MBA

We constantly research and disseminate knowledge to prepare graduate students to be leaders at the community, national and international levels.

Facebook is a social utility that connects people with friends and others who work, study and live around them. People use Facebook to keep up with friends

Custom Search

วันเสาร์ที่ 29 ธันวาคม พ.ศ. 2555

วงจรของการวางแผนงาน P-D-C-A

เป็นกิจกรรมพื้นฐานในการพัฒนาประสิทธิภาพและคุณภาพของการดำเนินงาน
ประกอบด้วย การวางแผน – ปฏิบัติ – ตรวจสอบ – ปรับปรุงการดำเนินงาน
การดำเนินกิจกรรม P-D-C-A อย่างเป็นระบบให้ครบวงจรอย่างต่อเนื่องหมุนเวียนเรื่อยๆ
ส่งผลให้การดำเนินงานมีประสิทธิภาพและมีคุณภาพเพิ่มขึ้น
Plan หมายถึง การวางแผนการดำเนินงาน
· การกำหนดหัวข้อที่ต้องการปรับปรุงเปลี่ยนแปลง /กำหนดเป้าหมาย / วัตถุประสงค์
· การกำหนดมารตราฐาน เกณฑ์มาตรฐาน เพื่อใช้เป็นเกณฑ์ในการตรวจสอบว่า
  การปฏิบัติงานเป็นไปตามมาตรฐานที่กำหนดไว้ในแผนหรือไม่
· การเขียนแผนดังกล่าวอาจปรับเปลี่ยนได้ตามความเหมาะสมของลักษณะการดำเนินงาน
  การวางแผนยังช่วยให้เราสามารถคาดการณ์สิ่งที่เกิดขึ้นในอนาคต และช่วยลด
  ความสูญเสียต่างๆที่อาจเกิดขึ้นได้
Do หมายถึง การปฏิบัติตามแผน
· การปฏิบัติงานให้เป็นไปตามมาตรฐานที่กำหนด
· ก่อนที่จะปฏิบัติจริง ต้องศึกษาข้อมูล และเงื่อนไขต่างๆ ทราบวิธีการและขั้นตอน
· การปฏิบัติจะต้องดำเนินการไปตามแผน วิธีการและขั้นตอนที่ได้กำหนดไว้ และ
  จะต้องเก็บรวบรวมและบันทึก ข้อมูลที่เกี่ยวข้องเพื่อใช้เป็นข้อมูลในขั้นตอนต่อไป
Check หมายถึง การประเมินแผน/ตรวจสอบ
· การประเมินขั้นตอนการดำเนินงาน และการประเมินผลของการดำเนินงาน
  เป็นไปตามแผนที่ได้ตั้งไว้หรือไม่
· การติดตาม ตรวจสอบ และการประเมินปัญหาเพื่อประโยชน์ในการพัฒนาปรับปรุง
  คุณภาพของงาน
· ในการประเมินสามารถทำได้เอง เป็นลักษณะของการประเมินตนเอง
Act หมายถึง การปรับปรุง
· การแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นจากการได้ทำการตรวจสอบแล้วแก้ไขแบบเร่งด่วน
  เฉพาะหน้า หรือการค้นหาสาเหตุที่แท้จริงเพื่อป้องกันไม่ให้เกิดซ้ำ
· การปรังปรุงแก้ไข ข้อบกพร่องที่เกิดขึ้น ไม่ว่าจะเป็นขั้นตอนใดก็ตาม เมื่อมีการปรับปรุง
  แก้ไขคุณภาพก็จะเกิดขึ้น   ดังนั้น วงจร PDCA จึงเรียกว่า วงจรบริหารงานคุณภาพ

องค์กรย่อมมีวงจร PDCA อยู่หลายๆวง
วงใหญ่ที่สุด คือ วงที่มีวิสัยทัศน์ และแผนยุทธศาสตร์ ขององค์กร เป็น P
การปฏิบัติงานของหน่วยงาน เป็น D
การกำกับ ติดตาม ตรวจสอบในองค์กร เป็น C
และการแก้ไขปัญหาหรือการปรับแผนในแต่ละปี เป็น A
เพื่อให้การดำเนินงานบรรลุเป้าหมายและวัตถุประสงค์ขององค์กรอย่างมีประสิทธิภาพ

Requirements of Good Plan

ลักษณะของแผนที่ดี (Requirements of Good Plan) มีลักษณะดังนี้
1. แผนควรจะมีลักษณะชี้เฉพาะมากกว่าจะมีลักษณะกว้างหรือกล่าวทั่วๆ ไป
2. แผนควรจำแนกตามความแตกต่างระหว่างสิ่งที่รู้และสิ่งที่ยังไม่รู้ให้ชัดเจน
3. แผนควรมีการเชื่อมโยงอย่างเป็นเหตุผลและสามารถนำไปปฏิบัติ
4. แผนจะต้องมีลักษณะยืดหยุ่นและสามารถปรับพัฒนาได้
5. แผนจะต้องได้รับการยอมรับจากบุคคลที่เกี่ยวข้อง
ลำดับขั้นในกระบวนการวางแผน
1. การกำหนดวัตถุประสงค์
2. พัฒนาข้อตกลงที่เป็นตัวกำหนดขอบเขตในการวางแผน
3. พิจารณาข้อจำกัดต่างๆ ที่อาจเกิดขึ้นในการวางแผน
4. พัฒนาทางเลือก
5. ประเมินทางเลือก เพื่อเลือกสิ่งที่เป็นไปได้สูงสุด
6. เปลี่ยนแปลงแผนสู่การปฏิบัติ
ชนิดของแผน
ในปัจจุบันผู้บริหารที่มีวิสัยทัศน์ (Vision) กว้างไกลและมีความสำนึกในเรื่องของส่วนรวม
มีปณิธาน (Wish) คือ การตั้งความปรารถนาหรือความมุ่งหวังที่จะทำประโยชน์แก่ส่วนรวม
ควบคู่ไปกับการวางแผนในลักษณะต่างๆ ดังนี้
1. วัตถุประสงค์ (Objective) คือจุดมุ่งหมายปลายทางที่องศ์การต้องการ
หรือเกิดจากความประสงค์ของผู้ถือหุ้นและพนักงาน
วัตถุประสงค์เป็นตัวกำหนดความต้องการอย่างกว้างๆ
2. กลยุทธ์ (Strategy) คือ การวางแผนหลักเพื่อกำหนดทิศทางการดำเนินงาน
ขององค์การว่าควรหรือไม่ควรดำเนินการอะไรบ้างเพื่อให้เกิดผลดีที่เป็นข้อได้เปรียบ
3. นโยบาย (Policy) คือ หลักการที่กำหนดขึ้นเพื่อเป็นกรอบแนวทางในการปฏิบัติ
4. แผน (Plan) แนวทางหรือวิธีการหรือกลุ่มของแผนงานรวมโครงการและกิจกรรมต่างๆ 
5. แผนงาน (Program) คือ แผนที่รวมนโยบายหรือวีปฏิบัติงาน วิธีการทำงาน
มาตรฐานงาน และส่วนประกอบอื่นๆ เพื่อให้สำเร็จตามวัตถุประสงค์
6. โครงการ (Project) คือ กลุ่มของกิจกรรมที่มีความเกี่ยวข้องสัมพันธ์กัน
อาจเป็นกิจกรรมที่เกิดขึ้นเฉพาะคราวมีช่วงเวลาการดำเนินที่แน่นอน
7. วิธีปฏิบัติงาน (Procedure) มีลักษณะเป็นแผนที่บ่งให้เห็นถึงระเบียบที่กำหนดไว้
ในการดำเนินงาน เพื่อเป็นแนวทางในการปฏิบัติงานให้ถูกต้องรวดเร็ว
8. วิธีการทำงาน (Method) มีรายละเอียดมากกว่าวีการปฏิบัติงาน เปรียบเสมือนคู่มือ
หรือเครื่องมือที่เป็นสื่อในการทำงานแต่ละประเภทให้ประสบความสำเร็จ
9. มาตรฐานงาน (Standard) คือ เกณฑ์ที่ใช้ประกอบการพิจารณาเพื่อกำหนดว่า
มีการพัฒนาตามแผนที่วางไว้หรือไม่ โดยเปรียบเทียบผลการปฏิบัติงานจริงกับ
แผนที่คาดไว้ว่าตรงกันหรือไม่ มาตรฐานงานวัดได้ในรูปของคุณภาพของงาน
ปริมาณของงาน ต้นทุน และเวลาที่ใช้
10. งบประมาณ คือแผนงานที่บอกถึงความสัมพันธ์ของกิจกรรมรวมเวลาและ
ค่าใช้จ่าย แสดงออกเป็นตัวเลข

วันพุธที่ 24 ตุลาคม พ.ศ. 2555

multichannel marketing systems

ช่องทางการตลาดแบบระบบการตลาดหลายช่องทาง หมายถึง การใช้ช่องทางการตลาดตั้งแต่สองช่องทางขึ้นไป เพื่อกระจายสินค้าไปยังผู้บริโภค 

การใช้ช่องทางหลายช่องทาง จะทำให้กิจการได้รับผลประโยชน์ คือ 
              - สามารถเพิ่มยอดขายจากการขายสินค้าผ่านหลายช่องทาง สามารถครอบคลุมตลาดได้อย่างทั่วถึง เพราะถ้าหากใช้ตลาดช่องทางเดียว อาจจะไม่สามารถเข้าถึงลูกค้าบางกลุ่มได้ เช่น บริษัท ยาคูลท์(ประเทศไทย) จำกัด จากเดิมใช้ช่องทางการตลาดแบบทางตรง หรือช่องทางศูนย์ระดับ โดยการใช้สาวยาคูลท์เท่านั้น ในการนำยาคูลท์ให้ไปถึงผู้บริโภค ต่อมาได้เพิ่มช่องทางการตลาดโดยใช้ช่องทางหนึ่งระดับคือ การขายผ่านร้านค้าปลีก ทำให้สามารถครอบคลุมตลาดได้กว้างขวางขึ้น เป็นต้น

             - การใช้หลายช่องทาง ทำให้ลดต้นทุนในการขายสินค้าให้กับลูกค้าในปัจจุบันได้ เช่น การขายผ่านทางโทรศัพท์อาจจะเสียต้นทุนน้อยกว่าการใช้พนักงานขายเข้าพบลูกค้า เป็นต้น 

             - การขายสินค้าเฉพาะกลุ่มลูกค้า บริษัทอาจใช้ช่องทางซึ่งมีลักษณะการขายที่เหมาะสมกับความต้องการของลูกค้าได้ดีขึ้น เช่น การเพิ่มหน่วยงานขายที่มีความรู้ทางเทคนิคเพื่อขายอุปกรณ์ที่มีความสลับซับซ้อน เป็นต้น 

          อย่างไรก็ตามการขายผ่านช่องทางหลายช่องทาง อาจจะทำให้เกิดความขัดแย้งระหว่างช่องทางได้เพราะอาจเกิดการแข่งขันกันแย่งลูกค้า เกิดการตัดราคากัน ดังนั้นกิจการจะต้องพิจารณาถึงผลกระทบต่าง ๆ ที่จะเกิดขึ้นในการเลือกใช้ช่องทางหลายช่องทางด้วย 

สรุป

          รูปแบบการจัดองค์กรในช่องทางการตลาด แบ่งออกได้ 4 รูป คือ ช่องทางการตลาดแบบสามัญช่องทางการตลาดแบบระบบการตลาดตามแนวตั้ง ช่องทางการตลาดแบบระบบ การตลาดตามแนวนอน และช่องทางการตลาดแบบระบบการตลาดหลายช่องทาง

          ช่องทางการตลาดแบบสามัญ ประกอบด้วย คนกลางอิสระแต่ละรายปฏิบัติงานการตลาดในรูปแบบการดำเนินเฉพาะของตนเอง แยกการบริหารงานเป็นอิสระจากกันเด็ดขาด ประกอบด้วยผู้ผลิต คนกลางที่เป็นพ่อค้าส่ง พ่อค้าปลีก และผู้บริโภค

          ช่องทางการตลาดแบบระบบการตลาดตามแนวตั้ง จะเป็นระบบเครือข่ายงานจากส่วนกลาง เป็นที่รวมของการจัดการงานการจัดจำหน่าย มีการปฏิบัติงานด้านต่างๆ ที่ต่อเนื่องสัมพันธ์กันตลอดช่องทางการตลาดนั้นๆ แบ่งออกได้ 3 รูปแบบ คือ ระบบการตลาดตามแนวตั้งแบบรวมตัวกันทางการบริหาร ระบบการตลาดตามแนวตั้งแบบรวมตัวกันโดยสัญญา ระบบการตลาดตามแนวตั้งแบบรวมตัวกันเป็นบริษัทเดียว

          ระบบการตลาดตามแนวตั้งแบบรวมตัวกันทางการบริหาร เป็นระบบที่มีการประสานงานกันในขั้นตอนของการผลิต และการจัดจำหน่ายรวมทั้งการตลาด โดยมีสมาชิก ช่องทางรายใดรายหนึ่งเป็นผู้กำหนดโปรแกรมการดำเนินงานทั้งหมด แต่ละโปรแกรมที่ถูกกำหนดขึ้นมาจะถูกปฏิบัติในลักษณะร่วมมือกันอย่างไม่เป็นทางการเพื่อให้บรรลุเป้าหมายร่วมกัน

          ระบบการตลาดตามแนวตั้งแบบรวมตัวกันโดยสัญญา เป็นการทำสัญญากันระหว่างสมาชิกต่างระดับในช่องทางที่มีระบบการผลิต และการจัดจำหน่ายที่แตกต่างกัน มีการรวมตัวกันโดยอาศัยข้อตกลงที่เป็นสัญญาร่วมกันแบ่งออกได้ 3 รูปแบบ คือ การรวมตัวกันของพ่อค้าปลีกที่พ่อค้าส่งสนับสนุน สหกรณ์พ่อค้าปลีก และระบบสิทธิทางการค้า ซึ่งระบบสิทธิทางการค้า สามารถแบ่งออกได้เป็น 4 ประเภท คือ
             1. ระบบสิทธิทางการค้าที่ผู้ผลิตให้สิทธิ์แก่พ่อค้าปลีก
             2. ระบบสิทธิทางการค้าที่ผู้ผลิตให้สิทธิ์แก่พ่อค้าส่ง
             3. ระบบสิทธิทางการค้าที่พ่อค้าส่งให้สิทธิ์แก่พ่อค้าปลีก
             4. ระบบสิทธิทางการค้าที่ธุรกิจบริการให้สิทธิ์แก่พ่อค้าปลีก

          ระบบการตลาดตามแนวตั้งแบบรวมทำกันเป็นบริษัทเดียว หมายถึงสมาชิกในช่องทางการตลาดที่อยู่ในระดับต่าง ๆ รวมตัวกันเป็นองค์กรภายใต้เจ้าของเดียวกัน แบ่งออกได้ 2 ประเภท คือ
             1. การรวมตัวแบบมุ่งไปข้างหน้า
             2. การรวมตัวแบบมุ่งไปข้างหลัง

          ช่องทางการตลาดแบบระบบตลาดตามแนวนอน เป็นการรวมตัวกันระหว่างสมาชิกที่อยู่ในช่องทางการตลาดตามแนวนอนตั้งแต่สองรายขึ้นไป และอยู่ในระดับเดียวกัน เพื่อให้เกิดประโยชน์ในการแลกเปลี่ยนปัจจัยการดำเนินงานร่วมกัน

          ช่องทางการตลาดแบบระบบการตลาดหลายช่องทาง เป็นการใช้ช่องทางการตลาดตั้งแต่สองช่องทางขึ้นไป เพื่อประโยชน์ในการกระจายสินค้าไปยังผู้บริโภคทำให้สามารถเพิ่มยอดขาย ลดต้นทุนการขายเหมาะกับความต้องการของลูกค้า

ช่องทางการตลาดแบบระบบการตลาดตามแนวนอน (horizontal marketing systems)

ระบบการตลาดตามแนวนอน หรือที่ Adler (quoted in Kotler, 1997 : 551) เรียกว่า "การตลาดแบบพึ่งพาอาศัยกัน (symbiotic marketing)" หมายถึง สมาชิกในช่องทางการตลาดที่อยู่กันคนละระบบ มีการร่วมมือกันดำเนินกิจกรรมทางการค้า โดยอาจจะเป็นการร่วมมือกันแบบชั่วคราวหรือแบบถาวรก็ได้ 

          ระบบการตลาดตามแนวนอน เป็นการรวมตัวกัน หรือร่วมมือกันระหว่างสมาชิกที่อยู่ในช่องทางการตลาดตามแนวนอนตั้งแต่สองรายขึ้นไป และอยู่ในระดับเดียวกัน เช่น ระดับพ่อค้าส่งเหมือนกัน ระดับพ่อค้าปลีกเหมือนกัน โดยมีขอบเขตงานที่ใกล้เคียงกัน เพื่อให้เกิดประโยชน์ในการแลกเปลี่ยนปัจจัยการดำเนินงานบางอย่างร่วมกัน เช่น เงินทุน เทคโนโลยี กำลังการผลิต วัตถุดิบ บุคลากร ความรู้ ความชำนาญการประสบการณ์ ข้อมูลข่าวสาร เป็นต้น

          นอกจากนี้ยังเป็นการนำเอาจุดเด่นของฝ่ายหนึ่งมาเสริมจุดด้อยของอีกฝ่ายหนึ่ง หรือรวมตัวกันแล้วสามารถตอบสนองความต้องการของตลาดดีขึ้น ทำให้ลดความเสี่ยงทางธุรกิจ สร้างอำนาจการต่อรอง สามารถแข่งขันกับกิจการอื่น ๆ ได้

          ลักษณะการรวมตัวตามแนวนอนอาจจะตกลงทำสัญญาระหว่างกันเป็นการชั่วคราว สามารถยกเลิกสัญญากันได้เมื่อพบว่ารูปแบบการจัดการไม่ทำให้เกิดประโยชน์แก่กันได้อย่างเต็มที่ หรืออาจรวมตัวกันอย่างถาวร เช่น การซื้อกิจการเข้ามาบริหารเองทั้งหมด โดยพิจารณาเลือกเฉพาะกิจการที่มีความสัมพันธ์กัน เช่น กาแฟกับครีมเทียม เป็นต้น 

corporate marketing channel system, corporate VMS

ระบบการตลาดตามแนวตั้งแบบรวมตัวกันเป็นบริษัทเดียว (corporate marketing channel system, corporate VMS) หมายถึง สมาชิกในช่องทางการตลาดที่อยู่ในระดับต่าง ๆ รวมตัวกันเป็นองค์กรภายใต้เจ้าของเดียวกัน ซึ่งจะทำให้มีความสามารถในการควบคุม ช่องทางการตลาดได้อย่างเต็มที่ และไม่ต้องมีปัญหาเรื่องคนกลางอิสระที่ทำหน้าที่ไม่เป็นไปตามความต้องการของผู้ผลิต 

ระบบการรวมตัวกันเป็นบริษัทเดียวแบ่งออกเป็น 2 ลักษณะ คือ 
                 1. การรวมตัวแบบมุ่งไปข้างหน้า (forward integration) หมายถึง ผู้ผลิตทำหน้าที่ตั้งแต่ขายส่ง และขายปลีกสินค้าของตนด้วยตัวเองทั้งหมด หรืออาจเป็นเจ้าของช่องทางการตลาดเฉพาะในบางตลาด ส่วนตลาดอื่นที่เหลือมอบหมายให้คนกลางอิสระทำหน้าที่อยู่ต่อไป

                 2. การรวมตัวแบบมุ่งไปข้างหลัง (backward integration) หมายถึง ผู้ผลิตเข้าไปครอบครองและจัดดำเนินการในระบบจัดจำหน่ายผลผลิตประเภทปัจจัยการผลิต เพื่อเป็นวัตถุดิบป้อนกระบวนการผลิตสินค้าสำเร็จรูปของผู้ผลิตเอง เช่น กิจการผลิตกระดาษ เข้าไปจัดระบบผลิต และจำหน่ายเยื่อกระดาษที่เป็นวัตถุดิบป้อนโรงงานผลิตกระดาษ หรือผู้เลี้ยงและจัดจำหน่าย เนื้อสัตว์ เข้าไปควบคุมและดำเนินการในระบบการผลิต การจัดจำหน่ายผลิตภัณฑ์อาหารสัตว์ อุปกรณ์การเลี้ยงสัตว์ เคมีภัณฑ์ ยารักษาโรคสัตว์ เป็นต้น

ระบบสิทธิทางการค้า

1. ระบบสิทธิทางการค้าที่ผู้ผลิตให้สิทธิ์แก่พ่อค้าปลีก (manufacturer-retailer franchise system) หมายถึง ระบบที่ผู้ผลิตให้สิทธิทางการค้าแก่พ่อค้าปลีกอิสระ พ่อค้าปลีกที่จะได้รับสิทธิทางการค้าจะต้องผ่านการพิจารณาคุณสมบัติ ความสามารถ และศักยภาพในการขายให้ได้มาตรฐานตามที่ผู้ผลิตกำหนดไว้ และต้องปฏิบัติตามข้อตกลงอย่างเคร่งครัด ระบบนี้นิยมใช้มากในอุตสาหกรรมรถยนต์ เช่น บริษัทโตโยต้า ได้ให้สิทธิทางการค้าแก่ผู้ขาย (dealer) หลายราย ผู้ขายหรือผู้จัดจำหน่ายจะทำการจำหน่ายในระดับค้าปลีกและมีความเป็นอิสระในการบริหารงาน โดยมีการตกลงกันเกี่ยวกับเงื่อนไขการขายและการบริการ เป็นต้น

