการแปรสภาพหลักทรัพย์มา
เป็นหุ้นสามัญทั้งหมด)
การเช่า (Leases) คือ ผู้ให้เช่าสินทรัพย์ (Lessor) ยินยอมให้ผู้เช่าสินทรัพย์ (Lessee) มีสิทธิใช้ประโยชน์จากสินทรัพย์ตามที่ทำสัญญาไว้ ภายในระยะเวลาที่กำหนด โดยได้รับค่าเช่าเป็นการตอบแ

NPV----MIRR

บริษัท L จำกัด กำลังพิจารณาโครงการผลิตสินค้าชนิดหนึ่งออกสู่ตลาด โดยที่บริษัทต้องลงทุนซื้อเครื่องจักรในราคา 680,000 บาท ค่าขนส่งเครื่องจักร 10,000 บาท ค่าติดตั้งเครื่องจักร10,000 บาท เครื่องจักรมีอายุการใช้งาน 5 ปี มีมูลค่าซาก 100,000 บาท ในการผลิตสินค้าจะมีค่าใช้จ่ายในการดำเนินงาน (ไม่รวมค่าเสื่อมราคา) ปีละ 300,000 บาท บริษัทต้องลงทุนในสินทรัพย์หมุนเวียนสุทธิเพิ่มขึ้นอีกในตอนเริ่มต้นโครงการเป็นเงิน 90,000 บาท และจะได้รับเงินจำนวนนี้กลับคืนมาเมื่อสิ้นสุดโครงการในปลายปีที่ 5 บริษัทคาดว่าสามารถผลิตสินค้าออกขายได้ปีละ 640,000 บาท ค่าเสื่อมราคาเครื่องจักรคิดตามวิธีเส้นตรง และบริษัทต้องเสียภาษีเงินได้ในอัตรา 30 %
บริษัทควรจะดำเนินการตามโครงการนี้หรือไม่ ให้พิจารณาโดยใช้ วิธี
(1) Payback Period : (ระยะเวลาคืนทุนไม่เกิน 3 ปี)
(2) Discounted Payback Period (ระยะเวลาคืนทุนไม่เกิน 3 ปี อัตราผลตอบแทนที่ต้องการ 12 %)
(3) Net Present Value (NPV) : (อัตราผลตอบแทนที่ต้องการ 12 %)
(4) Internal Rate of Return (IRR) : (อัตราผลตอบแทนที่ต้องการ 12 %)
(5) Modified Internal Rate of Return (MIRR) : (อัตราผลตอบแทนที่ต้องการ 12 %)

เฉลย Chapter 11: ข้อ 2

I กระแสเงินสดจ่ายลงทุนสุทธิ:
เครื่องจักร (680,000) บาท
ค่าขนส่ง (10,000)
ค่าติดตั้ง (10,000)
NWC ที่เพิ่มขึ้น (90,000)
รวม (790,000)
II กระแสเงินสดจากการดำเนินงานตลอดอายุโครงการ
ปีที่ 1-4 ปีละ . ปีที่ 5 .
รายได้ 640,000 640,000
ค่าใช้จ่าย 300,000 300,000
ค่าเสื่อมราคา 120,000 120,000
กำไรจากการดำเนินงาน 220,000 220,000
หัก ภาษีเงินได้ 30% 66,000 66,000
กำไรสุทธิ 154,000 154,000
บวก ค่าเสื่อมราคา 120,000 120,000
กระแสเงินสดจากการดำเนินงาน 274,000 274,000

III กระแสเงินสดของปีสุดท้าย(ปีที่ 5) :
มูลค่าซาก 100,000
NWC ที่ได้รับกลับคืนมา 90,000
รวมกระแสเงินสดของปีที่ 5 464,000

IV กระแสเงินสดสุทธิของโครงการ :
. 0 1 2 3 4 5 .
-790,000 274,000 274,000 274,000 274,000 464,000

