MBA

We constantly research and disseminate knowledge to prepare graduate students to be leaders at the community, national and international levels.

Facebook is a social utility that connects people with friends and others who work, study and live around them. People use Facebook to keep up with friends

Custom Search

วันพฤหัสบดีที่ 7 มิถุนายน พ.ศ. 2555

แนวทางการรักษาเสถียรภาพของ BOP

แนวทางการรักษาเสถียรภาพของ BOP หลักการ (หมายความว่า ท่าขาดดุล จะให้ทำอย่างไร) 1. Import Restriction Policy นโยบายจำกัดการนำเข้า โดย **** Tariff Tax ใช้กำแพงภาษี ขึ้นภาษีนำเข้าให้สูง (Import Tax) สินค้าบวกภาษี ซึ่งเป็นเครื่องมือ ลดการขาดดุลทางการค้า ผลที่เกิดขึ้น ราคาสินค้าจะแพงขึ้น Demandลดลง กำแพงภาษีทำให้รัฐได้เงินไม่มาก เพราะ ผู้นำเข้าจะไม่นำเข้าตั้งแต่ต้น กำแพงภาษีไม่ได้เป็นเครื่องมือในการหารายได้ แต่เป็นเครื่องมือใน การรักษาเสถียรภาพขาดดุลการค้า ****Quota Restriction : การจำกัดปริมาณ เป็นการจำกัดปริมาณ หรือจำนวนการสนำเข้า โดยนำเข้าได้ตามโควตาที่กำหนด ถ้าเกิน กว่านั้นเข้าไม่ได้ 1+2=****Tariff Quota : จำกัดการนำเข้า และจำกัดโควตา สามารถนำเข้าได้ แต่ถ้าเกินโควตาที่กำหนดจะต้องเสียภาษีสูง ประเทศที่พัฒนาแล้วชอบใช้ เช่น อเมริกา ญี่ปุ่น หรือที่เรียกว่า GSP (Generalized System of Preference) ซึ่งเป็นสิทธิพิเศษทาง ภาษี ส่วนมากให้สินค้าประเภทอุตสาหกรรม ที่ให้ประเทศกำลังพัฒนา (ถ้าส่งไปตาม Quota ภาษีจะ ต่ำมาก ถ้าส่งเกินกว่านั้นจะโดน Tariff=กำแพงภาษี) ****Non – Tariff Barriers (NTB) : มาตรการ การจำกัด การนำเข้าที่ไมใ่ ช่ภาษี ซึ่งประเทศกำลัง พัฒนานิยมใช้ มีหลายรูปแบบ เช่น - กำหนด Product Standard ให้สูง เป็นทั้งเรื่องจริง และเรื่องกีดกันทางการค้าที่แยกกัน ไม่ออก - กำหนด Environment Standard (มาตรฐานสิ่งแวดล้อม) สินค้าใดก็ตามที่ผลิต แล้ว ทำลายสิ่งแวดล้อม ทางยุโรปจะไม่ให้นำเข้า หรือสินค้าที่ใช้แรงงานเด็ก - Labor Standard : สินค้าที่ใช้แรงงานเด็ก ***ผลกระทบ จาก Import Restriction Policy (นโยบายจำกัดการนำเข้า) 1. ช่วยลดการนำเข้า และลดการขาดดุล 2. จูงใจให้อุตสาหกรรมภายในประเทศขยายการผลิต เพื่อทดแทนการนำเข้า 3. ทำให้เกิดการจ้างงาน 2. ใช้อัตราแลกเปลี่ยนแบบลอยตัว (Floating Exchange Rate System) ช่วยลดการขาดดุลได้ โดยผ่านกระบวนการ Automatic Stabilization แก้ไขปัญหาได้ แต่อ่อนที่สุด เพราะผลไม่แน่นอน และไม่แน่ใจว่าการนำเข้าจะลดลง เพราะต้องดู โครงสร้างการนำเข้าด้วย เช่น 1. ค่าเงินบาทอ่อนลง แต่คู่แข่งทางการค้า ค่าเงินอ่อนด้วย (เจ๊ากัน) 2. ค่าเงินอ่อนลง การนำเข้าลด อาจจะจริงหรือไม่ก็ได้ ขึ้นอยู่กับโครงสร้างการนำเข้า สินค้าถูกลงไม่มีหลักประกันว่า ประเทศอื่นจะซื้อสินค้า เพราะเศรษฐกิจอาจจะไม่ดีก็ ได้ ***3. Monetary Policy และ Fiscal Policy : นโยบายการเงินและการคลัง เพื่อรักษาเสถียรภาพของBalance of Payment (BOP) มีหัวข้อดังนี้ **ใช้ทฤษฎี เคนส์ เศรษฐกิจระดับประเทศ Y = C + I + G +(X - M) 1. ปัจจัยที่กำหนดเสถียรภาพของ BOP 2. เส้นความสมดุลภายนอก 3. แผนภาพาขออง IS – LM (แบบจำลองของตลาดเงิน) 4. การใช้นโยบายการเงิน การคลัง เพสื่อรักษาเสถียรภาพ BOP