          2. ระบบสิทธิทางการค้าที่ผู้ผลิตให้สิทธิ์แก่พ่อค้าส่ง (manufacturer-wholesaler franchise system) หมายถึง ระบบที่ผู้ผลิตให้สิทธิทางการค้าแก่พ่อค้าส่ง ซึ่งอาจจะอยู่ในรูปของการให้สิทธิ์ในการจัดจำหน่ายแต่เพียงผู้เดียวในท้องที่หนึ่ง หรือให้สิทธิ์ในการจัดจำหน่ายแก่ผู้จัดจำหน่าย หรือพ่อค้าส่งหลายรายในหลายส่วนตลาดก็ได้ผู้ผลิตจะกำหนดเงื่อนไขการได้รับสิทธิ์จำหน่ายให้พ่อค้าส่งไปดำเนินการอย่างหนึ่งอย่างใดตามเงื่อนไข เช่น ต้องซื้อหัวเชื้อน้ำหวานจาก ผู้ผลิตเพื่อผลิตต่อ หรือนำไปขายส่งให้ผู้ผลิตต่อ เป็นต้น อุตสาหกรรมเครื่องดื่มน้ำอัดลม นิยมใช้ระบบนี้ เช่น โคลา - โคล่า (Coca-Cola) เป๊บซี่ (Pepsi) เป็นต้น

          3. ระบบสิทธิทางการค้าที่พ่อค้าส่งให้สิทธิ์แก่พ่อค้าปลีก (wholesaler-retailer franchise system) หมายถึง ระบบที่พ่อค้าส่งให้สิทธิทางการค้าแก่พ่อค้าปลีก โดยพ่อค้าปลีกที่เข้าร่วมระบบสิทธิจำหน่ายจะต้องผ่านการพิจารณาด้านระดับของความสามารถ ความชำนาญการเฉพาะด้าน เพื่อให้เกิดประสิทธิภาพในการขายปลีกอย่างแท้จริง

          4. ระบบสิทธิทางการค้าที่ธุรกิจบริการให้สิทธิ์แก่พ่อค้าปลีก (service sponsor-retailer franchise system) หมายถึง ธุรกิจบริการให้สิทธิแก่พ่อค้าปลีก โดยการจัดระบบการให้บริการและการบริหารงาน เพื่อให้มีการบริการที่มีประสิทธิภาพแก่ลูกค้า ระบบนี้นิยมใช้กับธุรกิจฟาสต์ฟูด (fast food) เช่น แม็คโดนัลด์ (McDonalds) เบอร์เกอร์คิง (Burger King) เป็นต้น ธุรกิจโรงแรม เช่น โรงแรมฮอลิเดย์ อินส์ (Holiday Inns) เป็นต้น

contractual marketing channel system or contractual VMS

ระบบการตลาดตามแนวตั้งแบบรวมตัวกันโดยสัญญา (contractual marketing channel system or contractual VMS) หมายถึง การทำสัญญากันระหว่างสมาชิกต่างระดับในช่องทางการตลาด ที่มีระบบการผลิตและการจัดจำหน่ายที่แตกต่างกัน มีการรวมตัวกันโดยอาศัยข้อตกลงที่เป็นสัญญาร่วมกัน (contractual) เพื่อให้เกิดการประหยัด และสามารถทำยอดขายได้มากขึ้นกว่าที่จะเป็นแบบต่างคนต่างทำ เนื่องจากถ้าสมาชิกระดับใดระดับหนึ่งดำเนินการแต่เพียงลำพัง จะทำให้ประสิทธิภาพและประสิทธิผลของการดำเนินงานลดน้อยลง

ระบบการรวมตัวกันโดยสัญญาแบ่งออกได้ 3 รูปแบบ

              2.1 การรวมตัวกันของพ่อค้าปลีกที่พ่อค้าส่งสนับสนุน(wholesaler-sponsored voluntary chains) หมายถึง รูปแบบที่เกิดจากการร่วมมือกันระหว่างพ่อค้าส่งรายใดรายหนึ่งกับพ่อค้าปลีกอิสระหลาย ๆ ราย รวมตัวกันอย่างไม่เป็นทางการในลักษณะกลุ่มลูกโซ่สมัครใจ เพื่อให้สามารถแข่งขันกับธุรกิจขนาดใหญ่ได้ และได้รับผลประโยชน์ร่วมกันในด้านต่าง ๆ 

          Lou E. Petton, David Strutton and James R. Lumpkin (1997 : 398) ได้สรุปการบริการที่พ่อค้าส่งให้การสนับสนุนพ่อค้าปลีก ดังนี้ 
                  - การให้วัสดุหรืออุปกรณ์ในการตกแต่งร้าน เช่น ป้าย รูปภาพ เป็นต้น
                  - การวิเคราะห์สถานที่ตั้งของร้านค้า
                  - การจัดทำโปรแกรมการโฆษณา และการส่งเสริมการตลาด
                  - การวิเคราะห์และการบันทึกระบบข้อมูลทางด้านบัญชีและการจัดการ
                  - การให้การฝึกอบรมฝ่ายจัดการของร้านและพนักงานของร้าน
                  - การช่วยเหลือในการวางแผนเชิงกลยุทธ์
                  - การช่วยเหลือทางด้านการเงิน
                  - การจัดทำคู่มือการดำเนินธุรกิจของร้าน

          พ่อค้าส่งและกลุ่มพ่อค้าปลีกลูกโซ่สมัครใจจะอาศัยซึ่งกันและกันในการซื้อขาย แลกเปลี่ยนระหว่างกัน เพื่อให้เกิดข้อได้เปรียบที่สามารถแข่งขันกับคู่แข่งขันในตลาดได้

              2.2 สหกรณ์พ่อค้าปลีก (retailer cooperatives) หมายถึง การรวมตัวกันของพ่อค้าปลีกอิสระหลาย ๆ ราย ก่อตั้งเป็นสหกรณ์พ่อค้าปลีก ทำหน้าที่เป็นพ่อค้าส่งหรือผู้ผลิต เพื่อจัดซื้อสินค้า หรือผลิตสินค้าป้อนให้กับกลุ่มพ่อค้าปลีกที่เป็นสมาชิกสหกรณ์นั้น ๆ เพื่อให้ได้รับความประหยัดด้านต้นทุน และค่าใช้จ่ายในการสั่งซื้อสินค้า หรือประหยัดจากการผลิต เพื่อตอบสนองความต้องการเฉพาะของกลุ่มพ่อค้าปลีกนั้น ๆ นอกจากนี้สหกรณ์ยังทำหน้าที่เป็นที่ปรึกษาด้านการวางแผนจัดจำหน่าย การจัดการสินค้า การส่งเสริมการขายและการโฆษณาให้กับสมาชิกในกลุ่มด้วยส่วนผู้ที่ไม่ได้เป็นสมาชิกก็สามารถซื้อสินค้าจากสหกรณ์ได้ เพียงแต่ไม่มีสิทธิ์ได้รับผลกำไรจากการดำเนินงานของสหกรณ์เท่านั้น

              2.3 ระบบสิทธิทางการค้า (franchise system) หมายถึง ระบบการให้สิทธิทางการค้าในด้านการผลิต หรือการจัดจำหน่าย เป็นข้อตกลงที่กำหนดระหว่างผู้ให้สิทธิ์กับผู้ได้รับสิทธิ์ ซึ่งทั้งสองฝ่ายจะต้องตกลงร่วมกันและนำไปยึดถือปฏิบัติอย่างเคร่งครัด เช่น ผู้ที่ได้รับสิทธิ์จะต้องปฏิบัติตามข้อตกลง หรือปฏิบัติตามนโยบายของผู้ให้สิทธิ์ทุกประการ ต้องให้ได้ผลงานขายตามเป้าหมายที่กำหนดไว้ ต้องจ่ายชำระค่าสิทธิที่ได้รับตามจำนวนที่ตกลงกันไว้ โดยที่ฝ่ายผู้ให้สิทธิ์เองก็ต้องทำตามเงื่อนไข เช่น ต้องเป็นฝ่ายจัดหาอุปกรณ์เพื่ออำนวยความสะดวกในการจำหน่าย ให้คำแนะนำ ดูแลการบริหารงานหรือการจัดการสินค้า การช่วยเหลือด้านการเงิน การจัดการร้านค้า เป็นต้น

วันเสาร์ที่ 22 กันยายน พ.ศ. 2555

ค่าจ้างและผลตอบแทนการทำงาน

ผลตอบแทนการทำงานถูกกำหนดไว้ด้วยคำจำกัดความว่า ค่าจ้าง ซึ่งหมายถึง เงิน ที่นายจ้างจ่ายแก่ลูกจ้างเป็นค่าตอบแทนการทำงานตามสัญญาจ้างสำหรับระยะเวลาทำงานปกติของวันทำงาน หรือจ่ายให้โดยคำนวณตามผลงานที่ลูกจ้างได้ทำ และหมายความรวมถึงเงินที่จ่ายให้ในวันหยุด และในวันลา ซึ่งลูกจ้างไม่ได้ทำงาน แต่มีสิทธิได้รับตามกฎหมายแรงงาน

ขอบเขตและความหมายของการบริหารผลตอบแทน
ในความหมายของผลตอบแทนในแง่ธุรกิจ ย่อมหมายถึงต้นทุนและค่าใช้จ่ายในการดำเนินการซึ่งกำหนดจ่ายแก่พนักงานเพื่อให้ปฏิบัติหน้าที่ตาม ค่าของงาน และ ผลการทำงาน
ส่วนในด้านพนักงาน ผลตอบแทนก็คือ ค่าจ้างหรือเงินเดือน สวัสดิการและผลประโยชน์อื่นซึ่งบริษัทกำหนดให้ เพื่อเป็นการตอบแทนการทำงาน โดยที่พนักงานต้องปฏิบัติหน้าที่ตามที่ได้รับมอบหมาย โดยใช้วิชาความรู้ ทักษะ ความชำนาญตามตำแหน่งของงาน ซึ่งตนได้รับไว้ตามสัญญาจ้างแรงงาน
การบริหารผลตอบแทน จึงมีความหมายมิใช่เฉพาะเรื่องการบริหารค่าจ้างหรือเงินเดือน แต่หมายถึงตั้งแต่การกำหนดลักษณะงาน ค่าของงาน (Job Value) การวัดผลการทำงาน ตลอดจนถึงการบริหารสวัสดิการ และผลประโยชน์ต่าง ๆ ซึ่งบริษัทกำหนดให้เป็นผลตอบแทนการทำงาน และการกำหนดระเบียบวิธีปฏิบัติเกี่ยวกับการจ่ายหรือการจัดให้พนักงานได้รับผลตอบแทนการทำงานดังกล่าวอย่างถูกต้อง
การบริหารผลตอบแทนจึงจำเป็นต้องมีการวางแผน การจัดระบบงาน การควบคุมกิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับการจ่ายผลตอบแทนตามผลการปฏิบัติงานที่พนักงานได้ทุ่มเท (Contribute) ให้แก่บริษัท

เป้าหมายของการบริหารผลตอบแทนการทำงาน
เป้าหมายหลักในการจัดระบบการบริหารผลตอบแทนการทำงาน นอกเหนือจากเพื่อธำรงรักษาทรัพยากรบุคคลของบริษัทแล้ว ยังมีเป้าหมายหลักดังนี้
1. เพื่อให้เกิดความเป็นธรรม ผู้ที่มีผลการปฏิบัติงานที่ดีที่สุด ควรได้รับผลตอบแทนสูงสุด
2. เพื่อจูงใจให้พนักงานทำงานอย่างมีประสิทธิผลสูงสุด
3. เพื่อสามารถแข่งขันกับตลาดได้ คือ สามารถธำรงรักษาบุคลากรที่มีคุณภาพและสามารถคัดเลือก สรรหาผู้มีความสามารถเข้ามาเป็นพนักงานบริษัท
4. สามารถควบคุมต้นทุนและค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับผลตอบแทนการทำงานให้สอดคล้องกับผลผลิต และผลการดำเนินธุรกิจ
5. เพื่อให้การจ่ายผลตอบแทนเป็นการจ่ายตามผลการปฏิบัติงาน (Pay per Performance)
6. เพื่อสะดวกแก่การบริหารและการจัดการให้เป็นไปตามนโยบายและหลักการบริหารบุคคลในเรื่อง ต่าง ๆ ซึ่งได้แก่
6.1 การจ้างแรงงาน
6.2 การสับเปลี่ยน โยกย้าย แต่งตั้ง เลื่อนตำแหน่งพนักงาน
6.3 มาตรฐานงานและการประเมินผลการปฏิบัติงาน
6.4 การบริหารค่าจ้างและเงินเดือน
6.5 การบริหารสวัสดิการ
6.6 การจัดการเกี่ยวกับผลประโยชน์ต่าง ๆ ที่บริษัทจัดให้แก่พนักงาน ฯลฯ
7. เพื่อส่งเสริมความสัมพันธ์อันดีระหว่างผู้บังคับบัญชาและผู้ใต้บังคับบัญชา รวมทั้งเป็นการส่งเสริมความร่วมมือจากพนักงาน โดยอาศัยหลักแห่งความยุติธรรมในการจ่ายผลตอบแทนการทำงาน

Key Performance Indicator

KPI คือ เครื่องมือที่ใช้วัดผลการดำเนินงานหรือประเมินผลการดำเนินงานในด้านต่างๆ ขององค์กร ซึ่งสามารถแสดงผลของการวัดหรือการประเมินในรูปข้อมูลเชิงประมาณเพื่อสะท้อนประสิทธิภาพ ประสิทธิผลในการปฏิบัติงานขององค์กรหรือหน่วยงานภายในองค์กร

ขั้นตอนการสร้าง KPI
  • กำหนดวัตถุประสงค์หรือผลลัพธ์ที่องค์กรต้องการ (What to measure)
  • กำหนดปัจจัยสู่ความสำเร็จหรือปัจจัยวิกฤต (Key Success Factor or Critical Success Factor) ที่สัมพันธ์กับวัตถุประสงค์หรือผลลัพธ์ที่องค์กรต้องการ เช่น ปัจจัยด้านคุณภาพ ปริมาณ ต้นทุน การส่งมอบ ความพึงพอใจ ความปลอดภัย และการเพิ่มผลผลิต
  • กำหนดตัวดัชนีชี้วัดที่สามารถบ่งชี้ความสำเร็จ/ประสิทธิภาพ/ประสิทธิผลจากการดำเนินการตามวัตถุประสงค์หรือผลลัพธ์ที่องค์กรต้องการ (How to measure) ซึ่งสามารถแสดงเป็นข้อมูลในเชิงปริมาณและกำหนดสูตรในการคำนวณรวมทั้งหน่วยของดัชนีชี้วัดแต่ละตัว
  • กลั่นกรองดัชนีชี้วัดเพื่อหาดัชนีชี้วัดหลัก โดยจัดลำดับและกำหนดน้ำหนักความสำคัญของดัชนีชี้วัดแต่ละตัว
  • กระจายดัชนีชี้วัดสู่หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
  • จัดทำ KPI Dictionary โดยระบุรายละเอียดที่สำคัญของดัชนีชี้วัดแต่ละตัว เช่น ชื่อของดัชนีชี้วัดคำจำกัดความหรือนิยามของดัชนีชี้วัด สูตรในการคำนวณ หน่วยของดัชนีชี้วัด ผู้เก็บข้อมูล ความถี่ในการรายงานผล เพื่อสร้างความเข้าใจร่วมกันของผู้ที่เกี่ยวข้องใรการนำดัชนีชี้วัดไปใช้ในการปฏิบัติงาน

ลักษณะของดัชนีชี้วัดที่ดี
  • สอดคล้องกับวิสัยทัศน์ ภารกิจ และกลยุทธ์ขององค์กร
  • ควรแสดงถึงสิ่งที่มีความสำคัญต่อองค์กรและหน่วยงานเท่านั้น ซึ่งดัชนีชี้วัดที่มีความสำคัญต่อองค์กรและหน่วยงานที่มี 2 ลักษณะ คือ ดัชนีชี้วัดที่แสดงผลการดำเนินงานที่สำคัญขององค์กร และดัชนีชี้วัดกิจกรรมหรืองานที่สำคัญซึ่งหากผิดพลาดจะก่อให้เกิดปัญหาร้ายแรงในองค์กรหรือหน่วยงาน
  • ประกอบด้วยดัชนีชี้วัดทั้งที่เป็นด้านการเงิน และดัชนีชี้วัดไม่ใช่ด้านการเงิน
  • ประกอบด้วยดัชนีชี้วัดที่เป็นเหตุและดัชนีชี้วัดที่เป็นผล
  • ต้องมีบุคคลหรือหน่วงงานรับผิดชอบดัชนีชี้วัดทุกตัวที่สร้างขึ้น
  • ดัชนีชี้วัดที่สร้างขึ้นควรเป็นดัชนีชี้วัดที่องค์กรหรือหน่วยงานสามารถควบคุมผลงานได้ไม่น้อยกว่าร้อยละ 80
  • เป็นดัชนีชี้วัดที่สามารถวัดผลได้ และบุคคลทั่วไปเข้าใจ ไม่ใช่มีเพียงผู้จัดทำเท่านั้นที่เข้าใจ
  • ต้องช่วยให้ผู้บริหารและพนักงานสามารถติดตามการเปลี่ยนแปลงที่สำคัญขององค์กรได้ นอกเหนือจากการใช้ดัชนีชี้วัดเพื่อการประเมินผลงาน
  • ตัวดัชนีชี้วัดที่ดีจะต้องไม่ก่อให้เกิดความขัดแย้งภายในองค์กร

เกณฑ์การทดสอบคุณภาพของดัชนีชีวัด
  • ความพร้าอมของข้อมูล ประเมินว่าดัชนีชี้วัดแต่ละตัวมีข้อมูลเพียงพอหรือไม่
  • ความถูกต้องของข้อมูล ประเมินว่าข้อมูลที่มีอยู่ของดัชนีชี้วัดแต่ละตัวเป็นข้อมูลที่ทันสมัยและเป็นข้อมูลในปัจจุบันหรือไม่
  • ต้นทุนในการจัดหาหรือจัดเก็บข้อมูล ประเมินว่าการหาหรือเก็บข้อมูลสำหรับดัชนีชี้วัดแต่ละตัวใช้ต้นทุนมากน้อยเพียงใด และคุ้มค่าหรือไม่
  • ความชัดเจนของดัชนีชี้วัด ประเมินว่าดัชนีชี้วัดแต่ละตัวมีความชัดเจนและทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องเข้าใจตรงกันหรือไม่
  • ดัชนีชี้วัดแต่ละตัวสะท้อนให้เห็นผลการดำเนินงานที่แท้จริงหรือไม่ หรือแสดงให้เห็นสิงที่ต้องการจะวัดจริงหรือไม่
  • สามารถนำดัชนีชี้วัดไปใช้เปรียบเทียบผลการดำเนินงานกับองค์กรหรือหน่วยงานอื่นหรือผลการดำเนินงานในอดีตได้หรือไม่
  • ดัชนีชี้วัดแต่ละตัวสัมพันธ์กับดัชนีชี้วัดอื่นในเชิงเหตุและผลหรือไม่

ข้อควรระวัง
  • ผู้บริหารขาดความมุ่งมั่นในการสร้างดัชนีชี้วัดความสำเร็จของงาน
  • การกำหนดดัชนีชี้วัดและค่าเป้าหมายที่มีความลำเอียง
  • ดัชนีชี้วัดแต่ละตัวไม่อยู่บนพื้นฐานที่สามารถเปรียบเทียบกันได้
  • ช่วงเวลาในการเก็บข้อมูลของดัชนีชี้วัดไม่เหมาะสมทำให้ไม่สามารถใช้สำหรับการชี้นำหรือบ่งบอกเหตุการณ์ที่อาจจะเกิดขึ้นในอนาคตได้
  • ไม่มีการนำข้อมูลที่ได้จากดัชนีชี้วัดมาประกอบการบริหารเพื่อผลักดันให้เกิดการปรับปรุงอย่างต่อเนื่อง
  • ในการสร้างดัชนีชี้วัดส่วนใหญ่เน้นที่ผลลัพธ์มากกว่ากระบวนการในการสร้างดัชนีชี้วัด

ปัจจัยแห่งความสำเร็จ
  • ความมุ่งมั่นของผู้บริหารในการสร้างดัชนีชี้วัด
  • ใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์รวบรวม ประมวลผลวิเคราะห์ข้อมูล แสดงผล และกระตุ้นเตือนผู้รับผิดชอบดัชนีชี้วัด
  • กำหนดเงื่อนไขการให้คะแนนดัชนีชี้วัดแต่ละตัวให้อยู่บนพื้นฐานที่สามารถนำไปใช้ในการเปรียบเทียบผลงานที่เกิดขึ้นได้
  • ประยุกต์ใช้ดัชนีชี้วัดในการบริหารเพื่อผลักดันให้เกิดการปรับปรุงองค์กรอย่างต่อเนื่อง
  • เชื่อมโยงผลงานที่ได้จากดัชนีชี้วัดกับการประเมินผลการปฏิบัติงาน