V ผลการวิเคราะห์โครงการ :
1. PAYBACK PERIOD = 2 + 242,000/274,000 = 2.88 ปี
(ยอมรับโครงการเพราะไม่เกิน 3 ปี)
2. DISCOUNTED PAYBACK PERIOD
= 3 + 131,898 / 174,132
= 3.76 ปี
(ไม่ยอมรับโครงการเพราะเกิน 3 ปี)

. 0 1 2 3 4 5 .
-790,000 274,000 274,000 274,000 274,000 464,000

PRESENT VALUE AT 12 %

-790,000 244,643 218,431 195,028 174,132 263,286

V ผลการวิเคราะห์โครงการ (ต่อ) :
3. NPV12% = 305,519.78 บาท
(ยอมรับโครงการเพราะNPVมีค่าเป็นบวก)
4. IRR = 25.52%
( ยอมรับโครงการเพราะIRRมีค่ามากกว่า 12%)
5. MIRR = 19.57%
(ยอมรับโครงการเพราะMIRRมีค่ามากกว่า 12%)

การคำนวณค่าเสื่อมราคาตามวิธีเส้นตรง
ค่าเสื่อมราคา = (ราคาทุน – มูลค่าซาก) / อายุการใช้งาน
= (700,000 – 100,000) / 5
= 120,000 บาท ต่อปี
NPV
NPV = 274,000(PVIFA 12%,4) + 464,000(PVIF12%,5) – 790,000
= 274,000(3.0373) + 464,000(0.5674) – 790,000
= 832,220 + 263,274 – 790,000
= 1,095,494 – 790,000
= 305,494 บาท
ยอมรับโครงการเพราะ NPVมีค่าเป็นบวก
(หมายเหตุ : ค่าNPV คลาดเคลื่อนจากการใช้เครื่องคิดเลขทางการเงิน
เพราะใช้ตัวเลขจากตารางPresent Value ซึ่งมีการปัดเศษ)
MIRR
0 k=12% 1 2 3 4 5 .
-790,000 274,000 274,000 274,000 274,000 464,000
306,880
343,706
384,950
431,144
790,000 1,930,680

