MBA

We constantly research and disseminate knowledge to prepare graduate students to be leaders at the community, national and international levels.

Facebook is a social utility that connects people with friends and others who work, study and live around them. People use Facebook to keep up with friends

Custom Search

วันอังคารที่ 24 กันยายน พ.ศ. 2556

ผลตอบแทนจากการลงทุน

ผู้ลงทุนคาดว่าจะได้รับผลตอบแทนในรูปของกระแสเงินสด และมีความเสี่ยงในความไม่แน่นอนของกระแสเงินสดนั้น
ผลตอบแทน = เงินที่ได้รับจากการลงทุน - เงินลงทุน
อัตราผลตอบแทนจากการลงทุน = ผลตอบแทน / เงินลงทุน

ความเสี่ยง

ความเสี่ยงคือความน่าจะเป็นที่จะได้รับผลตอบแทนต่ำหรือขาดทุน

ความเสี่ยงจากการลงทุนมี 2 ประเภท

  • Stand-alone risk (ความเสี่ยงเฉพาะ) ความเสี่ยงของหลักทรัพย์ตัวเดียว
  • Portfolio risk ความเสี่ยงของกลุ่มหลักทรัพย์

ความเสี่ยงเฉพาะ

ความเสี่ยงเฉพาะ เกิดจากการลงทุนในสินทรัพย์เพียงตัวเดียว

การคำนวณอัตราผลตอบแทนที่คาดว่าจะได้รับ (k^)

k^ = ΣPiki
k^ = P1k1 + P2k2 + P3k3... + Pnkn
ตัวอย่าง
ความต้องการสินค้า ความน่าจะเป็น อัตราผลตอบแทนจากการลงทุน
บริษัท M บริษัท U
สูง 0.3 100% 20%
ปานกลาง 0.4 15% 15%
ต่ำ 0.3 (70%) 10%
K^M = 0.3(100%) + 0.4(15%) + 0.3(-70%) = 15%
K^U = 0.3(20%) + 0.4(15%) + 0.3(10%) = 15%

สรุป อัตราผลตอบแทนเท่ากัน ที่ 15% แต่การกระจายความน่าจะเป็นต่างกัน ความเสี่ยงจึงต่างกัน

พันธบัตรจ่ายดอกเบี้ยปีละ 2 ครั้ง

การใช้เครื่องคิดเลขคำนวณ ต้องปรับเปลี่ยนดังนี้
เวลากด Input

N (จำนวนปี) เปลี่ยนเป็นจำนวนงวด (Nx2)
I/Y (อัตราดอกเบี้ยต่อปี) เปลี่ยนเป็น ดอกเบี้ยต่องวด (N/2)
PMT (เงินรายปี) เปลี่ยนเป็น เงินรายงวด (PMT/2)
PV เท่าเดิม
FV เท่าเดิม
เมื่อได้คำตอบ

อย่าลืมว่า เป็นคำตอบเป็นรายงวด ถ้าตำตอบเป็น N หรือ I/Y หรือ PMT ต้องแปลงเป็นรายปีก่อน
I/Y เวลาจะตอบ คูณ 2
PMT เวลาจะตอบ คูณ 2
N เวลาจะตอบ หาร 2

การประเมินความเสี่ยงของพันธบัตร

  • ความเสี่ยงจากอัตราดอกเบี้ย (Interest Rate Risk)
  1. มีความสัมพันธ์กับมูลค่าพันธบัตร
  2. ผู้ถือพันธบัตรระยะยาวจะประสบความเสี่ยงนี้
  • ความเสี่ยงจากอัตราผลตอบแทนที่นำไปลงทุนต่อ (Reinestment Rate Risk)
  1. มีความสัมพันธ์กับรายได้ของผู้ถือพันธบัตร
  2. ผู้ถือพันธบัตรระยะสั้นจะได้รบความเสี่ยงนี้ เช่น พันธบัตรถูกไถ่ถอนแล้วต้องนำเงินไปลงทุนโดยได้รับดอกเบี้ยน้อยกว่าเดิม
  • ความเสี่ยงจากหนี้สูญ

  1. เป็นความเสี่ยงที่ผู้ถือพันธบัตรอาจไม่ได้รับดอกเบี้ยและเงินต้นคืน
  2. ความมั่นคงของบริษัทดูได้จากอันดับเครดิตของบริษัทจัดอันดับ 

การประเมินมูลค่าพันธบัตร

เราสามารถหามูลค่าในปัจจุบันของพันธบัตรได้จากการรวมมูลค่าในปัจจุบันของเงินปันผลทั้งหมดที่จะจ่ายในอนาคต และมูลค่าปัจจุบันเงินที่จะได้รับเมื่อขายคืนพันธบัตร
VB = Σ(INT/(1+kd)t) + M/(1+kd)N
มูลค่าปัจจุบัน (PV) ปีที่ 1 ปีที่ 2 ปีที่ 3 ปีที่ 4 ปีที่ 5 ... ขายคืนพันธบัตร
VB = INT/(1+kd)1 + INT/(1+kd)2 + INT/(1+kd)3 + INT/(1+kd)4 + INT/(1+kd)5 ... + M/(1+kd)N

