การลงทุน ต้องใช้ระยะเวลาค่อนข้างยาว มีระดับของความเสี่ยงต่ำ ผลตอบแทนต่ำกว่าการเก็งกำไร เป็นการเสียสละเงินใน
ปัจจุบันเพื่อที่จะให้ได้เงินในอนาคตที่มากกว่า แต่ต้องเสียเวลาให้ผลของการลงทุนสัมฤทธิ์ผล เกี่ยวข้องกับ เวลาและความเสี่ยง
(Involve time & risk)
การเก็งกำไรใช้ระยะเวลาสั้น ประมาณ 1 – 2 อาทิตย์ เป็นการใช้ประโยชน์จากการคาดคะเน การเปลี่ยนแปลงใน
สินทรัพย์ อาจเป็นการเก็งกำไรในหุ้น ในวัสดุต่าง ๆ การเก็งกำไรมีความเสี่ยงสูงกว่าการลงทุน ผลตอบแทนสูงกว่า
Defining on Investment คนที่ลงทุนได้จ่ายเงินออกไปแล้วรอเวลาให้สัมฤทธิ์ผลในอนาคต เกี่ยวข้องกับ 3 เรื่องคือ
1. ระยะเวลาที่จะต้องรอ
2. เงินเฟ้อ ถ้าเกิดเงินเฟ้อจะต้องมีการบวกอัตราเงินเฟ้อเข้าไป
3. ความไม่แน่นอนของการที่จะได้รับการคืนทุนในอนาคต
Capital Gain กำไรส่วนทุน เช่น ขาย 80 ซื้อ 50 กำไร 30 เราเรียกกำไรนี้ว่า Capital Gain มักใช้กับ
Financial Asset คือเป็นการได้กำไรจากตราสาร ถ้าเป็นการประกอบธุรกิจธรรมดาจะเรียกว่า Profit
ในการลงทุนผู้ลงทุนจะต้องคาดหวังผลตอบแทนที่ได้ว่าจะได้เท่าไร จะต้องกำหนด Required Rate of Return
เงินลงทุนในหุ้นของบริษัท A คาดหวังว่าจะได้ Return 12% โดย Return ของตลาดอาจอยู่ที่ 10% แต่เนื่องจากบริษัท
A มีระดับความเสี่ยงสูงกว่าการลงทุนทั่วไป เพราะฉะนั้นเราอาจจะวัดได้ด้วยค่า beta (ดัชนีที่จะวัดค่าความเสี่ยงของตลาด)
การลงทุนแยกออกเป็น 2 ประเภท คือ
1. Real Investment เป็นการลงทุนในสินทรัพย์โดยทั่ว ๆ ไป เช่น ลงทุนในที่ดิน อาคาร อุปกรณ์ เครื่องประดับ
แสตมป์
2. Financial Investment เป็นการลงทุนในตราสารหนี้ ตราสารทุน ลงทุนในหลักทรัพย์ (ตราสารทางการเงิน)
การลงทุนในหลักทรัพย์หลาย ๆ อย่าง เรียกว่า เป็น Portfolio หมายถึงหลักทรัพย์ที่อยู่ในครอบครองของเรา อาจมี
ตั้งแต่ 2 หลักทรัพย์ขึ้นไป อาจมีการเพิ่มหรือลด ในช่วงที่เราถือครองอยู่ก็ได้ ในการลงทุนในหลักทรัพย์ต้องพิจารณาว่ามีระดับของ
ความเสี่ยงสอดคล้องกับ ผลตอบแทนหรือไม่สอดคล้อง จะต้อง Adjust ให้เหมาะสม
- Primary Market เป็นตลาดสำหรับหลักทรัพย์ที่ออกจำหน่ายเป็นครั้งแรก เป็นแหล่งระดมเงินทุน ทำให้เกิด
รายได้ ทำให้เศรษฐกิจเติบโต ประเทศต่าง ๆ จึงได้เน้นให้มีตลาดหลักทรัพย์เพื่อที่จะทำให้มีการพัฒนาตลาดทุน
ประเทศก็จะมั่งคั่ง
- Secondary Market เป็นตลาดที่มาสนับสนุนตลาดแรกให้มีการหมุนเวียนให้หลักทรัพย์ที่มีอยู่ในตลาดให้มี
สภาพคล่อง คือเปลี่ยนเป็นเงินสดได้สะดวกรวดเร็ว เพื่อให้ผู้ซื้อหลักทรัพย์ในตลาดแรกมีความเชื่อมั่นว่าสามารถ