0 = NPV

พันธบัตร และมูลค่าพันธบัตร

พันธบัตร (Bonds) .เป็นสัญญาระยะยาวซึ่งผู้กู้ ตกลงที่จะชำระดอกเบี้ยและเงินต้น ตามเวลาที่กำหนดให้แก่ผู้ถือพันธบัตรนั้น ซึ่งสามารถแบ่งออกได้เป็น 4 ประเภท คือ
1.พันธบัตรรัฐบาล (Treasury bonds or Government bonds) ออกโดยรัฐบาลกลาง เป็นพันธบัตรชั้นดี มีรัฐบาลเป็นประกัน 2.พันธบัตรของรัฐ (Municipal bonds) ออกโดยรัฐบาลท้องถิ่น พันธบัตรประเภทนี้จะไม่ต้องเสียภาษีให้รัฐบาลกลางและรัฐบาลท้องถิ่น
2.พันธบัตรของบริษัทเอกชน(Corporate bonds) มีความเสี่ยงที่จะไม่สามารถจ่ายดอกเบี้ยและคืนเงินต้นได้ ที่เรียกว่า Default risk (บางครั้งเรียกว่า Credit risk) 4.พันธบัตรต่างประเทศ (Foreign bonds) นอกจากจะมี Default risk และยังมีความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยนด้วย
Par Value คือ มูลค่าที่ตราไว้ (Face Value) .เป็นราคาที่กำหนดไว้ต่อพันธบัตรหนึ่งฉบับ
Coupon Interest Rate คือ อัตราดอกเบี้ยที่กำหนดไว้
Floating rate bonds คือ อัตราดอกเบี้ยชนิดลอยตัว...อัตราดอกเบี้ยจะมีการเปลี่ยนแปลงและปรับตามระยะเวลา เช่น ทุก 6 เดือน
Zero coupon bonds คือ พันธบัตรที่ไม่ได้ระบุดอกเบี้ยเอาไว้ แต่จะออกจำหน่ายในราคาที่ต่ำ หรือเรียกว่า Discount
Original Issue Discount bonds (OID) คือ พันธบัตรที่จำหน่ายครั้งแรกในราคาที่ต่ำกว่ามูลค่าที่ตราไว้
Maturity Date คือ วันครบกำหนดไถ่ถอน
Call Provision คือ เงื่อนไขในการเรียกคืนพันธบัตร โดยที่พันธบัตรที่ออกโดยบริษัทเอกชนส่วนใหญ่ จะกำหนดเงื่อนไขให้สามารถไถ่ถอนพันธบัตรคืนได้ก่อนวันครบกำหนด
Call Premium คือ ราคาที่สูงกว่ามูลค่าที่ตราไว้ เมื่อมีการไถ่ถอนพันธบัตรก่อนครบกำหนด ซึ่ง premium นี้จะลดลงในอัตราส่วนที่คงที่ คือ ลดลงเท่ากับ INT / N
Sinking Funds คือ เงินทุนที่ตั้งขึ้นเพื่อไถ่ถอนพันธบัตร หรือเพื่อวัตถุประสงค์ใดอย่างหนึ่ง เช่น ตัดหนี้ โดยตัดส่วนของกำไรไปไถ่ถอน Bonds ไปเรื่อยๆ
Convertible bonds คือ พันธบัตรที่สามารถแปลงสภาพเป็นหุ้นสามัญได้ในราคาที่กำหนด และเป็นสิทธิของผู้ถือพันธบัตรว่าจะแปลงสภาพหรือไม่ ซึ่งจะมีอัตราดอกเบี้ยต่ำกว่าพันธบัตรที่ไม่สามารถแปลงสภาพได้
Income bonds คือ พันธบัตรที่จ่ายดอกเบี้ย เมื่อบริษัทมีกำไร
พันธบัตรควบเอกสารสิทธิ (Warrants) คือ สิทธิที่ให้ผู้ถือสามารถซื้อหุ้นสามัญได้ ในราคาที่กำหนด โดยปกติจะมีอัตราดอกเบี้ยต่ำกว่าพันธบัตรธรรมดา (Straight bonds)
Indexed or Purchasing power bonds คือ พันธบัตรที่มักจะใช้ในประเทศที่มีอัตราเงินเฟ้อสูงๆ เช่น บราซิล อิสราเอล
การประเมินมูลค่าพันธบัตร...
0 1 2 3 4 N (ปี)
kd
Value (VB) INT INT INT INT INT + M
VB = มูลค่าของพันธบัตร (ตามทฤษฎี)
INT = จำนวนดอกเบี้ยต่องวด
M = มูลค่าที่ตราไว้ (Par Value)
Kd = อัตราผลตอบแทนที่ต้องการจากพันธบัตร
วิธีคิด ...จากสูตร...VB = INT(PVIFAi%,N) + M(PVIFi%,N) หรือคิดหามูลค่าปัจจุบันตามบทที่ 6 หรือใช้วิธีกดเครื่องโดยใส่ PMT=INT
Premium bond คือ พันธบัตร ซึ่งมีราคาสูงกว่ามูลค่าที่ตราไว้ จะเกิดขึ้นเมื่อ kd < i (coupon rate) ทำให้ราคาของพันธบัตรสูงกว่ามูลค่าที่ตราไว้ และราคาจะลดลงตามลำดับ เมื่อเวลาผ่านไป จนเท่ากับมูลค่าที่ตราไว้ (Par value)
Discount bond คือ พันธบัตร ซึ่งมีราคาสูงกว่ามูลค่าที่ตราไว้ จะเกิดขึ้นเมื่อ kd > i (coupon rate) ทำให้ราคาของพันธบัตรต่ำกว่ามูลค่าที่ตราไว้ และราคาจะเพิ่มขึ้นตามลำดับ เมื่อเวลาผ่านไป จนเท่ากับมูลค่าที่ตราไว้ (Par value)
ถ้า kd = i (coupon rate) พันธบัตรจะมีราคาเท่ากับมูลค่าที่ตราไว้ สรุปได้ว่า ...เมื่ออัตราดอกเบี้ยในท้องตลาดสูงขึ้น ราคาพันธบัตรจะลดลง และ Vice versa
Bond Yields คือ ผลตอบแทนจากพันธบัตร ซึ่งสามารถคำนวณหาได้ด้วยวิธีการที่แตกต่างกัน 3 วิธี ดังต่อไปนี้
Yield to Maturity (YTM) …อัตราผลตอบแทนเมื่อถือพันธบัตรจนครบกำหนดไถ่ถอน (YTM จะเป็นอัตราผลตอบแทนเฉลี่ยต่อปี) วิธีการคิด ก็คือการกดเครื่องหาค่า i หรือคือค่า kd นั่นเอง เช่น
14 N -1,494.96 PV 100 PMT 1,000 FV CPT i EXE
Yield to Call (YTC) คือ อัตราผลตอบแทนเมื่อถือพันธบัตรจนถูกเรียกคืน (คิดเหมือน YTM แต่ดูที่เงื่อนไขที่โจทย์ให้มา แล้วเปลี่ยนแปลงตัวเลขตามสถานการณ์)
Current Yield คือ อัตราผลตอบแทนในปัจจุบันของพันธบัตร .ดอกเบี้ยจ่ายต่อปีของพันธบัตร หารด้วยราคาตลาด ณ ปัจจุบันของพันธบัตร เช่น พันธบัตรชนิดอัตราดอกเบี้ย 10% ราคาจำหน่ายในขณะนี้คือ ฉบับละ 985 บาท เพราะฉะนั้น Current yield = 100985 = 10.15%