การพัฒนาตนเอง (Self Development)

เก่งตน (Self Ability)
หมายถึง เป็นผู้ที่ชอบศึกษาหาความรู้อยู่ตลอดเวลา เพื่อให้ทันโลกทันคน โดยเริ่มจากการพัฒนาตนเองก่อน การพัฒนาตนเองนั้นพัฒนาได้ 3 ทางคือ
  • ทางกาย องค์ประกอบที่สำคัญคือ รูปร่าง พัฒนาให้ดีขึ้นโดยใช้การแต่งกายช่วยลดจุดด้อยหรือเสริมจุดเด่น หน้าตาสดชื่นแจ่มใส สะอาดหมดจด อากัปกิริยา การแสดงออกเข้มแข็งแต่ไม่แข็งกระด้าง อ่อนโยนแต่ไม่อ่อนแอ การยืน การเดิน การนั่ง ต้องมั่นคง เรียบร้อย การแต่งกายต้องสะอาดเหมาะสมกับกาลเทศะ เหมาะสมกับรูปร่างและผิวพรรณ
  • ทางวาจา การพูดดีต้องมีองค์ประกอบ ๔ ประการคือ พูดแต่ดี มีประโยชน์ ผู้ฟังชอบ และทุกคนปลอดภัย ก่อนพูดทุกครั้งต้องคิดก่อนพูด คนที่พูดดี มีปิยะวาจา เป็นลมปากที่หวานหูไม่รู้หาย เป็นที่รักใคร่ชอบพอแก่ทุก ๆ ฝ่ายที่ได้ยินได้ฟัง
  • ทางใจ การพัฒนาทางใจก็มีองค์ประกอบหลายประการ เช่น ความมั่นใจ ถ้ามีความมั่นใจในตนเอง จะทำอะไรก็สำเร็จ ความจริงใจ คือ เป็นคนปากกับใจตรงกัน ความกระตือรือร้น กระฉับกระเฉง แจ่มใส มีชีวิตชีวา ความมานะพยายามไม่ยอมแพ้ต่ออุปสรรค ความซื่อสัตย์สุจริต ความสุขใจ ความอดกลั้น ความมีเหตุผล การมีสมรรถภาพในการจำและมีความคิดสร้างสรรค์

เก่งคน (Self Ability)
หมายถึง มีความสามารถที่จะทำตัวให้เข้าไหนเข้าได้ เป็นที่รักใคร่ชอบพอแก่ทุกฝ่าย มีมนุษยสัมพันธ์ในครอบครัว พ่อแม่ควรรู้หลักจิตวิทยาในการปกครองลูก ให้ความรัก ความอบอุ่นแก่ลูก ลูกก็ไม่ทำตนให้เป็นปัญหาให้พ่อแม่ และมีมนุษยสัมพันธ์ในการทำงาน สามารถทำตนให้เข้ากับคนได้กับทุกคน หากมีผู้บังคับบัญชา ผู้บังคับบัญชาก็รัก หากมีลูกน้อง ลูกน้องก็รัก เพื่อนร่วมงานก็รัก บุคคลภายนอกหรือลูกค้าก็รัก ซึ่งจะก่อให้เกิดประโยชน์กับตนเองและธุรกิจเป็นอย่างยิ่ง

เก่งงาน (Task Ability)
หมายถึง ผู้ที่รักงาน ขยันทำงาน และรู้วิธีทำงาน มีความขยันหมั่นเพียร มานะ อดทน ไม่ยอมแพ้ต่ออุปสรรค

การตลาดหางยาว หรือ Long tail Marketing

การตลาดลองเทล (Long tail Marketing) เป็นการตลาดแนวใหม่ล่าสุดที่สามารถเสนอทางเลือกอันไม่รู้จบให้กับผู้บริโภคได้อย่างน่าทึ่ง โดยไม่จำเป็นต้องจำกัดกลุ่มเป้าหมายเพราะข้อจำกัดด้านเวลา สถานที่ หรืองบประมาณเหมือนวิธีทางการตลาดที่ผ่านมา โดยอาศัยกลไกการตลาดแบบอัตโนมัติ (Marketing Automation) มาตอบสนองความต้องการของลูกค้า 'ทุกราย' ได้อย่างเป็นระบบ
การตลาดหางยาว หรือ Long tail Marketing เปลี่ยนมุมมองการตลาดแบบเดิมๆ ที่ให้ความสำคัญกับการจัดกลุ่มลูกค้าชั้นดีที่มีจำนวนไม่มาก การเน้นลูกค้าที่มีกำลังซื้อสูงเพียงบางกลุ่ม เปลี่ยนเป็นให้ความสนใจกับน้ำหนักของกลุ่มลูกค้าทีมีกำลังซื้อน้อยกว่าแต่มีจำนวนมากกว่าเยอะและยังไม่ค่อยมีใครให้ความสนใจ โดยขอแนะนำให้รู้จักการตลาดหางยาว หรือ Long Tail Marketing กันแบบคร่าว ๆ สัก 4 ประเด็น ได้แก่

1. กฎลองเทล (Long tail) เป็นกฎตรงข้ามกับกฎของพาเรโต
หรือที่เรียกกันคุ้นหูว่ากฎ 80/20  ซึ่งบอกกับนักขายอย่างเราว่า 'สินค้าขายดี 20% สามารถสร้างยอดขายได้ถึง 80%'  หรือไม่ก็ 'ยอดขาย 80% มาจากลูกค้าชั้นดีเพียง 20%' 
แต่กฎลองเทล นั้นตรงข้ามกับกฎ 80/20 และด้วยการท้าทายว่า 'ยอดขายของบรรดา สินค้าที่ขายไม่ดี เมื่อรวมกันแล้วอาจจะสูงกว่ายอดขายของ สินค้าขายดี ก็ได้'
กฎลองเทลตั้งข้อสังเกตว่าการให้ความสำคัญกับลูกค้าชั้นดี 20% ไม่ใช่เรื่องแปลกแต่อย่างใด แต่ว่าทำไมต้องตัดลูกค้าธรรมดาจำนวน 80% ทิ้งออกไปด้วย

2. กลยุทธ์หลักของการตลาดลองเทล (Long tail) คือ การไม่เจาะจงกลุ่มลูกค้า
นั่นคือต้องการได้ลูกค้าทั้ง 100% โดยใช้ระบบเป็นผู้รับเรื่อง ทำให้สามารถตอบสนองได้ทุกเรื่อง ไม่เว้นแม้แต่ตลาดนิช (Niche Market) ที่เล็กที่สุดที่อยู่ในส่วนหางที่ยาวออกไปอย่างไม่มีที่สิ้นสุดได้อย่างมีประสิทธิภาพและครอบคลุมทั้งหมด

3. กลยุทธ์การตลาดลองเทล (Long tail) ไม่ได้เป็นกลยุทธ์การตลาด สำหรับบริษัทที่ทำธุรกิจทางอินเทอร์เน็ตเท่านั้น
ประเด็นของกลยุทธ์นี้ไม่ได้อยู่ที่ การขายโดยใช้อินเทอร์เน็ต แต่เป็นการขายโดยอัตโนมัติ ร้านค้าหรือกิจการที่ทำคนเดียวก็สามารถนำเอากลยุทธ์การตลาดลองเทลนี้ไปใช้ประโยชน์ได้เช่นกัน

4. กลยุทธ์การตลาดลองเทล (Long tail) ไม่ได้ใช้ได้เฉพาะกับ "สินค้า" เท่านั้น
นอกจากสินค้าแล้ว ยังมีลองเทล (Long Tail) ของ 'ลูกค้า' (Customer) และ 'การให้บริการ' (Service) ด้วย   

หากท่านอยากรู้รายละเอียดของกลยุทธ์ลองเทล (Long Tail Marketing) อยากเพิ่มยอดขายให้ตัวเอง อยากได้ลูกค้าใหม่เพิ่มขึ้น โดยใช้ต้นทุนและทรัพยากรที่มีอย่างจำกัด ขอแนะนำให้รีบศึกษาเพิ่มเติมโดยด่วน

การตลาดโดยตรง (Direct Marketing)

ธุรกิจเอสเอ็มอีเป็นธุรกิจที่มีขนาดเล็กและงบประมาณน้อย ดังนั้นการทุ่มเทเม็ดเงินเพื่อสื่อสารไปยังลูกค้ากลุ่มเป้าหมายต้องมั่นใจว่า ผู้รับสารเหล่านั้นเป็นกลุ่มเป้าหมายอย่างแท้จริงและที่สำคัญต้องมีศักยภาพในการซื้อสินค้า การใช้การตลาดโดยตรงจึงเป็นเครื่องมือที่มีคุณสมบัติครบถ้วนที่จะตอบสนองวัตถุประสงค์ของธุรกิจเอสเอ็มอีได้เป็นอย่างดี โดยเฉพาะอย่างยิ่งการทำฐานข้อมูล (Database Management) ที่บันทึกรายละเอียดและพฤติกรรมของลูกค้ากลุ่มเป้าหมายไว้อย่างเป็นระบบและมีการบริหารจัดการข้อมูลอย่างถูกต้อง ย่อมส่งผลให้เกิดความสัมพันธ์ระหว่างธุรกิจกับลูกค้ากลุ่มเป้าหมายได้เป็นอย่างดี อันนำไปสู่ความจงรักภักดีของลูกค้าที่มีต่อธุรกิจในที่สุด
หลักการที่สำคัญอย่างหนึ่งของการทำฐานข้อมูลก็เพื่อสนับสนุนแนวคิดเรื่องของกฎ 80 : 20 นั่นเอง ซึ่งแนวคิดนี้มีความเชื่อในเรื่องของความสัมพันธ์ของลูกค้ากับมูลค่าการขายสินค้าที่ว่าร้อยละ 80 ของลูกค้ามีพฤติกรรมการซื้อสินค้าเพียงร้อยละ 20 ของมูลค่าการขายทั้งหมด
ในขณะที่ลูกค้าที่เหลืออีกร้อยละ 20 กลับมีพฤติกรรมการซื้อสินค้าถึงร้อยละ 80 ของมูลค่าการขายทั้งหมด นั่นแสดงว่าลูกค้ากลุ่มหลังเป็นส่วนสำคัญที่ธุรกิจต้องให้ความสำคัญและมุ่งสร้างความสัมพันธ์ที่ดีกับลูกค้ากลุ่มนี้ให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุดโดยผ่านฐานข้อมูลทางการตลาด
กลวิธีของการตลาดโดยตรงที่เหมาะสมกับธุรกิจเอสเอ็มอีมีหลายวิธีด้วยกัน เช่น การส่งจดหมายไปยังกลุ่มลูกค้าเป้าหมายเพื่อให้ข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับสินค้าและธุรกิจ การติดต่อผ่านอีเมล์ โทรศัพท์ โทรสาร ตลอดจนการติดต่อเป็นส่วนบุคคล ซึ่งล้วนมีประโยชน์และสร้างผลกระทบต่อยอดขาย ตลอดจนสามารถสร้างความสัมพันธ์อันดีระหว่างธุรกิจเอสเอ็มอีกับลูกค้าได้เป็นอย่างดี?

วันศุกร์ที่ 10 สิงหาคม พ.ศ. 2555

ความสามารถในการผลิต (Productivity)

ในทางวิชาการคำว่า Productivity หมายถึง ผลภาพ (บัญญัติศัพท์โดยหนังสือราชบัญฑิตยสถาน) แต่ไม่เป็นที่นิยมใช้กันเนื่องจากคนส่วนใหญ่มักจะใช้คำว่า “ การเพิ่มผลผลิต ” ซึ่งสื่อความหมายได้ดีกว่า

ในความเข้าใจของผู้คนทั่วไปมองว่า “ การเพิ่มผลผลิต ” กับ “ การผลิต ” นั้น มีความหมายเหมือนกันแต่ในความเป็นจริงแล้วทั้งสองอย่างนี้แตกต่างกันอย่างชัดเจน ก็คือ “ การผลิต ” จะเกี่ยวข้องกับผลผลิต ซึ่งมักจะเรียกกันโดยทั่วไปว่าปริมาณการผลิตและมีการนับเป็นหน่วยได้ ในขณะที่ “ การเพิ่มผลผลิต ” จะหมายถึง “ ผลิตภาพ ” (Productivity) ก็คือ “ อัตราส่วน ” ระหว่างผลผลิตที่ได้และสิ่งที่ป้อนเข้าไป (วัตถุดิบที่ใช้ไปเพื่อการผลิตได้ผลผลิตจำนวนนั้น)

ในทางปฏิบัติแล้ว เมื่อพูดถึง “ การเพิ่มผลผลิต ” เราควรจะต้องพิจารณาอีก 2 ปัจจัยสำคัญพร้อมกันไปด้วย คือ ประสิทธิภาพ (Efficiency) และประสิทธิผล (Effectiveness)

“ ประสิทธิภาพ ” จะมุ่งถึงความประหยัดและต้นทุนค่าใช้จ่ายที่ต่ำเป็นหลัก นั่นหมายถึง การรักษาระดับการผลิตที่มีคุณภาพโดยใช้เวลาน้อยลงหรือมีการสูญเสียเกิดขึ้นน้อย ส่วน “ ประสิทธิผล ” จะหมายถึงการบรรลุผล หรือหมายถึงผลิตได้ผลหรือทำได้ตามเป้าหมายที่ตั้งไว้

แนวทางการเพิ่มผลผลิต

การเพิ่มผลผลิตมีได้หลายรูปแบบ เช่น การลดเวลาในการผลิต (Cycle Time), การลดต้นทุนของวัตถุดิบ (Material cost) ที่ใช้ในการผลิต , การลดจำนวนของเสีย (Defect Reduction) และอื่น ๆ ซึ่งตามที่ Sumanth (1985) ได้กล่าวถึงประเภทของเทคนิคในการเพิ่มผลผลิตไว้ด้วยกัน 5 ประเภท ดังนี้ คือ

• เทคนิคการเพิ่มผลผลิตโดยพิจารณาจากการทำงาน

• เทคนิคการเพิ่มผลผลิตโดยนำเทคโนโลยีเข้ามาช่วยในการทำงาน

• เทคนิคการเพิ่มผลผลิตโดยพิจารณารูปแบบการทำงานของพนักงาน

• เทคนิคการเพิ่มผลผลิตโดยพิจารณาคุณค่าและรูปแบบของผลิตภัณฑ์

• เทคนิคการเพิ่มผลผลิตโดยพิจารณาระบบการจัดการของวัสดุ

ด้วยเทคนิคต่างๆ ที่ได้กล่าวมานั้นล้วนเป็นการเพิ่มผลผลิตทั้งสิ้น ซึ่งในคอลัมนี้เราขอเสนอเทคนิคการเพิ่มผลผลิตโดยนำเทคโนโลยีเข้ามาช่วยในการทำงาน เช่น สำหรับงานเจาะรูและโครงสร้างในงานอุตสาหกรรมเหล็กเป็นปัจจัยและงานหลักๆที่พบเห็นกันมาก จึงขอยกตัวอย่างสำหรับงานที่จำเป็นต้องเจาะรูประมาณ 1,000 รู ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 50 มิลลิเมตรและมีความหนา 35 มิลลิเมตร โดยปกติการเจาะทั่วไปนั้นไม่สามารถเจาะรูโดยดอกสว่าน ( Twist Drillls) ขนาดใหญ่ 50 มิลลิเมตรให้เสร็จในครั้งเดียวได้ แต่ต้องเริ่มโดยการเจาะดอกสว่านขนาดเล็กนำร่องมาก่อน ขนาด 10 มิลลิเมตรและอาจต่อด้วยดอกขนาด 35 มิลลิเมตรและจบด้วยขนาด 50 มิลลิเมตรอีกครั้งหนึ่ง ซึ่งระยะเวลาในการทำงานของแต่ละดอกอาจใช้เวลาประมาณ 3 – 5 นาที หากเรานำมาคำนวณเวลาที่ต้องใช้ในการเจาะไม่รวมเวลาในการเปลี่ยนดอกเจาะ

ตัวอย่างที่ 1 การเจาะ 1 รูต้องใช้เวลา = จำนวนการเจาะ 3 ครั้ง * 5 นาที = 15 นาที

ถ้าต้องเจาะ 1,000 รู = 15 นาที * 1,000 = 15 ,000 นาที

15,000 นาที = 2 50 ชั่วโมง หรือเท่ากับ 10.41 วัน

หากลองใช้ดอกเจาะ Jet broach ในงานเดียวกันนั้นจะเห็นว่าดอกเจาะแบบนี้จะทำให้ลด (เวลา) ขั้นตอนในการทำงาน ประหยัดพลังงาน และทำให้เกิดเศษขี้เหล็กที่น้อยกว่า ซึ่งข้อดีเหล่านี้เกิดจากความสามารถของดอกเจาะที่สามารถเจาะรูเหล็กที่มีเส้นผ่าศูนย์กลางขนาดใหญ่และหนาได้ในการเจาะครั้งเดียว และหากนำมาคำนวณระยะเวลาในการทำงาน กับการเจาะรู 1,000 รู ในงานเดียวกันจะใช้เวลาเพียง 2 นาที
ตัวอย่างที่ 2 จำนวนการเจาะ 1 ครั้ง = 2 นาที * 1000 = 2 000 นาที

2 000 นาที = 33.33 ชั่วโมง หรือเท่ากับ 1.39 วันเท่านั้น

และนี้ก็เป็นเพียง 1 แนวทางการเพิ่มผลผลิตที่จะช่วยลดเวลาในการทำงานและส่งมอบงานได้เร็วขึ้น อีกทั้งยังเป็นการประหยัดค่าแรงคนงานลงอีกด้วย

โดยสรุปแล้ว “ การเพิ่มผลผลิต ” หรือ “ ผลิตภาพ ” (Productivity) ก็คือความสามารถในการใช้ทรัพยากรต่างๆ หรือวัตถุดิบต่างๆเพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์หรือผลลัพธ์เป้าหมายที่ตั้งไว้อย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล ซึ่งจากที่กล่าวมาข้างต้นนั้นจะเห็นว่า Productivity มีความสำคัญต่อองค์กร เพื่อให้เกิดประสิทธิภาพและประสิทธิผลในการทำงานและตอบสนองความต้องการของลูกค้านั้นเอง ท่านสามารถนำเทคนิคเหล่านี้มาใช้กับงานของท่านได้ตามความเหมาะสม ไม่เพียงเท่านั้นท่านยังร่วมเป็นส่วนหนึ่งที่จะช่วยลดภาวะโลกร้อนได้อีกทางหนึ่งด้วย

การวัดความเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ (Economic Growth)

ความสามารถในการผลิต (Productivity) หมายถึง ระดับเฉลี่ยของผลผลิตต่อคนงานต่อชั่วโมง เป็นการวัดประสิทธิภาพของการผลิตสำหรับระบบเศรษฐกิจแต่ละระบบ การเพิ่มขึ้นของความสามารถในการผลิตเป็นผลจากการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ เพราะทำให้แรงงานสามารถผลิตสินค้าและบริการได้จำนวนมากขึ้น

การวัดผลผลิตทางเศรษฐกิจแห่งชาติของแต่ละประเทศ ทำได้โดยใช้ผลิตภัณฑ์ประชาชาติเบื้องต้น (Gross National Product หรือ GNP) ซึ่งหมายถึง มูลค่ารวมของสินค้าและบริการทั้งหมดที่ผลิตโดยประชาชนประเทศนั้นในงวดเวลาที่กำหนด (ปกติภายในระยะเวลา 1 ปี) และการที่จะวัดรายได้ประชาชาติ (GNP) ของประเทศใดสมควรใช้ GNP ต่อคน (GNP per Capita) จึงจะทราบถึงความเจริญเติบโตที่แท้จริง

นักเศรษฐศาสตร์อาจนิยมใช้ผลิตภัณฑ์ประชาชาติในประเทศเบื้องต้น (Gross Domestic Product หรือ GDP) ซึ่งหมายถึง มูลค่ารวมของสินค้าและบริการขั้นสุดท้ายที่ผลิตขึ้นได้ภายในประเทศในระยะ เวลา 1 ปี มาเป็นเครื่องวัดผลการดำเนินงานทางด้านเศรษฐกิจ คำนิยามของผลิตภัณฑ์มวลรวม หรือ GDP นี้จะคล้ายกับ GNP มาก แต่มีข้อแตกต่างคือ GDP จะไม่รวมรายได้สุทธิจากต่างประเทศ

ชนิดของการแข่งขัน
ระบบตลาดเสรี (Free - Market System) แสดงให้เห็นการแข่งขันระหว่างผู้ขายสินค้าและทรัพยากร นักเศรษฐศาสตร์แบ่งการแข่งขันในตลาดออกเป็น 4 ตลาด คือ

1. ตลาดแข่งขันสมบูรณ์ (Pure Competition) เป็นสถานการณ์ทางตลาดที่มีผู้ซื้อและผู้ขายสินค้าชนิดเดียวกันหลายราย แต่ไม่มีใครมีอิทธิพลมากพอที่จะควบคุมราคาสินค้านั้นได้ เพราะสินค้ามีลักษณะคล้ายคลึงกัน สามารถใช้ทดแทนกันได้อย่างสมบูรณ์ การเข้าสู่ตลาดหรือออกจากตลาดของผู้ผลิตเป็นไปโดยง่าย ตลอดจนผู้ซื้อและผู้ขายมีความรู้เกี่ยวกับตลาดเป็นอย่างดี ความจริงแล้วตลาดชนิดนี้ไม่มีอยู่จริงในโลก และถือเป็นเพียงตลาดในอุดมคติ (Ideal Market) เท่านั้น