เปลี่ยนรูปเป็นเงินได้เร็ว ตัดสินใจซื้อในตลาดได้ง่ายขึ้น
1. The Investment Environment (สภาพแวดล้อมในการลงทุน)
• Securities (หลักทรัพย์) คนที่ถือหลักทรัพย์จะมีสิทธิเรียกร้องที่จะได้รับผลตอบแทนในอนาคต โดยอาจมี
เงื่อนไขหรือความเสี่ยงแต่ก็ยอมที่จะเสี่ยง ขึ้นอยู่กับว่าเป็นหลักทรัพย์ประเภทอะไร มีฐานะเป็นเจ้าหนี้ของบริษัท
ผู้ออก พวกหุ้นกู้พันธบัตร หรือมีฐานะเป็นเจ้าของกิจการ พวกหุ้นปุริมสิทธิ์ หุ้นสามัญ
• Holding Period Return (ผลตอบแทนจากการลงทุน) วัดได้จากสมการ
= มูลค่าของหลักทรัพย์เมื่อสิ้นสุดการลงทุน - มูลค่าของหลักทรัพย์เมื่อเริ่มต้นลงทุน
มูลค่าของหลักทรัพย์เมื่อเริ่มต้นลงทุน
การวัด Return เพื่อให้ทราบคุณค่าหรือไม่กับการลงทุน และไปเปรียบเทียบกับการลงทุนในลักษณะอื่นว่าจะได้
ผลตอบแทนอย่างไร
1.1. Treasury Bills เป็นการลงทุนในตั๋วเงินคลัง เป็นหลักทรัพย์ของรัฐบาล เป็นหลักทรัพย์ของรัฐบาล ให้
คนที่สนใจประมูล ปกติจะเป็นสถาบันการเงิน ไม่มีดอกเบี้ย คนที่ประมูลได้ราคาสูงสุดจะได้ไป วัดผลตอบแทนเป็น
ผลต่าง ไถ่ถอนประมูลได้
1.2. Long Term Bonds มักมีเวลาค่อนข้างนานเป็นหลักทรัพย์ที่มีรายได้คงที่ มีการกำหนดอัตราดอกเบี้ยที่
แน่นอน
หุ้นกู้ (Debenture Bonds) มีลักษณะแตกต่างจาก Bond ทั่วไปคือ
- Bond ทั่วไป หลักทรัพย์ที่ค้ำประกันไม่มีเฉพาะเจาะจงเหมือน Bond ซึ่งมีที่ดิน อาคาร จำนอง เป็นประกันของการ
ออก Bond เมื่อเวลาบริษัทที่ออก Bond ไม่สามารถชำระเงินต้นหรือออกเบี้ย คนถือก็จะสามารถฟ้องบังคับคดีได้ ซึ่งเมื่อชนะ
คดีแล้วก็จะมีปุริมสิทธิ์เหนือเจ้าหนี้คนอื่น ๆ เมื่อล้มละลาย เจ้าหนี้ที่มีปุริมสิทธิ์ก็จะได้รับการคืนทุนก่อนเจ้าหนี้ทั่วไป
- Debenture Bonds (หุ้นกู้) จะไม่มีหลักทรัพย์ค้ำประกันในการออกหุ้นกู้ จะใช้ทรัพย์สินทั่วๆ ไป มาค้ำประกัน
เพราะฉะนั้น ปุริมสิทธิ์เหนือเจ้าหนี้อื่น ๆ จึงไม่มี บริษัทที่ออก Debenture ได้จะต้องมีฐานะการเงินดีกว่าบริษัทที่ออก Bond
ประเด็นสำคัญของ Bond มีดังนี้ คือ
1. จะต้องมีราคา Par คือราคาตามมูลค่า
2. จะต้องมีการกำหนดอัตราดอกเบี้ยเอาไว้ว่าจะชำระกันอย่างไร เช่น 6% ต่อปี, 10% ต่อปี จ่ายทุก ๆ 6 เดือน ฯลฯ
3. กำหนดอายุวันครบกำหนดไถ่ถอน (Maturity Date)
สิ่งที่ชี้ชัดว่าเป็นหุ้นกู้หรือพันธบัตรก็คือ ดอกเบี้ย
1.3. Common Stocks หุ้นสามัญ มีฐานะเป็นเจ้าของกิจการอย่างแท้จริง จะต้องเสี่ยงต่อการได้กำไรหรือขาดทุน
ในการดำเนินธุรกิจ หุ้นสามัญจะได้รับผลตอบแทนที่ไม่แน่นอน เวลาคำนวณผลตอบแทนจะต้องคำนวณจากราคา Par เสมอ
