Custom Search

วันอังคารที่ 7 เมษายน พ.ศ. 2552

งบการเงิน

บทบาทของการบัญชีบริหาร
การบัญชีบริหาร คือ การบัญชีเพื่อการวางแผน ควบคุมและการตัดสินใจในกิจกรรมต่าง ๆ ของกิจการ
การบัญชีการเงินและการบัญชีการบริหาร
การบัญชีการเงิน คือ การบัญชีที่เกี่ยวกับการจัดเก็บรวบรวม จำแนก และรายงานข้อมูลทางการเงินของกิจการที่เกิดขึ้นในอดีตให้กับบุคคลภายนอกที่ต้องการข้อมูลทางการเงิน
การบัญชีการบริหาร จะมีหลักการเกี่ยวกับหารให้ข้อมูลทางการเงินแก่ผู้บริหารภาายในกิจการใช้ในการวางแผน ควบคุม และการตัดสินใจในการดำเนินกิจการต่าง ๆ ของกิจการ
ความแตกต่างระหว่างการบัญชีการเงินและการบัญชีการบริหาร
บัญชีการเงิน
เสนอข้อมูลแก่บุคคลภายนอก
จัดทำภายใต้ข้อบังคับของกฎหมาย
จัดทำขึ้นตามหลักการบัญชีที่ยอมรับโดยทั่วไป
ข้อมูลจะถูกเสนอตามเวลาที่ผู้บริหารเกิดความต้องการ
เป็นข้อมูลที่เกิดขึ้นในอดีต
เสนอข้อมูลในภาพรวมของกิจการ
เสนอข้อมูลที่เกี่ยวกับรายการดำเนินงาน
ข้อมูลจะถูกเสนอตามรอบบัญชี
บัญชีบริหาร
เสนอข้อมูลแก่ผู้บริหาร
ไม่อยู่ภายใต้ข้อบังคับของกฎหมาย
ยืดหยุ่นตามประเด็นของปัญหาการตัดสินใจ
เน้นข้อมูลที่เกี่ยวข้อกับการตัดสินใจ
เน้นข้อมูลที่เกิดขึ้นในอดีต
เน้นเสนอข้อมูลของกิจการโดยเฉพาะส่วนใดส่วนหนึ่งของกิจการ
เสนอข้อมูลทั้งทางด้านเชิงคุณภาพและข้อมูลจากปัจจัยภายนอกก เช่น ภาวะเศรษฐกิจ
ข้อมูลจะถูกเสนอตามเวลาที่ผู้บริหารเกิดความต้องการ

การบัญชีต้นทุนกับการบัญชีบริหาร
บัญชีต้นทุน คือ กระบวนการจดบันทึกและรายงานข้อมูลต้นทุนของผลิตภัณฑ์หรือบริการ ลักษณะภาพรวม โดยวิธี
การรับรู้ การจำแนก การจัดสรร การรวบรวม ตลอดจนการเปรียบเทียบและวิเคราะห์ข้อมูลต้นทุน มีลักษณะ คล้ายกับ การบัญชีบริหาร
การบัญชีต้นทุนเน้นที่การสะสมข้อมูลต้นทุน แต่ บัญชีบริหาร เน้นการใช้ข้อมูลทางด้านต้นทุนเพื่อการวางแผน การควบคุมและการตัดสินใจ
บทบาทหน้าที่ของฝ่ายบริหาร
การวางแผน
การประสานงาน
การควบคุม
การตัดสินใจ
หน้าที่ของผู้อำนวยการฝ่ายบัญชี
ผู้อำนวยการมีอำนาจหน้าที่ในการให้การสนับสนุนให้คำแนะนำและให้บริการข้อมูลทางการเงินตลอดจนบริการทางด้าานต่าง ๆ และอำนาจหลักในการบังคับบัญชาสมาชิกหรือบุคคลในหน่วยงาน
หน้าที่หลัก ๆ ของผู้อำนวยการฝ่ายบัญชี
การวางแผนและการควบคุม
รายงานและวิเคราะห์ข้อมูลทางการเงิน
การบริหารภาษีอากร
การตรวจสอบภายใน
