Custom Search

วันอังคารที่ 18 พฤศจิกายน พ.ศ. 2557

ดุลการชำระเงิน (Balance of Payment)

ดุลการชำระเงินอาจจะเกินดุล (Surplus) สมดุล (Balance) หรือขาดดุล (Deficit) ก็ได้ ขึ้นอยู่กับการเปลี่ยนแปลงขององค์ประกอบแต่ละประเภทที่เกี่ยวข้องในบัญชี ดุลการชำระเงิน โดย
-       เกินดุล เมื่อมีการไหลเข้าของเงินตราต่างประเทศมากกว่าการไหลออกของเงินตรา ต่างประเทศ
-       สมดุล เมื่อมีการไหลเข้าของเงินตรา ต่างประเทศเท่ากับการไหลออกของเงินตราต่างประเทศ
-       ขาดดุล เมื่อมีการไหลเข้าของเงินตราต่างประเทศน้อยกว่าการไหล ออกของเงินตราต่างประเทศดุลการชำระเงิน (Balance of Payment) = ดุลบัญชีเดินสะพัด (Current Account) + ดุลบัญชีการเคลื่อนย้ายของทุน ( Capital & Financial Account )

ดุลบัญชีเดินสะพัด = ดุลการค้า + ดุลบริการ + ดุลรายได้และเงินโอน
ดุลการค้า = นำเข้า ส่งออก สินค้า

      • ดุลบริการ นำเข้า ส่งออก บริการ (เช่นเรื่องของการท่องเที่ยว และค่าขนส่ง)
      • ดุลรายได้ และเงินโอน ให้นึกถึงการส่งกลับรายได้จากการไปทำงานในต่างแดน และการโอนเงินบริจาค
      • ดุลบัญชีการเคลื่อนย้ายของทุน เรื่องที่เกี่ยวกับการเดินทางของเงินทุน เช่น ลงทุนในตลาดหุ้น การเอาเงินมาลงทุนเปิดกิจการโรงงาน เป็นต้น
  • ดุลการชำระเงิน = มีมูลค่าเท่ากับการเปลี่ยนแปลงของสินทรัพย์เงินสำรองระหว่างประเทศ (ถ้าไม่เท่าจะต้องปรับด้วย ค่าความผิดพลาดคลาดเคลื่อนทางสถิติ)
    นั่นคือ ถ้าดุลการชำระเงินเป็นบวก เงินสำรองระหว่างประเทศจะเพิ่มขึ้นด้วยในจำนวนเท่ากัน (แต่ใส่เครื่องหมายลบ เพราะเงินออกจากบัญชีนี้ไปสู่เงินสำรองระหว่างประเทศ)
อัตราแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศ
อัตราแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศ หมายถึง ราคาของเงินตราประเทศ 1 หน่วย คิดเทียบกับเงินตราอีกสกุลหนึ่ง เช่น เงิน 1 ดอลลาร์สหรัฐฯ มีค่าเทียบกับเงินบาทเท่ากับ 39 บาท เป็นต้น
อัตราแลกเปลี่ยน อาจมีได้หลายอัตรา เช่น
1. อัตราทางการ ( Official Rate ) คือ อัตราแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศที่กำหนดโดยเจ้าหน้าที่ทางการเงินของ ประเทศ เช่น ประเทศไทยเคยกำหนดอัตราแลกเปลี่ยนทางการเอาไว้ในอัตราดอลลาร์ละ 20 บาท เป็นต้น
2. อัตราตลาด ( Market Rate ) คือ อัตราแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศที่กำหนดขึ้นจากอุปสงค์และอุปทานของเงิน ตราต่างประเทศที่อยู่ในภาวะดุลยภาพ
3. อัตราตลาดมืด ( Black Market Rate ) คือ อัตราแลกเปลี่ยนที่เกิดจากการกำหนดทางการไว้สูงกว่าอัตราตลาด
**ในกรณีที่เราสามารถแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศกันได้อย่างเสรี อัตราแลกเปลี่ยนจะขึ้นอยู่กับอุปสงค์และอุปทานของเงินตราต่างประเทศ ซึ่งสามารถอธิบายได้เป็น 2 กรณี คือ
1. ถ้าความต้องการใช้ดอลลาร์มีมากขึ้น แต่จำนวนดอลลาร์มีน้อย ค่าของเงินดอลลาร์เมื่อเทียบกับเงินบาทจะสูงขึ้น ส่วนค่าของเงินบาทจะลดลง
2. ถ้าความต้องการใช้ดอลลาร์มีน้อยลง แต่จำนวนดอลลาร์มีมาก ค่าของเงินดอลลาร์เมื่อเทียบกับเงินบาทจะต่ำลง ส่วนค่าของเงินบาทจะสูงขึ้น


อุปสงค์ของเงินตราต่างประเทศ คือ ความต้องการการเงินตราต่างประเทศเพื่อใช้ชำระค่าสินค้าที่เราสั่งเข้ามาก ซึ่งการที่อุปสงคาของเงินตราต่างประเทศจะมีมากหรือน้อยเพียงใด ย่อมขึ้นอยู่กับความต้องการใช้จ่ายเงินในด้านต่าง ๆ ดังต่อไปนี้
1. เพื่อนำไปชำระค่าสินค้าและบริการที่สั่งซื้อจากต่างประเทศ
2. เพื่อนำไปให้ต่างประเทศกู้ยืมหรือซื้อหลักทรัพย์จากต่างประเทศ
3. เพื่อนำมากักตุนเก็งกำไร
4. เพื่อส่งออกไปเก็บไว้ในที่ปลอดภัย

0 ความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

Popular Posts