ความเสี่ยง คือการที่ผู้ลงทุนได้รับผลตอบแทนจริงเบี่ยงแบนไปจากผลตอบแทนที่คาดหวังเมื่อเริ่มลงทุน ไม่ว่าจะมากขึ้นหรือลดลงก็ถือเป็นความเสี่ยงด้วยกันทั้งสิ้น ความเสี่ยงในการลงทุนสามารถแบ่งออกได้เป็น 2 ประเภทใหญ่ๆได้แก่
1.ความเสี่ยงจากการลงทุนในตราสารทุน แบ่งย่อยได้ 3 ประเภทได้แก่
1.1Company Risk หรือ Credit Risk คือความเสี่ยงที่เกิดขึ้นในบริษัทนั้นๆ อาจเกิดได้ทั้งจากสาเหตุภายในแล้ะสาเหตุภายนอก ซึ่งผู้ลงทุนไม่สามารถรู้ได้ เช่น
-การเปลี่ยนแปลงคณะบริหาร
-ความผิดพลาดในการบริหาร
-การแข่งขันของคู่แข่ง
-ความนิยมของผู้บริโภคที่เปลี่ยนไป
-ภัยพิบัติ
-การถูกฟ้องดำเนินคดี หรือ ล้มละลาย
1.2 Sector Risk หรือ Industry Risk คือ ความเสี่ยงของอุตสาหกรรมนั้นๆเอง เช่น อุตสาหกรรมที่ผลิต หรือให้บริการเฉพาะไม่กี่ประเภท เช่นบริษัทสายการบิน เหมืองแร่ บริษัทคอมพิวเตอร์และSoftware ซึ่งธุรกิจประเภทนี้สามารถพุ่งสูงขึ้นหรือ ตกต่ำได้ในชั่วพริบตาหากมีเหตุการไม่คาดฝันเกิดขึ้น
1.3Market Risk คือความเสี่ยงที่เกิดจากสถาณการการลงทุนตลาดหุ้นเกิดเปลี่ยนแปลง มีผลต่อการเปลี่ยนแปลงราคาหุ้น ซึ่งเกิดจากหลายสาเหตุ ทั้งจากตัวนักลงทุนเองหรือจากความเป็นไปในตลาดหุ้นหรือจากสภาวะภายนอกเช่นการเมือง สภาพเศรษฐกิจ ก็มีส่วนเช่นกัน
2.ความเสี่ยงจากการลงทุนในตราสารหนี้
โดยทั่วไปแล้ว การลงทุนในตราสารหนี้จะมีความเสี่ยงน้อยกว่าการลงทุนในตราสารทุน แต่ก็ขึ้นอยู่กับนโยบายของภาครัฐ หากนโยบายของภาครัฐไม่แน่นอนก็อาจจะทำให้ความผันผวนและความเสี่ยงในตลาดตราสารหนี้สูงกว่าตลาดทุนก็เป็นไปไดความเสี่ยงของตราสารหนี้มีอยู่ 10 ประเภทด้วยกัน
2.1Interest Rate Risk หรือ Market Risk เป็นความเสี่ยงที่เกิดจากอัตตราดอกเบี้ยในตลาดเงินผันผวน เช่น เมื่อดอกเบี้ยในตลาดเงินสูงขึ้น หรือ มีท่าทีว่าจะสูงขึ้น อัตราดอกเบี้ยที่ตราไว้ก็จะสูงขึ้นตามไปด้วย ทำให้ตราสารหนี้ที่ออกมาก่อนหน้า และมีการซื้อขายในตลาดรอง ก็จะมีราคาลดลงเพื่อดึงให้อัตราผลตอบแทน(Yield)ขยับสูงขึ้นไปอยู่ในระดับที่เทียบเคียงกันกับอัตราดอกเบี้ยปัจจุบันฉะนั้น ยิ่งตราสารหนี้ที่มีอายุยาวเพียงใด หรือมีอัตราดอกเบี้ยที่ตราไว้ (coupon rate) ต่ำเพียงใด ตราสารหนี้นั้นก็จะมีความเสี่ยงต่ออัตราดอกเบี้ยที่อาจจะปรับตัวสูงขึ้นในอนาคตมากขึ้นเท่านั้น