การพัฒนาระบบข้อมูลทางการบัญชี
งบการเงิน
ในการดำเนินงานของกิจการโดยทั่วไปเมื่อสิ้นรอบระยะเวลาบัญชีต้องมีการเสนอข้อมูลทางการเงินเพื่อประเมินผลการดำเนินงานที่ผ่านมาในรูปของงบการเงิน ซึ่งงบการเงินจะเป็นรายงานทางการเงินที่จัดทำขึ้นเพื่อเสนอข้อมูลทางการเงินโดยอาศัยข้อมูลทางการบัญชีในการจัดทำ งบการเงินที่จัดทำขึ้นจะเป็นประโยชน์ต่อบุคคลหลายฝ่ายเช่น เจ้าของกิจการหรือผู้ถือหุ้นต้องการทราบผลการดำเนินงานและฐานะของกิจการเพื่อประโยชน์ในการประเมินประสิทธิภาพของผู้บริหาร เจ้าหนี้ของกิจการต้องการทราบข้อมูลทางการเงินเพื่อพิจารณาความสามารถในการชำระหนี้ของกิจการ รัฐบาลต้องการใช้ข้อมูลทางการเงินเพื่อประเมินภาษี พนักงานสนใจข้อมูลทางการเงินเพื่อประโยชน์ในการเรียกร้องค่าตอบแทนที่สูงขึ้น และผู้สนใจทั่วไปต้องการข้อมูลทางการเงินเพื่อนำไปใช้วิเคราะห์ วิจัยหรืออื่น ๆ ตามวัตถุประสงค์ที่ต้องการ
1. ความหมายของงบการเงิน (Definition of Financial Statement)
งบการเงิน หมายถึง รายงานทางการเงินที่จัดทำขึ้นเพื่อเสนอข้อมูลทางการเงินเกี่ยวกับผลของการดำเนินงานของกิจการสำหรับระยะเวลาใดเวลาหนึ่ง เพื่อแสดงฐานะของกิจการค้า ณ วันใดวันหนึ่ง งบการเงินโดยทั่วไปจะประกอบด้วย งบดุล (Balance Sheet) งบกำไรขาดทุน (Income Statement)
งบแสดงการเปลี่ยนแปลงฐานะการเงิน (Statement of Changes in Financial Position)
นอกจากนี้งบการเงินยังรวมถึงหมายเหตุประกอบงบ งบย่อย และคำอธิบายอื่นซึ่งระบุไว้เป็นส่วนหนึ่งของงบการเงิน
2. ประเภทของงบการเงิน (Types of Financial Statement)
งบการเงินเป็นรายงานทางการเงินที่จัดทำขึ้นเพื่อเสนอข้อมูลทางการเงินเกี่ยวกับผลการดำเนินงานของกิจการและแสดงฐานะการเงินของกิจการ ซึ่งสามารถแบ่งประเภทได้ดังนี้
2.1 ง2.2 บดุล (Balance Sheet)
2.3 ง2.4 บกำไรขาดทุน (Income Statement)
2.5 ง2.6 บแสดง2.7 การเปลี่ยนแปลง2.8 ฐานะการเง2.9 ิน (Statement of Changes in Financial Position)
2.1 งบดุล (Balance Sheet) เป็นงบการเงินที่ทำขึ้นในวันใดวันหนึ่งโดยปกติจะจัดทำ ณ วันสิ้นงวดบัญชีหรือสิ้นปี เพื่อแสดงฐานะของกิจการว่าประกอบด้วย สินทรัพย์ หนี้สิน และส่วนของเจ้าของเป็นจำนวนเท่าใด รวมถึงการหมายเหตุต่อท้ายงบการเงิน ซึ่งเปิดเผยถึงรายละเอียดข้อมูลเกี่ยวข้องกับภาระผูกพันที่อาจเกิดขึ้นได้
2.1.1 การจัดประเภทรายการในงบดุล
