MBA

We constantly research and disseminate knowledge to prepare graduate students to be leaders at the community, national and international levels.

Facebook is a social utility that connects people with friends and others who work, study and live around them. People use Facebook to keep up with friends

Custom Search

วันอังคารที่ 19 เมษายน พ.ศ. 2554

ฐานเงินU (Monetary Base)

ฐานเงินU (Monetary Base)ประกอบด้วยธนบัตรและเหรียญกษาปณ์ที่หมุนเวียนอยู่ในมือประชาชน และในมือธนาคารพาณิชย์ รวมทั้งเงินฝาก
สถาบันการเงินที่ฝากไว้ที่ธนาคารแห่งประเทศไทย ซึ่งในทางเศรษฐศาสตร์ฐานเงินจะสามารถสร้างปริมาณเงินหมุนเวียนได้
จำนวนกี่เท่าขึ้นกับขนาดของตัวทวีฐานเงิน ในปัจจุบันฐานเงินเพิ่มขึ้น 1 บาท สามารถสร้างปริมาณเงิน M1 ได้ประมาณ 0.9
เท่า สร้างปริมาณเงิน M2 ได้ประมาณ 10 เท่า ปริมาณเงิน M2a ได้ 11 เท่า และปริมาณเงิน M3 ได้ประมาณ 12 เท่าทุนสำรองเงินตราU (Currency reserves)
คือ สินทรัพย์ที่ใช้หนุนหลังธนบัตรออกใช้ ซึ่งจะต้องมีมูลค่าเท่ากับธนบัตรออกใช้ 100 % ตามหลักการที่ว่า มูลค่าของธน
ออกใช้จะต้องเท่ากับมูลค่าของ สินทรัพย์ทุนสำรองเงินตรา เพื่อสร้างความมั่นใจให้กับประชาชนว่า ธนบัตรได้รับการประกันรา
ค่าตามที่ระบุไว้บนหน้าธนบัตรนั้น สินทรัพย์ที่ประกอบขึ้นเป็นทุนสำรองเงินตรา ได้แก่
1.ทองคำ
2. เงินตราต่างประเทศอันเป็นเงินตราที่พึงเปลี่ยนได้ หรือเงินตราต่างประเทศอื่นใดที่กำหนดโดยกฎกระทรวง ทั้งนี้ ต้องเป็นรูป
ในธนาคารนอกราชอาณาจักรหรือในสถาบันการเงินระหว่างประเทศ
3.หลักทรัพย์ต่างประเทศที่จะมีการชำระหนี้เป็นเงินตราต่างประเทศที่ระบุไว้ใน (2)
4. ทองคำ สินทรัพย์ต่างประเทศ และสิทธิพิเศษถอนเงิน ทั้งนี้ที่นำส่งสมทบกองทุนการเงิน
5.ใบสำคัญสิทธิซื้อส่วนสำรอง
6. ใบสำคัญสิทธิพิเศษถอนเงิน
7. หลักทรัพย์รัฐบาลไทยที่จะมีการชำระหนี้เป็นเงินตราต่างประเทศที่ระบุไว้ในข้อ 2 หรือเป็นบาท
8. ตั๋วเงินในประเทศที่ธนาคารแห่งประเทศไทยพึงซื้อหรือรับช่วงซื้อลดได้ แต่ต้องมีค่ารวมกันไม่เกินร้อยละยี่สิบของจำนวนธนบ
ใช้
สินเชื่อที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ (NPL) ตามนิยามใหม่
หมายถึง เงินให้สินเชื่อจัดชั้นต่ำกว่ามาตราฐาน สงสัย สงสัยจะสูญ และสูญ ตามหลักเกณฑ์การจัดชั้นในประกาศ
ธนาคารแห่ง ประเทศไทยเรื่อง สินทรัพย์ที่ไม่มีราคาหรือเรียกคืนไม่ได้ และสินทรัพย์ที่สงสัยว่าจะไม่มีราคาหรือเรียกคืนไม่ได้
ของธนาคารพาณิชย์ ลงวันที่ 18 กุมภาพันธ์ 2545 หรือที่จะแก้ไขเพิ่มเติม รวมถึงลูกหนี้จัดชั้นสงสัยจะสูญที่ธนาคารพาณิชย์
กันสำรองครบร้อยละ 100 และตัดออกจากบัญชีแล้วแต่ยังไม่ได้บันทึกกลับเข้ามาในบัญชี
Uอัตราดอกเบี้ยมาตรฐานU (Bank Rate)
เป็นอัตราดอกเบี้ยที่ธนาคารกลางเรียกเก็บจากสถาบันการเงินที่ให้กู้ยืมในวงเงินที่กำหนดจากฐานเงินฝากของสถาบัน
การเงินแต่ละแห่ง โดยการให้กู้ยืมนี้ถือว่าเป็นแหล่งกู้ยืมแหล่งสุดท้าย (lender of last resort) เมื่อมีความจำเป็นภายใน
ระยะเวลาสั้นๆอย่างมากไม่เกิน 7 วัน ทั้งนี้ เพื่อรองรับความผันผวนของความต้องการใช้เงินในตลาดเงินเป็นสำคัญ หรือ จาก
การเบิกถอนเงินฝากของประชาชนในภาวะผิดปกติโดยจะ ช่วยสร้างความเชื่อมั่นให้กับระบบการชำระเงิน เป็นต้น
หลักประกันที่ใช้ในการกู้ยืมเงินนี้ส่วนมากจะเป็นหลักทรัพย์รัฐบาล อย่างไรก็ตาม การปรับปรุงหรือการเปลี่ยนแปลงโครงสร้าง
อัตราดอกเบี้ยมาตรฐานในแต่ละครั้ง มีวัตถุประสงค์เพื่อให้การดำเนินนโยบายการเงินมีประสิทธิภาพมากขึ้น อย่างไรก็ตาม
ธนาคารแห่งประเทศไทยได้ประกาศยกเลิกอัตราดอกเบี้ยมาตรฐาน เมื่อวันที่ 25 กันยายน 2544 และให้ใช้อัตรา
ดอกเบี้ยหน้าต่างสภาพคล่องสิ้นวัน หรือ End-of day Liquidity Rate แทน โดยมีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม
2544 เป็นต้นไป
อนึ่งอัคราดอกเบี้ยหน้าต่างสภาพคล่องสิ้นวันนี้ เป็นอัตราดอกเบี้ยที่ธนาคารแห่งประเทศไทยกำหนดให้เท่ากับ อัตรา
ดอกเบี้ยนโยบาย (อัตราดอกเบี้ยตลาดซื้อคืน 14 วัน) บวก ส่วนต่างร้อยละ 1.5 (Margin)