2. ตลาดกึ่งแข่งขันกึ่งผูกขาด (Monopolistic Competition) เป็นตลาดที่มีสภาพใกล้เคียงกับความ เป็นจริงในปัจจุบันมากที่สุด คือ เป็นระบบตลาดที่มีผู้ขายจำนวนมาก โดยขายผลิตภัณฑ์แตกต่างกัน ทั้งนี้ในการเข้าสู่ตลาดหรือออกจากตลาดในระยะยาวจะค่อนข้างง่าย เช่น ระบบตลาดของไทย และสหรัฐอเมริกา เป็นต้น

3. ตลาดที่มีผู้ขายน้อยราย (Oligopoly) เป็นตลาดที่มีผู้ขายตั้งแต่ 2 รายขึ้นไป โดยทั่วไปเป็นผู้ขายรายใหญ่ ทั้งจำนวนเงินลงทุนและขนาดของกิจการ โดยอาจจะขายผลิตภัณฑ์ที่เหมือนกันหรือต่างกันก็ได้ เช่น ตลาดน้ำอัดลมของไทย เป็นต้น

4. ตลาดผูกขาด (Monopoly) คือ ตลาด (หรืออุตสาหกรรม) ที่มีผู้ขายเพียงรายเดียว โดยเป็นผลิตภัณฑ์ที่ไม่มีผลิตภัณฑ์ใดทดแทนได้ เช่น การผลิตบุหรี่ของโรงงานยาสูบ การผลิตไฟฟ้า ประปา เป็นต้น

วงจรชีวิตผลิตภัณฑ์ (Product Life Cycle)


•ขั้นแนะนำ(IntroductionStageอาจเป็นผลิตภัณฑ์ใหม่หรือผลิตภัณฑ์เก่าแต่เปลี่ยนรูปแบบวิธีการให้บริการใหม่และนำเสนอเข้าสู่ตลาดพร้อมทั้งใช้การโฆษณาประชาสัมพันธ์และกลยุทธ์การส่งเสริมการขายในรูปต่างๆ โดยมุ่งไปยังลูกค้าที่คิดว่าพร้อมจะซื้อสินค้าและบริการมากที่สุดเป็นเป้าหมายหลัก
สำหรับผลิตภัณฑ์การท่องเที่ยว วัตถุประสงค์ของการดำเนินงานในขั้นแนะนำนั้น เพื่อสร้างความรู้สึก จดจำ ให้ภาพลักษณ์แก่นักท่องเที่ยว ขยายตลาดลูกค้าประจำ และแสวงหาตลาดใหม่ การหวังผลกำไรจึงเป็นได้ยากถ้าเป็นแหล่งท่องเที่ยวจะอยู่ในขั้นการสำรวจและดึงดูดความสนใจของนักท่องเที่ยว



•ขั้นเจริญเติบโต (Growth Stage) ผลิตภัณฑ์เป็นที่รู้จักแพร่หลาย ปริมาณการขายเพิ่มขึ้นได้รับความนิยมจากลูกค้ากำไรให้แก่ธุรกิจได้ดี ผู้ประกอบการต้องเร่งการผลิตเพื่อตอบสนองให้ทันต่อความต้องการ รวมทั้งการรักษาและปรับปรุงคุณภาพของผลิตภัณฑ์ให้มากขึ้นด้วย เพื่อรักษากลุ่มลูกค้าเดิม เพิ่มสัดส่วนการถือครองตลาด (market share) และขยายไปยังกลุ่มลูกค้าใหม่ๆ ถ้าเป็นแหล่งท่องเที่ยวจะมีการดำเนินและพัฒนาให้เป็นสถานที่ท่องเที่ยว
•ขั้นเจริญเติบโตที่ (Maturity Stage) ผลิตภัณฑ์เป็นที่ยอมรับของตลาด เริ่มคู่แข่งขันการโฆษณาและส่งเสริมการขายจะเปลี่ยนจากการเน้นความต้องการทั่วไป เป็นความต้องการในขั้นเลือก(selective demand) ทำให้เกิดความพยายามสร้างความแตกต่างในตัวสินค้า (product differentiation) จำเป็นต้องลดราคา หรือ กำไรต่อหน่วย ถ้าเป็นแหล่งท่องเที่ยวจะมีนักท่องเที่ยว เข้าไปเที่ยวเป็นจำนวนมาก มีสิ่งอำนวยความสะดวกครบถ้วน สำหรับผลิตภัณฑ์การท่องเที่ยว
•ขั้นอิ่มตัว (Saturation Stage) มียอดขายเพิ่มขึ้นในอัตราที่ลดลง ผลิตภัณฑ์ที่ด้วยกว่าของบริษัทคู่แข่งจะออกสู่ตลาด มีการขายตัดราคากัน ตัวแทนจำหน่ายอาจลดการสั่งซื้อจำเป็นต้องเร่งการส่งเสริมการขายทั้งร้านค้าตัวแทนจำหน่าย และผู้บริโภค พร้อมทั้งปรับปรุงคุณภาพผลิตภัณฑ์ ราคา ช่องทางการจัดจำหน่าย การส่งเสริมการจำหน่าย เพื่อขยายตลาดลูกค้าให้กว้างออกไป
•ขั้นตกต่ำ หรือถดถอย (Decline Stage) ผู้ผลิตพยายามลดจำนวนผลิตภัณฑ์ในตลาดเนื่องจากผลิตภัณฑ์ไม่ทันสมัย ยอดขายลดลงไม่สามารถรักษาส่วนแบ่งของตลาดไว้ได้ การส่งเสริมการขายน้อยลง จำเป็นต้องเริ่มวงจรชีวิตผลิตภัณฑ์ใหม่ ด้วยการปรับปรุงผลิตภัณฑ์ หรือให้ผลิตภัณฑ์นั้นออกจากตลาดไป แล้วเสนอผลิตภัณฑ์ใหม่แทน เช่น ตลาดน้ำวัดไทร ปัจจุบันเปลี่ยนที่ไปเป็นตลาดน้ำดำเนินสะดวก ราชบุรีหรือแหล่งท่องเที่ยวบางแห่งเสื่อมโทรมจนไม่มีใครอยากมาเที่ยวอีก
ดังนั้นการวางแผนและพัฒนาตลาดการท่องเที่ยวจึงมุ่งความสำคัญไปที่การวางแผนและพัฒนาผลิตภัณฑ์ โดยเฉพาะแหล่งท่องเที่ยวไม่จำเป็นต้องเดินทางไปสู่ความเสื่อมโทรมเสมอไป วงจรชีวิตอาจขยายหรือยึดออกไปได้ด้วยการวางแผนพัฒนาปรับปรุงแก้ไขที่ดี พัฒนาโดยการคำนึงถึงความสามารถในการรองรับของพื้นที่ การจัดบริการสิ่งอำนวยความสะดวก ความร่วมมือของประชาชนในท้องถิ่นและของนักท่องเที่ยว ผู้ประกอบธุรกิจใช้วิธีการขายร่วม คือเอาแหล่งท่องเที่ยวที่มีลักษณะใกล้เคียงกันมาทำ package ขายให้นักท่องเที่ยวไปในคราวเดียวกัน หรือปรับตำแหน่งทางการตลาด เช่น พัทยา เป็น Convention Hall City จำทำให้แหล่งท่องเที่ยวสามารถรองรับความเปลี่ยนแปลงได้อย่างเหมาะสม สามารถกลับฟื้นคืนสภาพเพื่อเริ่มวงจรใหม่ได้

ระบบ Just in Time

ระบบ Just in Time ที่ในภาษาไทยเราเรียกกันว่า “ระบบทันเวลาพอดี” หมายถึงระบบใน
กระบวนการผลิตที่วางอยู่บนหลักการที่จะกำจัดความสูญเสียที่เกิดขึ้นในกระบวนการผลิต รวมทั้งการดำเนินการให้มีการปรับปรุงอย่างต่อเนื่อง ถูกจัดเป็น
ระบบการผลิตแบบญี่ปุ่น (Japanese Manufacturing System) ที่สำคัญระบบหนึ่ง

ปรัชญาการผลิตแบบนี้ยังเน้นในเรื่องของ “การผลิตชิ้นส่วนที่ถูกต้อง ณ สถานที่ที่ถูกต้อง ในเวลาที่ถูกต้อง” ซึ่งก็หมายถึงทันเวลาพอดีนั่นเอง เรื่อง
การกำจัดของเสีย หรือความสูญเสีย ที่เป็นที่รู้จักกันดี มี 7 ประเภท เรียกเป็นภาษาอังกฤษว่า Seven waste หากเป็นภาษาญี่ปุ่นเขียนเป็นอังกฤษคือ 7
Mudas คือ
1. ความสูญเสียจากการผลิตมากเกินไป (Over Production Waste)
2. ความสูญเสียจากการขนส่ง (Transportation Waste)
3. ความสูญเสียจากการรอคอย (Waiting Waste)
4. ความสูญเสียจากสินค้าคงคลัง (Inventory Waste)
5. ความสูญเสียจากผลิตภัณฑ์บกพร่อง (Defects Waste)
6. ความสูญเสียจากการเคลื่อนไหว (Motion Waste)
7. ความสูญเสียจากกระบวนการมากเกินไป (Overprocessing Waste)

ขยายความของทั้ง 7 ข้อนี้ผมแยกไปพูดในอีกหน้าหนึ่งต่างหากครับ ในหัวข้อ Seven Waste

นอกจากนั้นความหมายของ JIT ยังถูกเอาไปเรียกรวมๆกันกับ การผลิตแบบลีน หรือ Lean Production หรืออาจจะเรียกว่าการผลิตแบบไม่มีสต็อค
(Stockless Production) ก็ได้ครับ ชื่อมันโยงกันไปโยงกันมา อย่าไปสับสนแล้วกัน คุณจะเห็นได้ว่าเจ้าชื่อที่เรียกว่า Stockless Production นั้นมันก็เป็น
หัวข้อหนึ่งอยู่ใน 7 waste อีกด้วย คือ Inventory Waste ที่จะต้องดำเนินการให้หมดไป เอาเป็นสรุปหลัการง่ายๆว่า ในระบบ JIT นั้นกระบวนการผลิตจะ
ไหลไปอย่างต่อเนื่องโดยไม่ยอมให้ติดขัด มีลักษณะคล้ายกับสายการประกอบที่ไหลไปตามสายพาน โดยในแต่ละจุดหรือสถานีงาน (work station) ที่ต้อง
มีการใช้ชิ้นส่วนต่างๆก็จะมีการเตรียมพร้อมไว้แล้วโดยไม่ขาด และเมื่อชิ้นส่วนพร่องไปก็จะถูกเติมทันที

อย่า งง นะครับว่าเขาทำอย่างไร ให้ชิ้นส่วนในการผลิตไม่ขาด แล้วยังไม่มีการสต็อคอีกด้วย เขาทำได้ครับด้วยแผนการผลิตที่มีประสิทธิภาพสูงโดย
ต้องวางแผนให้มีวัสดุป้อนไม่ขาด และทันเวลาที่ต้องใช้พอดี สำหรับโรงงานที่จะทำแบบนี้ได้ต้องยิ่งใหญ่จริงๆ เพราะตัวเองไม่มีสต็อค แล้วชิ้นส่วนมันมา
จากไหนกัน มันก็มาจาก Supplier นั่นไงครับ ถามว่าใครหนักงานนี้ มันก็ Supplier นั่นแหละ ที่จะต้องส่งของให้ทันตามเวลาที่เขาจะใช้ แล้วแบบนี้คุณคิดว่า
Supplier ต้องสต็อคของหรือไม่ อ้อ! แน่นอนครับ หากไม่สต็อคมันก็เสี่ยง คุณส่งให้เขาไม่ทันโดนปรับอานครับ สมมุติโรงงานที่มีระบบ JIT อยู่ระยอง แล้ว
โรงงานคุณอยู่เทพารักษ์ มันก็วุ่นพอดูเหมือนกันทำให้คุณต้องเก่งในการวางแผนด้วย ไม่งั้นต้องแบกรับหนัก แต่เขาคงให้ราคาดีมันถึงอยู่กันได้ แล้วดูซิครับ
เขาจะยิ่งใหญ่แค่ใหน

ระบบนี้ถูกพัฒนาโดยโตโยต้าครับ ในต้นทศวรรษ 1950 โน่น แล้วก็เป็นที่รู้จักกันในชื่อว่า Toyota Production System – TPS แปลเป็นไทยก็ได้ว่า
“ระบบการผลิตแบบโตโยต้า” เห็นไหมครับ มาอีกชื่อหนึ่งแล้ว เมื่อเกิดระบบ TPS นี้ขึ้นมาโรงงานในญี่ปุ่นก็เอาไปใช้หลายแห่งในต้นทศวรรษ 1970 ซึ่งผม
ไม่สงสัยเลยเพราะญี่ปุ่นนั้นพูดได้ว่าระบบชั้นยอด และคนก็ชั้นยอดไม่แพ้กัน และในที่สุดก็ไปโผล่ที่อเมริกาในต้นทศวรรษ 1980 โดยบริษัท GE เป็นแห่ง แรก และก็ถูกนำไปใช้ทั่วโลก

ต้องเข้าใจว่าดูตามชื่อเห็นมันเล็กๆ แต่จริงๆแล้วไม่เล็กเลย ใน JIT ยังมีระบบย่อยๆอีกมากมายประกอบกันอยู่ มีอะไรบ้างครับ
ลองมาไล่เรียงดู

1 สายการผลิตต้องสม่ำเสมอ การผลิตไหลไปเหมือนน้ำในท่อน้ำที่มีขนาดภายในของท่อเท่ากันตลอด (จินตนาการเอากับท่อน้ำที่ไม่เป็นสนิมเกาะเองแล้วกัน)

2 ลดเวลาการปรับตั้งเครื่องจักร ให้เป็นศูนย์ บางทีอาจจะมองว่ามันจะเป็นไปได้อย่างไร ตรงนี้อาจต้องขึ้นกับสถานภาพในการผลิตด้วย หากจะเปลี่ยน
ผลิตภัณฑ์แล้วมีเครื่องจักรเตรียมพร้อมอยู่ก่อนแล้วก็ย่อมสามารถทำได้ แต่ถึงแม้จะไม่ได้ศูนย์ระบบนี้ก็ยังเหนือกว่าหลายประเทศรวมทั้งอเมริกา เพราะ JIT
ใช้เวลาเป็นนาที แต่ประเทศทั้งหลายเป็นชั่วโมงครับ

3 ลดขนาดรุ่นของการผลิต สามารถปรับปริมาณการผลิตได้ตามความต้องการของลูกค้า หรือจะเรียกว่าสามารถ flexible ได้

4 ลด Production lead time ด้วยการจัดสถานีงานให้ใกล้กัน ใช้หลักการของ groip technology และ หลักการ Cellular manufacturing

5 มีระบบการบำรุงรักษาเชิงป้องกัน หรือ Preventive Maintenance

6 ปริมาณแรงงานที่ปรับไปปรับมาได้ ไม่ตายตัว นี่ก็ flexible เช่นกัน ไม่เหมือนโรงงานในเมืองไทยที่เห็นกันทั่วๆไป

7 ระบบการจ่ายวัตถุดิบเป็นแบบ pull method of material flow แปลเป็นไทยได้ว่า “ระบบการไหลของวัตถุดิบแบบดึง” ก็คือการจ่ายตามความต้องการ
นั่นเอง เมื่อยังไม่ใช้ก็ไม่มีการจ่าย แล้วก็ไม่มีการสต็อคด้วย จะใช้ก็สั่งเอา Supplier ก็จะมาส่ง แต่ไม่ใช่คิดจะสั่งก็สั่ง ทั้งหมดนี้ผ่านทางการวางแผนการผลิต
ที่มีประสิทธิภาพเยี่ยมครับ

8 คุณภาพสูงอย่างคงที่ (Consistently High Quality) ระบบ JIT เน้นการคงรักษาคุณภาพของผลิตภัณฑ์ และกระบวนการทำงาน เทียบได้กับ TQM เลย
ทีเดียว

9 Supplier ต้องมีของเสียเป็นศูนย์ ที่ญี่ปุ่นใช้คำว่า Quality Assurance หรือ QA นั่นเอง ของเสียเป็นศูนย์ผมไม่สงสัย สงสัยแต่เจ้าคำว่า QA นี่เองที่มันตี
กับสากล QA ของสากลคือประกันคุณภาพทั้งระบบตั้งแต่การรับคำสั่งซื้อขนถึงบริการหลังการขาย ไม่ใช่แค่การตรวจสอบคุณภาพ หรือ QC มีศักดิ์ศรีเท่า TQM แต่โรงงานในไทยสไตล์ญี่ปุ่นหลายแห่ง ใช้คำว่า QA ซึ่งก็คือ 100% inspection แล้วมันแน่จริงหรือ
ที่ 100% inspection มันจะไม่มีของเสีย ดูแค่ ความล้าของคนตรวจ หรือเครื่องจักรก็เห็นแล้ว จึงค่อนข้างจะเป็น งง เหมือนกันครับ เจอมาเกือบทั้งหมดพอถามความหมายของ QA ตอบไม่เต็มปากว่าคุณ ทำ 100% final inspection ใช่หรือไม่ ในกระบวนการ
คุณทำ 100% หรือเปล่า คุณถึงเรียกงานคุณว่า QA แล้วในเวลาเดียวกัน แผนก QC ก็อันตรธาน หายไป

10 ชิ้นส่วนหรือส่วนประกอบที่ได้มาตรฐาน (Standard Parts or Components) ตรงนี้สอดคล้องกับข้อ 9 ชิ้นส่วนทุกชิ้นที่รับเข้า หรือผลิตจะต้องมี มาตรฐานกำกับครบถ้วน

11 ใช้ระบบคัมบัง (Kanban)

12 ระบบการทำงานที่เป็นมาตรฐาน (Standard Work Method) ระบบนี้จะมีการสร้างมาตรฐานการทำงานขึ้นมา จัดทำเป็นเอกสาร ให้ความรู้กับบุคลากร
และเน้นให้ปฏิบัติตามคู่มือ

ขอย้ำไว้อีกทีว่าระบบนี้สมรรถนะสูงมาก และเป็นที่ยอมรับกันในสากลทีเดียว ใครสนใจก็ต่อยอดศึกษาเพิ่มได้ตามประเด็นย่อยที่แสดงไว้ หากใจไม่
ถึงทำยากครับ

ประเด็นอื่นๆ อาจหาอ่านได้จากหัวข้อ Lean Manufacturing – การผลิตแบบลีน

การบริหารการผลิตและการปฏิบัติการ (Introduction to Production and Operation Management)

การบริหารเป็นเรื่องสำคัญที่จำเป็นต้องพิจารณาในการดำเนินงาน ทั้งด้านการผลิตและการบริการ ผู้บริหารจะต้องมีการพิจารณาปัจจัยนำเข้า และกระบวนการผลิต ไปจนถึงปัจจัยนำออก สิ่งเหล่านี้จะต้องสามารถวัดผลได้ จึงจะถือว่าการดำเนินงานมีประสิทธิภาพ

การผลิตและการปฏิบัติการ
การจัดการการผลิตและการปฏิบัติงาน
การศึกษาด้านการบริหารการผลิตและการบริหารการปฏิบัติการ
องค์การกับการจัดการด้านการปฏิบัติงาน
แนวโน้มของการจัดการด้านการปฏิบัติงาน
การปฏิบัติการในส่วนของงานบริการ
ผลผลิต
การวัดผลผลผลิต
ตัวแปรที่เกี่ยวข้องกับผลผลิต
ผลผลิตและการบริการ
การดำเนินงานด้านการผลิตหรือการบริการสำหรับธุรกิจต่างๆ ในปัจจุบันนี้ ผู้บริหารนิยมใช้กลยุทธ์ที่หลากหลายเพื่อสร้างข้อได้เปรียบในการแข่งขัน เช่น การลดต้นทุน, การตอบสนองที่รวดเร็ว, การสร้างความแตกต่าง ฯลฯ ซึ่งปัจจัยเหล่านี้จะช่วยให้การดำเนินงานมีประสิทธิภาพและประสบความสำเร็จตามเป้าหมาย

การกำหนดภารกิจ กลยุทธ์และยุทธวิธี
ส่วนประกอบของกลยุทธ์การปฏิบัติการ
ข้อควรพิจารณาในการกำหนดกลยุทธ์การดำเนินงาน
การบรรลุข้อได้เปรียบทางการแข่งขันด้วยการปฏิบัติการ
การตัดสินใจในการบริหารการปฏิบัติการ 10 ประการ
ข้อคำนึงสำหรับกลยุทธ์การปฏิบัติการ
การพัฒนากลยุทธ์และการปฏิบัติการ
ปัจจัยสู่ความสำเร็จที่สำคัญ
การสร้างและการจัดหาคนเข้าทำงานขององค์กร

