Custom Search

วันพฤหัสบดีที่ 2 กันยายน พ.ศ. 2553

วิธีอัตราผลตอบแทนซื้อลดลง (Discounted Rate of Return Method)


การวัดค่าของการลงทุนโดยวิธีอัตราผลตอบแทนซื้อลดเป็นวิธีการคำนวนอัตราส่วนลด หรืออัตราดอกเบี้ยที่นำไปใช้รับเงินสดที่ได้รับจากโครงการลงทุน (ผลตอบแทนจากการลงทุน หรือกระแสเงินเข้า) ให้มีค่าเป็นปัจจุบันเท่ากับกระแสเงินออก หรือเงินลงทุนสุทธิเพื่อจะได้นำเงินทั้ง 2 ประเภทเปรียบเทียบกันได้
วิธีอัตราผลตอบแทนซื้อลดเป็นวิธีที่ค่อนข้างยุ่งยาก เพราะจะต้องทดลองผิดทดลองถูกไปเรี่อย ๆ จนพบอัตราส่วนลดที่ต้องการ อัตราส่วนลดที่คำนวณได้ถือเป็นอัตราผลตอบแทนจากการลงทุนหรือบางครั้งใช้กับความหมายที่ว่า อัตราส่วนลดที่คำนวณได้ หมายถึง อัตราดอกเบี้ยสูงสุดที่ผู้ลงทุนจะยอมจ่ายโดยไม่ขาดทุนหากเงินที่นำมาลงทุนนั้นเป็นเงินที่กู้ยืมมา และการจ่ายคืนเงินต้นและดอกเบี้ยจ่ายคืนจากเงินสดที่ได้รับจากการลงทุน
การคำนวณหาอัตราผลตอบแทนซื้อลดลงแบ่งได้ 2 กรณีคือ
1. กรณีที่กระแสเงินเข้าเท่ากันทุกปี
2. กรณีที่กระแสเงินเข้าไม่เท่ากันในแต่ละปี
ตัวอย่าง
บริษัท ซื่อตรง จำกัด กำลังพิจารณาการจ่ายลงทุนในโครงการ ซึ่งมีโครงการมาให้พิจารณา 2 โครงการดังนี้คือ
ปีที่ โครงการ A โครงการB
กระแสเงินออก (บาท) 0 100,000 200,000
กระแสเงินเข้า (บาท) 1 25,000 70,000
2 25,000 100,000
3 25,000 150,000
4 25,000
5 25,000
6 25,000
7 25,000
8 25,000
กรณีกระแสเงินเข้าเท่ากันทุกปี
โครงการ A กระแสเงินเข้าเท่ากันทุกปีตลอดอายุโครงการ 8 ปี โดยสมมติว่าเงินเข้า ณ วันปลายปี
ตัวคูณส่วนลด = เงินลงทุนสุทธิ
ผลตอบแทนเงินสดต่อปี
= 100,000 = 4
25,000

นำตัวคูณส่วนลด 4 ไปเปิดตารางค่าปัจจุบันสะสม (ตาราง B- 1) ณ ปีที่ 8 ตรวจดูอัตราส่วนที่มีตัวคุณส่วนลดเท่ากับ 4 หรือใกล้เคียง 4 มากที่สุด จากตาราง B ตัวคุณส่วนลด 4 จะอยู่ระหว่างอัตราส่วนลดที่ 18% กับ 20% = 4.078 กับ 3.837

