หุ้นสามัญเป็นหลักทรัพย์แสดงความเป็นเจ้าของกิจการ ผู้ถือหุ้นสามัญจะมีฐานะเป็นเจ้าของกิจการ จึงมีสิทธิได้รับผลตอบแทนในรูปของเงินปันผล (Dividend) เมื่อมีการประกาศจ่าย และได้รับส่วนเกินจากราคาซื้อขาย (Capital Gain) เมื่อขายหุ้นออกไปผู้ลงทุนในหุ้นสามัญส่วนใหญ่ลงทุนเพราะมุ่งหวังจะได้รับผลกำไรของกิจการ ซึ่งจะได้รับจากการจ่ายเงินปันผล เมื่อมีการประกาศจ่ายเงินปันผลไปแล้วกิจการจะต้องจ่ายเงินปันผล ตามที่ประกาศไว้ในรูปของเงินสดปันผล หรือหุ้นปันผลก็ได้
นโยบายการจ่ายเงินปันผล แบ่งได้ 3 ประเภท
1. จำนวนเงินปันผลต่อหุ้นคงที่ (Stable Amount Pershar) : กิจการจะจ่ายเงินปันผลต่อหุ้นเป็นจำนวนเงินแน่นอน เช่น จ่ายปันผลหุ้นละ 2 บาท หรือ 3 บาท เป็นต้น กิจการที่จ่ายปันผลเช่นนี้ได้จะต้องมีผลกำไรที่คอ่นข้างแน่นอน และมีฐานะการเงินมั่นคง
2. อัตราการจ่ายเงินปันผลคงที่ (Constant Layout Ratio) : กิจการจะกำหนดจำนวนเงินปันผลเป็นอัตราส่วนกับกำไรที่กิจการได้รับในปีนั้นๆ เช่น กำหนดจ่ายปันผล 50% ของกำไรสุทธิ ถ้าบริษัทมีหุ้นสามัญที่ออกจำหน่ายทั้งหมด 200,000 หุ้นปี 2544 บริษัทมีกำไรสุทธิ 200,000 บาท กำไรสุทธิต่อหุ้น เท่ากับ 1 บาท ต้องจ่ายเงินปันผลหุ้นละ 0.50 บาทปี 2545 บริษัทมีกำไรสุทธิ 400,000 บาท กำไรสุทธิต่อหุ้น เท่ากับ 2 บาท ต้องจ่ายเงินปันผลหุ้นละ 1.00 บาทดังนั้น วิธีนี้จำนวนเงินปันผลจึงไม่แน่นอนเปลี่ยนแปลงไปตามกำไรสุทธิของกิจการ ถ้ากิจการมีกำไรมากก็จ่ายปันผลมาก ถ้ากิจการมีกำไรน้อยก็จ่ายปันผลน้อย
3. จำนวนเงินปันผลปกติขั้นต่ำบวกเงินปันผลพิเศษ (Low Regular and Extra Dividend) :กิจการจะจ่ายเงินปันผลจำนวนหนึ่งที่แน่นอน และหากปีใดกิจการมีกำไรเกินกว่าปกติ กิจการก็จะจ่ายเงินปันผลเพิ่มพิเศษให้อีกจำนวนหนึ่ง เช่น กำหนดว่าทุกปีจ่ายเงินปันผลอย่างน้อยหุ้นละ 10 บาท แต่หากปีใดมีกำไรมากก็จะจ่ายเพิ่มพิเศษให้ปี 2540 บริษัทมีกำไรสุทธิ 300,000 บาท จ่ายปันผลหุ้นละ 10 บาทปี2541 บริษัทมีกำไรสุทธิ 400,000 บาท จ่ายปันผลหุ้นละ 15 บาท (10+5) ปี 2542 บริษัทมีกำไรสุทธิ 500,000 บาท จ่ายปันผลหุ้นละ 18 บาท (10+8)
ปัจจัยที่มีผลกระทบต่อการกำหนดนโยบายเงินปันผล
