Custom Search

วันอังคารที่ 18 พฤศจิกายน พ.ศ. 2557

สาเหตุของเงินเฟ้อ (The Causes of Inflation)

1.) ดีมานด์เกิน (Demand Pull Inflation) เป็นปัญหาด้านดีมานด์ของสินค้า
               2.) ต้นทุนเพิ่ม (Cost - Push Inflation) เป็นปัญหาด้านซัพพลายของสินค้า
               3.) สาเหตุอื่นๆ
               1.) ดีมานด์เกิน (Demand Pull Inflation) เงินเฟ้อเพราะดีมานด์เกิน ทฤษฎีเงินเฟ้อดั้งเดิมอธิบายสาเหตุของเงินเฟ้อว่า เกิดจากการที่ดีมานด์มวลรวมมีมากกว่าซัพพลายมวลรวม ณ ระดับราคาสินค้าที่เป็นอยู่ขณะนั้น ผลทำให้ราคาสินค้าสูงขึ้น ถ้าเราเพิ่มผลผลิตให้มากขึ้น แต่ไม่ให้ระดับการจ้างงานเพิ่มขึ้นตาม นั่นคือ ผลผลิตจะสามารถเพิ่มขึ้นโดยต้นทุนเฉลี่ยต่อหน่วยยังคงเดิม ดังนั้น การที่ดีมานด์มวลรวมเพิ่มขึ้นในขณะที่การผลิตขณะนั้นอยู่ไกลการมีงานทำเต็ม ที่ เงินเฟ้อจะไม่เกิดขึ้น แต่ถ้าดีมานด์มวลรวมเพิ่มในขณะที่การผลิตอยู่ ณ ระดับการมีงานทำเต็มที่ ทำให้ราคาเพิ่มโดยที่ผลผลิตไม่เพิ่มตาม เคนส์เรียกเงินเฟ้อที่เกิดขึ้นเมื่อเศรษฐกิจมีการจ้างงานเต็มที่แล้วว่า "เงินเฟ้อแท้จริง" (True Inflation)
               2.) ต้นทุนเพิ่ม (Cost - Push Inflation) มีสาเหตุมาจากด้านซัพพลาย เมื่อต้นทุนเพิ่ม จะทำให้ซัพพลายลดลง ซึ่งส่งผลให้ราคาสินค้าสูงขึ้น ถ้าดีมานด์มีค่าคงที่ ผลผลิตจะลดลง แบ่งแยกออกเป็น 2 ประเภท คือ
               - เงินเฟ้อเพราะค่าจ้างเพิ่ม (Wage - Pash Inflation) เกิดจากการขึ้นสูงของค่าจ้าง โดยดีมานด์ของแรงงานมิได้มีมากกว่าซัพพลายของแรงงานขณะนั้น ซึ่งเป็นไปได้ แต่ในทางเศรษฐกิจที่ทั้งตลาดแรงงานและตลาดผลผลิตมีการแข่งขันไม่สมบูรณ์เท่า นั้น เพราะโดยปกติแล้วตลาดที่มีการแข่งขันสมบูรณ์ การขึ้นค่าจ้างและราคาสินค้าจะเป็นไปโดยกลไกของตลาดอย่างเดียวเท่านั้น การแก้ปัญหาเงินเฟ้อในลักษณะนี้ค่อนข้างยาก มาตรการที่ได้ผล ควรจะเป็นมาตรการเกี่ยวกับการควบคุมค่าจ้างโดยตรง ในยามที่เกิดภาวะการณ์เช่นนี้รัฐบาลจำเป็นต้องตัดสินใจเลือกเอาระหว่างการ ที่จะให้ระดับราคาสินค้ามีเสถียรภาพ แต่ทำให้มีอัตราการว่างงานเพิ่มขึ้น หรือการว่างงานน้อยลงแต่ระดับราคาสินค้าสูงขึ้น
               - เงินเฟ้อเพราะกำไรเพิ่ม (Prafit - Push Inflation) เป็นปัญหาที่เกิดขึ้นทางด้านซัพพลายหรือต้นทุนการผลิต เนื่องจากที่กล่าวมาแล้วข้างต้นว่าตลาดที่มีการแข่งขันที่สมบูรณ์ (Perfect Market) การเพิ่มขึ้นหรือลดลงของราคาสินค้าหรือค่าจ้างจะเป็นไปโดยกลไกตลาด เพราะฉะนั้นปัญหาภาวะการณ์เช่นนี้เกิดเฉพาะตลาดที่มีการแข่งขันไม่สมบูรณ์ เท่านั้น คือ ผู้ผลิตมีอำนาจที่จะกำหนดราคาสินค้าได้เอง
              3.) เงินเฟ้อเพราะสาเหตุอื่น ๆ
                    - โครงสร้างดีมานด์เปลี่ยนแปลง (ฺBottleneck or Structural Inflation) เมื่อระบบเศรษฐกิจมีการพัฒนาขึ้น การบริโภคและโครงสร้างจะมีการปรับตัวอย่างรวดเร็ว แต่โครงสร้างการผลิตยังไม่สามารถปรับตัวได้ทัน จึงทำให้เกิดดีมานด์ส่วนเกิน (ฺExcess Demand) ราคาสินค้าสูงขึ้น และทำให้สินค้าโดยทั่วไปสูงขึ้นด้วย แต่เงินเฟ้อประเภทนี้ไม่สามารถใช้การแก้ไขได้แบบเดียวกับ Demand Pull Inflation เพราะนอกจากจะไม่ทำให้ปัญหาเงินเฟ้อลดลงแล้วจะยังคงก่อให้เกิดปัญหาการว่าง งานด้วย
                    - เงินเฟ้อที่เกิดจากการติดต่อระหว่างประเทศ (ฺInternational Transmission of Inflation)
                      1) ผ่านทางสินค้าออก คือ เมื่อตลาดต่างประเทศมีความต้องการที่จะซื้อผลิตภัณฑ์สินค้าจากประเทศไทย เพิ่มขึ้น ราคาสินค้าที่จะส่งออกของไทยจึงสูงขึ้น ทำให้ความต้องการที่จะขายสินค้าภายในประเทศลดต่ำลง นั่นคือ ดีมานด์ที่ต้องการส่งออกมีมากทำให้ซัพพลายที่เหลืออยู่ในประเทศลดลง เช่น ราคาน้ำตาลทราย
                      2) ผ่านทางสินค้าเข้า เช่น ไทยสั่งซื้อเป็นสินค้านำเข้า เมื่อน้ำมันของตลาดโลกสูงขึ้น ราคาผลิตภัณฑ์สินค้าหรือบริการต่าง ๆ ที่ใช้น้ำมันเหล่านี้เป็นส่วนประกอบก็จะพลอยสูงขึ้นตาม

0 ความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

Popular Posts