วิธีกดเครื่องคิดเลข

FV = มูลค่าที่ตราไว้ในพันธบัตร หรือเงินที่จะได้เมื่อขายคืน
PMT = ดอกเบี้ยที่พันธบัตรกำหนด (ต้องแปลงอัตราดอกเบี้ยพันธบัตรที่เป็น % เป็นจำนวนเงิน)
PV = มูลค่าพันธบัตร หรือราคาตลาดของพันธบัตร (ติดลบเสมอ)
N = จำนวนปีที่ถือครองพันธบัตร
I/Y = อัตราผลตอบแทน ที่ได้จากการซื้อพันธบัตร หรือ อัตราดอกเบี้ยของตลาด (kd)

การเปลี่ยนแปลงมูลค่าพันธบัตรตามเวลา

ถ้า อัตราดอกเบี้ยพันธบัตร < kd ราคาตลาดจะต่ำกว่าราคาที่ระบุในพันธบัตร แต่จะค่อยๆเพิ่มขึ้นจนเท่ากับ M เมื่อถึงกำหนดไถ่ถอน
ถ้า อัตราดอกเบี้ยพันธบัตร > kd ราคาตลาดจะสูงกว่าราคาที่ระบุในพันธบัตร แต่จะค่อยๆลดลงจนเท่ากับ M เมื่อถึงกำหนดไถ่ถอน
ถ้า อัตราดอกเบี้ยพันธบัตร = kd ราคาพันธบัตรจะเท่ากับ M ไม่เปลี่ยนแปลง

อัตราผลตอบแทนจากพันธบัตร

Yield to Maturity (YTM)

YTM หมายถึงอัตราผลตอบแทนที่ได้รับ เมื่อถือพันธบัตรจนครบกำหนด วิธีคำนวณใช้วิธีคิดแบบธรรมดา หาค่า I/Y เป็น YTM

Yield to Call (YTC)

YTC หมายถึงอัตราผลตอบแทนที่ได้รับ เมื่อขายพันธบัตรก่อนครบกำหนดไถ่ถอน วิธีคำนวณใช้ให้เปลี่ยนแปลงค่าดังนี้
FV ใช้ราคาขายพันธบัตร กรณีไถ่ถอนก่อนกำหนด (ไม่ใช่มูลค่าที่ตราไว้ของพันธบัตร)
N ใช้จำนวนปีที่ถือครองพันธบัตร จนถึงวันที่ขาย (ไม่ใช่อายุเต็มของพันธบัตร)

Current Yield


อัตราผลตอบแทนของพันธบัตร = ดอกเบี้ยที่ได้รับ/ราคาตลาดปัจจุบัน

การปรับต้นทุนของเงินทุนให้เหมาะสมกับความเสี่ยง

การปรับต้นทุนของเงินทุนให้เหมาะสมกับความเสี่ยง

  • โครงการที่มีความเสี่ยงสูง ย่อมต้องการผลตอบแทนจากการลงทุนสูง จึงจะยอมรับ
  • จึงต้องปรับต้นทุนของเงินทุนให้สูงขึ้นเพื่อชดเชยความเสี่ยง
ตัวอย่าง บริษัท A มี 2 แผนกคือ L กับ H ถ้าแยกแต่ละแผนกเป็น 1 บริษัท
  • แผนก L ความเสี่ยงต่ำ โครงการมีผลตอบแทนที่คาดว่าจะได้รับ 9%
  • แผนก H ความเสี่ยงสูง โครงการมีผลตอบแทนที่คาดว่าจะได้รับ 11%

สองแผนกมีขนาดเท่ากัน ต้นทุนแต่ละแผนก ประเมินโดยใช้ WACC=10% ประเมินโดยใช้ต้นทุนแต่ละแผนก
L ความเสี่ยงต่ำ 7% ปฏิเสธโครงการแผนก L รับโครงการแผนก L
H คววามเสี่ยงสูง 13% รับโครงการแผนก H ปฏิเสธโครงการแผนก H
ต้นทุนถัวเฉลี่ย 10% ตัดสินใจผิดพลาด ตัดสินใจถูกต้อง 

แนวตวามคิดเรื่อง Real Options

การตัดสินใจหยุด/ยกเลิกโครงการ

เป็นการวางแผนเผื่อไว้ในกรณีที่ผลประกบการไม่ดี ก็จะตัดสินใจหยุดโครงการ
การคำนวณ NPV ของโครงการ ให้ใช้วิธีค่าเฉลี่ยถ่วงน้ำหนักตามความน่าจะเป็น
แล้วหา CV จาก NPV ที่ได้ และค่า σ (Standard Deviation) ที่โจทย์ให้มา
CV = σ/NPV
ผลที่ได้ CV ของโครงการที่มีการเตรียมหยุดการลงทุน จะต่ำกว่า หมายความว่า มีความเสี่ยงต่อ 1 หน่วยผลตอบแทนต่ำกว่านั่นเอง

การชะลอการลงทุน

เป็นการเลื่อนการลงทุน เพื่อให้ได้รับข้อมูลข่าวสารมากขึ้น และหลีกเลี่ยงภาวะเศรฐกิจไม่ดี

Growth Options

เป็นการคำนวณเพื่อหา NPV , IRR ของโครงการเดิม วิธีคิด

  1. หาจำนวนเงินลงทุนในปีสุดท้าย
  2. คำนวณ Cash Flow หา NPV จากเงินลงทุน และผลกำไรสุทธิ ของแต่ละปี 

Popular Posts