ดังกล่าวแล้วว่าถ้ารถยนต์ของท่านเป็นรถเก่าที่มีอายุการใช้งานมานมาก ท่านย่อมมีค่าใช้จ่ายในการบำรุงรักษา และมีรายจ่ายค่าน้ำมันมากขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งถ้ารถยนต์ของท่านเป็นรถขนาดใหญ่ ก็ยิ่งจะมีการใช้พลังงานเชื้อเพลิงสูงกว่ารถยนต์ขนาดเล็ก นอกจากนั้นรถยนต์ขนาดใหญ่ก็ยังมีราคาสูงกว่ารถยนต์ขนาดเล็ก และมีค่าเสื่อมราคาสูงกว่าอีกด้วย ประการสำคัญคือ มีรายจ่ายค่าซ่อมแซมดูแล เข่น ค่าอะไหล่รถยนต์ ค่ายางรถยนต์ ค่าแรงงาน ฯลฯ ที่มากกว่าเช่นกัน ซึ่งหมายความว่ารายจ่ายรวมทั้งหมดของการใช้รถยนต์ขนาดเล็กจะมีน้อยกว่าการใช้รถยนต์ขนาดใหญ่ จากการศึกษาถึงรายจ่ายแต่ละประเภท ทั้งรายจ่ายประจำและรายจ่ายแปรได้ของการใช้รถยนต์ข้างต้น ท่านก็สามารถที่จะทราบรายจ่ายรวมทั้งหมดได้ โดยการทำเป็นกระดาษทำการแสดงการคำนวณรายจ่ายของการใช้รถยนต์ต่อปี ดังแสดง
กระดาษทำการแสดงการคำนวณรายจ่ายเกี่ยวกับรถยนต์ประจำปี
ค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับรถยนต์
รายจ่ายประจำ
ค่าเสื่อมราคา ……………
การประกันอุบัติเหตุ ……………
ดอกเบี้ยเงินกู้จ่าย ……………
ค่าใช้จ่ายอื่น ๆ ……………
รวมรายจ่ายประจำปี ……………..
รายจ่ายแปรได้
ค่าน้ำมัยเบนซิน ……………
ค่ายางรถยนต์ ……………
ค่าซ่อมแซมรถ ……………
รวมรายจ่ายแปรได้ ……………..
รวมค่าใช้จ่ายของรถยนต์ทั้งหมด ……………...
เมื่อทราบถึงต้นทุนหรือค่าใช้จ่ายที่แท้จริงของการมียานพาหนะ แล้วก็สามารถที่จะนำข้อมูลเหล่านั้นมาทำการวางแผนการเงิน แล้วทำตามขันตอนการวางแผน ดังนี้
1. การคำนึงถึงโอกาส เป็นการพิจารณาถึงโอกาสจากปัจจัยต่าง ๆ โดยถือเป็น จุดเริ่มต้นในการวางแผนที่ทุกคนควรจะเริ่มจากจุดนี้
2. การกำหนดวัตถุประสงค์ เป็นการกำหนดถึงเป้าหมายของกิจกรรมที่จะต้องดำเนินไปสู่จุดมุ่งหมาย
3. การวางแผนข้อสมมติฐานต่าง ๆ
4. การกำหนดทางเลือกต่าง ๆ เป็นการค้นหาและสำรวจทางเลือกต่าง ๆ ที่อาจจะปฏิบัติได้ในอนาคต
5. การประเมินทางเลือกต่าง ๆ
6. การเลือกทางเลือกที่จะใช้ในการกำหนดแผน
7. การกำหนดแผนสนับสนุน
8. การกำหนดตัวเลขต่าง ๆ ในการจัดทำแผนโดยการจัดทำงบประมาณ
กำหนดแนวทางในการซื้อ (Establishing guidelines)
เมื่อได้กำหนดวัตถุประสงค์และพิจารณาคุณค่าของการใช้สอยแล้ว ต่อไปก็ควรกำหนดแนวทางที่จะซื้อโดยมีขั้นตอนดังนี้
1. หาแผ่นพับโฆษณาของเครื่องใช้ที่จะซื้อมาศึกษาดู โดยเลือกจากหลายแบบหลายยี่ห้อ เพื่อจะได้ศึกษาเปรียบเทียบข้อมูลดังกล่าวให้มากที่สุด แผ่นพับเหล่านี้สามารถขอได้จากร้านจำหน่ายทั่วไป หรือจากร้านตัวแทนจำหน่ายสินค้านั้น
2. พูดคุยกับเพื่อนฝูงที่เคยใช้มาแล้วว่าเป็นอย่างไร คำแนะนำของผู้ที่เคยใช้มาแล้วจะเป็นประโยชน์อย่างยิ่ง
3. ตัดสินใจวางแนวทางของตนเองว่าเราจะซื้ออะไร มีขนาดและกำลังการใช้มากน้อยแค่ไหน(Load capacity) จำนวนกี่ชุดจะวางไว้ที่ห้องไหน สีสันอย่างไรจึงจะเหมาะสมกับห้องหรือสถานที่ของเรา
4. กำหนดงบประมาณที่จะซื้อ เมื่อเลือกสิ่งที่เราต้องการแล้วต้องคำนึงว่าสิ่งนั้นอยู่ภายในงบประมาณที่เราสามารถหาซื้อได้ด้วย ในเรื่องงบประมาณนี้ต้องครอบคลุมถึงเรื่องของค่าใช้จ่ายด้วย ข้อคิดที่ควรคำนึงถึงคือ อย่าซื้อของที่คิดว่าราคาถูกที่สุดในขณะนี้ เพราะของที่ราคาถูกที่สุดในขณะนี้ในระยะยาวแล้วอาจจะกลายเป็นของที่ราคาแพงที่สุดก็ได้ เพราะถ้าเราซื้อของใช้คุณภาพไม่ดี ราคาถูก เสียบ่อย ต่อไปก็ต้องเสียค่าซ่อมบำรุงอยู่เรื่อย
5. เลือกจังหวะที่เหมาะสมในการซื้อ เครื่องใช้บางอย่างที่วางแผนซื้อในช่วงที่เขาลดราคา หรือไม่ใช่ช่วงฤดูของการใช้จะซื้อได้ถูกลง เช่น การซื้อแอร์คอนดิชั่น ในช่วงหน้าหนาวราคาจะถูกกว่าช่วงหน้าร้อน หรือถ้าซื้อช่วงที่มีการลดราคาประจำปี ร้านค้าจะตั้งราคาต่ำมากกว่าช่วงเวลาปกติ
6. เมื่อจะตัดสินใจเลือกซื้อชนิดใดรูปแบบใดแล้ว ให้สอบถามราคาจากร้านที่มีชื่อเสียงอย่างน้อย 3 ร้าน เพื่อเปรียบเทียบกัน โดยเปรียบเทียบกันในเรื่องราคาและดูว่าผู้ขายมีศูนย์การให้บริการกระจายอยู่ทั่วไปหรือไม่ สัญญาการรับประกันสินค้าเป็นอย่างไร
การวิเคราะห์สภาพแวดล้อมภายใน (Internal Environmental Analysis)
-
สภาพแวดล้อมภายนอกมีอิทธิพลต่อองค์การอย่างมากก็จริง
แต่ผู้บริหารต้องมีความเข้าใจและสามารถจัดการปัจจัยภายในองค์การด้วยการดาเนินงานจึงจะบรรลุเป้าหมาย
การวิเคร...
5 ปีที่ผ่านมา
0 ความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น