นโยบายเกี่ยวกับโครงสร้างเงินทุนนั้น เป็นการเลือก (Trade-off) ระหว่าง ความเสี่ยงและผลตอบแทน คือ
1. การก่อหนี้เพิ่มขึ้น ความเสี่ยงของผู้ถือหุ้นสูงขึ้น 2. อัตราส่วนหนี้สินสูง ผลตอบแทนที่คาดว่าจะได้รับสูงตาม 3. High Risk / High Return
โครงสร้างชองเงินทุนมีเป้าหมาย คือ 1. ต้องการทำให้หุ้นสามัญราคาสูงสุด 2. ต้นทุนของเงินทุน(ต้นทุนต่ำ กำไรจะสูง) และควบคุม WACC
Operating Leverage คือ การมองที่ต้นทุนคงที่ เช่น การมี Operating Leverage สูง หมายถึง การที่ยอดขายเปลี่ยนแปลงไปเพียงเล็กน้อยจะทำให้ผลกำไรจากการดำเนินงานเปลี่ยนแปลงอย่างมาก
(Operating Leverage สูง ROE สูง เสี่ยงสูง)
ความเสี่ยง (Risk) คือ สิ่งที่เกิดขึ้นโดยที่เราไม่ได้คาดหมาย
ยอดขาย = ต้นทุนรวม EBIT = P.Q – V.Q - F
P = ราคาขายต่อหน่วย O = Q ( P – V ) - F
Q = หน่วยขาย ณ จุดคุ้มทุน F = Q(P-V)
F = ต้นทุนรวมคงที่ F = Q
V = ต้นทุนผันแปรต่อหน่วย P - V
ตัวอย่าง F = 10,000 บาท
P = 100 บาท (ราคาขาย – Price)
V = 50 บาท
QBE = F (Quantity at breakeven)
P – V
= 10,000 / (100 – 50) = 10,000 / 50 = 200 หน่วย
SBE = 200 x 100 (Sales at breakeven)
= 20,000 บาท
Profit = F + Profit (ต้องการกำไร 5,000 บาท)
(ขาย / หน่วย) P – V
= 10,000 + 5,000 / (100 – 50) = 15,000 / 50 = 300 หน่วย
Financial Leverage …การที่บริษัทมีการจัดหาเงินทุนจากหลักทรัพย์ที่ให้ (หรือจ่าย) รายได้ประจำ เช่น หุ้นกู้ พันธบัตร หนี้ระยะยาว และหุ้นบุริมสิทธิ
มูลค่าของบริษัท = กำไรสุทธิ / ต้นทุนเฉลี่ยของเงินทุน = Net Income / WACC (** โครงสร้างเงินทุนที่เหมาะสม คือ โครงสร้างของเงินทุนที่ทำให้ราคาตลาดของหุ้นสามัญสูงสุด**)
Trade-off Theory ซึ่งบริษัทจะต้องเลือก(Trade-off)ระหว่าง ประโยชน์ของหนี้สิน(ประโยชน์จากภาษี)กับอัตราดอกเบี้ยที่สูงขึ้น และต้นทุนของการล้มละลาย จากความจริงที่ว่า ดอกเบี้ยสามารถนำมาเป็นค่าใช้จ่ายในการหักภาษี ทำให้ต้นทุนของแหล่งเงินทุนจากหนี้สินต่ำกว่าแหล่งเงินทุนจากส่วนของเจ้าของ หรือมองอีกแง่ก็คือ หนี้สินทำให้ได้รับผลประโยชน์ในแง่ที่เป็นเกราะป้องกันภาษี (Tax Shelter benefits) แต่หากใช้เงินทุนจากหนี้สินมากๆ จะทำให้ EBIT ลดลง และต้นทุนจากการล้มละลายจะสูงขึ้น (ดูกราฟ 13-10 หน้า 517 ใน Text)
Signaling Theory จะเป็นทฤษฎีที่บอกถึงสัญญาณให้ผู้ลงทุนรู้กล่าวคือ บริษัทจะออกหุ้นสามัญเพิ่มก็ต่อเมื่ออนาคตของบริษัทไม่ค่อยจะสู้ดี จึงมีความปรารถนาที่จะกระจายการขาดทุนออกไป แต่ในทางกลับกัน ถ้าอนาคตของกิจการดี ก็จะไม่ออกหุ้น แต่จะใช้การกู้ยืมแทน ทั้งนี้เพื่อรักษาผลประโยชน์ของผู้ถือหุ้นสามัญนั่นเอง ในทางบริหาร ควรจะหาเงินทุนจากการกู้ยืมให้ต่ำกว่า Target เรียกว่า Reserve borrowing capacity