ภาคเศรษฐกิจการเงินU (Financial Sector)

ภาคเศรษฐกิจการเงินU (Financial Sector)
หมายถึง ภาคเศรษฐกิจที่ประกอบธุรกิจด้านการเงิน โดยทำหน้าที่เป็นตัวกลางเชื่อมระหว่างผู้ออมและผู้ลงทุน รวมทั้ง
ให้บริการ ด้านการเงินอื่น ๆ ด้วย โดยเฉพาะด้านการชำระเงิน ซึ่งภาคเศรษฐกิจการเงินนี้จะประกอบไปด้วยสถาบันการเงิน
ประเภท ต่าง ๆ เช่น ธนาคารพาณิชย์ กิจการวิเทศธนกิจ บริษัทเงินทุน บริษัทเครดิตฟองซิเอร์ บริษัทหลักทรัพย์ บริษัทประกัน
ชีวิต บริษัทประกันภัย และตลาดหลักทรัพย์ เป็นต้น
Uนิยามการเงินการคลัง
Uปริมาณเงิน M1U หรือปริมาณเงินตามความหมายแคบ (Narrow Money) หมายถึง
ปริมาณเงินที่หมุนเวียนในมือประชาชน ประกอบด้วยธนบัตรและเหรียญกษาปณ์ในมือประชาชนและเงินฝากเผื่อเรียก
ของประชาชนที่ระบบธนาคาร
Uปริมาณเงิน M2U หรือปริมาณเงินตามความหมายกว้าง(Broad Money) หมายถึง
ปริมาณเงินที่หมุนเวียนในมือประชาชน นอกจากประกอบด้วยธนบัตรและเหรียญกษาปณ์ในมือประชาชนและเงินฝาก
เผื่อเรียกแล้ว ยังรวมเงินฝากประจำและออมทรัพย์ที่ระบบธนาคารอีกด้วย
(รายละเอียดปริมาณเงิน M1 และ M2 ดูได้จากตารางที่ 2 ในรายงานเศรษฐกิจรายเดือนของธนาคารแห่งประเทศไทย)
Uปริมาณเงิน M2aU หมายถึง ปริมาณเงินที่อยู่ในมือประชาชน(Broad Money M2a)
ความหมายกว้างขึ้นโดยรวมปริมาณเงิน M2 และตั๋วสัญญาใช้เงินหรือนัยหนึ่งคือ เงินที่บริษัทเงินทุนฯ รับฝากจาก
ประชาชน
(รายละเอียดปริมาณเงิน M2a ดูได้จากบทความเรื่อง "ปริมาณเงิน M2a" ในรายงานเศรษฐกิจรายเดือน ฉบับเดือนกุมภาพันธ์
2542 ของธนาคารแห่งประเทศไทย)
Uปริมาณเงิน M3U หรือ ปริมาณเงินตามความหมายที่กว้างที่สุด (Broad Money M3) คือ
ปริมาณเงินที่หมุนเวียนในมือประชาชนในรูปของเงินสด เงินฝากทุกประเภทของสถาบันการเงินที่รับฝากจากประชาชน
ซึ่งรวมถึงเงินฝากในรูปของตั๋วสัญญาใช้เงินของบริษัทเงินทุน

ทุนสำรองเงินตรา (Currency reserves)

ทุนสำรองเงินตรา (Currency reserves)
คือ สินทรัพย์ที่ใช้หมุนหลังธนบัตรออกใช้ ซึ่งจะต้องมีมูลค่าเท่ากับธนบัตรออกใช้ 100% ตามหลักการที่ว่า มูลค่าของธนบัตรออกใช้จะต้องเท่ากับมูลค่าของ สินทรัพย์ทุนสำรองเงินตราเพื่อสร้างความมั่นใจให้กับประชาชนว่าธนบัตรได้รับการประกันราคาให้มีค่าตามที่ระบุไว้บนหน้าธนบัตรนั้น สินทรัพย์ที่ประกอบขึ้นเป็นทุนสำรองเงินตรา ได้แก่
1. ทอง
2. เงินตราต่างประเทศอันเป็นเงินตราที่พึงเปลี่ยนได้ หรือเงินตราต่างประเทศอื่นใดที่
กำหนดโดยกฎกระทรวง ทั้งนี้ต้องเป็นรูปเงินฝากในธนาคารนอกราชอาณาจักรหรือในสถาบันการเงินระหว่างประเทศ
3. หลักทรัพย์ต่างประเทศที่จะมีการชำระหนี้เป็นเงินตราต่างประเทศที่ระบุไว้ใน (2)
4. ทองคำ สินทรัพย์ต่างประเทศ และสิทธิพิเศษถอนเงิน ทั้งนี้ที่ส่งสมทบกองทุนการ
เงิน
5. ใบสำคัญสิทธิซื้อส่วนสำรอง
6. ใบสำคัญสิทธิพิเศษถอนเงิน
7. หลักทรัพย์รัฐบาลไทยที่จะมีการชำระหนี้เป็นเงินตราต่างประเทศที่ระบุไว้ในข้อ 2
หรือเป็นบาท
8. ตั๋วเงินในประเทศที่ธนาคารแห่งประเทศไทยพึงซื้อหรือรับช่วงซื้อลดได้ แต่ต้องมีค่ารวมกันไม่เกินร้อยละยี่สิบของจำนวนธนบัตรออกใช้

สินเชื่อที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ (NPL)

หมายถึง เงินให้สินเชื่อที่ค้างชำระเงินต้นและหรือดอกเบี้ย นับจากวันที่ครบกำหนดชำระเงินตามงวดที่กำหนดในสัญญา หรือ เมื่อได้ทวงถามหรือเรียกให้ชำระหนี้แล้วเป็นระยะเวลาเกินกว่า 3 เดือน โดยพิจารณาการค้างชำระเป็นรายสัญญาหรือรายบัญชี

ตั๋วสัญญาใช้เงิน (Promissory Note)

