Custom Search

วันอังคารที่ 19 เมษายน พ.ศ. 2554

หลักการกำหนดราคาบริการสาธารณะที่เป็นธรรม ควรจะมีหลักการอย่างไร

หลักการกำหนดราคาบริการสาธารณะที่เป็นธรรม ควรจะมีหลักการอย่างไร ยกตัวอย่างแนวคิดในทางเศรษฐศาสตร์ที่ท่านทราบ พร้อมทั้งเขียนรูปให้ดูเป็นตัวอย่างด้วย
หลักการกำหนดราคาบริการสาธารณะที่เป็นธรรม มีพื้นฐานโดยรัฐบาลจะหารายได้มาใช้จ่ายในการจัดบริการสาธารณะ มีการเก็บค่าบริการได้ ต้องเป็นบริการที่มีทางเลือก ไม่มีการผูกขาดการผลิตบริการ อีกทั้งไม่ส่งเสริมหรือสร้างเงื่อนไขให้เกิดการผูกขาดการผลิตบริการ เสมือนหนึ่งเป็นบริการที่สามารถจัดได้ในระบบตลาดทั่วไปเป็น Private goods หรือ Private service คือ
1) เป็นบริการที่ผู้บริโภคเป็นปัจเจกชนเป็นบุคคล เป็นครัวเรือน เป็นผู้รับผลประโยชน์โดยตรง แต่รัฐสามารถกีดกันไม่ให้คนที่ไม่จ่ายหรือไม่ต้องการเข้ามาบริโภคได้ เช่น มีที่กั้นไม่ให้ผ่านถ้าไม่จ่ายเงิน
2) เป็นบริการที่คนสามารถเลือกใช้บริการหรือไม่ก็ได้ แต่มีข้อยกเว้นกรณีของบริการที่มีผลต่อความปลอดภัยต่อความสงบเรียบร้อย ความมั่นคง ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม แต่รัฐอาจให้มีระบบสัมปทานได้
3) การตั้งราคา รัฐบาลจะต้องตั้งราคาโดยใช้เกณฑ์ราคาในระบบตลาด คือคิดที่ Marginal cost ซึ่งประกอบด้วยราคาต้นทุนต่อหน่วย (Fixed cost) กับต้นทุนส่วนที่เพิ่มขึ้นต่อหน่วย
4) การนำเอานโยบายกระจายรายได้ (Redistribution) มาใช้กับบริการทางเลือก เป็นการกำหนดราคาโดยมีเป้าหมายกระจายรายได้ คือการเพิ่มอำนาจการซื้อให้แก่ผู้ที่มีรายได้น้อย โดยการลดบริการ กำหนดราคาที่ต่ำกว่าปกติ

