รายงานประจำปี คือ รายงานที่จัดทำโดยบริษัทให้แก่ผู้หุ้น ประกอบด้วย
1. รายงานงบการเงิน ...จะแสดงว่าในรอบปีที่ผ่านมาเกิดอะไรขึ้นบ้าง โดยปกติงบการเงิน (Financial statements) จะแบ่งออกเป็น 4 ประเภท
1) งบดุล (Balance sheet) ...จะเป็นงบที่รายงานสถานะทางการเงิน ณ จุดใดจุดหนึ่งของเวลา
2) งบกำไรขาดทุน (Income statement) …เป็นงบที่แสดงถึงรายรับและรายจ่ายของบริษัท ตลอดช่วงเวลาบัญชี เช่นในรอบบัญชี 1 ไตรมาส หรือ 1 ปี
3) งบกำไรสะสม (Statement of Retained Earnings) …แสดงให้เห็นกำไรของบริษัทว่ามีจำนวนเท่าใด ที่ไม่ได้จ่ายออกไปเป็นเงินปันผลและเหลือเก็บไว้เพื่อใช้ในการลงทุนต่อ
4) งบกระแสเงินสด (Statement of Cash Flows) ...จะเป็นการแสเงินสดจริงๆ ที่บริษัทได้รับจากการดำเนินงานในปีใดปีหนึ่ง (รายละเอียด ดูใน GB-605)
2. รายงานความคิดเห็นของผู้บริหาร ...เพื่อชี้แจงถึงผลการดำเนินงานที่ผ่านมา และแนวโน้มในอนาคตของบริษัทว่าจะไปในทางใด
MVA: Market Value Added…การวัดผลการดำเนินงานของผู้บริหาร ตั้งแต่เริ่มก่อตั้งบริษัท โดยการที่ผู้บริหารพยายามทำให้ผลแตกต่างของมูลค่าตามราคาตลาดในส่วนของเจ้าของกับเงินทุนที่จัดหามาจากนักลงทุนในส่วนของเจ้าของนั้นสูงสุด หาได้จากสมการ
MVA = Market value of equity – Equity capital supplied by investors
= (Shares outstanding)(Stock price) – Total common equity
EVA: Economic Value Added…จะเน้นถึงประสิทธิภาพของผู้บริหารในปีใดปีหนึ่ง จากสมการ จะเป็นการประเมินกำไรทางเศรษฐศาสตร์ที่แท้จริงของธุรกิจในระหว่างปี
EVA = After-tax operating profit – After-tax cost of capital
= EBIT (1 – Corporate tax rate) – (Total Capital)(After-tax cost of capital)
Chapter 3…การวิเคราะห์งบการเงิน
การวิเคราะห์งบการเงินจะรวมถึง
1. การเปรียบเทียบการดำเนินงานของบริษัทกับบริษัทอื่นๆ ที่อยู่ในอุตสาหกรรมเดียวกัน
2. การประเมินแนวโน้มของสถานะทางการเงินของบริษัท โดยเปรียบเทียบกับอดีตที่ผ่านมา
ในมุมมองของผู้ลงทุน ...จะใช้งบการเงินเพื่อพยากรณ์อนาคต
ในมุมมองของผู้บริหาร ...จะใช้งบการเงินเพื่อเป็นประโยชน์ในการคาดการณ์สภาวะในอนาคตของบริษัท และที่สำคัญกว่านั้น งบการเงินเป็นจุดเริ่มต้นของการวางแผนการดำเนินงาน ซึ่งจะส่งผลต่ออนาคตของบริษัทด้วย
การวิเคราะห์อัตราส่วน...
