1. ความสัมพันธ์ทางการเงินระหว่างประเทศเกิดขึ้นเนื่องจากประเทศต่าง ๆ มีการติดต่อกันทางด้านการค้า การลงทุน การกู้ยืม และการช่วยเหลือกันทางการเงิน แต่ประเทศต่าง ๆ มีหน่วยของเงินตราต่างกัน จึงต้องมีการแลกเปลี่ยนเงินตราซึ่งกันและกัน เมื่อประเทศใดมีการเปลี่ยนแปลงอัตราแลกเปลี่ยนเงินตราก็จะมีผลกระทบต่อการค้า การลงทุน ตลอดจนการปรับตัวทางด้านเศรษฐกิจต่าง ๆ ของประเทศ
2. ปัญหาดุลการชำระเงินขาดดุลอาจเกิดได้ทั้งสาเหตุในระยะยาวและระยะสั้น ซึ่งในระยะยาวเกิดจากประสิทธิภาพการผลิต แบบแผนของสินค้าที่ทำการผลิต แบบแผนของอุปสงค์ อัตราการค้า แบบแผนของการค้า การเปลี่ยนแปลงการเคลื่อนย้ายเงินทุนระยะยาว ส่วนสาเหตุในระยะสั้นเกิดจาก ช่องว่างระหว่างเงินออมกับเงินลงทุน การเคลื่อนไหวของรายได้ตามวัฎจักรเศรษฐกิจ
3. การขาดดุลการชำระเงินจะมีผลกระทบต่อเศรษฐกิจของประเทศ คือ ถ้าประเทศที่ขาดดุลการชำระเงินก็จะมีผลกระทบต่อการชำระหนี้ระหว่างประเทศ ภาวะเงินฝืด การว่างงาน เศรษฐกิจขยายตัวต่ำ แต่ถ้าประเทศที่มีดุลการชำระเงินเกินดุลก็จะมีผลทำให้เกิด ภาวะเงินเฟ้อ ราคาสินค้าขาดเสถียรภาพ
4. การแก้ไขปัญหาดุลการชำระเงินขาดดุล อาจทำได้โดยใช้นโยบายต่าง ๆ ได้แก่นโยบายควบคุมการขยายตัวของเศรษฐกิจ นโยบายด้านการผลิตและการส่งออก นโยบายอัตราแลกเปลี่ยน และนโยบายการค้า ซึ่งการที่จะใช้นโยบายใดก็ขึ้นอยู่กับสาเหตุของปัญหา
ความสัมพันธ์ทางการเงินระหว่างประเทศ
1. ความสัมพันธ์ทางการเงินระหว่างประเทศเกิดขึ้นเนื่องจาก ประเทศต่าง ๆ ทำการค้าขายซึ่งกันและกัน มีการกู้ยืมและชำหนี้ระหว่างกัน ประเทศพัฒนาส่งเสริมให้เอกชนเข้าไปลงทุนและให้ความช่วยเหลือด้านการเงินแก่ประเทศกำลังพัฒฒนา
2. ประเทศต่าง ๆ ให้ความสนใจการเงินระหว่างประเทศก็เพราะ เมื่อมีการค้าระหว่างประเทศทำให้ประเทศต้องแลกเปลี่ยนเงินตราซึ่งกันและกัน การเปลี่ยนแปลงอัตราแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศย่อมมีผลกระทบต่อดุลการค้า ดุลการชำระเงิน ปริมาณสินค้าที่ผลิต การท่องเที่ยว และการลงทุน ตลอดจนผลกระทบต่อการปรับตัวทางเศรษฐกิจของประเทศต่าง ๆ
การวิเคราะห์สภาพแวดล้อมภายใน (Internal Environmental Analysis)
-
สภาพแวดล้อมภายนอกมีอิทธิพลต่อองค์การอย่างมากก็จริง
แต่ผู้บริหารต้องมีความเข้าใจและสามารถจัดการปัจจัยภายในองค์การด้วยการดาเนินงานจึงจะบรรลุเป้าหมาย
การวิเคร...
5 ปีที่ผ่านมา
0 ความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น