Custom Search

วันจันทร์ที่ 29 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553

ตลาดทุน (Capital Market)

- แหล่งเงินทุน ที่กิจการสามารถเข้าไประดมเงินทุนจากผู้ลงทุนทั่วไป เพื่อนำไปใช้ในกิจการนอกเหนือไปจาก การกู้ยืมเงินจากธนาคารพาณิชย์
- วิธีการระดมทุน ได้แก่ การออกตราสารเพื่อการลงทุนประเภทต่าง ๆ และเสนอขายตราสารนั้นให้แก่ผู้ถือหุ้นและผู้ลงทุนทั่วไป ทั้งในตลาดแรกและตลาดรอง
- การเสนอขายประชาชนทั่วไป ต้องเป็นไปตามขบวนการที่กฎหมายกำหนด

ตลาดแรก และ ตลาดรอง

ตลาดแรก (Primary Market) คือ แหล่งเงินทุนอันดับแรก ที่กิจการสามารถระดมทุนได้ จากบรรดาผู้ถือหุ้นของกิจการ ไม่ว่าจะเป็นผู้ถือหุ้นเดิมหรือผู้ถือหุ้นใหม่หลังการทำ Public Offering ก่อนที่จะนำหุ้นนั้น เข้าจดทะเบียนซื้อขายในตลาดรอง
ตลาดรอง (Secondary Market) คือ แหล่งเงินทุนอันดับรอง ที่กิจการสามารถระดมทุนได้จากผู้ลงทุนทั่วไป หลังจากกิจการนั้น นำตราสารของตนเข้าทะเบียนซื้อขาย เพื่อให้ผู้ลงทุนสามารถเปลี่ยนมือ เมื่อมีความจำเป็นต้องใช้เงิน

ประเภทของตลาดรองที่สำคัญ

ตลาดตราสารทุน (Stock Market หรือ Equity Market) คือ ตลาดตราสารทุนทำหน้าที่เป็น ศูนย์กลางซื้อขายตราสารทุน เช่น หุ้น หุ้นบุริมสิทธ์ หน่วยลงทุนตราสารทุน
ตลาดตราสารหนี้ (Bond Market หรือ Debt Market) ทำหน้าที่เป็น ศูนย์กลางซื้อขายตราสารหนี้ เช่น พันธบัตรรัฐบาล/รัฐวิสาหกิจ หุ้นกู้ และตราสารทางการเงินประเภทต่าง ๆ

ลักษณะของตลาดทุน

ตลาดมีประสิทธิภาพ (Efficient Market) คือ ตลาดที่หลักทรัพย์มีราคายุติธรรม เพราะข้อมูลข่าวสารการลงทุนชัดเจน และแพร่กระจายไปยังผู้ลงทุนอย่างรวดเร็วและทั่วถึงกัน จนไม่เกิดมี overpriced หรือ underpriced
ตลาดที่ไม่มีประสิทธิภาพ (Inefficient Market) คือ ตลาดที่ข้อมูลข่าวสารการลงทุน แพร่กระจายไม่ทั่วถึงกัน ราคาหลักทรัพย์จึงเป็นได้ทั้ง overpriced หรือ underpriced

การลงทุน และ ความสัมพันธ์ของ ผลตอบแทน (Return) และความเสี่ยง (Risk)

- การลงทุน ที่ความเสี่ยงสูงย่อมให้ อัตราผลตอบแทนสูงในระยะยาว
- การลงทุน ที่มีความเสี่ยงต่ำย่อมให้ อัตราผลตอบแทนต่ำในระยะยาว
- ผลตอบแทนในการลงทุน
Total Return = Interest Received + Dividend Received + Capital Gain
Net Return หรือ Nominal Return = Total Return - all fees
Real Return = Net Return - Inflation Rate

- ความเสี่ยงในการลงทุน
Risk = Actual Return ที่แตกต่างไปจาก Expected Return

ความเสี่ยงประเภทต่าง ๆ ที่นักลงทุนต้องวิเคราะห์

1. Macro Factor

Pervasive Risk
1. Purchasing Power Risk
2. Political (Country) Risk
3. Currency (Exchange) Risk

