Custom Search

วันจันทร์ที่ 31 มีนาคม พ.ศ. 2557

อัตราส่วนทางการเงิน แบ่งออกเป็น 4 กลุ่ม

1. อัตราส่วนสภาพคล่อง (liquidity ratios) เป็นอัตราส่วนที่ใช้วัดความสามารถในการชำระหนี้ระยะสั้นขององค์กร โดยการเปลี่ยนสินทรัพย์หมุนเวียน เช่น หลักทรัพย์ในความต้องการของตลาด ลูกหนี้และสินค้า ให้เป็นเงินสดเพื่อชำระหนี้ระยะสั้น (ถ้าอัตราส่วนสภาพคล่องสูงแสดงว่าองค์กรมีความสามารถในการชำระหนี้ระยะสั้นได้ดี องค์กรจะมีความเสี่ยงต่ำ ผลตอบแทนก็จะน้อยไปด้วย แต่ถ้าอัตราส่วนสภาพคล่องต่ำแสดงว่าองค์กรจะมีปัญหาในการดำเนินงาน อาจจะขาดสภาพคล่องในการดำเนินงาน องค์กรจะมีความเสี่ยงสูง)
2. อัตราส่วนกิจกรรม (asset management ratios) เป็นอัตราส่วนที่ใช้วัดการดำเนินงานขององค์กร โดยพิจารณาประสิทธิภาพภายในการใช้สินทรัพย์ต่าง ๆ เช่น ลูกหนี้ สินค้าคงคลัง สินทรัพย์ถาวร สินทรัพย์ทั้งหมด เพื่อก่อให้เกิดยอดขาย
อัตราส่วนกิจกรรม ประกอบด้วย
2.1 Inventory Turnover อัตราการหมุนเวียนของสินค้าคงคลัง
เป็นการวิเคราะห์ว่าใน 1 รอบระยะเวลาบัญชี สินค้ามีการหมุนเวียนกี่ครั้ง ถ้ามีค่าสูง (กว่ามาตรฐาน) แสดงว่าสินค้ามีการหมุนเวียนมาก แสดงว่ายอดขายสูงขึ้น และการที่ยอดขายสูงขึ้นทำให้สินค้าคงคลังลดน้อยลง หาก inventory turnover สูง องค์กรควรจะวางแผนรองรับการเจริญเติบโต โดยการผลิตสินค้าให้เพียงพอต่อผู้บริโภค หากองค์กรไม่มีการวางแผนสินค้าจะไม่เพียงพอต่อการจำหน่าย จะทำให้เสียโอกาสในการเจริญเติบโตขององค์กร
ถ้า inventory turnover ต่ำ แสดงว่ายอดขายขององค์กรลดลง สินค้าคงเหลือจะมากขึ้น จะทำให้เกิดต้นทุนในการจัดเก็บสินค้า ต้นทุนสินค้าเสียหาย ต้นทุนสินค้าล้าสมัย ต้นทุนสินค้าสูญหาย ซึ่งต้นทุนที่เพิ่มสูงขึ้นทำให้กำไรขององค์กรลดลง จะต้องหาสาเหตุว่าอะไรที่ทำให้ยอดขายลดลง
2.2 Days Sales Outstanding ระยะเวลาการเก็บหนี้
แสดงให้เห็นประสิทธิภาพขององค์กรในการจัดเก็บหนี้ หรือรับชำระหนี้จากลูกหนี้ ซึ่งจะมีผลต่อเงินสดขององค์กร
หาก days sales outstanding มีค่าสูงขึ้นแสดงว่าระยะเวลาจัดเก็บหนี้จะนานมากขึ้น ทำให้องค์กรมีเงินสดน้อยลง ไม่สามารถเปลี่ยนลูกหนี้ให้เป็นเงินสดได้ จะทำให้เกิดหนี้สูญได้ง่าย
2.3 Fixed Assets Turnover ประสิทธิภาพการใช้สินทรัพย์ถาวร
การใช้สินทรัพย์ถาวรเพื่อก่อให้เกิดยอดขาย ถ้าอัตราส่วน fixed assets turnover ต่ำ แสดงว่าองค์กรยังไม่มีประสิทธิภาพในการใช้สินทรัพย์ถาวร อาจมีสินทรัพย์ถาวรเกินความต้องการ อาจมีที่ดิน อาคารหรืออุปกรณ์มากเกินไป หรือเครื่องจักรอาจล้าสมัย จึงทำให้สินทรัพย์ถาวรมากเกินไป ซึ่งทำให้เกิดยอดขายที่ต่ำลงและไม่สามารถสร้างยอดขายได้