แนวคิดในทางเศรษฐศาสตร์
อุปสงค์ คือ จำนวนสินค้าและบริการที่ผู้ซื้อต้องการซื้อ ณ ระดับราคาต่าง ๆหรือ ณ ระดับรายได้ต่าง ๆ หรือ ณ ระดับราคาสินค้าอื่นที่เกี่ยวข้อง โดยปกติจะให้ความสำคัญกับเรื่องระดับราคามากที่สุด และเมื่อราคาสินค้าเปลี่ยนแปลงไป จำนวนซื้อสินค้าและบริการชนิดนั้นก็จะเปลี่ยนแปลงในทิศทางตรงกันข้ามเสมอ ที่เป็นเช่นนี้เพราะผลของราคาซึ่งประกอบด้วยผลของการทดแทนกัน และผลของรายได้
อุปทาน คือ จำนวนสินค้าและบริการที่ผู้ขายต้องการขาย ณ ระดับราคาต่าง ๆ ซึ่งจำนวนขายจะเปลี่ยนแปลงในทางเดียวกันกับราคาที่เปลี่ยนแปลงไป ดังนั้นเส้นอุปทานซึ่งเป็นเส้นที่แสดงความสัมพันธ์ระหว่างราคาและจำนวนขาย จึงเป็นเส้นทอดขึ้นจากซ้ายไปขวา เส้นอุปทานสามารถเปลี่ยนแปลงไปทางซ้ายมือหรือขวามือของเส้นเดิมได้ ขึ้นอยู่กับปัจจัยที่เป็นตัวกำหนดอุปทานอื่น ๆ ที่ไม่ใช่ราคา ว่าจะเปลี่ยนแปลงไปในลักษณะที่จะทำให้จำนวนขายมากขึ้นหรือน้อยลง
ราคาดุลยภาพ เป็นราคาที่ทำให้จำนวนเสนอซื้อ (อุปสงค์) เท่ากับจำนวนเสนอขาย (อุปทาน) ราคาใด ๆ ที่ต่ำกว่าราคาดุลยภาพจะทำให้เกิดอุปสงค์ส่วนเกิน และราคาใด ๆ ที่สูงกว่าราคาดุลยภาพจะทำให้เกิดอุปทานส่วนเกิน ราคาดังกล่าว จะปรับเข้าสู่ราคาดุลยภาพและราคาจะไม่เปลี่ยนแปลง นอกจากจะมีการเคลื่อนย้ายเส้นอุปสงค์ และ/หรืออุปทาน ซึ่งอาจทำให้ราคาดุลยภาพใหม่ และ/หรือปริมาณดุลยภาพใหม่สูงขึ้นหรือลดลง
โดยปกติรัฐบาลจะปล่อยให้กลไกราคาทำงานไปตามลำพัง โดยไม่เข้าไปควบคุมราคา ยกเว้นในกรณีที่จำเป็นซึ่งกลไกราคาไม่สามารถปรับตัวได้ทัน มาตรการที่ใช้รัฐบาลจะเข้าแทรกแซงกลไกของราคาในตลาด เพื่อรักษาเสถียรภาพของราคาให้อยู่ในระดับที่เหมาะสมมี 2 มาตรการ คือ การกำหนดราคาขั้นต่ำ (การประกันราคา) ซึ่งจะกระทำเพื่อยกระดับราคาของสินค้าที่เป็นอยู่ให้สูงขึ้น โดยเฉพาะสินค้ารายการที่สำคัญ เป็นการช่วยเหลือผู้ผลิตหรือผู้ขาย อีกมาตรการก็คือ การกำหนดราคาขั้นสูง เป็นมาตรการที่ใช้กำหนดราคาสินค้าไม่ให้สูงเกินเพดาน จะใช้ในระหว่างเกิดขาดแคลนสินค้า ซึ่งการขาดแคลนสินค้าทำให้ราคาสินค้าสูงขึ้นอย่างรวดเร็วจนผู้บริโภค

นโยบายพยุงราคาหรือการประกันราคา
การพยุงราคาหรือประกันราคามีความหมายคล้ายกัน เพราะถ้าประกันราคาว่าราคาจะเป็นเท่าใดก็เท่ากับรักษาระดับราคา หรือ พยุงราคาไว้ที่ระดับราคานั้น ๆ อาจจะสูงกว่า หรือ ต่ำกว่าตลาดก็ได้ถ้าต่ำกว่ามักจะเรียกว่าราคาประกัน แต่ถ้าพูดถึงราคาพยุงโดยทั่วไปหมายถึง รักษาระดับราคาไว้สูงกว่าราคาตลาด วิธีปฏิบัติจะแตกต่างกันในแต่ละประเทศและแม้ในประเทศเดียวกัน สินค้าแต่ละชนิดที่อยู่ภายใต้โครงการพยุงราคาก็อาจจะมีวิธีปฏิบัติต่างกัน เช่น รัฐบาลอาจจะประกาศหรือ ให้ประกันว่าผู้ผลิตสินค้าชนิดที่เข้าร่วมโครงการจะได้รับราคาที่กำหนดๆ ไว้โดยรัฐบาลจะซื้อเองหรือ เอาสินค้าใช้หนี้เงินกู้ ปกติราคาที่รับซื้อตามวิธีการดังกล่าว จะสูงกว่าราคาตลาด เพราะถ้าต่ำกว่าหรือเท่ากับราคาตลาดก็ไม่จำเป็นที่จะต้องมีมาตรการเข้าไปรับซื้อ

0 ความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

Popular Posts