การบันทึกบัญชีสินค้ามีอยู่ 2 วิธีที่นิยมใช้ คือ การบันทึกบัญชีสินค้าต่อเนื่อง (Perpetual Inventory Method) วิธีนี้มักจะมีการบันทึกบัญชีสินค้าทุกครั้งที่มีการซื้อหรือขายสินค้ามูลค่าสินค้าคงเหลือปลายงวดจะทราบได้จากบัญชีสินค้า และการบันทึกบัญชีสินค้าคงเหลือปลายงวด (Periodic Inventory Method) วิธีนี้จะไม่มีการบันทึกบัญชีสินค้า เมื่อมีการซื้อหรือขายสินค้าแต่จะมีการตรวจนับสินค้าคงเหลือ ณ วันปลายงวด
4.1 วิธีเข้าก่อน- ออกก่อน (First-In, First-Out Method) วิธีจะตีราคาสินค้าที่ซื้อเข้าก่อนขายออกไปก่อน สินค้าคง4.2 เหลือปลายง4.3 วดจะเป็นสินค้าที่ซื้อเข้ามาครั้ง4.4 หลัง4.5 ๆ
การตีราคาสินค้าคงเหลือตามวิธีนี้ถ้าอยู่ในช่วงที่สินค้าที่ซื้อมาในแต่ละครั้งมีราคาแตกต่างกันมาก ต้นทุนสินค้าที่ขายก็จะต่ำกว่าความเป็นจริง
ตัวอย่าง
บริษัท พงษ์เพชร จำกัด มีสินค้าคงเหลือ ณ วันต้นงวด 1,000 หน่วย ราคาหน่วยละ 10 บาท ระหว่างงวดบัญชีมีการซื้อขายสินค้าดังต่อไปนี้
มกราคม ซื้อสินค้าจำนวน 2,000 หน่วย @ 10 บาท
กุมภาพันธ์ ซื้อสินค้าจำนวน 1,000 หน่วย @ 12 บาท มีนาคม ซื้อสินค้าจำนวน 1,500 หน่วย @ 13 บาท
เมษายน ขายสินค้าจำนวน 2,000 หน่วย @ 30 บาท
พฤษภาคม ขายสินค้าจำนวน 1,500 หน่วย @ 35 บาท
มิถุนายน ซื้อสินค้าจำนวน 3,500 หน่วย @ 15 บาท
กันยายน ซื้อสินค้าจำนวน 2,000 หน่วย @ 17 บาท
ตุลาคม ขายสินค้าจำนวน 4,000 หน่วย @ 40 บาท
พฤศจิกายน ขายสินค้าจำนวน 1,000 หน่วย @ 45 บาท
ธันวาคม ซื้อสินค้าจำนวน 1,000 หน่วย @ 18 บาท
เมื่อวันสิ้นงวดตรวจนับสินค้าคงเหลือมีอยู่จำนวน 3,500 หน่วย
4.1.1 สำหรับกิจการที่ใช้วิธีการบันทึกบัญชีสินค้าต่อเนื่อง การคำนวณต้นทุนสินค้าที่ขาย และต้นทุนสินค้าคงเหลือปลายงวด จะเป็นดังนี้
ว.ด.ป. รับ จ่าย ยอดคงเหลือ
จำนวน
(หน่วย) ราคา
ต่อหน่วย จำนวนเงิน
(หน่วย) จำนวน
(หน่วย) ราคา
ต่อหน่วย จำนวนเงิน
(หน่วย) จำนวน
(หน่วย) ราคา
ต่อหน่วย จำนวนเงิน
(บาท)
ยอดยกมา 1,000 10 10,000 1,000 10 10,000
ม.ค.