วันพฤหัสบดีที่ 7 มิถุนายน พ.ศ. 2555

แนวทางการรักษาเสถียรภาพของ BOP

แนวทางการรักษาเสถียรภาพของ BOP หลักการ (หมายความว่า ท่าขาดดุล จะให้ทำอย่างไร) 1. Import Restriction Policy นโยบายจำกัดการนำเข้า โดย **** Tariff Tax ใช้กำแพงภาษี ขึ้นภาษีนำเข้าให้สูง (Import Tax) สินค้าบวกภาษี ซึ่งเป็นเครื่องมือ ลดการขาดดุลทางการค้า ผลที่เกิดขึ้น ราคาสินค้าจะแพงขึ้น Demandลดลง กำแพงภาษีทำให้รัฐได้เงินไม่มาก เพราะ ผู้นำเข้าจะไม่นำเข้าตั้งแต่ต้น กำแพงภาษีไม่ได้เป็นเครื่องมือในการหารายได้ แต่เป็นเครื่องมือใน การรักษาเสถียรภาพขาดดุลการค้า ****Quota Restriction : การจำกัดปริมาณ เป็นการจำกัดปริมาณ หรือจำนวนการสนำเข้า โดยนำเข้าได้ตามโควตาที่กำหนด ถ้าเกิน กว่านั้นเข้าไม่ได้ 1+2=****Tariff Quota : จำกัดการนำเข้า และจำกัดโควตา สามารถนำเข้าได้ แต่ถ้าเกินโควตาที่กำหนดจะต้องเสียภาษีสูง ประเทศที่พัฒนาแล้วชอบใช้ เช่น อเมริกา ญี่ปุ่น หรือที่เรียกว่า GSP (Generalized System of Preference) ซึ่งเป็นสิทธิพิเศษทาง ภาษี ส่วนมากให้สินค้าประเภทอุตสาหกรรม ที่ให้ประเทศกำลังพัฒนา (ถ้าส่งไปตาม Quota ภาษีจะ ต่ำมาก ถ้าส่งเกินกว่านั้นจะโดน Tariff=กำแพงภาษี) ****Non – Tariff Barriers (NTB) : มาตรการ การจำกัด การนำเข้าที่ไมใ่ ช่ภาษี ซึ่งประเทศกำลัง พัฒนานิยมใช้ มีหลายรูปแบบ เช่น - กำหนด Product Standard ให้สูง เป็นทั้งเรื่องจริง และเรื่องกีดกันทางการค้าที่แยกกัน ไม่ออก - กำหนด Environment Standard (มาตรฐานสิ่งแวดล้อม) สินค้าใดก็ตามที่ผลิต แล้ว ทำลายสิ่งแวดล้อม ทางยุโรปจะไม่ให้นำเข้า หรือสินค้าที่ใช้แรงงานเด็ก - Labor Standard : สินค้าที่ใช้แรงงานเด็ก ***ผลกระทบ จาก Import Restriction Policy (นโยบายจำกัดการนำเข้า) 1. ช่วยลดการนำเข้า และลดการขาดดุล 2. จูงใจให้อุตสาหกรรมภายในประเทศขยายการผลิต เพื่อทดแทนการนำเข้า 3. ทำให้เกิดการจ้างงาน 2. ใช้อัตราแลกเปลี่ยนแบบลอยตัว (Floating Exchange Rate System) ช่วยลดการขาดดุลได้ โดยผ่านกระบวนการ Automatic Stabilization แก้ไขปัญหาได้ แต่อ่อนที่สุด เพราะผลไม่แน่นอน และไม่แน่ใจว่าการนำเข้าจะลดลง เพราะต้องดู โครงสร้างการนำเข้าด้วย เช่น 1. ค่าเงินบาทอ่อนลง แต่คู่แข่งทางการค้า ค่าเงินอ่อนด้วย (เจ๊ากัน) 2. ค่าเงินอ่อนลง การนำเข้าลด อาจจะจริงหรือไม่ก็ได้ ขึ้นอยู่กับโครงสร้างการนำเข้า สินค้าถูกลงไม่มีหลักประกันว่า ประเทศอื่นจะซื้อสินค้า เพราะเศรษฐกิจอาจจะไม่ดีก็ ได้ ***3. Monetary Policy และ Fiscal Policy : นโยบายการเงินและการคลัง เพื่อรักษาเสถียรภาพของBalance of Payment (BOP) มีหัวข้อดังนี้ **ใช้ทฤษฎี เคนส์ เศรษฐกิจระดับประเทศ Y = C + I + G +(X - M) 1. ปัจจัยที่กำหนดเสถียรภาพของ BOP 2. เส้นความสมดุลภายนอก 3. แผนภาพาขออง IS – LM (แบบจำลองของตลาดเงิน) 4. การใช้นโยบายการเงิน การคลัง เพสื่อรักษาเสถียรภาพ BOP

การเงินระหว่างประเทศ (International Finance)

การเงินระหว่างประเทศ (International Finance) มีหัวข้อหลัก 3 เรื่อง 1. ดุลการชำระเงินระหว่างประเทศ (Balance of Payment) หรือ BOP 2. ระบบอัตราแลกเปลี่ยนเงินตราระหว่างประเทศ (Exchange Rate System) 3. แนวทางการรักษาเสถียรภาพของ BOP หัวข้อที่ 1 BOP: ดุลการชำระเงินระหว่างประเทศ BOP คือ ดุลยบัญชี ที่ชี้ให้เห็นถึงฐานะทางการเงินของประเทศนั้น ๆ ในการถือเงินสกุลหลัก สามารถแยกย่อยได้ดังนี้ 1. Current Account = ดุลบัญชี เงินสะพัด (ดุล บ/ช ที่ใหญ่ที่สุด) 1.1 Trade Account ดุลการค้า 1.2 Service Account ดุลบริการ 2. Capital Account ดุลบัญชีเงินทุนเคลื่อนย้ายระหว่างประเทศ หรือ ดุลบัญชีเงินทุน 2.1 FDI (Foreign Direct Investment Account) - ดุลบัญชี เงินลงทุนโดยตรง 2.2 PI (Portfolio Investment Account) - ดุลบัญชีเงินลงทุนโดยอ้อม 3. TA (Transfer Account) ดุลเงินโอน - ดุลบริจาค ดุลช่วยเหลือระหว่างประเทศ รายละเอียด BOP - BOP เป็นดุลบัญชี ที่ชี้ให้เห็นถึงมูลค่าของการนำเข้าและส่งออกทั้งสินค้าและบริการ *บริการได้แก่ การใช้บริการ การบินไทย น.ศ.มาเรียนในประเทศ - Trade Account ชี้ให้เห็นถึงการนำเข้า และการส่งออกสินค้าอย่างเดียว - Service Account ชี้ให้เห็นถึงการนำเข้า และการส่งออกบริการอย่างเดียว รายละเอียด Capital Account - เป็นดุลบัญชีที่ชี้ให้เห็นถึงมูลค่าเงินทุนไหวเข้า และไหลออก มี 2 ประเภท คือ 1.FDI (foreign Direct Investment) เช่น ต่างประเทศขนเงินมาสร้างโรงงาน โดยตรง 2.PI (Portfolio Investment) เป็นลงทุนในเอกสาร เช่น ต่างประเทศซื้อหุ้น (Portfolio Investment) โดยอ้อม คำถาม โดยปกติ Capital Account ไทยมักจะเกินดุล สาเหตุ โครงสร้างพื้นฐาน และทรัพยากรสูง รวมถึงดอกเบี้ยมักจะสูง รายละเอียด ดุลบัญชีการโอนเงิน (Transfer Account) - เป็นบัญชีให้เห็นถึงเงินช่วยเหลือระหว่างประเทศ หรือเงินได้เปล่า รับ ช่วย = เกินดุล ช่วย รับ = ขาดดุล สรุป 1 + 2 + 3 จะได้ BOP ในแต่ละเดือนของประเทศ หัวข้อที่ 2 ระบบอัตราแลกเปลี่ยนเงินตราระหว่างประเทศ (Exchange Rate System) นิยมแบ่งตามหลัก ได้ 2 ระบบ คือ 1. ระบบหลัก Fixed Exchange Rate System ระบบอัตราแลกเปลี่ยนคงที่ 2. ระบบลอยตัว Floating Exchange Rate System หรือ ใช้คำว่า freely fluctuating Rate System *** และมีระบบที่อยู่ตรงกลางระหว่าง 1 กับ 2 คือ ระบบกึ่งลอยตัว (In between System) หรือ Semi – floating สามารถแบ่งแยกย่อยได้อีก 3 ระบบ ดังนี้ 1.Manage Float System - ระบบการลอยตัวที่มีการจัดการ (ประเทศไทย ใช้อยู่) 2.Float with board system หรือ Current board system - ระบบการลอยตัวที่มีการกำกับ หรือ แบบมีคณะกรรมการการเงิน เช่น มาเลเซีย จีน 3.Basket of current system - ระบบตะกร้าเงิน เป็นเครื่องมือของอัตราแลกเปลี่ยน

การใช้นโยบายการเงิน นโยบายการคลัง เพื่อเป้าหมายในการส่งเสริมการเจริญเติบโต

การใช้นโยบายการเงิน นโยบายการคลัง เพื่อเป้าหมายในการส่งเสริมการเจริญเติบโต และ รักษาเสถียรภาพ ทาง ศก. (Eco.Growth + Stability) การเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ ของทุกประเทศมักจะเจริญเติบโต แบบไม่มีเสถียรภาพ จะ ขึ้น ๆ ลง ๆ บางช่วง ศก. มีความเจริญเติบโตสูง บางช่วงต่ำ ถ้าเป็นอย่างนี้เราเรียกว่า ปัญหาวัฏจักร เศรษฐกิจ (Business Cycle) และมักจะก่อให้เกิดปัญหา 2 ด้าน คือ 1. ช่วงเศรษฐกิจขาลง (ศก. ตกต่ำ) จะมีปัญหาว่างงานเกิดขึ้น เพราะ Demand ของแรงงาน ลดลง แต่ Supply ของแรงงานไม่ลด 2. ช่วงเศรษฐกิจขาขึ้น จะมีปัญหาเงินเฟ้อ (Price Inflation) เป็นภาวะที่ราคาสินค้าบริการ พุ่งสูงขึ้นอย่างรวดเร็ว โดยวัดจากดัชนีราคา (CPI) (Consumer Price Index) คำถาม อ.เงินเฟ้อดี หรือ ไม่ดี ในทางวิชาการ - เงินเฟ้อจะดี หรือ ไม่ดี ต้องดูว่าใครเป็นผู้ตอบ เช่น พ่อค้า บอกว่าดี/ลูกจ้าง ข้าราชการ ไม่ดี - ผลประโยชน์เกิดกับคน ไม่เท่ากัน คือ การกระจายรายได้ไม่ดี - ภาวะ ศก. ขยายตัวเร็ว จะได้ภาวะเงินเฟ้อ เพราะปริมาณในระบบมาก ซึ่ง Demand ขยายตัวเร็ว แต่ Supply ขยายตัวไม่ทัน *** เศรษฐกิจ เจริญเติบโต ในระดับที่เหมาะสม คือ การเติบโตอย่างมี ไม่เจริญเติบโตเร็วเกินไป หรือช้าเกินไป (อยู่ที่การตั้งเป้าทาง ศก.) ทฤษฎีการเงิน การคลัง 1. Keynesian Theory ทฤษฎีสำนักเคนส์ 2. Monetarist Theory ทฤษฎีสำนักการเงินนิยม 1 ความคิดสำนักเคนส์ John Maynard Keynes เป็น บิดาของทฤษฎีการเงิน การคลัง คิดทฤษฎีเมื่อ คศ.1930 หลัง สงครามโลกครั้งที่ 2 หลังจากนั้น 30 ปี จึงนำมาใช้ (1960) นักวิชาการที่สำคัญ 1. Devid Romer 2. N.Gregory Mankiw 3. Jemes Tobin สนใจเศรษฐกิจระหว่างประเทศเป็นหลัก *** นักวิชาการไทย ทุกคนใช้แนวคิดทฤษฎีเคนส์ (โดยมาก) แนวคิดทฤษฎีเคนส์ ไม่คำนึงถึงการกระจายรายได้ มีแนวคิดหลัก 4 แนวคิด แนวคิดที่ 1 ศก. ตกต่ำ และมีการว่างงาน - เกิดจากอุปสงค์รวม (y) ในระบบเศรษฐกิจ มีน้อยเกินไป แนวคิดที่ 2 ศก. เสนอทางแก้ -ให้ใช้นโยบาย การเงิน การคลัง เข้นามาช่วยที่เรียกว่า Demand Side Policy แนวคิดที่ 3 ศก.ขยายตัวอย่างรวดเร็ว หรือ ร้อนแรง และเงินเฟ้อที่สูงขึ้น -เกิดจากอุปสงค์รวมในระบบเศรษฐกิจ มีมากเกินไป แนวคิดที่ 4 เสนอทางแก้ -ในนโยบายการเงิน – การคลัง Demand Restraint Policy

นโยบายการคลัง (Fiscal Policy)

นโยบายการคลัง (Fiscal Policy) คือ การที่รัฐบาลใช้เครื่องทางการคลัง ในการกระตุ้นเศรษฐกิจ มีด้วยกัน 3 ด้าน ดังนี้ 1. การใช้มาตรการเพิ่ม – ลด ภาษี 2. การเพิ่ม – ลด การก่อหนี้สาธารณะ 3. รายจ่ายสาธารณะ (รัฐบาลสามารถเพิ่ม – ลด รายจ่ายประจำปี) เพื่อให้บรรลุเป้าหมายทางเศรษฐกิจตามที่ต้องการ - เพื่อให้ ศก. เจริญเติบโต (Eco.Growth) - เพื่อให้ ศก. มีเสถียรภาพ (Eco.Stabitity) - เพื่อให้ ศก. มีความเสมอภาค (Eco.Equity) ผู้ดูแลกระทรวงการคลัง คือ รัฐบาลโดยคณะรัฐมนตรี ผ่านสภา ตราเป็น พรบ. รายจ่ายประจำปี กระการคลัง และสำนักงบประมาณ ทำหน้าที่ในการนำนโยบายไปใช้ปฏิบัติ คำถาม อ.ทำไมงบประมาณจะต้องผ่าน พรบ.? เพราะในหลักประชาธิปไตย ผู้เสียภาษีทุก คนจะต้องมีตัวแทน ในรัฐสภา Note ในปัจจุบันนโยบายการเงินนโยบายการคลัง ส่วนใหญ่จะมุ่งเน้นไปยังเป้าหมายทาง ศก. เป็นพื้นฐาน แต่ปัจจุบันยังมี เป้าหมายทางสังคมด้วย คือ ทำให้สังคมอยู่ดี มีสุข และคุณภาพชีวิต ที่ดีขึ้น การทำให้สภาพแวดล้อมดีขึ้นด้วย

นโยบายการเงิน (Monetary Policy) ความหมาย คือ การที่รัฐบาลใช้เครื่องมือทางการเงิน กระตุ้นเศรษฐกิจ มีด้วยกัน 3 ด้าน ดังนี้ 1. การลด – เพิ่มปริมาณเงินในระบบ 2. การปรับเปลี่ยนอัตราดอกเบี้ย (หรือเรียกว่า ด/บ นโยบาย หรือ ด/บ มาตรฐาน) 3. การปรับเปลี่ยนอัตราแลกเปลี่ยน เงินตราระหว่างประเทศ การที่รัฐบาลใช้เครื่องมือทางการเงิน เพื่อบรรลุเป้าหมายทาง ศก. ที่เราต้องการดังนี้ 1.เพื่อให้เศรษฐกิจเจริญเติบโต (Economic Growth) 2. เพื่อให้เศรษฐกิจมีเสถียรภาพ (Eco Stability) 3. เพื่อให้เศรษฐกิจมีความเสมอภาค (Eco Eavity) หรือ การกระจายรายได้อย่างยุติธรรม - หน่วยงานที่ทำหน้าที่ทางการเงิน คือ Bank ชาติ หรือ ธนาคารกลาง หรือ ธปท.

วันพฤหัสบดีที่ 10 พฤษภาคม พ.ศ. 2555

การใช้นโยบายการเงิน(Monetary Policy)

เมื่อธนาคารกลางต้องการกระตุ้นเศรษฐกิจจะใช้นโยบายการเงินแบบขยายตัว(Expansion
Monetary Policy) เป็นการเพิ่มปริมาณเงินทำให้เส้นอุปทานของเงินจะเลื่อนไปทางขวา ดุลยภาพ
เปลี่ยนแปลงจากจุด A ไปยังจุด Bพบว่า ความต้องการถือเงินในระบบเศรษฐกิจเพิ่มขึ้นจาก M1 เป็น M2
และอัตราดอกเบี้ยลดลงจาก 3 r เหลือ 4 r การเงินขยายตัวมักใช้กับภาวะที่
เศรษฐกิจตกต่ำมีการว่างงาน เพราะเมื่อเพิ่มปริมาณเงินแล้วทำให้อัตราดอกเบี้ยลดลง เมื่ออัตราดอกเบี้ย
ลดลงทำให้การบริโภคและการลงทุนในระบบเศรษฐกิจเพิ่มขึ้นส่งผลให้ความต้องการใช้จ่ายรวม
(DAE)ในระบบเศรษฐกิจเพิ่มขึ้น เศรษฐกิจจะขยายตัว อย่างไรก็ตาม การใช้นโยบายขยายตัวมากเกินไป
จะทำให้เกิดเงินเฟ้อในทางตรงข้าม หากเศรษฐกิจที่เป็นอยู่มีการเก็งกำไรมาก มีความต้องการมากกว่าผลผลิต
ศักยภาพ เกิดปัญหาเงินเฟ้อมาก ธนาคารจะเลือกใช้นโยบายการเงินแบบหดตัว(Contraction Monetary
Policy) เป็นการลดปริมาณเงินในระบบเศรษฐกิจเพื่อแก้ปัญหาเงินเฟ้อ เพราะเมื่อปริมาณเงินลดลง
ดอกเบี้ยจะเพิ่มขึ้น ประชาชนจะออมมากขึ้นทำให้การบริโภคลดลง ในขณะที่ภาคธุรกิจจะลงทุนลดลงทำ
ให้ความต้องการใช้จ่ายรวมในระบบเศรษฐกิจ (DAE) ลดลง เพื่อใฟ้ความต้องการใช้จ่ายรวมพอดีกับ
ผลผลิตรวมที่กำลังการผลิตของประเทศสามารถตอบสนองได้

การสร้างเงินฝากในระบบธนาคารพาณิชย์ (Money Creation)

แนวคิด คือ เงินฝากในระบบธนาคารพาณิชย์และการให้สินเชื่อ(การปล่อยกู้) จะทำให้ปริมาณ
เงิน (Money supply) ในระบบเศรษฐกิจเปลี่ยนแปลงไป
- กระบวนการสร้างเงินฝากของธนาคารพาณิชย์สามารถอธิบายได้โดยใช้งบดุล (Balance
sheet) หรือ “T-Account” แสดงรายการ 1. สินทรัพย์ (Assets)และ 2. หนี้สินและทุน(Liabilities and
capital)
- เงินฝากขั้นแรก (Primary deposits) คือ เงินสดที่มีผู้นำมาฝากเข้าบัญชีเงินฝากกระแสรายวันที่
ธนาคารพาณิชย์ ในจำนวนนี้ธนาคารจะเก็บสำรองไว้ส่วนหนึ่ง เรียกว่าอัตราเงินสำรอง (Reserve ratio)
อัตราเงินสำรองแบ่งได้ 2 ประเภท คือ 1.)อัตราเงินสำรองตามกฎหมาย(Legal reserve ratio: r) 2.)อัตรา
เงินสำรองส่วนเกิน(Excess reserve ratio:re )
ข้อสมมติสำหรับการวิเคราะห์การสร้างเงินฝากสูงสุด
1.อัตราเงินสดสำรองส่วนเกินเท่ากับ 0
2. ธนาคารที่ได้รับเงินฝากขั้นแรกจะนำเงินสดหลังหักสำรองตามกฎหมายไปปล่อยกู้ทั้งหมด

3. ผู้กู้เงินจากธนาคารจะไม่เบิกเป็นเงินสดแต่จะเปิดบัญชีกับธนาคารพาณิชย์นั้นหรือธนาคาร
อื่นๆก็ได้
4. อัตราเงินสดสำรองตามกฎหมายจะต้องต่ำกว่าร้อยละ 100
สมมติว่าเงินฝากขั้นแรก 100 บาทมาจากนาย A ฝากกับธนาคารพาณิชย์ ก. กำหนดให้อัตราเงิน
สำรองตามกฎหมายเท่ากับร้อยละ 10 ดังนั้น ส่วนที่ธนาคาร ก. ปล่อยกู้ได้คือ 90 บาท สมมติว่าปล่อยกู้
ให้กับนาย B และนาย Bได้นำเงิน 90 บาทนี้ฝากกับธนาคาร ข. และธนาคาร ข.ต้องเก็บสำรองเท่ากับ 9
บาท (0.1x90) ส่วนที่เหลือ 81 บาทจะปล่อยกู้ให้นาย C ทั้งหมด ไปอย่างนี้เรื่อยๆ