เป็นหนังสือตราสารซึ่งบุคคลหนึ่งเรียกว่า “ผู้ออกตั๋ว” ให้คำมั่นสัญญาว่าจะใช้เงินจำนวนหนึ่งให้แก่บุคคลอีกคนหนึ่งหรือใช้ให้ตราคำสั่งของบุคคลอีกคนหนึ่งเรียกว่า “ผู้รับเงิน”

บัตรเงินฝาก (Negotiable Cert)

เป็นตราสารซึ่งเปลี่ยนมือได้ที่ธนาคารพาณิชย์ออกificate of Depositให้แก่ผู้ฝากเงินเพื่อเป็นหลักฐานการรับฝากเงิน และเพื่อแสดงสิทธิของผู้ทรงตราสารที่จะได้รับเงินฝากคืนเมื่อสิ้นระยะเวลาอันกำหนดไว้ โดยจะมีการกำหนดดอกเบี้ยไว้ด้วยหรือไม่ก็ได้

ตามประกาศธนาคารแห่งประเทศไทยลงวันที่ 25 มิถุนายน 2535 กำหนดจำนวนเงินในบัตรเงินฝากแต่ละฉบับไม่ต่ำกว่าห้าแสนบาท และส่วนที่เกินกว่าห้าแสนบาทต้องเป็นจำนวนทวีคูณของหนึ่งแสนบาท ธนาคารพาณิชย์จะออกบัตรเงินฝากเพื่อรับฝากเงินต่ำกว่า 3 เดือน หรือเกินกว่า 3 ปีไม่ได้

อัตราแลกเปลี่ยน (Exchange Rate)

เป็นอัตราที่เทียบระหว่างค่าของเงินสกุลหนึ่ง (เช่น เงินสกุลท้องถิ่น) กับหนึ่งหน่วยงานของเงินสกุลหลัก เช่น ค่าของเงินบาทเทียบกับ 1 หน่วยดอลลาร์สหรัฐเท่ากับ 40 บาท เป็นต้น ระบบอัตราแลกเปลี่ยน โดยกว้างๆ แล้วมี 2 ระบบ คือ ระบบอัตราแลกเปลี่ยนคงที่ (Fixed Exchange Rate) และระบบอัตราแลกเปลี่ยนลอยตัว (Floating Exchange Rate) อย่างไรก็ดี ระบบอัตราแลกเปลี่ยนที่ใช้กันอยู่ความจริงมีความหลากหลายมาก โดยอาจจำแนกได้เป็น 3 ระบบใหญ่ๆ คือ
การแปลงหนี้ (debt conversion)

เรียกอีกหนึ่งว่า refinance เป็นการลดภาระหนี้ที่ยังไม่กำหนดชำระคืนเงินต้นด้วยวิธีการต่างๆ อาทิ การออกพันธบัตรใหม่ที่อัตราดอกเบี้ยต่ำ การนำเงินจากงบประมาณรายได้ไปซื้อคืนพันธบัตรเก่าที่เสียอัตราดอกเบี้ยที่สูงกว่า การ *** ้เงินจากแหล่งที่คิดอัตราดอกเบี้ยต่ำกว่าไปชำระคืนเงิน *** ้ที่คิดอัตราดอกเบี้ยสูง ฯลฯ ในกรณีที่เป็นพันธบัตรจะต้องระบุเงื่อนไขการบังคับซื้อคืนในกรณีการ *** ้เงินจากองค์กรการเงินระหว่างประเทศ มักเปิดโอกาสให้ประเทศลูกหนี้หาเงิน *** ้ที่เสียอัตราดอกเบี้ยสูงได้ แต่ถ้าเป็นสถาบันการเงินเอกชนมักตั้งเงื่อนไขกีดกัน เพราะการแปลงหนี้เพื่อลดภาระหนี้อาจทำให้เจ้าหนี้เสียประโยชน์
อัตราส่วนหนี้สินต่อส่วนของเจ้าของ (debt equity ratio)
อัตราส่วนระหว่างหนี้สินระยะยาวต่อส่วนของเจ้าของ หากอัตราส่วนหนี้มีค่าสูง แสดงว่าหน่วยธุรกิจพึ่งพิงเงินทุนจากภายนอกในสัดส่วนสูงฐานะการเงินของหน่วยธุรกิจอาจมีความเสี่ยงสูง

หลักการกำหนดราคาบริการสาธารณะที่เป็นธรรม ควรจะมีหลักการอย่างไร

หลักการกำหนดราคาบริการสาธารณะที่เป็นธรรม ควรจะมีหลักการอย่างไร ยกตัวอย่างแนวคิดในทางเศรษฐศาสตร์ที่ท่านทราบ พร้อมทั้งเขียนรูปให้ดูเป็นตัวอย่างด้วย
หลักการกำหนดราคาบริการสาธารณะที่เป็นธรรม มีพื้นฐานโดยรัฐบาลจะหารายได้มาใช้จ่ายในการจัดบริการสาธารณะ มีการเก็บค่าบริการได้ ต้องเป็นบริการที่มีทางเลือก ไม่มีการผูกขาดการผลิตบริการ อีกทั้งไม่ส่งเสริมหรือสร้างเงื่อนไขให้เกิดการผูกขาดการผลิตบริการ เสมือนหนึ่งเป็นบริการที่สามารถจัดได้ในระบบตลาดทั่วไปเป็น Private goods หรือ Private service คือ
1) เป็นบริการที่ผู้บริโภคเป็นปัจเจกชนเป็นบุคคล เป็นครัวเรือน เป็นผู้รับผลประโยชน์โดยตรง แต่รัฐสามารถกีดกันไม่ให้คนที่ไม่จ่ายหรือไม่ต้องการเข้ามาบริโภคได้ เช่น มีที่กั้นไม่ให้ผ่านถ้าไม่จ่ายเงิน
2) เป็นบริการที่คนสามารถเลือกใช้บริการหรือไม่ก็ได้ แต่มีข้อยกเว้นกรณีของบริการที่มีผลต่อความปลอดภัยต่อความสงบเรียบร้อย ความมั่นคง ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม แต่รัฐอาจให้มีระบบสัมปทานได้
3) การตั้งราคา รัฐบาลจะต้องตั้งราคาโดยใช้เกณฑ์ราคาในระบบตลาด คือคิดที่ Marginal cost ซึ่งประกอบด้วยราคาต้นทุนต่อหน่วย (Fixed cost) กับต้นทุนส่วนที่เพิ่มขึ้นต่อหน่วย
4) การนำเอานโยบายกระจายรายได้ (Redistribution) มาใช้กับบริการทางเลือก เป็นการกำหนดราคาโดยมีเป้าหมายกระจายรายได้ คือการเพิ่มอำนาจการซื้อให้แก่ผู้ที่มีรายได้น้อย โดยการลดบริการ กำหนดราคาที่ต่ำกว่าปกติ

