MBA

We constantly research and disseminate knowledge to prepare graduate students to be leaders at the community, national and international levels.

Facebook is a social utility that connects people with friends and others who work, study and live around them. People use Facebook to keep up with friends

Custom Search

วันพุธที่ 5 ตุลาคม พ.ศ. 2554

สภาพคล่องระหว่างประเทศ


1. ทุนสำรองระหว่างประเทศมีส่วนประกอบที่สำคัญ 3 ส่วน คือ
- ทองคำ
- เงินตราสกุลหลัก
- สิทธิถอนเงินพิเศษ
2. การที่ประเทศต่าง ๆ นิยมใช้เงินตราต่างประเทศบางสกุล เช่น เงินดอลล่าร์สหรัฐอเมริกา ปอนด์สเตอร์ลิง มาร์ก เยน เป็นทุนสำรองระหว่างประเทศเพราะ สามารถนำไปฝากที่สถาบันการเงินระหว่างประเทศและได้รับผลตอบแทนในรูปดอกเบี้ย ซึ่งจะทำให้ทุนสำรองมีจำนวนเพิ่มขึ้น แต่ก็อาจมีปัญหา ถ้าเงินตราที่เก็บสำรองไว้นั้นมีค่าลดลง การแก้ปัญหาความเสี่ยงในด้านนี้จึงพยายามเก็บเงินตราต่างประเทศหลาย ๆ สกุล

การแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศ
1. ตลาดเงินตราต่างประเทศ เป็นแหล่งอำนวยความสะดวกให้เกิดการซื้อหรือขายเงินตราสกุลต่างๆ หลายสกุลซึ่งในตลาดนี้ประกอบด้วยผู้ซื้อและผู้ขายที่ทำหน้าที่แลกเปลี่ยนหรือซื้อขายเงินตราสกุลหนึ่งไปยังอีกสกุลหนึ่ง
2. ตลาดเงินตราต่างประเทศทำหน้าที่หลายด้านด้วยกันคือ หน้าที่ในการโอนอำนาจซื้อ การให้สินเชื่อและช่วยลดความเสี่ยง
3. ตลาดเงินตราต่างประเทศที่เป็นแหล่งเงินกู้ที่สำคัญที่สุดในโลก คือ ตลาดยูโรดอลล่าร์ซึ่งมีศูนย์กลางอยู่หลายแห่ง เช่น ลอนดอน ปารีส แคนาดา สวิตเซอร์แลนด์ เป็นต้น ส่วนตลาดเงินตราต่างประเทศที่สำคัญในทวีกเอเชียได้แก่ ตลาดเอเชียนดอลล่าร์ ซึ่งมีศูนย์กลางอยู่ที่สิงค์โปร์ ญี่ปุ่นและฮ่องกง
4. การเปลี่ยนแปลงค่าของเงินมี 3 กรณีคือ การเพิ่มค่าเงิน การลดค่าเงินและการลอยค่าเงิน การเปลี่ยนแปลงดังกล่าวจะมีผลกระทบต่อราคาสินค้าออกและสินค้าเข้ารวมทั้งมีผลต่อดุลการชำระเงินระหว่างประเทศ

ปัญหาดุลการชำระเงินและผลกระทบต่อระบบเศรษฐกิจ


1. สาเหตุของการขาดดุลยภาพของดุลการชำระเงินในระยะยาวมีดังนี้คือ
- การสูญเสียทุน
- แบบแผนของสินค้าที่ทำการผลิต
- แบบแผนของอุปสงค์
- อัตราการค้า
- แบบแผนของการค้า
- การเปลี่ยนแปลงในการเคลื่อนย้ายเงินทุนระยะยาว
2. จะมีผลต่อดุลการชำระเงิน เพราะถ้าประชาชนในประเทศหันมานิยมใช้สินค้าที่ผลิตได้ในประเทศไทย และซื้อสินค้าจากต่างประเทศน้อยลง ในกรณีนี้เงินจะไหลออกไปต่างประเทศน้อยลง และถ้าประเทศสามารถที่จะส่งสินค้าไปจำหน่ายในต่างประเทศได้เพิ่มขึ้นแล้ว ในที่สุดประเทศไทยก็จะมีดุลการชำระเงินเกินดุลเพิ่มขึ้นก็เป็นได้

