Custom Search

วันจันทร์ที่ 25 ตุลาคม พ.ศ. 2553

ความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับบัญชีต้นทุน

การจัดแบ่งประเภทต้นทุน
3.1.1 การจัดแบ่งประเภทต้นทุนตามหน้าที่การผลิต โดยการแบ่งต้นทุนตามหน้าที่ดังนี้ คือ
1. วัตถุทางตรง (Direct Materials)
2. ค่าแรงงานทางตรง (Direct Labour)
3. ค่าใช้จ่ายการผลิต (Manufacturing Overhead)
1. วัตถุทางตรง (Direct Materials) หมายถึง วัตถุดิบที่เป็นส่วนประกอบที่สำคัญของสินค้าสำเร็จรูปสามารถวัดจำนวนได้ง่าย และสังเกตเห็นได้ชัดว่าเป็นส่วนประกอบของสินค้า
2. ค่าแรงงานทางตรง (Direct Labour) หมายถึง แรงงานที่เกิดขึ้นโดยตรงในการนำวัตถุดิบมาแปรสภาพให้เป็นสินค้าสำเร็จรูป สามารถระบุได้ว่าค่าแรงนั้นเกิดขึ้นจากสินค้าชนิดใด เป็นจำนวนเท่าใด และคำนวณเป็นต้นทุนต่อหน่วยของสินค้าที่ผลิต
3. ค่าใช้จ่ายการผลิต (Manufacturing Overhead) หมายถึง ต้นทุนในการผลิตทั้งหมดยกเว้นวัตถุทางตรงและค่าแรงงานทางตรง เช่น วัตถุทางอ้อม ค่าแรงทางอ้อม ค่าน้ำประปา ค่าไฟฟ้าและแสงสว่าง ค่าประกันภัยโรงงาน ฯลฯ
3.1.2 การจัดแบ่งประเภทต้นทุนพฤติกรรมต้นทุน
เพื่อจะนำต้นทุนไปใช้ในการควบคุมและวางแผนพฤติกรรมต้นทุน เพราะจะเป็นแนวทางชี้ให้เห็นว่าต้นทุนนั้นมีความสัมพันธ์กับระดับกิจกรรมอย่างไร พฤติกรรมของต้นทุนสามารถแยกได้ดังนี้
1. ต้นทุนผันแปร
2. ต้นทุนคงที่
3. ต้นทุนกึ่งผันแปร
1. ต้นทุนผันแปร (Variable Cost) หมายถึง ต้นทันที่เปลี่ยนแปลไปเป็นอัตราส่วนโดยตรงกับการเปลี่ยนแปลระดับกิจกรรมหรือหน่วยผลิต เช่น ถ้าทำการผลิตมาก ต้นทุนประเภทนี้จะมาก หรือถ้าทำการผลิตน้อยทุนประเภทนี้จะเกิดขึ้นน้อย
สรุป ต้นทุนผันแปราจะมีลักษณะยอดรวมเปลี่ยนแปลงไปตามระดับกิจกรรม หรือหน่วยผลิตแต่ต้นทุนผันแปรต่อหน่วยจะคงที่
2. ต้นทุนคงที่ (Fixed Cost) หมายถึง ต้นทุนที่มีลักษณะคงที่ไม่เปลี่ยนแปลงไปตามระดับการผลิต ซึงจะมีจำนวนรวมคงที่ตลอดช่วงการผลิต เช่น โรงงานผลิตน้ำผลไม้กระป๋อง ต้องจ่ายค่าเช่าโรงงานต่อเดือน เดือนละ 20,000 บาท ไม่ว่าโรงงานจะผลิตน้ำผลไม้กระป๋องเป็นจำนวนเท่าใด หรือโรงงานเย็บเสื้อผ้าสำเร็จรูปต้องจ้างผู้จัดการโรงงานมาเพื่อคุมงาน โดยจ้างผู้จัดการโรงงานเดือนละ 50,000 บาทถึงแม้ว่าโรงงานจะผลิตเสื้อเป็นจำนวนเท่าใดทางโรงงานก็ต้องจ่ายเงินเดือนผู้จัดการโรงงาน 50,000 บาททุกเดือน
ต้นทุนคงที่ในการผลิต ได้แก่ เงินเดือนผู้จัดการโรงงาน เงินเดือนคนทำความสะอาดโรงงาน เงินเดือนยามเฝ้าโรงงาน ค่าเสื่อมราคาเครื่องจักร ฯลฯ
ต้นทุนในการขายและบริหาร ได้แก่ เงินเดือนผู้จัดการสำนักงาน เงินเดือนคนทำความสะอาดสำนักงาน เงินเดือนพนักงานขาย ค่าเสื่อมราคาเครื่องใช้สำนักงาน ฯลฯ
สรุป ต้นทุนคงที่จะมีลักษณะยอดรวมไม่เปลี่ยนแปลงไปตามระดับกิจกรรม หรือจำนวนหน่วยผลิต แต่ต้นทุนคงที่ต่อหน่วยจะเปลี่ยนแปลงไปตามระดับกิจกรรม หรือจำนวนหน่วยผลิต ตัวอย่างในโรงงานเย็บเสื้อผ้าสำเร็จรูปต้องจ้างผู้จัดการโรงงานมาเพื่อคุมงานโดยจ่ายเงินเดือนละ 50,000 บาท หากโรงงานผลิตสินค้างวดนี้จำนวน 2,000 หน่วย ต้นทุนคงที่จะคิดเข้าเป็นต้นทุนสินค้าต่อหน่วยเท่ากับ 50,000 = 25 บาท
2,000
3. ต้นทุนกึ่งผันแปร (Semi Variable Cost) เป็นการเพิ่มขึ้นของต้นทุนผันแปรในอัตราของการเพิ่มที่ไม่คงที่ซึ่งอาจเพิ่มขึ้นในอัตราการเพิ่มที่เพิ่มขึ้นหรือเพิ่มในอัตราที่ลดลง
ต้นทุนกึ่งผันแปรสามารถแบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ ต้นทุนผสม (Mixed Cost) และต้นทุนชั้น (Step Cost)

0 ความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

Popular Posts