Custom Search

วันอังคารที่ 19 เมษายน พ.ศ. 2554

ฐานเงินU (Monetary Base)

ฐานเงินU (Monetary Base)ประกอบด้วยธนบัตรและเหรียญกษาปณ์ที่หมุนเวียนอยู่ในมือประชาชน และในมือธนาคารพาณิชย์ รวมทั้งเงินฝาก
สถาบันการเงินที่ฝากไว้ที่ธนาคารแห่งประเทศไทย ซึ่งในทางเศรษฐศาสตร์ฐานเงินจะสามารถสร้างปริมาณเงินหมุนเวียนได้
จำนวนกี่เท่าขึ้นกับขนาดของตัวทวีฐานเงิน ในปัจจุบันฐานเงินเพิ่มขึ้น 1 บาท สามารถสร้างปริมาณเงิน M1 ได้ประมาณ 0.9
เท่า สร้างปริมาณเงิน M2 ได้ประมาณ 10 เท่า ปริมาณเงิน M2a ได้ 11 เท่า และปริมาณเงิน M3 ได้ประมาณ 12 เท่าทุนสำรองเงินตราU (Currency reserves)
คือ สินทรัพย์ที่ใช้หนุนหลังธนบัตรออกใช้ ซึ่งจะต้องมีมูลค่าเท่ากับธนบัตรออกใช้ 100 % ตามหลักการที่ว่า มูลค่าของธน
ออกใช้จะต้องเท่ากับมูลค่าของ สินทรัพย์ทุนสำรองเงินตรา เพื่อสร้างความมั่นใจให้กับประชาชนว่า ธนบัตรได้รับการประกันรา
ค่าตามที่ระบุไว้บนหน้าธนบัตรนั้น สินทรัพย์ที่ประกอบขึ้นเป็นทุนสำรองเงินตรา ได้แก่
1.ทองคำ
2. เงินตราต่างประเทศอันเป็นเงินตราที่พึงเปลี่ยนได้ หรือเงินตราต่างประเทศอื่นใดที่กำหนดโดยกฎกระทรวง ทั้งนี้ ต้องเป็นรูป
ในธนาคารนอกราชอาณาจักรหรือในสถาบันการเงินระหว่างประเทศ
3.หลักทรัพย์ต่างประเทศที่จะมีการชำระหนี้เป็นเงินตราต่างประเทศที่ระบุไว้ใน (2)
4. ทองคำ สินทรัพย์ต่างประเทศ และสิทธิพิเศษถอนเงิน ทั้งนี้ที่นำส่งสมทบกองทุนการเงิน
5.ใบสำคัญสิทธิซื้อส่วนสำรอง
6. ใบสำคัญสิทธิพิเศษถอนเงิน
7. หลักทรัพย์รัฐบาลไทยที่จะมีการชำระหนี้เป็นเงินตราต่างประเทศที่ระบุไว้ในข้อ 2 หรือเป็นบาท
8. ตั๋วเงินในประเทศที่ธนาคารแห่งประเทศไทยพึงซื้อหรือรับช่วงซื้อลดได้ แต่ต้องมีค่ารวมกันไม่เกินร้อยละยี่สิบของจำนวนธนบ
ใช้
สินเชื่อที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ (NPL) ตามนิยามใหม่
หมายถึง เงินให้สินเชื่อจัดชั้นต่ำกว่ามาตราฐาน สงสัย สงสัยจะสูญ และสูญ ตามหลักเกณฑ์การจัดชั้นในประกาศ
ธนาคารแห่ง ประเทศไทยเรื่อง สินทรัพย์ที่ไม่มีราคาหรือเรียกคืนไม่ได้ และสินทรัพย์ที่สงสัยว่าจะไม่มีราคาหรือเรียกคืนไม่ได้
ของธนาคารพาณิชย์ ลงวันที่ 18 กุมภาพันธ์ 2545 หรือที่จะแก้ไขเพิ่มเติม รวมถึงลูกหนี้จัดชั้นสงสัยจะสูญที่ธนาคารพาณิชย์
กันสำรองครบร้อยละ 100 และตัดออกจากบัญชีแล้วแต่ยังไม่ได้บันทึกกลับเข้ามาในบัญชี
Uอัตราดอกเบี้ยมาตรฐานU (Bank Rate)
เป็นอัตราดอกเบี้ยที่ธนาคารกลางเรียกเก็บจากสถาบันการเงินที่ให้กู้ยืมในวงเงินที่กำหนดจากฐานเงินฝากของสถาบัน
การเงินแต่ละแห่ง โดยการให้กู้ยืมนี้ถือว่าเป็นแหล่งกู้ยืมแหล่งสุดท้าย (lender of last resort) เมื่อมีความจำเป็นภายใน
ระยะเวลาสั้นๆอย่างมากไม่เกิน 7 วัน ทั้งนี้ เพื่อรองรับความผันผวนของความต้องการใช้เงินในตลาดเงินเป็นสำคัญ หรือ จาก
การเบิกถอนเงินฝากของประชาชนในภาวะผิดปกติโดยจะ ช่วยสร้างความเชื่อมั่นให้กับระบบการชำระเงิน เป็นต้น
หลักประกันที่ใช้ในการกู้ยืมเงินนี้ส่วนมากจะเป็นหลักทรัพย์รัฐบาล อย่างไรก็ตาม การปรับปรุงหรือการเปลี่ยนแปลงโครงสร้าง
อัตราดอกเบี้ยมาตรฐานในแต่ละครั้ง มีวัตถุประสงค์เพื่อให้การดำเนินนโยบายการเงินมีประสิทธิภาพมากขึ้น อย่างไรก็ตาม
ธนาคารแห่งประเทศไทยได้ประกาศยกเลิกอัตราดอกเบี้ยมาตรฐาน เมื่อวันที่ 25 กันยายน 2544 และให้ใช้อัตรา
ดอกเบี้ยหน้าต่างสภาพคล่องสิ้นวัน หรือ End-of day Liquidity Rate แทน โดยมีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม
2544 เป็นต้นไป
อนึ่งอัคราดอกเบี้ยหน้าต่างสภาพคล่องสิ้นวันนี้ เป็นอัตราดอกเบี้ยที่ธนาคารแห่งประเทศไทยกำหนดให้เท่ากับ อัตรา
ดอกเบี้ยนโยบาย (อัตราดอกเบี้ยตลาดซื้อคืน 14 วัน) บวก ส่วนต่างร้อยละ 1.5 (Margin)

0 ความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

Popular Posts