MBA

We constantly research and disseminate knowledge to prepare graduate students to be leaders at the community, national and international levels.

Facebook is a social utility that connects people with friends and others who work, study and live around them. People use Facebook to keep up with friends

Custom Search

วันจันทร์ที่ 29 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553

ความเสี่ยงทางการเงิน (Financial Risks)

ตลาดการเงินในปัจจุบันการลงทุนสำหรับนักลงทุนในบ้านเราคงไม่อาจที่จะปฏิเสธการเข้าไปจัดการบริหารความเสี่ยงในการลงทุนที่มีมากมายและถาโถมเข้ามาเช่นเดียวกับการขยายตัวของโลกกาภิวัฒน์ของระบบทุนนิยม นักลงทุนสามารถติดต่อกับนักลงทุนอื่น ๆ ทั่วโลกได้ง่ายขึ้น ด้วยเหตุนี้การกระทำของคน ๆ เดียว หรือ กลุ่ม ๆ เดียวจึงไม่อาจสามารถทำให้เป็นเรื่องเฉพาะของเขาเหล่านั้นได้อีกต่อไป อาทิ การไหลเข้าออกของเงินทุนของกลุ่มทุน การลงทุนซึ้อหุ้นหรือพันธบัตร การดำเนินนโยบายทางการเงินการคลังของรัฐบาลทั้งในและเทศ การกระทำของนักลงทุนกลุ่มหนึ่ง ๆ ที่ส่งผลกระทบต่อนักลงทุนคนอื่น ๆ หรือการกระทำธุรกรรมของเราเองที่ไม่อาจทราบผลที่แน่นอน สิ่งที่ไหลเข้ามานอกจากโอกาสทางการเงินที่เปิดกว้างแล้วยังรวมไปถึงการขยายตัวของโอกาสในการรับรู้ความเสี่ยงและความไม่แน่นอนอีกด้วย (Risk and Uncertainty) ซึ่งสิ่งเหล่านี้อาจจะส่งผลให้เกิดการเปลี่ยนแปลงเล็กน้อยจนถึงมหาศาลของผลตอบแทนที่ได้รับจริงต่อผลตอบแทนที่เราคาดหวังก่อนการลงทุน เช่น ท่านรู้ได้อย่างไรว่าในปีหน้าหุ้นที่ท่านซื้อไว้ราคาจะเป็นเท่าที่นักวิเคราะห์หลายท่านบอกเอาไว้ ในขณะที่ราคาน้ำมันยังคงผันผวน การก่อหนี้ที่เพิ่มขึ้นของรัฐบาลที่อาจส่งผลต่ออัตราดอกเบี้ยระยะยาว รวมไปถึงเสถียรภาพทางการเมืองยังคงต้องใช้เวลาในการปรับตัว ยังคงเป็นตัวแปรที่เราไม่สามารถควบคุมได้ นักลงทุนหลายท่านจึงมีเป้าหมายในการพยายามปรับตัวเพื่อให้สามารถจัดการบริหารกับความเสี่ยงให้ดีขึ้น ดังนั้นก้าวแรกที่สำคัญคือ การทำความเข้าใจความแตกต่างระหว่างความเสี่ยงและความไม่แน่นอน และประเภทของความเสี่ยงทางการเงินก่อน

ความเสี่ยงและความไม่แน่นอนแตกต่างกันอย่างไร ?

ในปี 1921 นักเศรษฐศาสตร์ Frank H Knight ได้อธิบายความแตกต่างระหว่างความเสี่ยงและความไม่แน่นอนไว้

“Uncertainty must be taken in a sense radically distinct from the familiar notion of Risk, from which it has never been properlyseparated … The essential fact is that “risk” means in some cases a quantity susceptible of measurement, while at other times it is something distinctly not of this character; and there are far-reaching and crucial differences in the bearings of the phenomenon depending on which of the two is really present and operating. … It will appear that a measurable uncertainty, or “risk” proper, as we shall use the term, is so far different from an unmeasurable one that it is not in effect an uncertainty at all. We … accordingly restrict the term “uncertainty” to cases of the non-quantitive type.”

สามารถอธิบายให้เข้าใจง่าย ๆ ด้วยการยกตัวอย่าง การชกมวย ซึ่งนักมวยทั้งสองฝ่ายจะได้รับทราบถึงกฎกติกาอย่างละเอียดก่อนการชก ดังนั้นสิ่งที่จะทำคือ กำหนดกลยุทธ์ในการชกเพื่อเอาชนะอีกฝั่งให้ได้ เช่น ถ้าเราเดินแบบนี้แล้วเขาจะเดินแบบไหน เป็นต้น หากอีกฝั่งสามารถกำหนดกลวิธีที่เหนือกว่าเพราะเป็นนักมวยที่เก่งกว่าแล้วสามารถชกเอาชนะไปได้เราเรียกกรณีเช่นนี้ว่า ความเสี่ยง เช่นเดียวกับสิ่งที่เกิดขึ้นในการลงทุนในปัจจุบัน

หากเราเปลี่ยนใหม่ โดยที่ไม่บอกว่ากฎกติกาการชกจะเป็นแบบอย่างไรให้ทั่งสองฝ่ายทราบ และจะลงโทษผู้ที่ทำผิดกติกาแบบสุ่มด้วย ท่านลองคิดดูว่าผลจะเป็นอย่างไร สิ่งนี้เราเรียกว่า ความไม่แน่นอน

ดังนั้น ความแตกต่างของความเสี่ยงและความไม่แน่นอนคือ การวัดได้ (Measurable) ความเสี่ยงนั้นวัดได้แต่ความไม่แน่นอนนั้นวัดไม่ได้

ความเสี่ยงทางการเงิน (Financial Risk)

