ตลาดการเงิน...เป็นสถานที่ซึ่งสถาบันการเงินต่างๆ ดำเนินธุรกิจในการระดมเงินทุน การซื้อขายหลักทรัพย์ ซึ่งจะเป็นตัวกำหนดว่า ราคาหลักทรัพย์ของบริษัท ควรเป็นเท่าใด
ประเภทตลาด
1. Physical asset or Tangible or Real markets: เป็นตลาดสินทรัพย์ที่มีตัวตนจริงๆ เช่น รถยนต์ ส่วน financial asset market จะเป็นตลาดของสินทรัพย์ ทางการเงิน เช่น หุ้นสามัญ
2. Spot market and Future markets
a. Spot: เมื่อมีการซื้อขายแล้วจะส่งมอบทันที
b. Future: ตกลงซื้อขายในปัจจุบัน แต่ส่งมอบในอนาคต เช่น 6 เดือน
3. Money and Capital markets
a. Money: เป็นการซื้อขายหลักทรัพย์ที่มีอายุ ไม่เกิน 1 ปี
b. Capital: เป็นการซื้อขายหลักทรัพย์ที่มีอายุมากกว่า 1 ปี
4. Mortgage and Consumer credit markets
a. Mortgage: เป็นตลาดที่เกี่ยวกับการจำนองสินทรัพย์ที่มีมูลค่าสูงๆ
b. Consumer credit: เป็นตลาดเช่าซื้อสินค้าอุปโภคบริโภคต่างๆ
5. World, National, Regional, and Local markets…เป็นตลาดซึ่งแบ่งขอบเขตการดำเนินงานของบริษัทต่างๆ
6. Primary and Secondary markets
a. Primary: ตลาดแรก...ที่ทำการซื้อขายหลักทรัพย์ที่ออกจำหน่ายครั้งแรก
b. Secondary: ตลาดรอง...เป็นตลาดที่ทำการซื้อขายหลักทรัพย์ที่ได้มีการจำหน่ายในตลาดแรกมาแล้ว เช่น ตลาดหลักทรัพย์
7. Private and Public markets
a. Private: เป็นตลาดที่มีการตกลงซื้อขายระหว่างบุคคล 2 ฝ่าย
b. Public: หลักทรัพย์ที่จำหน่ายแก่ประชาชนทั่วไป มีข้อกำหนดเป็นมาตรฐาน
ตลาดหลักทรัพย์...แบ่งเป็น 2 ประเภท
1. มีระบบ (Organized Security Exchanges) จะมีการซื้อขายหลักทรัพย์ที่ได้มีการจดทะเบียน (Registered securities) หรือหลักทรัพย์ที่ได้รับอนุญาต (Authorized securities)
2. ไม่มีระบบ (Over-the-counter market: OTC) ไม่มีสถานที่ตั้งแน่นอน อาจเป็นการรวมกลุ่มของสมาชิกหรือตัวแทน (Brokers or Dealers)
ต้นทุนของเงิน...เช่น การกู้ยืมต้องชำระดอกเบี้ย การระดมทุนจากหุ้นสามัญก็ต้องจ่ายเงินปันผล ต้นทุนของเงินจะสูงหรือต่ำขึ้นอยู่กับปัจจัย
1. Production opportunities: โอกาสในการผลิต
2. Time preference for consumption
3. Risk: เสี่ยงสูง ต้นทุนเงินสูงตาม
4. Inflation: อัตราเงินเฟ้อสูง ต้นทุนเงินก็สูงด้วย
องค์ประกอบของอัตราดอกเบี้ย...โดยปกติอัตราดอกเบี้ยที่กำหนด (Quoted or Nominal Rate) จากพันธบัตรหรือหุ้นกู้ สามารถกำหนดโดยองค์ประกอบต่างๆ จากสมการดังต่อไปนี้
K= k* + IP + DRP + LP + MRP
K = อัตราดอกเบี้ยที่กำหนด (Quoted or Nominal) ของหลักทรัพย์ประเภทต่างๆ
k* = อัตราผลตอบแทนที่แท้จริงที่ไม่มีความเสี่ยง (Real risk-free rate) โดยไม่รวมอัตราเงินเฟ้อ
IP = Inflation premium อัตราผลตอบแทนที่ต้องได้รับเพิ่มขึ้น เนื่องจากอัตราเงินเฟ้อที่คาดว่าจะเกิดขึ้นในอนาคต