การแก้ไขปัญหาดุลการชะระเงินขาดดุล
1. การใช้นโยบายการคลังแก้ปัญหาการขาดดุลการชำระเงิน ทำได้โดยการลดค่าใช้จ่ายของรัฐบาลเอง ซึ่งจะมีผลทำให้ปริมาณเงินในท้องตลาดลดลง อุปสงค์รวมของประชาชนจะลดลงด้วย เมื่ออุปสงค์รวมลดลงเนื่องจากผู้บริโภคมีรายได้น้อยลง ประชาชนจะซื้อสินค้าจากต่างประเทศลดลง เดินทางท่องเที่ยวต่างประเทศน้อยลง ปัญหาดุลการชำระเงินขาดดุลก็จะผ่อนคลายลงไปได้
2. การใช้นโยบายทางด้านราคาแก้ปัญหาการขาดดุลการชำระเงิน ทำได้โดยการพยายามลดราคาสินค้าที่ส่งไปจำหน่ายต่างประเทศ ซึ่งจะมีผลทำให้ประเทศส่งสินค้าไปจำหน่ายต่างประเทศได้มากขึ้น รายรับที่เป็นเงินตราต่างประเทศจะเพิ่มสูงขึ้น ปัญหาการขาดดุลการชำระเงินจะลดลง

การเงินระหว่างประเทศ


1. ความสัมพันธ์ทางการเงินระหว่างประเทศเกิดขึ้นเนื่องจากประเทศต่าง ๆ มีการติดต่อกันทางด้านการค้า การลงทุน การกู้ยืม และการช่วยเหลือกันทางการเงิน แต่ประเทศต่าง ๆ มีหน่วยของเงินตราต่างกัน จึงต้องมีการแลกเปลี่ยนเงินตราซึ่งกันและกัน เมื่อประเทศใดมีการเปลี่ยนแปลงอัตราแลกเปลี่ยนเงินตราก็จะมีผลกระทบต่อการค้า การลงทุน ตลอดจนการปรับตัวทางด้านเศรษฐกิจต่าง ๆ ของประเทศ
2. ปัญหาดุลการชำระเงินขาดดุลอาจเกิดได้ทั้งสาเหตุในระยะยาวและระยะสั้น ซึ่งในระยะยาวเกิดจากประสิทธิภาพการผลิต แบบแผนของสินค้าที่ทำการผลิต แบบแผนของอุปสงค์ อัตราการค้า แบบแผนของการค้า การเปลี่ยนแปลงการเคลื่อนย้ายเงินทุนระยะยาว ส่วนสาเหตุในระยะสั้นเกิดจาก ช่องว่างระหว่างเงินออมกับเงินลงทุน การเคลื่อนไหวของรายได้ตามวัฎจักรเศรษฐกิจ
3. การขาดดุลการชำระเงินจะมีผลกระทบต่อเศรษฐกิจของประเทศ คือ ถ้าประเทศที่ขาดดุลการชำระเงินก็จะมีผลกระทบต่อการชำระหนี้ระหว่างประเทศ ภาวะเงินฝืด การว่างงาน เศรษฐกิจขยายตัวต่ำ แต่ถ้าประเทศที่มีดุลการชำระเงินเกินดุลก็จะมีผลทำให้เกิด ภาวะเงินเฟ้อ ราคาสินค้าขาดเสถียรภาพ
4. การแก้ไขปัญหาดุลการชำระเงินขาดดุล อาจทำได้โดยใช้นโยบายต่าง ๆ ได้แก่นโยบายควบคุมการขยายตัวของเศรษฐกิจ นโยบายด้านการผลิตและการส่งออก นโยบายอัตราแลกเปลี่ยน และนโยบายการค้า ซึ่งการที่จะใช้นโยบายใดก็ขึ้นอยู่กับสาเหตุของปัญหา