คำนิยามของเงินในระบบเศรษฐกิจ

เงินสด(Currency) คือ เงินที่เป็นธนบัตรและเหรียญที่อยู่กับสาธารณชน ไม่รวมที่อยู่ในระบบ
ธนาคาร
เงินฝากกระแสรายวัน (demand deposits) คือ เงินฝากของสาธารณชนในระบบ
ธนาคาร โดยเจ้าของบัญชีสามารถเขียนเช็คชำระหนี้ได้ มีสภาพคล่องสูงรองจากเงินสด
ปริมาณเงินตามความหมายอย่างแคบ(Narrow money: M1) คือ เงินสด+เงินฝากกระแส
รายวัน
ปริมาณเงินตามความหมายอย่างกว้าง(Board money: M2) คือ M1 +เงินฝากประจำ (Time
deposits)+เงินฝากออมทรัพย์ (Saving deposits)
ปริมาณเงินตามความหมายอย่างกว้างมาก(M3) คือ M2 +ตั๋วสัญญาใช้เงินของบริษัทเงินทุนที่
ถือโดยภาคเอกชน (Promissory notes)

อแตกต่างระหว่างธนาคารกลางกับธนาคารพาณิชย์
1.) ธนาคารกลางไม่ใช่สถาบันที่แสวงหากำไร
2.) ธนาคารกลางไม่ดำเนินธุรกิจแข่งขันกับธนาคารพาณิชย์
3.) ลูกค้าของธนาคารกลาง คือ ธนาคารพาณิชย์ สถาบันการเงินอื่นๆ และหน่วยงานของรัฐ แต่
ลูกค้าของธนาคารพาณิชย์ คือ ประชาชนทั่วไป
4.) ธนาคารกลางทำหน้าที่กำกับดูแลธนาคารพาณิชย์และสถาบันการเงินอื่นๆเพื่อประโยชน์ต่อ
เศรษฐกิจของประเทศ
หมายเหตุ ธนาคารกลางในบางประเทศเอกชนอาจเป็นเจ้าของซึ่งธนาคารกลางจะต้องทำงานร่วมกับ
รัฐบาลแต่ก็มีอิสระในการปฏิบัติหน้าที่ เป้าหมายของธนาคารกลาง คือ รักษาเสถียรภาพของค่าเงินและ
เศรษฐกิจโดยรวมของประเทศ

เครื่องมือของนโยบายการเงิน (Policy instruments)
1. การกำหนดอัตราเงินสำรองตามกฎหมาย (legal reserve ratio)
-การลดอัตราเงินสำรองตามกฎหมายจะทำให้ปริมาณเงิน ในระบบเพิ่มขึ้น
- การเพิ่มอัตราเงินสำรองตามกฎหมายจะทำให้ปริมาณเงิน ในระบบลดลง
2. การซื้อขายหลักทรัพย์ (Open market operations: OMO)
- การซื้อหลักทรัพย์ของธนาคารกลาง จะทำให้ปริมาณเงินเพิ่มขึ้น
- การขายหลักทรัพย์ของธนาคารกลาง จะทำให้ปริมาณเงินลดลง
หมายเหตุ ตัวอย่างของหลักทรัพย์ เช่น พันธบัตรรัฐบาล
3. การเปลี่ยนแปลงอัตรารับช่วงซื้อลด(Rediscount rate)
- การเพิ่มอัตรารับช่วงซื้อลดจะทำให้ปริมาณเงินลดลง
- การลดอัตรารับช่วงซื้อลดจะทำให้ปริมาณเงินเพิ่มขึ้น

หน้าที่ของเงิน(The functions of money) ในระบบเศรษฐกิจ

1.)เป็นสื่อกลางในการแลกเปลี่ยน(Medium of Exchange)
ทำหน้าที่อำนายความสะดวกและทำให้เกิดการแบ่งงานกันทำเพราะแต่ละคนจะทำอาชีพที่ตนมี
ความถนัดมากที่สุดเมื่อได้เงินก็นำไปซื้อสินค้าและบริการอื่นๆ
2.) เป็นมาตรฐานการวัดค่า(Standard of Value)
ทำให้สินค้าและบริการทุกชนิดถูกประเมินเป็นเงินตราเดียวกัน สะดวกในการเปรียบเทียบมูลค่า
และเป็นประโยชน์ในการทำบัญชี ที่สามารถบวกลบกันได้โดยตรงเพราะมีหน่วยเดียวกัน ตัวอย่างของการ
เปรียบเทียบเช่น ปากการาคา 5 บาท แต่ดินสอราคา 10 บาท แสดงว่า ปากกา 2 ด้ามมีค่าเท่ากับดินสอ
1 แท่ง เป็นต้น
คำถาม: ท่านคิดว่าถ้าโลกนี้มีสินค้าและบริการ N ชนิด หากกำหนดให้ของแลกของกันโดยตรงจะต้องมี
การกำหนดอัตราแลกเปลี่ยนกี่อัตรา
3.) เป็นมาตรฐานการชำระหนี้ภายหน้า (Standard of deferred payments)
ทำหน้าที่อำนวยความสะดวกระหว่างลูกหนี้กับเจ้าหนี้ทำให้ธุรกรรมการซื้อเชื่อขายเชื่อดำเนินไป
ได้อย่างสะดวก เพราะทุกคนเชื่อว่าเงินสามารถชำระหนี้ได้
4.) เป็นเครื่องสะสมมูลค่า (Store of value)
เงินจัดเป็นสินทรัพย์อย่างหนึ่งที่สะสมไว้ได้ บุคคลอาจเลือกเก็บเป็นเงินเพื่อนำไปใช้จ่ายใน
อนาคตต่อไป โดยเงินเป็นสินทรัพย์ที่มีสภาพคล่องมากที่สุด(Liquidity) แต่การเก็บเงินไว้เฉยๆจะไม่ให้
ผลตอบแทนเหมือนการออมในทรัพย์สินอื่นๆ เช่พันธบัตร หรือหุ้นซึ่งให้ผลตอบแทนแต่มีสภาพคล่อง
น้อยกว่าเงิน
หมายเหตุ
- สภาพคล่อง(Liquidity) หมายถึง ความง่ายที่จะใช้สินค้านั้นเป็นสื่อกลางในการแลกเปลี่ยน
ในระบบเศรษฐกิจ
- เงินจะทำหน้าที่ได้ดีนั้นค่าของเงิน(อำนาจซื้อ) ต้องมีเสถียรภาพ การที่ค่าเงินมีการ

อุปสงค์ของเงิน

อุปสงค์ของเงิน(Demand for Money Theory) หรือความต้องการถือเงิน ขึ้นอยู่กับปัจจัยสำคัญ สี่ประการคือ ระดับราคา(The Level of Price) ระดับอัตราดอกเบี้ย(The Level of Interest Rate) ระดับผลิตภัณฑ์ในประเทศแท้จริง(Real GDP) และระดับนวัตกรรมทางการเงิน(The Pace of Financial Innovation) ซึ่งอุปสงค์ของเงินสามารถอธิบายระดับอัตราเงินเฟ้อได้เป็นอย่างดี ทฤษฎีความต้องการถือเงินแบ่งออกเป็นสองสำนักใหญ่คือ สำนักคลาสสิค และเคนส์ ซึ่งแต่ละสำนักประกอบด้วยทฤษฎีความต้องการถือเงินสำคัญดังนี้

อุปสงค์ของเงิน(Demand for Money Theory) หรือความต้องการถือเงิน ขึ้นอยู่กับปัจจัยสำคัญ สี่ประการคือ ระดับราคา(The Level of Price) ระดับอัตราดอกเบี้ย(The Level of Interest Rate) ระดับผลิตภัณฑ์ในประเทศแท้จริง(Real GDP) และระดับนวัตกรรมทางการเงิน(The Pace of Financial Innovation) ซึ่งอุปสงค์ของเงินสามารถอธิบายระดับอัตราเงินเฟ้อได้เป็นอย่างดี ทฤษฎีความต้องการถือเงินแบ่งออกเป็นสองสำนักใหญ่คือ สำนักคลาสสิค และเคนส์ ซึ่งแต่ละสำนักประกอบด้วยทฤษฎีความต้องการถือเงินสำคัญดังนี้

1. ทฤษฎีอุปสงค์เงินของสำนักคลาสสิค
แนวคิดของสำนักคลาสสิค ให้ความสำคัญกับระยะเวลาความต้องการถือเงิน และอุปนิสัยของผู้ถือเงินเป็นปัจจัยกำหนดที่สำคัญของความต้องการถือเงิน คือความต้องการถือเงินเกิดขึ้นเนื่องจากช่วงเวลารับและจ่ายเงินไม่ตรงกัน แบ่งออกได้เป็น ทฤษฎีของ เออวิง ฟิชเชอร์ (Irving Fisher) และมหาวิทยาลัยแคมบริดจ์
1.1 แนวความคิดเออวิง ฟิชเชอร์
ปี ค.ศ. 1911 เออวิง ฟิชเชอร์ นักเศรษฐศาสตร์สำนักคลาสสิคใหม่(Neoclassic) ได้พิมพ์หนังสือเรื่อง “The Purchasing Power of Money” เป็นเรื่องเกี่ยวกับการพัฒนาทฤษฎีปริมาณเงิน ของ ไซมอน นิวโคมบ(Simon Newcomb) ที่ปี ค.ศ. 1885 ได้พัฒนาทฤษฎีปริมาณเงิน(The Quantity Theory of Money) ของ จอนห์ สจวตมิล(John Stuart Mill) และ เดวิด ฮูม(David Hume) พวกเขาจัดว่าเป็นนักเศรษฐศาสตร์สำนักคลาสสิค หนังสือของ ฟิชเชอร์ พยามอธิบายทฤษฎีดังกล่าว ให้อยู่ในรูปสมการแลกเปลี่ยนให้เข้าใจได้ง่าย
M.V = P.Q 6.1
และเมื่อจัดสมการ(6.1)
ให้อยู่ในรูปธุรกรรม(Transaction Form) ได้ดังนี้
M.VT = P.T (6.2)
โดย
M = ปริมาณเงินหมุนเวียนในระยะเวลาใดเวลาหนึ่ง
V = อัตราความเร็วในการหมุนเวียนเงิน
P = ระดับราคาสินค้าและการบริการทั่วไป
Q = ดัชนีชี้วัดมูลค่าแท้จริงของการใช้จ่าย หรือ P.Q คือมูลค่าเงินที่ใช้จ่าย
T = ปริมาณของสินค้าและบริการที่ซื้อขายกันในระยะหนึ่ง
ซึ่ง P.T หมายถึงผลรวมของการเปลี่ยนแปลงเงินในขณะใดขณะหนึ่ง ดังนั้นความเร็วของการทำธุรกรรมนี้เท่ากับ VT = P.T/M นักเศรษฐศาสตร์ในกลุ่มนี้ คนสำคัญที่ควรกล่าวถึงคือ มิลตัน ฟรีดแมน(Milton Friedman) ซึ่งมีชีวิตอยู่ในช่วง ค.ศ. 1991-2006 เป็นนักเศรษฐศาสตร์สำคัญในกลุ่มนี้ เป็นผู้พัฒนาทฤษฎีนี้ต่อจาก ฟิชเชอร์ จนทำให้แนวคิดเรื่องเศรษฐสาสตร์จุลภาคมหภาคแยกกันได้ชัดเจน และได้รับรางวัลโนเบล(Nobel Price) เรื่องเกี่ยวกับการบริโภคและการเงิน

วันจันทร์ที่ 2 เมษายน พ.ศ. 2555

Risk Pooling

Risk Pooling

คือ การออกแบบโซ่อุปทาน,กระบวนการผลิต ที่จะใช้ในการลดความไม่แน่นอนหรือเพื่อลดผลกระทบที่จะเกิดขึ้น โดยการที่จะจัดองค์กรให้อยู่ในตำแหน่งที่จะสามารถลดความรุนแรงซึ่งเป็นผลจากความไม่แน่นอนต่างๆได้ดีขึ้น แบ่งเป็น

1.Location pooling (การวมสถานที่ตั้ง)ในที่นี้คือการรวมสินค้าคงคลังให้อยู่ในที่เดียวกัน โดยหลักการเลือกคลังสินค้าที่เป็นจุดศูนย์กลาง Store ไม่จำเป็นต้องมีสินค้าคงคลังเป็นของตนเอง แต่จะใช้การดึงสินค้าโดยตรงจากคลังสินค้าที่ใช้ร่วมกัน และสินค้าคงคลังจะถูกเติมเต็มทันทีด้วยระบบอัตโนมัติที่เรียกว่า order pick up to level ข้อดีของระบบนึ้คือ ปริมาณสินค้าคงคลังลดลง แต่มีข้อเสียตรงที่ Service Level อาจลดลงได้ และต้องเสียค่าใช้จ่ายในระบบ IT เพราะ Store ต้องเชื่อมโยงกันด้วยระบบ IT

2.Product Pooling (การรวมผลิตภัณฑ์)เป็นการรวม Function พิเศษ ของ 2 ผลิตภุณฑ์ให้อยู่ในชิ้นเดียวกัน เช่น ปริ้นเตอร์ที่มีหลายๆฟังก์ชั่น ข้อดีก็คือ ประหยัดต้นทุนการผลิต แต่ข้อเสียก็คืออาจทำให้ลูกค้าลดลงได้ เพราะลูกค้าอาจต้องการใช้ฟังก์ชั่นเดียว

3.Consolidated Distribution, Lead time Pooling (การรวมจุดกระจายสินค้า)ลักษณะแตกต่างจากการรวมสถานที่ตั้งเพรา การรวมจุดกระจายสินค้าจะรวมสินค้าไว้ที่ DC แล้วส่งตรงเข้าหาลูกค้าโดยตรงในขณะที่ การรวมสถานที่ตั้งเป็นการรวมทางด้าน W/H แล้วสินค้าต้องส่งเข้า Store ก่อนถึงกระจายให้ลูกค้า ข้อดี คือ ลดปริมาณสินค้าคงคลัง ประหยัดค่าใช่จ่ายจากการสั่งซื้อ

4.Delayed differentiation, Lead Time risk pooling การทำ Postponement ข้อดี คือ สามารถตอบสนองความต้องการของลูกค้าได้ดี , ผลิตสินค้าได้หลากหลายมากขึ้น ข้อเสียคือ เวลาทีล่าช้าสำหรับขั้นตอนสุดท้ายของการผลิต และสูญเสียการควบคุมการผลิต

5.Capacity Pooling (การรวมกำลังการผลิต) เป็นกระบวนการเพิ่มความยืดหยุ่นในกระบวนการผลิต เช่น โรงงาน A กับ โรงงาน B มีกำลังการผลิต เท่ากับ 100 แต่คนสั่ง B เท่ากับ 125 ในขณะที่ คนสั่ง A เท่ากับ 75 แต่โรงงาน B สามารถให้โรงงาน A ช่วยผลิตสินค้าให้ได้อีก 25 ชิ้นเพราะกำลังการผลิตของ A ยังมีอยู่ ไม่จำเป็นต้องให้ B เปิดระบบการผลิตใหม่ ข้อดีของระบบนี้คือ สามารถผลิตสินค้าได้มากขึ้น เพิ่มโอกาสในการขาย ให้ต้นทุนการผลิตต่ำ

Outsourcing

Outsourcing หมายถึง การจัดหาจากภายนอก เป็นวิธีการที่องค์กรธุรกิจจัดหาวัตถุดิบ ผลิตภัณฑ์และบริการต่างๆ ซึ่งครั้งหนึ่งอาจจะเคยถูกดำเนินการภายในองค์กร มาเป็นการจัดหาจากแหล่งภายนอกแทน จะทำให้องค์กรเล็กลงแต่คล่องตัวขึ้น ทำให้สามารถลดค่าใช้จ่ายในด้านต่างๆลงได้ และสามารถเน้นการดำเนินการเฉพาะแต่กิจกรรมที่เป็นกิจกรรมหลักซึ่งองค์กรมีความถนัด ทำให้สามารถสร้างความได้เปรียบในการแข่งขันหรือเพิ่มขีดความสามารถทางการแข่งขันมากขึ้น

ประโยชน์ของการ Outsourcing

1. สามารถควบคุมงบประมาณได้ง่ายขึ้น เนื่องจากกิจกรรมต่างๆ ที่องค์กรเคยปฏิบัติ ได้ มอบหมายให้กับหน่วยงานที่รับ Outsource แบบเบ็ดเสร็จ ซึ่งทำให้องค์กรจัดงบประมาณได้สะดวกขึ้น โดยไม่ต้องมีค่าใช้จ่ายอื่นๆ ตามมา

2. สามารถเพิ่มขีดความสามารถทางการแข่งขันได้ ในการ Outsource นั้น ถ้าเราเลือกใช้บริการผู้ที่มีชื่อเสียงในการทำกิจกรรมนั้นๆ ก็จะส่งผลดีต่อภาพลักษณ์ขององค์กร ทำให้ลูกค้ามีความเชื่อถือ และสามารถยกระดับการแข่งขันทางธุรกิจได้ เพิ่มจุดแข็งให้กับองค์กรได้ อีกทั้ง องค์กรจะมีเวลาในการทุ่มเทกับกิจกรรมหลักมากขึ้น และมีความคล่องตัวในการบริหารงานมากขึ้น เช่น การ Outsource ด้านขนส่ง จากเดิมที่องค์กรดำเนินการเอง ซึ่งต้องรับภาระในเรื่องการซ่อม การบำรุงรักษา ค่าแรงหรือแม้กระทั่งต้องมีค่าใช้จ่ายในเรื่องค่าเสื่อมราคาของรถทุกปี แล้วเปลี่ยนมาใช้การ Outsource ก็จะทำให้องค์กรหมดภาระดังกล่าวทั้งหมด

3. ลดความเสี่ยง กิจกรรมใดที่องค์กรไม่ถนัดก็ทำการ Outsource ซึ่งก็จะทำให้ลดความเสี่ยงในการบริหาร เพราะถ้าหากลงมือปฏิบัติเองก็จะส่งผลให้มีความล่าช้าในการปฏิบัติงานหรือมีความเสี่ยงที่จะขาดทุนได้

4. สามารถลดต้นทุนในการดำเนินงานด้าน Logistics ได้ เนื่องจากผู้ให้บริการมีลูกค้าหลายราย จึงทำให้ผู้ให้บริการสามารถใช้ทรัพยากรที่มีอยู่อย่างคุ้มค่า ต้นทุนต่อหน่วยของผู้ให้บริการจะต่ำกว่าที่องค์กรผู้ผลิตหรืออเจ้าของสินค้าปฏิบัติเอง โดยสามารถลดต้นทุนจากการใช้บริการของผู้ให้บริการ Logistics ประกอบด้วย

4.1 การลดต้นทุนรวม (Total Cost Reduction) ซึ่งในการปฏิบัติงานด้านโลจิสติกส์ต้องมีการลงทุนทั้งทางด้านเทคโนโลยี เครื่องมือในการปฏิบัติงาน ซึ่งมีราคาแพง แต่ถ้าเราใช้บริการของผู้ให้บริการ ต้นทุนในส่วนนี้ก็จะเฉลี่ยกับลูกค้าของผู้ให้บริการอีกหลายๆ ราย

4.2 การลดต้นทุนจากการขยายขอบเขตงาน ( Economics of Scope) เนื่องจากขอบเขตงานบางอย่าง ผู้ผลิตหรือเจ้าของสินค้าไม่สามารถที่ปฏิบัติเองได้หรือหากปฏิบัติเองก็จะมีต้นทุนที่สูง แต่ถ้าเราใช้ประโยชน์จากผู้ให้บริการ องค์กรก็จะสามารถเข้าถึงลูกค้าได้มากขึ้น เช่น การจัดส่งสินค้าไปยังต่างจังหวัด ซึ่งอยู่ห่างไกลจากองค์กร เมื่อเราใช้บริการของผู้ให้บริการก็จะสามารถส่งสินค้าให้กับลูกค้าที่อยู่ต่างจังหวัดได้ เนื่องจากผู้ให้บริการมีเครือข่ายอยู่ทั่วประเทศ

4.3 การลดต้นทุนโดยการใช้เครือข่ายร่วมกัน (Network Value) เนื่องจากผู้ให้ บริการบางรายจะมีเครือข่ายที่อยู่ต่างประเทศ และผู้ใช้บริการก็สามารถใช้เครือข่ายของผู้ให้บริการในการขยายตลาดสู่ตลาดสากลได้ โดยไม่ต้องลงทุนเองในต่างประเทศ

ปัจจัยในการเลือกทำเลที่

การเลือกทำเลที่ตั้งควรพิจารณาปัจจัยหลายปัจจัยประกอบกันมากกว่ามุ่งเน้นแต่ปัจจัยเดียวเพราะต้นทุนที่ต่ำในทางหนึ่งอาจจะไม่ได้ทำให้ต้นทุนรวมต่ำสุดก็ได้ อย่างไรก็ดีปัจจัยที่จะใช้พิจารณาควรเป็นปัจจัยที่มีผลกระทบต่อการดำเนินงานธุรกิจ กล่าวคือ ถ้าดำเนินกิจการคลังสินค้าชิ้นส่วนยานยนต์ ควรอยู่ในภาคตะวันออก เช่นระยอง เพราะใกล้โรงงานผลิตรถยนต์ ซึ่งงานคลังสินค้าเกี่ยวกับอุตสาหกรรมหนัก และเบา การบริการซึ่งรวมถึงการค้าปลีก ศูนย์กระจายสินค้า ศูนย์โลจิสติกส์

การเลือกทำเลที่ตั้งคลังสินค้าจะต้องพิจารณาถึงปัจจัยต่าง ๆ ซึ่งจะมีผลกระทบต่อการดำเนินกิจการคลังสินค้าไม่ว่าจะเป็นทางตรงหรือทางอ้อม ทั้งในระยะสั้นและระยะยาว ปัจจัยต่าง ๆที่ต้องคำนึงถึงในการเลือกทำเลที่ตั้งคลังสินค้า คือ