รายการในงบดุลจะจัดประเภทรายการได้ดังนี้
สินทรัพย์
1. สินทรัพย์หมุนเวียน
2. เง3. ินลง4. ทุน
5. ที่ดิน อาคาร และอุปกรณ์ (สินทรัพย์ถาวร)
6. สินทรัพย์ไม่มีตัวตน
7. สินทรัพย์อื่น ๆ
หนี้สินและส่วนของเจ้าของ
หนี้สินระยะสั้น หรือหนี้สินหมุนเวียน
หนี้สินระยะยาว
หนี้สินอื่น ๆ
ส่วนของเจ้าของ
สินทรัพย์ (Assets)
สินทรัพย์ หมายถึง สิ่งที่มีมูลค่าเป็นตัวเงิน อาจมีตัวตน หรือไม่มีตัวตนก็ได้ ซึ่งบุคคลหรือกิจการเป็นเจ้าของ โดยจะอยู่ในรูปของสังหาริมทรัพย์ รวมถึงสิทธิเรียกร้องให้ชำระหนี้ หรือค่าใช้จ่ายสำหรับบริการที่จะเกิดขึ้นในรอบระยะเวลาบัญชีถัดไป สินทรัพย์ในงบดุลจะแสดงรายการดังต่อไปนี้
1. สินทรัพย์หมุนเวียน (Current Assets) หมายถึงสินทรัพย์ต่าง ๆ ที่ธุรกิจสามารถเปลี่ยนเป็นเงินสดได้ภายในรอบระยะเวลาดำเนินงานของกิจการ โดยปกติรอบระยะเวลาดำเนินงานจะเป็นรอบ 1 ปี อาจจะน้อยกว่าหรือมากกว่าหนึ่งปีขึ้นอยู่กับลักษณ์ของกิจการสินทรัพย์ที่ถือว่าเป็นสินทรัพย์หมุนเวียนมีดังนี้
1.1 เง1.2 ินสด (Cash) หมายถึง1.3 เง1.4 ินสดในมือ และเง1.5 ินสดที่ฝากธนาคารในบัญ1.6 ชีกระแสรายวัน หรือ ง1.7 ินสดในธนาคารที่สามารถถอนได้ตามที่ต้อง1.8 การสำหรับใช้ดำเนินง1.9 านตามปกติส่วนเง1.10 ินสดที่ฝากในบัญ1.11 ชีเง1.12 ินฝากประจำที่มีอายุไถ่ถอนเกินกว่า 1 ปี และเง1.13 ินสดในรูปเง1.14 ินกอง1.15 ทุน (Fund) ที่มีไว้เพื่อวัตถุประสง1.16 ค์ของ1.17 แต่ละกอง1.18 ทุน ไม้ถือเป็นรายการทีรวมอยู่ในสินทรัพย์หมุนเวียน
1.2 หลักทรัพย์ในความต้องการของตลาด (Marketable Security) หรือเงินลงทุนชั่วคราว (Temporary Investment) เป็นเงินลงทุนที่บริษัทมีอยู่ในรูปของหลักทรัพย์ วัตถุประสงค์เพื่อหาประโยชน์จากเงินสดที่เหลืออยู่ โดยทั่วไปจะลงทุนในหลักทรัพย์ที่มีความคล่องตัวสูง และหลักทรัพย์คงที่ เช่น ตั๋วเงินระยะสั้น พันธบัตรรัฐบาล เพราะโดยปกติการลงทุนประเภทนี้จะเป็นหลักทรัพย์ที่สามารถเปลี่ยนเป็นเงินสดได้ง่าย
1.3 ตั๋วเงินรับ (Note Receivable) เป็นเอกสารที่เกิดจากการค้าสามารถเปลี่ยนเป็นเงินสดเมื่อครบเวลาที่กำหนด เช่น ตั๋วสัญญาใช้เงิน (Negotiable Promisory Note) ตั๋วแลกเงิน (Bill of Exchange) และการรับรองทางการค้า (Trade Aceeptance)
