1. การเงินระหว่างประเทศเกิดจากประเทศต่าง ๆ ทำการติดต่อค้าขาย การกู้ยืม การลงทุน และการให้ความช่วยเหลือซึ่งกันและกัน ซึ่งกิจกรรมต่าง ๆ ดังกล่าวทำให้เกิดการไหลเข้าและไหลออกของเงิน ที่ประเทศต่าง ๆ ได้บันทึกไว้อยู่ในรูปของดุลการค้าและดุลการชำระเงิน
2. ประเทศที่มีเงินทุนไหลเข้าประเทศมากเกินไป หรือน้อยเกินไป ก่อให้เกิดการเสียเสถียรภาพในดุลการชำระเงิน ซึ่งจะต้องใช้นโยบายการเงิน การคลัง และนโยบายอื่น ๆ แก้ไขอย่างเร่งด่วน
3. เนื่องจากประเทศต่าง ๆ ใช้เงินต่างสกุลกัน การซื้อขายสินค้า การชำระหนี้กันระหว่างประเทศจึงจำเป็นต้องมีการแลกเปลี่ยนเงินตราซึ่งกันและกัน แหล่งที่อำนวยความสะดวกในการแลกเปลี่ยนเงินเรียกว่า ตลาดเงินตราต่างประเทศ
4. เงินตราที่แลกเปลี่ยนกันในตลาดเงินตราต่างประเทศนั้น จะมีการกำหนดค่าเสมอภาคไว้ แต่ก็อาจมีการเปลี่ยนแปลงได้ตามสถานการณ์ทางเศรษฐกิจของแต่ละประเทศ การเปลี่ยนแปลงนั้นมี 3 กรณี คือ การเพิ่มค่าเงิน การลดค่าเงิน และการลอยค่าเงิน
5. ในช่วงก่อนสงครามโลกครั้งที่ 1 ประเทศต่าง ๆ อยู่ในมาตรฐานทองคำ ปัญหาทางด้านการเงินระหว่างประเทศจึงมีน้อย ต่อมาภายหลังสงครามโลก ประเทศต่าง ๆ พากันออกจากมาตรฐานทองคำ และมีนโยบายการแลกเปลี่ยนเงินตราต่างกันไป อันมีผลทำให้ระบบการเงินระหว่างประเทศขาดเสถียรภาพ ประเทศต่าง ๆ จึงได้มีการจัดตั้งสถาบันการเงินระหว่างประเทศขึ้น
6. สถาบันการเงินระหว่างประเทศที่สำคัญและมีบทบาทมากในปัจจุบัน ได้แก่ กองทุนการเงินระหว่างประเทศ ธนาคารระหว่างประเทศเพื่อการบูรณะและพัฒนา บรรษัทการเงินระหว่างประเทศ และสมาคมพัฒนาการระหว่างประเทศ โดยสถาบันการเงินเหล่านี้จะมีบทบาทอย่างมากในด้านการให้กู้ยืมเพื่อบูรณะและพัฒนา บทบาททางด้านการควบคุมเสถียรภาพทางเศรษฐกิจ และบทบาทในด้านการให้คำแนะนำและช่วยเหลือประเทศต่าง ๆ ทางด้านวิชาการ
การวิเคราะห์สภาพแวดล้อมภายใน (Internal Environmental Analysis)
-
สภาพแวดล้อมภายนอกมีอิทธิพลต่อองค์การอย่างมากก็จริง
แต่ผู้บริหารต้องมีความเข้าใจและสามารถจัดการปัจจัยภายในองค์การด้วยการดาเนินงานจึงจะบรรลุเป้าหมาย
การวิเคร...
5 ปีที่ผ่านมา
0 ความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น