Custom Search

วันจันทร์ที่ 29 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553

นโยบายเงินปันผล

1. การจ่ายเงินปันผลจะเป็นตัวกำหนดแหล่งเงินทุนระยะยาวจากภายในกิจการ เพราะเงินปันผลจะจ่ายจากกำไรสะสม
2. ประเด็นที่ต้องพิจารณาในการจ่ายเงินปันผล
- กิจการควรจ่ายปันผลเป็นอะไร เช่น เงินสด หรือ หุ้นปันผล
- กำหนดนโยบายการจ่ายเงินปันผลในลักษณะใดจึงจะเหมาะสม
- ควรมีอัตราการจ่ายเงินปันผลเป็นร้อยละเท่าใดของกำไรสุทธิหรือเป็นจำนวนเงินเท่าใด
3. วัตถุประสงค์ของการกำหนดนโยบายเงินปันผล
- เพื่อผลตอบแทนที่ดีที่สุดแก่ผู้ถือหุ้นในระยะยาว
- เพื่อโครงสร้างเงินทุนที่เหมาะสมของกิจการ

แบบของการจ่ายเงินปันผล
- การจ่ายเงินปันผลเป็นเงินสด
- การจ่ายเป็นหุ้นปันผล
- การแตกหุ้นและซื้อหุ้นคืน
- การจ่ายสินทรัพย์ปันผล
- การจ่ายปันผลในรูปของภาระหนี้สิน เช่น หุ้นกู้ปันผล

เงินสดปันผล (Cash Dividends)

1. ผู้ถือหุ้น
- สะดวก
- เป็นที่นิยมสามารถนำเงินสดไปใช้ได้ทันที

2. บริษัท
- กระทบกระแสเงินสดของบริษัท
- บางกรณีอาจจะต้องกู้เงินมาและเกิดภาระดอกเบี้ยจ่ายเกิดขึ้น

3. นโยบายเงินปันผล
- จ่ายต่อหุ้นคงที่
- จ่ายปันผลในอัตราคงที่ (กำหนดเป็นอัตราร้อลยะของกำไรสุทธิที่คงที่)
- จ่ายเป็นขั้นต่ำบวกปันผลพิเศษ
- กำหนดอัตราการจ่ายเงินปันผลเป้าหมาย

การจ่ายหุ้นปันผล (Stock Dividends)

- ส่วนมากจะกำหนดเป็นอัตราร้อยละของมูลค่าหุ้นสามัญ เช่น จ่ายหุ้นปันผล 10% หมายความว่า มีหุ้นสามัญอยู่ 100 ล้านหุ้น ก็จะจ่ายปันผลเป็นหุ้นจำนวน 10 ล้านหุ้น ก็จะทำให้มีหุ้นในตลาดเท่ากับ 110 ล้านหุ้น
- มุ่งที่จะเก็บเงินสดไว้เพื่อการลงทุน
- ข้อดี : เงินที่ไม่ได้นำไปจ่ายปันผลจะถูกนำไปลงทุนต่อ ซึ่งก่อให้เกิดรายได้ทำให้บริษัทสามารถขยายตัวได้ตามแผน ผลคือกำไรต่อหุ้นสูงขึ้น ราคาของหุ้นก็จะสูงขึ้นตา

ผลกระทบการจ่ายหุ้นปันผลที่มีต่อผู้ถือหุ้น

1. ผลกระทบต่อกำไรต่อหุ้น : กำไรต่อหุ้นละลดลง (Dilution effect)
2. ผลกระทบต่อราคาหุ้น : ราคาตลาดหุ้นสามัญต่อหุ้นอาจจะลดลง
3. ผลกระทบต่อเงินปันผลในอนาคต :
- ได้รับเงินปันผลเพิ่มขึ้น กรณีที่ยังคงรักษาจำนวนเงินปันผลต่อหุ้นในอัตราเท่าเดิม
- ได้รับเงินปันผลต่อหุ้นน้อยลง กรณีที่รักษาจำนวนเงินรวมที่ต้องจ่ายเท่าเดิมก่อนที่จะมีการจ่ายปันผล

ผลกระทบการจ่ายหุ้นปันผลที่มีต่อบริษัท

ข้อดี :
- บริษัทสามารถใช้ผลกำไรเป็นทุนหมุนเวียนโดยไม่ต้องกู้ยืมเงินเพิ่ม
- บริษัทมีทุนเพิ่มขึ้น
- ราคาหุ้นในอนาคตมีแนวโน้มสูงขึ้นเนื่องจากบริษัทที่จ่ายหุ้นปันผล จะเป็นบริษัทที่กำลังขยายตัวและจำเป็นต้องใช้เงินทุนเพิ่มเติม

ข้อเสีย :
- อาจทำให้ผู้ถือหุ้นได้หุ้นปันผลไม่ครบถ้วนเพราะมีเศษหุ้น
- อาจทำให้มูลค่าหุ้นตามบัญชีลดลง ในกรณีที่คำนวณมูลค่าหุ้นจากมูลค่าตามบัญชี
- อัตราการเพิ่มกำไรต่อหุ้นมีแนวโน้มลดลง
- ค่าใช้จ่ายในการออกหุ้นปันผลจะสูงกว่าการจ่ายเงินสดปันผล

การแตกหุ้น (Stock splits)