1.4 ลูกหนี้ (Accounts Receivable) หมายถึงลูกหนี้ที่เกิดจากกรขายสินค้าหรือบริการให้แก่ลูกค้าในการดำเนินงานตามปกติของธุรกิจ ซึ่งเรียกว่าลูกหนี้การค้า (Trade Accounts Receivable) แต่ถ้หากเกิดจากสาเหตุอื่นโดยมากจะเรียกว่าลูกหนี้อื่น ๆ (Other Accounts Receivable)
1.5 สินค้าคงเหลือ (Inventory) หมายถึงสินค้าสำเร็จรูปคงเหลือที่มีไว้เพื่อขายวัตถุดิบ งานระหว่างทำ ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับว่าเป็นกิจการที่ซื้อสินค้าสำเร็จรูปมาขาย หรือกิจการที่ผลิตสินค้าเพื่อขาย
1.6 ค่าใช้จ่ายล่วงหน้า (Prepaid Expenses) หมายถึง ค่าใช้จ่ายที่จ่ายล่วงหน้าสำหรับค่าบริการที่จะได้รับในอนาคตอันใกล้ เช่น ค่าโฆษณาจ่ายล่วงหน้า ค่าเช่าจ่ายล่วงหน้า ค่าเบี้ยประกันจ่ายล่วงหน้าฯลฯ
1.7 รายได้ค้างรับ (Accrued Revenue) หมายถึง รายได้ที่เกิดขึ้นในงวดบัญชีปัจจุบันแต่กิจการยังไม่ได้รับชำระเงินซึ่งจะได้รับในงวดบัญชีต่อไป เช่น รายได้ค่าโฆษณาค้างรับ รายได้ค่าเช่าค้างรับเป็นต้น
2. เงินลงทุน (Investment) หมายถึง เงินลงทุนระยะยาวเป็นเงินที่กิจการลงทุนในหลักทรัพย์อื่นๆ เช่น หุ้นกู้ หุ้นสามัญ และตั๋วเงินระยะยาว หรือเงินลงทุนในกองทุนเพื่อการอย่างใดอย่างหนึ่ง เช่น เงินกองทุนเพื่อขยายโรงงาน จุดประสงค์ของการลงทุนระยะยาวเพื่อประโยชน์ในการควบคุม หรือมีส่วนร่วมในการดำเนินงานในกิจการที่ธุรกิจลงทุน หรือเพื่อต้องการรายได้ในรูปของเงินปันผล หรือดอกเบี้ย
3. ที่ดิน อาคาร และอุปกรณ์ (สินทรัพย์ถาวร) (Property, Plant and Equipment ได้แก่
สินทรัพย์ถาวรที่มีอายุการใช้งานเกินกว่า 1 รอบระยะเวลาการดำเนินงานปกติ เช่น ที่ดิน อาคาร อุปกรณ์ เครื่องจักร เครื่องมือเครื่องใช้ ฯลฯ
4. สินทรัพย์ที่ไม่มีตัวตน (Intangible Assets) สินทรัพย์ที่ไม่มีตัวตนมีอายุการใช้งานนานเกินกว่า 1 รอบระยะเวลาบัญชี มีลักษณะเป็นสิทธิข้อเรียกร้อง หรือความได้เปรียบที่บริษัทที่มีอยู่ เช่น ค่าความนิยม นิมิตรสิทธิ เครื่องหมายการค้า สัมปทานบัตร ลิขสิทธิ์ เป็นต้น
5. สินทรัพย์อื่น ๆ (Other Assets) ได้แก่ สินทรัพย์อื่นที่นอกเหนือไปจาก 4 ประเภทข้างต้น

หนี้สิน (Liabilities)
หนี้สิน หมายถึง พันธะผูกพัน หรือสิทธิเรียกร้องเหนือสินทรัพย์ของกิจการจากบุคคลภายนอก หนี้สินของกิจการเกิดขึ้นเนื่องจากการซื้อสินค้า หรือบริการเป็นเงินเชื่อ และการกู้ยืมเงินหรือกรณีอื่น ๆ
หนี้สินในงบดุลจะแสดงรายการหนี้ที่ถึงกำหนดชำระก่อน และตามด้วยหนี้สินระยะยาวดังต่อไปนี้