ความสัมพันธ์ทางการเงินระหว่างประเทศ
1. ความสัมพันธ์ทางการเงินระหว่างประเทศเกิดขึ้นเนื่องจาก ประเทศต่าง ๆ ทำการค้าขายซึ่งกันและกัน มีการกู้ยืมและชำหนี้ระหว่างกัน ประเทศพัฒนาส่งเสริมให้เอกชนเข้าไปลงทุนและให้ความช่วยเหลือด้านการเงินแก่ประเทศกำลังพัฒฒนา
2. ประเทศต่าง ๆ ให้ความสนใจการเงินระหว่างประเทศก็เพราะ เมื่อมีการค้าระหว่างประเทศทำให้ประเทศต้องแลกเปลี่ยนเงินตราซึ่งกันและกัน การเปลี่ยนแปลงอัตราแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศย่อมมีผลกระทบต่อดุลการค้า ดุลการชำระเงิน ปริมาณสินค้าที่ผลิต การท่องเที่ยว และการลงทุน ตลอดจนผลกระทบต่อการปรับตัวทางเศรษฐกิจของประเทศต่าง ๆ

เงินและความสัมพันธ์ทางการเงินระหว่างประเทศ


1. การเงินระหว่างประเทศเกิดจากประเทศต่าง ๆ ทำการติดต่อค้าขาย การกู้ยืม การลงทุน และการให้ความช่วยเหลือซึ่งกันและกัน ซึ่งกิจกรรมต่าง ๆ ดังกล่าวทำให้เกิดการไหลเข้าและไหลออกของเงิน ที่ประเทศต่าง ๆ ได้บันทึกไว้อยู่ในรูปของดุลการค้าและดุลการชำระเงิน
2. ประเทศที่มีเงินทุนไหลเข้าประเทศมากเกินไป หรือน้อยเกินไป ก่อให้เกิดการเสียเสถียรภาพในดุลการชำระเงิน ซึ่งจะต้องใช้นโยบายการเงิน การคลัง และนโยบายอื่น ๆ แก้ไขอย่างเร่งด่วน
3. เนื่องจากประเทศต่าง ๆ ใช้เงินต่างสกุลกัน การซื้อขายสินค้า การชำระหนี้กันระหว่างประเทศจึงจำเป็นต้องมีการแลกเปลี่ยนเงินตราซึ่งกันและกัน แหล่งที่อำนวยความสะดวกในการแลกเปลี่ยนเงินเรียกว่า ตลาดเงินตราต่างประเทศ
4. เงินตราที่แลกเปลี่ยนกันในตลาดเงินตราต่างประเทศนั้น จะมีการกำหนดค่าเสมอภาคไว้ แต่ก็อาจมีการเปลี่ยนแปลงได้ตามสถานการณ์ทางเศรษฐกิจของแต่ละประเทศ การเปลี่ยนแปลงนั้นมี 3 กรณี คือ การเพิ่มค่าเงิน การลดค่าเงิน และการลอยค่าเงิน
5. ในช่วงก่อนสงครามโลกครั้งที่ 1 ประเทศต่าง ๆ อยู่ในมาตรฐานทองคำ ปัญหาทางด้านการเงินระหว่างประเทศจึงมีน้อย ต่อมาภายหลังสงครามโลก ประเทศต่าง ๆ พากันออกจากมาตรฐานทองคำ และมีนโยบายการแลกเปลี่ยนเงินตราต่างกันไป อันมีผลทำให้ระบบการเงินระหว่างประเทศขาดเสถียรภาพ ประเทศต่าง ๆ จึงได้มีการจัดตั้งสถาบันการเงินระหว่างประเทศขึ้น
6. สถาบันการเงินระหว่างประเทศที่สำคัญและมีบทบาทมากในปัจจุบัน ได้แก่ กองทุนการเงินระหว่างประเทศ ธนาคารระหว่างประเทศเพื่อการบูรณะและพัฒนา บรรษัทการเงินระหว่างประเทศ และสมาคมพัฒนาการระหว่างประเทศ โดยสถาบันการเงินเหล่านี้จะมีบทบาทอย่างมากในด้านการให้กู้ยืมเพื่อบูรณะและพัฒนา บทบาททางด้านการควบคุมเสถียรภาพทางเศรษฐกิจ และบทบาทในด้านการให้คำแนะนำและช่วยเหลือประเทศต่าง ๆ ทางด้านวิชาการ