2,000 10 20,000 1,000
2,000 10
10
30,000
ก.พ. 1,000 12 12,000 1,000
2,000
1,000 10
10
12
42,000
มี.ค. 1,500 13 19,500 1,000
2,000
1,000
1,500 10
10
12
13
61,500
เม.ย 1,000
1,000 10
10
20,000 1,000
1,000
1,000 10
12
13
41,500
พ.ค. 1,000
500 10
12 16,000 500
1,500 12
13
25,500
มิ.ย. 3,500 15 52,500 500
1,500
3,500 12
13
15
78,000
ก.ย 2,000 17 34,000 500
1,500
3,500
2,000 12
13
15
17
112,000
ต.ค. 500
1,500
2,000 12
13
15
55,500 1,500
2,000 15
17
56,500
พ.ย. 1,000 15 15,000 500
2,000 15
17
41,500
ธ.ค. 1,000 18 18,000 500
2,000
1,000 15
17
18
59,500
\ต้นทุนสินค้าที่ขายจำนวน 8,500 หน่วย = 20,000+16,000+55,500+15,000 = 106,500 บาท
\ มูลค่าสินค้าคงเหลือปลายงวดจำนวน 3,500 หน่วย = 59,500 บาท
4.1.2 สำหรับกิจการที่ใช้วิธีการบันทึกบัญชีสินค้าคงเหลือสิ้นงวด การคำนวณต้นทุนสินค้าที่ขาย และต้นทุนสินค้าคงเหลือปลายงวดจะเป็นดังนี้
การคำนวณต้นทุนสินค้าที่ขายจะคำนวณได้ดังนี้
จำนวนหน่วย ราคาต่อหน่วย ต้นทุนของสินค้า (บาท)
สินค้าคงเหลือต้นงวด 1,000 10 10,000
ซื้อเมื่อ มกราคม 2,000 10 20,000
กุมภาพันธ์ 1,000 12 12,000
มีนาคม 1,500 13 19,500
มิถุนายน 3,000 15 45,000
จำนวนหน่วยที่ขาย 8,500 หน่วย ต้นทุนขาย 106,500 บาท
สินค้าคงเหลือปลายงวด 3,500 หน่วย ประกอบด้วย
มิถุนายน 500 15 7,500
กันยายน 2,000 17 34,000
ธันวาคม 1,000 18 18,000
3,500 หน่วย 59,500 บาท
\ มูลค่าของสินค้าคงเหลือปลายงวด = 59,500 บาท
4.2 วิธีเข้าหลัง –ออกก่อน (Last – In. First-Out Method) วิธีนี้จะตีราคาสินค้าที่ซื้อเข้ามาทีหลังขายออกไปก่อน สินค้าคงเหลือปลายงวดจะเป็นสินค้าที่ซื้อเข้ามาครั้งก่อน ๆ การตีราคาสินค้าคงเหลือ ตามวิธีนี้ถ้าอยู่ในช่วงที่สินค้าที่ซื้อมาในแต่ละครั้งมีราคาแตกต่างกันมาก ต้นทุนสินค้าที่ขายจะมีราคาใกล้เคียงกับราคาที่เป็นจริง
ตัวอย่าง (โจทย์เดิมบริษัทพงษ์เพชร จำกัด)
4.2.1 สำหรับกิจการที่ใช้วิธีการบันทึกบัญชีสินค้าต่อเนื่อง การคำนวณต้นทุนสินค้าที่ขาย และต้นทุนสินค้าคงเหลือปลายงวด จะเป็นดังนี้
ว.ด.ป. รับ จ่าย ยอดคงเหลือ
จำนวน
(หน่วย) ราคา
ต่อหน่วย จำนวนเงิน
(หน่วย) จำนวน
(หน่วย) ราคา
ต่อหน่วย จำนวนเงิน
(หน่วย) จำนวน
(หน่วย) ราคา
ต่อหน่วย จำนวนเงิน
(หน่วย)
ยอดยกมา 1,000 10 10,000 1,000 10 10,000
ม.ค.