1. ข้อกำหนดตามกฎหมาย ซึ่งกำหนดไว้ว่า บริษัทจะจ่ายเงินปันผลจากกำไรในปีปัจจุบันหรือในอดีตก็ได้ (กำไรสะสม) โดยการจ่ายปันผลทุกครั้งจะต้องมีการจัดสรรกำไรส่วนหนึ่ง ตามที่กฎหมายกำหนดไว้ เช่น ร้อยละ 5 ของกำไร ไว้เป็นทุนสำรองตามกฎหมายด้วย
2.สภาพคล่อง เป็นปัจจัยที่สำคัญในการตัดสินใจเกี่ยวกับการจ่ายปันผล ถ้าหากฐานะเงินสดของธุรกิจและสภาพคล่องของธุรกิจดีก็สามารถจ่ายเงินปันผลได้ หากธุรกิจกำลังขยายกิจการ อาจจะไม่มีสภาพคล่อง เนื่องจากต้องนำเงินสดไปลงทุนในสินทรัพย์ถาวรต่างๆ จึงต้องพิจารณาให้รอบคอบก่อนตัดสินใจจ่ายปันผล
3. ความสามารถในการกู้ยืม ถ้าธุรกิจมีความสามารถในการกู้ยืมสูง ทำให้ธุรกิจไม่จำเป็นจะต้องเก็บรักษาเงินสดไว้มาก ดังนั้นธุรกิจมีสามารถในการจ่ายปันผลได้สูง
4. เสถียรภาพของกำไร ถ้าหากกำไรที่ธุรกิจทำได้สม่ำเสมอ ก็สามารถที่จะพยากรณ์ได้ล่วงหน้าถึงกำไรที่จะได้ พร้อมทั้งสามารถที่จะจ่ายปันผลในอัตราส่วนที่มากและสูงกว่าธุรกิจที่มีกำไรไม่แน่นอน
5. ความจำเป็นในการชำระหนี้ ถ้าธุรกิจเลือกนำเงินไปชำระหนี้ก็ต้องมีการกันเงินจากกำไรไว้ เพื่อนำไปชำระหนี้ ดังนั้นจึงทำให้ไม่สามารถจ่ายเงินปันผลได้ หรือจ่ายได้ก็เป็นจำนวนน้อย
6. ข้อจำกัดในสัญญาเงินกู้ ซึ่งมักจะมีข้อความดังนี้
- การจ่ายปันผลจะทำได้เฉพาะจากกำไรที่เกิดขึ้นหลังวันลงนามในสัญญาจะไปเอากำไรสะสมปีก่อนมาจ่ายปันผลไม่ได้
- บริษัทจะไม่จ่ายปันผล ถ้าหากเงินทุนหมุนเวียนสุทธิต่ำกว่าระดับที่กำหนดไว้
- การออกหุ้นกู้หรือการกู้เงินมา อาจมีข้อตกลงในการจำกัดจำนวนการจ่ายเงินปันผลการจำกัดจำนวนเงินปันผลจ่ายนี้ก็เพื่อจะเพิ่มความสามารถในการชำระหนี้คืน
7. การควบคุม ในบางครั้งธุรกิจจะกำหนดนโยบายเพื่อที่จะขยายกิจการเท่ากับจำนวนเงิน กำไรที่กันไว้ในรูปกำไรสะสมเท่านั้น เพราะการเพิ่มทุนโดยการออกหุ้นสามัญจะทำให้อำนาจการควบคุมและส่วนได้เสียในบริษัทของผู้ถือหุ้นเดิมเปลี่ยนแปลงไป หรือการก่อหนี้อาจทำให้มีความเสี่ยงทางการเงินสูงขึ้น
8. ฐานะทางภาษีของผู้ถือหุ้น เงินปันผลที่ได้รับถือเป็นรายได้ที่ต้องเสียภาษี ถ้าผู้ถือหุ้นส่วนใหญ่ของบริษัทจะต้องเสียภาษีเงินได้ในอัตราที่สูงก็ย่อมพอใจที่จะให้คงกำไรไว้ในรูปกำไรสะสม ซึ่งมีผลทำให้ราคาตลาดของหุ้นสามัญนั้นสูงขึ้น ผู้ถือหุ้นจะได้รับกำไรจากการขายหุ้น (Capital Gain) ซึ่งทำให้พอใจมากกว่ารับรายได้ในรูปของเงินปันผล เพราะอัตราภาษีที่เก็บจากเงินปันผลจะสูงกว่าอัตราภาษีที่เก็บจากกำไรจากการขายหุ้น