ความเสี่ยงทางการเงินแบ่งได้เป็น 3 ประเภท คือ

1. ความเสี่ยงตลาด (Market Risk) เป็นความเสี่ยงของการที่จะเสีย โดยราคาหรือการเปลี่ยนแปลงของราคา ซึ่งเป็นผลมาจากการเปลี่ยนแปลงของอัตราดอกเบี้ยในตลาดโลกหรืออื่น ๆ การผันผวนของอัตราแลกเปลี่ยน การดำเนินนโยบายใช้จ่ายของรัฐบาล การผันผวนของราคาสินค้าอุปโภคบริโภคภายในและนอกประเทศ ซึ่งเหล่านี้ส่งผลให้เกิดการเปลี่ยนแปลงของอุปสงค์และอุปทานการลงทุนในตลาดการเงิน ส่งผลต่อการเปลี่ยนแปลงของมูลค่าการลงทุน อาทิ การใช้จ่ายเพิ่มขึ้นและการก่อหนี้ของภาครัฐ ส่งผลให้ความเสี่ยงการลงทุนภายในประเทศเพิ่มขึ้น อัตราผลตอบแทนคาดการณ์ในระยะยาวจึงมีแนวโน้มสูงขึ้น อาจส่งผลให้ราคาของหุ้นหรือค่าเงินในปัจจุบันกับอนาคตมีความแตกต่างกันมาก
2. ความเสี่ยงด้านเครดิต (Credit Risk) เป็นความเสี่ยงที่จะสูญเสีย อันเนื่องมาจากการไม่กระทำตามสัญญาของคู่สัญญาอีกฝั่ง ซึ่งอาจเป็นได้ทั้งการเต็มใจและไม่เต็มใจที่จะไม่ทำ เช่น การผิดนัดชำระหนี้ การผิดนัดการแลกเปลี่ยนสินค้า การได้ผลตอบแทนไม่ครบตามที่สัญญาไว้ในหุ้นกู้ เป็นต้น ซึ่งเราสามารถลดความเสี่ยงในด้านนี้ได้โดยการลงทุนผ่านตลาดที่มีตัวกลาง เช่น ตลาดหุ้น หรือ ฟิวเจอร์ เป็นต้น ซึ่งในเมืองไทยยังต้องการการพัฒนาตลาดที่เป็นทางเลือกอื่น ๆ ในการลงทุนอีกมาก
3. ความเสี่ยงด้านการปฏิบัติการ (Operational Risk) เป็นความเสี่ยงที่เกิดขึ้นได้อยู่ตลอดเวลา อันเนื่องมาจากการปฏิบัติการที่ผิดพลาดหรือไม่เหมาะสมที่มาจากคทั้งคนหรือองกรค์ หรือจากเหตุการณ์ภายนอก เช่น การทำสัญญาทางการเงินที่ผิดพลาด การทำผิดกฎหมายโดยไม่ตั้งใจหรือตั้งใจของบริษัทที่เราซื้อหุ้น การไม่ทำตามนโยบายการลงทุนของกองทุนรวมที่เรามีหน่วยลงทุนอยู่ เป็นต้น การติดตามและเฝ้าระวังนโยบายของบริษัทอย่างสม่ำเสมอ จะช่วยให้สามารถกำหนดกลยุทธ์การลงทุนให้เหมาะสมได้ยิ่งขึ้น

นโยบายเงินปันผล (Dividend Policy)

หุ้นสามัญเป็นหลักทรัพย์แสดงความเป็นเจ้าของกิจการ ผู้ถือหุ้นสามัญจะมีฐานะเป็นเจ้าของกิจการ จึงมีสิทธิได้รับผลตอบแทนในรูปของเงินปันผล (Dividend) เมื่อมีการประกาศจ่าย และได้รับส่วนเกินจากราคาซื้อขาย (Capital Gain) เมื่อขายหุ้นออกไป

ผู้ลงทุนในหุ้นสามัญส่วนใหญ่ลงทุนเพราะมุ่งหวังจะได้รับผลกำไรของกิจการ ซึ่งจะได้รับจากการจ่ายเงินปันผล เมื่อมีการประกาศจ่ายเงินปันผลไปแล้ว กิจการจะต้องจ่ายเงินปันผล ตามที่ประกาศไว้ในรูปของเงินสดปันผล หรือหุ้นปันผลก็ได้

นโยบายการจ่ายเงินปันผล แบ่งได้ 3 ประเภท

1. จำนวนเงินปันผลต่อหุ้นคงที่ (Stable Amount Pershare) : กิจการจะจ่ายเงินปันผลต่อหุ้นเป็นจำนวนเงินแน่นอน เช่น จ่ายปันผลหุ้นละ 2 บาท หรือ 3 บาท เป็นต้น กิจการที่จ่ายปันผลเช่นนี้ได้จะต้องมีผลกำไรที่คอ่นข้างแน่นอน และมีฐานะการเงินมั่นคง
2. อัตราการจ่ายเงินปันผลคงที่ (Constant Layout Ratio) : กิจการจะกำหนดจำนวนเงินปันผลเป็นอัตราส่วนกับกำไรที่กิจการได้รับในปีนั้น ๆ เช่น กำหนดจ่ายปันผล 50% ของกำไรสุทธิ ถ้าบริษัทมีหุ้นสามัญที่ออกจำหน่ายทั้งหมด 200,000 หุ้นปี 2544 บริษัทมีกำไรสุทธิ 200,000 บาท กำไรสุทธิต่อหุ้น เท่ากับ 1 บาท ต้องจ่ายเงินปันผลหุ้นละ 0.50 บาทปี 2545 บริษัทมีกำไรสุทธิ 400,000 บาท กำไรสุทธิต่อหุ้น เท่ากับ 2 บาท ต้องจ่ายเงินปันผลหุ้นละ 1.00 บาทดังนั้น วิธีนี้จำนวนเงินปันผลจึงไม่แน่นอนเปลี่ยนแปลงไปตามกำไรสุทธิของกิจการ ถ้ากิจการมีกำไรมากก็จ่ายปันผลมาก ถ้ากิจการมีกำไรน้อยก็จ่ายปันผลน้อย
3. จำนวนเงินปันผลปกติขั้นต่ำบวกเงินปันผลพิเศษ (Low Regular and Extra Dividend) :กิจการจะจ่ายเงินปันผลจำนวนหนึ่งที่แน่นอน และหากปีใดกิจการมีกำไรเกินกว่าปกติ กิจการก็จะจ่ายเงินปันผลเพิ่มพิเศษให้อีกจำนวนหนึ่ง เช่น กำหนดว่าทุกปีจ่ายเงินปันผลอย่างน้อยหุ้นละ 10 บาท แต่หากปีใดมีกำไรมากก็จะจ่ายเพิ่มพิเศษให้ปี 2540 บริษัทมีกำไรสุทธิ 300,000 บาท จ่ายปันผลหุ้นละ 10 บาทปี2541 บริษัทมีกำไรสุทธิ 400,000 บาท จ่ายปันผลหุ้นละ 15 บาท (10 + 5) ปี 2542 บริษัทมีกำไรสุทธิ 500,000 บาท จ่ายปันผลหุ้นละ 18 บาท (10 + 8 )