สมมติว่า มีการจ่ายดอกเบี้ยพันธบัตรปีละ 2 ครั้งจะทำอย่างไร?
คำตอบก็คือ คิดเหมือนกันในการคิดดอกเบี้ยทบต้นจ่ายปีละหลายครั้งนั่นแหละ เช่น พันธบัตรชนิดอัตราดอกเบี้ย 10% ฉบับละ 1,000 บาท จ่ายดอกเบี้ยทุก 6 เดือน กำหนดไถ่ถอน 15 ปี อัตราผลตอบแทนที่ต้องการ (kd) =5% พันธบัตรนี้จะมีมูลค่า เท่ากับ 1,523.26 บาท คิดโดยการกดเครื่อง โดยที่ N=15 แต่จ่ายดอกปีละ 2 ครั้งก็คูณสอง ได้ N=30 kd ที่ต้องการเท่ากับ 5% แต่จ่ายปีละ 2 ครั้ง ก็หาร 2 ก่อน ได้ kd=2.5%
30 N 2.5 i 50 PMT 1,000 FV CPT PV EXE
ความเสี่ยงของพันธบัตร ก็คือ อัตราดอกเบี้ยที่มีการเคลื่อนไหวขึ้นลงตลอดเวลา โดยแยกเป็น
1. Price Risk or Interest Rate Risk (ความเสี่ยงในด้านราคาหรืออัตราดอกเบี้ย) …คือ เมื่อดอกเบี้ยในตลาดสูงขึ้น ทำให้ kd สูงขึ้นด้วย ทำให้ราคาพันธบัตรลดลง ซึ่งผู้ถือจะพบกับความเสี่ยงอันเนื่องมาจากราคาพันธบัตรลดลง (Capital loss) วิธีลดความเสี่ยง คือ การถือพันธบัตรระยะสั้น
2. Reinvestment Rate Risk (ความเสี่ยงของอัตราผลตอบแทนจากการลงทุนใหม่) ...คือ เมื่ออัตราดอกเบี้ยในตลาดลดลง ผู้ออกก็จะไถ่ถอนพันธบัตรก่อนครบกำหนด ผู้ถือก็จะได้เงินต้นคืน แต่เมื่อนำเงินไปลงทุนในพันธบัตรชุดใหม่ก็จะได้รับอัตราผลตอบแทนต่ำกว่าเดิม ทั้งนี้ก็เนื่องจากดอกเบี้ยในตลาดที่ต่ำนั่นเอง วิธีลดความเสี่ยง คือ การถือพันธบัตรระยะยาว (ขอให้สังเกตว่า ..ถ้าเราลดความเสี่ยงชนิดหนึ่ง ก็จะไปเพิ่มความเสี่ยงอีกชนิดหนึ่ง)
Default Risk คือ ความเสี่ยงที่จะไม่สามารถชำระดอกเบี้ยและเงินต้นคืน ...Default risk สูง ราคาพันธบัตรต่ำ และอัตราดอกเบี้ยที่ตราไว้สูงด้วย, vice versa
ประเภทของพันธบัตร
พันธบัตรจำนอง (Mortgage Bonds) คือ ผู้ออกจะใช้หลักทรัพย์ ส่วนใหญ่เป็นสินทรัพย์ถาวร ค้ำประกันพันธบัตรนั้น
พันธะสัญญา (Indenture) คือ ข้อตกลงอย่างเป็นทางการหรือเป็นสัญญาตามกฎหมาย ซึ่งสัญญานี้จะมีลักษณะเป็นแบบ Open ended ซึ่งบริษัทสามารถออกพันธบัตรชุดใหม่ได้ตลอดเวลา ภายใต้ข้อตกลงในปัจจุบัน จะถูกจำกัดโดยเปอร์เซ็นของหลักทรัพย์ค้ำประกันนั่นเอง
หุ้นกู้ (Debenture) คือ พันธบัตรระยะยาว ซึ่งไม่มีหลักทรัพย์ค้ำประกัน มีความเสี่ยงสูง และจ่ายดอกเบี้ยสูงด้วยเช่นกัน
หุ้นกู้ด้อยสิทธิ (Subordinated Debenture) .จะมีสิทธิในสินทรัพย์หรือสิทธิเรียกร้อง ต่อเมื่อผู้ออกได้ชดใช้หนี้ให้แก่เจ้าหนี้ประเภทอื่นหมดสิ้นแล้ว
Convertible bonds คือ พันธบัตรที่สามารถแปลงสภาพเป็นหุ้นสามัญได้ในราคาที่กำหนด และเป็นสิทธิของผู้ถือพันธบัตรว่าจะแปลงสภาพหรือไม่ ซึ่งจะมีอัตราดอกเบี้ยต่ำกว่าพันธบัตรที่ไม่สามารถแปลงสภาพได้
Income bonds คือ พันธบัตรที่จ่ายดอกเบี้ย เมื่อบริษัทมีกำไร
พันธบัตรควบเอกสารสิทธิ (Warrants) คือ สิทธิที่ให้ผู้ถือสามารถซื้อหุ้นสามัญได้ ในราคาที่กำหนด โดยปกติจะมีอัตราดอกเบี้ยต่ำกว่าพันธบัตรธรรมดา (Straight bonds)
Indexed or Purchasing power bonds คือ พันธบัตรที่มักจะใช้ในประเทศที่มีอัตราเงินเฟ้อสูงๆ เช่น บราซิล อิสราเอล
พันธบัตรไร้คุณภาพ (Junk bonds) คือ พันธบัตรที่มีความเสี่ยงสูง และให้ผลตอบแทนสูง โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเป็นแหล่งเงินทุนในการเข้าชื้อกิจการด้วยหนี้สิน (Leverage buyout) การควบกิจการ (Merger) หรือจำหน่ายโดยบริษัทที่กำลังประสบปัญหาการจัดอันดับของพันธบัตร ...โดยบริษัท Moody’s และ S&P
แบบฝึกหัดบทที่ 7 พันธบัตร และมูลค่าพันธบัตร
โจทย์ 7-1 Callaghan Motors’ bonds have 10 years remaining to maturity. Interest is paid annually, the bonds have a $1,000 par value, and the coupon interest rate is 8 percent.
The bonds have a yield to maturity of 9 percent. What is the current market price of these bonds ?
ตอบ
0 1 2 N (ปี) N (ปี) 10
9%
VB = ? 80 80 80 80 80
VB = 80 (PVIFA9% , 10) + $1,000 (PVIF9% , 10)
= 80 (6.4177) + $1,000 (0.4224)
= 513.42 + 422.4 = 935.82
วิธีการกดเครื่องคิดเลข Texas
10 N 9 i 80 PMT 1,000 FV CPT PV ผลลัพพ์ที่ได้ 935.82
โจทย์ 7-2 Thatcher Corporation’s bonds will mature in 10 years. The bonds have a face value of $1,000 and an 8 percent coupon rate, paid semiannually. The price of the bonds
is $1,100. The bonds are callable in 5 years at a call price of $1,050. What is the yield to maturity ? What is the yield to call ?
ตอบ
0 1 2 N (ปี) N (ปี) 20

