Custom Search

วันพฤหัสบดีที่ 19 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2552

สรุปการจัดการการเงิน2

บทที่ 15 เรื่อง การจัดการสินทรัพย์หมุนเวียน
1. คำจำกัดความเกี่ยวกับเงินทุนหมุนเวียน 1)เงินทุนหมุนเวียน หมายถึงส/ทหมุนเวียนที่ใช้ในการดำเนินงาน 2) เงินทุนหมุนเวียนสุทธิ หมายถึง ผลต่างระหว่างส/ทหมุนเวียน
กับหนี้สินหมุนเวียน สมการ เงินทุนหมุนเวียนสุทธิ =สินทรัพย์หมุนเวียน-หนี้สินหมุนเวียน ) 3)Current ratio หมายถึง สินทรัพย์หมุนเวียนหารด้วยหนี้สินหมุนเวียน
ใช้วัดสภาพคล่องของกิจการ 4) Quick ratio ใช้วัดสภาพคล่องของกิจการเช่นเดียวกับ Current ratio แต่หักสินค้าคงเหลือที่มีสภาพคล่องน้อยที่สุดออกจากสินทรัพย์หมุนเวียน
5)งบประมาณเงินสด คือประมาณการกระแสเงินสดรับและจ่าย ทำให้ทราบว่ากิจการมีกระแสเงินสดรับเพียงพอกับจ่ายหรือไม่ 6)นโยบายเงินทุนหมุนเวียน เป็นนโยบายเกี่ยวกับ
(1)เกี่ยวกับการกำหนดว่าจะมีสินทรัพย์หมุนเวียนแต่ละประเภทเพียงไร(2)จะจัดหาเงินทุนจากแหล่งใดมาลงทุนในสินทรัพย์หมุนเวียน 7)การจัดหาเงินทุนหมุนเวียน
หมายถึงการกำหนดนโยบายเงินทุนหมุนเวียน และดำเนินการตามนโยบายนั้น ๆ 2.วงจรเงินสด 1)ระยะเวลาในการผลิตและขายสินค้า คือ ระยะเวลาถัวเฉลี่ยในการแปร
สภาพวัตถุดิบเป็นสินค้าสำเร็จรูปและขายสินค้านั้น 2)ระยะเวลาในการเก็บหนี้ คือระยะเวลาถัวเฉลี่ย เริ่มจากขายเชื่อจนถึงเก็บเงินจากลูกหนี้ได้ เรียกว่า days sales outstanding
(DSO) 3)ระยะเวลาในการชำระหนี้คือระยะเวลาถัวเฉลี่ยตั้งแต่วันที่ซื้อวัตถุดิบจ้างแรงงานจนถึงวันที่จ่ายชำระเงิน 4) วงจรของเงินสด คือ ช่วงระยะเวลาที่เงินทุนได้จมไว้กับ
ส/ทหมุนเวียน(วงจรของเงินสด=ระยะเวลาในการผลิตและขาย+ระยะเวลาเก็บหนี้-ระยะเวลาในการชำระหนี้ 3.แนวความคิดเงินทุนหมุนเวียนเป็นศูนย์ 4. นโยบายการ
ลงทุนในสินทรัพย์หมุนเวียน 1) นโยบายลงทุนในส/ทหมุนเวียนสูง ซึ่งกิจการจะกระตุ้นยอดขายโดยการให้สินเชื่อทำให้ลูกหนี้การค้าสูงด้วย 2)นโยบายลงทุนในส/ทหมุนเวียน
แบบจำกัด จะให้มีไว้น้อยที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ 3)นโยบายลงทุนในส/ทหมุนเวียนระดับปานกลาง คือไม่มากหรือน้อยเกินไป จะเลือกนโยบายใดนั้นขึ้นอยู่กับสถานการณ์
ในสถานการณ์ที่แน่นอนคือ ยอดขาย ต้นทุน ระยะเวลาการสั่งซื้อ ระยะเวลาในการจ่ายชำระหนี้สามารถทราบได้แน่นอนก็จะมีส/ทหมุนเวียนในระดับต่ำได้เพราะการมี
ส/ทหมุนเวียนสูงไม่ก่อให้เกิดผลตอบแทนที่เพิ่มขึ้น 5) การจัดการเงินสด เงินสดเป็นส/ทหมุนเวียนที่มีสภาพคล่องที่สุดแต่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ เป้าหมายของการจัดการเงินสดคือ
มีเงินสดให้น้อยที่สุด โดยต้องเพียงพอที่จะชำระหนี้โดยได้รับส่วนลดเงินสด รักษาเครดิตของกิจการไว้ และเพื่อใช้จ่ายในยามฉุกเฉิน ข้อดีของการถือเงินสดและส/ทที่ใกล้เคียง
เงินสดไว้เพียงพอ 1)เพื่อซั้อสินค้าโดยได้รับส่วนลดการค้า 2)เพื่อรักษาฐานทางเครดิตไว้ ทำให้ Current ratio , Quick ratio อยู่ในระดับค่าเฉลี่ยอุตสาหกรรมทั่วไป3) มีโอกาส
ได้รับข้อเสนอพิเศษจากผู้จำหน่ายวัตถุดิบ 4)เพื่อให้มีเพียงพอใช้ในยามฉุกเฉิน 6.งบประมาณเงินสด คือ ประมาณการกระแสเงินสดรับจ่ายคงเหลือ ของช่วงเวลาหนึ่งโดย