Systematic Risk
1. Interest Rate Risk
2. Market (Price) Risk

2. Micro Factors

Unsystematic Risk
1. Credit (Company) Risk
2. Sector (Industry) Risk

Pervasive Risk : ความเสี่ยงที่กระจายทั่วถึงกันไม่มีผู้ใดหลบพ้นได้

Purchasing Power Risk คือ ความเสี่ยงต่อการมีอำนาจซื้อลดลงในอนาคต หากภาวะเงินเฟ้อสูงขึ้น ส่วนใหญ่จะเกิดกับการลงทุนระยะยาว ที่มีอัตราผลตอบแทนคงที่ (fixed rate of return) เช่น การลงทุนในพันธบัตรรัฐบาลระยะยาว 30 ปี

Political (Country) Risk คือ ความเสี่ยงที่เกิดจากสถานการณ์การเมืองของประเทศ เช่น การสงครามแย่งชิงอำนาจ การปรับเปลี่ยนคณะรัฐบาล ซึ่งอาจนำมาซึ่งการเปลี่ยนแปลงนโยบายเศรษฐกิจ การเงิน การคลังของประเทศ ซึ่งจะมีผลกระทบต่อการลงทุน ไม่ว่าจะเป็นบวกหรือลบ

Pervasive Risk : ความเสี่ยงที่กระจายทั่วถึงกันไม่มีผู้ใดหลบพ้นได้

Currency (Exchange) Risk คือ ความเสี่ยงที่เกิดขึ้นจากการเปลี่ยนแปลงของอัตราแลกเปลี่ยนเงินตรา มักจะเกิดขึ้นกับกรณีของการลงทุนข้ามชาติ และมีการนำเงินสกุลอื่น เข้าไปหรือออกจากการลงทุนในประเทศหนึ่ง ๆ หากอัตราแลกเปลี่ยนมีความผันผวน การลงทุนจากต่างประเทศก็มักจะหยุดชะงักลง

ก่อนวิกฤติทางการเงิน (2539) US$ 1 = 27 บาท

ปัจจุบัน (สิงหาคม 2548) US$ 1 = 41 บาท

Systematic Risk : ความเสี่ยงที่ผู้ลงทุนไม่สามารถลดได้ โดยการกระจายการลงทุน

Interest Rate Risk คือ ความเสี่ยงที่เกิดจากการเปลี่ยนแปลงของอัตราดอกเบี้ย เพราะมีผลกระทบถึงอัตราผลตอบแทน (Yield) ของตราสารหนี้ที่ซื้อขายในตลาดรอง ในกรณีที่อัตราดอกเบี้ยสูงขึ้น ยังทำให้ต้นทุนในการผลิตของผู้ประกอบการสูงขึ้น และกำไรลดลงในระยะสั้น ส่งผลกระทบถึงกำไร

Market (Price) Risk คือ ความเสี่ยงที่เกิดจากการเปลี่ยนแปลงของสภาวการณ์ลงทุน ทั้ง ๆ ที่ปัจจัยพื้นฐานไม่เปลี่ยนแปลงส่วนใหญ่จะเห็นได้ชัดในกรณีของตลาดหุ้น เช่น การรับอิทธิพล(Sentiment) จากการเคลื่อนไหวของราคาหุ้นในตลาดหลักของโลก

Unsystematic Risk : ความเสี่ยงที่ผู้ลงทุนสามารถลดได้ โดยการกระจายการลงทุน

Credit (Company) Risk คือ ความเสี่ยงที่เกี่ยวข้องกับตัวบริษัทเอง ที่ส่งผลกระทบถึงความสามารถในการจัดการ การแข่งขันในเชิงตลาด ความสามารถในการทำกำไร หรือความสามารถในการชำระหนี้ รวมถึงความเสียหายโดยภัยพิบัติ การถูกฟ้องร้องดำเนินคดี

0 ความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

Popular Posts