$1,100 40 40 40 40 1,000
Kd = YTM ?
VB = INT (PVIFAi , n) + M (PVIFi , n)
$1,100 = 40 (PVIFAKd , 20) + $1,000 (PVIFKd , 20)
Kd = 3% + 0.33%
YTM = 3.33% x 2 = 6.66%
วิธีการกดเครื่องคิดเลข Texas
20 N -1,100 PV 40 PMT 1,000 FV CPT I/Y ผลลัพพ์ที่ได้ 3.31 แล้วคูณ 2 = 6.66%
Kd = YTC ?
VB = INT (PVIFAi , n) + M (PVIFi , n)
$1,100 = 40 (PVIFAKd , 10) + $1,050 (PVIFKd , 10)
Kd = 3% + 0.25%
YTM = 3.25% x 2 = 6.50%
วิธีการกดเครื่องคิดเลข Texas
10 N -1,100 PV 40 PMT 1,000 FV CPT I/Y ผลลัพพ์ที่ได้ 3.24 แล้วคูณ 2 = 6.48%
โจทย์ 7-30 ซื้อพันธบัตรมูลค่าที่ตราไว้ (par value) 1,000 บาท อัตราดอกเบี้ย 10% อายุ 14 ปี ในราคา 1,494.93 บาท และถือไว้จนครบกำหนด อัตราผลตอบแทนจากการถือพันธบัตร (YTM) ปีละไหร่
ตอบ วิธีการกดเครื่องคิดเลข Texas
14 N -1,494.93 PV 100 PMT 1,000 FV CPT I/Y ผลลัพพ์ที่ได้ = 5%