การกำหนดกลยุทธ์ระดับนานาชาติ


กลยุทธ์ระดับนานาชาติ (international level strategy) จะเน้นการสร้างความได้เปรียบทางการแข่งขัน (competitive advantage) กับการสร้างความสัมพันธ์กับรัฐบาล (government relation) ต่างประเทศ และรวมเอากลยุทธ์ระดับธุรกิจ ระดับดำเนินงาน และระดับบริษัทด้วย องค์การนั้นจึงจะสามารถทำธุรกิจนานาชาติได้ การสร้างความได้เปรียบทางการแข่งขันตามที่กล่าวมาแล้วคือ การผลิตและขายสินค้าหรือบริการที่แตกต่าง (differentiation) ความเป็นผู้นำทางด้านต้นทุน (cost leadership) และการตอบสนองได้รวดเร็ว (quick response) ส่วนการสร้างความสัมพันธ์อันดีกับรัฐบาลต่างประเทศนั้นถือว่าเป็นเรื่องสำคัญที่จะก่อให้เกิดผลประโยชน์ในการแข่งขัน ซึ่งบริษัทอาจเลือกการใช้วิธีการสร้างความสัมพันธ์กับรัฐบาลต่างประเทศได้ 5 วิธีคือ
1. การปฏิบัติตามกฎเกณฑ์ที่มีอยู่แล้ว (regulator) ของประเทศที่จะเข้าไปดำเนินธุรกิจ หมายความว่า บริษัทจะต้องศึกษากฎหมายข้อบังคับเกี่ยวกับการดำเนินธุรกิจของบริษัทต่างประเทศที่รัฐบาลของประเทศนั้นกำหนดไว้แล้วเหมือนกับบริษัทอื่นๆ ที่ดำเนินงานอยู่
2. การเจรจาต่อรอง (co negotiated) กับรัฐบาลของประเทศที่จะเข้าไปขายสินค้าให้ออกกฎเกณฑ์ข้อบังคับใหม่สำหรับใช้กับบริษัทนั้นให้แตกต่งไปจากบริษัทอื่นๆ ด้วยเหตุผลว่ากฎเกณฑ์เดิมที่มีอยู่ขัดกับผลประโยชน์ที่ควรจะได้ จึงควรมีกฎเกณฑ์โดยเฉพาะสำหรับบริษัทจากประเทศนั้น
3. การเป็นผู้ขายสินค้าหรือวัตถุดิบ (supplier) วิธีนี้บริษัทที่เข้าไปทำธุรกิจในต่างประเทศมักจะเป็นบริษัทของรัฐบาล หรืออาจเป็นของเอกชนก็ได้ซึ่งเป็นผู้ผลิตวัตถุดิบหรือสินค้าที่สำคัญ ที่ต่างประเทศต้องใช้สินค้านั้น การเข้าไปดำเนินธุรกิจจึงเจรจากับรัฐบาลของประเทศนั้นขอเป็นผู้ขายให้กับรัฐบาลหรือบริษัทโดยตรง
4. การเป็นลูกค้า (customer) วิธีนี้ทำในฐานะตรงกันข้ามกับการเป็นผู้ขายกล่าวคือ รัฐบาลบางประเทศอาจเป็นผู้ขายที่สำคัญที่ขายสินค้าบางอย่างให้กับประเทศที่เข้าไปดำเนินธุรกิจนั้น บริษัทที่เข้าไปทำธุรกิจในประเทศนั้นจึงเป็นลูกค้าที่สำคัญ
5. การเป็นคู่แข่งขัน (competitor) บริษัทต่างประเทศที่เข้าไปดำเนินงานในประเทศอื่นอาจทำให้ฐานะคู่แข่งขันกับบริษัทในประเทศนั้นี่เป็นของทั้งเอกชนหรือรัฐบาลก็ได้ เช่น บริษัทสายการบินของต่างประเทศอาจกลายเป็นคู่แข่งขันกับสายการบินในประเทศที่เป็นของรัฐบาล