2,000 10 20,000 1,000
2,000 10
10
30,000
ก.พ. 1,000 12 12,000 1,000
2,000
1,000 10
10
12
42,000
มี.ค. 1,500 13 19,500 1,000
2,000
1,000
1,500 10
10
12
13
61,500
เม.ย 1,500
500 13
12
25,500 1,000
2,000
500 10
10
12
36,000
พ.ค. 500
1,000 12
10
16,000 1,000
1,000 10
10
20,000
มิ.ย. 3,500 15 52,500 1,000
1,000
3,500 10
10
15
72,500
ก.ย 2,000 17 34,000 1,000
1,000
3,500
2,000 10
10
15
17
106,500
ต.ค. 2,000
2,000
17
15
64,000 1,000
1,000
1,500 10
10
15
42,500
พ.ย. 1,000 15 15,000 1,000
1,000
500 10
10
15
41,500
27,500
ธ.ค. 1,000 18 18,000 1,000
1,000
500
1,000 10
10
15
18
45,500
\ต้นทุนสินค้าที่ขายจำนวน 8,500 หน่วย = 25,500 + 16,000 +64,000 +15,000 = 120,500 บาท
\มูลค่าสินค้าคงเหลือปลายงวดจำนวน 3,500 หน่วย = 45,500 หน่วย
4.2.2 สำหรับกิจการที่ใช้วิธีการบันทึกบัญชีสินค้าคงเหลือสินงวด การคำนวณต้นทุนสินค้าที่ขาย และต้นทุนสินค้าคงเหลือปลายงวดจะเป็นดังนี้
การคำนวณต้นทุนสินค้าที่ขาย จะคำนวณได้ดังนี้
จำนวนหน่วย ราคาต่อหน่วย ต้นทุนของสินค้า (บาท)
ซื้อเมื่อ ธันวาคม 1,000 18 18,000
กันยายน 2,000 17 34,000
มิถุนายน 3,500 15 52,500
มีนาคม 1,500 13 19,500
กุมภาพันธ์ 500 12 6,000
จำนวนหน่วยที่ขาย 8,500 หน่วย ต้นทุนขาย 130,000 บาท
สินค้าคงเหลือปลายงวด 3,500 หน่วย ประกอบด้วย
สินค้าคงเหลือต้นงวด 1,000 10 10,000
มกราคม 2,000 10 20,000
กุมภาพันธ์ 500 12 6,000
3,500 หน่วย 36,000 บาท
\มูลค่าของสินค้าคงเหลือปลายงวด = 36,000 บาท
4.3 วิธีถัวเฉลี่ย (Average Method) การตีราคาสินค้าคงเหลือวิธีถัวเฉลี่ย มีดังต่อไปนี้
4.3.1 วิธีถัวเฉลี่ยถ่วงน้ำหนัก ใช้กับการบันทึกบัญชีสินค้าคงเหลือสิ้นงวด วิธีนี้จะคิดต้นทุนสินค้าโดยนำราคาที่ซื้อมาแต่ละครั้งรวมกัน แล้วเฉลี่ยด้วยจำนวนหน่วยสินค้าที่ซื้อ
ตัวอย่าง (โจทย์เดิมบริษัทพงษ์เพชร จำกัด)
จำนวนหน่วย หน่วยละ จำนวนเงิน (บาท)
สินค้าคงเหลือต้นงวด 1,000 10 10,000
มกราคม 2,000 10 20,000
กุมภาพันธ์ 1,000 12 12,000
มีนาคม 1,500 13 19,500
มิถุนายน 3,500 15 52,500
กันยายน 2,000 17 34,000
ธันวาคม 1,000 17 18,000
12,000 166,000
\ ต้นทุนสินค้าที่ขาย = 166,000 X 8,500 = 117,583.33 บาท
12,000
\มูลค่าสินค้าคงเหลือปลายงวด = 166,000 X 3,500 = 48,416.66 บาท
12,000
4.3.2 วิธีถัวเฉลี่ยแบบเคลื่อนที่ ใช้กับการบันทึกบัญชีสินค้าต่อเนื่อง วธีนี้จะทำการถัวเฉลี่ยต้นทุนทุกครั้งที่มีการซื้อสินค้าเข้ามาขาย
ตัวอย่าง (โจทย์เดิมบริษัทพงษ์เพชร จำกัด)
ว.ด.ป. รับ จ่าย ยอดคงเหลือ
จำนวน
(หน่วย) ราคา
ต่อหน่วย จำนวนเงิน
(หน่วย) จำนวน
(หน่วย) ราคา
ต่อหน่วย จำนวนเงิน
(หน่วย) จำนวน
(หน่วย) ราคา
ต่อหน่วย จำนวนเงิน
(หน่วย)
ยอดยกมา
ม.ค.
ก.พ.
มี.ค.
เม.ย
พ.ค.
มิ.ย.
ก.ย
ต.ค.
พ.ย.
