ทุนสำรองเงินตรา (Currency reserves)
คือ สินทรัพย์ที่ใช้หมุนหลังธนบัตรออกใช้ ซึ่งจะต้องมีมูลค่าเท่ากับธนบัตรออกใช้ 100% ตามหลักการที่ว่า มูลค่าของธนบัตรออกใช้จะต้องเท่ากับมูลค่าของ สินทรัพย์ทุนสำรองเงินตราเพื่อสร้างความมั่นใจให้กับประชาชนว่าธนบัตรได้รับการประกันราคาให้มีค่าตามที่ระบุไว้บนหน้าธนบัตรนั้น สินทรัพย์ที่ประกอบขึ้นเป็นทุนสำรองเงินตรา ได้แก่
1. ทอง
2. เงินตราต่างประเทศอันเป็นเงินตราที่พึงเปลี่ยนได้ หรือเงินตราต่างประเทศอื่นใดที่
กำหนดโดยกฎกระทรวง ทั้งนี้ต้องเป็นรูปเงินฝากในธนาคารนอกราชอาณาจักรหรือในสถาบันการเงินระหว่างประเทศ
3. หลักทรัพย์ต่างประเทศที่จะมีการชำระหนี้เป็นเงินตราต่างประเทศที่ระบุไว้ใน (2)
4. ทองคำ สินทรัพย์ต่างประเทศ และสิทธิพิเศษถอนเงิน ทั้งนี้ที่ส่งสมทบกองทุนการ
เงิน
5. ใบสำคัญสิทธิซื้อส่วนสำรอง
6. ใบสำคัญสิทธิพิเศษถอนเงิน
7. หลักทรัพย์รัฐบาลไทยที่จะมีการชำระหนี้เป็นเงินตราต่างประเทศที่ระบุไว้ในข้อ 2
หรือเป็นบาท
8. ตั๋วเงินในประเทศที่ธนาคารแห่งประเทศไทยพึงซื้อหรือรับช่วงซื้อลดได้ แต่ต้องมีค่ารวมกันไม่เกินร้อยละยี่สิบของจำนวนธนบัตรออกใช้
สินเชื่อที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ (NPL)
หมายถึง เงินให้สินเชื่อที่ค้างชำระเงินต้นและหรือดอกเบี้ย นับจากวันที่ครบกำหนดชำระเงินตามงวดที่กำหนดในสัญญา หรือ เมื่อได้ทวงถามหรือเรียกให้ชำระหนี้แล้วเป็นระยะเวลาเกินกว่า 3 เดือน โดยพิจารณาการค้างชำระเป็นรายสัญญาหรือรายบัญชี
ตั๋วสัญญาใช้เงิน (Promissory Note)
เป็นหนังสือตราสารซึ่งบุคคลหนึ่งเรียกว่า “ผู้ออกตั๋ว” ให้คำมั่นสัญญาว่าจะใช้เงินจำนวนหนึ่งให้แก่บุคคลอีกคนหนึ่งหรือใช้ให้ตราคำสั่งของบุคคลอีกคนหนึ่งเรียกว่า “ผู้รับเงิน”
บัตรเงินฝาก (Negotiable Cert)
เป็นตราสารซึ่งเปลี่ยนมือได้ที่ธนาคารพาณิชย์ออกificate of Depositให้แก่ผู้ฝากเงินเพื่อเป็นหลักฐานการรับฝากเงิน และเพื่อแสดงสิทธิของผู้ทรงตราสารที่จะได้รับเงินฝากคืนเมื่อสิ้นระยะเวลาอันกำหนดไว้ โดยจะมีการกำหนดดอกเบี้ยไว้ด้วยหรือไม่ก็ได้
ตามประกาศธนาคารแห่งประเทศไทยลงวันที่ 25 มิถุนายน 2535 กำหนดจำนวนเงินในบัตรเงินฝากแต่ละฉบับไม่ต่ำกว่าห้าแสนบาท และส่วนที่เกินกว่าห้าแสนบาทต้องเป็นจำนวนทวีคูณของหนึ่งแสนบาท ธนาคารพาณิชย์จะออกบัตรเงินฝากเพื่อรับฝากเงินต่ำกว่า 3 เดือน หรือเกินกว่า 3 ปีไม่ได้
อัตราแลกเปลี่ยน (Exchange Rate)
เป็นอัตราที่เทียบระหว่างค่าของเงินสกุลหนึ่ง (เช่น เงินสกุลท้องถิ่น) กับหนึ่งหน่วยงานของเงินสกุลหลัก เช่น ค่าของเงินบาทเทียบกับ 1 หน่วยดอลลาร์สหรัฐเท่ากับ 40 บาท เป็นต้น ระบบอัตราแลกเปลี่ยน โดยกว้างๆ แล้วมี 2 ระบบ คือ ระบบอัตราแลกเปลี่ยนคงที่ (Fixed Exchange Rate) และระบบอัตราแลกเปลี่ยนลอยตัว (Floating Exchange Rate) อย่างไรก็ดี ระบบอัตราแลกเปลี่ยนที่ใช้กันอยู่ความจริงมีความหลากหลายมาก โดยอาจจำแนกได้เป็น 3 ระบบใหญ่ๆ คือ
การแปลงหนี้ (debt conversion)
เรียกอีกหนึ่งว่า refinance เป็นการลดภาระหนี้ที่ยังไม่กำหนดชำระคืนเงินต้นด้วยวิธีการต่างๆ อาทิ การออกพันธบัตรใหม่ที่อัตราดอกเบี้ยต่ำ การนำเงินจากงบประมาณรายได้ไปซื้อคืนพันธบัตรเก่าที่เสียอัตราดอกเบี้ยที่สูงกว่า การ *** ้เงินจากแหล่งที่คิดอัตราดอกเบี้ยต่ำกว่าไปชำระคืนเงิน *** ้ที่คิดอัตราดอกเบี้ยสูง ฯลฯ ในกรณีที่เป็นพันธบัตรจะต้องระบุเงื่อนไขการบังคับซื้อคืนในกรณีการ *** ้เงินจากองค์กรการเงินระหว่างประเทศ มักเปิดโอกาสให้ประเทศลูกหนี้หาเงิน *** ้ที่เสียอัตราดอกเบี้ยสูงได้ แต่ถ้าเป็นสถาบันการเงินเอกชนมักตั้งเงื่อนไขกีดกัน เพราะการแปลงหนี้เพื่อลดภาระหนี้อาจทำให้เจ้าหนี้เสียประโยชน์
อัตราส่วนหนี้สินต่อส่วนของเจ้าของ (debt equity ratio)
อัตราส่วนระหว่างหนี้สินระยะยาวต่อส่วนของเจ้าของ หากอัตราส่วนหนี้มีค่าสูง แสดงว่าหน่วยธุรกิจพึ่งพิงเงินทุนจากภายนอกในสัดส่วนสูงฐานะการเงินของหน่วยธุรกิจอาจมีความเสี่ยงสูง
การวิเคราะห์สภาพแวดล้อมภายใน (Internal Environmental Analysis)
-
สภาพแวดล้อมภายนอกมีอิทธิพลต่อองค์การอย่างมากก็จริง
แต่ผู้บริหารต้องมีความเข้าใจและสามารถจัดการปัจจัยภายในองค์การด้วยการดาเนินงานจึงจะบรรลุเป้าหมาย
การวิเคร...
5 ปีที่ผ่านมา
0 ความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น