1. Symmetric Information …นักลงทุนรู้ข้อมูลทุกอย่างเหมือนกับผู้บริหาร (ในความเป็นจริงแล้วเป็นไปไม่ได้) 2. Asymmetric Information …ผู้บริหารมีข้อมูลดีกว่านักลงทุน
ปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจในเรื่องโครงสร้างเงินทุน
1. ความสม่ำเสมอของยอดขาย(Sales Stability) 2. โครงสร้างสินทรัพย์ 3. Operating Leverage 4. อัตราการเจริญเติบโต(Growth rate)
5. ความสามารถในการทำกำไร(Profitability) 6. ภาษี(Taxes) 7. การควบคุม(Control) 8.ทัศนคติผู้บริหาร
9. ทัศนคติเจ้าหนี้ และตัวแทนจัดอันดับ 10. สภาวะตลาด 11. สภาวะภายในบริษัท 12. ความยืดหยุ่นในการจัดหาเงินทุน
Degree of Operating Leverage; DOL
DOL = เปอร์เซ็นต์การเปลี่ยนแปลง EBIT = EBIT / EBIT
เปอร์เซ็นต์การเปลี่ยนแปลงของยอดขาย Q / Q
เมื่อ EBIT = Q (P – V) - F
Degree of Financial Leverage; DFL
DOL = เปอร์เซ็นต์การเปลี่ยนแปลง EPS = EBIT
เปอร์เซ็นต์การเปลี่ยนแปลงของ EBIT EBIT - I
เมื่อ EBIT = Q (P – V) – F
EPS = [(EBIT - I) (1-T)] / N
เมื่อ N = จำนวนหุ้นสามัญ
Combining Operating and Financial Leverage; DTL = DOL x DFL
เพิ่มเติม ... ต้นทุนของเงินทุนเฉลี่ย (WACC) จะสูงขึ้นเมื่อกำไรสะสมหมดไป และบริษัทจำเป็นต้องจำหน่ายหุ้นสามัญใหม่ การที่ต้นทุนของเงินทุนเฉลี่ยสูงขึ้น เนื่องจากการจำหน่ายหุ้นสามัญใหม่นี้ ต้องเสียค่าใช้จ่ายในการจัดจำหน่าย (Flotation costs) ทำให้ต้นทุนของหุ้นสามัญ (ke) สูงกว่าต้นทุนของกำไรสะสม (ks)
แบบฝึกหัดบทที่ 13 : โครงสร้างของเงินทุน และการใช้ Leverage
โจทย์ 13-3 Harley Motor has $10 million in assets, which is financed with $2 million of debt and $8 million in equity. If Harley’s beta is currently 1.2 and its tax rate is 40 percent, what is its unlevered beta, bU ?
ตอบ FROM HAMADA EQUATION,
bL = bU [ 1 + ( 1 – T ) ( D / E ) ] (we can calculate bU as.)
bu = bL [ 1 + ( 1 – T ) ( D / E ) ] = 1.2 / [ 1 + ( 1 – 0.4 ) ( $2,000,000 / $8,000,000 ) ]
= 1.2 / [ 1 + ( 0.6 ) ( 0.25 ) ] = 1.2 / [ 1 + (0.15 ) ]
= 1.2 / 1.15
bu = 1.0435
การวิเคราะห์สภาพแวดล้อมภายใน (Internal Environmental Analysis)
-
สภาพแวดล้อมภายนอกมีอิทธิพลต่อองค์การอย่างมากก็จริง
แต่ผู้บริหารต้องมีความเข้าใจและสามารถจัดการปัจจัยภายในองค์การด้วยการดาเนินงานจึงจะบรรลุเป้าหมาย
การวิเคร...
5 ปีที่ผ่านมา
1 ความคิดเห็น:
ขอบคุณครับ
แสดงความคิดเห็น