ธ.ค. 1,000
2,000
1,000
1,500
3,500
2,000
1,000 10
10
12
13
15
17
18 10,000
20,000
12,000
19,500
52,500
34,000
18,000
2,000
1,500
4,000
1,000
11.18
11.18
14.51
14.51
22,360
16,770
58,040
14,510 1,000
3,000
4,000
5,500
3,500
2,000
5,500
7,500
3,500
2,500
3,500 10.00
10.00
10.50
11.18
11.18
11.18
13.61
14.51
14.51
14.51
15.50 10,000
30,000
42,000
61,500
39,140
22,370
74,870
106,500
50,830
36,275
54,275
\ ต้นทุนสินค้าที่ขาย = 22,360 + 16,770+58,040 + 14,510 = 111,680 บาท
\ มูลค่าสินค้าคงเหลือปลายงวด = 54,275 บาท
ต้นทุนต่อหน่วยครั้งที่ 1 = 10,000 + 20,000 = 10.00 บาท
3,000
ต้นทุนต่อหน่วยครั้งที่ 2 = 30,000 +12,000 = 10.50 บาท
4,000
ต้นทุนต่อหน่วยครั้งที่ 3 = 42,000 + 19,500 = 11.18 บาท
5,500
\ การคำนวณต้นทุนต่อหน่วยเมื่อคำนวณออกมาแล้วให้ใช้จุดทศนิยม 2 ตำแหน่งเท่านั้น
5. การคิดค่าเสื่ออมราคาสินทรัพย์ถาวร
สินค้าถาวรต่าง ๆ ที่กิจการมีไว้ใช้ในการดำเนินงานจะมีอายุการใช้งานจำกัด ดังนั้นจึงต้อง
มีการกระจายต้นทุนของสินทรัพย์ออกเป็นค่าใช้จ่ายในงวดบัญชีต่าง ๆ ต้นทุนสินค้าที่ตัดเป็นค่าใช้จ่ายประจำงวด เรียกว่า ค่าเสื่อมราคา ค่าเสื่อมนี้จะมีผลกระทบต่อกำไรสุทธิของกิจการ ดังนั้นการเลือกวิธีคิดค่าเสื่อมจึงมีความสำคัญที่ต้องพิจารณา
ค่าเสื่อมราคาเป็นรายจ่ายที่เกิดขึ้นโดยไม่มีส่วนสัมพันธ์กับรายได้ กล่าวคือ ไม่ว่ารายได้จะเกิดขึ้นหรือไม่ค่าเสื่อมราคาย่อมเกิดขึ้นเสมอ
วิธีคิดค่าเสื่อมราคาที่ใช้โดยทั่วไป มีดังนี้
7.1 การคิดค่าเสื่อมราคาในอัตราเปลี่ยนแปลง7.2 ตามชั่วโมง7.3 การทำง7.4 าน หรือตามจำนวนผลผลิต
7.5 การคิดค่าเสื่อมราคาในอัตราคง7.6 ที่ ตามวิธีเส้นตรง7.7
7.8 การคิดค่าเสื่อมราคาในอัตราเร่ง7.9
5.1 การคิดค่าเสื่อมราคาในอัตราเปลี่ยนแปลงตามชั่วโมงการทำงาน หรือตามจำนวนผลผลิต การคิดค่าเสื่อมราคาวิธีนี้จะต้องใช้กับสินทรัพย์ที่มีราคาเปลี่ยนแปลงในทางที่ลดลงเนื่องจากการใช้งาน ไม่ใช่เพราะระยะเวลาที่ผ่านไป คือปีใดใช้สินทรัพย์มากก็ควรตัดค่าเสื่อมราคามาก ปีใดใช้สินทรัพย์น้อยก็ควรคิดราคาน้อยตามไปด้วย เช่น รถยนต์ หรือเครื่องจักร
ตัวอย่าง เครื่องจักรเครื่องหนึ่ง ซื้อมาเพื่อใช้ในการผลิต ราคา 2,100,000 บาท ราคาซาก 100,000 บาท ประมาณว่าจะผลิตสินค้าได้ 200,000 หน่วย อายุการใช้งาน 5 ปี
ปีที่ 1 เครื่องจักรสามารถผลิตสินค้าได้ 50,000 หน่วย
ปีที่ 2 เครื่องจักรสามารถผลิตสินค้าได้ 30,000 หน่วย
ปีที่ 3 เครื่องจักรสามารถผลิตสินค้าได้ 30,000 หน่วย