การกำหนดกลยุทธ์ระดับธุรกิจ (Business Level Strategy)


กลยุทธ์ระดับนี้ก็คือ องค์การจะแข่งขันอย่างไร และจะใช้อะไรในการแข่งขัน หรือสร้างคุณค่าอะไรที่ใช้เพื่อการแข่งขัน ตามปกติการแข่งขันจะต้องยึดหลักอย่างหนึ่งไว้ และหลักนั้นจะต้องสร้างคุณค่ามากกว่าคู่แข่งขัน หลักในการแข่งขันแบ่งออกเป็น 5 องค์ประกอบคือ ผู้ร่วมแข่งขัน คุณค่าที่เพิ่มขึ้น กฎการแข่งขัน กลวิธี และขอบเขตการแข่งขัน
1. ผู้ร่วมแข่งขัน (player) หมายถึง ผู้ดำเนินธุรกิจทุกรายในธุรกิจหรืออุตสาหกรรมนั้น ได้แก่ องค์การเราเอง ผู้ขายวัตถุดิบ ผู้ผลิตสินค้าที่ใช้แทนกัน คู่แข่งขันปัจจุบัน คู่แข่งขันรายใหม่และผู้สนับสนุน หากแยกจะได้เป็น 2 ฝ่าย ผู้แข่งขันโดยตรง (direct competitor) กับผู้สนับสนุน (complementation) ซึ่งคือผู้ที่ผลิตสินค้าและบริการที่ส่งเสริมสินค้าและบริการขององค์การเรา เช่น คอมพิวเตอร์ ฮาร์ดแวร์ และซอฟท์แวร์ การประกันภัยรถยนต์หรือทรัพย์สินคางๆ เหล่านี้เป็นผู้สนับสนุนทั้งสิ้น
2. คุณค่าที่เพิ่มขึ้น (added value) อันเกิดจากผลรวมของการแข่งขัน หมายถึง ผลรวมสุทธิที่เพิ่มขึ้นหรือลดลงของทั้งอุตสาหกรรมนั้น โดยปกติองค์การธุรกิจแต่ละแห่งจะพยายามสร้างคุณค่าให้เกิดขึ้น หรือหาให้ได้ว่าลูกค้าต้องการคุณค่าอะไร ธุรกิจก็จะสร้งคุณค่านั้นขึ้นมาโดยการเสอนขายสินค้าและบริการที่สร้างคุณค่านั้น ถ้าอยากจะรู้ว่าธุรกิจได้สร้างคุณค่าเพิ่มขึ้นเท่าไรในตลาดก็ให้รวมคุณค่าของผู้ร่วมแข่งขันทั้งหมด นั้นคือ ประเมินคุณค่ารวมกันแล้ว หักด้วยคุณค่าที่จะลดลงจนทำให้ธุรกิจไม่อยู่ในฐานะที่จะแข่งขันในตลาดได้ เช่น โรงงานที่ผลิตสินค้าจะต้องซื้อวัตถุดิบมาจากผู้ขายวัตถุดิบ หากผู้ขายวัตถุดิบนั้นคิดราคาขายมากกว่าคุณค่าที่โรงงานสร้างขึ้นมา โรงงานก็จะหันไปซื้อวัตถุดิบรายอื่นแทน
3. กฎการแข่งขัน (rule) การแข่งขันจะถูกกำกับโดยกฎการแข่งขันที่เขียนขึ้นมาหรือไม่เขียนขึ้นมา กฎที่เขียนขึ้นมาก็ได้แก่ กฎหมายข้อกำหนดของรัฐ นโยบาย และสัญญาที่ทำขึ้นระหว่างคู่สัญญาซึ่งถือว่าสำคัญกว่ากฎที่ไม่ได้เขียน แม้จะมองไม่เห็นชัดเจน ส่วนกฎที่ไม่ได้เขียนก็ได้แก่ จารีต ประเพณี วัฒนธรรม พฤติกรรมของคน พิธีการ แนวปฏิบัติในสังคมซึ่งมักจะเปลี่ยนแปลงบ่อยๆ ไม่ว่าจะเป็นกฎเกณฑ์การแข่งขันที่เขียนขึ้นมาหรือไม่ได้เขียนขึ้น คู่แข่งขันมักจะหาวิธีการเปลี่ยนแปลงเพื่อสร้างความได้เปรียบในการแข่งขัน กฎการแข่งขันจึงเป็นโครงสร้างและระบบที่ทำให้เกิดการแข่งขันขึ้นซึ่งมักจะเปลี่ยนแปลงตลอดเวลาด้วยการที่ต่างฝ่ายต่างหาวิธีทำให้เกิดความได้เปรียบซึ่งกันและกัน