ปกติจะจัดทำเป็นรายเดือน 7)เทคนิคการจัดการเงินสด มี 4 อย่าง คือ (1)จัดให้กระแสเงินสดมีความสอดคล้องกัน 2)ทำให้กระบวนการเคลียร์เช็คเร็วขึ้น 3)การใช้ส่วนที่ต่างกัน
4)การเร่งรัดเก็บเงิน 8)หลักทรัพย์ในความต้องการของตลาด คือ หลักทรัพย์ที่ขายได้ในเวลาไม่นานนักธุรกิจมีเหตุผลในการลงทุนซื้อหลักทรัพย์ นี้คือ 1)สามารถ
เปลี่ยนเป็นเงินสดได้เร็วจึงใช้แทนเงินสดในการใช้จ่ายตามปกติและยังให้ผลตอบแทนอีกด้วย 2)เป็นการสำรองเงินสด 3)เพื่อเก็งกำไร 9)สินค้าคงเหลือ จำแนกได้เป็น 4 ประเภท
1)ของใช้สิ้นเปลือง 2)วัตถุดิบ 3)สินค้าระหว่างผลิต 4)สินค้าสำเร็จรูป 10)ต้นทุนของสินค้า มีเป้าหมาย 2 ประการ 1)สินค้ามีเพียงพอต่อการทำธุรกิจต่อไป 2)ต้นทุนสั่งซื้อและ
เก็บรักษาต่ำสุดเท่าที่จะเป็นไปได้ จำแนกได้เป็น ต้นทุนในการเก็บรักษา ต้นทุนในการสั่งซื้อ ส่งสินค้า และรับสินค้า ต้นทุนทิ่สินค้าไม่พอขาย 11)ระบบการควบคุมสินค้า
มีวิธีดังนี้ 1)Red-Line Method จะขีดเส้นแดงไว้รอบ ๆ สถานที่เก็บสินค้า เมื่อสินค้าลดลงถึงเส้นแดงที่ขีดไว้ ก็จะสั่งซื้อสินค้าครั้งต่อไป 2)Two-Bin Method จะเก็บสินค้า
ไว้ในที่เก็บสินค้า ๒แห่ง เมื่อสินค้าในสถานที่เก็บแห่งหนึ่งแห่งใดหมดก็จะสั่งซื้อสินค้าครั้งต่อไป 3)Computerixed Inventory Control System จะใช้คอมฯช่วยบันทึกรับ-จ่าย
สินค้าและปรับยอดคงเหลือสินค้าตลอดเวลา เมื่อสินค้าลดลงถึงจุดสั่งซื้อคอมฯจะสั่งซื้อเองอัตโนมัติ //// Just-In-Time Systems :JIT คือ การควบคุมสินค้าที่ผู้ส่งวัตถุดิบ
และส่วนประกอบต่าง ๆ ประสานงานกับผู้ผลิตเพื่อจัดส่งวัตถุดิบได้ทันเวลาที่ต้องการ โดยส่วนประกอบต่าง ๆ ต้องมีคุณภาพถ้ามีชิ้นส่วนใดเสียหาย อาจต้องหยุดผลิตได้
จึงต้องใช้ร่วมกับระบบการจัดการคุณภาพโดยรวม(TQM) /// Out-Sourcing คือ การสั่งซื้อชิ้นส่วนที่ใช้ในการผลิตสินค้าจากผู้ผลิตอื่นแทนการผลิตเองและใช้ร่วมกับ JIT
ทำให้ปริมาณสินค้าคงเหลือลดลง 12)การจัดการลูกหนี้การค้า ต้องเริ่มตัดสินใจว่าจะขายสินค้าเป็นเงินเชื่อหรือไม่ เงื่อนไขอย่างไร มีนโยบายเก็บหนี้อย่างไร การเพิ่มขึ้นของ
ลูกหนี้การค้ามี 2 ประการ คือ ปริมาณการขายเชื่อและระยะเวลาเก็บหนี้ถัวเฉลี่ย (ตั้งแต่วันที่ขายเชื่อถึงวันที่เก็บเงินได้ถัวเฉลี่ย) การบ่งชี้สถานะ
ของลูกหนี้การค้า จะทำให้1)สินค้าคงเหลือลดลงเท่ากับต้นทุนขาย2) ลูกหนี้การค้าเพิ่มขี้นเท่ากับราคาขาย กำไรเพิ่มขึ้นเท่ากับผลต่างของ(1)(2) 13)นโยบาย
การให้สินเชื่อ ประกอบด้วยตัวแปรดังนี้ ระยะเวลาการให้สินเชื่อ ส่วนลด มาตรฐานของสินเชื่อ และนโยบายการเรียกเก็บหนี้ 14)การกำหนดระยะเวลาและ
มาตรฐานการให้สินเชื่อ ประกอบด้วย มาตรฐานการให้สินเชื่อ คือ ความเข้มแข็งของสถานะการเงินและความน่าเชื่อถือของลูกค้า ถ้าลูกค้ามีคุณสมบัติไม่เพียงพอ
สำหรับเงื่อนไขการให้สินเชื่อตามปกติ กิจการจะขายสินค้า โดยกำหนดเงื่อนไขที่เข้มงวดขึ้น 15)การกำหนดนโยบายจัดเก็บหนี้ คือ กระบวนการเพื่อจ้ดเก็บหนี้
ที่ถึงกำหนดชำระ อาจทำเป็นขั้นตอนคือ ลูกหนี้ค้างชำระเกิน 10 วัน ใช้วิธีส่งจดหมาย ถ้าไม่ได้ผลจะใช้โทรศัพท์และหลัง 90 วัน ยังไม่ชำระให้ตัวแทนจัดเก็บหนี้ต่อไป
การเปลี่ยนแปลงนโยบายนี้ มีผลกระทบต่อยอดขาย ระยะเวลาจัดเก็บหนี้ และอัตราหนี้สูญ จึงต้องนำปัจจัยดังกล่าวมาพิจารณาประกอบกันด้วย 16) ส่วนลดเงินสด
