องค์กรต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นสถาบันการเงินที่บริหารจัดการลงทุนโดยตรง หรือบริษัทเอกชนทั่วไปที่ต้องจัดการเงินสดคงเหลือผ่านช่องทางการลงทุนต่าง ๆ แล้ว ย่อมมีความเสี่ยงเกิดขึ้นด้วยกันทั้งสิ้น โดยนิยามแล้ว ความเสี่ยงทางการเงิน (Financial Risk) สำหรับองค์กร หมายถึง ความไม่แน่นอนของผลลัพธ์ในอนาคต อันเนื่องมาจากการดำเนินกิจกรรมทางการเงินของฝ่ายที่เกี่ยวข้องในองค์กร ที่จะส่งผลกระทบทางลบต่อมูลค่าของกิจการ หากมองในเชิงเปรียบเทียบแล้ว ความเสี่ยงทางการเงินสำหรับผู้ลงทุนรายบุคคล มักจะเกิดจากความเสี่ยงด้านภาวะตลาด (Market Risk) เป็นหลัก ซึ่งหมายถึงความเสี่ยงที่เกิดขึ้นจากความผันผวนของตลาดเงิน ทำให้ผู้ลงทุนไม่สามารถเชื่อได้อย่างแน่นอนว่าผลตอบแทนที่จะได้รับจะเป็นเท่าใด ณ สิ้นสุดการลงทุนแต่ ความเสี่ยงทางการเงินในระดับองค์กร ครอบคลุมปัจจัยที่กว้างกว่า
นอกจากความเสี่ยงด้านภาวะตลาดที่องค์กรต้องเผชิญเช่นเดียวกันแล้ว ความเสี่ยงยังเกิดจากความไม่แน่นอนที่อีกฝ่ายหนึ่งจะไม่ชำระราคาหรือชำระหนี้ตามที่ตกลงกันไว้ เรียกว่าความเสี่ยงด้านเครดิต(Credit Risk) และความเสี่ยงที่เกิดจากข้อผิดพลาดในกระบวนการทำงาน หรือการตรวจสอบเกี่ยวกับธุรกรรมทางการเงิน จนทำให้เกิดความเสียหายขึ้น เรียกว่า ความเสี่ยงด้านการปฏิบัติการ (Operational Risk) ทั้งนี้ ความเสี่ยงด้านภาวะตลาดและความเสี่ยงด้านเครดิต จัดได้ว่าเป็นความเสี่ยงระยะสั้นที่ก่อให้เกิดความผันผวนต่อมูลค่าการลงทุน ในขณะที่ความเสี่ยงด้านการปฏิบัติการ จัดได้ว่าเป็นความเสี่ยงระยะยาวที่ส่งผลต่อการดำเนินงานและมูลค่าของกิจการ
เนื่องจากความเสี่ยงทางการเงินมีหลายมิติ องค์กรที่ดำเนินธุรกิจแตกต่างกันจะรับความเสี่ยงแต่ละประเภทในระดับที่ต่างกันเช่น องค์กรที่เน้นการบริหารพอร์ตการลงทุนจะมีความเสี่ยงด้านภาวะตลาดสูง และองค์กรที่เน้นการปล่อยสินเชื่อจะมีความเสี่ยงด้านเครดิตสูง เป็นต้น นอกจากนี้ ความเสี่ยงประเภทเดียวกันในช่วงเวลาที่ต่างกัน อาจมีความสำคัญต่อองค์กรไม่เท่ากันอีกด้วย เช่น ในช่วงเริ่มต้นของธุรกิจ องค์กรอาจมีความเสี่ยงด้านการปฏิบัติการมาก เนื่องจากอยู่ในระบบการดำเนินการต่าง ๆ ยังไม่เข้าที่ หรือเมื่อต้องขยายการลงทุนไปยังสินทรัพย์ที่ยังไม่คุ้นเคย อาจทำให้เผชิญกับความเสี่ยงจากภาวะตลาดเพิ่มขึ้นอีก ดังนั้น ท่านผู้บริหารควรพิจารณาความเสี่ยงทางการเงินในเชิงภาพรวมและจัดสมดุลให้ดี หากให้น้ำหนักการบริหารความเสี่ยงประเภทใดประเภทหนึ่งมากเกินไป อาจทำให้ได้รับความเสียหายจากการละเลยความเสี่ยงอีกประเภทหนึ่งได้
การวิเคราะห์สภาพแวดล้อมภายใน (Internal Environmental Analysis)
-
สภาพแวดล้อมภายนอกมีอิทธิพลต่อองค์การอย่างมากก็จริง
แต่ผู้บริหารต้องมีความเข้าใจและสามารถจัดการปัจจัยภายในองค์การด้วยการดาเนินงานจึงจะบรรลุเป้าหมาย
การวิเคร...
5 ปีที่ผ่านมา
0 ความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น