- จะเกิดขึ้นในกรณีที่ราคาหุ้นของบริษัทที่ซื้อขายกันในตลาดมีราคาสูง รวมถึงบริษัทต้องการเงินทุนเพิ่มเพื่อการขยายกิจการ บริษัทจะทำการแตกหุ้น ซึ่งจะทำให้ราคาตลาดของหุ้นลดลง แต่จะทำให้การซื้อขายคล่องตัวขึ้น และเมื่อบริษัทออกหุ้นใหม่ เพื่อการเพิ่มทุนก็จะทำได้สะดวกขึ้น
- บริษัทที่จะทำการแตกหุ้น ส่วนมากมีราคาที่ตราไว้สูง จึงพยายามแตกหุ้นให้มีมูลค่าน้อยลงเพื่อให้สามารถซื้อขายได้สะดวกขึ้น

การซื้อหุ้นคืน (Stock repurchase)

1. การที่บริษัทนำหุ้นสามัญที่ออกจำหน่ายแล้วของบริษัทกลับคืนมา เมื่อผู้ถือหุ้นขายคืนกลับบริษัท ก็จะทำให้สัดส่วนการเป็นเจ้าของบริษัทของผู้ถือหุ้นที่ขายคืนก็จะลดลง และทำให้จำนวนหุ้นที่หมุนเวียนในตลาดลดลง
2. เหตุผลที่บริษัทตัดสินใจซื้อหุ้นกลับคืน
- บริษัทมีเงินสดเกินความต้องการ
- เพื่อปรับปรุงกำไรต่อหุ้นที่จำหน่ายออกไปให้สูงขึ้น
- ราคาตลาดของหุ้นของบริษัทต่ำกว่าราคาที่แท้จริง
- ป้องกันการซื้อกิจการจากผู้อื่น (Hostile takeover)

ผลกระทบของการซื้อหุ้นคืนในแง่ผู้บริหาร

ข้อดี
- ซื้อหุ้นคืนเพื่อชลอการจ่ายเงินปันผลและรักษาระดับการจ่ายเงินปันผลในอนาคต
- สะดวกแก่การชำระตามข้อผูกพัน เช่น เตรียมไว้เพื่อการแปลงสภาพ
- สามารถนำไปขายในตลาดเมื่อต้องการเงินทุน
- รักษาอำนาจการควบคุม
- เปลี่ยนแปลงโครงสร้างเงินทุน

ข้อเสีย
- เกิดภาพลักษณ์ที่ไม่ดีต่อผู้ลงทุน เพราะอาจถูกมองว่าไม่มีโครงการลงทุนอื่นที่ดี จึงต้องซื้อหุ้นคืน
- หลีกเลี่ยงภาษี เพราะทำให้การจ่ายปันผลน้อยลง

ผลกระทบของการซื้อหุ้นคืนในแง่ผู้ถือหุ้น

ข้อดี
- ราคาหุ้นจะสูงขึ้น ทำให้ได้กำไรจากการขายหุ้น ซึ่งเสียภาษีน้อยกว่าได้เงินปันผล
- ชลอการจ่ายภาษี เพราะเลือกได้ว่าจะขายหรือไม่
- ลดจำนวนหุ้นส่วนเกิน สามารถระบายหุ้นส่วนเกินความต้องการออกจากตลาด เพื่อรักษาสภาพราคาให้คงไว้

ข้อเสีย
- ผลประโยชน์ด้ายภาษีในกรณีผู้ถือหุ้นมีรายได้น้อย การเสียภาษีในรูปเงินปันผลอาจให้ประโยชน์มากกว่าการขายหุ้นที่มีราคาสูงขึ้นเพราะการซื้อหุ้นคืน
- ถ้าหุ้นที่หมุนเวียนมีน้อย เมื่อซื้อแล้วอาจมีผลให้ราคาหุ้นตกได้
- ความเสี่ยงสูง เพราะสัดส่วนของหนี้สินและทุนจะสูงขึ้น

สินทรัพย์ปันผล (Property Dividends)
- ไม่เป็นที่นิยม
- ที่เคยเกิดขึ้นส่วนมากเป็นการจ่ายหุ้นของบริษัทอื่น ๆ แทนที่จะจ่ายเป็นหุ้นของบริษัทตนเอง

การจ่ายปันผลในรูปของภาระหนี้สิน (Script dividends and Bond dividends)

1. จะเป็นการจ่ายในรูปของตั๋วสัญญาใช้เงินที่เปลี่ยนมือได้หรือพันธบัตรหรือตั๋วเงินระยะยาว
2. เหตุผลในหารจ่ายแบบนี้ เพราะบริษัทอาจจะขาดสภาพคล่อง มีเงินสดไม่พอจ่ายปันผล
3. ผู้ถือหุ้นที่ได้รับปันผลแบบนี้จะมีสถานะเกิดขึ้น 2 ส่วน
- เป็นเจ้าหนี้จากการได้รับตั๋วเงิน
- เป็นเจ้าของจากหุ้นสามัญเดิมที่ถืออยู่

ปัจจัยที่ควรพิจารณาสำหรับการกำหนดนโยบายเงินปันผล

- ข้อจำกัดในสัญญาเงินกู้
- ความสามารถในการทำกำไร
- สภาพคล่องของบริษัท
- ภาระหนี้สินเมื่อเทียบกับสัดส่วนของเจ้าของ
- ความสามารถในการหาเงินทุนจากภายนอก
- เสถียรภาพทางด้านรายได้ของบริษัท
- อัตราการเจริญเติบโตของบริษัท
- ความพอใจของผู้ถือหุ้น
- อำนาจการควบคุม
- ความั่นใจของผู้ถือหุ้น
- ภาษีอากร
- ข้อกำหนดตามกฏหมาย

0 ความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

Popular Posts