แนวคิดในทางเศรษฐศาสตร์
อุปสงค์ คือ จำนวนสินค้าและบริการที่ผู้ซื้อต้องการซื้อ ณ ระดับราคาต่าง ๆหรือ ณ ระดับรายได้ต่าง ๆ หรือ ณ ระดับราคาสินค้าอื่นที่เกี่ยวข้อง โดยปกติจะให้ความสำคัญกับเรื่องระดับราคามากที่สุด และเมื่อราคาสินค้าเปลี่ยนแปลงไป จำนวนซื้อสินค้าและบริการชนิดนั้นก็จะเปลี่ยนแปลงในทิศทางตรงกันข้ามเสมอ ที่เป็นเช่นนี้เพราะผลของราคาซึ่งประกอบด้วยผลของการทดแทนกัน และผลของรายได้
อุปทาน คือ จำนวนสินค้าและบริการที่ผู้ขายต้องการขาย ณ ระดับราคาต่าง ๆ ซึ่งจำนวนขายจะเปลี่ยนแปลงในทางเดียวกันกับราคาที่เปลี่ยนแปลงไป ดังนั้นเส้นอุปทานซึ่งเป็นเส้นที่แสดงความสัมพันธ์ระหว่างราคาและจำนวนขาย จึงเป็นเส้นทอดขึ้นจากซ้ายไปขวา เส้นอุปทานสามารถเปลี่ยนแปลงไปทางซ้ายมือหรือขวามือของเส้นเดิมได้ ขึ้นอยู่กับปัจจัยที่เป็นตัวกำหนดอุปทานอื่น ๆ ที่ไม่ใช่ราคา ว่าจะเปลี่ยนแปลงไปในลักษณะที่จะทำให้จำนวนขายมากขึ้นหรือน้อยลง
ราคาดุลยภาพ เป็นราคาที่ทำให้จำนวนเสนอซื้อ (อุปสงค์) เท่ากับจำนวนเสนอขาย (อุปทาน) ราคาใด ๆ ที่ต่ำกว่าราคาดุลยภาพจะทำให้เกิดอุปสงค์ส่วนเกิน และราคาใด ๆ ที่สูงกว่าราคาดุลยภาพจะทำให้เกิดอุปทานส่วนเกิน ราคาดังกล่าว จะปรับเข้าสู่ราคาดุลยภาพและราคาจะไม่เปลี่ยนแปลง นอกจากจะมีการเคลื่อนย้ายเส้นอุปสงค์ และ/หรืออุปทาน ซึ่งอาจทำให้ราคาดุลยภาพใหม่ และ/หรือปริมาณดุลยภาพใหม่สูงขึ้นหรือลดลง
โดยปกติรัฐบาลจะปล่อยให้กลไกราคาทำงานไปตามลำพัง โดยไม่เข้าไปควบคุมราคา ยกเว้นในกรณีที่จำเป็นซึ่งกลไกราคาไม่สามารถปรับตัวได้ทัน มาตรการที่ใช้รัฐบาลจะเข้าแทรกแซงกลไกของราคาในตลาด เพื่อรักษาเสถียรภาพของราคาให้อยู่ในระดับที่เหมาะสมมี 2 มาตรการ คือ การกำหนดราคาขั้นต่ำ (การประกันราคา) ซึ่งจะกระทำเพื่อยกระดับราคาของสินค้าที่เป็นอยู่ให้สูงขึ้น โดยเฉพาะสินค้ารายการที่สำคัญ เป็นการช่วยเหลือผู้ผลิตหรือผู้ขาย อีกมาตรการก็คือ การกำหนดราคาขั้นสูง เป็นมาตรการที่ใช้กำหนดราคาสินค้าไม่ให้สูงเกินเพดาน จะใช้ในระหว่างเกิดขาดแคลนสินค้า ซึ่งการขาดแคลนสินค้าทำให้ราคาสินค้าสูงขึ้นอย่างรวดเร็วจนผู้บริโภค

นโยบายพยุงราคาหรือการประกันราคา
การพยุงราคาหรือประกันราคามีความหมายคล้ายกัน เพราะถ้าประกันราคาว่าราคาจะเป็นเท่าใดก็เท่ากับรักษาระดับราคา หรือ พยุงราคาไว้ที่ระดับราคานั้น ๆ อาจจะสูงกว่า หรือ ต่ำกว่าตลาดก็ได้ถ้าต่ำกว่ามักจะเรียกว่าราคาประกัน แต่ถ้าพูดถึงราคาพยุงโดยทั่วไปหมายถึง รักษาระดับราคาไว้สูงกว่าราคาตลาด วิธีปฏิบัติจะแตกต่างกันในแต่ละประเทศและแม้ในประเทศเดียวกัน สินค้าแต่ละชนิดที่อยู่ภายใต้โครงการพยุงราคาก็อาจจะมีวิธีปฏิบัติต่างกัน เช่น รัฐบาลอาจจะประกาศหรือ ให้ประกันว่าผู้ผลิตสินค้าชนิดที่เข้าร่วมโครงการจะได้รับราคาที่กำหนดๆ ไว้โดยรัฐบาลจะซื้อเองหรือ เอาสินค้าใช้หนี้เงินกู้ ปกติราคาที่รับซื้อตามวิธีการดังกล่าว จะสูงกว่าราคาตลาด เพราะถ้าต่ำกว่าหรือเท่ากับราคาตลาดก็ไม่จำเป็นที่จะต้องมีมาตรการเข้าไปรับซื้อ

