Custom Search

วันศุกร์ที่ 10 สิงหาคม พ.ศ. 2555

วงจรชีวิตผลิตภัณฑ์ (Product Life Cycle)


•ขั้นแนะนำ(IntroductionStageอาจเป็นผลิตภัณฑ์ใหม่หรือผลิตภัณฑ์เก่าแต่เปลี่ยนรูปแบบวิธีการให้บริการใหม่และนำเสนอเข้าสู่ตลาดพร้อมทั้งใช้การโฆษณาประชาสัมพันธ์และกลยุทธ์การส่งเสริมการขายในรูปต่างๆ โดยมุ่งไปยังลูกค้าที่คิดว่าพร้อมจะซื้อสินค้าและบริการมากที่สุดเป็นเป้าหมายหลัก
สำหรับผลิตภัณฑ์การท่องเที่ยว วัตถุประสงค์ของการดำเนินงานในขั้นแนะนำนั้น เพื่อสร้างความรู้สึก จดจำ ให้ภาพลักษณ์แก่นักท่องเที่ยว ขยายตลาดลูกค้าประจำ และแสวงหาตลาดใหม่ การหวังผลกำไรจึงเป็นได้ยากถ้าเป็นแหล่งท่องเที่ยวจะอยู่ในขั้นการสำรวจและดึงดูดความสนใจของนักท่องเที่ยว



•ขั้นเจริญเติบโต (Growth Stage) ผลิตภัณฑ์เป็นที่รู้จักแพร่หลาย ปริมาณการขายเพิ่มขึ้นได้รับความนิยมจากลูกค้ากำไรให้แก่ธุรกิจได้ดี ผู้ประกอบการต้องเร่งการผลิตเพื่อตอบสนองให้ทันต่อความต้องการ รวมทั้งการรักษาและปรับปรุงคุณภาพของผลิตภัณฑ์ให้มากขึ้นด้วย เพื่อรักษากลุ่มลูกค้าเดิม เพิ่มสัดส่วนการถือครองตลาด (market share) และขยายไปยังกลุ่มลูกค้าใหม่ๆ ถ้าเป็นแหล่งท่องเที่ยวจะมีการดำเนินและพัฒนาให้เป็นสถานที่ท่องเที่ยว
•ขั้นเจริญเติบโตที่ (Maturity Stage) ผลิตภัณฑ์เป็นที่ยอมรับของตลาด เริ่มคู่แข่งขันการโฆษณาและส่งเสริมการขายจะเปลี่ยนจากการเน้นความต้องการทั่วไป เป็นความต้องการในขั้นเลือก(selective demand) ทำให้เกิดความพยายามสร้างความแตกต่างในตัวสินค้า (product differentiation) จำเป็นต้องลดราคา หรือ กำไรต่อหน่วย ถ้าเป็นแหล่งท่องเที่ยวจะมีนักท่องเที่ยว เข้าไปเที่ยวเป็นจำนวนมาก มีสิ่งอำนวยความสะดวกครบถ้วน สำหรับผลิตภัณฑ์การท่องเที่ยว
•ขั้นอิ่มตัว (Saturation Stage) มียอดขายเพิ่มขึ้นในอัตราที่ลดลง ผลิตภัณฑ์ที่ด้วยกว่าของบริษัทคู่แข่งจะออกสู่ตลาด มีการขายตัดราคากัน ตัวแทนจำหน่ายอาจลดการสั่งซื้อจำเป็นต้องเร่งการส่งเสริมการขายทั้งร้านค้าตัวแทนจำหน่าย และผู้บริโภค พร้อมทั้งปรับปรุงคุณภาพผลิตภัณฑ์ ราคา ช่องทางการจัดจำหน่าย การส่งเสริมการจำหน่าย เพื่อขยายตลาดลูกค้าให้กว้างออกไป
•ขั้นตกต่ำ หรือถดถอย (Decline Stage) ผู้ผลิตพยายามลดจำนวนผลิตภัณฑ์ในตลาดเนื่องจากผลิตภัณฑ์ไม่ทันสมัย ยอดขายลดลงไม่สามารถรักษาส่วนแบ่งของตลาดไว้ได้ การส่งเสริมการขายน้อยลง จำเป็นต้องเริ่มวงจรชีวิตผลิตภัณฑ์ใหม่ ด้วยการปรับปรุงผลิตภัณฑ์ หรือให้ผลิตภัณฑ์นั้นออกจากตลาดไป แล้วเสนอผลิตภัณฑ์ใหม่แทน เช่น ตลาดน้ำวัดไทร ปัจจุบันเปลี่ยนที่ไปเป็นตลาดน้ำดำเนินสะดวก ราชบุรีหรือแหล่งท่องเที่ยวบางแห่งเสื่อมโทรมจนไม่มีใครอยากมาเที่ยวอีก
ดังนั้นการวางแผนและพัฒนาตลาดการท่องเที่ยวจึงมุ่งความสำคัญไปที่การวางแผนและพัฒนาผลิตภัณฑ์ โดยเฉพาะแหล่งท่องเที่ยวไม่จำเป็นต้องเดินทางไปสู่ความเสื่อมโทรมเสมอไป วงจรชีวิตอาจขยายหรือยึดออกไปได้ด้วยการวางแผนพัฒนาปรับปรุงแก้ไขที่ดี พัฒนาโดยการคำนึงถึงความสามารถในการรองรับของพื้นที่ การจัดบริการสิ่งอำนวยความสะดวก ความร่วมมือของประชาชนในท้องถิ่นและของนักท่องเที่ยว ผู้ประกอบธุรกิจใช้วิธีการขายร่วม คือเอาแหล่งท่องเที่ยวที่มีลักษณะใกล้เคียงกันมาทำ package ขายให้นักท่องเที่ยวไปในคราวเดียวกัน หรือปรับตำแหน่งทางการตลาด เช่น พัทยา เป็น Convention Hall City จำทำให้แหล่งท่องเที่ยวสามารถรองรับความเปลี่ยนแปลงได้อย่างเหมาะสม สามารถกลับฟื้นคืนสภาพเพื่อเริ่มวงจรใหม่ได้

0 ความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

Popular Posts