การเงินระหว่างประเทศ (International Finance)

การเงินระหว่างประเทศ (International Finance) มีหัวข้อหลัก 3 เรื่อง 1. ดุลการชำระเงินระหว่างประเทศ (Balance of Payment) หรือ BOP 2. ระบบอัตราแลกเปลี่ยนเงินตราระหว่างประเทศ (Exchange Rate System) 3. แนวทางการรักษาเสถียรภาพของ BOP หัวข้อที่ 1 BOP: ดุลการชำระเงินระหว่างประเทศ BOP คือ ดุลยบัญชี ที่ชี้ให้เห็นถึงฐานะทางการเงินของประเทศนั้น ๆ ในการถือเงินสกุลหลัก สามารถแยกย่อยได้ดังนี้ 1. Current Account = ดุลบัญชี เงินสะพัด (ดุล บ/ช ที่ใหญ่ที่สุด) 1.1 Trade Account ดุลการค้า 1.2 Service Account ดุลบริการ 2. Capital Account ดุลบัญชีเงินทุนเคลื่อนย้ายระหว่างประเทศ หรือ ดุลบัญชีเงินทุน 2.1 FDI (Foreign Direct Investment Account) - ดุลบัญชี เงินลงทุนโดยตรง 2.2 PI (Portfolio Investment Account) - ดุลบัญชีเงินลงทุนโดยอ้อม 3. TA (Transfer Account) ดุลเงินโอน - ดุลบริจาค ดุลช่วยเหลือระหว่างประเทศ รายละเอียด BOP - BOP เป็นดุลบัญชี ที่ชี้ให้เห็นถึงมูลค่าของการนำเข้าและส่งออกทั้งสินค้าและบริการ *บริการได้แก่ การใช้บริการ การบินไทย น.ศ.มาเรียนในประเทศ - Trade Account ชี้ให้เห็นถึงการนำเข้า และการส่งออกสินค้าอย่างเดียว - Service Account ชี้ให้เห็นถึงการนำเข้า และการส่งออกบริการอย่างเดียว รายละเอียด Capital Account - เป็นดุลบัญชีที่ชี้ให้เห็นถึงมูลค่าเงินทุนไหวเข้า และไหลออก มี 2 ประเภท คือ 1.FDI (foreign Direct Investment) เช่น ต่างประเทศขนเงินมาสร้างโรงงาน โดยตรง 2.PI (Portfolio Investment) เป็นลงทุนในเอกสาร เช่น ต่างประเทศซื้อหุ้น (Portfolio Investment) โดยอ้อม คำถาม โดยปกติ Capital Account ไทยมักจะเกินดุล สาเหตุ โครงสร้างพื้นฐาน และทรัพยากรสูง รวมถึงดอกเบี้ยมักจะสูง รายละเอียด ดุลบัญชีการโอนเงิน (Transfer Account) - เป็นบัญชีให้เห็นถึงเงินช่วยเหลือระหว่างประเทศ หรือเงินได้เปล่า รับ ช่วย = เกินดุล ช่วย รับ = ขาดดุล สรุป 1 + 2 + 3 จะได้ BOP ในแต่ละเดือนของประเทศ หัวข้อที่ 2 ระบบอัตราแลกเปลี่ยนเงินตราระหว่างประเทศ (Exchange Rate System) นิยมแบ่งตามหลัก ได้ 2 ระบบ คือ 1. ระบบหลัก Fixed Exchange Rate System ระบบอัตราแลกเปลี่ยนคงที่ 2. ระบบลอยตัว Floating Exchange Rate System หรือ ใช้คำว่า freely fluctuating Rate System *** และมีระบบที่อยู่ตรงกลางระหว่าง 1 กับ 2 คือ ระบบกึ่งลอยตัว (In between System) หรือ Semi – floating สามารถแบ่งแยกย่อยได้อีก 3 ระบบ ดังนี้ 1.Manage Float System - ระบบการลอยตัวที่มีการจัดการ (ประเทศไทย ใช้อยู่) 2.Float with board system หรือ Current board system - ระบบการลอยตัวที่มีการกำกับ หรือ แบบมีคณะกรรมการการเงิน เช่น มาเลเซีย จีน 3.Basket of current system - ระบบตะกร้าเงิน เป็นเครื่องมือของอัตราแลกเปลี่ยน