ปัจจัยที่มีผลกระทบต่อการกำหนดนโยบายเงินปันผล

1. ข้อกำหนดตามกฎหมาย ซึ่งกำหนดไว้ว่า บริษัทจะจ่ายเงินปันผลจากกำไรในปีปัจจุบันหรือในอดีตก็ได้ (กำไรสะสม) โดยการจ่ายปันผลทุกครั้งจะต้องมีการจัดสรรกำไรส่วนหนึ่ง ตามที่กฎหมายกำหนดไว้ เช่น ร้อยละ 5 ของกำไร ไว้เป็นทุนสำรองตามกฎหมายด้วย
2.สภาพคล่อง เป็นปัจจัยที่สำคัญในการตัดสินใจเกี่ยวกับการจ่ายปันผล ถ้าหากฐานะเงินสดของธุรกิจและสภาพคล่องของธุรกิจดีก็สามารถจ่ายเงินปันผลได้ หากธุรกิจกำลังขยายกิจการ อาจจะไม่มีสภาพคล่อง เนื่องจากต้องนำเงินสดไปลงทุนในสินทรัพย์ถาวรต่าง ๆ จึงต้องพิจารณาให้รอบคอบก่อนตัดสินใจจ่ายปันผล
3. ความสามารถในการกู้ยืม ถ้าธุรกิจมีความสามารถในการกู้ยืมสูง ทำให้ธุรกิจไม่จำเป็นจะต้องเก็บรักษาเงินสดไว้มาก ดังนั้นธุรกิจมีสามารถในการจ่ายปันผลได้สูง
4. เสถียรภาพของกำไร ถ้าหากกำไรที่ธุรกิจทำได้สม่ำเสมอ ก็สามารถที่จะพยากรณ์ได้ล่วงหน้าถึงกำไรที่จะได้ พร้อมทั้งสามารถที่จะจ่ายปันผลในอัตราส่วนที่มากและสูงกว่าธุรกิจที่มีกำไรไม่แน่นอน
5. ความจำเป็นในการชำระหนี้ ถ้าธุรกิจเลือกนำเงินไปชำระหนี้ก็ต้องมีการกันเงินจากกำไรไว้ เพื่อนำไปชำระหนี้ ดังนั้นจึงทำให้ไม่สามารถจ่ายเงินปันผลได้ หรือจ่ายได้ก็เป็นจำนวนน้อย
6. ข้อจำกัดในสัญญาเงินกู้ ซึ่งมักจะมีข้อความดังนี้
- การจ่ายปันผลจะทำได้เฉพาะจากกำไรที่เกิดขึ้นหลังวันลงนามในสัญญาจะไปเอากำไรสะสมปีก่อนมาจ่ายปันผลไม่ได้
- บริษัทจะไม่จ่ายปันผล ถ้าหากเงินทุนหมุนเวียนสุทธิต่ำกว่าระดับที่กำหนดไว้
- การออกหุ้นกู้หรือการกู้เงินมา อาจมีข้อตกลงในการจำกัดจำนวนการจ่ายเงินปันผลการจำกัดจำนวนเงินปันผลจ่ายนี้ก็เพื่อจะเพิ่มความสามารถในการชำระหนี้คืน
7. การควบคุม ในบางครั้งธุรกิจจะกำหนดนโยบายเพื่อที่จะขยายกิจการเท่ากับจำนวนเงิน กำไรที่กันไว้ในรูปกำไรสะสมเท่านั้น เพราะการเพิ่มทุนโดยการออกหุ้นสามัญจะทำให้อำนาจการควบคุมและส่วนได้เสียในบริษัทของผู้ถือหุ้นเดิมเปลี่ยนแปลงไป หรือการก่อหนี้อาจทำให้มีความเสี่ยงทางการเงินสูงขึ้น
8. ฐานะทางภาษีของผู้ถือหุ้น เงินปันผลที่ได้รับถือเป็นรายได้ที่ต้องเสียภาษี ถ้าผู้ถือหุ้นส่วนใหญ่ของบริษัทจะต้องเสียภาษีเงินได้ในอัตราที่สูงก็ย่อมพอใจที่จะให้คงกำไรไว้ในรูปกำไรสะสม ซึ่งมีผลทำให้ราคาตลาดของหุ้นสามัญนั้นสูงขึ้น ผู้ถือหุ้นจะได้รับกำไรจากการขายหุ้น (Capital Gain) ซึ่งทำให้พอใจมากกว่ารับรายได้ในรูปของเงินปันผล เพราะอัตราภาษีที่เก็บจากเงินปันผลจะสูงกว่าอัตราภาษีที่เก็บจากกำไรจากการขายหุ้น
9. ภาวะเงินเฟ้อ โดยทั่วไปผู้ถือหุ้นต้องการรับเงินปันผลในปัจจุบันมากกว่าที่จะรอรับในอนาคตเพราะเมื่อเกิดภาวะเงินเฟ้อขึ้น จะทำให้ค่าของเงินลดลงตามกาลเวลา
10. อัตราการขยายตัวของสินทรัพย์ หากกิจการมีการขยายตัวสูง ต้องใช้เงินทุนมากกิจการจะต้องกันเงินกำไรไว้ในรูปของกำไรสะสมจำนวนมาก ทำให้จ่ายเงินปันผลได้น้อยลง

ประเภทของการจ่ายปันผล

1. เงินสดปันผล (Cash Dividend) : เงินสดปันผลจะจ่ายจากกำไรสะสม การที่จะจ่ายได้หรือไม่ขึ้นอยู่กับปริมาณเงินสดที่กิจการถืออยู่ว่ามีเพียงพอหรือไม่ การจ่ายเงินสดปันผลจะทำให้ในงบดุลมีการเปลี่ยนแปลงทั้งด้านสินทรัพย์ (เงินสดลดลงตามจำนวนปันผลที่จ่าย) และด้านหนี้สินและทุนก็ลดลงเช่นกัน (กำไรสะสมลดลงตามจำนวนปันผลที่จ่าย)
2. หุ้นปันผล (Stock Dividend) : เป็นการจ่ายปันผลในรูปของหุ้นสามัญออกใหม่ ซึ่งเรียกว่า หุ้นปันผล ซึ่งจะกำหนดจำนวนหุ้นที่จ่ายให้ผู้ถือหุ้นตามสัดส่วนของหุ้นที่ถืออยู่ เช่น การจ่ายหุ้นปันผลร้อยละ 10 หมายความว่า ผู้ถือหุ้นอยู่ 100 หุ้น จะได้รับหุ้นปันผล 10 หุ้น นั่นคือ กิจการจะต้องจดทะเบียนเพิ่มทุน โดยมีจำนวนหุ้นเพิ่มขึ้นอีกร้อยละ 10 การจ่ายหุ้นปันผลไม่ส่งผลกระทบต่อมูลค่าส่วนเจ้าของในงบดุล แต่จำนวนกำไรสะสมจะลดลง ในขณะที่มูลค่าหุ้นสามัญจะเพิ่มขึ้นในจำนวนที่เท่ากัน

ข้อดีของการจ่ายหุ้นปันผล
- ช่วยประหยัดเงินสดให้ธุรกิจ เพื่อใช้ในโครงการลงทุนอื่นในอนาคต โดยไม่ต้องจัดหาเงินทุนเพิ่มเติมจากแหล่งภายนอก
- ทำให้ผู้ถือหุ้นที่มีรายได้สูงเกิดความพอใจ เพราะถ้าผู้ถือหุ้นมีรายได้สูงจะเสียภาษีสูงด้วย
- ช่วยบริษัทที่ประสบปัญหาทางการเงิน
- ทำให้ราคาตลาดของหุ้นสามัญไม่สูงเกินไป

ข้อเสียของการจ่ายหุ้นปันผล
- ค่าใช้จ่ายในการจ่ายหุ้นปันผลค่อนข้างสูง
- ทำให้กำไรต่อหุ้นลดลง
- ราคาตลาดของหุ้นลดลง