2.2Credit Risk หรือ Default Risk ความเสี่ยงที่เกิดจากการที่ผู้ออกตราสารหนี้ไม่สามารถจ่ายชำระดอกเบี้ย หรือ ชำระคืนเงินต้นได้เต็มตามจำนวนเงินหรือ ตามเวลาที่กำหนดไว้ในบรรดาตราสารหนี้ทั้งหมดของภาครัฐและภาคเอกชน ตั๋วเงินคลังของรัฐบาล จะไม่มี credit risk เลย ในขณะที่ ตั๋วเงิน หรือ หุ้นกู้ หรือตราสารหนี้ประเภทอื่น ๆ ที่ออกโดยภาคเอกชน จะมี credit risk มากบ้าง น้อยบ้างในระดับที่แตกต่างกันไป ทั้งนี้ ขึ้นอยู่กับความสามารถในการจ่ายชำระหนี้เงินต้นและดอกเบี้ยของผู้ออกตราสารหนี้นั้นๆ
2.3Purchasing Power Risk หรือ Inflation Risk ความเสี่ยงต่อการมีอำนาจซื้อที่ลดลงในอนาคตภาวะเงินเฟ้อมีอิทธิพลต่ออำนาจซื้อของผู้ลงทุน ในขณะที่ภาวะเงินเฟ้อเป็นสิ่งที่คู่กันไปกับการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจผู้ลงทุนในตราสารหนี้ที่มีอายุยาวเกินกว่า 10 ปี จึงมีความเสี่ยงต่อภาวะเงินเฟ้อและอำนาจซื้อที่ลดลงในอนาคต เพราะดอกเบี้ยที่ได้รับจากการลงทุนในตราสารหนี้ที่มีอายุยาว จะมีจำนวนเงินที่ได้รับในแต่ละงวดเท่าเดิมตลอดอายุของตราสารหนี้นั้น ในขณะที่ภาวะเงินเฟ้อทำให้ราคาสิ่งของแพงขึ้น
2.4Reinvestment Risk ความเสี่ยงที่เกิดขึ้นจากการที่ ผู้ลงทุนนำเอาดอกเบี้ยรายงวดที่ได้รับจากตราสารหนี้ ไปลงทุนต่อในตราสารที่ให้อัตราผลตอบแทนที่ลดลงจากเดิม ในขณะที่อัตราดอกเบี้ยในตลาดเงินลดต่ำลง ถึงแม้ว่าตราสารหนี้ที่ลงทุนไว้ จะมีอัตราดอกเบี้ยที่ตราไว้คงที่ก็ตาม แต่กระแสเงินสดที่ผู้ลงทุนได้รับจากดอกเบี้ยเป็นงวด ๆ จะถูกนำไปลงทุนใหม่อีกครั้งในตราสารอื่นที่มีอัตราดอกเบี้ยลดต่ำลง กล่าวง่าย ๆ ก็คือ อัตราดอกเบี้ยบนดอกเบี้ยรับลดลงนั่นเอง จึงทำให้อัตราผลตอบแทนโดยรวมในการลงทุนในตราสารหนี้ของผู้ลงทุนนั้นลดลง
2.5Rollover Risk ความเสี่ยงที่เกิดในกรณีที่ตราสารหนี้ที่ลงทุนไว้เดิมครบกำหนดอายุในขณะที่อัตราดอกเบี้ยในตลาดเงินลดลงและผู้ลงทุนต้องนำเงินต้นที่ได้รับชำระคืนจากตราสารหนี้นั้น ไปลงทุนใหม่ในตราสารหนี้ใหม่ที่มีอัตราดอกเบี้ยต่ำลง ในกรณีเช่นนี้ อัตราผลตอบแทนจากการลงทุนรอบใหม่จะลดลง เป็นความเสี่ยงที่มีลักษณะเหมือนกับ Reinvestment Risk แต่จะเกิดกับเงินต้นที่อ่อนตัวและอัตราดอกเบี้ยอยู่ในช่วงขาลง ตราสารหนี้ระยะสั้น จะมี rollover risk สูงสุดแต่ในช่วงที่ตลาดเงินตึงตัว และดอกเบี้ยอยู่ในช่วงขาขึ้น ตราสารหนี้ระยะสั้นก็จะมี rollover risk ต่ำและสามารถปรับตัวได้เร็วกว่าตราสารหนี้ประเภทอื่น
2.6Call Risk ความเสี่ยงที่เกิดจากการที่ผู้ออกตราสารหนี้ขอชำระคืนหนี้ก่อนครบกำหนด ความเสี่ยงประเภทนี้จะเกิดขึ้นเฉพาะกับตราสารหนี้ที่มีการระบุเงื่อนไขcall option ไว้ล่วงหน้าว่าผู้ออกตราสารหนี้มีสิทธิที่จะจ่ายชำระคืนหนี้ได้ก่อนกำหนดส่วนใหญ่จะเกิดขึ้นเมื่ออัตราดอกเบี้ยลดลงและผู้ออกตราสารหนี้สามารถหาแหล่งเงินทุนอื่นที่มีต้นทุนต่ำกว่ามาจ่ายคืน (refinancing)ผู้ลงทุนในตราสารหนี้ประเภทนี้จะถูกบังคับให้รับคืนเงินและต้องนำเงินที่ได้รับคืนนั้น ไปลงทุนใหม่ในตราสารอื่นที่มีอัตราผลตอบแทนที่ต่ำกว่าเดิมที่เคยได้รับ