1. หนี้สินระยะสั้น หรือหนี้สินหมุนเวียน (Short-Term Liabilities หรือ Current Liabilities)
หมายถึง ภาระผูกพันที่กิจการต้องชำระคืนด้วยสินทรัพย์หมุนเวียนที่กิจการมีอยู่ภายใน 1 ปี สินทรัพย์หมุนเวียนสามารถแยกออกได้ดังนี้
1.1 เจ้าหนี้ (Account Payable) เป็นหนี้ที่เกิดจากการซื้อสินค้าหรือบริการ โดยปกติจะต้องชำระหนี้ภายใน 1 ปี
1.2 ตั๋วเง1.3 ินจ่าย (Notes Payable) เป็นหนี้สิน หรือข้อผูกพันที่เกิดขึ้นโดยการรับรอง1.4 ตั๋วเง1.5 ิน
1.6 เง1.7 ินที่เป็นหนี้พนักง1.8 าน หรือลูกจ้าง1.9 บริษัท หรือผู้ถือหุ้นไม่ว่าจะเป็นรูปตั๋วเง1.10 ิน หรือเง1.11 ินคง1.12 ค้าง1.13
1.14 ค่าใช้จ่ายค้าง1.15 จ่าย (Accrued Expenses) หมายถึง1.16 ค่าใช้จ่ายที่กิจการได้รับประโยชน์
ในงวดบัญชีนั้นแล้วแต่ยังไม่ได้จ่ายเงินสำหรับค่าบริการนั้น เช่น ค่าจ้างค้างจ่าย ภาษีเงินได้ค้างจ่าย ดอกเบี้ยค้างจ่าย เป็นต้น
1.5 รายได้รับล่วงหน้า (Deferred Credit) หมายถึง เงินที่ลูกค้าได้จ่ายล่วงหน้าให้กับกิจการ เช่น ค่าเช่ารับล่วงหน้า เงินมัดจำสินค้าหรือบริการ
2. หนี้สินระยะยาว (Long-Term Liabilities) หมายถึง หนี้สินที่มีอายุครบกำหนดเกินกว่า 1 ปี ตามปกติแล้วการก่อหนี้สินระยะยาวจะเกิดจากการซื้อสินทรัพย์ถาวร ซึ่งหนี้สินระยะยาวปกติจะมีดอกเบี้ย สำหรับหลักทรัพย์ค้ำประกันหนี้สินประเภทนี้จะมีหรือไม่มีก็ได้ เช่น หนี้จำนอง พันธบัตร
ตั๋วเงินจ่ายระยะยาว เป็นต้น
3. หนี้สินอื่น ๆ (Other Liabilities) หมายถึง หนี้สินที่ไม่อาจระบุให้อยู่ในข้อ 1 และข้อ 2 ข้างต้น เป็นหนี้ที่ไม่อาจระบุอายุได้ว่าจะชำระภายในระยะสั้นหรือระยะยาว และเป็นหนี้ที่ไม่แน่นอนว่าจะเกิดขึ้นหรือไม่ เช่น หนี้ที่อาจเกิดขึ้นในอนาคต เป็นต้น

ส่วนของเจ้าของ (Owners’ Equity)
ส่วนของเจ้าของ หมายถึง สินทรัพย์สุทธิของกิจการ หรือสิทธิเรียกร้องของเจ้าของในสินทรัพย์หรือส่วนได้เสียในสินทรัพย์ของกิจการภายหลังจากหักสิทธิเรียกร้องของเจ้าหน้าที่หมดแล้ว ส่วนของเจ้าของในกิจการประกอบด้วย
1. เง2. ินลง3. ทุน
2. กำไรสะสม
ถ้าธุรกิจประกอบการในรูปบริษัทจำกัด เงินลงทุนจะเป็นหุ้นสามัญหรือหุ้นบุริมสิทธิ ซึ่งจะแยกเป็น 2 ส่วนคือ มูลค่าหุ้นขั้นต่ำที่กำหนดไว้ตามกฎหมาย และส่วนเกินจากมูลค่าหุ้นส่วนที่เป็นกำไรสะสมของบริษัทคือ ยอดรวมของกำไรสุทธิแต่ละปี ยอดนี้จะลดลงเมื่อมีผลขาดทุน หรือเมื่อจ่ายเงินปันผล