9. ภาวะเงินเฟ้อ โดยทั่วไปผู้ถือหุ้นต้องการรับเงินปันผลในปัจจุบันมากกว่าที่จะรอรับในอนาคตเพราะเมื่อเกิดภาวะเงินเฟ้อขึ้น จะทำให้ค่าของเงินลดลงตามกาลเวลา
10. อัตราการขยายตัวของสินทรัพย์ หากกิจการมีการขยายตัวสูง ต้องใช้เงินทุนมากกิจการจะต้องกันเงินกำไรไว้ในรูปของกำไรสะสมจำนวนมาก ทำให้จ่ายเงินปันผลได้น้อยลง
ประเภทของการจ่ายปันผล
1. เงินสดปันผล (Cash Dividend) : เงินสดปันผลจะจ่ายจากกำไรสะสม การที่จะจ่ายได้หรือไม่ขึ้นอยู่กับปริมาณเงินสดที่กิจการถืออยู่ว่ามีเพียงพอหรือไม่ การจ่ายเงินสดปันผลจะทำให้ในงบดุลมีการเปลี่ยนแปลงทั้งด้านสินทรัพย์ (เงินสดลดลงตามจำนวนปันผลที่จ่าย) และด้านหนี้สินและทุนก็ลดลงเช่นกัน (กำไรสะสมลดลงตามจำนวนปันผลที่จ่าย)
2. หุ้นปันผล (Stock Dividend) : เป็นการจ่ายปันผลในรูปของหุ้นสามัญออกใหม่ ซึ่งเรียกว่า หุ้นปันผล ซึ่งจะกำหนดจำนวนหุ้นที่จ่ายให้ผู้ถือหุ้นตามสัดส่วนของหุ้นที่ถืออยู่ เช่น การจ่ายหุ้นปันผลร้อยละ 10 หมายความว่า ผู้ถือหุ้นอยู่ 100 หุ้น จะได้รับหุ้นปันผล 10 หุ้น นั่นคือ กิจการจะต้องจดทะเบียนเพิ่มทุน โดยมีจำนวนหุ้นเพิ่มขึ้นอีกร้อยละ 10 การจ่ายหุ้นปันผลไม่ส่งผลกระทบต่อมูลค่าส่วนเจ้าของในงบดุล แต่จำนวนกำไรสะสมจะลดลง ในขณะที่มูลค่าหุ้นสามัญจะเพิ่มขึ้นในจำนวนที่เท่ากัน
ข้อดีของการจ่ายหุ้นปันผล
- ช่วยประหยัดเงินสดให้ธุรกิจ เพื่อใช้ในโครงการลงทุนอื่นในอนาคต โดยไม่ต้องจัดหาเงินทุนเพิ่มเติมจากแหล่งภายนอก
- ทำให้ผู้ถือหุ้นที่มีรายได้สูงเกิดความพอใจ เพราะถ้าผู้ถือหุ้นมีรายได้สูงจะเสียภาษีสูงด้วย
- ช่วยบริษัทที่ประสบปัญหาทางการเงิน
- ทำให้ราคาตลาดของหุ้นสามัญไม่สูงเกินไป
ข้อเสียของการจ่ายหุ้นปันผล
- ค่าใช้จ่ายในการจ่ายหุ้นปันผลค่อนข้างสูง
- ทำให้กำไรต่อหุ้นลดลง
- ราคาตลาดของหุ้นลดลง