3. การแยกหุ้น (Stock Splits) : การจ่ายปันผลวิธีนี้ จะทำให้จำนวนหุ้นสามัญที่ผู้ลงทุนถือหุ้นอยู่มีจำนวนมากขึ้น เช่น แยกหุ้นจาก 1 เป็น 10 หมายความว่า ผู้ถือหุ้นเดิมจะได้รับหุ้นเพิ่มขึ้น 9 หุ้น ต่อหุ้นที่ถืออยู่ 1 หุ้น โดยมูลค่าที่ตราไว้จะลดลงเหลือ 1/10 ด้วย คือหากมูลค่าเดิมที่ตราไว้ 100 บาทต่อหุ้น เมื่อแยกหุ้นแล้วจะเท่ากับ 10 บาทต่อหุ้น การแยกหุ้นไม่ส่งผลกระทบต่อมูลค่าส่วนของเจ้าของในงบดุล จำนวนกำไรสะสมและมูลค่าหุ้นสามัญรวมยังคงเดิม เพียงแต่จำนวนหุ้นจะมากขึ้นและมีราคามูลค่าที่ตราไว้ต่อหุ้นลดลงวิธีการแยกหุ้นนี้ จะสร้างความพอใจแก่ผู้ถือหุ้น เพราะเมื่อบริษัทมีกำไรมาก การจ่ายปันผลสูง และมีความเจริญเติบโตในอัตราที่ดีแล้ว ทำให้ราคาตลาดของหุ้นอยู่ในระดับที่สูงมาก
4. การซื้อหุ้นกลับคืน (Stock Pepurchase) : การที่ธุรกิจนำเงินกำไรส่วนที่เก็บไว้ในรูปกำไรสะสมหรือเงินที่ได้จากการก่อหนี้ไปซื้อหุ้นสามัญที่ออกจำหน่ายแล้ว ทำให้หุ้นสามัญมีจำนวนน้อยลง ถ้าปัจจัยอื่นคงที่และสมมติว่าการซื้อหุ้นคืนไม่กระทบต่อความสามารถทำกำไรของธุรกิจ จะทำให้กำไรต่อหุ้นเพิ่มขึ้น เมื่อกำไรต่อหุ้นเพิ่มขึ้น จะส่งผลให้ราคาตลาดของหุ้นสามัญสูงขึ้น ถ้าธุรกิจนำเงินที่เก็บไว้ในรูปกำไรสะสมไปซื้อหุ้นกลับคืน ทำให้การจ่ายเงินปันผลลดน้อยลง แต่ถ้านักลงทุนขายหุ้นจะได้รับกำไรจากการขายหุ้นเนื่องจากราคาตลาดสูงขึ้น กำไรจาการขายหุ้นชดเชยได้พอดีกับเงินปันผลจ่ายที่น้อยลงการซื้อหุ้นกลับคืนจะกระทำเมื่อกิจการมีเงินทุนเหลือใช้เป็นการถาวร หรือต้องการลดจำนวนหุ้นสามัญที่หมุนเวียนในตลาดลง เพื่อทำให้ราคาตลาดหุ้นสามัญสูงอีก หรือเพิ่มอำนาจการควบคุมกิจการ เพื่อป้องกันมิให้ผู้ถือหุ้นขายหุ้นให้กับบริษัทอื่น กิจการสามารถซื้อหุ้นกลับคืนมาได้ หุ้นที่ซื้อคืนนี้ เรียกว่า Treasury Stock
5. การรวมหุ้น (Reverse Split) : บริษัทสามารถทำการลดจำนวนหุ้นสามัญลงและเพิ่มมูลค่าที่ตราไว้ต่อหุ้นได้ การลดจำนวนหุ้นลงนี้ทำได้โดยการรวมหุ้น ซึ่งจะเกิดขึ้นในกรณีที่ราคาตลาดของหุ้นต่ำมาก ธุรกิจก็จะทำการรวมหุ้นเพื่อให้จำนวนหุ้นในมือของผู้ถือหุ้นลดจำนวนลง ราคาตามมูลค่าของหุ้นจะเพิ่มขึ้น อันมีผลทำให้ราคาตลาดของหุ้นสูงขึ้น

นโยบายเงินปันผล

1. การจ่ายเงินปันผลจะเป็นตัวกำหนดแหล่งเงินทุนระยะยาวจากภายในกิจการ เพราะเงินปันผลจะจ่ายจากกำไรสะสม
2. ประเด็นที่ต้องพิจารณาในการจ่ายเงินปันผล
- กิจการควรจ่ายปันผลเป็นอะไร เช่น เงินสด หรือ หุ้นปันผล
- กำหนดนโยบายการจ่ายเงินปันผลในลักษณะใดจึงจะเหมาะสม
- ควรมีอัตราการจ่ายเงินปันผลเป็นร้อยละเท่าใดของกำไรสุทธิหรือเป็นจำนวนเงินเท่าใด
3. วัตถุประสงค์ของการกำหนดนโยบายเงินปันผล
- เพื่อผลตอบแทนที่ดีที่สุดแก่ผู้ถือหุ้นในระยะยาว
- เพื่อโครงสร้างเงินทุนที่เหมาะสมของกิจการ

แบบของการจ่ายเงินปันผล
- การจ่ายเงินปันผลเป็นเงินสด
- การจ่ายเป็นหุ้นปันผล
- การแตกหุ้นและซื้อหุ้นคืน
- การจ่ายสินทรัพย์ปันผล
- การจ่ายปันผลในรูปของภาระหนี้สิน เช่น หุ้นกู้ปันผล

เงินสดปันผล (Cash Dividends)

1. ผู้ถือหุ้น
- สะดวก
- เป็นที่นิยมสามารถนำเงินสดไปใช้ได้ทันที

2. บริษัท
- กระทบกระแสเงินสดของบริษัท
- บางกรณีอาจจะต้องกู้เงินมาและเกิดภาระดอกเบี้ยจ่ายเกิดขึ้น

3. นโยบายเงินปันผล
- จ่ายต่อหุ้นคงที่
- จ่ายปันผลในอัตราคงที่ (กำหนดเป็นอัตราร้อลยะของกำไรสุทธิที่คงที่)
- จ่ายเป็นขั้นต่ำบวกปันผลพิเศษ
- กำหนดอัตราการจ่ายเงินปันผลเป้าหมาย

การจ่ายหุ้นปันผล (Stock Dividends)

- ส่วนมากจะกำหนดเป็นอัตราร้อยละของมูลค่าหุ้นสามัญ เช่น จ่ายหุ้นปันผล 10% หมายความว่า มีหุ้นสามัญอยู่ 100 ล้านหุ้น ก็จะจ่ายปันผลเป็นหุ้นจำนวน 10 ล้านหุ้น ก็จะทำให้มีหุ้นในตลาดเท่ากับ 110 ล้านหุ้น
- มุ่งที่จะเก็บเงินสดไว้เพื่อการลงทุน
- ข้อดี : เงินที่ไม่ได้นำไปจ่ายปันผลจะถูกนำไปลงทุนต่อ ซึ่งก่อให้เกิดรายได้ทำให้บริษัทสามารถขยายตัวได้ตามแผน ผลคือกำไรต่อหุ้นสูงขึ้น ราคาของหุ้นก็จะสูงขึ้นตา

ผลกระทบการจ่ายหุ้นปันผลที่มีต่อผู้ถือหุ้น

1. ผลกระทบต่อกำไรต่อหุ้น : กำไรต่อหุ้นละลดลง (Dilution effect)
2. ผลกระทบต่อราคาหุ้น : ราคาตลาดหุ้นสามัญต่อหุ้นอาจจะลดลง
3. ผลกระทบต่อเงินปันผลในอนาคต :
- ได้รับเงินปันผลเพิ่มขึ้น กรณีที่ยังคงรักษาจำนวนเงินปันผลต่อหุ้นในอัตราเท่าเดิม
- ได้รับเงินปันผลต่อหุ้นน้อยลง กรณีที่รักษาจำนวนเงินรวมที่ต้องจ่ายเท่าเดิมก่อนที่จะมีการจ่ายปันผล

ผลกระทบการจ่ายหุ้นปันผลที่มีต่อบริษัท

ข้อดี :
- บริษัทสามารถใช้ผลกำไรเป็นทุนหมุนเวียนโดยไม่ต้องกู้ยืมเงินเพิ่ม
- บริษัทมีทุนเพิ่มขึ้น
- ราคาหุ้นในอนาคตมีแนวโน้มสูงขึ้นเนื่องจากบริษัทที่จ่ายหุ้นปันผล จะเป็นบริษัทที่กำลังขยายตัวและจำเป็นต้องใช้เงินทุนเพิ่มเติม