ปีที่ 4 เครื่องจักรสามารถผลิตสินค้าได้ 50,000 หน่วย
ปีที่ 5เครื่องจักรสามารถผลิตสินค้าได้ 40,000 หน่วย
ค่าเสื่อมราคาต่อหน่วยผลผลิต = ราคาทุน - ราคาซาก
จำนวนหน่วยที่ผลิตสินค้าได้
= 2,100,000 - 100,000
200,000
= 10 บาท
ค่าเสื่อมราคาเครื่องจักร = จำนวนหน่วยที่ผลิตได้ในปีนั้น ๆ x ค่าเสื่อมราคาต่อหน่วยผลิต
ค่าเสื่อมราคาเครื่องจักรปีที่ 1 = 50,000 x 10 = 500,000 บาท
ค่าเสื่อมราคาเครื่องจักรปีที่ 2 = 30,000 x 10 = 300,000 บาท
ค่าเสื่อมราคาเครื่องจักรปีที่ 3 = 30,000 x 10 = 300,000 บาท
ค่าเสื่อมราคาเครื่องจักรปีที่ 4 = 50,000 x 10 = 500,000 บาท
ค่าเสื่อมราคาเครื่องจักรปีที่ 5 = 40,000 x 10 = 400,000 บาท
ตารงค่าเสื่อมราคาตามจำนวนผลผลิตของเครื่องจักร
ปีที่ ผลผลิต (หน่าย) ค่าเสื่อมราคา (บาท) ค่าเสื่อมราคาสะสม (บาท) ราคาสุทธิตามบัญชี (บาท)
ต้นปีที่1
สิ้นปีที่1
สิ้นปีที่2
สิ้นปีที่3
สิ้นปีที่4
สิ้นปีที่5
50,000
30,000
30,000
50,000
40,000
200,000
500,000
300,000
300,000
500,000
400,000
2,000,000
500,000
800,000
1,100,000
1,600,000
2,000,000 2,100,000
1,600,000
1,300,000
1,000,000
500,000
100,000
5.2 การคิดค่าเสื่อมราคาในอัตราคงที่ ตามวิธีเส้นตรง
การคิดค่าเสื่อมราคาวิธีนี้จะเหมาะสมกับสินทรัพย์ ที่มีการเสื่อมสภาพไปตามระยะเวลา โดยกิจการได้รับประโยชน์จากสินทรัพย์ที่ใช้งานเท่ากันทุกปี ดังนั้นการคิดค่าเสื่อมราคาจะคิดเท่ากันทุกปี ตลอดอายุการใช้งานของสินทรัพย์
ตัวอย่าง บริษัทซื้อเครื่องจักรมาใช้งาน 1 เครื่อง ราคาเครื่องละ 2,100,000 บาท ประมาณว่าจะ
ใช้งานได้ 5 ปี ราคาซากเมื่อปลายปีที่ 5 เท่ากับ 100,000 บาท
ค่าเสื่อมราคาแต่ละปี = ราคาทุน -ราคาซาก
อายุการใช้งาน (ปี)
= 2,100,000 - 100,000
5
= 400,000 บาท
หรือ 20 %ของมูลค่าของเครื่องจักรที่ใช้คิดค่าเสื่อมราคา 2,000,000 บาท
ตารางตัดค่าเสื่อมราคาตามวิธีเส้นตรง
ปีที่ การคำนวณ ค่าเสื่อมราคา (บาท) ค่าเสื่อมราคาสะสม (บาท) ราคาสุทธิตามบัญชี (บาท)
ต้นปีที่1
สิ้นปีที่1
สิ้นปีที่2
สิ้นปีที่3
สิ้นปีที่4
สิ้นปีที่5
20% ของ 2,000,000
20% ของ 2,000,000
20% ของ 2,000,000
20% ของ 2,000,000
20% ของ 2,000,000
400,000
400,000
400,000
400,000
400,000
2,000,000
400,000
800,000
1,200,000
1,600,000
2,000,000 2,100,000
1,700,000
1,300,000
900,000
500,000
100,000
5.3 การคิดค่าเสื่อมราคาในแบบอัตราเร่ง5.4
การคิดค่าเสื่อมราคาวิธีนี้จะคิดค่าเสื่อมราคาในปีแรก ๆ มากและจะลดลงเรื่อย ๆ จนกระทั่งสิน