ถ้าธุรกิจประกอบการในรูปบุคคลคนเดียว เงินลงทุนจะมีบัญชีเดียวคือบัญชีทุน ซึ่งจะรวมบัญชีกำไรสะสมและบัญชีเงินถอนไว้ในบัญชีเดียวกัน
ถ้าธุรกิจประกอบการในรูปห้างหุ้นส่วน จะแยกบัญชีทุนของหุ้นส่วนแต่ละคนไว้คนละบัญชี และมีบัญชีกระแสทุนไว้ลงรายการเปลี่ยนแปลงของเงินทุนแต่ละคน
2.1.2 จากข้อมูลรายละเอียดจากการจัดประเภทรายการในง2.1.3 บดุลข้าง2.1.4 ต้น สามารถแสดง2.1.5 ตัวอย่าง2.1.6 ง2.1.7 บดุลได้ดัง2.1.8 นี้
ตัวอย่างงบดุล
บริษัท ขนิษฐา จำกัด
งบดุล
ณ 31 ธันวาคม 2540
สินทรัพย์
สินทรัพย์หมุนเวียน :- บาท
เงินสด 500,100
เงินฝากธนาคาร 84,000
หลักทรัพย์ในความต้องการของตลาดราคาทุน
(ราคาตลาด 751,500) 718,800
ตั๋วเงินรับ 30,000
ลูกหนี้การค้า 1,244,250
หัก ค่าเผื่อหนี้สงสัยจะสูญ 102,450 1,141,800
สินค้าคงเหลือ 1,719,900
ค่าเบี้ยประกันจ่ายล่วงหน้า 22,800 4,217,400


เงินลงทุน :-
เงินลงทุนในหลักทรัพย์ 567,750
ที่ดิน อาคาร และอุปกรณ์ :-
ที่ดิน 154,500
อาคาร 1,282,500
หัก ค่าเสื่อมราคาสะสม 493,500 789,000
อุปกรณ์ 2,824,500
หัก ค่าเสื่อมราคาสะสม 762,000 2,062,500 3,006,000
สินทรัพย์ที่ไม่มีตัวตน :-
ค่าใช้จ่ายในการจัดตั้งบริษัท 69,000
ค่าความนิยม 280,500 349,500
สินทรัพย์อื่น ๆ :-
มูลค่าราคาเวนคืนกรมธรรม์ 83,700
รวมสินทรัพย์ 8,224,350
หนี้สินและส่วนของผู้ถือหุ้น
หนี้สินหมุนเวียน :-
เจ้าหนี้การค้า 147,000
เงินกู้ธนาคาร 534,750
เงินเดือนและค่าใช้จ่ายค้างจ่าย 358,200
ค่าภาษีค้างจ่าย 618,000 1,657,950
หนี้สินะยะยาว :-
หุ้นกู้ครบกำหนด 31 ธ.ค. 2549 840,000
ตั๋วเงินจ่ายระยะยาว 42,000 2,539,950
ส่วนของผู้ถือหุ้น “-
ทุนจดทะเบียน 7,500 หุ้น หุ้นละ 100 และชำระแล้ว 750,000
ส่วนเกินมูลค่าหุ้น 423,000
กำไรสะสม 4,511,400 5,684,400 รวมหนี้สินและส่วนของผู้ถือหุ้น 8,224,350
2.2 งบกำไรขาดทุน (Income Statement) เป็นรายงานทางการเงินที่ทำขึ้นเพื่อแสดงว่าในระยะเวลาหนึ่ง ๆ กิจการมีรายได้รวมทั้งสิ้นเท่าใด และมีค่าใช้จ่ายทั้งสิ้นเท่าใด หากรายได้รวมทั้งสิ้นมากกว่ารายได้รวมทั้งสิ้น

2.2.1 การแบ่ง2.2.2 ประเภทรายการในง2.2.3 บกำไรขาดทุน
1. รายได้ (Income or Revenues) หมายถึง ผลตอบแทนจากการที่กิจการได้รับจากการประกอบการโดยปกติของกิจการอันเนื่องมาจากการจำหน่ายสินค้าหรือให้บริการ รวมถึงการลงทุนในสินทรัพย์ ซึ่งเป็นผลทำให้สินทรัพย์และส่วนของเจ้าของเพิ่มขึ้น หรือหนี้สินลดลง