ข้อเสีย :
- อาจทำให้ผู้ถือหุ้นได้หุ้นปันผลไม่ครบถ้วนเพราะมีเศษหุ้น
- อาจทำให้มูลค่าหุ้นตามบัญชีลดลง ในกรณีที่คำนวณมูลค่าหุ้นจากมูลค่าตามบัญชี
- อัตราการเพิ่มกำไรต่อหุ้นมีแนวโน้มลดลง
- ค่าใช้จ่ายในการออกหุ้นปันผลจะสูงกว่าการจ่ายเงินสดปันผล

การแตกหุ้น (Stock splits)

- จะเกิดขึ้นในกรณีที่ราคาหุ้นของบริษัทที่ซื้อขายกันในตลาดมีราคาสูง รวมถึงบริษัทต้องการเงินทุนเพิ่มเพื่อการขยายกิจการ บริษัทจะทำการแตกหุ้น ซึ่งจะทำให้ราคาตลาดของหุ้นลดลง แต่จะทำให้การซื้อขายคล่องตัวขึ้น และเมื่อบริษัทออกหุ้นใหม่ เพื่อการเพิ่มทุนก็จะทำได้สะดวกขึ้น
- บริษัทที่จะทำการแตกหุ้น ส่วนมากมีราคาที่ตราไว้สูง จึงพยายามแตกหุ้นให้มีมูลค่าน้อยลงเพื่อให้สามารถซื้อขายได้สะดวกขึ้น

การซื้อหุ้นคืน (Stock repurchase)

1. การที่บริษัทนำหุ้นสามัญที่ออกจำหน่ายแล้วของบริษัทกลับคืนมา เมื่อผู้ถือหุ้นขายคืนกลับบริษัท ก็จะทำให้สัดส่วนการเป็นเจ้าของบริษัทของผู้ถือหุ้นที่ขายคืนก็จะลดลง และทำให้จำนวนหุ้นที่หมุนเวียนในตลาดลดลง
2. เหตุผลที่บริษัทตัดสินใจซื้อหุ้นกลับคืน
- บริษัทมีเงินสดเกินความต้องการ
- เพื่อปรับปรุงกำไรต่อหุ้นที่จำหน่ายออกไปให้สูงขึ้น
- ราคาตลาดของหุ้นของบริษัทต่ำกว่าราคาที่แท้จริง
- ป้องกันการซื้อกิจการจากผู้อื่น (Hostile takeover)

ผลกระทบของการซื้อหุ้นคืนในแง่ผู้บริหาร

ข้อดี
- ซื้อหุ้นคืนเพื่อชลอการจ่ายเงินปันผลและรักษาระดับการจ่ายเงินปันผลในอนาคต
- สะดวกแก่การชำระตามข้อผูกพัน เช่น เตรียมไว้เพื่อการแปลงสภาพ
- สามารถนำไปขายในตลาดเมื่อต้องการเงินทุน
- รักษาอำนาจการควบคุม
- เปลี่ยนแปลงโครงสร้างเงินทุน

ข้อเสีย
- เกิดภาพลักษณ์ที่ไม่ดีต่อผู้ลงทุน เพราะอาจถูกมองว่าไม่มีโครงการลงทุนอื่นที่ดี จึงต้องซื้อหุ้นคืน
- หลีกเลี่ยงภาษี เพราะทำให้การจ่ายปันผลน้อยลง

ผลกระทบของการซื้อหุ้นคืนในแง่ผู้ถือหุ้น

ข้อดี
- ราคาหุ้นจะสูงขึ้น ทำให้ได้กำไรจากการขายหุ้น ซึ่งเสียภาษีน้อยกว่าได้เงินปันผล
- ชลอการจ่ายภาษี เพราะเลือกได้ว่าจะขายหรือไม่
- ลดจำนวนหุ้นส่วนเกิน สามารถระบายหุ้นส่วนเกินความต้องการออกจากตลาด เพื่อรักษาสภาพราคาให้คงไว้

ข้อเสีย
- ผลประโยชน์ด้ายภาษีในกรณีผู้ถือหุ้นมีรายได้น้อย การเสียภาษีในรูปเงินปันผลอาจให้ประโยชน์มากกว่าการขายหุ้นที่มีราคาสูงขึ้นเพราะการซื้อหุ้นคืน
- ถ้าหุ้นที่หมุนเวียนมีน้อย เมื่อซื้อแล้วอาจมีผลให้ราคาหุ้นตกได้
- ความเสี่ยงสูง เพราะสัดส่วนของหนี้สินและทุนจะสูงขึ้น

สินทรัพย์ปันผล (Property Dividends)
- ไม่เป็นที่นิยม
- ที่เคยเกิดขึ้นส่วนมากเป็นการจ่ายหุ้นของบริษัทอื่น ๆ แทนที่จะจ่ายเป็นหุ้นของบริษัทตนเอง

การจ่ายปันผลในรูปของภาระหนี้สิน (Script dividends and Bond dividends)

1. จะเป็นการจ่ายในรูปของตั๋วสัญญาใช้เงินที่เปลี่ยนมือได้หรือพันธบัตรหรือตั๋วเงินระยะยาว
2. เหตุผลในหารจ่ายแบบนี้ เพราะบริษัทอาจจะขาดสภาพคล่อง มีเงินสดไม่พอจ่ายปันผล
3. ผู้ถือหุ้นที่ได้รับปันผลแบบนี้จะมีสถานะเกิดขึ้น 2 ส่วน
- เป็นเจ้าหนี้จากการได้รับตั๋วเงิน
- เป็นเจ้าของจากหุ้นสามัญเดิมที่ถืออยู่

ปัจจัยที่ควรพิจารณาสำหรับการกำหนดนโยบายเงินปันผล

- ข้อจำกัดในสัญญาเงินกู้
- ความสามารถในการทำกำไร
- สภาพคล่องของบริษัท
- ภาระหนี้สินเมื่อเทียบกับสัดส่วนของเจ้าของ
- ความสามารถในการหาเงินทุนจากภายนอก
- เสถียรภาพทางด้านรายได้ของบริษัท
- อัตราการเจริญเติบโตของบริษัท
- ความพอใจของผู้ถือหุ้น
- อำนาจการควบคุม
- ความั่นใจของผู้ถือหุ้น
- ภาษีอากร
- ข้อกำหนดตามกฏหมาย

ปัจจัยความเสี่ยงของตราสารทุน

หุ้นหรือตราสารทุน เป็นหนึ่งในทางเลือกการลงทุนที่ได้รับความนิยมจากนักลงทุนชาวไทยมากขึ้นเป็นลำดับ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วงสามถึงสี่ปีที่ผ่านมาที่ผลตอบแทนจากดอกเบี้ยเงินฝากของธนาคารพาณิชย์อยู่ในอัตราที่ต่ำนั้น มีนักลงทุนรายย่อยจำนวนมากเลือกที่จะเข้ามาแสวงหาผลตอบแทนการลงทุนที่สูงกว่าในตลาดหลักทรัพย์