หลักการของ Wicksell

หลักการของ Wicksell ในเรื่องการบริหารงานคลังของรัฐเป็นอย่างไร อธิบาย ท่านเห็นด้วยหรือไม่ ทำได้หรือไม่ในกรณีของประเทศไทย เพราะเหตุใด จะแก้ไขได้อย่างไร
Knut Wicksell ได้แสดงให้เห็นถึงอิทธิพลของสำนึกคิดทางเลือกสาธารณะที่มีต่อการบริหารงานคลังและการงบประมาณภาครัฐที่เสนอให้รัฐมุ่งคำนึงถึงผลประโยชน์สูงสุดที่ประชาชนจะได้รับจากการดำเนินกิจกรรมต่างๆ มากกว่าเพื่อประโยชน์ของรัฐเอง ทั้งนี้ Wicksell มองว่า ปัจเจกบุคคลเป็นผู้ที่มีเหตุผล เขาควรเป็นผู้กำหนดว่ารัฐบาลควรทำหน้าที่อะไรภายใต้จำนวนเงินที่ปัจเจกบุคคลเหล่านั้นยินดีที่จะเสียภาษีให้แก่รัฐเพื่อให้สามารถดำเนินกิจกรรมเหล่านั้นได้ และรัฐไม่ควรจะดำเนินการใดๆ ที่พลเมืองส่วนใหญ่ไม่สนับสนุน หรือไม่ยินดีจ่ายภาษีสนับสนุนรัฐบาลเพื่อการดำเนินกิจกรรมนั้น ๆ
ดังนั้น เมื่อตั้งต้นด้วยแนวคิดที่ว่าพลเมืองเป็นผู้ที่มีความสำคัญสูงสุดในระบบการเมืองการปกครองในยุคปัจจุบัน ระบบงบประมาณภาครัฐในแนวใหม่จึงควรมุ่งต่อการตอบสนองความต้องการของประชาชนเหล่านั้น โดยการพัฒนากลไกการจัดสรรงบประมาณที่สามารถนำไปสู่การดำเนินงานของภาครัฐที่สอดคล้องกับความต้องการของพลเมือง มีกลไกการดำเนินงานที่สามารถนำไปสู่การผลิตหรือการส่งมอบบริการที่ต้องการได้อย่างมีประสิทธิภาพและโปร่งใส ตรวจสอบได้ และมีระบบข้อมูลรายงานผลการผลิตและต้นทุนการดำเนินงานที่ถูกต้อง นอกจากนี้ แนวคิดดังกล่าวยังนำไปสู่การออกแบบระบบและวิธีการบริหารจัดการแบบใหม่เพื่อเป็นหลักประกันว่าผลประโยชน์ของพลเมืองจะได้รับการคุ้มครอง เช่น การใช้การบริหารภายใต้สัญญา (Contractual management) การแยกหน่วยงานกำหนดนโยบายออกจากหน่วยงานที่นำนโยบายไปปฏิบัติ การบริหารงานภายใต้ระบบกิจกรรม (Activity-based management) ฯลฯ เป็นต้น ทั้งนี้ก็เพื่อทำให้งบประมาณภาครัฐเป็นเรื่องของพลเมืองนั่นเอง
Wicksell เป็นนักคิดชาวอิตาลีมีหลักการเกี่ยวกับหน้าที่และรายจ่ายของรัฐว่าจะต้องมากจากการออกเสียงลงคะแนนของสมาชิดในสังคม ซึ่งเป็นความต้องการและเจตจำนงร่วมกันของสังคม โดยมีการโหวต 2 ครั้ง ซึ่งในครั้งแรกเป็นการเลือกตัวแทนในสังคม โดยมุ่งหวังว่าจะได้คนดีเข้าไปเป็นผู้แทนของตน และในครั้งที่สองเป็นการโหวตว่าสังคมต้องการอะไร โดยยินดีจ่ายเพื่อกิจกรรมนั้น ๆ มุ่งคํานึงถึงผลประโยชน์สูงสุดของสังคมมากกว่าของรัฐเอง รัฐบาลควรทำหน้าที่ภายใต้จํานวนเงินที่สังคมยินดีที่จะเสียภาษีให้แก่รัฐเพื่อให้สามารถดําเนินกิจกรรมเหล่านั้นได้ และรัฐไม่ควรจะดําเนินการใดๆ ที่พลเมืองส่วนใหญ่ไม่สนับสนุน หรือไม่ยินดีจ่ายภาษีสนับสนุนรัฐบาลเพื่อการดําเนินกิจกรรมนั้น ๆ
ข้าพเจ้าเห็นด้วยตามหลักการดังกล่าว เนื่องจากเป็นแสดงออกถึงความเป็นประชาธิปไตยในสังคมนั้น ๆ อีกทั้งเป็นการเลือกคนดีให้ทำหน้าที่แทนคนในสังคม
แต่ในกรณีของประเทศไทยข้าพเจ้าคิดว่ายังไม่สามารถนำแนวคิดดังกล่าวมาใช้อย่างเต็มรูปแบบได้ เนื่องจากหลักการดังกล่าวไม่เหมาะกับชุมชนขนาดใหญ่ ที่ประชากรที่มีความหลากหลายทั้งสถานะ ความเป็นอยู่ เชื้อชาติ ศาสนา และลักษณะของภูมิประเทศที่แตกต่างกัน
หลักการดังกล่าวสามารถแก้ไขได้ กล่าวคือ จะต้องนำไปใช้ในสังคมที่เล็กกว่าระดับประเทศ หรือหากใช้หลักการดังกล่าวในระดับประเทศจะต้องแบ่งกิจกรรมให้เหมาะสมกับสังคมนั้น ๆ

