เมื่อธนาคารกลางต้องการกระตุ้นเศรษฐกิจจะใช้นโยบายการเงินแบบขยายตัว(Expansion
Monetary Policy) เป็นการเพิ่มปริมาณเงินทำให้เส้นอุปทานของเงินจะเลื่อนไปทางขวา ดุลยภาพ
เปลี่ยนแปลงจากจุด A ไปยังจุด Bพบว่า ความต้องการถือเงินในระบบเศรษฐกิจเพิ่มขึ้นจาก M1 เป็น M2
และอัตราดอกเบี้ยลดลงจาก 3 r เหลือ 4 r การเงินขยายตัวมักใช้กับภาวะที่
เศรษฐกิจตกต่ำมีการว่างงาน เพราะเมื่อเพิ่มปริมาณเงินแล้วทำให้อัตราดอกเบี้ยลดลง เมื่ออัตราดอกเบี้ย
ลดลงทำให้การบริโภคและการลงทุนในระบบเศรษฐกิจเพิ่มขึ้นส่งผลให้ความต้องการใช้จ่ายรวม
(DAE)ในระบบเศรษฐกิจเพิ่มขึ้น เศรษฐกิจจะขยายตัว อย่างไรก็ตาม การใช้นโยบายขยายตัวมากเกินไป
จะทำให้เกิดเงินเฟ้อในทางตรงข้าม หากเศรษฐกิจที่เป็นอยู่มีการเก็งกำไรมาก มีความต้องการมากกว่าผลผลิต
ศักยภาพ เกิดปัญหาเงินเฟ้อมาก ธนาคารจะเลือกใช้นโยบายการเงินแบบหดตัว(Contraction Monetary
Policy) เป็นการลดปริมาณเงินในระบบเศรษฐกิจเพื่อแก้ปัญหาเงินเฟ้อ เพราะเมื่อปริมาณเงินลดลง
ดอกเบี้ยจะเพิ่มขึ้น ประชาชนจะออมมากขึ้นทำให้การบริโภคลดลง ในขณะที่ภาคธุรกิจจะลงทุนลดลงทำ
ให้ความต้องการใช้จ่ายรวมในระบบเศรษฐกิจ (DAE) ลดลง เพื่อใฟ้ความต้องการใช้จ่ายรวมพอดีกับ
ผลผลิตรวมที่กำลังการผลิตของประเทศสามารถตอบสนองได้
การวิเคราะห์สภาพแวดล้อมภายใน (Internal Environmental Analysis)
-
สภาพแวดล้อมภายนอกมีอิทธิพลต่อองค์การอย่างมากก็จริง
แต่ผู้บริหารต้องมีความเข้าใจและสามารถจัดการปัจจัยภายในองค์การด้วยการดาเนินงานจึงจะบรรลุเป้าหมาย
การวิเคร...
5 ปีที่ผ่านมา
0 ความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น