ผู้ถือหุ้นสามัญจะได้รับผลตอบแทนในรูปเงินปันผล ในรูปของ Capital Gain และอาจจะได้รับผลตอบแทนที่ไม่ได้
เป็นตัวเงิน แต่เป็นเรื่องของความสัมพันธ์หรือสิทธิพิเศษอื่น ๆ เช่น อาจได้เป็นกรรมการ
2. ความเสี่ยง คือความไม่แน่นอนของเหตุการณ์ที่เราไม่พึงปรารถนา
Unfavorable Outcome คือความไม่แน่นอนของเหตุการณ์ที่เราไม่พึงประสงค์ ในการลดความเสี่ยง (Diversify
Risk) ความเสี่ยงที่เราสามารถจะลดได้ โดยการกระจายการลงทุนนั้นจะเป็นความเสี่ยงประเภท
- Unsystematic Risks เป็นความเสี่ยงที่ไม่เป็นระบบ เกิดขึ้นเฉพาะตัวของหลักทรัพย์นั้น เช่น ไฟไหม้ ระเบิด
น้ำท่วม เช่น บริษัทขุดเจาะน้ำมันกลางทะเลจะมีความเสี่ยงเรื่องดินฟ้าอากาศ
- Systematic Risks เป็นความเสี่ยงที่เป็นระบบ เช่น ภาวะเงินเฟ้อ ภาวะสงคราม การเปลี่ยนแปลงอัตราดอกเบี้ย
อย่างรวดเร็ว การจราจล
3. Security Market ตลาดหลักทรัพย์เป็นตลาดของการลงทุนในระยะยาวแบ่งได้ 2 อย่าง คือ
1. แบ่งตามการขาย
- Primary Market คือการขายหลักทรัพย์ในครั้งแรก
- Secondary Market คือการขายในครั้งต่อ ๆ ไป
2. แบ่งตามระยะเวลา สามารถแบ่งได้เป็น 2 อย่าง คือ
- Money Market (ตลาดเงิน) ใช้เวลาไม่ถึงปี เช่น การกู้ยืมระยะสั้น ฯลฯ
- Capital Market (ตลาดทุน) ใช้เวลามากกว่า 1 ปี เช่น การลงทุนในพันธบัตร หุ้นกู้ หุ้นปุริมสิทธิ์ ฯลฯ
ปัจจุบันเพื่อที่จะให้ได้เงินในอนาคตที่มากกว่า แต่ต้องเสียเวลาให้ผลของการลงทุนสัมฤทธิ์ผล เกี่ยวข้องกับ เวลาและความเสี่ยง
(Involve time & risk)
การเก็งกำไรใช้ระยะเวลาสั้น ประมาณ 1 – 2 อาทิตย์ เป็นการใช้ประโยชน์จากการคาดคะเน การเปลี่ยนแปลงใน
สินทรัพย์ อาจเป็นการเก็งกำไรในหุ้น ในวัสดุต่าง ๆ การเก็งกำไรมีความเสี่ยงสูงกว่าการลงทุน ผลตอบแทนสูงกว่า
Defining on Investment คนที่ลงทุนได้จ่ายเงินออกไปแล้วรอเวลาให้สัมฤทธิ์ผลในอนาคต เกี่ยวข้องกับ 3 เรื่องคือ
1. ระยะเวลาที่จะต้องรอ
2. เงินเฟ้อ ถ้าเกิดเงินเฟ้อจะต้องมีการบวกอัตราเงินเฟ้อเข้าไป
3. ความไม่แน่นอนของการที่จะได้รับการคืนทุนในอนาคต
Capital Gain กำไรส่วนทุน เช่น ขาย 80 ซื้อ 50 กำไร 30 เราเรียกกำไรนี้ว่า Capital Gain มักใช้กับ
Financial Asset คือเป็นการได้กำไรจากตราสาร ถ้าเป็นการประกอบธุรกิจธรรมดาจะเรียกว่า Profit
ในการลงทุนผู้ลงทุนจะต้องคาดหวังผลตอบแทนที่ได้ว่าจะได้เท่าไร จะต้องกำหนด Required Rate of Return
เงินลงทุนในหุ้นของบริษัท A คาดหวังว่าจะได้ Return 12% โดย Return ของตลาดอาจอยู่ที่ 10% แต่เนื่องจากบริษัท