การคลังสาธารณะคืออะไร สำคัญอย่างไร

การคลังสาธารณะ เป็นศาสตร์การคลังมุ่งเน้นศึกษาเนื้อหาสาระเกี่ยวกับหน้าที่ทางเศรษฐกิจของรัฐและมาตรการทางการคลังต่างๆ ทั้งด้านรายรับและรายจ่ายให้บรรลุผลตามเป้าหมายทางเศรษฐกิจ ส่วนความหมายทางศิลป์คือ การกำหนดนโยบายและการดำเนินการทางด้านการคลังและการเงิน การจัดหารายได้ เงินคงคลัง และการก่อหนี้ รวมถึง การใช้จ่ายของรัฐบาลซึ่งมีผลกระทบต่อระบบเศรษฐกิจของประเทศเพื่อบรรลุเป้าหมายที่รัฐต้องการ
การคลังสาธารณะ เป็นบทบาทและหน้าที่ของรัฐในการจัดการกำหนดหน้าที่ว่ารัฐควรทำอะไรบ้างและมีค่าใช้จ่ายในการทำกิจกรรมนั้น ๆ เท่าใด จะหารายได้เพื่อนำมาใช้ในการจัดกิจกรรมนั้นจากไหน เป็นจำนวนเท่าใด และอย่างไร นอกจากนี้ยังรวมไปถึงการออมด้วย และเนื่องจากรัฐมีองค์กรในการปกครองหลายระดับ ยังหมายความรวมไปถึงความสัมพันธ์ทางการคลังระหว่างองค์กรปกครองในแต่ละระดับด้วย ทั้งนี้การคลังสาธารณะที่ดีจะต้องดำเนินการไปอย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล
โดยมีความสำคัญ กล่าวคือ การคลังสาธารณะเป็นกระบวนการภาคเศรษฐกิจของรัฐในการกำหนดระดับค่าใช้จ่ายรวมของระบบเศรษฐกิจผ่านการใช้จ่ายในการซื้อสินค้าและบริการต่าง ๆ ซึ่งภาครัฐบาลมีอิทธิพลต่อการกำหนดค่าใช้จ่ายของภาคเศรษฐกิจอื่น ๆ เช่น ภาคครัวเรือน ภาคธุรกิจ และภาคต่างประเทศ เป็นต้น โดยการคลังสาธารณะมีบทบาททั้งทางด้านการจัดสรรทรัพยากรของรัฐ บทบาทด้านการกระจาย เช่น การกระจายความเจริญไปสู่ชนบท บทบาทด้านการรักษาเสถียรภาพทางเศรษฐกิจของประเทศ เป็นต้น
โดยสรุปแล้ว ความสำคัญของการคลังสาธารณะ เป็นการควบคุมให้เกิดความสมดุลทางด้านการเงินในระบบเศรษฐกิจมิให้มีมากหรือต่ำเกินไป ให้อยู่ในสภาพที่เหมาะสมกับสถานการณ์

2. หลักของการบริหารงานคลังเป็นอย่างไร สำคัญอย่างไร
หลักของการบริหารงานคลัง คือแนวคิดที่เกี่ยวข้องกับเรื่องธรรมาภิบาล วินัยทางการคลัง ความโปร่งใส ความรับผิดชอบต่อสาธารณะ และประสิทธิภาพในการใช้ทรัพยากร แบ่งออกเป็น 3 ระดับ คือ ธรรมาภิบาล วินัยทางการคลัง และบรรทัดฐานทางการคลังว่าด้วยหน้าที่และรายจ่ายของรัฐ มีรายละเอียดดังนี้
1) ธรรมาภิบาลหรือธรรมรัฐ เป็นบรรทัดฐานระดับสูงสุด กล่าวคือเป็นแนวคิดที่ต้องการให้รัฐเป็นรัฐที่ดี หากกล่าวถึงบุคคลหมายถึงบุคคลที่มีคุณธรรม รัฐที่ดีนั้นต้องตอบสนองความต้องการของสังคมและประชาชน กล่าวคือทำในสิ่งที่ประชาชนต้องการและยินดีที่จะสนับสนุนงบประมาณของรัฐเพื่อทำกิจกรรมนั้น ๆ ให้กับประชาชน โดยมีลักษณะเป็น Participatory Democracy มากกว่า Authoritarian โดยอยู่ในอัตราที่เหมาะสมกับสภาพแวดล้อม ข้อเท็จจริง และเรื่องหรือกิจกรรมที่ทำ โดยที่สำคัญประชาชนต้องมีส่วนร่วมในการตัดสินใจในการดำเนินการ โดยรัฐจะต้องส่งเสริมให้ส่วนต่าง ๆ ของสังคม โดยหลักการนี้จะต้องได้รับความยินยอมจากประชาชนผู้เสียภาษี เพื่อให้การดำเนินกิจกรรมของรัฐเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ
2) วินัยทางการคลัง คือการที่รัฐสามารถรักษาดุลยภาพระหว่างรายได้กับรายจ่ายหรือ ดุลการคลังเอาไว้ได้ ซึ่งจะทำให้รัฐมีเสถียรภาพทางการคลัง มีความน่าเชื่อถือทั้งทางกลไกและกระบวนการทางการคลัง โดยจะต้องประกอบไปด้วยในด้านรายได้ รายจ่าย และการเงินการบัญชี โดยการดำเนินการดังกล่าวจะต้องเป็นไปด้วยความรับผิดชอบ โปร่งใส และตรวจสอบได้ ซึ่งเป็นหลักการที่สำคัญและเป็นที่ยอมรับทั่วไป
3) บรรทัดฐานทางการคลังว่าด้วยหน้าที่และรายจ่ายของรัฐ เป็นบรรทัดฐานในระดับปฏิบัติการ ซึ่งหน่วยงานภาครัฐที่มีหน้าที่รับผิดชอบเฉพาะด้านหรือที่ได้รับมอบหมายจะนำไปประยุกต์ใช้เป็นแนวทางในการกำหนดนโยบายและระเบียบปฏิบัติต่าง ๆ เช่น เรื่องรายได้ รายจ่าย งบประมาณ การเงิน การบัญชี การรายงาน การตรวจสอบ นโยบายการคลัง และรวมถึงความสัมพันธ์ทางการคลังระหว่างรัฐบาลกับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นด้วย