ทรัพย์หมดสภาพ ซึ่งแยกเป็น 2 วิธี คือ
5.4.1 วิธียอดลดลง5.4.2 ทวีคูณ วิธีนี้ใช้อัตราค่าเสื่อมราคา 2 เท่าของ5.4.3 อัตราเส้นตรง5.4.4 และใช้อัตรา 2
เท่านั้นคูณตามราคาบัญชีของสินทรัพย์ ณ วันต้นรอบระยะเวลาบัญชี
ตัวอย่าง เครื่องจักรเครื่องหนึ่งมีราคาทุน 2,100,000 บาท ประมาณว่ามีอายุการใช้งาน 5ปี ราคาซากปลายปีที่ 5 เท่ากับ 100,000 บาท การคิดค่าเสื่อมราคาตามวิธีนี้จะเป็นดังนี้
อัตราค่าเสื่อมราคาตามวิธีเส้นตรง = 100
อายุการใช้งาน
= 100 = 20 %
5
สองเท่าของอัตราค่าเสื่อมราคาตามวิธีเส้นตรง = 40%
ตารางค่าเสื่อมราคาตามวิธียอดลดลงทวีคูณ
ปีที่ ผลผลิต (หน่วย) ค่าเสื่อมราคา (บาท) ค่าเสื่อมราคาสะสม (บาท) ราคาสุทธิตามบัญชี (บาท)
ต้นปีที่1
สิ้นปีที่1
สิ้นปีที่2
สิ้นปีที่3
สิ้นปีที่4
สิ้นปีที่5
40% ของ 2,100,000
40% ของ 1,260,000
40% ของ 756,000
40% ของ 453,600
840,000
504,000
302,400
181,440
172,160*
2,000,000
840,000
1,344,000
1,646,400
1,827,840
2,000,000 2,100,000
1,260,000
756,000
453,600
272,160
100,000
*ยอดค่าเสื่อมราคาปีที่ 5 ให้ยึดเอาจำนวนให้ยืดเอาจำนวนที่ทำให้ยอดคงเหลือตามบัญชีมีค่าเท่ากับราคาซาก ( 272,160 – 100,000 = 172,160 )
5.3.1 วิธีผลรวมจำนวนปี
การคิดค่าเสื่อมราคาตามวิธีนี้ถือว่าประโยชน์ที่ได้จากการใช้สินทรัพย์จะเป็นส่วนกลับกับลำดับปีที่ใช้ สมมติว่าสินทรัพย์มีอายุการใช้งาน 5 ปี ประโยชน์ที่จะได้รับในปีที่ 1 จะเป็น 5 เท่าของประโยชน์ที่ได้รับในปีที่ 5 ดังนั้นจึงคิดค่าเสื่อมราคาของปีที่หนึ่ง 5 ส่วน และปีต่อไปลดน้อยลงตามลำดับ
ตัวอย่าง เครื่องจักรเครื่องหนึ่งมีราคา 2,100,000 บาท มีอายุการใช้งาน 5 ปี และมีราคาซากเมื่อปลายอายุการใช้งาน 100,000 บาท
เครื่องจักรมีอายุการใช้งาน 5 ปี ส่วนที่ใช้เป็นฐานการคิดค่าเสื่อมราคาจะเท่ากับ 5+4+3+2+1 = 15 ส่วน
มูลค่าของสินทรัพย์ที่ใช้คิดค่าเสื่อมราคา = 2,100,000 - 100,000
= 2,000,000 บาท
ตารางค่าเสื่อมราคาตามวิธีผลรวมจำนวนปี
ปีที่ ผลผลิต (หน่วย) ค่าเสื่อมราคา (บาท) ค่าเสื่อมราคาสะสม (บาท) ราคาสุทธิตามบัญชี (บาท)
ต้นปีที่1
สิ้นปีที่1
สิ้นปีที่2
สิ้นปีที่3
สิ้นปีที่4
สิ้นปีที่5
5/15 ของ 2,000,000
4/15 ของ 2,000,000
3/15 ของ 2,000,000
2/15 ของ 2,000,000
1/15 ของ 2,000,000
666,666.67
533,333.33
400,000.00
266,666.67
133,333.33
2,000,000.00
666,666.67
1,200,000.00
1,600,000.00
1,866,666.67
2,000,000.00 2,100,000.00
1,433,333.33
900,000.00
500,000.00
233,333.33
100,000.00