A มีระดับความเสี่ยงสูงกว่าการลงทุนทั่วไป เพราะฉะนั้นเราอาจจะวัดได้ด้วยค่า beta (ดัชนีที่จะวัดค่าความเสี่ยงของตลาด)
การลงทุนแยกออกเป็น 2 ประเภท คือ
1. Real Investment เป็นการลงทุนในสินทรัพย์โดยทั่ว ๆ ไป เช่น ลงทุนในที่ดิน อาคาร อุปกรณ์ เครื่องประดับ
แสตมป์
2. Financial Investment เป็นการลงทุนในตราสารหนี้ ตราสารทุน ลงทุนในหลักทรัพย์ (ตราสารทางการเงิน)
การลงทุนในหลักทรัพย์หลาย ๆ อย่าง เรียกว่า เป็น Portfolio หมายถึงหลักทรัพย์ที่อยู่ในครอบครองของเรา อาจมี
ตั้งแต่ 2 หลักทรัพย์ขึ้นไป อาจมีการเพิ่มหรือลด ในช่วงที่เราถือครองอยู่ก็ได้ ในการลงทุนในหลักทรัพย์ต้องพิจารณาว่ามีระดับของ
ความเสี่ยงสอดคล้องกับ ผลตอบแทนหรือไม่สอดคล้อง จะต้อง Adjust ให้เหมาะสม
- Primary Market เป็นตลาดสำหรับหลักทรัพย์ที่ออกจำหน่ายเป็นครั้งแรก เป็นแหล่งระดมเงินทุน ทำให้เกิด
รายได้ ทำให้เศรษฐกิจเติบโต ประเทศต่าง ๆ จึงได้เน้นให้มีตลาดหลักทรัพย์เพื่อที่จะทำให้มีการพัฒนาตลาดทุน
ประเทศก็จะมั่งคั่ง
- Secondary Market เป็นตลาดที่มาสนับสนุนตลาดแรกให้มีการหมุนเวียนให้หลักทรัพย์ที่มีอยู่ในตลาดให้มี
สภาพคล่อง คือเปลี่ยนเป็นเงินสดได้สะดวกรวดเร็ว เพื่อให้ผู้ซื้อหลักทรัพย์ในตลาดแรกมีความเชื่อมั่นว่าสามารถ
เปลี่ยนรูปเป็นเงินได้เร็ว ตัดสินใจซื้อในตลาดได้ง่ายขึ้น
1. The Investment Environment (สภาพแวดล้อมในการลงทุน)
• Securities (หลักทรัพย์) คนที่ถือหลักทรัพย์จะมีสิทธิเรียกร้องที่จะได้รับผลตอบแทนในอนาคต โดยอาจมี
เงื่อนไขหรือความเสี่ยงแต่ก็ยอมที่จะเสี่ยง ขึ้นอยู่กับว่าเป็นหลักทรัพย์ประเภทอะไร มีฐานะเป็นเจ้าหนี้ของบริษัท
ผู้ออก พวกหุ้นกู้พันธบัตร หรือมีฐานะเป็นเจ้าของกิจการ พวกหุ้นปุริมสิทธิ์ หุ้นสามัญ
• Holding Period Return (ผลตอบแทนจากการลงทุน) วัดได้จากสมการ
= มูลค่าของหลักทรัพย์เมื่อสิ้นสุดการลงทุน - มูลค่าของหลักทรัพย์เมื่อเริ่มต้นลงทุน
มูลค่าของหลักทรัพย์เมื่อเริ่มต้นลงทุน
การวัด Return เพื่อให้ทราบคุณค่าหรือไม่กับการลงทุน และไปเปรียบเทียบกับการลงทุนในลักษณะอื่นว่าจะได้
ผลตอบแทนอย่างไร
1.1. Treasury Bills เป็นการลงทุนในตั๋วเงินคลัง เป็นหลักทรัพย์ของรัฐบาล เป็นหลักทรัพย์ของรัฐบาล ให้
คนที่สนใจประมูล ปกติจะเป็นสถาบันการเงิน ไม่มีดอกเบี้ย คนที่ประมูลได้ราคาสูงสุดจะได้ไป วัดผลตอบแทนเป็น
ผลต่าง ไถ่ถอนประมูลได้
1.2. Long Term Bonds มักมีเวลาค่อนข้างนานเป็นหลักทรัพย์ที่มีรายได้คงที่ มีการกำหนดอัตราดอกเบี้ยที่
แน่นอน
หุ้นกู้ (Debenture Bonds) มีลักษณะแตกต่างจาก Bond ทั่วไปคือ