3. การแยกหุ้น (Stock Splits) : การจ่ายปันผลวิธีนี้ จะทำให้จำนวนหุ้นสามัญที่ผู้ลงทุนถือหุ้นอยู่มีจำนวนมากขึ้น เช่น แยกหุ้นจาก 1 เป็น 10 หมายความว่า ผู้ถือหุ้นเดิมจะได้รับหุ้นเพิ่มขึ้น 9 หุ้น ต่อหุ้นที่ถืออยู่ 1 หุ้น โดยมูลค่าที่ตราไว้จะลดลงเหลือ 1/10 ด้วย คือหากมูลค่าเดิมที่ตราไว้ 100 บาทต่อหุ้น เมื่อแยกหุ้นแล้วจะเท่ากับ 10 บาทต่อหุ้น การแยกหุ้นไม่ส่งผลกระทบต่อมูลค่าส่วนของเจ้าของในงบดุล จำนวนกำไรสะสมและมูลค่าหุ้นสามัญรวมยังคงเดิม เพียงแต่จำนวนหุ้นจะมากขึ้นและมีราคามูลค่าที่ตราไว้ต่อหุ้นลดลงวิธีการแยกหุ้นนี้ จะสร้างความพอใจแก่ผู้ถือหุ้น เพราะเมื่อบริษัทมีกำไรมาก การจ่ายปันผลสูง และมีความเจริญเติบโตในอัตราที่ดีแล้ว ทำให้ราคาตลาดของหุ้นอยู่ในระดับที่สูงมาก
4. การซื้อหุ้นกลับคืน (Stock Pepurchase) : การที่ธุรกิจนำเงินกำไรส่วนที่เก็บไว้ในรูปกำไรสะสมหรือเงินที่ได้จากการก่อหนี้ไปซื้อหุ้นสามัญที่ออกจำหน่ายแล้ว ทำให้หุ้นสามัญมีจำนวนน้อยลง ถ้าปัจจัยอื่นคงที่และสมมติว่าการซื้อหุ้นคืนไม่กระทบต่อความสามารถทำกำไรของธุรกิจ จะทำให้กำไรต่อหุ้นเพิ่มขึ้น เมื่อกำไรต่อหุ้นเพิ่มขึ้น จะส่งผลให้ราคาตลาดของหุ้นสามัญสูงขึ้น ถ้าธุรกิจนำเงินที่เก็บไว้ในรูปกำไรสะสมไปซื้อหุ้นกลับคืน ทำให้การจ่ายเงินปันผลลดน้อยลง แต่ถ้านักลงทุนขายหุ้นจะได้รับกำไรจากการขายหุ้นเนื่องจากราคาตลาดสูงขึ้น กำไรจาการขายหุ้นชดเชยได้พอดีกับเงินปันผลจ่ายที่น้อยลงการซื้อหุ้นกลับคืนจะกระทำเมื่อกิจการมีเงินทุนเหลือใช้เป็นการถาวร หรือต้องการลดจำนวนหุ้นสามัญที่หมุนเวียนในตลาดลง เพื่อทำให้ราคาตลาดหุ้นสามัญสูงอีก หรือเพิ่มอำนาจการควบคุมกิจการ เพื่อป้องกันมิให้ผู้ถือหุ้นขายหุ้นให้กับบริษัทอื่น กิจการสามารถซื้อหุ้นกลับคืนมาได้ หุ้นที่ซื้อคืนนี้ เรียกว่า Treasury Stock
5. การรวมหุ้น (Reverse Split) : บริษัทสามารถทำการลดจำนวนหุ้นสามัญลงและเพิ่มมูลค่าที่ตราไว้ต่อหุ้นได้ การลดจำนวนหุ้นลงนี้ทำได้โดยการรวมหุ้น ซึ่งจะเกิดขึ้นในกรณีที่ราคาตลาดของหุ้นต่ำมาก ธุรกิจก็จะทำการรวมหุ้นเพื่อให้จำนวนหุ้นในมือของผู้ถือหุ้นลดจำนวนลง ราคาตามมูลค่าของหุ้นจะเพิ่มขึ้น อันมีผลทำให้ราคาตลาดของหุ้นสูงขึ้น
การวิเคราะห์สภาพแวดล้อมภายใน (Internal Environmental Analysis)
-
สภาพแวดล้อมภายนอกมีอิทธิพลต่อองค์การอย่างมากก็จริง
แต่ผู้บริหารต้องมีความเข้าใจและสามารถจัดการปัจจัยภายในองค์การด้วยการดาเนินงานจึงจะบรรลุเป้าหมาย
การวิเคร...
5 ปีที่ผ่านมา
0 ความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น