หุ้นหรือตราสารทุน เป็นหนึ่งในทางเลือกการลงทุนที่ได้รับความนิยมจากนักลงทุนชาวไทยมากขึ้นเป็นลำดับ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วงสามถึงสี่ปีที่ผ่านมาที่ผลตอบแทนจากดอกเบี้ยเงินฝากของธนาคารพาณิชย์อยู่ในอัตราที่ต่ำนั้น มีนักลงทุนรายย่อยจำนวนมากเลือกที่จะเข้ามาแสวงหาผลตอบแทนการลงทุนที่สูงกว่าในตลาดหลักทรัพย์
แต่อย่างไรก็ดี การลงทุนในตราสารทุนหรือหุ้นนั้นมีโอกาสในการให้ผลตอบแทนที่สูงแต่ก็มีระดับความความเสี่ยงที่สูงสอดคล้องกันไปตามกฎ High Risk High Return
ดังนั้นการลงทุนในหุ้นนักลงทุนทั่วไปจึงมักจะใช้เกณฑ์ในการพิจารณาในเรื่องของความเสี่ยงเป็นองค์ประกอบ ซึ่งความเสี่ยงของตราสารทุน สามารถแยกออกเป็น 3 ประเภทที่สำคัญได้ ดังนี้ คือ
ความเสี่ยงจากหลักทรัพย์หรือองค์กร
คือความเสี่ยงที่เกี่ยวกับบริษัทในตลาดหลักทรัพย์ที่นักลงทุนเลือกลงทุน ซึ่งเกิดจากสาเหตุทั้งภายในและภายนอกที่ผู้ลงทุนยากที่จะคาดการณ์ล่วงหน้า หรือรับทราบข้อมูลก่อนได้ เช่น
• การเปลี่ยนแปลงคณะกรรมการหรือผู้บริหารสำคัญของบริษัท ที่มีผลให้เกิดการเปลี่ยนแปลงของนโยบายการดำเนินงานของกิจการ หรือความเชื่อมั่นของตลาดและนักลงทุนทั่วไป
• ความผิดพลาดในการบริหารรวมถึงความเสียหายอันเนื่องมาจากกระบวนการผลิตและคุณภาพของสินค้า ที่ส่งผลให้เกิดความเสียหายและความสูญเสียต่อกิจการซึ่งแน่นอนย่อมที่จะมีผลกระทบกับราคาหุ้นที่ผู้ถือหุ้นถือครอง
• การแข่งขันในธุรกิจ ซัพพลายเออร์ และการดำเนินกิจกรรมทางการตลาดของคู่แข่งขัน ที่มีผลกระทบต่อผลประกอบการ ทั้งในส่วนของยอดขาย ต้นทุน หรือกำไรของกิจการ
• ความเปลี่ยนแปลงทางการตลาดของสินค้าหรือบริการ เช่นสินค้าบางชนิดที่ได้รับผลกระทบจากความนิยมของผู้บริโภคที่เปลี่ยนไปอย่างรวดเร็ว ทั้งนี้อาจสืบเนื่องจากการออกผลิตภัณฑ์หรือบริการใหม่ของคู่แข่งขัน หรือเกิดความเปลี่ยนแปลงในเรื่องนวัตกรรมใหม่ของผลิตภัณฑ์ ที่ส่งผลกระทบต่อปริมาณการขายและรายได้ของกิจการ
• ความเสียหายจากภัยธรรมชาติต่างๆ ที่มีผลให้กระบวนผลิตและการดำเนินงานของกิจการได้รับผลกระทบ เช่นการเกิดกรณีน้ำท่วมทำให้โรงงานไม่สามารถดำเนินการได้ เป็นต้น
• ผลกระทบจากปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย เช่นการถูกฟ้องร้องดำเนินคดี ซึ่งส่งผลต่อความน่าเชื่อถือของกิจการ เช่นการผลิตสินค้าที่มีปัญหาจนต้องถูกเรียกเก็บคืนจากผู้จัดจำหน่าย
ความเสี่ยงจากปัจจัยประเภทธุรกิจหรือกลุ่มอุตสาหกรรม
คือความเสี่ยงที่เกิดจากปัจจัยลบเฉพาะที่เกี่ยวข้องกับภาคธุรกิจหรือกลุ่มอุตสาหกรรมนั้นๆโดยตรง เช่น กฎหมายบางฉบับที่มีผลโดยตรงต่อสินค้าบางประเภทดังกรณีการห้ามโฆษณาประชาสัมพันธ์เครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ธุรกิจสัมปทานบางกรณีที่มีปัญหาในเรื่องของการตีความกฎหมายหรือมีความเสี่ยงต่อการถูกถอดถอนสัมปทาน หรือธุรกิจส่งออกสินค้าบางประเภทที่ได้รับผลกระทบโดยตรงจากข้อจำกัดพิเศษจากประเทศที่นำเข้าสินค้านั้นเป็นหลัก ซึ่งปัจจัยลบที่มีผลกระทบโดยตรงกับประเภทธุรกิจหรือกลุ่มอุตสาหกรรมโดยตรงในลักษณะนี้ แม้ในภาพกว้างจะไม่ส่งผลกระทบทางเศรษฐกิจหรือตลาดหุ้นโดยรวมเท่าใดนัก แต่ในระดับธุรกิจหรือเฉพาะอุตสากรรมจะได้รับความเสียหายที่ชัดเจน กระทั่งในบางกรณีอาจกระทบต่อราคาหุ้นได้อย่างรุนแรงดังที่ปรากฎเป็นข่าวใหญ่โตขึ้นเป็นครั้งคราวทั้งในและต่างประเทศตลอดหลายปีที่ผ่านมา
การวิเคราะห์สภาพแวดล้อมภายใน (Internal Environmental Analysis)
-
สภาพแวดล้อมภายนอกมีอิทธิพลต่อองค์การอย่างมากก็จริง
แต่ผู้บริหารต้องมีความเข้าใจและสามารถจัดการปัจจัยภายในองค์การด้วยการดาเนินงานจึงจะบรรลุเป้าหมาย
การวิเคร...
5 ปีที่ผ่านมา
0 ความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น