ถ้า fixed assets turnover สูง แสดงว่าองค์กรมีประสิทธิภาพในการใช้สินทรัพย์ถาวรที่ดี มีการจัดสินทรัพย์ถาวรที่เหมาะสม มีสิน มีสินทรัพย์ถาวรในจำนวนที่เหมาะสมกับกิจการ สามารถทำให้ยอดขายเพิ่มขึ้นได้
2.4 Total Assets Turnover ประสิทธิภาพการใช้สินทรัพย์ทั้งหมดเพื่อให้เกิดยอดขาย
ถ้า total assets turnover มีค่าสูงแสดงว่ามีการจัดการสินทรัพย์ทั้งหมด ทั้งสินทรัพย์หมุนเวียนและสินทรัพย์ถาวรอย่างมีประสิทธิภาพ ทำให้ยอดขายเพิ่มขึ้นได้ และถ้า total assets turnover มีค่าต่ำแสดงว่ามีการจัดการสินทรัพย์ทั้งหมด ทั้งสินทรัพย์หมุนเวียนและสินทรัพย์ถาวรอย่างไม่มีประสิทธิภาพ จะต้องแก้ไขในเรื่องการลงทุนในสินทรัพย์หมุนเวียนและสินทัพย์ถาวรด้วย
Fixed Assets Turnover ใช้วิเคราะห์ร่วมกับ Total Assets Turnover ถ้า Fixed Assets Turnover ดีคือสูงขึ้นเลื่อย ๆ แต่ Total Assets Turnover ต่ำ แสดงว่าประสิทธิภาพในการใช้สินทรัพย์ถาวรได้ดี แต่ต้องไปแก้ไขที่สินทรัพย์หมุนเวียน
3. อัตราส่วนหนี้สิน (debt management ratios) เป็นอัตราส่วนที่ใช้ในการวัดความสามารถในการก่อหนี้ ถ้าองค์กรที่มีหนี้มาก จะเป็นองค์กรที่มีความผูกพันธ์ทางการเงินจึงมีความเสี่ยงสูง
อัตราส่วนหนี้สินแบ่งเป็น 2 ตัว คือ
3.1 หนี้สินต่อทรัพย์สิน (debt ratio)
ถ้าอัตราส่วนหนี้สินต่อทรัพย์สินสูงแสดงว่า องค์กรมีภาระผูกพันธ์ทางการเงินมากองค์กรจะระดมทุนจากการก่อหนี้ได้ยาก หรือเจ้าหนี้อาจไม่พิจารณาให้เงินกู้กับองค์กร ดังนั้นองค์กรจะต้องระดมทุนด้วยวิธีการอย่างอื่นแทนการกู้ เช่น การระดมทุนจากผู้ถือหุ้นหรือการให้เช่า
ถ้าอัตราส่วนหนี้สินต่ำ แสดงว่าองค์กรมีภาระผูกพันธ์ทางการเงินต่ำ จึงมีความเสี่ยงต่ำ แต่ต้องพิจารณาว่าโครงสร้างเงินทุนขององค์กรมีความเหมาะสมหรือไม่ ซึ่งถ้าใช้หนี้สินน้อยอาจจะไม่มีความเหมาะสมก็ได้ ถ้าหนี้สินน้อยอยู่ต้นทุนทางการเงิน (WACC) จะสูงขึ้น ดังนั้นต้องพิจารณาความเหมาะสมของต้นทุนทางการเงินด้วย
อัตราส่วนหนี้สินต่อทรัพย์สินควรมีค่าอยู่ในระดับต่ำ เพราะจะทำให้องค์กรระดมเงินทุนด้วยการกู้ได้
3.2 ความสามารถในการชำระดอกเบี้ย Time Interest Earned--TIE
เป็นอัตราส่วนที่ใช้พิจารณาว่า องค์กรมีกำไรเป็นกี่เท่าของดอกเบี้ยจ่าย TIE ควรมีค่าสูง จะแสดงให้เห็นถึงประสิทธิภาพขององค์กรในการหากำไขเพื่อชำระดอกเบี้ย
อัตราส่วนหนี้สินต่อสินทรัพย์ต้องใช้คู่กับ TIE หากอัตราส่วนหนี้สินสูงและ TIE สูงด้วย แสดงว่าองค์กรมีโอกาสในการระดมเงินทุนด้วนวิธีการกู้เงินเพิ่มขึ้น แต่ถ้าอัตราส่วนหนี้สินสูงแต่ TIE ต่ำ แสดงว่าองค์กรจะระดมทุนด้วยการก่อหนี้ด้ยากเจ้าหนี้จะไม่พิจารณาปล่อยเงินกู้ให้กับองค์กร