แบบฝึกหัดบทที่ 1
ข้อ 1-1 (กำไรขาดทุน) นักบัญชีของบริษัทสหไทย จำกัด ได้รวบรวมข้อมูลต่อไปนี้จากสมุดบัญชีของบริษัทเพื่อใช้ในการจัดทำงบกำไรขาดทุนสำหรับปีสิ้นสุด 31 ธันวาคม 25+4 (ระหว่างปี ไม่มีการเปลี่ยนแปลงในหุ้นสามัญจำนวน 12,000 หุ้นที่ออกจำหน่ายแล้ว)
(บาท)
ขายสุทธิ 970,000
ค่าเสื่อมราคาโรงงาน (60% -ขาย , 40% -บริหาร) 70,000
ประกาศจ่ายเงินปันผล 14,400
รายได้ค่าเช่า 30,000
ดอกเบี้ยตั๋วเงินจ่าย 17,000
ราคาตลอดของที่ดินที่ถือไว้เพื่อการลงทุนมีค่าสูงขึ้น 44,000
ซื้อสินค้า 421,000
ค่าขนส่งเข้า-สินค้า 37,000
สินค้าคงเหลือ 1 มกราคม 25+4 82,000
สินค้าคงเหลือ 31 ธันวาคม 25+4 81,000
ส่งคืนคงเหลือจำนวนที่ได้ลด 11,000
ค่าแรงและเงินเดือน-ขาย 95,000
ค่าวัตถุดิบและวัสดุ-ขาย 11,400
ภาษีเงินได้ 45,000
ค่าแรงและเงินเดือน-บริหาร 135,900
ค่าใช้จ่ายในการบริหารอื่น ๆ 46,700
ค่าโฆษณา 20,000
ค่าไปรษณียากร 6,000
ให้ทำ 1) งบกำไรขาดทุนแบบหลายขั้น(Multipe step)
2) งบกำไรขาดทุนแบบขั้นเดียว(Single step)
ข้อ 1-2 (งบดุล) ต่อไปนี้เป็นงบดุลของบริษัทสยาม จำกัด
บริษัทสยาม จำกัด
งบดุล
ณ วันที่ 31 ธันวาคม 25+6
สินทรัพย์หมุนเวียน 520,000 หนี้สินระยะสั้น 365,000
เงินลงทุน 700,000 หนี้สินระยะยาว 920,000
ที่ดิน อาคารและอุปกรณ์ 2,185,000 ส่วนของผู้ถือหุ้น 2,690,000
สินทรัพย์ไม่มีตัวตน 570,000
3,975,000 3,975,000
ต่อไปนี้เป็นข้อมูลเพิ่มเติม
1) ส่วนของสินทรัพย์หมุนเวียนประกอบด้วย: เงินสด 120,000 บาท หักด้วยค่าเผื่อหนี้
สงสัยจะสูญ 10,000 บาท สินค้าคงเหลือ 230,000 บาท และรายได้รับล่วงหน้า 10,000 บาท
(ยอดคงเหลือด้านเครดิต) สินค้าคงเหลือแสดงด้วยราคาทุนทดแทน ต้นทุนเดิม (วิธี FIFO)
เท่ากับ 200,000 บาท
2) ส่วนของเงินลงทุนประกอบด้วยราคาเวรคืนกรมธรรม์ประกันชีวิต (Cash surrender value of
life insurance) 60,000 บาท เงินลงทุนในหุ้นสามัญ-ระยะสั้น 70,000 บาท และเงินลงทุน
ระยะยาว 160,000 บาท กองทุนจมเพื่อไถ่ถอนหุ้นกู้ 220,000 บาท ค่าใช้จ่ายในการก่อตั้ง
บริษัท 70,000 บาท และที่ดินที่ถือไว้เพื่อใช้ในการก่อตั้งโรงงานในอนาคต 120,000 บาท
เงินลงทุนทั้งหมดจำแนกเป็นเงินลงทุน-เผื่อขาย (Available for sale) และมีราคาตลาดเท่ากับ
ราคาทุน
3) ที่ดิน อาคารและอุปกรณ์ ประกอบด้วยอาคาร 1,600,000 บาท หักด้วยค่าเสื่อมราคาสะสม
375,000 บาท อุปกรณ์ 400,000 บาท หักด้วยค่าเสื่อมราคาสะสม 240,000 บาท และที่ดินที่ถือไว้
ใช้ในอนาคต 300,000 บาท อาคารแสดงในราคาประเมินใหม่ (Appraisal value) ราคาทุนเดิม