1. อัตราส่วนวัดสภาพคล่อง (Liquidity Ratios)
a. Current Ratio …บอกให้ทราบว่า บริษัทมีความสามารถในการชำระหนี้ระยะสั้นมากน้อยเพียงใด กี่เท่า
Current Assets
Current Liabilities
b. Acid Test (Quick) Ratio …บอกให้ทราบว่า ธุรกิจมีสินทรัพย์ที่สามารถเปลี่ยนสภาพเป็นเงินสดได้ง่าย เพื่อใช้ชำระหนี้สินระยะสั้นที่จะครบกำหนดได้เป็นกี่เท่า
Current Assets – Inventories
Current Liabilities
2. อัตราส่วนวัดความสามารถในการบริหารสินทรัพย์ (Asset Management Ratios)
a. Inventory Turnover …แสดงให้เห็นว่า ธุรกิจมีการเก็บสินค้าคงคลังไว้มากเกินความจำเป็นหรือไม่
Sales
Inventories
b. Days Sales Outstanding (DSO) …แสดงให้เห็นการหมุนเวียนของลูกหนี้ 1 ครั้ง เริ่มตั้งแต่ขายสินค้าเป็นเงินเชื่อ จนกระทั่งเรียกเก็บหนี้ได้นั้น ใช้ระยะเวลานานเท่าใด จำนวนวันยิ่งน้อย แสดงว่าลูกหนี้ยิ่งมีสภาพคล่องสูง
Account Receivables
Average Sales per day
c. Fixed Assets Turnover …เป็นอัตราส่วนที่ใช้วัดประสิทธิภาพในการบริหารสินทรัพย์ถาวร ยิ่งสูงยิ่งดี
Sales
Net Fixed Assets
d. Total Assets Turnover …เป็นอัตราส่วนที่จะบอกให้ทราบถึง ประสิทธิภาพของการใช้สินทรัพย์ของธุรกิจว่าเป็นอย่างไร อัตราส่วนสูงแสดงว่าประสิทธิภาพสูง
Sales
Total Assets
3. อัตราส่วนวัดความสามารถในการบริหารหนี้สิน (Debt Management Ratios)
a. Debt Ratio…แสดงความสัมพันธ์ระหว่างหนี้สินกับสินทรัพย์ ถ้าอัตราส่วนนี้สูงแสดงว่าได้ใช้เงินทุนจากหนี้สินมากกว่าส่วนของผู้ถือหุ้น ความเสี่ยงทางการเงินก็จะสูง (Financial risk) โอกาสก่อหนี้เพิ่มจะลดลง
Total Debt
Total Assets
b. Times Interest Earned (TIE)…บอกได้ว่า ธุรกิจสามารถทำกำไรจากการดำเนินงานเป็นกี่เท่าของดอกเบี้ยจ่าย ซึ่งเป็นรายจ่ายที่เกิดจากการใช้เงินทุนจากหนี้สินนั่นเอง ถ้าอัตราส่วนนี้ยิ่งสูง ก็แสดงว่ามีความสามารถในการชำระดอกเบี้ยได้สูง
EBIT
I
c. Fixed Change Coverage…สามารถบอกให้ทราบว่า ธุรกิจสามารถดำเนินงานให้เกิดกำไร คุ้มกับภาระรายจ่ายประจำได้มากน้อยเพียงใด ยิ่งสูงยิ่งดี
EBIT + Lease
1 + Lease + Sinking Fund
(1 – T)
4. อัตราส่วนวัดความสามารถในการทำกำไร (Profitability Ratios)
a. Profit Margin on Sales…อัตรากำไรสุทธิต่อยอดขาย
Net Income Available to Common Stockholders
Sales
b. Basic Earning Power (BEP)…แสดงให้เห็นประสิทธิภาพของสินทรัพย์ ที่ก่อให้เกิดกำไร โดยไม่คำนึงถึงผลกระทบของภาษีและดอกเบี้ย
EBIT
Total Assets
c. Return on Assets (ROA)…ค่าที่ได้ อาจจะเนื่องมาจาก 1) ความสามารถในการทำกำไรจากสินทรัพย์ (BEP) และ 2) ภาระหนี้สินของบริษัท ทำให้ต้องเสียดอกเบี้ย ส่งผลโดยตรงต่อกำไรสุทธิ
Net Income Available to Common Stockholders
Total Assets
d. Return on Common Equity (ROE)…เป็นอัตราผลตอบแทนแก่ผู้ถือหุ้นสามัญ
Net Income Available to Common Stockholders
Common Equity
5. อัตราส่วนวัดมูลค่าตลาด (Market Value Ratios)
a. Price / Earning (P/E) Ratio…จะมีค่าสูง เมื่อบริษัทมีแนวโน้มว่าจะเจริญเติบโตในอนาคต และจะมีค่าต่ำเมื่อบริษัทมีความเสี่ยงสูง
Price Per Share
Earning Per Share
b. Market / Book (M/B) Ratio…การที่ M/B มากกว่า 1.0 หมายถึง นักลงทุนยินดีซื้อหุ้นสามัญในราคาที่สูงกว่ามูลค่าตามบัญชี (Book value)
Market Price Per Share
Book Value Per Share
Du Pont Analysis…แสดงความสัมพันธ์ระหว่างอัตราผลตอบแทนจากการลงทุน อัตราการหมุนของสินทรัพย์ อัตรากำไรต่อยอดขาย และการใช้หนี้สิน เพื่อใช้ในการตรวจสอบและแก้ปัญหาได้ถูกจุด มีสมการดังนี้
ROA = Profit Margin X Total Assets Turnover
= Net Income X Sales
Sales Total Assets
ROE = ROA x Equity Multiplier
= Net Income X Total Assets
Total Assets Common Equity
= Net Income
Common Equity
การวิเคราะห์สภาพแวดล้อมภายใน (Internal Environmental Analysis)
-
สภาพแวดล้อมภายนอกมีอิทธิพลต่อองค์การอย่างมากก็จริง
แต่ผู้บริหารต้องมีความเข้าใจและสามารถจัดการปัจจัยภายในองค์การด้วยการดาเนินงานจึงจะบรรลุเป้าหมาย
การวิเคร...
5 ปีที่ผ่านมา
0 ความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น