4. กลวิธี (tactic) หมายถึง การกระทำใดๆ ที่ผู้ร่วมแข่งขันใช้ในการแข่งขันเพื่อคุกคามป้องกันคู่แข่งขันอื่นๆ และสร้างความได้เปรียบให้กับตัวเอง แยกออกเป็น 4 วิธีคือ
4.1 การทำล่วงหน้า (preemption) เป็นกลวิธีที่ริเริ่มและนำมาใช้ก่อนคู่แข่งขันรายอื่นหรือการเข้าสู่ตลาดเป็นรายแรก เพื่อให้ลูกค้ารู้จักและสร้างอำนาจแข่งขันหรือทำกำไรให้มากกว่าคนอื่น
4.2 การยับยั้ง (deterrence) หมายถึง ทำให้คู่แข่งขันรายอื่นไม่กล้าเข้ามาแข่งขันด้วย อันเป็นภัยคุกคามไม่ให้ผู้อื่นทำตามด้วยการสร้างข้อจำกัด ทำให้คู่แข่งขันเห็นว่ามีกำไรน้อย ไม่อยากมาแข่งขันด้วย
4.3 การโจมตี (attack) เป็นกลวิธีต่อสู้โดยตรงกับคู่แข่งขันเพื่อรักษาสถานภาพของตัวเองให้เหนือกว่าคู่แข่งขันในเรื่องราคา ภาพลักษณ์ การจัดจำหน่าย สร้างลูกค้า และการขยายส่วนตลาด การโจมตีมักจะเสียค่าใช้จ่ายสูง และอาจทำให้ผู้ร่วมแข่งขันทั้งหมดเสียหายได้
4.4 การตอบโต้ (response) เป็นกลยุทธ์ในการป้องกันตัว อาจทำได้หลายวิธีตั้งแต่การต่อสู้โดยตรงกับคู่แข่งขันที่มาโจมตีก่อน การดำเนินวิธีการตามแบบคู่แข่งขันหรือเลียนแบบอย่างใกล้ชิด การถอนตัวด้วยการหาวิธีการอื่นมาตอบโต้หรือซุ่มเงียบด้วยการหาวิธีไม่ให้คู่แข่งขันรู้ และรวมทั้งการเลิกกิจการหรือออกจากตลาดก็ได้
5. ขอบเขต (scope) หมายถึง การกำหนดขอบเขตของการแข่งขันให้อยู่ในระดับใดระดับหนึ่ง ขอบเขตไม่กำหนดอย่างเป็นทางการ แต่ผู้เข้าร่วมแข่งขันพอจะรู้จากวิธีการดำเนินงาน เช่น กำหนดขอบเขตการแข่งขันเฉพาะตลาดอุตสาหกรรมก็จะรู้ว่าไม่เข้าไปแข่งขันในตลาดผู้บริโภค เป็นต้น การกำหนดขอบเขตทำให้รู้ว่าการดำเนินงานจะเน้นเรื่องอะไรเป็นสำคัญหรือระดับการดำเนินการอยู่ที่ไหน การกำหนดขอบเขตทำได้ 3 วิธีคือ
5.1 ตามหน้าที่ (function) หมายถึง ขอบเขตที่ระบุว่า องค์การนั้นทำอะไรในแง่ของ supply ก็รู้ว่าองค์การนั้นขายสินค้าหรือให้บริการอะไร ในแง่ของ demand ก็รู้ว่าลูกค้าต้องการอะไรจากองค์การนั้น
5.2 ตามเทคโนโลยี (technology) เป็นขอบเขตระบุว่า องค์การนั้นทำอย่างไรในแง่ของ supply ก็ทำให้รู้ขอบเขตว่า องค์การนั้นผลิตสินค้าอย่างไร ขายสินค้าอย่างไร และให้บริการอย่างไร ในแง่ของ demand ก็รู้ว่าองค์การนั้นทำหน้าที่อย่างไรในการผลิตสินค้าและให้บริการให้ตรงกับความต้องการของลูกค้า
5.3 ตามลูกค้า (customer) เป็นขอบเขตประเภทลูกค้าในแง่ของ supply ทำให้รู้เป้าหมายทางการตลาดของการผลิตสินค้าและการให้บริการ ในแง่ของ demand ก็รู้ว่าลูกค้าเป็นใครที่ต้องการสินค้าและบริการขององค์การนั้น