3. วินัยทางการคลังหมายความว่าอย่างไร อธิบาย
ถ้าจะตอบสั้นๆ วินัยทางการคลัง น่าจะหมายถึง การรู้จักใช้จ่ายเงินให้เหมาะสมกับสถานการณ์ รู้จักบริหารจัดการเงินให้คุ้มค่า สร้างผลตอบแทนที่เป็นกอบเป็นกำ ไม่เป็นภาระกับประชาชนและประเทศในระยะยาว
แต่ตามความหมายอื่นๆ ที่นักวิชาการได้เสนอไว้ มีดังนี้
วินัยการคลัง เป็นระเบียบแบบแผนที่ใช้กำกับการจัดการทางการเงินของประเทศ หรืออีกนัยหนึ่ง คือ แนวคิดที่เกี่ยวข้องกับการบริหารจัดการและผลของการบริหารจัดการทางการคลัง (ศิวัสน์ เหลืองสมบูรณ์, 2552)
หรือ อีกความหมายถึง วินัยทางการคลัง (Fiscal Discipline) คือ การดูแลให้รายจ่ายสาธารณะและข้อผูกพันทางการเงินของรัฐบาลทั้งในปัจจุบันและในอนาคตอยู่ในระดับที่สมดุลกับขีดความสามารถในการจัดหารายได้ของรัฐบาล (จรัส สุวรรณมาลา, 2546)
แต่ปกติแล้วเราก็มักคิดว่า วินัยทางการคลัง คือการที่รัฐจะต้องรัดเข็มขัด ลดรายจ่ายไม่ให้งบประมาณขาดดุล ซึ่งก็คงจะไม่ผิดอะไรมากนักถ้าประเทศเราเป็นประเทศที่พัฒนาแล้ว แต่เป็นความหมายที่ค่อนข้างจะแคบ เพราะที่จริงแล้ว ต้องเข้าใจถึงลักษณะของรายจ่ายประเภทต่าง ๆ ของภาครัฐ ซึ่งสามารถแบ่งออกได้เป็น 3 ประเภท ดังนี้
1) เป็นรายจ่ายเพื่อประโยชน์ในปัจจุบัน เช่น การซื้อปากกาดินสอมาให้ข้าราชการใช้เซ็นเอกสาร การจ่ายเงินเดือนข้าราชการตอบแทนการที่ข้าราชการให้บริการประชาชนในแต่ละเดือน รายจ่ายกลุ่มนี้ส่วนใหญ่เป็นการจ่ายเพื่อให้กลไกของรัฐที่มีอยู่สามารถทำงานต่อไปได้
2) รายจ่ายกลุ่มที่สองเป็นรายจ่ายด้านการลงทุน เช่น การสร้างถนนหนทาง ท่าเรือ สนามบิน และโครงสร้างพื้นฐานที่จำเป็นต่อการพัฒนาประเทศ การลงทุนเหล่านี้ให้ผลตอบแทนกลับมา ในรูปของการขยายตัวทางเศรษฐกิจในระยะยาว เมื่อเศรษฐกิจขยายตัว รายได้ของประชาชนและธุรกิจมีมากขึ้น รัฐก็สามารถจัดเก็บภาษีได้ขึ้นตามไปด้วย หากผลตอบแทนที่ได้จากโครงการลงทุนมีมากกว่าต้นทุนที่ลงไป ก็ถือว่ารายจ่ายด้านการลงทุนนั้นๆ คุ้มค่า
3) รายจ่ายประเภทที่สาม คือ การถ่ายโอนเงินโดยมิได้รับผลตอบแทนกลับคืนมา ซึ่งส่วนใหญ่เป็นรายจ่ายด้านสังคม เช่น การให้เงินช่วยเหลือผู้สูงอายุ การให้เงินช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัย เป็นต้นหากมองในเชิงเศรษฐศาสตร์แล้ว
รายจ่ายประเภทสุดท้าย เป็นการโอนเงินจากผู้เสียภาษีไปให้กับคนอีกกลุ่มหนึ่ง ซึ่งนโยบายในเชิงเงินโอนเหล่านี้เป็นความพยายามของรัฐที่จะลดความเหลื่อมล้ำทางเศรษฐกิจระหว่างคนกลุ่มต่าง ๆ หรือบรรเทาผลกระทบจากเหตุการณ์ที่ไม่คาดฝัน
ด้วยเหตุนี้เอง การจะประเมินว่านโยบายที่เข้ากลุ่มรายจ่ายประเภทที่สามนี้ได้ผลมากน้อยแค่ไหนจึงเป็นเรื่องที่ซับซ้อน เพราะจะคิดแต่ตัวเงินเพียงอย่างเดียวไม่ได้ ผลตอบแทนในเชิงสังคมและจิตวิทยาซึ่งไม่สามารถตีค่าออกมาเป็นเงินได้ก็ต้องนำมารวมไว้ด้วยเช่นกัน อย่างไรก็ตาม การจะจำแนกรายจ่ายของรัฐบาลว่าอยู่ในกลุ่มไหนนั้นจะต้องทำทั้งก่อนและหลังการจ่ายเงิน เพราะโครงการต่างๆ ส่วนใหญ่ก็จะจัดขึ้นมาเพื่อตอบสนองวัตถุประสงค์ด้านการลงทุนเป็นหลัก แต่พอเอาเข้าจริง คนใช้เงินกลับเอาไปใช้ซื้อข้าวของเครื่องใช้สำนักงานเพื่อประโยชน์ในปัจจุบันเสียหมด ยกตัวอย่างเช่น กองทุนหมูบ้าน ถ้าเอาไปใช้แก้ปัญหาการขาดเงินทุน ช่วยให้คนในหมู่บ้านมีเงินทุนหมุนเวียนลงทุน ยกระดับความเป็นอยู่ของตัวเองได้ในระยะยาว ก็ถือว่าโครงการนี้ประสบผลสำเร็จ หากเอาเงินไปใช้สุรุ่ยสุร่าย แบ่งกันในบรรดาเครือญาติของผู้ใหญ่บ้านเพื่อนำไปใช้จ่ายหรือซื้อของที่ไม่ก่อรายได้ เช่น ทีวี พัดลม ตู้เย็น โทรศัพท์มือถือ หรือยานพาหนะ ก็มีหวังแต่จะสูญเงินเปล่า
ในความเป็นจริงแล้ว แต่ละหมู่บ้านมีวิธีการบริหารจัดการเงินไม่เหมือนกัน บางหมู่บ้านก็บริหารดี บางหมู่บ้านก็ทรงตัว บางหมู่บ้านบริหารไม่เป็น ดังนั้น การจะเหมารวมว่านโยบายกองทุนหมู่บ้านหรือนโยบายประชานิยมอื่นๆ คุ้มค่าแค่ไหน ต้องดูกันให้ตลอดรอดฝั่ง เริ่มตั้งแต่วัตถุประสงค์ วิธีการบริหารจัดการ และผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง ซึ่งประเมินโดยใช้หลักวิชาการ ปราศจากการแทรกแซงทางการเมือง หากผลปรากฏออกมาว่าโดยรวมแล้วผลเสียมากว่าผลได้ นโยบายประชานิยมนั้นก็ถือว่าไม่คุ้มค่า และถ้ารัฐยังดื้อดึงคิดทำต่อไป จะเป็นการสูญเงินรัฐโดยใช่เหตุ
การใช้จ่ายเงินจำนวนมหาศาล โดยไม่ได้รับผลตอบแทนกลับคืนมาเท่าที่ควร แบบนี้ ถือเป็นการตำน้ำพริกละลายแม่น้ำ นี่แหละคือสิ่งที่เรียกว่า การขาดวินัยทางการคลัง ในทางตรงกันข้าม ถ้าโครงการประชานิยมนั้นก่อให้เกิดผลเป็นรูปธรรม เห็นผลเต็มเม็ดเต็มหน่วย ช่วยให้ชีวิตความเป็นอยู่ของคนดีขึ้น คุ้มกับเงินที่ลงทุนไป เป็นโครงการซึ่งน่าจะทำต่อ แต่รัฐกลับตัดสินใจเลิกเสียดื้อๆ แบบนี้ก็เข้าข่ายถือว่าขาดวินัยทางการคลังเช่นกัน
การขาดวินัยทางการคลังส่งผลต่อระดับหนี้สาธารณะ ทำให้ความน่าเชื่อถือในการชำระหนี้ของรัฐบาล และการลงทุนในประเทศลดลง
กล่าวอีกนัยหนึ่ง วินัยทางการคลัง คือการที่รัฐสามารถรักษาดุลยภาพระหว่างรายได้กับรายจ่ายหรือ ดุลการคลังเอาไว้ได้ ซึ่งจะทำให้รัฐมีเสถียรภาพทางการคลัง มีความน่าเชื่อถือทั้งทางกลไกและกระบวนการทางการคลัง โดยจะต้องประกอบไปด้วยในด้านรายได้ รายจ่าย และการเงินการบัญชี โดยการดำเนินการดังกล่าวจะต้องเป็นไปด้วยความรับผิดชอบ โปร่งใส และตรวจสอบได้ ซึ่งเป็นหลักการที่สำคัญและเป็นที่ยอมรับทั่วไป ประกอบด้วยหลักสำคัญ 3 ด้าน ดังนี้
1) ด้านรายได้
- มีระบบการประมาณการร้ายได้และการจัดเก็บที่น่าเชื่อถือ
- ตัวเลขที่ประมาณการและตัวเลขจริงต้องใกล้เคียงกัน
- มีวิธีการและกระบวนการในการจัดเก็บรายได้ที่มีประสิทธิภาพ
2) ด้านรายจ่าย
- ควบคุมการใช้จ่ายในกรอบของงบประมาณที่กำหนด
- มีการประมาณการรายจ่ายครอบคลุมทุกประเภท
- ต้องน่าเชื่อถือ
- การบริหาร การเบิกจ่าย การก่อหนี้ผูกพัน ต้องสอดคล้องกัน
3) ด้านการเงินการบัญชี
- ดูแลการรับ การจ่ายเงิน การก่อหนี้ผูกพัน
- ต้องมีการปฏิบัติตามระเบียบ กฎเกณฑ์ หรือกฎหมายที่เกี่ยวข้อง
- ป้องกันและควบคุมไม่ให้เกิดการคอรัปชั่น
- ต้องดำเนินการด้วยความรับผิดชอบ โปร่งใส และตรวจสอบได้