คือ จำนวนเงินที่หักจากราคาสินค้า เพื่อจูงใจให้ลูกชำระหนี้เร็วขึ้น ต้องวิเคราะห์ต้นทุนและผลประโยชน์ที่จะได้รับจากส่วนลดต่าง ๆ เช่น 2/10,Net30 คือ ลูกหนี้
ต้องชำระเงินภายใน 30 วัน ถ้าชำระภายใน 10 วัน ได้ส่วนลดเงินสด 2% การเปลี่ยนแปลงเงื่อนไขการขายมีประโยชน์ 2 ประการ คือ อาจได้ลูกค้าใหม่
เพิ่มขึ้น เนื่องจากพิจารณาว่าราคาสินค้าลดลง และทำให้ระยะเวลาการจัดเก็บหนี้โดยเฉลี่ยลดลง เพราะลูกค้าชำระหนี้เร็วขึ้นเพื่อรับส่วนลด อัตราส่วนลดที่เหมาะสม
คือ ส่วนลดต้นทุนที่เพิ่มขี้น เท่ากับผลประโยชน์ที่เพิ่มขึ้นพอดี 17)ปัจจัยอื่นที่มีผลกระทบต่อนโยบายการให้สินเชื่อ มี 2ประการ คือ โอกาสในการทำกำไรและ
การพิจารณาในด้านกฎหมาย (การกำหนดนโยบายสินเชื่อต้องคำนึงถึงกฎหมายแต่ละประเทศ)
บทที่ 20 หุ้นบุริมสิทธิ์ คือ หลักทรัพย์ลูกผสม มีลักษณะคล้ายพันธบัตรและคล้ายหุ้นสามัญ เป็นรายการหนึ่งของส่วนของผู้ถือหุ้น ข้อดีคือ (1) แม้ว่าจะไม่จ่ายเงินปันผล
ผู้ถือหุ้นก็จะไม่สามารถฟ้องบริษัทให้ล้มละลายได้ (2) ไม่ทำให้สิทธิส่วนได้เสียของผู้ถือหุ้นสามัญลดลง (3) หุ้นบุริมสิทธิ์ส่วนใหญ่ไม่มีวันครบกำหนดไถ่ถอน
จึงไม่คำนึงถึงกระแสเงินสดจ่ายจำนวนมากเช่นเดียวกับการไถ่ถอนบันธบัตร ข้อเสีย (1) เงินปันผลจ่ายแก่ผู้ถือหุ้นไม่สามารถนำมาเป็นค่าใช้จ่าย เพื่อทำให้เสียภาษีน้อยลง
ได้ การระดมทุนจากหุ้นบุริมสิทธิ์เปรียบเสมือนการระดมทุนจากหนี้สิน ทำให้ความเสี่ยงทางการเงินสูงขึ้น
การเช่า Leasing คือ การตกลงที่ผู้ให้เช่าสินทรัพย์ยินยอมให้ผู้เช่าสินทรัพย์มีสิทธิ์ใช้ประโยชน์จากสินทรัพย์ตามที่ได้ตกลงทำตามสัญญาไว้ ภายในระยะเวลาที่กำหนดโดย
ได้รับค่าเช่าตอบแทนกรณีที่ผู้เช่าจ่ายค่าบำรุงรักษา ค่าภาษี ค่าเบี้ยประกันเหล่านี้เรียกว่า net lease การเช่า มี 3 ประเภทคือ 1) ขายและเช่ากลับคืนมา (Sale and lease back)
(2) การเช่าเพื่อใช้ในการดำเนินงาน(operating หรือ service leases ) (3) การเช่าเพื่อให้ได้กรรมสิทธิ์ในสินทรัพย์ (Financial หรือ Capital Lease)
ปัจจัยในการให้เช่า มี 2 ประการ คือ (1) การประมาณมูลค่าซากสินทรัพย์เมื่อครบกำหนดเช่า (2) การมีเครดิตเพิ่มขึ้น การเช่ามีข้อดีของกิจการที่มีความต้องการจัดหาเงิน
ทุนโดยการกู้ยืมสูง 2 ประการ คือ (1) การเช่ากิจการกาารจัดหาเงินทุนในระยะยาวได้มากกว่าการกู้ยืมเงินโดยสินทรัพย์เป็นหลักประกัน (2) การเช่าไม่ปรากฎในงบดุล
ทำให้การวิเคราะห์เครดิต ของกิจการดีสามารถจัดหาเงินโดยการกู้ยืมได้มากกว่ากิจการที่ไม่ได้เช่า
ใบสำคัญเสดงสิทธิ (Warrant) คือ ใบสำคัญที่บริษัทออกให้ผู้ถือเพื่อแสดงสิทธิ์ในการซื้อหุ้นสามัญของบริษัทได้ภายในเวลาและราคาที่กำหนด หลักทรัพย์แปลงสภาพ
คือ พันธบัตรหรือหุ้นบุริมสิทธิ์ ซึ่งกำหนดเงื่อนไขให้มีสิทธิแปลงสภาพเป็นหุ้นสามัญได้ มีข้อแตกต่างจากใบสำคัญแสดงสิทธิ์ในการซื้อหุ้นสามัญ เมื่อผู้ถือใบแสดงสิทธิ์
นำมาใช้ซื้อหุ้นสามัญจะทำให้เงินทุนของกิจการสูงขึ้นแต่หลักทรัพย์แปลงสภาพเป็นการแปลงสภาพหนี้สินเป็นหุ้นสามัญในงบดุลเท่านั้น
อัตราการแปลงสภาพ (CR) คือ จำนวนหุ้นสามัญที่ผู้ถือหลักทรัพย์แปลงสภาพได้รับเมื่อนำหลักทรัพย์มาแปลงสภาพ
ราคาแปลงสภาพคือ (PC) คือราคาแท้จริงที่ผู้ลงทุนชำระสำหรับหุ้นสามัญที่ได้รับการแปลงสภาพ