แต่อย่างไรก็ดี การลงทุนในตราสารทุนหรือหุ้นนั้นมีโอกาสในการให้ผลตอบแทนที่สูงแต่ก็มีระดับความความเสี่ยงที่สูงสอดคล้องกันไปตามกฎ High Risk High Return

ดังนั้นการลงทุนในหุ้นนักลงทุนทั่วไปจึงมักจะใช้เกณฑ์ในการพิจารณาในเรื่องของความเสี่ยงเป็นองค์ประกอบ ซึ่งความเสี่ยงของตราสารทุน สามารถแยกออกเป็น 3 ประเภทที่สำคัญได้ ดังนี้ คือ

ความเสี่ยงจากหลักทรัพย์หรือองค์กร

คือความเสี่ยงที่เกี่ยวกับบริษัทในตลาดหลักทรัพย์ที่นักลงทุนเลือกลงทุน ซึ่งเกิดจากสาเหตุทั้งภายในและภายนอกที่ผู้ลงทุนยากที่จะคาดการณ์ล่วงหน้า หรือรับทราบข้อมูลก่อนได้ เช่น

• การเปลี่ยนแปลงคณะกรรมการหรือผู้บริหารสำคัญของบริษัท ที่มีผลให้เกิดการเปลี่ยนแปลงของนโยบายการดำเนินงานของกิจการ หรือความเชื่อมั่นของตลาดและนักลงทุนทั่วไป

• ความผิดพลาดในการบริหารรวมถึงความเสียหายอันเนื่องมาจากกระบวนการผลิตและคุณภาพของสินค้า ที่ส่งผลให้เกิดความเสียหายและความสูญเสียต่อกิจการซึ่งแน่นอนย่อมที่จะมีผลกระทบกับราคาหุ้นที่ผู้ถือหุ้นถือครอง

• การแข่งขันในธุรกิจ ซัพพลายเออร์ และการดำเนินกิจกรรมทางการตลาดของคู่แข่งขัน ที่มีผลกระทบต่อผลประกอบการ ทั้งในส่วนของยอดขาย ต้นทุน หรือกำไรของกิจการ

• ความเปลี่ยนแปลงทางการตลาดของสินค้าหรือบริการ เช่นสินค้าบางชนิดที่ได้รับผลกระทบจากความนิยมของผู้บริโภคที่เปลี่ยนไปอย่างรวดเร็ว ทั้งนี้อาจสืบเนื่องจากการออกผลิตภัณฑ์หรือบริการใหม่ของคู่แข่งขัน หรือเกิดความเปลี่ยนแปลงในเรื่องนวัตกรรมใหม่ของผลิตภัณฑ์ ที่ส่งผลกระทบต่อปริมาณการขายและรายได้ของกิจการ

• ความเสียหายจากภัยธรรมชาติต่างๆ ที่มีผลให้กระบวนผลิตและการดำเนินงานของกิจการได้รับผลกระทบ เช่นการเกิดกรณีน้ำท่วมทำให้โรงงานไม่สามารถดำเนินการได้ เป็นต้น

• ผลกระทบจากปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย เช่นการถูกฟ้องร้องดำเนินคดี ซึ่งส่งผลต่อความน่าเชื่อถือของกิจการ เช่นการผลิตสินค้าที่มีปัญหาจนต้องถูกเรียกเก็บคืนจากผู้จัดจำหน่าย

ความเสี่ยงจากปัจจัยประเภทธุรกิจหรือกลุ่มอุตสาหกรรม

คือความเสี่ยงที่เกิดจากปัจจัยลบเฉพาะที่เกี่ยวข้องกับภาคธุรกิจหรือกลุ่มอุตสาหกรรมนั้นๆโดยตรง เช่น กฎหมายบางฉบับที่มีผลโดยตรงต่อสินค้าบางประเภทดังกรณีการห้ามโฆษณาประชาสัมพันธ์เครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ธุรกิจสัมปทานบางกรณีที่มีปัญหาในเรื่องของการตีความกฎหมายหรือมีความเสี่ยงต่อการถูกถอดถอนสัมปทาน หรือธุรกิจส่งออกสินค้าบางประเภทที่ได้รับผลกระทบโดยตรงจากข้อจำกัดพิเศษจากประเทศที่นำเข้าสินค้านั้นเป็นหลัก ซึ่งปัจจัยลบที่มีผลกระทบโดยตรงกับประเภทธุรกิจหรือกลุ่มอุตสาหกรรมโดยตรงในลักษณะนี้ แม้ในภาพกว้างจะไม่ส่งผลกระทบทางเศรษฐกิจหรือตลาดหุ้นโดยรวมเท่าใดนัก แต่ในระดับธุรกิจหรือเฉพาะอุตสากรรมจะได้รับความเสียหายที่ชัดเจน กระทั่งในบางกรณีอาจกระทบต่อราคาหุ้นได้อย่างรุนแรงดังที่ปรากฎเป็นข่าวใหญ่โตขึ้นเป็นครั้งคราวทั้งในและต่างประเทศตลอดหลายปีที่ผ่านมา

ตลาดทุน (Capital Market)

- แหล่งเงินทุน ที่กิจการสามารถเข้าไประดมเงินทุนจากผู้ลงทุนทั่วไป เพื่อนำไปใช้ในกิจการนอกเหนือไปจาก การกู้ยืมเงินจากธนาคารพาณิชย์
- วิธีการระดมทุน ได้แก่ การออกตราสารเพื่อการลงทุนประเภทต่าง ๆ และเสนอขายตราสารนั้นให้แก่ผู้ถือหุ้นและผู้ลงทุนทั่วไป ทั้งในตลาดแรกและตลาดรอง
- การเสนอขายประชาชนทั่วไป ต้องเป็นไปตามขบวนการที่กฎหมายกำหนด

ตลาดแรก และ ตลาดรอง

ตลาดแรก (Primary Market) คือ แหล่งเงินทุนอันดับแรก ที่กิจการสามารถระดมทุนได้ จากบรรดาผู้ถือหุ้นของกิจการ ไม่ว่าจะเป็นผู้ถือหุ้นเดิมหรือผู้ถือหุ้นใหม่หลังการทำ Public Offering ก่อนที่จะนำหุ้นนั้น เข้าจดทะเบียนซื้อขายในตลาดรอง
ตลาดรอง (Secondary Market) คือ แหล่งเงินทุนอันดับรอง ที่กิจการสามารถระดมทุนได้จากผู้ลงทุนทั่วไป หลังจากกิจการนั้น นำตราสารของตนเข้าทะเบียนซื้อขาย เพื่อให้ผู้ลงทุนสามารถเปลี่ยนมือ เมื่อมีความจำเป็นต้องใช้เงิน

ประเภทของตลาดรองที่สำคัญ

ตลาดตราสารทุน (Stock Market หรือ Equity Market) คือ ตลาดตราสารทุนทำหน้าที่เป็น ศูนย์กลางซื้อขายตราสารทุน เช่น หุ้น หุ้นบุริมสิทธ์ หน่วยลงทุนตราสารทุน
ตลาดตราสารหนี้ (Bond Market หรือ Debt Market) ทำหน้าที่เป็น ศูนย์กลางซื้อขายตราสารหนี้ เช่น พันธบัตรรัฐบาล/รัฐวิสาหกิจ หุ้นกู้ และตราสารทางการเงินประเภทต่าง ๆ