1,250,000 บาท
4) สินทรัพย์ไม่มีตัวตน ประกอบด้วย สัมปทาน 140,000 บาท ค่าความนิยม 80,000 บาท ส่วนลด
มูลค่าหู้นกู้ 30,000 บาท และงานระหว่างก่อสร้าง 320,000 บาท (โรงงานใหม่อยู่ระหว่างการก่อ
สร้างและจะเสร็จสามารถใช้งานได้ในอีก 9 เดือนข้างหน้า)
5) หนี้สินระยะสั้นประกอบด้วย เจ้าหนี้ 80,000 บาท ตั๋วเงินจ่าย-ระยะสั้น 110,000 บาท ตั๋วเงินจ่าย-
ระยะยาว 150,000 บาท และเงินเดือนค้างจ่าย 25,000 บาท หนี้สินระยะสั้นยังไม่รวมขาดทุนที่อาจเกิดขึ้น (Loss contingencies) ทนายความของบริษัทกล่าวว่ามีความเป็นไปได้ที่บริษัทอาจต้องจ่ายเงิน 60,000 บาทในปี 25+7เนื่องจากคดีฟ้องร้องที่อยู่ระหว่างดำเนินการ ณ วันที่ในงบดุล
6) หนี้สินระยะยาวประกอบด้วยหุ้นกู้ 10% (ครบกำหนดชำระในวันที่ 1 มิถุนายน ปี 25+9)
จำนวน 800,000 บาท และหนี้สินบำนาญ 120,000 บาท
7) ส่วนของผู้ถือหุ้นประกอบด้วยหุ้นบุริมสิทธิ ไม่มีราคามูลค่า จดทะเบียน 200,000 หุ้น ออก
จำหน่ายแล้ว 70,000 หุ้น เป็นเงิน 450,000 บาท และหุ้นสามัญ มูลค่าหุ้นละ 2 บาท จดทะเบียน
300,000 หุ้น ออกจำหน่ายแล้ว 100,000 หุ้น ในราคาเฉลี่ยหุ้นละ 10 บาท นอกจากนี้บริษัทยัง
กำไรสะสม 1,240,000บาท
ให้ทำ งบดุลโดยจัดหมวดหมู่ให้ถูกต้อง
ข้อ 1-3 (การตีราคาสินค้าด้วยวิธีต่าง ๆ ) บริษัทเรืองวาจำกัด เริ่มดำเนินกิจการเมื่อวันที่ 1 ธันวาคม 25+8 บริษัทซื้อสินค้าเพียงครั้งเดียวในปี 25+8 คือวันที่ 10 ธันวาคม 25+8 ในราคาทุนหน่วยละ 20 บาท ไม่มีการขายสินค้าในปี 25+8 ข้อมูลที่เกี่ยวข้องมีดังนี้
จำนวนหน่วยของสินค้าปลายปี
31 ธันวาคม 25+8 100
31 ธันวาคม 25+9 ประกอบด้วยสินค้าที่ซื้อเมื่อ :
2 ธันวาคม 25+9 100
20 กรกฎาคม 25+9 50 150
ระหว่างปีมีรายการขายและซื้อเกิดขึ้นดังนี้
ซื้อ ขาย
15 มีนาคม 300 หน่วย ๆ ละ 24 บาท 10 เมษายน 200
20 กรกฎาคม 300 หน่วย ๆ ละ 25 บาท 20 สิงหาคม 300
4 กันยายน 200 หน่วย ๆ ละ 28 บาท 18 พฤศจิกายน 150
2 ธันวาคม 100 หน่วย ๆ ละ 30 บาท 12 ธันวาคม 200
บริษัทใช้วิธีสินค้าคงเหลือแบบสิ้นงวด
ให้ทำ คำนวณหาสินค้าคงเหลือสิ้นงวด ณ วันที่ 31 ธันวาคม 25+9 ตามวิธี (1) FIFO (2) LIFO
และ (3) ถัวเฉลี่ย
การวิเคราะห์สภาพแวดล้อมภายใน (Internal Environmental Analysis)
-
สภาพแวดล้อมภายนอกมีอิทธิพลต่อองค์การอย่างมากก็จริง
แต่ผู้บริหารต้องมีความเข้าใจและสามารถจัดการปัจจัยภายในองค์การด้วยการดาเนินงานจึงจะบรรลุเป้าหมาย
การวิเคร...
5 ปีที่ผ่านมา
0 ความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น