การใช้นโยบายการเงิน นโยบายการคลัง เพื่อเป้าหมายในการส่งเสริมการเจริญเติบโต

การใช้นโยบายการเงิน นโยบายการคลัง เพื่อเป้าหมายในการส่งเสริมการเจริญเติบโต และ รักษาเสถียรภาพ ทาง ศก. (Eco.Growth + Stability) การเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ ของทุกประเทศมักจะเจริญเติบโต แบบไม่มีเสถียรภาพ จะ ขึ้น ๆ ลง ๆ บางช่วง ศก. มีความเจริญเติบโตสูง บางช่วงต่ำ ถ้าเป็นอย่างนี้เราเรียกว่า ปัญหาวัฏจักร เศรษฐกิจ (Business Cycle) และมักจะก่อให้เกิดปัญหา 2 ด้าน คือ 1. ช่วงเศรษฐกิจขาลง (ศก. ตกต่ำ) จะมีปัญหาว่างงานเกิดขึ้น เพราะ Demand ของแรงงาน ลดลง แต่ Supply ของแรงงานไม่ลด 2. ช่วงเศรษฐกิจขาขึ้น จะมีปัญหาเงินเฟ้อ (Price Inflation) เป็นภาวะที่ราคาสินค้าบริการ พุ่งสูงขึ้นอย่างรวดเร็ว โดยวัดจากดัชนีราคา (CPI) (Consumer Price Index) คำถาม อ.เงินเฟ้อดี หรือ ไม่ดี ในทางวิชาการ - เงินเฟ้อจะดี หรือ ไม่ดี ต้องดูว่าใครเป็นผู้ตอบ เช่น พ่อค้า บอกว่าดี/ลูกจ้าง ข้าราชการ ไม่ดี - ผลประโยชน์เกิดกับคน ไม่เท่ากัน คือ การกระจายรายได้ไม่ดี - ภาวะ ศก. ขยายตัวเร็ว จะได้ภาวะเงินเฟ้อ เพราะปริมาณในระบบมาก ซึ่ง Demand ขยายตัวเร็ว แต่ Supply ขยายตัวไม่ทัน *** เศรษฐกิจ เจริญเติบโต ในระดับที่เหมาะสม คือ การเติบโตอย่างมี ไม่เจริญเติบโตเร็วเกินไป หรือช้าเกินไป (อยู่ที่การตั้งเป้าทาง ศก.) ทฤษฎีการเงิน การคลัง 1. Keynesian Theory ทฤษฎีสำนักเคนส์ 2. Monetarist Theory ทฤษฎีสำนักการเงินนิยม 1 ความคิดสำนักเคนส์ John Maynard Keynes เป็น บิดาของทฤษฎีการเงิน การคลัง คิดทฤษฎีเมื่อ คศ.1930 หลัง สงครามโลกครั้งที่ 2 หลังจากนั้น 30 ปี จึงนำมาใช้ (1960) นักวิชาการที่สำคัญ 1. Devid Romer 2. N.Gregory Mankiw 3. Jemes Tobin สนใจเศรษฐกิจระหว่างประเทศเป็นหลัก *** นักวิชาการไทย ทุกคนใช้แนวคิดทฤษฎีเคนส์ (โดยมาก) แนวคิดทฤษฎีเคนส์ ไม่คำนึงถึงการกระจายรายได้ มีแนวคิดหลัก 4 แนวคิด แนวคิดที่ 1 ศก. ตกต่ำ และมีการว่างงาน - เกิดจากอุปสงค์รวม (y) ในระบบเศรษฐกิจ มีน้อยเกินไป แนวคิดที่ 2 ศก. เสนอทางแก้ -ให้ใช้นโยบาย การเงิน การคลัง เข้นามาช่วยที่เรียกว่า Demand Side Policy แนวคิดที่ 3 ศก.ขยายตัวอย่างรวดเร็ว หรือ ร้อนแรง และเงินเฟ้อที่สูงขึ้น -เกิดจากอุปสงค์รวมในระบบเศรษฐกิจ มีมากเกินไป แนวคิดที่ 4 เสนอทางแก้ -ในนโยบายการเงิน – การคลัง Demand Restraint Policy