- Bond ทั่วไป หลักทรัพย์ที่ค้ำประกันไม่มีเฉพาะเจาะจงเหมือน Bond ซึ่งมีที่ดิน อาคาร จำนอง เป็นประกันของการ
ออก Bond เมื่อเวลาบริษัทที่ออก Bond ไม่สามารถชำระเงินต้นหรือออกเบี้ย คนถือก็จะสามารถฟ้องบังคับคดีได้ ซึ่งเมื่อชนะ
คดีแล้วก็จะมีปุริมสิทธิ์เหนือเจ้าหนี้คนอื่น ๆ เมื่อล้มละลาย เจ้าหนี้ที่มีปุริมสิทธิ์ก็จะได้รับการคืนทุนก่อนเจ้าหนี้ทั่วไป
- Debenture Bonds (หุ้นกู้) จะไม่มีหลักทรัพย์ค้ำประกันในการออกหุ้นกู้ จะใช้ทรัพย์สินทั่วๆ ไป มาค้ำประกัน
เพราะฉะนั้น ปุริมสิทธิ์เหนือเจ้าหนี้อื่น ๆ จึงไม่มี บริษัทที่ออก Debenture ได้จะต้องมีฐานะการเงินดีกว่าบริษัทที่ออก Bond
ประเด็นสำคัญของ Bond มีดังนี้ คือ
1. จะต้องมีราคา Par คือราคาตามมูลค่า
2. จะต้องมีการกำหนดอัตราดอกเบี้ยเอาไว้ว่าจะชำระกันอย่างไร เช่น 6% ต่อปี, 10% ต่อปี จ่ายทุก ๆ 6 เดือน ฯลฯ
3. กำหนดอายุวันครบกำหนดไถ่ถอน (Maturity Date)
สิ่งที่ชี้ชัดว่าเป็นหุ้นกู้หรือพันธบัตรก็คือ ดอกเบี้ย
1.3. Common Stocks หุ้นสามัญ มีฐานะเป็นเจ้าของกิจการอย่างแท้จริง จะต้องเสี่ยงต่อการได้กำไรหรือขาดทุน
ในการดำเนินธุรกิจ หุ้นสามัญจะได้รับผลตอบแทนที่ไม่แน่นอน เวลาคำนวณผลตอบแทนจะต้องคำนวณจากราคา Par เสมอ
ผู้ถือหุ้นสามัญจะได้รับผลตอบแทนในรูปเงินปันผล ในรูปของ Capital Gain และอาจจะได้รับผลตอบแทนที่ไม่ได้
เป็นตัวเงิน แต่เป็นเรื่องของความสัมพันธ์หรือสิทธิพิเศษอื่น ๆ เช่น อาจได้เป็นกรรมการ
2. ความเสี่ยง คือความไม่แน่นอนของเหตุการณ์ที่เราไม่พึงปรารถนา
Unfavorable Outcome คือความไม่แน่นอนของเหตุการณ์ที่เราไม่พึงประสงค์ ในการลดความเสี่ยง (Diversify
Risk) ความเสี่ยงที่เราสามารถจะลดได้ โดยการกระจายการลงทุนนั้นจะเป็นความเสี่ยงประเภท
- Unsystematic Risks เป็นความเสี่ยงที่ไม่เป็นระบบ เกิดขึ้นเฉพาะตัวของหลักทรัพย์นั้น เช่น ไฟไหม้ ระเบิด
น้ำท่วม เช่น บริษัทขุดเจาะน้ำมันกลางทะเลจะมีความเสี่ยงเรื่องดินฟ้าอากาศ
- Systematic Risks เป็นความเสี่ยงที่เป็นระบบ เช่น ภาวะเงินเฟ้อ ภาวะสงคราม การเปลี่ยนแปลงอัตราดอกเบี้ย
อย่างรวดเร็ว การจราจล
3. Security Market ตลาดหลักทรัพย์เป็นตลาดของการลงทุนในระยะยาวแบ่งได้ 2 อย่าง คือ
1. แบ่งตามการขาย
- Primary Market คือการขายหลักทรัพย์ในครั้งแรก
- Secondary Market คือการขายในครั้งต่อ ๆ ไป
2. แบ่งตามระยะเวลา สามารถแบ่งได้เป็น 2 อย่าง คือ
- Money Market (ตลาดเงิน) ใช้เวลาไม่ถึงปี เช่น การกู้ยืมระยะสั้น ฯลฯ
- Capital Market (ตลาดทุน) ใช้เวลามากกว่า 1 ปี เช่น การลงทุนในพันธบัตร หุ้นกู้ หุ้นปุริมสิทธิ์ ฯลฯ