ในทำนองเดียวกัน เมื่อทราบราคาแปลงสภาพจะคำนวณอัตราการแปลงสภาพได้ คือ



การเปรียบเทียบใบสำคัญแสดงสิทธิในการซื้อหุ้นสามัญและหลักทรัพย์แปลงสภาพ (1) การนำใบสำคัญแสดงสิทธิในการซื้อหุ้นสามัญมาใช้ทำให้มีเงินทุนใหม่
เพิ่มขึ้นแต่การแปลงสภาพเป็นเพียงการเปลี่ยนหนี้สินให้เป็นทุนเท่านั้น (2) มีความยืดหยุ่นต่างกัน พันธบัตรแปลงสภาพกำหนดให้มีการไถ่ถอนคืนได้ ซึ่งขึ้นอยู่กับ
ความสัมพันธ์ระหว่างมูลค่าแปลงสภาพและราคาเรียกไถ่ถอน แต่ใบสำคัญแสดงสิทธิในการซื้อหุ้นสามัญเรียกไถ่ถอนคืนไม่ได้ กิจการต้องคอยจนกระทั่งหมดอายุ
(3) ค่าใช้จ่ายในการออกพันธบัตรพร้อมใบสำคัญแสดงสิทธิในการซื้อหุ้นสามัญ จำหน่ายจะสูงกว่าค่าใช้จ่ายในการออกพันธบัตรแปลงสภาพจำหน่าย

0 ความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

Popular Posts