การกำหนดกลยุทธ์ระดับบริษัท


กลยุทธ์ระดับบริษัท (corporate level strategy) คือการสร้างคุณค่าให้กับเจ้าของกิจการหรือผู้ถือหุ้น ผู้บริหารจะต้องสร้างผลกำไรและก่อให้เกิดความมั่นคงให้กับธุรกิจที่ตัวเองดำเนินงาน วิธีที่ทำให้เกิดความมั่นคงและสร้างผลกำไรให้มากก็คือ การกระจาย (diversification) ไปยังธุรกิจต่างๆ ให้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้ บทบาทของ diversification จึงเป็นกลยุทธ์ระดับบริษัท ตัวอย่างก็คือ บริษัท จอห์นสันแอนด์จอห์นสัน ที่กระจายการดำเนินงานไปยังธุรกิจที่แตกต่างเป็นร้อยๆ บริษัท
การกระจายธุรกิจจึงเป็นการสร้างขนาดของการดำเนินงานให้ใหญ่ขึ้น ให้มั่นคงขึ้น การกระจายธุรกิจแสดงถึงความเจริญเติบโตขององค์การโดยไม่คำนึงว่า การกระจายนั้นจะเกี่ยวกับธุรกิจเดิมหรือไม่ก็ตาม เพราะถือว่าผู้บริหารที่ดีสามารถบริหารธุรกิจใดๆ ก็ได้ ในระยะแรกของการกระจายธุรกิจเพราะบริษัทมีเงินสดเหลืออยู่มากจึงนำเอาส่วนเกิดนของเงินสดที่มีเหลือไปลงทุนที่อื่นในลักษณะการบริหารเงิน แต่นานๆ เข้าก็เข้าไปดำเนินกิจการที่ไปลงทุนนั้นเสียเอง จึงไม่แปลกที่บริษัทขายเครื่องดื่มอย่าง โคคา โคล่า ไปซื้อกิจการบริษัทผลิตภาพยนตร์อย่างบริษัท โคลัมเบีย เป็นต้น
การกระจายธุรกิจทำได้ 3 รูปแบบคือ กระจายในแนวนอน กระจายในแนวดิ่ง และกระจายระดับโลก
1. กระจายในแนวนอน (Horizontal Diversification) ได้แก่ การดำเนินธุรกิจมากกว่า 1 แห่ง แต่ยังคงใช้ความรู้ความเชี่ยวชาญเดิม หรือยังคงอยู่ในหน้าที่เดิมที่กำลังทำอยู่ แม้จะเป็นตลาดคนละตลาด เช่นเดิมทำธุรกิจขายปลีกอาหารแล้วขยายไปทำธุรกิจขายปลีกเครื่องเพชรพลอยเพิ่มขึ้น แม้ว่าสินค้าที่ขายจะต่างกันและคนละตลาดกัน แต่ยังคงใช้ความรู้ความเชี่ยวชาญเดิมคือการขายปลีก การกระจายในแนวนอนเป็นการเพิ่มทางปริมาณงานมากขึ้น ส่วนความรู้ ความเชี่ยวชาญยังคงเหมือนเดิม การกระจายอาจเป็นธุรกิจในสายเดียวกันหรือสายงานอื่นที่ไม่เกี่ยวกับธุรกิจเดิมก็ได้
