Custom Search

วันพฤหัสบดีที่ 7 มิถุนายน พ.ศ. 2555

การเงินระหว่างประเทศ (International Finance)

การเงินระหว่างประเทศ (International Finance) มีหัวข้อหลัก 3 เรื่อง 1. ดุลการชำระเงินระหว่างประเทศ (Balance of Payment) หรือ BOP 2. ระบบอัตราแลกเปลี่ยนเงินตราระหว่างประเทศ (Exchange Rate System) 3. แนวทางการรักษาเสถียรภาพของ BOP หัวข้อที่ 1 BOP: ดุลการชำระเงินระหว่างประเทศ BOP คือ ดุลยบัญชี ที่ชี้ให้เห็นถึงฐานะทางการเงินของประเทศนั้น ๆ ในการถือเงินสกุลหลัก สามารถแยกย่อยได้ดังนี้ 1. Current Account = ดุลบัญชี เงินสะพัด (ดุล บ/ช ที่ใหญ่ที่สุด) 1.1 Trade Account ดุลการค้า 1.2 Service Account ดุลบริการ 2. Capital Account ดุลบัญชีเงินทุนเคลื่อนย้ายระหว่างประเทศ หรือ ดุลบัญชีเงินทุน 2.1 FDI (Foreign Direct Investment Account) - ดุลบัญชี เงินลงทุนโดยตรง 2.2 PI (Portfolio Investment Account) - ดุลบัญชีเงินลงทุนโดยอ้อม 3. TA (Transfer Account) ดุลเงินโอน - ดุลบริจาค ดุลช่วยเหลือระหว่างประเทศ รายละเอียด BOP - BOP เป็นดุลบัญชี ที่ชี้ให้เห็นถึงมูลค่าของการนำเข้าและส่งออกทั้งสินค้าและบริการ *บริการได้แก่ การใช้บริการ การบินไทย น.ศ.มาเรียนในประเทศ - Trade Account ชี้ให้เห็นถึงการนำเข้า และการส่งออกสินค้าอย่างเดียว - Service Account ชี้ให้เห็นถึงการนำเข้า และการส่งออกบริการอย่างเดียว รายละเอียด Capital Account - เป็นดุลบัญชีที่ชี้ให้เห็นถึงมูลค่าเงินทุนไหวเข้า และไหลออก มี 2 ประเภท คือ 1.FDI (foreign Direct Investment) เช่น ต่างประเทศขนเงินมาสร้างโรงงาน โดยตรง 2.PI (Portfolio Investment) เป็นลงทุนในเอกสาร เช่น ต่างประเทศซื้อหุ้น (Portfolio Investment) โดยอ้อม คำถาม โดยปกติ Capital Account ไทยมักจะเกินดุล สาเหตุ โครงสร้างพื้นฐาน และทรัพยากรสูง รวมถึงดอกเบี้ยมักจะสูง รายละเอียด ดุลบัญชีการโอนเงิน (Transfer Account) - เป็นบัญชีให้เห็นถึงเงินช่วยเหลือระหว่างประเทศ หรือเงินได้เปล่า รับ ช่วย = เกินดุล ช่วย รับ = ขาดดุล สรุป 1 + 2 + 3 จะได้ BOP ในแต่ละเดือนของประเทศ หัวข้อที่ 2 ระบบอัตราแลกเปลี่ยนเงินตราระหว่างประเทศ (Exchange Rate System) นิยมแบ่งตามหลัก ได้ 2 ระบบ คือ 1. ระบบหลัก Fixed Exchange Rate System ระบบอัตราแลกเปลี่ยนคงที่ 2. ระบบลอยตัว Floating Exchange Rate System หรือ ใช้คำว่า freely fluctuating Rate System *** และมีระบบที่อยู่ตรงกลางระหว่าง 1 กับ 2 คือ ระบบกึ่งลอยตัว (In between System) หรือ Semi – floating สามารถแบ่งแยกย่อยได้อีก 3 ระบบ ดังนี้ 1.Manage Float System - ระบบการลอยตัวที่มีการจัดการ (ประเทศไทย ใช้อยู่) 2.Float with board system หรือ Current board system - ระบบการลอยตัวที่มีการกำกับ หรือ แบบมีคณะกรรมการการเงิน เช่น มาเลเซีย จีน 3.Basket of current system - ระบบตะกร้าเงิน เป็นเครื่องมือของอัตราแลกเปลี่ยน

0 ความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

Popular Posts