Custom Search

วันอาทิตย์ที่ 23 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2557

งบประมาณที่ดีและเป็นประโยชน์ต่อหน่วยงาน

1) เป็นศูนย์รวมของเงินงบประมาณทั้งหมด ปกติการใช้จ่ายเงินงบประมาณควรจะ
ใช้จ่ายและพิจารณาจากศูนย์ หรือแหล่งรวมเดียวกันทั้งหมด ทั้งนี้เพื่อจะได้มีการพิจารณาเปรียบเทียบ
การใช้จ่ายในแต่ละรายการ หรือทุกโครงการว่ารายการใดมีความสำ คัญจำ เป็นมากน้อยกว่ากัน หากราย
การใดมีความสำ คัญและจำ เป็นมาก ก็ควรได้รับการจัดสรรงบประมาณรายจ่ายมาก ทั้งนี้เพื่อความยุติ
ธรรมในการจัดสรรเงินงบประมาณทุกโครงการ ควรมีสิทธิเท่า ๆ กันในการเสนอเข้ารับการพิจารณาในการจัดสรรงบประมาณพร้อมกัน เพื่อจะได้มีการประสานงานและโครงการเข้าด้วยกัน ป้องกันมิให้
มีการทำ งานหรือโครงการซํ้าซ้อน อันจะเป็นการสิ้นเปลืองงบประมาณ ดังนั้นจึงไม่ควรแยกการ
พิจารณางบประมาณไว้ในหลาย ๆ จุด หรือหลายครั้ง ซึ่งจะก่อให้เกิดการพิจารณาที่ต่างกันและไม่
ยุติธรรม
แต่อย่างไรก็ตาม ในบางโอกาสก็ยังมีความจำ เป็นที่จะต้องแยกตั้งเงินไว้ต่างหากเป็น
งบพิเศษ นอกเหนือจากงบประมาณ เช่น งบกลาง งบราชการลับ ซึ่งถ้ามีจำ นวนไม่มากเกินไปก็มักจะ
ไม่เป็นภัยทั้งยังช่วยให้เกิดความสะดวกบางอย่างด้วย แต่ถ้าการตั้งงบพิเศษมีมากเกินไปจะเกิดผลเสีย
ต่อการบริหารงบประมาณ เพราะจะทำ ให้เกิดการ คือ โอกาสแยกเงินมาใช้จ่ายได้ง่ายขึ้นและยังทำ ให้
การบริหารงบประมาณเป็นไปแบบไม่มีแผนและเป้าหมายที่ชัดเจน
2) มีลักษณะของการพัฒนาเป็นหลัก งบประมาณที่ดีควรจะดำ เนินการจัดสรรโดยยึด
หลักการพัฒนาเพื่อให้เกิดความก้าวหน้าเป็นหลัก ทั้งนี้เนื่องจากมีงบประมาณจำ กัด จึงควรมีการ
พิจารณาจัดสรรงบประมาณตามหลักการพัฒนาที่ดีว่าด้านไหนควรมาก่อนหลัง ตามสถานการณ์และ
ความจำ เป็น3) การกำ หนดเงินต้องสอดคล้องกับปัจจัยในการทำ งาน การจัดงบประมาณในแผน
งานต้องมีความเหมาะสมให้งานนั้น ๆ สามารถจัดทำ กิจกรรมได้บรรลุตามเป้าหมายที่ตั้งไว้หรืออีกนัย
หนึ่ง คือ การกำ หนดเป้าหมายหรือผลที่จะได้รับต้องสอดคล้องกับงบประมาณและความเป็นไปได้
4) มีลักษณะที่สามารถตรวจสอบได้ หรือเป็นเครื่องมือที่จะใช้ตรวจสอบการบริหาร
งานของหน่วยงานได้ การจัดงบประมาณในแผนงานต่างควรมีรายละเอียดของกิจกรรมต่าง ๆ อย่างพอ
เพียงและเกิดผลเป็นรูปธรรม
5) มีระยะการดำ เนินงานที่เหมาะสม ตามปกติงบประมาณที่ดีควรมีระยะเวลาเหมาะ
สมตามสถานการณ์ ไม่สั้นไม่ยาวเกินไป โดยทั่วไปจะใช้ระยะเวลา ประมาณ 1 ปี การเริ่มต้นใช้งบ
ประมาณจะเริ่มในเดือนใด ขึ้นอยู่กับความเหมาะสมของแต่ละหน่วยงาน เช่น งบประมาณแผ่นดิน เริ่ม
เดือนตุลาคม ถึงเดือนกันยายน ของปีต่อไป งบประมาณเงินรายได้ของสถานศึกษาใช้ตามปีการศึกษา
เป็นต้น
6) มีลักษณะช่วยให้เกิดการประหยัด ในการทำ งบประมาณ ควรพยายามให้การใช้
จ่ายเงินตามโครงการต่าง ๆ ได้ผลเต็มเม็ดเต็มหน่วย โดยพยายามไม่ให้มีการใช้จ่ายเกินความจำ เป็น
ฟุม่ เฟือย หรือเป็นการใช้จ่ายที่สูญเปล่า ไม่เกิดประโยชน์คุ้มค่า7) มีลักษณะชัดเจน งบประมาณที่ดีควรมีความชัดเจน เข้าใจง่ายเน้นถึงความสำ คัญ
แต่ละโครงการได้ดี ไม่คลุมเครือ ง่ายต่อการพิจารณาวิเคราะห์ และเป็นประโยชน์ต่อผู้นำ ไปปฏิบัติด้วย8) มีความถูกต้องและเชื่อถือได้ งบประมาณที่ดีจะต้องเป็นงบประมาณที่มีความ
ถูกต้องทั้งในรายละเอียดทั้งในด้านตัวเลขและรายละเอียดของโครงการต่าง ๆ หากงบประมาณมีข้อ
บกพร่องในด้านความถูกต้อง ซึ่งอาจจะเกิดจากความผิดพลาดหรือความไม่รอบคอบก็ตามอาจเกิดผล
เสียหายขึ้นได้ และต่อไปงบประมาณอาจไม่รับความเชื่อถือ
9) จะต้องเปิดเผยได้ งบประมาณที่ดีจะต้องมีลักษณะที่สามารถจะเปิดเผยแก่
สาธารณะ หรือผู้เกี่ยวข้องทราบได้ ไม่ถือเป็นความลับ เพราะการเปิดเผยเป็นการแสดงถึงความบริสุทธิ์
และโปร่งใสในการบริหารหน่วยงาน
10) มีความยืดหยุน่ งบประมาณที่ดีควรจะยืดหยุ่นได้ตามความจำ เป็น หากจัดวางงบ
ประมาณไว้อย่างเคร่งครัดจนขยับไม่ได้ อาจจะก่อให้เกิดความไม่คล่องตัวในการทำ งาน เพราะลักษณะ
ของการทำ งบประมาณเป็นการวางแผนการทำ งานในอนาคต ซึ่งอาจมีปัจจุบันอื่นมากระทบทำ ให้การ
บริหารงบประมาณผิดพลาด และอย่างไรก็ตาม ถ้ามีความยืดหยุ่นมากก็อาจเกิดปัญหาการใช้งบ
ประมาณที่ไม่มีประสิทธิภาพ

0 ความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

Popular Posts