4. ระบบการตรวจสอบองค์กรอิสระสำคัญอย่างไร
องค์กรอิสระ เป็นกลไกตามรัฐธรรมนูญมีอำนาจหน้าที่ในการตรวจสอบการใช้อำนาจรัฐเพื่อรักษาประโยชน์ของแผ่นดิน คุ้มครองสิทธิเสรีภาพและศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ของบุคคล หรือประชาชนและเพื่อให้การปฏิรูปทางการเมืองเป็นไปตามเจตนารมณ์ของรัฐธรรมนูญ โดยมีหน่วยธุรการที่เป็นอิสระในการบริหารงานบุคคล งบประมาณและการดำเนินการอื่น
องค์กรอิสระ หมายถึง องค์กรของรัฐที่ได้รับมอบหมายให้ดำเนินการเกี่ยวกับภารกิจของรัฐตามบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญและกฎหมาย โดยเป็นองค์กรของรัฐที่มีสถานะพิเศษ ซึ่งได้รับหลักประกันให้สามารถปฏิบัติภารกิจหน้าที่ได้โดยอิสระ ปลอดพ้นจากการแทรกแซงขององค์กรของรัฐอื่นหรือสถาบันการเมืองอื่น รวมทั้งอยู่เหนือกระแสและการกดดันใดๆ ที่เกิดขึ้นภายในสังคมในช่วงเวลาใดเวลาหนึ่ง
ในระบบบริหารการคลังสาธารณะที่มีความโปร่งใสและมีความยั่งยืน นั้น จำเป็นต้องมีองค์กรอิสระทำหน้าที่ในการตรวจสอบและรับรองความถูกต้องและน่าเชื่อถือได้ของระบบข้อมูลและรายงานทางการเงินขององค์กรภาครัฐ และเพื่อป้องกันปัญญาด้านการเงินการคลังขององค์การรัฐที่อาจเกิดขึ้น ได้แก่ ปัญหาการรั่วไหลของการใช้จ่ายงบประมาณแผ่นดิน ปัญหาการทำงบประมาณแบบขาดดุล (มาอย่างต่อเนื่องหลายปีในอดีต) ปัญหาการใช้จ่ายงบกลางแบบหมกเม็ดและสุรุ่ยสุร่าย หรือเมื่อเร็วๆ นี้ได้แก่ ปัญหาการขาดสภาพคล่องอันเนื่องมาจากการมีเงินคงคลังที่ร่อยหรอ เป็นต้น โดยองค์กรตรวจสอบอิสระดังกล่าว จะต้องมีคุณสมบัติ ดังนี้
1) จะต้องได้รับการแต่งตั้งจากสถาบันนิติบัญญัติ เพื่อให้ทำหน้าที่ตรวจสอบและรับรองความถูกต้องและความน่าเชื่อถือได้ของระบบข้อมูลทางการเงินขององค์กรภาครัฐ และจัดทำรายงานผลการตรวจสอบต่อสถาบันนิติบัญญัติตามกำหนดเวลา ซึ่งต้องมีความเป็นอิสระ ทั้งในแง่ของการบังคับบัญชาสั่งการ การายงาน งบประมาณ และอัตรากำลัง
2) การตรวจสอบดังกล่าว จะต้องครอบคลุมประเด็นนโยบายการคลัง งบประมาณ สมมุติฐานการประมาณการ วัตถุประสงค์ และเป้าหมายในระดับมหภาค ด้านรายได้ รายรับ และรายจ่ายในระดับมหภาค และระดับแผนงาน งาน กิจกรรม และหน่วยงาน

Popular Posts