– แหล่งสินค้า

การประกอบกิจการคลังสินค้าเป็นธุรกิจที่เกี่ยวข้องโดยตรงกับสินค้าเจ้าของสินค้าคือลูกค้าของคลังสินค้าโดยสภาพของวงจรของสินค้าแล้ว สินค้ามาจากผู้ผลิตผ่านคลังสินค้าไปยังตลาดจำหน่าย เจ้าของสินค้าคือผู้ถือกรรมสิทธิ์ในสินค้านั้นจึงได้แก่ผู้ผลิต และผู้จำหน่ายในขั้นตอนต่าง ๆ เจ้าของสินค้าเป็นผู้จ่ายบำเหน็จค่าบริการให้แก่คลังสินค้า แหล่งสินค้าจึงอาจเป็นได้ทั้งโรงงานผลิตสินค้า ท่าเรือนำสินค้าเข้าตลาดจำหน่ายสินค้าและท่าเรือส่งออก การเดินทางของสินค้าจากโรงงานผลิตสินค้า หรือจากท่าเรือน้ำเข้ามายังคลังสินค้า และจากคลังสินค้าไปยังตลาดจำหน่าย หรือเพื่อส่งออก ต้องเสียค่าขนส่งซึ่งเจ้าของสินค้าเป็นผู้จ่ายค่าใช้จ่ายในการขนส่งที่ประหยัดที่สุดเป็นสิ่งพึงประสงค์ของเจ้าของสินค้า ดังนั้นทำเลที่ตั้งคลังสินค้าที่พึงประสงค์ คือตำแหน่งที่อยู่ใกล้กับแหล่งสินค้ามากที่สุด ซึ่งจะทำให้เจ้าของสินค้าเสียค่าใช้จ่ายในการขนส่งน้อยที่สุด และยังเป็นการสะดวกแก่คลังสินค้าในการติดต่อธุรกิจอีกด้วย แหล่งสินค้าย่อยมีหลายแห่ง แต่ละแห่งมีปริมาณสินค้าที่ใช้บริการของคลังสินค้าในปริมาณมากน้อยต่างกัน ทำเลที่ตั้งคลังสินค้าที่เหมาะสมคืออยู่ในย่านกลางเฉลี่ยของแหล่งสินค้าทั้งปวงที่เป็นลูกค้า และเพ่งเล็งแหล่งที่มีปริมาณสินค้ามาก ๆเป็นสำคัญ โดยมีเป้าหมายว่าให้มีลูกค้ามาใช้บริการของคลังสินค้ามากที่สุด ซึ่งจะเป็นผลโดยตรงต่อรายได้ของกิจการคลังสินค้า

– เส้นทางคมนาคม

ทำเลที่ตั้งคลังสินค้าต้องมีเส้นทางคมนาคมเข้าถึงได้ โดยสะดวกเส้นทางคมนาคมเหล่านั้นต้องมีสภาพดี ใช้ได้ทุกฤดูกาล ทุกสภาพอากาศ เพราะการเดินทางของสินค้าจากแหล่งสินค้ามาสู่คลังสินค้า และจากคลังสินค้าไปสู่ตลาด ต้องกระทำได้อย่างมีประสิทธิภาพ คือความรวดเร็ว ในปริมาณมากด้วยเพื่อค่าขนส่งที่ประหยัด การขนส่งสินค้าอาจกระทำได้โดยทางถนน ทางรถไฟ ทางน้ำ ทางอากาศหรือแม้แต่ทางท่อ การขนส่งทางน้ำเสียค่าใช้จ่ายน้อยที่สุดและได้ปริมาณมากที่สุด รองลงไปคือการขนส่งทางรถไฟ แต่การขนส่งทางถนนโดยรถยนต์บรรทุกเป็นการกระจายสินค้าได้ดีที่สุด เพราะมีเครือข่ายเชื่อมโยงถึงกันไปทั่วประเทศ นับได้ว่าเป็นเส้นทางหลักสำหรับการขนส่งสินค้าภายในประเทศ ส่วนการขนส่งสินค้าทางอากาศนั้นแพงที่สุดและขนได้ในปริมาณที่จำกัด มีข้อดีคือความรวดเร็ว การขนส่งทางอากาศสำหรับสินค้าทั่วไปยังไม่เป็นที่นิยม ดังนั้นสำหรับการขนส่งส่งทางอากาศและทางท่อไม่จำเป็นต้องคำนึงถึงหรือให้ความสำคัญในการเลือกทำเลที่ตั้งคลังสินค้ามากนัก ทำเลที่ตั้งคลังสินค้าที่พึงประสงค์ควรมีเส้นทางขนส่งสามารถเข้าถึงได้หลายประเภทมากที่สุด อย่างน้อยควรจะมีทางถนนเป็นหลักเสริมด้วยทางน้ำและทางรถไฟอย่างใดอย่างหนึ่งหรือทั้งสองอย่าง

– แหล่งแรงงาน

ทำเลที่ตั้งของธุรกิจควรอยู่ในสภาพแวดล้อมของชุมชนที่มีทัศนคติที่ดีต่อธุรกิจประเภทนั้น เพื่อที่จะได้รับการยอมรับและการสนับสนุนจากชุมชนที่อยู่รอบข้างทำเลที่ตั้งนั้น ถ้าชุมชนเห็นว่ากิจการคลังสินค้าเป็นธุรกิจที่มีความชอบธรรม ไม่เอารัดเอาเปรียบ ชุมชนก็จะให้ความนิยมชมชอบ ให้ความสนใจในการดำเนินงาน มีการมาสมัครเข้าทำงานมีการตั้งร้านค้าขายของใช้ที่จำเป็นให้แก่พนักงานของคลังสินค้ามีการร่วมมือในกิจกรรมสาธารณะประโยชน์ กิจการคลังสินค้าก็สามารถจะดำรงอยู่ได้อย่างมั่นคง หากทำเลที่ตั้งคลังสินค้าตั้งอยู่ท่ามกลางชุมชนที่มีทัศนคติที่ไม่ดีต่อธุรกิจ โดยเห็นไปว่าคลังสินค้าเป็นธุรกิจที่เอาเปรียบไม่ชอบธรรม ไม่เกื้อกูลต่อประโยชน์ของชุมชน ก็จะเกิดความขัดแย้งระหว่างคลังสินค้ากับชุมชน และอาจได้รับการกลั่นแกล้งนานาประการอันเป็นความเสียหายแก่การดำเนินธุรกิจกรณีเช่นนี้คลังสินค้าก็อยู่ไม่ได้ ดังนั้นในการเลือกทำเลที่ตั้งคลังสินค้า จึงควรคำนึงถึงทัศนคติของชุมชนที่อยู่รอบข้างทำเลนั้นด้วย

– บริการสาธารณะ

ทำเลที่ตั้งคลังสินค้าควรอยู่ใกล้สิ่งอำนวยความสะดวกในการบริการสาธารณะของรัฐที่จัดให้แก่สังคม เช่นสถานีตำรวจ สถานีดับเพลิง สถาบันการศึกษาสถานพยาบาล เพื่อจะได้รับความสะดวกในการใช้บริการเหล่านั้น โดยคลังสินค้าไม่ต้องจัดขึ้นมาเอง ทำให้ประหยัดต้นทุนลงได้

– สิ่งแวดล้อม

สิ่งแวดล้อมของธุรกิจที่มีความสำคัญมากก็คือ อากาศและน้ำที่สำคัญรองลงไปก็คือ อุณหภูมิ แสง เสียง ทำเลที่ตั้งคลังสินค้าที่เหมาะสมควรอยู่ในทำเลที่ตั้ง อากาศดี มีระบายน้ำสะดวก มีอุณหภูมิ แสง เสียง พอเหมาะ หากคลังสินค้าตั้งอยู่ในทำเลที่มีควันพิษมีน้ำเน่าส่งกลิ่นเหม็น คละคลุ้ง อุณหภูมิสูง อับแสง อับอากาศ เต็มไปด้วยเสียงอึกทึกครึกโครมก็จะมีผลต่อสภาพจิตของคนงาน และส่งผลต่อไปถึงสภาพการทำงาน เมื่อจิตใจไม่แจ่มใสก็อาจไม่เต็มใจทำงาน เมื่อสภาพของการทำงานไม่ดีผลงานก็ตกต่ำซึ่งเป็นผลเสียหายต่อกิจการทางธุรกิจเป็นอย่างยิ่ง ฉะนั้นสิ่งแวดล้อมที่ดีจึงเป็นปัจจัยสำคัญอย่างหนึ่งที่ต้องคำนึงถึงในการพิจารณาเลือกทำเลที่ตั้งคลังสินค้า

ระบบการผลิตแบบทันเวลาพอดี(Just-in-Time)

การผลิตแบบ JIT คือ การที่ชิ้นส่วนที่จำเป็นเข้ามาถึงกระบวนการผลิตในเวลาที่จำเป็นและด้วยจำนวนที่จำเป็นหรืออาจกล่าวได้ว่า JIT คือ การผลิตหรือการส่งมอบ “ สิ่งของที่ต้องการ ในเวลาที่ต้องการ ด้วยจำนวนที่ต้องการ” ใช้ความต้องการของลูกค้าเป็นเครื่องกำหนดปริมาณการผลิตและการใช้วัตถุดิบ ซึ่งลูกค้าในที่นี้ไม่ได้หมายถึงเฉพาะลูกค้าผู้ซื้อสินค้าเท่านั้น แต่ยังหมายรวมถึงบุคลากรในส่วนงานอื่นที่ต้องการงานระหว่างทำหรือวัตถุดิบเพื่อทำการผลิตต่อเนื่องด้วย โดยใช้วิธีดึง ( Pull Method of Material Flow ) ควบคุมวัสดุคงคลังและการผลิต ณ สถานีที่ทำการผลิตนั้นๆ ซึ่งถ้าทำได้ตามแนวคิดนี้แล้ววัสดุคงคลังที่ไม่จำเป็นในรูปของวัตถุดิบ งานระหว่างทำและสินค้าสำเร็จรูปจะถูกขจัดออกไปอย่างสิ้นเชิง

วัตถุประสงค์ของระบบการผลิตแบบทันเวลา

1.ควบคุมวัสดุคงคลังให้อยู่ในระดับที่น้อยที่สุดหรือให้เท่ากับศูนย์ ( Zero inventory )

2.ลดเวลานำหรือระยะเวลารอคอยในกระบวนการผลิต ( Zero lead time )

3.ขจัดปัญหาของเสียที่เกิดขึ้นจากการผลิต ( Zero failures )

4.ขจัดความสูญเปล่าในการผลิต ( Eliminate 7 Types of Waste ) ดังต่อไปนี้

- การผลิตมากเกินไป ( Overproduction ) : ชิ้นส่วนและผลิตภัณฑ์ถูกผลิตมากเกินความต้องการ

- การรอคอย ( Waiting ) : วัสดุหรือข้อมูลสารสนเทศ หยุดนิ่งไม่เคลื่อนไหวหรือติดขัดเคลื่อนไหวไม่สะดวก

- การขนส่ง ( Transportation ) : มีการเคลื่อนไหวหรือมีการขนย้ายวัสดุในระยะทางที่มากเกินไป

- กระบวนการผลิตที่ขาดประสิทธิภาพ ( Processing itself ) : มีการปฏิบัติงานที่ไม่จำเป็น

- การมีวัสดุหรือสินค้าคงคลัง ( Stocks ) : วัตถุดิบและผลิตภัณฑ์สำเร็จรูปมีเก็บไว้มากเกินความจำเป็น

- การเคลื่อนไหว ( Motion ) : มีการเคลื่อนไหวที่ไม่จำเป็นของผู้ปฏิบัติงาน

- การผลิตของเสีย ( Making defect ) : วัสดุและข้อมูลสารสนเทศไม่ได้มาตรฐาน ผลิตภัณฑ์ไม่มีคุณภาพ

กิจกรรมหลักของคลังสินค้า

1.งานรับสินค้า (Goods Receipt)

งานรับสินค้าเกี่ยวกับเรื่องต่างๆ ที่จะต้องปฏิบัติในขณะที่สินค้าได้ส่งเข้ามายังคลังสินค้าเพื่อการจัดเก็บรักษา การดำเนินกรรมวิธีในการแรกรับต่อสินค้าที่ถูกส่งเข้ามานั้นอย่างทันทีทันใดและถูกต้องแน่นอนย่อมมีความสำคัญต่อการดำเนินงานคลังสินค้าที่มีประสิทธิผลและ การเก็บรักษาเบื้องต้น รายละเอียดของการปฏิบัติงานรับสินค้าย่อมผิดแปลกกันออกไป โดยขึ้น อยู่ กับแบบสินค้า และแบบของสิ่งอำนวยความสะดวกในการเก็บรักษา สินค้าอาจได้รับเข้ามาจาก แหล่งต่างกัน การขนส่งสินค้ามายังคลังสินค้าอาจกระทำด้วยยานพาหนะที่แตกต่างกัน ด้วยภาชนะ บรรจุหีบห่อที่มีลักษณะแตกต่างกัน สิ่งเหล่านี้ย่อมมีผลทำให้รายละเอียดในการปฏิบัติงานรับสินค้าแตกต่าง กันออกไปด้วย การจัดทำเอกสารในการรับสินค้า และการดำเนินกรรมวิธีแรกรับที่รวดเร็ว และถูกต้องย่อมมีความสำคัญและเป็นเรื่องจำเป็นสำหรับกิจการคลังสินค้าที่มีประสิทธิผล

2.การตรวจพิสูจน์ทราบ (Identify goods)

เพื่อรับรองความถูกต้องในเรื่องของ ชื่อ แบบ หมายเลข หรือข้อมูลอื่นๆ ซึ่งเป็นลักษณะเฉพาะของสินค้า รายการนั้น ความจำเป็นในเรื่องเหล่านี้อาจไม่เหมือนกันกับคลังสินค้าแต่ละประเภท ทั้งนี้ยังรวมถึงการตรวจสภาพ ซึ่งหมายถึงการตรวจสภาพ จำนวน และคุณสมบัติของสินค้าที่จะได้รับเข้ามานั้นว่าถูกต้องตรงตามเอกสารการส่งหรือไม่

3.การตรวจแยกประเภท (Sorting goods)

ในสินค้าหรือวัสดุบางอย่างอาจมีความจำเป็นต้องแยกประเภทเพื่อความสะดวกในการเก็บรักษาเช่น เป็นของดี ของชำรุด ของเก่า ของใหม่ ซึ่งต้องแยกออกจากกันในการเก็บรักษาคลังสินค้า

4.งานจัดเก็บสินค้า (Put away)

การขนย้ายสินค้าจากพื้นที่รับสินค้าเข้าไปยังตำแหน่งเก็บที่ได้ไว้กำหนดไว้ล่วงหน้า และจัดวางสินค้านั้นไว้อย่างเป็นระเบียบรวมทั้งการบันทึกเอกสารเก็บรักษาที่เกี่ยวข้องเช่น บัตรตำแหน่งเก็บ ป้ายประจำกอง และปัจจุบันมีการใช้ระบบรหัสแท่งรวมถึงระบบ RFID เป็นต้น ก่อนที่จะจัดวางสินค้าลงไปในที่เก็บอาจจำเป็นต้องจัดแจงสินค้านั้นให้เหมาะสม เพื่อให้สามารถจัดเก็บอย่างมั่นคงเป็นระเบียบ และประหยัดเนื้อที่เวลาแรงงาน และง่ายแก่การดูแลรักษาและ การนำออกเพื่อการจัดส่งออกในโอกาสต่อไป เช่น การบรรจุหีบห่อใหม่ให้ได้มาตรฐาน เป็นต้น ปัญหาที่สำคัญอย่างหนึ่งคือการพิจารณาตกลงใจซื้อเครื่องมือยกขนที่เหมาะสมกับลักษณะของ สินค้าและระยะที่ต้องเคลื่อนย้ายสินค้าเข้าสู่ตำแหน่งเก็บซึ่งมีหลักพิจารณาว่า รถยกขนสำหรับ การเคลื่อนย้ายสินค้าได้หรือไม่

5.งานดูแลรักษาสินค้า (Holding goods)

หลังจากที่ได้จัดเก็บสินค้าในพื้นที่เก็บรักษาของคลังสินค้า จะต้องเอามาตรการต่างๆของการดูแลรักษามาใช้ เพื่อป้องกันไม่ให้สินค้าที่เก็บรักษาอยู่ในคลังสินค้าเกิดความเสียหายสูญหายหรือเสื่อมคุณภาพ อันเป็นภาระรับผิดชอบที่สำคัญของผู้เก็บรักษา สินค้านี้ต้องได้รับการป้องกันจากการถูกขโมย ป้องกันจากสภาพอากาศ งานดูแลรักษาสินค้าอาจประกอบด้วยงานย่อยต่างๆ เช่น

(1) การตรวจสภาพ การตรวจอย่างระเอียดตามระยะเวลา ตามลักษณะเฉพาะของสินค้าแต่ละประเภท แต่ละชนิด ซึ่งมีการเสื่อมสภาพตามเวลาในการเก็บรักษาที่แตกต่างกัน เป็นสินค้าเสียง่ายต้องได้รับการตรวจบ่อยกว่าสินค้าที่เสียยาก
(2) การถนอม สินค้าบางประเภทย่อมต้องการถนอมตามระยะเวลา
(3) การตรวจสอบ หมายถึงการตรวจตรานับสินค้าในที่เก็บรักษาเพื่อสอบยอดกับบัญชีคลุมในคลังสินค้าไม่น้อยกว่าปีละ 2 ครั้ง ซึ่งต้องแจ้งให้ผู้ฝากและเจ้าหนี้ของผู้ฝากคือผู้รับจำนำสินค้าไม่ทราบด้วยเพื่อจะได้เข้ามาร่วมในการตรวจสอบหากเขาต้องการ

6.งานจัดส่งสินค้า (Dispatch goods)

การจัดส่งหรือการจ่ายสินค้าให้แก่ผู้รับหรือการคืนสินค้าให้แก่ผู้ฝากหรือผู้มีสิทธิในการรับสินค้าคืนสำหรับกรณีคลังสินค้าสาธารณะ ในระบบการบริหารพัสดุนั้นการเก็บรักษาในคลังวัสดุมีจุดม่งหมาย ในที่สุดคือการจ่ายพัสดุให้แก่ผู้รับในสภาพที่พร้อมสำหรับการนำไปใช้ในการจัดส่งเป็นสิ่งสำคัญ เพราะขบวนการเก็บรักษาทั้งปวงที่ได้กระทำมาก็เพื่อให้การจัดส่งสามารถให้กระทำได้อย่างมีประสิทธิภาพและความต้องการของผู้ใช้ ความล้มเหลวในการบริหารของพัสดุนั้นจะยอมให้เกิดขึ้นไม่ได้ การจัดส่งให้แก่ผู้ใช้ไม่ทันเวลาตามความต้องการ

7.การนำออกจากที่เก็บ (Picking)

การนำสินค้าออกจากที่เก็บเพื่อการจัดส่ง เป็นการเลือกเอาสินค้าจากพื้นที่ต่างๆ ในคลังเก็บสินค้ามารวมกันไว้ ยังพื้นที่จัดส่งเพื่อการตรวจสอบความถูกต้อง และพิสูจน์ให้แน่นอนว่าเป็น ไปตามหลักฐานการสั่งจ่าย หรือตามความต้องการของผู้รับ หรือตามละจุดหมายปลายทางที่จะส่งการเลือกหยิบสินค้า

8.การจัดส่ง (Shipping)

ประกอบด้วยการตรวจสอบคำสั่งซื้อที่จะส่งไป การปรับปรุงรายงานสินค้าคงคลัง การแยกประเภทสินค้า และการจัดบรรจุภัณฑ์ตามคำสั่งซื้อ ซึ่งสินค้าจะถูกจัดเก็บในกล่อง หีบห่อ พาเลทหรือตู้คอนเทนเนอร์ และมีการติดสลาก ระบบบาร์โค้ด การบันทึกข้อมูลเพื่อเตรียมส่งสินค้าออกจากคลัง

9.การส่งสินค้าผ่านคลัง (Cross docking)

เป็นการส่งสินค้าผ่านระหว่างจุดที่รับสินค้าเข้าและจุดที่ส่งสินค้าออก โดยไม่ต้องนำสินค้าเข้าไปเก็บในคลังสินค้า การส่งสินค้าผ่านคลังใช้กันอย่างแพร่หลายในกลุ่มผู้ค้าปลีก ซึ่งเป็นการรวบรวมผลิตภัณฑ์จากผู้ค้าส่งหลายรายเข้าด้วยกันเพื่อจัดส่งให้กับร้านค้าย่อยต่อไป โดยทั่วไปนิยมใช้ใน การดำเนินงาน เนื่องจากผลกระทบต่อต้นทุนและการให้บริการลูกค้า ตัวอย่างเช่น ประมาณ 75% ของการกระจายสินค้าประเภทอาหารจะใช้การส่งสินค้าผ่านคลัง โดยที่เมื่อรับสินค้าจากซัพพลายเออร์แล้วจะเตรียมส่งต่อไปร้านค้าปลีกทันที โดยไม่ต้องมีการนำสินค้าเข้าเก็บในคลังแต่อย่างใด การส่งผ่านคลังจะช่วยลดเวลาและต้นทุนในการนำสินค้าเข้าเก็บในคลัง และทำให้ระดับการให้ บริการลูกค้าสูงขึ้น