ลักษณะของตลาดทุน

ตลาดมีประสิทธิภาพ (Efficient Market) คือ ตลาดที่หลักทรัพย์มีราคายุติธรรม เพราะข้อมูลข่าวสารการลงทุนชัดเจน และแพร่กระจายไปยังผู้ลงทุนอย่างรวดเร็วและทั่วถึงกัน จนไม่เกิดมี overpriced หรือ underpriced
ตลาดที่ไม่มีประสิทธิภาพ (Inefficient Market) คือ ตลาดที่ข้อมูลข่าวสารการลงทุน แพร่กระจายไม่ทั่วถึงกัน ราคาหลักทรัพย์จึงเป็นได้ทั้ง overpriced หรือ underpriced

การลงทุน และ ความสัมพันธ์ของ ผลตอบแทน (Return) และความเสี่ยง (Risk)

- การลงทุน ที่ความเสี่ยงสูงย่อมให้ อัตราผลตอบแทนสูงในระยะยาว
- การลงทุน ที่มีความเสี่ยงต่ำย่อมให้ อัตราผลตอบแทนต่ำในระยะยาว
- ผลตอบแทนในการลงทุน
Total Return = Interest Received + Dividend Received + Capital Gain
Net Return หรือ Nominal Return = Total Return - all fees
Real Return = Net Return - Inflation Rate

- ความเสี่ยงในการลงทุน
Risk = Actual Return ที่แตกต่างไปจาก Expected Return

ความเสี่ยงประเภทต่าง ๆ ที่นักลงทุนต้องวิเคราะห์

1. Macro Factor

Pervasive Risk
1. Purchasing Power Risk
2. Political (Country) Risk
3. Currency (Exchange) Risk

Systematic Risk
1. Interest Rate Risk
2. Market (Price) Risk

2. Micro Factors

Unsystematic Risk
1. Credit (Company) Risk
2. Sector (Industry) Risk

Pervasive Risk : ความเสี่ยงที่กระจายทั่วถึงกันไม่มีผู้ใดหลบพ้นได้

Purchasing Power Risk คือ ความเสี่ยงต่อการมีอำนาจซื้อลดลงในอนาคต หากภาวะเงินเฟ้อสูงขึ้น ส่วนใหญ่จะเกิดกับการลงทุนระยะยาว ที่มีอัตราผลตอบแทนคงที่ (fixed rate of return) เช่น การลงทุนในพันธบัตรรัฐบาลระยะยาว 30 ปี

Political (Country) Risk คือ ความเสี่ยงที่เกิดจากสถานการณ์การเมืองของประเทศ เช่น การสงครามแย่งชิงอำนาจ การปรับเปลี่ยนคณะรัฐบาล ซึ่งอาจนำมาซึ่งการเปลี่ยนแปลงนโยบายเศรษฐกิจ การเงิน การคลังของประเทศ ซึ่งจะมีผลกระทบต่อการลงทุน ไม่ว่าจะเป็นบวกหรือลบ

Pervasive Risk : ความเสี่ยงที่กระจายทั่วถึงกันไม่มีผู้ใดหลบพ้นได้

Currency (Exchange) Risk คือ ความเสี่ยงที่เกิดขึ้นจากการเปลี่ยนแปลงของอัตราแลกเปลี่ยนเงินตรา มักจะเกิดขึ้นกับกรณีของการลงทุนข้ามชาติ และมีการนำเงินสกุลอื่น เข้าไปหรือออกจากการลงทุนในประเทศหนึ่ง ๆ หากอัตราแลกเปลี่ยนมีความผันผวน การลงทุนจากต่างประเทศก็มักจะหยุดชะงักลง

ก่อนวิกฤติทางการเงิน (2539) US$ 1 = 27 บาท

ปัจจุบัน (สิงหาคม 2548) US$ 1 = 41 บาท

Systematic Risk : ความเสี่ยงที่ผู้ลงทุนไม่สามารถลดได้ โดยการกระจายการลงทุน

Interest Rate Risk คือ ความเสี่ยงที่เกิดจากการเปลี่ยนแปลงของอัตราดอกเบี้ย เพราะมีผลกระทบถึงอัตราผลตอบแทน (Yield) ของตราสารหนี้ที่ซื้อขายในตลาดรอง ในกรณีที่อัตราดอกเบี้ยสูงขึ้น ยังทำให้ต้นทุนในการผลิตของผู้ประกอบการสูงขึ้น และกำไรลดลงในระยะสั้น ส่งผลกระทบถึงกำไร

Market (Price) Risk คือ ความเสี่ยงที่เกิดจากการเปลี่ยนแปลงของสภาวการณ์ลงทุน ทั้ง ๆ ที่ปัจจัยพื้นฐานไม่เปลี่ยนแปลงส่วนใหญ่จะเห็นได้ชัดในกรณีของตลาดหุ้น เช่น การรับอิทธิพล(Sentiment) จากการเคลื่อนไหวของราคาหุ้นในตลาดหลักของโลก

Unsystematic Risk : ความเสี่ยงที่ผู้ลงทุนสามารถลดได้ โดยการกระจายการลงทุน

Credit (Company) Risk คือ ความเสี่ยงที่เกี่ยวข้องกับตัวบริษัทเอง ที่ส่งผลกระทบถึงความสามารถในการจัดการ การแข่งขันในเชิงตลาด ความสามารถในการทำกำไร หรือความสามารถในการชำระหนี้ รวมถึงความเสียหายโดยภัยพิบัติ การถูกฟ้องร้องดำเนินคดี

เงินฝืด (Deflation)

เงินฝืด หมายถึง สถานการณ์ตรงข้ามกับเงินเฟ้อ นั่นคือ ภาวะที่ระดับราคาสินค้าและบริการทั่วไปลดลงเรื่อย ๆ นี่ไม่ได้หมายความว่า สินค้าทุกชนิดจะต้องลงราคา และในสัดส่วนเดียวกัน อาจเป็นไปได้ว่าสินค้าบางชนิดมีราคาสูงขึ้น แต่เมื่อรวมราคาสินค้าทุกชนิดแล้ว คือราคาถัวเฉลี่ยจะลดลงจากเดิม

ประเภทเงินฝืด แบ่งเป็น

1. เงินฝืดอย่างอ่อน เป็นผลดีต่อระบบเศรษฐกิจ ราคาสินค้าในตลาดทั่วไปจะลดลงเล็กน้อย
2. เงินฝืดอย่างปานกลาง มีผลเสียต่อระบบเศรษฐกิจแต่ไม่รุนแรง ระดับราคาสินค้าทั่วไปในตลาดจะลดลงมากกว่าเงินฝืดอย่างอ่อน
3. เงินฝืดอย่างรุนแรง

