ในการตัดสินใจลงทุนใด ๆ นั้น ต้องพิจารณาเปรียบเทียบผลตอบแทนที่คาดหวังไว้ควบคู่ไปกับระดับของความเสี่ยงที่ตนยอมรับได้เสมอ โดยต้องเลือกการลงทุนที่ให้ผลตอบแทนสูงที่สุด ภายใต้ความเสี่ยงระดับหนึ่ง หรือการลงทุนที่มีความเสี่ยงต่ำที่สุด ภายใต้อัตราผลตอบแทนระดับหนึ่ง อย่างไรก็ตาม ยิ่งโอกาสที่ผลตอบแทนที่ได้รับจากการลงทุนมีความไม่แน่นอน หรือความเสี่ยงมากขึ้นเท่าใด ก็จะทำให้เราต้องการผลตอบแทนที่สูงขึ้นเพื่อชดเชยความเสี่ยงที่มากขึ้นเท่านั้น ดังนั้น การทำความเข้าใจแนวคิดเกี่ยวกับผลตอบแทน และความเสี่ยงจึงเป็นประเด็นที่ต้องให้ความสำคัญเป็นอันดับแรกในเรื่องของการลงทุน
โดยเมื่อพูดถึงการลงทุน สิ่งที่เราต้องพิจารณาก่อนเสมอ ก็คือ เมื่อลงทุนแล้ว จะได้รับผลตอบแทนจากการลงทุนนั้นกลับคืนมาเท่าไร คำว่า “ผลตอบแทน (Returns)” นี้ พูดง่าย ๆ ก็คือ ผลประโยชน์ที่ทุกคนปรารถนาที่จะได้รับจากการลงทุน โดยคาดหวังว่าผลประโยชน์ที่ได้รับนั้นจะทำให้เงินลงทุนเพิ่มพูนขึ้น และคุ้มค่ากับ
• การที่เรายอมสูญเสียโอกาสที่จะนำเงินซึ่งตนเองมีอยู่ไปใช้ประโยชน์ในด้านอื่น ๆ แล้วเลือกที่จะนำเงินก้อนนั้นมาลงทุนแทน หรือที่เรียกกันว่า “ต้นทุนค่าเสียโอกาส (Opportunity Cost)”
• “อำนาจในการซื้อ (Purchasing Power)” ที่สูญเสียไป อันเนื่องมาจากระดับของราคาสินค้า และบริการในตลาดมีแนวโน้มสูงขึ้น หรือที่เรียกว่า “ภาวะเงินเฟ้อ (Inflation)”
• “ความเสี่ยง (Risk)” ที่เกิดขึ้นจากการลงทุน ซึ่งโดยปกติแล้วการลงทุนใด ๆ ย่อมมีความเสี่ยงเกิดขึ้นเสมอไม่มากก็น้อย แต่หากเราเลือกลงทุนในทางเลือกใด ๆ ที่มีความเสี่ยงสูง เราก็ย่อมต้องการผลตอบแทนในอัตราที่สูงขึ้น เพื่อชดเชยความเสี่ยงที่มากขึ้นนั้นด้วย ในทางตรงกันข้าม หากเราเลือกลงทุนในทางเลือกใด ๆ ที่มีความเสี่ยงต่ำ อัตราผลตอบแทนที่เราต้องการเพื่อชดเชยความเสี่ยงที่เกิดขึ้น หรือที่เรียกกันว่า “ส่วนชดเชยความเสี่ยง (Risk Premium)” ก็จะต่ำนั่นเอง
• พันธะผูกพันของเงินลงทุนตลอดช่วง “ระยะเวลาการลงทุน (Investment Period)” โดยยิ่งเงินลงทุนมีพันธะผูกพัน หรือต้องใช้เวลานานมากขึ้นเท่าไหร่ ก็ย่อมมีโอกาสที่จะมีความไม่แน่นอนเกิดขึ้นกับเงินลงทุนนั้นได้มากยิ่งขึ้นในอนาคต
• ค่าใช้จ่าย หรือต้นทุนอื่น ๆ ที่เกิดขึ้นอันเนื่องมาจากการลงทุนนั้น ๆ ยกตัวอย่างเช่น ต้นทุนที่เกิดจากการกู้ยืมเงินมาลงทุน (Costs of Debt) ค่าใช้จ่ายในการดำเนินงาน (Operating Expenses) ที่เกิดขึ้นจากการลงทุนประกอบกิจการ ค่าธรรมเนียมที่ต้องจ่ายให้แก่นายหน้า (Commission หรือ Brokerage Fees) ซึ่งเกิดขึ้นจากการลงทุนในหลักทรัพย์ เป็นต้น
• กรณีแรก จีบสำเร็จ และได้เป็นภรรยาจริง ตรงตามที่คาดหวังไว้ตั้งแต่ต้น หากเปรียบเสมือนกับการลงทุน ก็คือ ได้รับผลตอบแทนจริงตรงกับที่ได้คาดหวังเอาไว้ ถือว่า ไม่มีความเสี่ยงเกิดขึ้นแต่อย่างใด