คลังสินค้านี้สามารถใช้งานได้ทั้งในด้านการเป็นแหล่งอุปสงค์และการกระจายสินค้า

คลังสินค้านี้สามารถใช้งานได้ทั้งในด้านการเป็นแหล่งอุปสงค์และการกระจายสินค้า ดังนี้

1.คลังสินค้าช่วยสนับสนุนการผลิต(Manufacturing support) โดยคลังสินค้าทำหน้าที่ในการรวบรวมวัตถุดิบในการผลิตชิ้นส่วนและส่วนประกอบต่างๆจากผู้ขายเพื่อส่งป้อนให้กับโรงงานเพื่อผลิตเป็นสินค้าสำเร็จรูป

2.คลังสินค้าเป็นที่ผสมผลิตภัณฑ์(Mixing Warehouse) ในกรณีที่มีการผลิตสินค้าจากโรงงานหลายแห่ง จะทำหน้าที่รวบรวมสินค้าสำเร็จรูปจากโรงงานต่างๆไว้ในที่เดียวกันเพื่อส่งมอบให้ลูกค้าตามต้องการขึ้นอยู่กับลูกค้าแต่ละรายว่าต้องการสินค้าจากโรงงาน

3.คลังสินค้าเป็นที่รวบรวมสินค้า(Consolidation warehouse) ในกรณีที่ลูกค้าต้องการซื้อสินค้าจำนวนมากจากโรงงานหลายแห่ง คลังสินค้าจะช่วยรวบรวมสินคาจากหลายแหล่งซึ่งจัดเป็นการขนส่งขนาดใหญ่หรือทำให่เต็มเที่ยวซึ่งช่วยประหยัดการขนส่ง

4.คลังสินค้าใช้ในการแบ่งแยกสินค้าให้มีขนาดเล็กลง(Break Bulk warehouse) ในกรณีที่การขนส่งจากผู้ผลิตมีหีบห่อหรือพาเลทขนาดใหญ่ คลังสินค้าจะเป็นแหล่งที่ช่วยในการแบ่งแยกสินค้าให้มีขนาดเล็กลงเพื่อส่งมอบให้กับลูกค้ารายย่อย

วันศุกร์ที่ 30 มีนาคม พ.ศ. 2555

งวดเวลาคืนทุน (Payback Period: PB)

งวดเวลาคืนทุน (Payback Period: PB) คือ ระยะเวลา (เป็นจำนวนปี /เดือน หรือวัน) ที่กระแส เงินสด รับจากโครงการ สามารถชดเชย กระแสเงินสดจ่าย ลงทุนสุทธิตอนเริ่มโครงการ พอดี เนื่องจาก โครงการที่ขอ รับการสนับสนุน จะมีลักษณะการลงทุน เพียงครั้งเดียว ในปีแรก และให้ผลตอบแทน ที่เท่ากันทุกปี การหาค่า PB สามารถทำได้ 2 วิธี คือ

ก. Static method






ข. Dynamic method






ค่า PB ที่ได้จากทั้ง 2 วิธี จะมีความแตกต่างกัน โดยค่าจาก Static method จะให้งวดเวลาคืนทุน เร็วกว่า Dynamic method เนื่องจาก Dynamic method จะใช้การคำนวณค่า แบบสะสม จากมูลค่าปัจจุบัน ของ ต้นทุน พลังงานที่ประหยัดได้ ซึ่งคิดอัตราลดค่า (discount rate) ในการเลือก โครงการ ค่า PB จะแสดงให้เห็นว่า ต้องใช้เวลานาน เพียงใดในการได้ทุนคืน ถ้าสามารถได้ทุนคืนเร็ว โครงการ ก็จะน่าสนใจ วิธีดังกล่าว จะมีข้อเสีย ในการเลือกโครงการ คือ วิธีนี้จะไม่ให้ความสนใจ ถึงเงินเข้าสุทธิในส่วนที่ได้หลังจากช่วงเวลา คืนทุนแล้ว ซึ่งอาจจะมีผลตอบแทนภายหลังมากกว่าโครงการที่มี PB เร็วก็ได้ แต่ PB สำหรับการประเมินโครงการ ของกองทุนฯ สามารถนำมาใช้ พิจารณาได้เนื่องจาก ลักษณะโครงการที่ขอการสนับสนุน จะให้ผลการประหยัดพลังงาน ที่เท่ากันตลอดอายุ ของโครงการ

อัตราผลตอบแทนภายใน (Internal Rate of Return: IRR)

อัตราผลตอบแทนภายใน (Internal Rate of Return: IRR) หมายถึงอัตราลดค่า (discount rate) ที่ทำให้มูลค่าปัจจุบัน ของกระแสเงินสด ที่คาดว่าจะต้องจ่ายในการลงทุน เท่ากับมูลค่าปัจจุบัน ของกระแส เงินสด ที่คาดว่าจะได้รับจากการดำเนินการ ประหยัดพลังงาน ตลอดอายุ โครงการ จากคำนิยามข้างต้น การคำนวณหา อัตราผลตอบแทนลดค่า จะต้องทราบข้อมูลดังนี้
กระแสเงินสดจ่ายลงทุนสุทธิ
กระแสเงินสดรับสุทธิรายปีตลอดอายุโครงการ
ระยะเวลาของโครงการ

จากสูตรภายใต้ข้อสมมติว่าไม่มีมูลค่าซากและเงินลงทุนสุทธิเท่ากับต้นทุนทางบัญชี

จากสูตร




ในที่นี้

n = อายุของโครงการ(ปี)
ESt = ต้นทุนพลังงานที่ประหยัดได้ (energy cost savings) รายปี ตั้งแต่ปลายปีที่ 1 ถึง n
Io = เงินจ่ายลงทุนตอนเริ่มโครงการ(total investment)
IRR = อัตราผลตอบแทนภายใน (internal rate of return)



การคำนวณหาค่า IRR ก็คือการหาค่า discount rate ที่ทำให้ NPV มีค่าเท่ากับศูนย์ นั่นเอง ถ้าค่า IRR มากกว่า หรือ เท่ากับ ค่าของทุน discount rate (i) ที่ผู้ลงทุนเลือกใช้เป็นจุดตัดสินใจ ก็ถือได้ว่า โครงการ ดังกล่าว เป็นโครงการที่น่าลงทุน โดยทั่วไปแล้ว ทั้งวิธีในการประเมินโครงการจากค่า IRR และ NPV จะให้ผล การตัดสินใจรับโครงการ หรือปฏิเสธโครงการ เป็นไปในทำนองเดียวกัน แต่ในบางกรณี ที่ใช้ข้อ สมมติ เช่น การนำเงินที่ได้ในแต่ละปี ไปลงทุนใหม่(reinvestment) หรือการใช้ วิธีหักค่าเสื่อมราคา แบบ Double-declining Balance Method แทนแบบ Straight LineMethod ก็อาจ ทำให้คำตอบ ที่ได้จากทั้ง 2 วิธีขัดแย้งกันได้ ดังนั้น การพิจารณาประเมินโครงการลงทุนจากทั้ง 2 วิธีจึงต้องคำนึงถึง ข้อสมมติ ที่ใช้ในการคำนวณ ด้วยเช่นกัน

มูลค่าปัจจุบันสุทธิ (Net Present Value: NPV)

มูลค่าปัจจุบันสุทธิ (Net Present Value: NPV) คือผลต่างระหว่างมูลค่าปัจจุบันของผลการประหยัดต้นทุน พลังงาน จากมาตรการ ในรูปตัวเงินที่คาดว่าจะได้รับในแต่ละปี ตลอดอายุของโครงการ กับมูลค่าปัจจุบันของเงิน ที่จ่ายออกไป ภายใต้ โครงการที่กำลังพิจารณา ณ อัตราลดค่า (discount rate) หรือค่าของทุน (cost of capital) ที่กำหนดจากคำนิยามข้างต้น การคำนวณหามูลค่าปัจจุบันสุทธิ จะต้องทราบข้อมูลดังนี้

กระแสเงินสดจ่ายลงทุนสุทธิ
กระแสเงินสดรับสุทธิรายปีตลอดอายุโครงการ
ระยะเวลาของโครงการ
อัตราลดค่าหรือค่าของทุนของธุรกิจ

จากสูตร



ในที่นี้

n = อายุของโครงการ(ปี)
ESt = ต้นทุนพลังงานที่ประหยัดได้ (energy cost savings) รายปี ตั้งแต่ปลายปีที่ 1 ถึง n
Io = เงินจ่ายลงทุนตอนเริ่มโครงการ(total investment)
i = อัตราลดค่า (discount rate)



ค่าของทุนที่ใช้เป็นอัตราลดค่า (discount rate) จะมีค่าเดียวกันตลอดอายุโครงการ และ ขึ้นอยู่กับ อัตราดอกเบี้ยของตลาด ที่ผู้ลงทุนเผชิญอยู่ ซึ่งค่าที่เป็น base case อย่างน้อยควรมีค่าของทุนเท่ากับ อัตราดอกเบี้ยเงินฝากประจำที่ผู้ลงทุนได้รับ
ในการเลือกโครงการ ค่า NPV จะแสดงให้เห็นว่าโครงการที่กำลังพิจารณา มีมูลค่าปัจจุบันสุทธิ ของการลงทุนเป็น มูลค่า เท่าไรเมื่อสิ้นสุดโครงการ ถ้าค่า NPV มีค่าเป็นบวกแสดงว่าโครงการดังกล่าว สมควรที่จะลงทุน และเลือกโครงการที่ให้ค่า NPV เป็นบวกสูงที่สุด แต่การใช้ NPVเพียงอย่างเดียวอาจทำให้มีข้อจำกัดในการตัดสินใจ เลือกโครงการได้ ในกรณีที่โครงการมี ขนาดต่างกัน แต่ให้ค่า NPV ที่เป็นบวกเท่ากัน ดังนั้น การตัดสินใจให้การสนับสนุน ควรจะต้องนำเครื่องมืออื่น มาประกอบการ พิจารณา ควบคู่ไปกับการใช้ค่า NPV

วันพุธที่ 15 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555

อ่านเล่นนะคะ ธนาคารเพื่อการพัฒนาเอเซีย (ADB)


ธนาคารเพื่อการพัฒนาเอเซีย (ADB)

มีหลายกลุ่มที่ต่อต้าน ADB ทั้งในไทยและต่างประเทศ ถึงแม้ว่ากลุ่มเหล่านี้ต่อต้าน ADB แต่แต่ละกลุ่มอาจมีความคิดเห็นที่ต่างกันเกี่ยวกับ ADB

กลุ่มหนึ่งเห็นว่าโครงการของ ADB นั้น บางโครงการไม่ได้คำนึงถึงความเสียหายด้านสังคมและสภาพแวดล้อมอย่างเพียงพอ เน้นเพียงแต่รายได้ที่เป็นตัวเงิน หรือให้ประโยชน์ต่อคนรวยเป็นส่วนมาก

บางกลุ่มในไทยคิดว่า นโยบายการให้เงินกู้ของ ADB เป็นรูปแบบหนึ่งของทุนต่างชาติที่คืบคลานเข้ามายึดเศรษฐกิจและทรัพยากรของไทย โดยมีเป้าหมายสูงสุดอยู่ที่การสร้างความมั่งคั่งและผลกำไรให้กับประเทศของตนเอง

รู้จัก เอดีบี

1. เอดีบี คือ ?
ธนาคารเพื่อการพัฒนาแห่งเอเชีย หรือ เอดีบี คือสถาบันทางการเงินที่มุ่งเน้นการพัฒนาในภูมิภาคเอเชียและแปซิฟิก เอดีบีมีอิทธิพลต่อการพัฒนาในภูมิภาคเอเชียและแปซิฟิก เป็นคู่แข่งแม้กระทั่งธนาคารโลก และองค์กรการเงินระหว่างประเทศ หรือไอเอ็มเอฟ โดยเอดีบีมีพื้นที่เป้าหมายอยู่ที่ภูมิภาคเอเชียและแปซิฟิค ก่อตั้งเมื่อปี 1966 (พ.ศ. 2509) ตั้งแต่นั้นมาสถาบันทางการเงินแห่งนี้ก็ทำหน้าที่เป็นช่องทางสำคัญสำหรับอิทธิพลทางธุรกิจของญี่ปุ่นต่อภูมิภาคเอเชียและแปซิฟิก โดยธรรมเนียมแล้ว ตำแหน่งประธานของเอดีบี และผู้บริหารระดับสูงจะเป็นคนญี่ปุ่น เหมือนกับที่สหรัฐอมริกาครองตำแหน่งผู้บริหารระดับสูงในธนาคารโลก

2. เอดีบี ทำอะไร?
เอดีบีให้เงินกู้ ลงทุน และให้ความช่วยเหลือทางเทคนิคแก่รัฐบาล และบริษัทเอกชนต่าง ๆ ในประเทศสมาชิก สำหรับการเตรียมการและการดำเนินการโครงการพัฒนาต่าง ๆ จนเสร็จสิ้น และยังทำหน้าที่เป็นตัวกระตุ้นส่งเสริมให้เกิดการลงทุนจากการระดมเงินทุนจากทั้งภาคเอกชนและภาคสาธารณะเพื่อการพัฒนา

3. ใครเป็นผู้จ่ายเงินสำหรับการดำเนินงานของเอดีบี?
เอดีบีตั้งขึ้นมาด้วยเงินจากการบริจาค และเงินจากการเป็นสมาชิกของประเทศต่าง ๆ และจากการกู้ยืมจากตลาดเงินระหว่างประเทศด้วย

4. ใครบ้างที่เป็นประเทศสมาชิก?
เอดีบีมีสมาชิกผู้ถือหุ้นทั้งหมด 57 ประเทศ โดย ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2540 ผู้ถือหุ้นใหญ่ที่สุดคือ ญี่ปุ่น และสหรัฐอเมริกา คือประเทศละ 16 เปอร์เซ็นต์ ส่วนประเทศสมาชิกในภูมิภาคเอเฃียและแปซิฟิคจำนวน 41 ประเทศ ถือหุ้นอยู่รวมกัน 47 เปอร์เซ็นต์ (ไม่รวมญี่ปุ่น) และสมาชิกอีก 16 ประเทศที่มาจากประเทศอุตสาหกรรมในยุโรปตะวันตก อเมริกาเหนือ ถือหุ้นอยู่ 21 เปอร์เซ็นต์ (ไม่รวมสหรัฐอเมริกา) ผู้ถือหุ้นสิบอันดับต้น ๆ (เรียงตามลำดับผู้ถือหุ้นรายใหญ่ไปเล็ก) คือ ญี่ปุ่นและอเมริกา จีน อินเดีย ออสเตรเลีย อินโดนีเซีย แคนาดา เกาหลี เยอรมัน และมาเลเซีย โดยเอดีบีมีสำนักงานใหญ่อยู่ที่กรุงมะนิลา ประเทศฟิลิปปินส์

5. ใครเป็นผู้บริจาคทุนรายใหญ่ของเอดีบี?
ผู้บริจาครายใหญ่ คือ ญี่ปุ่น อเมริกา เยอรมัน ออสเตรเลีย และแคนาดา

6. ใครเป็นผู้กู้รายใหญ่ของเอดีบี?
ในปี 2539 ผู้กู้รายใหญ่ (เรียงตามลำดับ) คือ จีน อินโดนีเซีย อินเดีย ปากีสถาน เวียดนาม ประเทศไทย ฟิลิปปินส์ เนปาล บังคลาเทศ และกัมพูชา

7. โครงสร้างการตัดสินใจของเอดีบีเป็นอย่างไร?
โดยทางปฏิบัติ ประเทศผู้บริจาครายใหญ่จะมีอำนาจในการตัดสินใจมากที่สุด ซึ่งก็คือ ญี่ปุ่น และอเมริกา รองลงมาคือ ออสเตรเลีย ที่ผ่านมาประธานของเอดีบีทั้ง 6 คนเป็นชาวญี่ปุ่น ผลก็คือ โครงการต่าง ๆ ที่เอดีบีให้กู้ก็จะเป็นโครงการที่ญี่ปุ่นเข้ามาเกี่ยวข้องในเรื่องผลประโยชน์ด้วยเสมอ

8. เอดีบีวางหลักการการดำเนินงานอย่างไร? เอดีบีระบุหลักการการดำเนินงานของตัวเองว่า
- เพื่อขยายเงินกู้ และสร้างความทัดเทียมในการลงทุนสำหรับการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแก่ประเทศกำลังพัฒนาที่เป็นสมาชิก
- เพื่อให้ความช่วยเหลือทางด้านเทคนิคสำหรับการเตรียมการและการดำเนินการโครงการพัฒนาต่าง ๆ รวมทั้งบริการให้คำปรึกษาแนะนำด้วย
- เพื่อส่งเสริมและอำนวยความสะดวกในการลงทุนของทั้งภาคเอกชนและภาคสาธารณะต่อโครงการการพัฒนาต่าง ๆ
- เพื่อตอบสนองต่อข้อเรียกร้องสำหรับการให้ความช่วยเหลือกับประเทศสมาชิกทางด้านการวางแผนหรือด้านการวางนโยบายการพัฒนาร่วมกัน

9. อะไรที่เอดีบีบอกว่าเป็นเป้าหมายในทางยุทธศาสตร์ของเอดีบี?
เอดีบีอธิบายบทบาทของตัวเองในภูมิภาคนี้ว่า "เพื่อที่จะเข้ามามีส่วนในระดับกว้าง ๆ ของกิจกรรมการพัฒนาทางด้านเศรษฐกิจและสังคม โดยมีเป้าหมายที่จะยกระดับชีวิตความเป็นอยู่ของผู้คนในภูมิภาคนี้" โดยเอดีบีมองว่าจะต้องสร้างความร่วมมือทางเศรษฐกิจและกระตุ้นการเติบโตทางเศรษฐกิจให้เกิดขึ้นในภูมิภาคเอเชียและแปซิฟิค โดยวางเป้ายุทธศาสตร์ของธนาคารว่า "จะต้องสร้างความเติบโตทางเศรษฐกิจ ลดทอนความยากจน ส่งเสริมการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ ยกระดับสถานะของผู้หญิง และปกป้องสิ่งแวดล้อม" อย่างไรก็ตาม เป้าหมายทางด้านสังคมและสิ่งแวดล้อมนั้นถูกระบุไว้ปะปนกับเป้าหมายทางด้านเศรษฐกิจ ซึ่งมันเด่นชัดว่านโยบายที่ส่งเสริมการเติบโตทางเศรษฐกิจ และลดทอนความยากจนนั้นยังคงเป็นเป้าหมายใจความใหญ่ หรือถือเป็นปรัชญาการดำเนินงานของธนาคาร

10. เอดีบีอนุมัติวงเงินเพื่อโครงการพัฒนาทางด้านใดบ้าง?
เมื่อเริ่มก่อตั้ง เอดีบีอนุมัติวงเงินมากกว่า 50,000 ล้านเหรียญสหรัฐ เพื่อการให้กู้ยืมสำหรับ 1,300 โครงการ ซึ่งส่วนใหญ่เป็นโครงการเพื่อการพัฒนาโครงสร้างขนาดใหญ่ โดยมุ่งเป้าที่ด้านพลังงาน (โครงการท่อแก๊สยาดานา) การโทรคมนาคม การขนส่ง และการท่องเที่ยว (การสร้างสนามบินงูเห่า และการตัดถนนเชื่อม 6 ประเทศในภูมิภาคแม่น้ำโขง) และแบ่งสรรเพียง 2% (ซึ่งถือว่าเป็นสัดส่วนที่น้อยที่สุด) ให้กับด้านการศึกษา ส่วนโครงการพัฒนาในภาคเกษตร เงินกู้ของเอดีบีจะพ่วงมากับเงินกู้อื่น ๆ ของญี่ปุ่น เช่น กองทุนเพื่อการพัฒนาโพ้นทะเล และธนาคารเพื่อการส่งออกของญี่ปุ่น เป็นต้น

11. บทบาทของเอดีบีในขณะนี้เป็นอย่างไร?
บทบาทแต่ก่อนธนาคารเป็นผู้ให้กู้เงินแก่ประเทศสมาชิกโดยตรง แต่ในปัจจุบัน ธนาคารได้เปลี่ยนบทบาทใหม่มาเป็นตัวเร่งให้เกิดการพัฒนา โดยใช้การลงทุนในโครงการต่าง ๆ มาโน้มน้าวภาคเอกชนให้เข้ามาร่วมลงทุนและจัดการทางด้านการเงินร่วมกัน โดยเอดีบีจะเป็นผู้วางกรอบและผลักดันให้มีการปรับโครงสร้างของสถาบันต่าง ๆ โดยการแปรรูป และปรับกฎหมาย เพื่อปูทางให้ภาคเอกชนเข้ามา การดึงภาคเอกชนเข้ามาร่วมลงทุนเช่นนี้ เอดีบีอ้างว่าทำให้เงินทุนมหาศาลหลั่งไหลเข้ามาเสริมวิสัยทัศน์ทางด้านการพัฒนาของเอดีบีในภูมิภาคให้ขยายออกไปอย่างมากมาย

Popular Posts