รายได้แบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ
1.1 รายได้จากการขาย (Sale) หรือรายได้จากการดำเนินง1.2 าน
(Operating Revenues) หมายถึง รายได้จากการขายสินค้าหรือบริการ ซึ่งเป็นรายได้เกิดจากการดำเนินงานปกติ
1.2 รายได้อื่น ๆ (Other Revenues) หมายถึง รายได้ที่ไม่เกี่ยวข้องกับการดำเนินงานปกติ ตามข้อ 1.1 ได้แก่ ดอกเบี้ยรับ กำไรจากการขายสินทรัพย์ถาวร เงินปันผลรับ เป็นต้น
2. ค่าใช้จ่าย (Expenses) หมายถึง สินทรัพย์ของกิจการที่ลดลงหรือหนี้สินที่เพิ่มขึ้นอันเนื่องมาจากการผลิต การจัดหาสินค้าและค่าใช้จ่ายต่าง ๆ เพื่อการจำหน่ายสินค้าและบริการ ค่าใช้จ่ายสามารถแบ่งตามประเภทของธุรกิจได้ดังนี้
2.1 กิจการให้บริการ กิจการให้บริการจะมีค่าใช้จ่ายที่แสดง2.2 ในง2.3 บกำไรขาดทุน 2 ประเภท
2.1.1 ค่าใช้จ่ายในการดำเนินงาน (Operating Expenses) ได้แก่ ค่าพาหนะ ค่าน้ำ ค่าไฟฟ้า ค่าโทรศัพท์
2.1.2 ค่าใช้จ่ายอื่น ๆ (Other Expenses) เช่น ดอกเบี้ยจ่าย ขาดทุนจากการขายสินทรัพย์ถาวร เป็นต้น
2.2 กิจการขายสินค้า กิจการขายสินค้าจะมีค่าใช้จ่ายที่แสดง2.3 ในง2.4 บกำไรขาดทุน 2 ประเภท คือ
3.2.1 ต้นทุนขาย (Cost Of Goods Sold) หมายถึง3.2.2 ต้นทุนสินค้าที่ขายในระหว่าง3.2.3 ง3.2.4 วด
3.2.5 ค่าใช้จ่ายดำเนินง3.2.6 าน (Operating Expenses) แบ่ง3.2.7 ออกเป็น 2 ประเภท คือ
- ค่าใช้จ่ายในการขาย (Selling Expenses) เช่น เงินเดือนพนักงานขาย
ค่านายหน้า ค่าโฆษณา
ค่าใช้จ่ายในการบริหารและทั่วไป (Administrative and General Expenses) ได้แก่ เงินเดือนฝ่ายบริหาร ค่าน้ำ ค่าไฟฟ้า ค่าเสื่อมราคา เป็นต้น
3.2.8 ค่าใช้จ่ายอื่น ๆ (Other Expenses) ได้แก่ ดอกเบี้ยจ่าย ขาดทุนจากการขายสินทรัพย์ถาวร เป็นต้น

4. กำไรสุทธิหรือขาดทุนสุทธิ (Net Income or Net loss) ในกรณีที่รายได้มากกว่าค่าใช้จ่ายจะเกิดผลกำไรสุทธิ แต่ถ้ารายได้น้อยกว่าค่าใช้จ่ายจะเกิดผลขาดทุนสุทธิ
5. รายการพิเศษ (Extraordinary Items) หมายถึง6. รายได้หรือค่าใช้จ่ายที่ไม่ได้เกิดจากการดำเนินง7. านตามปกติของ8. กิจการ จะเกิดภายใต้เง9. ื่อนไข 2 ประการ คือ
4.1 มีลักษณะผิดปกติ
9.2 ไม่เกิดเป็นประจำ
10. ภาษีเง11. ินได้ (Income Tax) รายจ่ายของ12. กิจการที่ต้อง13. จ่ายให้กับรัฐบาลตามกำไรที่หามาได้ตามง14. วดบัญ15. ชีหนึ่ง16.