• กรณีที่สอง จีบไม่สำเร็จ แม้ว่าจะลงทุนลงแรง ทั้งพาไปเที่ยว พาไปดูหนังฟังเพลง และซื้อของต่าง ๆ ให้มากมาย แต่ท้ายสุดสาวเจ้ากลับเลือกคนอื่นแทน หากเปรียบเสมือนกับการลงทุน ก็คือ ได้รับผลตอบแทนจริงต่ำกว่าที่ได้คาดหวังไว้นั่นเองอย่างนี้ถือว่า ขาดทุน และเป็นความเสี่ยงที่ก่อให้เกิดผลลัพธ์ในทางลบ
• กรณีสุดท้าย จีบสำเร็จ แต่พิเศษหน่อยตรงที่ แทนที่จะได้สาวสวยที่สุดในหมู่บ้านมาเป็นภรรยาเพียงอย่างเดียว ยังพบว่าภรรยามีฝีมือในการทำอาหารจนสามารถเปิดร้านอาหารที่มีชื่อเสียง ทำรายได้ให้แก่ครอบครัวเป็นอย่างมาก อย่างนี้ ถือว่ากำไรแน่นอน หากเปรียบเสมือนกับการลงทุน ก็คือ ได้รับผลตอบแทนจริงสูงกว่าที่ได้คาดหวังไว้ เป็นความเสี่ยงที่ก่อให้เกิดผลลัพธ์ในทางบวกแต่ไม่ว่าจะเป็นกรณีที่สอง หรือกรณีสุดท้าย สังเกตได้ว่า ผลลัพธ์ที่ได้เกิดขึ้นจริงแตกต่างไปจากที่ได้คาดหวังไว้ตั้งแต่ต้น จึงถือว่าเป็นความเสี่ยงทั้งสิ้น โดยเราสามารถจำแนกความเสี่ยงออกได้เป็น
1. ความเสี่ยงที่เป็นระบบ (Systematic Risk) หมายถึง ความเสี่ยงที่ส่งผลกระทบต่อกิจการทุกกิจการ หรือมีผลกระทบต่อราคาของทุกๆ หลักทรัพย์ในตลาด โดยไม่สามารถควบคุม หรือทำให้ลดลงได้ ซึ่งประกอบด้วย
- ความเสี่ยงตลาด (Market Risk) เป็นความเสี่ยงที่เกิดขึ้นจากกระแสความรู้สึก หรือทัศนคติของนักลงทุนที่มีต่อสภาวะตลาด (Market Sentiment) โดยรวม
- ความเสี่ยงจากความผันผวนของอัตราดอกเบี้ย (Interest Rate Risk) เป็นความเสี่ยงจากการเปลี่ยนแปลงของอัตราดอกเบี้ยในตลาดที่ส่งผลกระทบต่อความสามารถในการกู้ยืมเงิน หรือราคาของหลักทรัพย์ในตลาด
- ความเสี่ยงจากอำนาจซื้อลดลง (Purchasing Power Risk) เป็นความเสี่ยงอันเนื่องมาจากภาวะเงินเฟ้อ (Inflation) โดยจะมีผลทำให้อำนาจการซื้อของเงินที่ได้รับจากการลงทุนลดลง หรือทำให้ผลตอบแทนที่ได้รับลดลงนั่นเอง
2. ความเสี่ยงที่ไม่เป็นระบบ (Unsystematic Risk) หมายถึง ความเสี่ยงเฉพาะที่ส่งผลกระทบต่อกิจการใดกิจการหนึ่งเท่านั้น หรือมีผลกระทบต่อราคาหลักทรัพย์ใดหลักทรัพย์หนึ่งเท่านั้น โดยสามารถควบคุม หรือทำให้ลดลงได้ด้วยการบริหารจัดการที่ดี หรือการกระจายความเสี่ยงจากการลงทุน ซึ่งประกอบด้วย
- ความเสี่ยงจากการดำเนินงาน (Business Risk) เป็นความเสี่ยงที่เกิดขึ้นจากการเปลี่ยนแปลงของปัจจัยที่ส่งผลเฉพาะต่อแต่ละกิจการ หรือแต่ละอุตสาหกรรม ซึ่งอาจเกิดขึ้นจากคุณภาพของทีมผู้บริหาร การบริหารงานที่ผิดพลาด และการแข่งขันที่รุนแรงในตลาด เป็นต้น
- ความเสี่ยงทางการเงิน (Financial หรือ Default Risk) เป็นความเสี่ยงที่เกิดขึ้นจากความน่าเชื่อถือทางการเงิน หรือความสามารถในการชำระหนี้ของแต่ละกิจการ ซึ่งอาจเกิดขึ้นจากการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างเงินทุนของกิจการ การใช้เงินกู้ผิดวัตถุประสงค์ เป็นต้น
การวิเคราะห์สภาพแวดล้อมภายใน (Internal Environmental Analysis)
-
สภาพแวดล้อมภายนอกมีอิทธิพลต่อองค์การอย่างมากก็จริง
แต่ผู้บริหารต้องมีความเข้าใจและสามารถจัดการปัจจัยภายในองค์การด้วยการดาเนินงานจึงจะบรรลุเป้าหมาย
การวิเคร...
5 ปีที่ผ่านมา
0 ความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น