2.7Prepayment Risk ความเสี่ยงที่เกิดจากการที่ลูกหนี้จ่ายชำระคืนหนี้ก่อนครบกำหนดอายุเช่นเดียวกันกับ call risk แต่ความเสี่ยงประเภท prepayment risk นี้ มักจะเกิดขึ้นกับตราสารหนี้ประเภทที่มีบัญชีลูกหนี้พร้อมหลักทรัพย์จดจำนองเป็นประกันการชำระคืนของตราสารหนี้นั้น(mortgaged-back securities) หากลูกหนี้ตามสัญญาจำนองชำระคืนเงินต้นและดอกเบี้ยก่อนกำหนด และถอนหลักทรัพย์ค้ำประกัน ตราสารหนี้นั้นก็จะต้องรับคืนเงินก่อนกำหนดและหากอยู่ในระหว่างอัตราดอกเบี้ยขาลง ผู้ลงทุนในตราสารหนี้ก็จะเสียเปรียบ เช่นเดียวกับกรณีของreinvestment risk
2.8Currency Risk หรือ Exchange Risk ความเสี่ยงที่เกิดขึ้นจากอัตราแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศเปลี่ยนแปลงจะเกิดขึ้นกับกรณีของการลงทุนข้ามประเทศ
2.9Liquidity Risk ความเสี่ยงที่เกิดขึ้นจากการขาดสภาพคล่องในการซื้อขายเปลี่ยนมือของตราสารหนี้นั้นๆมักจะเกิดขึ้นกับกรณีที่ผู้ลงทุนลงทุนในตราสารหนี้ที่ไม่เป็นที่นิยมและมีปริมาณซื้อขายในตลาดรองน้อยมาก หากผู้ลงทุนประสงค์จะขายตราสารหนี้นั้นเพื่อแลกเปลี่ยนเป็นเงินสดในกรณีจำเป็นผู้ลงทุนอาจจะต้องยอมลดราคาขายลงต่ำกว่าราคาตลาดโดยทั่วไป เพื่อดึงให้อัตราผลตอบแทนสูงขึ้นและดึงดูดความสนใจให้มีผู้ซื้อเข้ามาซื้อ ราคาซื้อขายดังกล่าวไม่ใช่ราคาที่ยุติธรรมต่อผู้ขายอย่างแน่นอน หรืออาจจะถึงขั้นที่เป็นราคาขาดทุนก็เป็นได้ ฉะนั้น การลงทุนในตราสารหนี้ที่ไม่มีสภาพคล่อง ก็เป็นความเสี่ยงอย่างหนึ่งที่สำคัญ
2.10Event Risk ความเสี่ยงที่เกิดขึ้นจากการเปลี่ยนแปลงที่มีนัยสำคัญต่อนโยบายในการดำเนินงานของผู้ออกตราสารหนี้ เช่น การเปลี่ยนแปลงผู้ถือหุ้นรายใหญ่หลังจากการถือครอบงำกิจการ และอาจมีดุลพินิจที่ไม่เป็นคุณแก่เจ้าหนี้ตราสารหนี้เดิม เช่นการประกาศเพิ่มอัตราส่วนการจ่ายเงินปันผลต่อกำไร (payout ratio) หรือประกาศเพิ่มทุนครั้งใหญ่ ซึ่งหมายถึงกระแสเงินสดจำนวนมากที่จะต้องจ่ายเป็นเงินปันผลประจำปี และมีผลทำให้ฐานทุนของบริษัทลดความเข้มแข็งลง
การวิเคราะห์สภาพแวดล้อมภายใน (Internal Environmental Analysis)
-
สภาพแวดล้อมภายนอกมีอิทธิพลต่อองค์การอย่างมากก็จริง
แต่ผู้บริหารต้องมีความเข้าใจและสามารถจัดการปัจจัยภายในองค์การด้วยการดาเนินงานจึงจะบรรลุเป้าหมาย
การวิเคร...
5 ปีที่ผ่านมา
0 ความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น