สาเหตุของภาวะเงินฝืด

1. ธนาคารกลางพิมพ์ธนบัตรออกมาหมุนเวียนในตลาดน้อยเกินไป แต่อุปสงค์มีมาก
2. ประชาชนนิยมเก็บเงินไว้กับตัวมากเกินไป
3. การส่งเงินตราออกนอกประเทศมากเกินไป
4. นโยบายธนาคารกลางออกกฎหมายเรียกเก็บเงินสำรองตามกฎหมายจากธนาคารพาณิชย์มากเกินไป จนไม่มีเงินที่จะสร้างเงินฝากหรือขยายเครดิต
5. นโยบายของธนาคารพาณิชย์ไม่ขยายเครดิต ให้กู้ยืมสำหรับการลงทุนทั้งระยะสั้น ระยะยาว
6. รัฐบาลควบคุมการซื้อสินค้าเงินผ่อน
7. รัฐบาลเปลี่ยนแปลงเก็บภาษีในอัตราสูงขึ้น ทำให้รายได้ประชาชนลดลง เงินใช้สอยลดลง
8. อัตราดอกเบี้ยในต่างประเทศค่อนข้างสูง ทำให้ธนาคารพาณิชย์ประสบปัญหาในการกู้ยืมมาขยายเครดิต จำเป็นต้องกู้ยืมจากธนาคารกลาง
9. เงินฝืดมักจะเป็นผลพวงมาจากภาวะฟองสบู่แตก ทำให้เกิดปัญหาเกิดหนี้เสีย และความเชื่อมั่นต่อการลงทุนลดน้อยลง ทำให้ภาคการเงินระมัดระวังในการปล่อยสินค้าเชื่อมากขึ้น

ผลกระทบของภาวะเงินฝืด กลุ่มผู้ได้ประโยชน์จากภาวะเงินฝืดได้แก่

1. ผู้มีรายได้ประจำ เช่น พนักงานเงินเดือน ข้าราชการเกษียณได้รับบำนาญ
2. ผู้ที่มีรายได้จากดอกเบี้ย หุ้นกู้ ผู้ถือหุ้น ซึ่งมีฐานะเป็นเจ้าหนี้
3. ผู้ที่เก็บเงินไว้กับตัวเอง
4. ผู้มีรายได้จากค่าเช่า ผู้เช่าก็ต้องจ่ายในราคาเท่าเดิม เพราะได้ทำสัญญาผูกมัดแล้ว

กลุ่มผู้เสียประโยชน์จากภาวะเงินฝืด ได้แก่

1. เจ้าของกิจการ นายจ้าง ผู้ผลิตสินค้า นักอุตสาหกรรม เมื่อระดับราคาสินค้าที่ผลิตออกมามีราคาลดต่ำลงเรื่อย ๆ แต่ต้นทุนวัตถุดิบ ต้นทุนในการผลิตสูง ผู้ผลิตจะไม่ทำการผลิตอีกต่อไป หรืออาจจะลดการผลิตออกมาให้น้อยลง
2. พ่อค้า นักธุรกิจ เมื่อการผลิตชะลอตัวลง และหยุดชะงักการผลิต พ่อค้า นักธุรกิจ ก็ต้องขาดรายได้ คือ กำไร ตามไปด้วย
3. ลูกหนี้ ขณะที่ทำสัญญาขอกู้ยืมเงินมูลค่าของเงินคงที่ แต่เมื่อเกิดภาวะเงินฝืด มูลค่าของเงินมีค่ามากขึ้น และการทำมาหากินฝืดเคือง รายได้ไม่พอกับรายจ่าย เงินหายากขึ้น แต่ต้องชำระหนี้ในมูลค่าเท่าเดิม
4. ผู้เช่า เมื่อการผลิตชะลอตัวลง และลดต่ำลงเรื่อย ๆ ราคาสินค้าก็ลดลง ต้นทุนการผลิตสูงขึ้น รายได้ที่รับเข้ามาก็ไม่คุ้มกับค่าใช้จ่าย ผู้เช่าก็ต้องจ่ายเงินให้กับผู้ให้เช่าในราคาเท่าเดิม ไม่ได้ลดไปตามราคาสินค้า
5. ผู้รับค่าจ้างรายวัน
6. ผู้ที่มีรายได้ไม่แน่นอน ไม่สามารถกำหนดได้ว่าแต่ละวันจะมีรายได้เท่าไร บางวันมีรายได้น้อยบางวันมีรายได้มาก และบางวันไม่มีรายได้เลย เช่น ผู้ที่รับจ้างทั่ว ๆ ไปไม่มีหลักแหล่ง

การแก้ไขภาวะเงินฝืด

1.ใช้นโยบายทางการเงิน ได้แก่

1.1 ธนาคารกลางจะต้องพิมพ์ธนบัตรออก มาหมุนเวียนในตลาดให้สอดคล้องกับปริมาณของอุปสงค์และอุปทาน
1.2 ธนาคารจะต้องลดอัตราเงินสดสำรองตามกฏหมายแก่ธนาคารพาณิชย์ เพื่อที่จะทำให้มีการขยายเครดิตเพิ่มขึ้น
1.3 ประกาศควบคุมกำหนดราคาสินค้าอุปโภคบริโภค และสินค้าประเภทจำเป็น เช่น ข้าว เนื้อสัตว์น้ำมัน การขนส่ง ฯลฯ

2.ใช้นโยบายทางการคลัง ได้แก่

2.1 รัฐบาลจะต้องกระจายรายได้ไปสู่ชนบท ทำให้ประชาชนมีงานทำ มีรายได้เพิ่มขึ้น และเป็นการลงทุนให้ชนบท เช่น จัดให้มีโครงการสร้างงานในชนบท (กสช.) โดยเริ่มดำเนินงานมาตั้งแต่ปี พ.ศ.2523 ใช้งบประมาณปีละ 3,500 ล้านบาท ส่งผลให้ประชาชนในชนบทมีงานทำมากเพิ่มขึ้นมีแหล่งน้ำ มีถนน ทำให้เพิ่มผลผลิตตามไปด้วย
2.2 งบประมาณรายจ่ายรายจ่ายของรัฐบาลจะต้องจ่ายให้มีสภาพคล่องตัวยิ่งขึ้น จะทำให้เงินหมุนเวียนในตลาดรวดเร็วขึ้น เช่น รัฐบาลจ้างทำของ (ถนน เขื่อนกั้นน้ำ ชลประทาน ฯลฯ) สั่งซื้อสินค้า เมื่อธุรกิจได้รับเงินของทางรัฐบาล จะทำให้เกิดการสร้างงานต่อไป
2.3 ขอกู้เงินจากสถาบันการเงินในประเทศและต่างประเทศ ดอกเบี้ยถูกจ่ายคืนในระยะยาว มาลงทุนในโครงการที่ช่วยพัฒนาประเทศและสามารถให้ผลประโยชน์ตอบแทนได้
2.4 ประชาสัมพันธ์ให้นักลงทุนทั้งในประเทศ และต่างประเทศมาลงทุน โดยมีระยะปลอดภาษีและให้ความสะดวกทุกประการ
2.5 ลดอัตราภาษีของรายได้บุคคลของประชาชน ทำให้มีรายได้เพิ่มขึ้น เมื่อประชาชนมีรายได้เพิ่มมากขึ้น การใช้จ่ายก็มีมากขึ้นตามลำดับ
2.6 ใช้ทรัพยากรที่มีอยู่ นำขึ้นมาใช้ เช่น แก๊สธรรมชาติ เท่ากับเป็นการสร้างงาน ทำให้ระบบเศรษฐกิจขยายตัวทำให้ภาวะเงินฝืดเบาบางลง
2.7 ส่งเสริมผลผลิตทางด้านการเกษตร อุตสาหกรรมออกสู่ต่างประเทศ โดยใช้การตลาดเป็นแกนนำ ทำให้เงินตราไหลเข้าสู่ประเทศมากขึ้น

Popular Posts