Custom Search

วันพฤหัสบดีที่ 7 มิถุนายน พ.ศ. 2555

การใช้นโยบายการเงิน นโยบายการคลัง เพื่อเป้าหมายในการส่งเสริมการเจริญเติบโต

การใช้นโยบายการเงิน นโยบายการคลัง เพื่อเป้าหมายในการส่งเสริมการเจริญเติบโต และ รักษาเสถียรภาพ ทาง ศก. (Eco.Growth + Stability) การเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ ของทุกประเทศมักจะเจริญเติบโต แบบไม่มีเสถียรภาพ จะ ขึ้น ๆ ลง ๆ บางช่วง ศก. มีความเจริญเติบโตสูง บางช่วงต่ำ ถ้าเป็นอย่างนี้เราเรียกว่า ปัญหาวัฏจักร เศรษฐกิจ (Business Cycle) และมักจะก่อให้เกิดปัญหา 2 ด้าน คือ 1. ช่วงเศรษฐกิจขาลง (ศก. ตกต่ำ) จะมีปัญหาว่างงานเกิดขึ้น เพราะ Demand ของแรงงาน ลดลง แต่ Supply ของแรงงานไม่ลด 2. ช่วงเศรษฐกิจขาขึ้น จะมีปัญหาเงินเฟ้อ (Price Inflation) เป็นภาวะที่ราคาสินค้าบริการ พุ่งสูงขึ้นอย่างรวดเร็ว โดยวัดจากดัชนีราคา (CPI) (Consumer Price Index) คำถาม อ.เงินเฟ้อดี หรือ ไม่ดี ในทางวิชาการ - เงินเฟ้อจะดี หรือ ไม่ดี ต้องดูว่าใครเป็นผู้ตอบ เช่น พ่อค้า บอกว่าดี/ลูกจ้าง ข้าราชการ ไม่ดี - ผลประโยชน์เกิดกับคน ไม่เท่ากัน คือ การกระจายรายได้ไม่ดี - ภาวะ ศก. ขยายตัวเร็ว จะได้ภาวะเงินเฟ้อ เพราะปริมาณในระบบมาก ซึ่ง Demand ขยายตัวเร็ว แต่ Supply ขยายตัวไม่ทัน *** เศรษฐกิจ เจริญเติบโต ในระดับที่เหมาะสม คือ การเติบโตอย่างมี ไม่เจริญเติบโตเร็วเกินไป หรือช้าเกินไป (อยู่ที่การตั้งเป้าทาง ศก.) ทฤษฎีการเงิน การคลัง 1. Keynesian Theory ทฤษฎีสำนักเคนส์ 2. Monetarist Theory ทฤษฎีสำนักการเงินนิยม 1 ความคิดสำนักเคนส์ John Maynard Keynes เป็น บิดาของทฤษฎีการเงิน การคลัง คิดทฤษฎีเมื่อ คศ.1930 หลัง สงครามโลกครั้งที่ 2 หลังจากนั้น 30 ปี จึงนำมาใช้ (1960) นักวิชาการที่สำคัญ 1. Devid Romer 2. N.Gregory Mankiw 3. Jemes Tobin สนใจเศรษฐกิจระหว่างประเทศเป็นหลัก *** นักวิชาการไทย ทุกคนใช้แนวคิดทฤษฎีเคนส์ (โดยมาก) แนวคิดทฤษฎีเคนส์ ไม่คำนึงถึงการกระจายรายได้ มีแนวคิดหลัก 4 แนวคิด แนวคิดที่ 1 ศก. ตกต่ำ และมีการว่างงาน - เกิดจากอุปสงค์รวม (y) ในระบบเศรษฐกิจ มีน้อยเกินไป แนวคิดที่ 2 ศก. เสนอทางแก้ -ให้ใช้นโยบาย การเงิน การคลัง เข้นามาช่วยที่เรียกว่า Demand Side Policy แนวคิดที่ 3 ศก.ขยายตัวอย่างรวดเร็ว หรือ ร้อนแรง และเงินเฟ้อที่สูงขึ้น -เกิดจากอุปสงค์รวมในระบบเศรษฐกิจ มีมากเกินไป แนวคิดที่ 4 เสนอทางแก้ -ในนโยบายการเงิน – การคลัง Demand Restraint Policy

0 ความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

Popular Posts