นโยบายการคลัง (Fiscal Policy)

นโยบายการคลัง (Fiscal Policy) คือ การที่รัฐบาลใช้เครื่องทางการคลัง ในการกระตุ้นเศรษฐกิจ มีด้วยกัน 3 ด้าน ดังนี้ 1. การใช้มาตรการเพิ่ม – ลด ภาษี 2. การเพิ่ม – ลด การก่อหนี้สาธารณะ 3. รายจ่ายสาธารณะ (รัฐบาลสามารถเพิ่ม – ลด รายจ่ายประจำปี) เพื่อให้บรรลุเป้าหมายทางเศรษฐกิจตามที่ต้องการ - เพื่อให้ ศก. เจริญเติบโต (Eco.Growth) - เพื่อให้ ศก. มีเสถียรภาพ (Eco.Stabitity) - เพื่อให้ ศก. มีความเสมอภาค (Eco.Equity) ผู้ดูแลกระทรวงการคลัง คือ รัฐบาลโดยคณะรัฐมนตรี ผ่านสภา ตราเป็น พรบ. รายจ่ายประจำปี กระการคลัง และสำนักงบประมาณ ทำหน้าที่ในการนำนโยบายไปใช้ปฏิบัติ คำถาม อ.ทำไมงบประมาณจะต้องผ่าน พรบ.? เพราะในหลักประชาธิปไตย ผู้เสียภาษีทุก คนจะต้องมีตัวแทน ในรัฐสภา Note ในปัจจุบันนโยบายการเงินนโยบายการคลัง ส่วนใหญ่จะมุ่งเน้นไปยังเป้าหมายทาง ศก. เป็นพื้นฐาน แต่ปัจจุบันยังมี เป้าหมายทางสังคมด้วย คือ ทำให้สังคมอยู่ดี มีสุข และคุณภาพชีวิต ที่ดีขึ้น การทำให้สภาพแวดล้อมดีขึ้นด้วย

นโยบายการเงิน (Monetary Policy) ความหมาย คือ การที่รัฐบาลใช้เครื่องมือทางการเงิน กระตุ้นเศรษฐกิจ มีด้วยกัน 3 ด้าน ดังนี้ 1. การลด – เพิ่มปริมาณเงินในระบบ 2. การปรับเปลี่ยนอัตราดอกเบี้ย (หรือเรียกว่า ด/บ นโยบาย หรือ ด/บ มาตรฐาน) 3. การปรับเปลี่ยนอัตราแลกเปลี่ยน เงินตราระหว่างประเทศ การที่รัฐบาลใช้เครื่องมือทางการเงิน เพื่อบรรลุเป้าหมายทาง ศก. ที่เราต้องการดังนี้ 1.เพื่อให้เศรษฐกิจเจริญเติบโต (Economic Growth) 2. เพื่อให้เศรษฐกิจมีเสถียรภาพ (Eco Stability) 3. เพื่อให้เศรษฐกิจมีความเสมอภาค (Eco Eavity) หรือ การกระจายรายได้อย่างยุติธรรม - หน่วยงานที่ทำหน้าที่ทางการเงิน คือ Bank ชาติ หรือ ธนาคารกลาง หรือ ธปท.

Popular Posts