โจทย์ 7-35 พันธบัตรมูลค่าที่ตราไว้ 1,000 บาท อัตราดอกเบี้ย 10% ภายหลังการออกจำหน่ายจะเรียกไถ่ถอนคืนได้ภายใน 10 ปี ราคาไถ่ถอน 1,100 บาท เมื่อออกจำหน่ายแล้ว 1 ปี อัตราดอกเบี้ยของ
ตลาดลดลงเหลือ 5% ทำให้ราคาซื้อ / ขายพันธบัตรสูงขึ้นเป็น 1,494.93 บาท ผู้ลงทุนที่ซื้อพันธบัตรในราคา 1,494.93 บาท ถือไว้ 9 ปีจนกว่าจะถูกไถ่ถอนคืนจะได้รับอัตราผลตอบแทนเท่าไหร่
ตอบ วิธีการกดเครื่องคิดเลข Texas
9 N -1,494.93 PV 100 PMT 1,000 FV CPT I/Y ผลลัพพ์ที่ได้ = 4.21%

โจทย์ 7-39 พันธบัตรอัตราดอกเบี้ย 10% จ่ายดอกเบี้ยปีละ 2 ครั้ง ราคาที่ตราไว้ 1,000 บาท กำหนดไถ่ถอน 15 ปี อัตราผลตอบแทนที่ต้องการ 5% จะซื้อพันธบัตรนี้ในราคาเท่าใด
ตอบ วิธีการกดเครื่องคิดเลข Texas
30 N 2.5 I/Y 50 PMT 1,000 FV CPT PV ผลลัพพ์ที่ได้ = 1,523.26

Popular Posts