2. กระจายในแนวดิ่ง (Vertical Diversification) ได้แก่ การทำธุรกิจที่มากกว่า 1 ขั้นของกระบวนการผลิตในการเปลี่ยนแปลงวัตถุดิบไปเป็นสินค้าสำเร็จรูป โดยใช้ความรู้ความเชี่ยวชาญที่แตกต่างไปจากความรู้ความเชี่ยวชาญเดิมที่เคยใช้อยู่เช่นเดิม ทำธุรกิจประมงทะเลโดยใช้กองเรือจับปลาทะเลแล้วขยายงานไปทำธุรกิจขายส่งปลา การทำธุรกิจ 2 อย่าง แม้จะเป็นตลาดปลาซึ่งเป็นตลาดเดียวกันแต่ใช้ความรู้ความเชี่ยวชาญต่างกันคือ การจับปลาและเดินเรือ กับการขายส่ง เป็นการทำธุรกิจมากกว่า 1 ขั้นการผลิตคือ เดิมเป็นการดำเนินงานไปในทางขึ้น (upstream operation) คือจับปลาซึ่งอยู่ใกล้วัตถุดิบขยายไปเป็นการดำเนินงานไปในทางลง (downstream operation) คือ การขายส่งซึ่งอยู่ใกล้ไปทางผู้บริโภค การกระจายในแนวดิ่งเป็นการเพิ่มคุณภาพคือเพิ่มความรู้ความเชี่ยวชาญในการดำเนินงาน
การกระจายในแรวดิ่งมีผลดีในแง่ลดค่าใช้จ่ยในการขนส่งสินค้าระหว่างการผลิตและการขาย คือจากวัตถุดิบมาใช้ในการผลิตแล้วนำไปขายผ่านตัวแทนไม่ต้องเสียค่าขนส่งมาก นอกจากนั้น จะทำให้เกิดการประสานงานกันระหว่างขั้นตอนในการดำเนินงานต่างๆ ตั้งแต่การใช้วัตถุดิบ การผลิต จนถึงการขาย แต่ก็มีผลเสียในแง่ของการผสมผสานความรู้ความเชี่ยวชาญต่างๆ เข้าด้วยกันคือ ความเชี่ยวชาญระหว่าง upstream กับ downstream มักจะมีวัฒนธรรมองค์การที่แตกต่างกัน
3. กระจายระดับโลก (Global Diversification) ได้แก่ การทำธุรกิจให้สามารถจำหน่ายสินค้าหรือให้บริการได้ทั่วโลก ซึ่งแสดงให้เห็นว่า บริษัทมีขีดความสามารถทั้งการขายแนวนอนและแนวดิ่ง และต้อใช้กลยุทธ์ทั้งระดับดำเนินงาน ระดับบริษัท และระดับธุรกิจ

Popular Posts