เมื่อได้ตัวคูณส่วนลดแล้วจะนำไปหาค่าปัจจุบันของเงินสดที่ได้รับจากโครงการแล้วนำไปเปรียบเทียบกับเงินทุนสุทธิ หากมีผลต่างค่าปัจจุบันสุทธิจะต้องใช้วิธีถัวเฉลี่ยเพื่อให้ได้อัตราส่วนลดตามที่ต้องการดังนี้
โครงการ A
ตัวคูณส่วนลด ณ อัตรา ค่าปัจจุบัน ณ อัตรา
ปีที่ เงินสดรับ 18% 20% 18% 20%
1-8 25,000 4.078 3.837 101,950 95,925
หัก เงินลงทุน 100,000 100,000
ค่าปัจจุบัน 1,950 (4,075)
ค่าปัจจุบันต่างกัน (101,950 - 95,925) = 6,025 บาท อัตราเปอร์เซ็นต์ต่างกัน = 2%
ค่าปัจจุบันต่างกัน (101,950 - 100,000) = 1,950 บาท อัตราเปอร์เซ็นต์ต่างกัน = 2 x 1,950
6,025
= .65%
เพราะฉะนั้นอัตราผลตอบแทนซื้อลดโครงการ A = 18 + .65% = 18.65%
กรณีกระแสเงินเข้าไม่เท่ากันในแต่ละปี
โครงการ B กระแสเงินเข้าไม่เท่ากันในแต่ละปี ในขั้นแรกจะต้องคาดคะแนอัตราผลแทนจำนวนหนึ่งไปคูณกับรายได้เมื่อรวมแล้วให้ได้เท่ากับเงินลงทุน สมมติอัตราผลตอบแทน = 20% (ตาราง A-1 ) แล้วคำนวณค่าปัจจุบันของเงินเข้าดังนี้
ปีที่ กระแสเงินสด แฟคเตอร์ 20% มูลค่าปัจจุบัน
1 70,000 (บาท) .833 58,310 (บาท)
2 100,000 .694 69,400
3 150,000 .579 86,850 รวม 214,560 บาท
จะพบว่าได้มูลค่าปัจจุบันของเงินเข้าที่ทดลองในอัตรา 20% = 214,560 บาท สูงกว่ามูลค่าปัจจุบันของกระแสเงินออกซึ่งเท่ากับ 200,000 บาท จึงต้องลองเพิ่มอัตราเป็น 22% 24% และ 25%แล้วคำนวณหามูลค่าปัจจุบันของกระแสเงินเข้าดูใหม่ จะพบว่ายอดรวมค่าปัจจุบันของผลตอบแทนที่ใกล้เคียง 200,000 บาท อยู่ที่อัตราผลตอบแทน 24% และ 25%
โครงการ B
ตัวคูณส่วนลด ณ อัตรา ค่าปัจจุบัน ณ อัตรา
ปีที่ เงินสดรับ (บาท) 24% 25% 24% 25%
1 70,000 .806 .800 56,420 56,000
2 100,000 .650 .640 65,000 64,000
3 150,000 .524 .512 78,600 76,800
รวมค่าปัจจุบัน 200,020 196,800
เงินลงทุนสุทธิ 200,000 200,000
ค่าปัจจุบัน 20 (3,200)

ถัวเฉลี่ยอัตราส่วนลดจะคำนวณได้ดังนี้
ค่าปัจจุบันต่างกัน (200,020 - 196,800) = 3,220 บาท อัตราเปอร์เซ็นต์ต่างกัน = 1%
ค่าปัจจุบันต่างกัน (200,020 - 200,000) = 20 บาท อัตราเปอร์เซ็นต์ต่างกัน = 1x20 = .0062%
3,220
เพราะฉะนั้น อัตราผลตอบแทนซื้อลดโครงการ B = 24.0062%
สรุป
จากการคำนวณพบว่าโครงการ B มีอัตราผลตอบแทนซื้อลด = 24.0062% สูงกว่าโครงการ A ซึ่งมีอัตราผลตอบแทนซื้อลด = 18.65% หากบริษัทต้องเลือกลงทุนในโครงการใดโครงการหนึ่งนั้น การใช้อัตราผลตอบแทนซื้อลดยังไม่เป็นการวัดที่เพียงพอ เพราะโครงการทั้ง 2 จ่ายลงทุนด้วยจำนวนเงินไม่เท่ากัน และอายุของโครงการก็ไม่เท่ากัน ดังนั้นควรจะใช้วิธีการวัดผลตอบแทนจากการลงทุนควรใช้ร่วมกับวิธีอื่น ๆ ด้วย เช่น วิธีมูลค่าปัจจุบันสุทธิ (NPV) เป็นต้น

0 ความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

Popular Posts