ถ้าอัตราหนี้สินต่ำและ TIE ต่ำ การระดมทุนด้วยการก่อหนี้ได้หรือไม่แล้วแต่เจ้าหนี้และต้องดูตัวอื่นประกอบด้วย เช่นนำเงินไปทำอะไร หรือดูวิธีการใช้เงิน
ถ้าหนี้ระยะยาวต้องเอาไปใช้กับสินทรัพย์ถาวร ส่วนหนื้ระยะสั้นต้องใช้กับสินทรัพย์หมุนเวียน
4. อัตราส่วนกำไร (profitability ratios) แสดงให้เห็นประสิทธิภาพของผู้บริหารในการควบคุมต้นทุนในด้านต่างๆ เพื่อก่อให้เกิดกำไร
4.1 อัตราส่วนกำไรขั้นต้น (gross profit) แสดงให้เห็นประสิทธิภาพของผู้บริหารในการควบคุมต้นทุนการผลิต
ถ้าอัตราส่วน gross profit เพิ่มมากขึ้น แสดงว่าผู้บริหารมีประสิทธิภาพในการควบคุมต้นทุนการผลิตให้ต่ำลงได้ ต้นทุนการผลิตคือ ต้นตุนที่เกิดจากของเสียระหว่างการผลิต เวลาการผลิต การซ่อมแซมเครื่องจักรและการบำรุงรักษา ซึ่งถ้าควบคุมต้นทุนการผลิตทั้ง 3 ตัวนี้ได้ จะทำให้กำไรขั้นต้นสูงขึ้น
4.2 Net Profit เป็นประสิทธิภาพของผู้บริหารในการควบคุมต้นทุนค่าใช้จ่ายในการขายและในการบริหาร เพื่อทำให้กำไรสุทธิเพิ่มมากขึ้น
ถ้า Net Profit Margin สูง แสดงว่าผู้บริหารสามารถควบคุมต้นทุนค่าใช้จ่ายในการขายและค่าใช้จ่ายในการบริหารให้ต่ำลงได้ ต้นทุนค่าใช้จ่ายในการขาย ต้นทุนส่วนใหญ่อยู่ที่สินค้าคงคลัง
ต้นทุนในการบริหารอยู่ที่ management เรื่องของการติดต่อสื่อสารที่ไม่มีประสิทธิภาพเรื่องของการใช้แรงจูงใจ เรื่องของการมีผู้บริหารระดับกลางมากเกินไป ดังนั้นจะต้องทำให้องค์กรแบนราบลง ซึ่งถ้าองกรแบนราบลงแล้วใช้ Empowerment แล้วจะทำให้สายบังคับบัญชาสั้นลง แต่ span of control (ขนาดของการควบคุม) ก็จะกว้างขึ้น จะทำให้ประหยัดต้นทุนในการบริหารได้
4.3 ROA หรือ ROE (Return on Assets ; Return on Equity) คือการใช้สินทรัพย์ทั้งหมดให้เกิดกำไรสุทธิ จะแสดงให้เห็นถึงประสิทธิภาพของผู้บริหารในการใช้สินทรัพย์เพื่อก่อให้เกิดกำไรสุทธิ
ถ้าอัตราส่วน ROA หรือ ROI สูงแสดงว่าผู้บริหารสามารถใช้สินทรัพย์ทั้งหมดให้เกิดกำไรสุทธิได้ดี จะทำให้ ROI กับROA สูงขึ้นได้ จะต้องให้มีกำไรมากๆซึ่งจะมีกำไรได้จะต้องมาก และใช้สินทรัพย์ให้น้อยลง
4.4 ROE--Return on Equity ประสิทธิภาพของผู้บริหารในการใช้ส่วนของผู้ถือหุ้นให้เกิดกำไรมากที่สุด หรือประสิทธิภาพของผู้บริหารในการตอบแทนผู้ถือหุ้นให้ได้มากที่สุด
การจะทำให้ ROE สูงขึ้นได้โดยการทำให้กำไรสุทธิสูงแต่ส่วนผู้ถือหุ้น (equity) ต่ำโดยการกู้มาลงทุน แต่จะกู้มากก็ไม่ได้เพราะจะกระทบกับ debt ratio และ TIE

0 ความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

Popular Posts