DRP = Default risk premium อัตราผลตอบแทนที่ได้รับเพิ่มขึ้น เนื่องจากมีความเสี่ยงที่เจ้าหนี้ อาจจะไม่ได้รับชำระดอกเบี้ยและเงินต้นคืน
LP = Liquidity premium อัตราผลตอบแทนที่ต้องได้รับเพิ่มขึ้น เนื่องจากมีความยากง่ายในการซื้อขายหลักทรัพย์ไม่เท่ากัน
MRP = Maturity risk premium อัตราผลตอบแทนที่ต้องได้รับเพิ่มขึ้น เนื่องจากความแตกต่างของออายุของหลักทรัพย์ (หลักทรัพย์ที่มีอายุนาน ความเสี่ยงสูงกว่า)
kRF = อัตราผลตอบแทนที่ไม่มีความเสี่ยง = k* + IP
Yield curve...ความสัมพันธ์ระหว่างอัตราผลตอบแทนและอายุของหลักทรัพย์ จะมี 2 ลักษณะ คือ ถ้าอัตราดอกเบี้ยของหลักทรัพย์ระยะสั้นสูงกว่าระยะยาวแล้ว ลักษณะความชันของกราฟจะเป็น Downward sloping (Inverted yield curve) แต่ถ้าอัตราดอกเบี้ยของหลักทรัพย์ระยะสั้นต่ำกว่าระยะยาวแล้ว ลักษณะความชันของกราฟจะเป็น Upward sloping (Normal yield curve) ซึ่งโดยปกติแล้ว ดอกเบี้ยระยะยาวมักสูงกว่าดอกเบี้ยระยะสั้น
ปัจจัยที่กำหนด Yield curve
1. การคาดการณ์อัตราเงินเฟ้อในอนาคต และ
2. ความเข้าใจเกี่ยวกับความสัมพันธ์ระหว่างความเสี่ยงและอายุของหลักทรัพย์นั้นๆ
Expectations theory หรือบางครั้งเรียกว่า Pure expectations theory…กล่าวว่า Yield curve จะขึ้นอยู่กับการคาดการณ์เกี่ยวกับอัตราดอกเบี้ยในอนาคต ตามทฤษฎี ว่าไว้ว่า อัตราดอกเบี้ยระยะยาวจะเป็นค่าเฉลี่ยของอัตราดอกเบี้ยในระยะสั้น และจะสมมติว่า นักลงทุนกำหนดราคาพันธบัตรและอัตราดอกเบี้ย โดยการคาดการณ์อัตราดอกเบี้ยในอนาคตเท่านั้น ซึ่งหมายความว่า ไม่ได้ให้ความสำคัญแก่อายุของหลักทรัพย์ โดยมองว่าพันธบัตรระยะยาว มีความเสี่ยงเหมือนกับพันธบัตรระยะสั้น ซึ่งการเปลี่ยนแปลงอัตราดอกเบี้ยนั้น จะขึ้นอยู่กับการคาดการณ์อัตราเงินเฟ้อเป็นสำคัญ ตามทฤษฎีนี้ นอกจากนี้ยังสมมติว่า MRP เท่ากับศูนย์ และสำหรับหลักทรัพย์รัฐบาล DRP และ LP ก็เท่ากับศูนย์ด้วยนะ
Liquidity Preference theory…มีหลักฐานยืนยันความสัมพันธ์ในเชิงบวกระหว่างอายุและผลตอบแทนของหลักทรัพย์ เพราะมีหลักฐานว่า MRP นั้นมีจริง และนักลงทุนต้องการอัตราผลตอบแทนที่สูงขึ้นสำหรับหลักทรัพย์ที่มีอายุนานกว่า (สมมติว่าปัจจัยอื่นๆ คงที่)
เพิ่มเติม...
1) ผู้ลงทุนชอบที่จะถือหลักทรัพย์ระยะสั้นเอาไว้ เพราะสามารถเปลี่ยนเป็นเงินสดได้ง่ายกว่า ขาดทุนน้อยกว่า
2) ผู้กู้ยืมก็ชอบที่จะใช้วิธีการกู้ยืมระยะยาวมากกว่า เนื่องจาก short-term loan มีความเสี่ยงในเรื่อง Reinvestment rate risk มาก ความผันผวนในอัตราดอกเบี้ยสูง
การวิเคราะห์สภาพแวดล้อมภายใน (Internal Environmental Analysis)
-
สภาพแวดล้อมภายนอกมีอิทธิพลต่อองค์การอย่างมากก็จริง
แต่ผู้บริหารต้องมีความเข้าใจและสามารถจัดการปัจจัยภายในองค์การด้วยการดาเนินงานจึงจะบรรลุเป้าหมาย
การวิเคร...
5 ปีที่ผ่านมา
0 ความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น