17. กำไรต่อหุ้น (Earnings Per Share) หาได้โดยการนำกำไรสุทธิหารด้วยจำนวนหุ้นของ18. บริษัททั้ง19. หมด
จากข้อมูลรายละเอียดการจัดประเภทรายการในงบกำไรขาดทุนข้างต้นสามารถแสดงตัวอย่างงบกำไรขาดทุนได้ดังต่อไปนี้
ตัวอย่างงบกำไรขาดทุน
บริษัท ขนิษฐา จำกัด
งบกำไรขาดทุน
สำหรับปี สิ้นสุดวันที่ 31 ธันวาคม 2540
บาท
ขาย 1,800,000
หัก รับคืนและส่วนลด 55,800
ขายสุทธิ 1,744,200
ต้นทุนขาย
สินค้าคงเหลือต้นงวด 456,000
ซื้อสินค้า 1,129,500
ค่าขนส่งเข้า 3,600
1,133,100
หัก ส่งคืนและส่วนลด 36,600 1,096,500
สินค้ามีไว้เพื่อขาย 1,552,500
หัก สินค้าคงเหลือปลายงวด 478,500
ต้นทุนขาย 1,074,000
กำไรขั้นต้น 670,200
หัก ค่าใช้จ่ายดำเนินงาน :- 330,000
ค่าใช้จ่ายในการขาย 129,000
รวมค่าใช้จ่ายดำเนินงาน 459,000
กำไรจากการดำเนินงาน 211,200
บวก รายได้อื่น ๆ
ค่าเช่ารับ 3,600
ดอกเบี้ย และเงินปันผลรับ 14,000
กำไรจากการขายสินทรัพย์ถาวร 36,000 54,000
หัก ค่าใช้จ่ายอื่น ๆ :-
ดอกเบี้ยจ่าย 13,500
ขาดทุนจากการขายเงินลงทุน 10,500 24,000 30,000
กำไรก่อนหักภาษีและรายการพิเศษ 241,200
หัก ภาษีเงินได้ 30% 72,360
กำไรก่อนหักรายการพิเศษ 168,840
รายการพิเศษ :
ขาดทุนจากสินค้าถูกไฟไหม้ 30,000
หัก ภาษีที่ประหยัดได้ 9,000 21,000กำไรสุทธิ 147,840กำไรต่อหุ้น (หุ้นสามัญออกจำหน่าย 20,000 หุ้น) 8.44*
รายการพิเศษต่อหุ้น (1.05)**กำไรสุทธิต่อหุ้น 7.39* *
กำไรต่อหุ้น = 168,000 = 8.44
20,000
**รายการพิเศษต่อหุ้น = 21,000 = 1.05
20,000

3.สมมติขั้นมูลฐานของการบัญชี
หลักการใช้หน่วยเงินตราในการบัญชี
หลักความเป็นหน่วยงานของกิจการ
หลักการใช้หลักฐานอันเที่ยงธรรม
หลักรอบเวลา
หลักความดำรงอยู่ของกิจการ
หลักราคาทุน
หลักการเกิดขึ้นของรายได้
หลักการจับคู่ค่าใช้จ่ายกับรายได้
หลักเงินค้าง
หลักโดยประมาณ
หลักความสม่ำเสมอ
หลักการเปิดเผยข้อมูลอย่างเพียงพอ

0 ความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

Popular Posts